PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

'ผู้ตรวจ' ย้ำชัดปตท.แจ้งเท็จต่อศาล ส่งคืนท่อก๊าซครบ จี้ 'บิ๊กจิน' สั่งทบทวน

'ผู้ตรวจ' ย้ำชัดปตท.แจ้งเท็จต่อศาล ส่งคืนท่อก๊าซครบ จี้ 'บิ๊กจิน' สั่งทบทวน

"ผู้ตรวจแผ่นดิน" ทำหนังสือด่วนสุด ถึง "บิ๊กจิน" ให้สั่งทบทวนแยกท่อก๊าซของ ปตท.ชี้ส่งคืนแผ่นดินไม่ครบ รายงานข้อมูลเท็จให้ศาล ผิดทั้งแพ่งและอาญา คลัง-พลังงานโดนด้วย ฐานละเลยปฏิบัติหน้าที่...

เมื่อวันที่ 10 ก.ย.มีรายงานว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ผผ 07.9/09 ลงวันที่ 4 กันยายน 2557 เรื่อง "ความเห็นและข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน" โดยมีข้อเสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เสนอความเห็นให้ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้ทบทวนการแบ่งแยกทรัพย์สิน ในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินใหม่ เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท.(ระบบท่อก๊าซธรรมชาติในทะเลและบนบก มูลค่า 32,613.45 ล้านบาท) ให้กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ยังไม่ครบถ้วน

อีกทั้ง พฤติการณ์ของกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ ปตท.เข้าข่ายผิดกฎหมายหลายฉบับ ไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. ที่ให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง แต่กลับมีการรายงานข้อมูลเท็จต่อศาลปกครองสูงสุด ว่ามีการแบ่งแยกครบถ้วนแล้ว จึงถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน และอาจมีผลเป็นความผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นความรับผิดทางแพ่ง (ละเมิด) ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดในคดีปกครองที่อาจถูกฟ้องต่อศาลปกครองให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนการกระทำที่ไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.ได้

ทั้งยังมีการตีความว่าระบบท่อก๊าซที่ไม่ได้คืนให้กระทรวงการคลัง เป็นเพราะ ปตท.เป็น ผู้จ่ายเงินค่าก่อสร้าง ทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามมาตรา 1304 (3) นั้น ไม่สอดคล้องกับกฎหมายเพราะทรัพย์สินดังกล่าว ได้มาและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการก่อนที่จะมีการเปลี่ยนสภาพไปเป็น ปตท. จึงถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ

ดังนั้น มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 30 ธ.ค. 2544 มีมูลค่าสุทธิ 68,569.69 ล้านบาท ที่ต้องแบ่งแยกและคืนให้กับกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะมีการแปรสภาพไปเป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในปี 2550 แต่ไม่ปรากฏว่ากระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท. ให้กลับมาเป็นของแผ่นดิน หรือกระทรวงการคลังอย่างครบถ้วนแต่อย่างใด

ทั้งนี้ จึงถือว่าพฤติการณ์ของกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อันเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงถือเป็นกรณีที่กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ ปตท.ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยไม่เป็นธรรมตาม มาตรา 13 (1) (ก) (ข) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552

ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงมีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อ รองหัวหน้า คสช. ในฐานะหัวหน้าเศรษฐกิจ ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงานและปตท.ดำเนินการดังต่อไปนี้

1.ทบทวนการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ด้วยการหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการตีความคำ พิพากษา และให้ สตง.รับรองความถูกต้อง

2.ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศ จำนวน 68,569,690,569.82 บาท รวมทั้งค่าตอบแทน ผลประโยชน์อื่นใดจากการใช้ทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศ และสิทธิหรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนที่ ปตท.ได้อาศัยใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ พร้อมดอกเบี้ย

3.พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน ความเห็นและข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดินดังกล่าว ไปเป็นข้อมูลประกอบการปฏิรูปพลังงานต่อไป

‘ประยุทธ์’ เตรียมแถลงนโยบายต่อสภาฯ12ก.ย. วางITจัดการพวกคะนองปากต่อสถาบันฯ

‘ประยุทธ์’ เตรียมแถลงนโยบายต่อสภาฯ12ก.ย. วางITจัดการพวกคะนองปากต่อสถาบันฯ แก้กม.ล้าสมัยไม่เป็นธรรม

นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภาฯ12 ก.ย. นี้ ยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์” เช่น วางITจัดการผู้คะนองปากหรือประสงค์ร้ายสถาบันฯ แก้กม. ล้าสมัยไม่เป็นธรรม ฯลฯ เตรียมลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมหลังแถลงฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ สาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล คือรัฐบาลยังคงยึดมั่นตามโรดแมปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระยะที่ 2 คือมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และที่จะตามมาคือ การจัดตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อออกแบบวางรากฐานทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม อันมั่นคงแก่ประเทศก่อนจะส่งผ่านไปสู่ระยะที่ 3 คือการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เงื่อนไขดังกล่าวเป็นพันธกิจที่รัฐบาลจะยังคงยึดมั่นและดำเนินการต่อไป โดยยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์”
“การที่รัฐบาลนี้ไม่ได้จัดตั้งขึ้นจากพรรคการเมือง จึงไม่มีนโยบายของพรรคที่ใช้หาเสียงหรือหวังคะแนนประชานิยมมาเป็นฐานทางการเมือง ทุกคนจึงไม่ต้องวิตกว่าจะมีการนำประเทศเข้าไปผูกพันจนเสียวินัยการคลัง หรือเกิดภาระอนาคต และด้วยความที่มีเอกภาพทางนโยบาย จึงไม่ต้องวิตกว่าการทำงานในแต่ละกระทรวงจะไม่บูรณาการสอดคล้อง หรือพายเรือคนละที สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังอำนาจหรือเกื้อหนุนให้รัฐบาลทำงานยากในเวลาสั้นได้ราบรื่น และจะไม่ให้การทำงานของรัฐบาลกลายเป็นภาระของประเทศเป็นอันขาด”
มาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ของรัฐบาลไว้ 3 ประการ คือการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และการส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหน้าที่ทั้งสามประการในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลจำแนกเป็น 11 ด้าน โดยนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วยการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักสำคัญ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง มาแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แนวทางของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความต้องการของประชาชน ซึ่งแสดงออกมาตลอดและน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาการออกแบบการปฏิรูปประเทศเป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย
นโยบายทุกด้านต้องสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรการปกครองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงประเทศ มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที ระยะกลาง ที่จะทำต่อไปหรือต้องรอการใช้บังคับกฎหมาย และระยะยาว ที่จะต้องวางรากฐานเพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามาพิจารณารับช่วงได้ต่อเนื่อง และประการสำคัญต้องการให้ประชาชนเกิดความชัดเจน รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน จะมีอะไรเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตอันใกล้เพื่อเตรียมตัวได้ถูกต้อง
1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาลถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งยวดที่จะเชิดชูสถาบันไว้ด้วยความจงรักภักดี โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางสังคมจิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจ หรือประสงค์ร้าย
2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน การบริหารจัดการชายแดน การสร้างความมั่นคงทางทะเล การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติทางทหารร่วมกันของอาเซียน เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมการพูดคุยสันติสุขกับผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ
3 การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ระยะเฉพาะหน้าจะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ และระยะต่อไปเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การจัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรมและธรรมภิบาลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไปโดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการตามนโยบาย คสช.
4 การศึกษา และเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รัฐบาลจะนำการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพ และมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน รัฐบาลจะวางรากฐานพัฒนาและเสริมความเข้มแข็งให้แก่การให้บริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนโดยเน้นความทั่วถึง ความมีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยวางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วน โดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ บูรณาการข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
6 การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็น 3 ระยะ คือระยะเร่งด่วน  ระยะต่อไปที่ต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่และระยะยาว ที่ต้องวางรากฐานเพื่อความเจริญเติบโตอย่างเนื่อง ในระยะเร่งด่วน เร่งจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามที่คสช.จัดทำไว้ กระตุ้นการลงทุนด้วยการเร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสม ลดอุปสรรคการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยพิจารณามาตรการลดผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ที่มีต่อการท่องเที่ยวในโอกาสแรกที่จะทำได้
ระยะต่อไป ประสานนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพของราคาอย่างเหมาะสม ในระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและคมนาคม ด้านคมนาคมทางบกโดยเริ่มโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และรถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพฯ กับเมืองบริวาร พัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้านเกษตรกรรม จะปรับปรุงโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการ และสนับสนุนให้สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มบทบาทในฐานะผู้ซื้อพืชผลจนถึงการแปรรูป และการส่งออกได้ เพื่อให้สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตรรายใหญ่อีกรายหนึ่ง
7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เร่งพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายในอนุภูมิภาค และภูมิภาคอาเซียน
8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการวิจัย การพัฒนาต่อยอดและการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัย
9 การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ระยะเฉพาะหน้าเร่งปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐ ในระยะต่อไปพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ บริหารจัดการน้ำให้เป็นเอกภาพในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐทุกระดับ และกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างรวดเร็ว เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายบุคลากรภาครัฐ ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในภาครัฐทุกระดับ
11 การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ระยะเฉพาะหน้าจะเร่งปรับปรุงประมวลกฎหมายหลักของประเทศและกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ในระยะต่อไปจะจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐ นำมาตรการทางการเงิน ภาษี และการป้องกันการฟอกเงินมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ แรงงานทาส การก่อการร้ายสากล ยาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ
ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม หลังแถลงนโยบายต่อ สนช.
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า “หลังแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติเเห่งชาติ (สนช.) เสร็จสิ้นในวันที่ 12 กันยายนนี้ ผมจะเดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ยืนยันพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ และจะเข้าทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า”
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ยังขอให้รัฐบาลช่วยดูแลเรื่องการปลูกป่า ซึ่งได้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมไปจัดทำแผนดำเนินการแล้ว และให้สานต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อให้คนไทยมีคุณธรรมและศีลธรรม
รอแบ่งงานเป็นทางการ 12 ก.ย.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สนช. ในวันที่ 12 ก.ย. นี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แถลงนโยบายและตอบข้อซักถามด้วยตนเอง แต่บางเรื่องอาจให้รัฐมนตรีเป็นผู้ตอบ ร่างนโยบายมี 23 หน้า ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการปฏิรูปและการปกครองรวมทั้งการสร้างความปรองดอง โดยจะถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ใช้เวลาประชุม 1 วัน
ส่วนการยื่นบัญชีทรัพย์สินยืนยันว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ไม่มีปัญหา ทุกคนทราบวิธีปฏิบัติดีอยู่แล้ว

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย

‘นิพนธ์ TDRI’ แจงรายงานวิจัยที่อสส.อ้าง ไม่ใช่วิจัยที่ชี้ความผิด ‘ยิ่งลักษณ์’

‘นิพนธ์ TDRI’ แจงรายงานวิจัยที่อสส.อ้าง ไม่ใช่วิจัยที่ชี้ความผิด ‘ยิ่งลักษณ์’

นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ชี้งานวิจัยของนักวิชาการไม่ใช่งานสืบสวนสอบสวนเพื่อหาผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ระบุรายงานวิจัยที่ อสส. อ้างถึง ไม่ใช่ รายงานวิจัยที่บ่งชี้ความผิดของ ‘ยิ่งลักษณ์’ แต่เป็นวิจัยสมัยรัฐบาลทักษิณ
10 ก.ย. 2557 ภายหลังจากโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 ก.ย. ที่ผ่านมา ถึงความคืบหน้าในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งสำนวนพร้อมมติชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เรื่องละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งทางอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วโดยเซ็นคำสั่งเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา เห็นว่า สำนวนของ ป.ป.ช. มีประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยมีประเด็นหนึ่งที่ระบุถึง เรื่องการทุจริตนั้น ควรไต่สวนพยานเพิ่มเติมให้ได้ความว่า โครงการ รับจำนำข้าวที่ยืนยันว่ามีการทุจริตนั้น พบการทุจริตในขั้นตอนใดและมีการทุจริตอย่างไร นอกจากนั้นมีการกล่าวอ้างถึงรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่า โครงการดังกล่าวมีการทุจริตและมีความเสียหายจำนวนมาก แต่ในสำนวนการไต่สวนปรากฏว่า มีเพียงหน้าปกรายงานวิจัยเท่านั้น ดังนั้นจึงให้รวบรวมรายงานวิจัย ทั้งฉบับเป็นพยานหลักฐานในสำนวนการไต่สวนให้สมบูรณ์ด้วย
จนนำมาสู่กระแสวิพากษ์วิจารณ์รายงานวิจัยโครงการนโยบายจํานําข้าวของทีดีอาร์ไออย่างกว้างขวาง
ล่าสุด(10 ก.ย.) นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดทํารายงานวิจัยฉบับดังกล่าว ชี้แจงกรณี เขียนข้อเขียน ‘ชี้แจงกรณี รายงานวิจัยเรื่องนโยบายจํานําข้าวของทีดีอาร์ไอที่ ป.ป.ช. อ้างถึงใน สํานวนคดีกล่าวหาอดีตนายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ ระบุว่ารายงานดังกล่าว ไม่ใช่ รายงานวิจัยที่บ่งชี้ความผิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะไม่ใช่การศึกษาวิจัยโครงการรับจํานําข้าวทุกเม็ดตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย แต่เป็นการวิจัยนโยบายรับจํานําข้าวฤดูการผลิตปี 2548/49 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ขณะที่รายงานในสมัยรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ยังไม่เคยส่งให้ ป.ป.ช. ชี้งานวิจัยของนักวิชาการไม่ใช่งานสืบสวนสอบสวนเพื่อหาผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง

โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชี้แจงกรณี รายงานวิจัยเรื่องนโยบายจํานําข้าวของทีดีอาร์ไอที่ ป.ป.ช. อ้างถึงใน สํานวนคดีกล่าวหาอดีตนายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นิพนธ์ พัวพงศกร
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 โฆษกสํานักงานอัยการสูงสุด (อสส.) แถลงว่าคณะทํางานเรื่องคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูลความผิด นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องกระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการฐานละเลยไม่ดําเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจํานําข้าว มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าสํานวนคดียังไม่สมบูรณ์พอที่จะดําเนินคดีตามข้อกล่าวหา หนึ่งในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ คือ การที่ ป.ป.ช. กล่าวอ้างถึงรายงานวิจัยเรื่องโครงการรับจํานําข้าวของทีดีอาร์ไอ ว่า “โครงการ (รับจํานําข้าว) ดังกล่าว” มีการทุจริตและมีความเสียหายจํานวนมาก แต่ในสํานวนการไต่สวนมีเพียงหน้าปกรายงานวิจัยเท่านั้น
ข่าวดังกล่าวสร้างความสับสนและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์รายงานวิจัยโครงการนโยบายจํานําข้าวของทีดีอาร์ไออย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย ในฐานะผู้รับผิดชอบจัดทํารายงานวิจัยฉบับดังกล่าว ผมขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายงานวิจัยที่ตกเป็นข่าว
ประการแรก รายงานวิจัยฉบับที่ อสส. อ้างถึง ไม่ใช่ รายงานวิจัยที่บ่งชี้ความผิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะไม่ใช่การศึกษาวิจัยโครงการรับจํานําข้าวทุกเม็ดตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย แต่เป็นการวิจัยนโยบายรับจํานําข้าวฤดูการผลิตปี 2548/49 ในสมัยรัฐบาลทักษิณเจ้าของผลงานวิจัย (ผู้ว่าจ้าง) คือ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชื่อรายงานวิจัยคือ “โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต : แสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก” ตีพิมพ์เมื่อตุลาคม 2553 ท่านผู้สนใจสามารถหาต้นฉบับได้จาก ปปช. และจากเวปไชต์ของทีดีอาร์ไอ(www.tdri.or.th/research/d2011003)
ส่วนรายงานอีกฉบับหนึ่งของผมกับเพื่อนนักวิจัย เรื่อง การทุจริตในการระบายข้าวของโครงการรับจํานําข้าวในสมัยรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ คณะกรรมการตรวจรับของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่งให้ความเห็นต่อเนื้อหาของรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2557 รายงานฉบับนี้ยังไม่เคยส่งให้ ป.ป.ช. มีแต่การเปิดเผยบทสรุปผลวิจัยให้สื่อมวลชนบางฉบับเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2557 อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้สังคมก็เลยเกิดความเข้าใจผิดว่า ป.ป.ช. นําหลักฐานจากรายงานวิจัยฉบับหลังไปกล่าวหา น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
วัตถุประสงค์หลักของรายงานฉบับแรกที่ ป.ป.ช. กล่าวถึงในสํานวนไม่ใช่การศึกษาเรื่องการทุจริตโดยตรง แต่เป็นการศึกษาเรื่องความเสียหายต่างๆที่เกิดจากโครงการรับจํานําข้าว ในสมัยรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนการคลัง ผลขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคม และผลตอบแทนพิเศษที่เกิดจากโครงการรับจํานําข้าว ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตอย่างกว้างขวาง ประเด็นหลักของรายงานฉบับนี้คือ การแสวงหามาตรการช่วยเหลือชาวนาโดยไม่แทรกแซงตลาด ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริต มาตรการดังกล่าวจะเป็นการป้องกันการทุจริตที่ผลมากที่สุด
กรรมการเจ้าของสํานวนคดี (นายวิชา มหาคุณ) ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า สาเหตุที่มิได้ส่งรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของทีดีอาร์ไอให้ อสส. เพราะ “รายงานของทีดีอาร์ไอเป็นเพียงการยกตัวอย่างว่ามีช่องทางการทุจริตในโครงการรับจํานําข้าวที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง ไม่ได้หยิบยกรายงานวิจัยดังกล่าวมาเป็นเอกสาร หลักฐานในการชี้มูลความผิด นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
ถ้าเช่นนั้น สื่อมวลชนบางฉบับ สังคม ตลอดจนอัยการสูงสุดเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรายงานวิจัยของทีดีอาร์ไอได้อย่างไร
สาเหตุอาจมีหลายประการ ซึ่งรวมทั้งประเด็นการเมืองที่ผมไม่อยากคาดเดา แต่ผมคิดว่าสาเหตุหนึ่งอาจจะเกิดจากคําบรรยายของ นายวิชา มหาคุณ ในการอบรมหลักสูตรนิติเศรษฐศาสตร์ระยะสั้นแก่เจ้าหน้าที่สํานักงาน ปปช. เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2557 ว่า “ถ้าไม่มีการริเริ่มของผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้วิเคราะห์ไว้ เช่น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าว และการแสวงหาคําตอบของนายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ ตนฟันธงว่า ปปช.ก็ไม่สามารถที่จะชี้มูลความผิดกับรัฐบาล นส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ ดังนั้นมิติทางเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญมาก (ต่อการทํางานของ ปปช.)”
อันที่จริงนายวิชา มหาคุณ ควรยกความดีความชอบนี้ให้แก่ นายเมธี ครองแก้ว อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ซึ่งริเริ่มให้มีการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหามาตรการป้องกันการทุจริตจากการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร ในเวลานั้น ป.ป.ช. ได้ว่าจ้างนักวิชาการจากธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีดีอาร์ไอ ศึกษาเรื่องการแทรกแซงตลาดข้าว มันสําปะหลัง อ้อย ยางพารา และลําใย และเสนอแนะมาตรการป้องกันการทุจริต
ในเร็วๆนี้ ผมจะเขียนบทความสรุปผลการวิจัยเรื่องการทุจริตการระบายข้าวในโครงการรับจํานําข้าวทุกเม็ดของรัฐบาล นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงในสื่อมวลชน แต่วันนี้ผมขออนุญาตทําความเข้าใจล่วงหน้ากับท่านผู้อ่านก่อนว่ารายงานวิจัยฉบับใหม่นี้คงไม่สามารถนําไปใช้ชี้มูลความผิดใครคนใดคนหนึ่ง เพราะเป็นเพียงงานวิชาการที่พยายามแสวงหาหลักฐานว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง รูปแบบและพฤติกรรมทุจริตเป็นอย่างไร และการทุจริตในการระบายข้าวมีมูลค่าเท่าไร สิ่งที่นักวิชาการอย่างผมทําได้ คือ การให้ความรู้และข้อเท็จจริงกับสังคมว่าโครงการรับจํานําข้าวมิได้มีแค่ประโยชน์ต่อชาวนาเท่านั้น แต่เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดต้นทุนและความเสียหายต่อสังคมใหญ่หลวงกว่าเม็ดเงินจากผู้เสียภาษีที่นักการเมืองโปรยให้ชาวนาบางส่วน ความเสียหายสําคัญ คือ การทุจริตของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีอํานาจระดับสูง ตลอดจนการนําระบบค้าขายแบบเล่นพวกเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์จากตลาดข้าว แล้วใช้ชาวนาเป็นข้ออ้าง
งานวิจัยของนักวิชาการไม่ใช่งานสืบสวนสอบสวนเพื่อหาผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง นักวิชาการมีเพียงหน้าที่ศึกษาหาต้นตอของการทุจริตเพื่อหาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติเท่านั้น โปรดกรุณาอ้างอิงและใช้ประโยชน์งานวิชาการให้ถูกที่ถูกทางด้วยครับ

"ดร.เสรี"ระบายความอัดอั้นตันใจ บอกบัดนี้มีรอยด่างในชีวิต เกือบหันหน้าพึ่งจิตแพทย์

"ดร.เสรี"ระบายความอัดอั้นตันใจ บอกบัดนี้มีรอยด่างในชีวิต เกือบหันหน้าพึ่งจิตแพทย์

วันที่ 7 กันยายน ดร.เสรี วงษ์มณฑา อดีตแกนนำ กปปส. ได้เขียนข้อความผ่านทางเฟสบุ๊กส่วนตัว ดร.เสรี วงษ์มณฑา ระบุว่า

ที่มา มติชนออนไลน์

ที่เราเป็นอย่างที่เป็นอยู่เวลานี้ เพราะเราเป็นคนที่ใสสะอาดมีคนยกย่องมาตลอดชีวิตจนถึงอายุ 65 แต่เราต้องมาเจอคนที่อายุน้อยกว่าทำให้เรามีรอยด่างที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจจะลบได้ เราเรียนหนังสือดี สอบได้ที่หนึ่ง ครูรักเราทุกคนตั้งแต่ประถม มัธยม อุดมศึษา บัณฑิตศึกษา เราเป็นหัวหน้าห้อง เป็นรองประธานนักเรียน เป็นกรรมการนักศึกษา เป็นตัวแทนโรงเรียนในการแข่งขัน ทำกิจกรรมของโรงเรียนของมหาวิทยาลัย เป็นคนที่มีลักษณะผู้นำที่มีคนยินดีตาม ไปเมืองนอกเราก็ได้ทุนไปเรียนไม่เคยเสียเงิน เป็นตัวแทนนักเรียนไทยในการนำเสนอวัฒนธรรม เป็นรองประธานนักเรียนต่างชาติของมหาวิทยาลัย ได้ทุนเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนในระดับปริญญาตรี ได้ทุนผู้ช่วยวิจัย เพื่อนรัก อาจารย์รัก เพราะเราชอบทำงานให้กับสังคม มารับราชการเราได้ 2 ขั้นเกือบทุกปี

เราเป็นอาจารย์ที่ลูกศิษย์รัก เพื่อนอาจารย์รักจนได้เป็นคณบดี เราทำงานสื่อมวลชนมีคนชวนเขียนบทความ ได้รางวัลเทพทองนักจัดรายการวิทยุดีเด่น ได้รางวัลนักประชาสัมพันธ์กิติคุณสังข์เงิน ได้รางวัลเมขลา ได้รางวัลสื่อดีเด่นของสมาคมคาทอลิก ได้รางวัลหน้ากากทองคำละครเวทียอดนิยม 2 ปีซ้อน ได้รางวัลหน้ากากทองคำนักแสดงสมทบยอดเนี่ยม ได้รางวัลวิก 07 ทองนำนักแสดงอาวุโสยอดเยี่ยม ด้านวิชาการได้เป็นรองศาสตราจารย์ ได้ทุนทำวิจัย ได้รับเลือกเป็นนักวิชาการดีเด่นของสมาคมมหาวิทยาลัยเอกชน เราเป็นนักบรรยายขายดีที่ค่าตัวสูง ได้รับเชิญให้บรรยายทั้งบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ กองทัพ สถาบันพระปกเกล้า วปอ. โรงเรียนเสนาธิการ วัดต่างๆ สถานศึษาต่างๆ ในทางธุรกิจเราอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสินค้าหลายยี่ห้อในฐานะที่ปรึกษา

เราทำโครงการรณรงค์ให้รัฐบาลหลายเรื่อง ไม่ว่าเราทำอะไร เราทำด้วยจิตสาธารณะ ด้วยสำนึกความรับผิดชอบต้อสังคม ต่อแผ่นดิน เราไม่เคยคิดร้ายใคร เราไม่เคยมีเจตนาทำลายชาติ เราทำในสิ่งที่เราคิดว่าจำเป็นในการแน่วแน่แก้ไข

แต่บัดนี้เรามีรอยด่างในชีวิตเสียแล้ว มันเป็นรอยด่างที่เป็นประวัติศาสตร์ที่ลบไม่ได้ เป็นรอยด่างที่แสดงว่าเราเป็นคนไม่ดี เป็นคนสร้างปัญหา การแสดงว่าเราไม่ดีนั้นเขาแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่ทำให้เราเสียใจมาจนทุกวันนี้ ไม่เคยนึกว่าคนที่มีจิตสาธารณะและมีเจตนาดีต่อบ้านเมืองจะได้เจอ

มันเป็นความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่แทบจะทำให้เราเป็นคนซึมเศร้า มันลบออกจากใจยากจริงๆ เพราะบัดนี้เราไม่อาจจะตายไปอย่างคนไร้ความด่างพร้อย บัดนี้มีรอยด่างที่ทำให้คนมองว่าเป็นคนไม่ดี เป็นคนสร้างปัญหาให้กับบ้านเมืองไปเสียแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะตายอย่างมีความสุขได้อย่างไร เขาจะรู้บ้างไหนะว่าเขาทำลายความภูมิใจในตัวเราไปหมดสิ้นแล้ว เรารู้สึกรันทดเต็มประดา

ใครจะช่วยชี้ทางสว่างให้ใจเราสงบกับรอยด่างพร้อยในชีวิตครั้งนี้ได้บ้าง ทำไมคนที่พยายามทำดีเพื่อสังคมตลอดมาจึงต้องเจอกับเรื่องทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ บอกจริงๆว่าเวลานี้ถ้าไม่มีนักศึกษาที่เป็นศิษย์ ลูกค้าที่ยังช่นชมความสามารถของเรา ป่านนี้เราคงต้องพึ่งจิตแพทย์แล้ว
ooo

ไทยสื่อความกดดันภายใต้การปกครองของทหาร

วันเสาร์, กันยายน 06, 2557
ไทยสื่อความกดดันภายใต้การปกครองของทหาร

โดยรอน Corben
5 กันยายน 2014
เสียงของอเมริกา 

กรุงเทพฯตั้งแต่ยึดอำนาจในเดือนพฤษภาคมรัฐบาลทหารของไทยได้เก็บจับ บริษัท บนสื่อข่าวท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะยึดลงบนความขัดแย้งทางการเมือง นักวิจารณ์กล่าวว่าขั้นตอนในการควบคุมสื่อที่มีการเดินทางมากขึ้นอย่างกว้างขวางและปราบปรามเป็นหน่วยดำเนินการมุ่งเป้าไปที่การขจัดความแตกแยกทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง

กองทัพไทยย้ายอย่างรวดเร็วหลังจากการทำรัฐประหารที่จะเรียกบรรณาธิการและผู้บริหารอุตสาหกรรมข่าวการประชุมตั้งกฎพื้นดินที่ยากลำบากสำหรับข่าวและการรายงาน

พิชัยชายชื่นสุขสวัสดิ์, บรรณาธิการของภาษาอังกฤษบางกอกโพสต์และสื่อที่มีประสบการณ์ที่เข้าร่วมการประชุมกับทหารกล่าวว่าข้อความเป็นหนึ่งในขรึมกับทีวีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและการออกอากาศข่าววิทยุ

"ภายใต้รัฐบาลก่อนหน้านี้ที่พวกเขาวางบนความดัน [สื่อ] ที่แตกต่างกัน. แต่ที่นี่ก็ชัดเจน" เขากล่าวว่า "พวกเขาใช้การประกาศ. [แต่] พวกเขายินดีที่จะรับฟังในระดับหนึ่งและทำการเปลี่ยนแปลง. ความจริงผมคิดว่าสำหรับโทรทัศน์, วิทยุดาวเทียมที่พวกเขาอยู่ภายใต้ปืนมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ที่แน่นอน. แต่เป็นจำนวนมากชัดเจน - ฉันไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ดี - วาระการประชุมเป็นที่ชัดเจน. "

บางผ่อนคลาย แต่ยังคงมีข้อ จำกัด

ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่พรรคสภาแห่งชาติเพื่อสันติภาพและการสั่งซื้อสินค้า (NCPO) พยายามที่จะห้ามการวิจารณ์ของผู้นำทางทหารใด ๆ และลงโทษสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาที่ละเมิด สมาคมสื่อประสบความสำเร็จในการต่อต้านมาตรการและทหารถอยลง

แต่ยังคงมีข้อ จำกัด เช่นการห้ามการป้องกันท้องถิ่นทอล์กโชว์ทางโทรทัศน์จากนักวิชาการการสัมภาษณ์และอดีตข้าราชการและนักวิเคราะห์ สูงโปรไฟล์ dissidents ทางการเมืองไทยและนักวิจารณ์ของระบอบการปกครองของทหารที่ได้หนีไปต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่อ้างโดยเฉพาะของสื่อต่างประเทศ

ฟิลโรเบิร์ตรองผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียสำหรับนิวยอร์กตามสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าห้ามรายงานข่าวเน้นข้อความที่ชัดเจนไปสื่อท้องถิ่น

"มีการปราบปรามลึกของสื่อที่สำคัญนำออกมาจุดของมุมมองว่าทหารไม่เห็นด้วยกับเรื่อง. สิ่งที่เราเห็นจะเพิ่มขึ้นห้ามรายงานการปิดกั้นเว็บไซต์ที่ออกคำเตือนให้สื่อทั้งสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ที่จะก้าวข้ามเส้น ว่ามีเพียงทหารจริงๆรู้ที่เส้นคือว่า "โรเบิร์ตกล่าวว่า

สื่อมวลชนไทยได้กลายเป็นที่คุ้นเคยกับการ "เงามวย" กับทหารที่มีประสิทธิภาพของไทย

ตั้งแต่กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญในปี 1932 ประเทศไทยต้องเผชิญกับ 12 รัฐประหารและระยะเวลานานของรัฐบาลทหาร ในอดีตที่ผ่านมาผู้นำทหารปิดหนังสือพิมพ์ หลังจากที่มีการรัฐประหาร 1991 และในระหว่างการปราบปรามการประท้วงในประชาธิปไตยพฤษภาคม 1992 หนังสือพิมพ์หลายฉบับท้าทายความพยายามที่เซ็นเซอร์อย่างเป็นทางการ

ในทางตรงกันข้ามหลังจากที่ต่อต้านรัฐประหารรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตรที่ตัวเองค่าใช้จ่ายของการแทรกแซงสื่อและปราบปรามต้องเผชิญกับปี 2006 ทหารได้รับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์จุลานนท์สัญญากดฟรี

ตัวเซ็นเซอร์

แสดงความเห็นของไทยกล่าวว่าข้อ จำกัด ของวันนี้จะมีความตรงไปตรงมาและเหตุผลในการประกาศอย่างเป็นทางการของรัฐบาลทหารปกครอง พวกเขายังบอก backtracking NCPO เหนือเรย์แบนได้นำองค์กรข่าวด้วยตนเองตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารจากการควบคุมกระชับ

สุภิญญากลางณรงค์, กิจกรรมด้านสิทธิสื่อและการกระจายเสียงแห่งชาติคณะกรรมการ (กสทช) สมาชิกซึ่งในปี 2006 ชนะคดีที่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณในทางแพ่งและอาญาชุดกฎหมาย $ 10,000,000 กล่าวว่าสื่อที่มีความน่ากลัวในอนาคต

"บรรยากาศของความกลัวคือการแพร่กระจายในระดับชาติและระดับองค์กรเพราะการทำรัฐประหารและกฎอัยการศึกและทุก criminalization ของการกระทำโดยเฉพาะอย่างยิ่งขึ้นไปอย่างเป็นทางการได้ที่กสทช - บุคคลสาธารณะ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่มีมากขึ้น ไว - พวกเขาไม่สามารถทนต่อการวิจารณ์ "เธอกล่าวว่า

ผู้สื่อข่าวปารีส-based ไม่มีพรมแดนอันดับที่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งในสังคมที่เสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 130 จาก 180 ประเทศในดัชนีเสรีภาพสื่อในปี 2014

สายหนักของทหารที่มีอยู่แล้วรู้สึกโดยตรงจากนักข่าวบางคน

ชุติมา Sidasathan ผู้สื่อข่าวในบริการเว็บข่าวภูเก็ตตามที่มีการแก้ไขออสเตรเลีย [อลันมอริสัน], ใบหน้าค่าใช้จ่ายการหมิ่นประมาททางอาญาที่นำโดยกองทัพเรือหลังจาก republishing ส่วนของรอยเตอร์รายงานของกรกฎาคม 2013 อ้างว่าบุคลากรของกองทัพเรือถูกมัด การค้ามนุษย์ของชาวมุสลิมโรฮิงยาจากพม่า

ชุติมากล่าวว่าตั้งแต่การทำรัฐประหารที่เธอต้องเผชิญกับการคุกคามที่เพิ่มขึ้นโดยบุคลากรของกองทัพเรือในจังหวัดภูเก็ต

. "ในเวลานี้เมื่อกองทัพเอา [พลังงาน] ในประเทศไทยก็จะทำให้ชีวิตของฉันที่ยากมากขึ้นเมื่อทำงานฉันได้รับการข่มขู่จากเจ้าหน้าที่กองทัพเรือดังนั้นรบกวนมากเกี่ยวกับปัญหานี้และจากนั้นผมบอกพวกเขาให้. -. เพื่อให้เรามีนักข่าว - เราไม่สามารถเก็บเงียบ "เธอกล่าวว่า

บางกอกโพสต์พิชัยกล่าวว่ารัฐบาลยินดีที่จะฟังความกังวลสื่อเพื่อให้แน่ใจว่ารัฐบาลมีภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโลก แต่เขาจะเพิ่มทหารก็จะต้องมีปริปากเกี่ยวกับการดำเนินการใดถ้ามันเป็นไม่พอใจกับข้อความของสื่อ
รูปภาพ : วันเสาร์, กันยายน 06, 2557
ไทยสื่อความกดดันภายใต้การปกครองของทหาร

โดยรอน Corben 
5 กันยายน 2014 
เสียงของอเมริกา 

กรุงเทพฯตั้งแต่ยึดอำนาจในเดือนพฤษภาคมรัฐบาลทหารของไทยได้เก็บจับ บริษัท บนสื่อข่าวท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะยึดลงบนความขัดแย้งทางการเมือง นักวิจารณ์กล่าวว่าขั้นตอนในการควบคุมสื่อที่มีการเดินทางมากขึ้นอย่างกว้างขวางและปราบปรามเป็นหน่วยดำเนินการมุ่งเป้าไปที่การขจัดความแตกแยกทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง 

กองทัพไทยย้ายอย่างรวดเร็วหลังจากการทำรัฐประหารที่จะเรียกบรรณาธิการและผู้บริหารอุตสาหกรรมข่าวการประชุมตั้งกฎพื้นดินที่ยากลำบากสำหรับข่าวและการรายงาน 

พิชัยชายชื่นสุขสวัสดิ์, บรรณาธิการของภาษาอังกฤษบางกอกโพสต์และสื่อที่มีประสบการณ์ที่เข้าร่วมการประชุมกับทหารกล่าวว่าข้อความเป็นหนึ่งในขรึมกับทีวีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและการออกอากาศข่าววิทยุ 

"ภายใต้รัฐบาลก่อนหน้านี้ที่พวกเขาวางบนความดัน [สื่อ] ที่แตกต่างกัน. แต่ที่นี่ก็ชัดเจน" เขากล่าวว่า "พวกเขาใช้การประกาศ. [แต่] พวกเขายินดีที่จะรับฟังในระดับหนึ่งและทำการเปลี่ยนแปลง. ความจริงผมคิดว่าสำหรับโทรทัศน์, วิทยุดาวเทียมที่พวกเขาอยู่ภายใต้ปืนมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ที่แน่นอน. แต่เป็นจำนวนมากชัดเจน - ฉันไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ดี - วาระการประชุมเป็นที่ชัดเจน. " 

บางผ่อนคลาย แต่ยังคงมีข้อ จำกัด 

ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่พรรคสภาแห่งชาติเพื่อสันติภาพและการสั่งซื้อสินค้า (NCPO) พยายามที่จะห้ามการวิจารณ์ของผู้นำทางทหารใด ๆ และลงโทษสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาที่ละเมิด สมาคมสื่อประสบความสำเร็จในการต่อต้านมาตรการและทหารถอยลง

แต่ยังคงมีข้อ จำกัด เช่นการห้ามการป้องกันท้องถิ่นทอล์กโชว์ทางโทรทัศน์จากนักวิชาการการสัมภาษณ์และอดีตข้าราชการและนักวิเคราะห์ สูงโปรไฟล์ dissidents ทางการเมืองไทยและนักวิจารณ์ของระบอบการปกครองของทหารที่ได้หนีไปต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่อ้างโดยเฉพาะของสื่อต่างประเทศ 

ฟิลโรเบิร์ตรองผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียสำหรับนิวยอร์กตามสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าห้ามรายงานข่าวเน้นข้อความที่ชัดเจนไปสื่อท้องถิ่น 

"มีการปราบปรามลึกของสื่อที่สำคัญนำออกมาจุดของมุมมองว่าทหารไม่เห็นด้วยกับเรื่อง. สิ่งที่เราเห็นจะเพิ่มขึ้นห้ามรายงานการปิดกั้นเว็บไซต์ที่ออกคำเตือนให้สื่อทั้งสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ที่จะก้าวข้ามเส้น ว่ามีเพียงทหารจริงๆรู้ที่เส้นคือว่า "โรเบิร์ตกล่าวว่า 

สื่อมวลชนไทยได้กลายเป็นที่คุ้นเคยกับการ "เงามวย" กับทหารที่มีประสิทธิภาพของไทย 

ตั้งแต่กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญในปี 1932 ประเทศไทยต้องเผชิญกับ 12 รัฐประหารและระยะเวลานานของรัฐบาลทหาร ในอดีตที่ผ่านมาผู้นำทหารปิดหนังสือพิมพ์ หลังจากที่มีการรัฐประหาร 1991 และในระหว่างการปราบปรามการประท้วงในประชาธิปไตยพฤษภาคม 1992 หนังสือพิมพ์หลายฉบับท้าทายความพยายามที่เซ็นเซอร์อย่างเป็นทางการ 

ในทางตรงกันข้ามหลังจากที่ต่อต้านรัฐประหารรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตรที่ตัวเองค่าใช้จ่ายของการแทรกแซงสื่อและปราบปรามต้องเผชิญกับปี 2006 ทหารได้รับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์จุลานนท์สัญญากดฟรี 

ตัวเซ็นเซอร์ 

แสดงความเห็นของไทยกล่าวว่าข้อ จำกัด ของวันนี้จะมีความตรงไปตรงมาและเหตุผลในการประกาศอย่างเป็นทางการของรัฐบาลทหารปกครอง พวกเขายังบอก backtracking NCPO เหนือเรย์แบนได้นำองค์กรข่าวด้วยตนเองตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารจากการควบคุมกระชับ 

สุภิญญากลางณรงค์, กิจกรรมด้านสิทธิสื่อและการกระจายเสียงแห่งชาติคณะกรรมการ (กสทช) สมาชิกซึ่งในปี 2006 ชนะคดีที่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณในทางแพ่งและอาญาชุดกฎหมาย $ 10,000,000 กล่าวว่าสื่อที่มีความน่ากลัวในอนาคต 

"บรรยากาศของความกลัวคือการแพร่กระจายในระดับชาติและระดับองค์กรเพราะการทำรัฐประหารและกฎอัยการศึกและทุก criminalization ของการกระทำโดยเฉพาะอย่างยิ่งขึ้นไปอย่างเป็นทางการได้ที่กสทช - บุคคลสาธารณะ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่มีมากขึ้น ไว - พวกเขาไม่สามารถทนต่อการวิจารณ์ "เธอกล่าวว่า 

ผู้สื่อข่าวปารีส-based ไม่มีพรมแดนอันดับที่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งในสังคมที่เสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 130 จาก 180 ประเทศในดัชนีเสรีภาพสื่อในปี 2014 

สายหนักของทหารที่มีอยู่แล้วรู้สึกโดยตรงจากนักข่าวบางคน 

ชุติมา Sidasathan ผู้สื่อข่าวในบริการเว็บข่าวภูเก็ตตามที่มีการแก้ไขออสเตรเลีย [อลันมอริสัน], ใบหน้าค่าใช้จ่ายการหมิ่นประมาททางอาญาที่นำโดยกองทัพเรือหลังจาก republishing ส่วนของรอยเตอร์รายงานของกรกฎาคม 2013 อ้างว่าบุคลากรของกองทัพเรือถูกมัด การค้ามนุษย์ของชาวมุสลิมโรฮิงยาจากพม่า 

ชุติมากล่าวว่าตั้งแต่การทำรัฐประหารที่เธอต้องเผชิญกับการคุกคามที่เพิ่มขึ้นโดยบุคลากรของกองทัพเรือในจังหวัดภูเก็ต 

. "ในเวลานี้เมื่อกองทัพเอา [พลังงาน] ในประเทศไทยก็จะทำให้ชีวิตของฉันที่ยากมากขึ้นเมื่อทำงานฉันได้รับการข่มขู่จากเจ้าหน้าที่กองทัพเรือดังนั้นรบกวนมากเกี่ยวกับปัญหานี้และจากนั้นผมบอกพวกเขาให้. -. เพื่อให้เรามีนักข่าว - เราไม่สามารถเก็บเงียบ "เธอกล่าวว่า 

บางกอกโพสต์พิชัยกล่าวว่ารัฐบาลยินดีที่จะฟังความกังวลสื่อเพื่อให้แน่ใจว่ารัฐบาลมีภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโลก แต่เขาจะเพิ่มทหารก็จะต้องมีปริปากเกี่ยวกับการดำเนินการใดถ้ามันเป็นไม่พอใจกับข้อความของสื่อ

เปิดรายงาน PERC ฉบับเต็ม! ทำไมถึงให้ "BOO- โห่ไล่" ป.ป.ช. คะแนนเสียง

วันเสาร์, กันยายน 06, 2557
คำแปลฉบับเต็ม รายงานจัดอันดับองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นในเอเชีย...ทำไมถึงให้คะแนนเสียง "BOO- โห่ไล่" ป.ป.ช.

ชื่อบทตวามเดิม ...

เปิดรายงาน PERC ฉบับเต็ม! ทำไมถึงให้ "BOO- โห่ไล่" ป.ป.ช. คะแนนเสียง 
ที่มา สำนักข่าวอิศรา

หมายเหตุสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เป็นคำแปลฉบับเต็ม รายงานจัดอันดับองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นในเอเชีย ฉบับล่าสุดของ บริษัท ที่ปรึกษาทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ปรึกษาความเสี่ยง จำกัด หรือ PERC ที่ตีพิมพ์ลงในจดหมายข่าวกรองเอเชียฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ข่าว 3 กันยายน 2557 มีการจัดอันดับให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ของไทยอยู่อันดับสุดท้ายใน 12 องค์กรหลักในการต่อต้านคอรัปชั่นของประเทศในเอเชียที่ได้รับการประเมิน และตีพิมพ์ว่า "Boo" หรือโห่ไล่ป. ป. ช. ในขณะที่ลุกขึ้นยืนและปรบมือ (ยืนปรบมือ) ให้กับคณะกรรมการกวาดล้างคอรัปชั่นของอินโดนีเซียที่ถือว่าได้คะแนนสูงสุดในกลุ่ม

------

แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่มีการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุดเมื่อมองในระยะยาว แต่องค์กรต่อต้านคอรัปชั่นของไทยกลับเป็นองค์กรที่ถูกใช้ในทางการเมืองมากที่สุด แทนที่จะใช้อำนาจในการต่อสู้กับคอรัปชั่น ดูเหมือนว่า ป.ป.ช. จะทำหน้าที่ในการช่วยเหลือรัฐบาลทหารที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ในการทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองที่ถูกขับออกจากตำแหน่งไปและป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้กลับมาก่อปัญหาทางการเมืองได้อีก ป. ป. ช. ไม่ได้รับเอาแนวทางใด ๆ ที่จะต่อสู้กับการทุจริตคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทยทำท่าว่าจะคงอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้รับผลประโยชน์เท่านั้น

ประเทศที่องค์กรต่อต้านคอรัปชั่นได้คะแนนมาเป็นอันดับที่สองคือ ฮ่องกงตามมาด้วยสิงคโปร์ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซึ่งข่าวกรองเอเชียร้องไชโยให้หนึ่งทีและปรบมือให้

ประเทศที่ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 11 มากกว่าของไทย 1 อันดับคือเวียดนาม

หน่วยสืบราชการลับในเอเชีย เป็นจดหมายข่าวรายปักษ์ซึ่งนำเสนอรายงานด้านธุรกิจและการเมืองในเอเชีย จัดทำโดย PERC รายงานฉบับล่าสุดมาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการระดับกลางและระดับอาวุโสจำนวน 1,833 คน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่มาทำงานในเอเชีย

ประเทศไทย
ความคิดเห็น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยซึ่งตีพิมพ์ในหน่วยสืบราชการลับในเอเชียมีดังนี้:

นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มมองถึงความเป็นไปได้ที่จะดำเนินคดีกับชาวต่างชาติที่มีส่วนร่วมกับการฉ้อโกงหรือคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ได้เสนอต่อรัฐบาลทหารที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ว่า เจ้าหน้าที่รัฐของต่างประเทศที่สมคบคิดกับข้าราชการฝ่ายไทยในการกระทำเช่นนั้นควรจะมาขึ้นศาลไทยและรับโทษตามคำพิพากษาของศาลไทยด้วยเช่นกัน มีการเสนอแนะอย่างไม่เป็นทางการว่าน่าจะใช้มาตรการแบบเดียวกันนี้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนในการคอรัปชั่นด้วย ทั้งนี้ ไม่ควรมีการผ่อนคลายมาตรการที่เข้มงวดเพียงเพราะต้องการดึงดูดชาวต่างชาติมาลงทุน

นอกจากนี้ ป.ป.ช. ยังเสนอแนะมาตรการที่จะอนุญาตให้ทางการไทยสามารถประสานงานกับรัฐบาลต่างชาติเพื่อที่จะนำทรัพย์สินของคนไทยที่ทุจริตกลับมาจากต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ป.ป.ช. ยังต้องการให้ขยายอายุความสำหรับคดีทุจริตคอรัปชั่นออกไปเป็น 30 ปีโดยที่ในระหว่างนั้น หากผู้ต้องหาหลบหนีก็ให้อายัดทรัพย์ไว้ได้ มาตรการเหล่านี้มีเป้าหมายที่พ. ต. ท. ทักษิณชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งโดยกองทัพในการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณสร้างฐานะร่ำรวยขึ้นมาจากการทำธุรกิจกับนิติบุคคลต่างชาติ มีการฝากสินทรัพย์จำนวนมากไว้กับธนาคารและสถาบันการเงินในต่างประเทศ

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลใหม่และกลุ่มชนชั้นสูงของประเทศไทยถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักโทษหลบหนีคดีที่ต้องโทษจำคุก อดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ดูไบในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาความพยายามขอตัวพ. ต. ท. ทักษิณในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนและการยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณในต่างประเทศไม่เคยประสบผล

เนื่องจากรัฐบาลต่างชาติไม่ได้มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณกระทำผิดในคดีที่เข้าเงื่อนไขการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

มาตรการอื่นที่กำลังพิจารณากันอยู่ก็จะป้องกันไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้กลับเข้ามาในการเมืองของไทยอีก มีการเสนอว่าในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะห้ามผู้ที่เคยมีประวัติซื้อเสียง โกงการเลือกตั้ง หรือทุจริตคอรัปชั่นเข้าสู่งานการเมืองตลอดชีวิต จากที่ปัจจุบันมีการกำหนดโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ป.ป.ช.มีบทบาทสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งนำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ผู้ซึ่งเป็นน้องสาวของพ. ต. ท. ทักษิณ ป.ป.ช.ถูกกล่าวหาว่าทำรูปคดีเพื่อที่จะช่วยล้มรัฐบาลโดยการชี้มูล กล่าวหาว่ามีการทุจริตอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วดูเหมือนว่าในหลายปีที่ผ่านมา ป.ป.ช.จะละเลยคดีคอรัปชั่นร้ายแรงอื่น ๆ ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นสูงของไทยนั้นตกเป็นจำเลย ภาพความมีอคตินี้ลดทอนความน่าเชื่อถือของ ป.ป.ช. และทำให้ ป.ป.ช.ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิมากเท่าที่ควร

องค์กรที่ทำงานต่อต้านคอรัปชั่นอื่น ๆ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลทหารให้จับตามองการให้สินบนในการออกใบอนุญาตต่าง ๆ และการอนุมัติสำหรับธุรกิจ รวมถึงการรับรองตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม เป้าหมายก็คือเพื่อป้องกันการจ่ายสินบนเพื่อให้ได้รับอนุญาตสำหรับกรณีที่เข้าข่ายจะถูกปฏิเสธ

ในการติดตามคอรัปชั่นและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโดยบุคคลที่มีสถานะทางสังคมระดับสูง (อาชญากรรมปกสีขาว) อื่น ๆ หน่วยงานของไทยมีอุปสรรคคือมีไม่ค่อยมีทักษะในการพิสูจน์หลักฐานและขาดความชำนาญเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (อาชญากรรมไซเบอร์) และอาชญากรรมทางเศรษฐกิจแบบอื่น ๆ จะมีก็แต่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง). ที่ได้รับการสนับสนุนจากศาลและสังคม เจ้าหน้าที่ของ ปปง.ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมและสามารถทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศได้ดี การตัดสินใจอย่างปุบปับของรัฐบาลทหารที่จะดึง ปปง.ไปจากกระทรวงยุติธรรมแล้วไปดูแลเองทำลายขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่จำนวนมากที่ทำงานต่อต้านคอรัปชั่น มีความกังวลว่ากองทัพตั้งใจจะกันภาคพลเรือนออกไปจาก ปปง.และทำให้ยิ่งขาดความน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก

เป็นเวลานานมาแล้วที่ทหารใช้ข้ออ้างว่ามีคอรัปชั่นในวงการการเมืองอย่างมากมายมารับรองการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หลาย ๆ ครั้งที่ผู้ก่อรัฐประหารเองได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับคอรัปชั่นในระดับสูงอย่างร้ายแรงและในมูลค่าที่มากยิ่งกว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลพลเรือนซึ่งถูกขับออกไปเสียอีก อย่างไรก็ตาม ผู้นำทางการทหารชุดปัจจุบันรับทราบถึงการทุจริตในหมู่ทหาร และสั่งกวาดล้างคอรัปชั่น มีคำสั่งให้ตรวจตราโครงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ

จากการสำรวจพบว่า ประชาชนมองว่าทหารและตำรวจเป็นกลุ่มสถาบันที่มีการทุจริตมากที่สุด

พลเอกไพบูลย์คุ้มฉายาผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้ออกมาเตือนว่าแม้แต่ทหารอย่างตัวเขาเองก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายต่อต้านคอรัปชั่น หน่วยงานของรัฐทั้งหมด รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการตรวจสอบทุจริตภาครัฐ

คงจะโชคดีหากรัฐบาลใหม่จะสามารถเอาชนะแรงต้านที่รุนแรงต่อมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหลังจากเริ่มบังคับใช้

เบื้องหลังการรณรงค์เหล่านี้ก็คือการที่ทหารต้องการจะพิสูจน์ความถูกต้องของการยึดอำนาจโดยการระบุตัวและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดในรัฐบาลชุดที่แล้ว

โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ชินวัตรความจริงแล้ว คณะผู้นำทหารและกลุ่มผู้สนับสนุนต่างก็คิดว่า ยิ่งเปิดโปงการทุจริตของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงถึงความจำเป็นที่ทหารจะเข้ามายึดอำนาจจากประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งมากขึ้นเท่านั้น

---------

ส่วนข้อเท็จจริงว่ารายงานฉบับนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มา "ข้อมูล" ว่ามีน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

เป็นเรื่องที่ ป.ป.ช. และกลุ่มบุคคล รวมถึงหน่วยงานอื่นที่ถูกอ้างอิงถึง จะต้องเป็นผู้ตอบคำถามชี้แจงความจริงให้ปรากฎต่อสาธารณชนโดยเร็วที่สุด
Ooo

รูปภาพ : วันเสาร์, กันยายน 06, 2557
คำแปลฉบับเต็ม รายงานจัดอันดับองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นในเอเชีย...ทำไมถึงให้คะแนนเสียง "BOO- โห่ไล่" ป.ป.ช.

ชื่อบทตวามเดิม ... 

เปิดรายงาน PERC ฉบับเต็ม! ทำไมถึงให้ "BOO- โห่ไล่" ป.ป.ช. คะแนนเสียง 
ที่มา สำนักข่าวอิศรา 

หมายเหตุสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เป็นคำแปลฉบับเต็ม รายงานจัดอันดับองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นในเอเชีย ฉบับล่าสุดของ บริษัท ที่ปรึกษาทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ปรึกษาความเสี่ยง จำกัด หรือ PERC ที่ตีพิมพ์ลงในจดหมายข่าวกรองเอเชียฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ข่าว 3 กันยายน 2557 มีการจัดอันดับให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ของไทยอยู่อันดับสุดท้ายใน 12 องค์กรหลักในการต่อต้านคอรัปชั่นของประเทศในเอเชียที่ได้รับการประเมิน และตีพิมพ์ว่า "Boo" หรือโห่ไล่ป. ป. ช. ในขณะที่ลุกขึ้นยืนและปรบมือ (ยืนปรบมือ) ให้กับคณะกรรมการกวาดล้างคอรัปชั่นของอินโดนีเซียที่ถือว่าได้คะแนนสูงสุดในกลุ่ม

------ 

แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่มีการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุดเมื่อมองในระยะยาว แต่องค์กรต่อต้านคอรัปชั่นของไทยกลับเป็นองค์กรที่ถูกใช้ในทางการเมืองมากที่สุด แทนที่จะใช้อำนาจในการต่อสู้กับคอรัปชั่น ดูเหมือนว่า ป.ป.ช. จะทำหน้าที่ในการช่วยเหลือรัฐบาลทหารที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ในการทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองที่ถูกขับออกจากตำแหน่งไปและป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้กลับมาก่อปัญหาทางการเมืองได้อีก ป. ป. ช. ไม่ได้รับเอาแนวทางใด ๆ ที่จะต่อสู้กับการทุจริตคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทยทำท่าว่าจะคงอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้รับผลประโยชน์เท่านั้น 

ประเทศที่องค์กรต่อต้านคอรัปชั่นได้คะแนนมาเป็นอันดับที่สองคือ ฮ่องกงตามมาด้วยสิงคโปร์ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซึ่งข่าวกรองเอเชียร้องไชโยให้หนึ่งทีและปรบมือให้ 

ประเทศที่ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 11 มากกว่าของไทย 1 อันดับคือเวียดนาม 

หน่วยสืบราชการลับในเอเชีย เป็นจดหมายข่าวรายปักษ์ซึ่งนำเสนอรายงานด้านธุรกิจและการเมืองในเอเชีย จัดทำโดย PERC รายงานฉบับล่าสุดมาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการระดับกลางและระดับอาวุโสจำนวน 1,833 คน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่มาทำงานในเอเชีย 

ประเทศไทย 
ความคิดเห็น 
ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยซึ่งตีพิมพ์ในหน่วยสืบราชการลับในเอเชียมีดังนี้: 

นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มมองถึงความเป็นไปได้ที่จะดำเนินคดีกับชาวต่างชาติที่มีส่วนร่วมกับการฉ้อโกงหรือคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ได้เสนอต่อรัฐบาลทหารที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ว่า เจ้าหน้าที่รัฐของต่างประเทศที่สมคบคิดกับข้าราชการฝ่ายไทยในการกระทำเช่นนั้นควรจะมาขึ้นศาลไทยและรับโทษตามคำพิพากษาของศาลไทยด้วยเช่นกัน มีการเสนอแนะอย่างไม่เป็นทางการว่าน่าจะใช้มาตรการแบบเดียวกันนี้กับบริษัทต่างชาติที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนในการคอรัปชั่นด้วย ทั้งนี้ ไม่ควรมีการผ่อนคลายมาตรการที่เข้มงวดเพียงเพราะต้องการดึงดูดชาวต่างชาติมาลงทุน 

นอกจากนี้ ป.ป.ช. ยังเสนอแนะมาตรการที่จะอนุญาตให้ทางการไทยสามารถประสานงานกับรัฐบาลต่างชาติเพื่อที่จะนำทรัพย์สินของคนไทยที่ทุจริตกลับมาจากต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ป.ป.ช. ยังต้องการให้ขยายอายุความสำหรับคดีทุจริตคอรัปชั่นออกไปเป็น 30 ปีโดยที่ในระหว่างนั้น หากผู้ต้องหาหลบหนีก็ให้อายัดทรัพย์ไว้ได้ มาตรการเหล่านี้มีเป้าหมายที่พ. ต. ท. ทักษิณชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งโดยกองทัพในการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณสร้างฐานะร่ำรวยขึ้นมาจากการทำธุรกิจกับนิติบุคคลต่างชาติ มีการฝากสินทรัพย์จำนวนมากไว้กับธนาคารและสถาบันการเงินในต่างประเทศ 

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลใหม่และกลุ่มชนชั้นสูงของประเทศไทยถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักโทษหลบหนีคดีที่ต้องโทษจำคุก อดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ดูไบในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาความพยายามขอตัวพ. ต. ท. ทักษิณในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนและการยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณในต่างประเทศไม่เคยประสบผล 

เนื่องจากรัฐบาลต่างชาติไม่ได้มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณกระทำผิดในคดีที่เข้าเงื่อนไขการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน 

มาตรการอื่นที่กำลังพิจารณากันอยู่ก็จะป้องกันไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้กลับเข้ามาในการเมืองของไทยอีก มีการเสนอว่าในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะห้ามผู้ที่เคยมีประวัติซื้อเสียง โกงการเลือกตั้ง หรือทุจริตคอรัปชั่นเข้าสู่งานการเมืองตลอดชีวิต จากที่ปัจจุบันมีการกำหนดโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี 

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ป.ป.ช.มีบทบาทสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งนำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ผู้ซึ่งเป็นน้องสาวของพ. ต. ท. ทักษิณ ป.ป.ช.ถูกกล่าวหาว่าทำรูปคดีเพื่อที่จะช่วยล้มรัฐบาลโดยการชี้มูล กล่าวหาว่ามีการทุจริตอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน 

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วดูเหมือนว่าในหลายปีที่ผ่านมา ป.ป.ช.จะละเลยคดีคอรัปชั่นร้ายแรงอื่น ๆ ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นสูงของไทยนั้นตกเป็นจำเลย ภาพความมีอคตินี้ลดทอนความน่าเชื่อถือของ ป.ป.ช. และทำให้ ป.ป.ช.ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิมากเท่าที่ควร 

องค์กรที่ทำงานต่อต้านคอรัปชั่นอื่น ๆ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลทหารให้จับตามองการให้สินบนในการออกใบอนุญาตต่าง ๆ และการอนุมัติสำหรับธุรกิจ รวมถึงการรับรองตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม เป้าหมายก็คือเพื่อป้องกันการจ่ายสินบนเพื่อให้ได้รับอนุญาตสำหรับกรณีที่เข้าข่ายจะถูกปฏิเสธ 

ในการติดตามคอรัปชั่นและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโดยบุคคลที่มีสถานะทางสังคมระดับสูง (อาชญากรรมปกสีขาว) อื่น ๆ หน่วยงานของไทยมีอุปสรรคคือมีไม่ค่อยมีทักษะในการพิสูจน์หลักฐานและขาดความชำนาญเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (อาชญากรรมไซเบอร์) และอาชญากรรมทางเศรษฐกิจแบบอื่น ๆ จะมีก็แต่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง). ที่ได้รับการสนับสนุนจากศาลและสังคม เจ้าหน้าที่ของ ปปง.ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมและสามารถทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศได้ดี การตัดสินใจอย่างปุบปับของรัฐบาลทหารที่จะดึง ปปง.ไปจากกระทรวงยุติธรรมแล้วไปดูแลเองทำลายขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่จำนวนมากที่ทำงานต่อต้านคอรัปชั่น มีความกังวลว่ากองทัพตั้งใจจะกันภาคพลเรือนออกไปจาก ปปง.และทำให้ยิ่งขาดความน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก 

เป็นเวลานานมาแล้วที่ทหารใช้ข้ออ้างว่ามีคอรัปชั่นในวงการการเมืองอย่างมากมายมารับรองการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หลาย ๆ ครั้งที่ผู้ก่อรัฐประหารเองได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับคอรัปชั่นในระดับสูงอย่างร้ายแรงและในมูลค่าที่มากยิ่งกว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลพลเรือนซึ่งถูกขับออกไปเสียอีก อย่างไรก็ตาม ผู้นำทางการทหารชุดปัจจุบันรับทราบถึงการทุจริตในหมู่ทหาร และสั่งกวาดล้างคอรัปชั่น มีคำสั่งให้ตรวจตราโครงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ 

จากการสำรวจพบว่า ประชาชนมองว่าทหารและตำรวจเป็นกลุ่มสถาบันที่มีการทุจริตมากที่สุด 

พลเอกไพบูลย์คุ้มฉายาผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้ออกมาเตือนว่าแม้แต่ทหารอย่างตัวเขาเองก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายต่อต้านคอรัปชั่น หน่วยงานของรัฐทั้งหมด รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการตรวจสอบทุจริตภาครัฐ 

คงจะโชคดีหากรัฐบาลใหม่จะสามารถเอาชนะแรงต้านที่รุนแรงต่อมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหลังจากเริ่มบังคับใช้ 

เบื้องหลังการรณรงค์เหล่านี้ก็คือการที่ทหารต้องการจะพิสูจน์ความถูกต้องของการยึดอำนาจโดยการระบุตัวและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดในรัฐบาลชุดที่แล้ว 

โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ชินวัตรความจริงแล้ว คณะผู้นำทหารและกลุ่มผู้สนับสนุนต่างก็คิดว่า ยิ่งเปิดโปงการทุจริตของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงถึงความจำเป็นที่ทหารจะเข้ามายึดอำนาจจากประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งมากขึ้นเท่านั้น 

--------- 

ส่วนข้อเท็จจริงว่ารายงานฉบับนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มา "ข้อมูล" ว่ามีน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด 

เป็นเรื่องที่ ป.ป.ช. และกลุ่มบุคคล รวมถึงหน่วยงานอื่นที่ถูกอ้างอิงถึง จะต้องเป็นผู้ตอบคำถามชี้แจงความจริงให้ปรากฎต่อสาธารณชนโดยเร็วที่สุด
Ooo

วงค์ตาวัน: ตำนานตบเท้าเข้าบ้านสี่เสา

วันเสาร์, กันยายน 06, 2557
วงค์ตาวัน: ตำนานตบเท้าเข้าบ้านสี่เสา

ชกคาดเชือก
มติชนสุดสัปดาห์ 29 สิงหาคม - 4 กันยายน 2557

ปกติบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล. อ. เปรม ติณสูลานนท์ประธานองคมนตรี จะเปิดรับการตบเท้าเข้าอวยพรของผู้นำเหล่าทัพและตำรวจ ไปจนถึงข้าราชการกระทรวงสำคัญ ๆ เป็นประจำสม่ำเสมอถึงปีละ 3 ครั้ง

คือวันปีใหม่ วันสงกรานต์และ วันเกิด 26 สิงหาคม

มาในปีนี้วันเกิดครบ 94 ปี กลายเป็นข่าวที่เป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอื้ออึง เมื่อป๋าเปรมประกาศงดเปิดบ้านให้เข้าอวยพร โดยนายทหารคนสนิทเป็นผู้แจ้งข่าวพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลว่า"ไม่อยากรบกวนพล. อ. ประยุทธ์จันทร์โอชาและผบ. เหล่าทัพเห็นว่ากำลังยุ่ง มีภารกิจมากมายในการบริหารประเทศเวลานี้ "

นี่จึงนำมาสู่ข้อสงสัยมากมาย

เพราะธรรมเนียมปฏิบัติเข้าบ้านป๋าปีละ3 ครั้งดำเนินต่อเนื่องมาทุกปี

ผู้นำเหล่าทัพทุกยุคล้วนยึดถือปฏิบัติมากว่า 30 ปีแล้ว

จู่ๆป๋ามาสั่งงดย่อมเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์!!

เกิดกระแสข่าว 2 กระแสที่บ่งชี้เบื้องหลัง

กระแสหนึ่งระบุว่าการที่คนสนิทป๋าเปรมให้เหตุผลว่าเห็น พล. อ. ประยุทธ์และผบ. เหล่าทัพกำลังยุ่งเพราะกำลังมีภารกิจบริหารประเทศจึงไม่อยากรวบกวนเวลานั้น

ภารกิจที่กำลังยุ่งก็คือ การควบคุมการปกครองประเทศและกำลังตั้งรัฐบาลที่มี พล. อ. ประยุทธ์เป็นนายกฯ

ดังนั้นทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่าหากพล. อ. ประยุทธ์และคณะนายทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจตบเท้าเข้าอวยพรป๋าเปรมจะทำให้เกิดภาพไม่ดีกับป๋า เหมือนไปดึงป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจหนนี้

เกรงจะทำให้ป๋าเปรมตกเป็นเป้าหมายถูกโจมตีในทางการเมืองได้

การที่ป๋างดเปิดบ้านและการที่ผบ.เหล่าทัพไม่ได้เข้าบ้าน จึงมีเหตุผลเพื่อป้องกันไม่ให้ป๋าต้องเสียหายในห้วงของการปฏิวัติรัฐประหารนี่เอง

แต่มีอีกกระแสข่าวระบุว่าก่อนและหลังการยึดอำนาจหนนี้ พล. อ. ประยุทธ์และแกนนำคสช พยายามระมัดระวังอย่างสูง เพื่อไม่ให้ป๋าเปรมต้องมีภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง

เนื่องจากมีสถานะเป็นถึงประธานองคมนตรี ย่อมต้องปกป้องไม่ให้ถูกลากไปโจมตีได้

คณะคสช จึงไม่ได้ติดต่อประสานกับป๋าเปรมมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนปฏิวัติแม้แต่วันลงมือยึดอำนาจไปจนถึงหลังจากนั้น ได้ป้องกันเต็มที่ไม่ให้มีภาพป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย

ข่าวกระแสนี้ระบุว่าการที่ป๋าเปรมปิดบ้านสี่เสาไม่ให้ใครเข้าอวยพรเป็นการตอกย้ำความเป็นจริงที่ว่า บ้านสี่เสามีระยะห่างจากคณะนายทหารยุคนี้อย่างชัดเจนเป็นสำคัญ! 
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้ายึดอำนาจของคสช เมื่อ 22 พฤษภาคมนั้น เป็นผลมาจากขบวนการวางแผนชัตดาวน์ประเทศ ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลายเป็นรัฐล้มเหลว

ขบวนการเคลื่อนไหวซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายหลายส่วนมีทั้งกลุ่มอำนาจ มีทั้งพรรคการเมือง มีทั้งกลุ่มคนที่มีความคิดต้องการสังคมแนวอนุรักษนิยม

ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เดินหน้าไปไม่ได้เพื่อกดดันให้ทหารต้องออกมายึดอำนาจ

แต่เราจะพบว่า การชุมนุมประท้วงขับไล่ยิ่งลักษณ์นั้นยืดเยื้อยาวนานจนแทบหมดเรี่ยวหมดแรงหมดทุนรอน

เพราะพล. อ. ประยุทธ์สงบนิ่งมาตลอด! 
คงเพราะไม่ต้องการเป็นหมากในกลเกมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งเพื่อแสดงให้เห็นความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง 

แม้กระทั่งวันที่ตัดสินใจยึดอำนาจ ก็เชื่อกันว่าเป็นการตัดสินใจตามจังหวะเวลาของผู้นำกองทัพเอง

ไม่ได้ตัดสินใจไปตามแผนที่คนอื่นวางเอาไว้เพื่อให้เป็นแค่คนออกมาปิดจ๊อบ
จึงน่าสนใจเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังมีการชุมนุมชัตดาวน์อย่างยืดเยื้อ

ในวันที่ 14 มีนาคมพล. อ. เปรมเดินทางไปเปิดอนุสาวรีย์พล. อ. กฤษณ์สีวะรา ในฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ที่ค่ายกฤษณ์สีวะราจังหวัดทหารบกสกลนครอำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร

ขณะที่พล. อ. เปรม เดินนำคณะนายทหารดูบริเวณอนุสาวรีย์ดังกล่าว ได้หยุดอ่านข้อความที่บันทึกไว้ใต้ฐานรูปปั้น แล้วหันมากล่าวกับคณะนายทหารว่า "จะไปบอก ผบ.ทบ. ให้มาอ่านดูตรงนี้"

ทั้งนี้ป้ายข้อความดังกล่าวเป็นคำพูดของพล. อ. กฤษณ์ที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า

"ทหารเรายืนอยู่บนเกียรติอันสูงส่ง ที่ประชาชนคนไทยหวังเป็นที่พึ่งขั้นสุดท้ายของเขา" 
ท่าทีและคำพูดของป๋าเปรมในวันนั้นผนวกกับความหมายของข้อความดังกล่าว ทำให้ถูกตีความว่าเป็นการส่งสัญญาณบางอย่าง

ในวันรุ่งขึ้นนักข่าวสอบถามพล. อ. ประยุทธ์ทันทีได้รับคำตอบว่าเป็นเพียงเรื่องภายในพล. อ. เปรมคงจะพูดในทำนองว่าอยากให้มาดูอนุสาวรีย์ที่สร้างใหม่ซึ่งหลายส่วนยังไม่เรียบร้อย

"ไม่มีการส่งสัญญาณ และผมเองไม่เคยรับสัญญาณใครทั้งนั้น" 
พล. อ. ประยุทธ์ย้ำด้วยว่าประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นผู้มีเกียรติเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองไม่ทำอะไรให้เกิดปัญหา และคงไม่ต้องฝากอะไรมาถึงตนเองเพราะก็คุยกันตลอด

จากวันที่ 14 มีนาคมทิ้งช่วงอีกกว่า 2 เดือนจึงเกิดเหตุ 22 พฤษภาคม

คสช เข้าควบคุมการปกครองมากว่า 3 เดือน และกำลังเข้าสู่ช่วงของการเข้าเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ จะพบว่าได้พยายามมาตลอด เพื่อจะให้เห็นว่าเข้ามาทำหน้าที่กรรมการกลาง ยุติความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วให้หมดสิ้นไป

ตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมากลายเป็นว่าฝ่ายทักษิณพรรคเพื่อไทยและเสื้อแดงสงบเงียบเป็นส่วนใหญ่ 
โดยเชื่อว่า ฝ่ายนี้ต้องการให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี เพื่อวันเลือกตั้งที่คสช กำหนดเอาไว้คือเดือนตุลาคม 2558 จะไม่ต้องเลื่อนออกไปอีก

ไปๆมาๆกลายเป็นว่า กลุ่มคนที่ร่วมขบวนการชัตดาวน์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งอาจจะรู้สึกเสมือนว่าเป็นคนกันเองกับผู้นำกองทัพและ คสช เริ่มหงุดหงิดและเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับคสช หลาย ๆ ประการ 
ม็อบสวนยางปักษ์ใต้เริ่มขยับตัว กลุ่มเคลื่อนไหวด้านพลังงานเริ่มเดินขบวน 
เร็ว ๆ นี้โฉมหน้าของสภาปฏิรูปแห่งชาติจะปรากฏออกมา และจะเริ่มเห็นแนวทางการวางกรอบการเมืองใหม่ว่าเป็นเช่นไร

เป็นไปตามฝ่ายต่อต้านทักษิณต้องการหรือไม่หรือ คสช จะทำให้ออกมาตามแนวของตัวเองไม่ยึดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

นั่นจะเป็นคำตอบว่า สถานการณ์ในภายภาคหน้าของรัฐบาลประยุทธ์ จะต้องเผชิญกับคลื่นใต้น้ำจากฝ่ายไหนกันแน่

แต่วันนี้พล. อ. ประยุทธ์และคสชนี้จะพบว่าพล เดินตามแนวทางที่เป็นตัวของตัวเองอย่างสูง

ยึดอำนาจด้วยการตัดสินใจจังหวะเวลาเอง แล้วเป็นนายกฯ เอง ตั้งรัฐบาลประกอบด้วยคณะทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจเอง

กระนั้นก็ตามส่วนหนึ่งที่พล. อ. ประยุทธ์มีความมั่นใจในตัวเองสูง เพราะฐานกำลังในกองทัพนั้นค่อนข้างเหนียวแน่น

ถ้าหากการแต่งตั้ง ผบ.ทบ. และระดับ 5 เสือที่กำลังจะลงมือในอีกไม่กี่วันนี้ วางคนที่ไว้วางใจได้คุมอย่างครบถ้วน

พล. อ. ประยุทธ์ ก็คงยังมั่นใจสูงที่จะเดินหน้าทำงานตามแนวทางของตนเอง โดยไม่ต้องให้ใครมานำหรือกำหนด

แม้แต่กับป๋าเปรมก็น่าจะรักษาระยะห่างเอาไว้ เพื่อไม่ให้ฐานะประธานองคมนตรีต้องถูกโจมตีเสียหาย

แต่ยังไม่รู้ว่า จะมีผลให้ตำนานการตบเท้าเข้าบ้านสี่เสาที่ยาวนานมากว่า 30 ปี

ต้องแปรเปลี่ยนไปในที่สุดหรือไม่?

รูปภาพ : วันเสาร์, กันยายน 06, 2557
วงค์ตาวัน: ตำนานตบเท้าเข้าบ้านสี่เสา

ชกคาดเชือก 
มติชนสุดสัปดาห์ 29 สิงหาคม - 4 กันยายน 2557 

ปกติบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของพล. อ. เปรมติณสูลานนท์ประธานองคมนตรี จะเปิดรับการตบเท้าเข้าอวยพรของผู้นำเหล่าทัพและตำรวจ ไปจนถึงข้าราชการกระทรวงสำคัญ ๆ เป็นประจำสม่ำเสมอถึงปีละ 3 ครั้ง 

คือวันปีใหม่วันสงกรานต์และวันเกิด 26 สิงหาคม 

มาในปีนี้วันเกิดครบ 94 ปี กลายเป็นข่าวที่เป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอื้ออึง เมื่อป๋าเปรมประกาศงดเปิดบ้านให้เข้าอวยพร โดยนายทหารคนสนิทเป็นผู้แจ้งข่าวพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลว่าไม่อยากรบกวนพล. อ. ประยุทธ์จันทร์โอชาและผบ. เหล่าทัพเห็นว่ากำลังยุ่ง มีภารกิจมากมายในการบริหารประเทศเวลานี้ 

นี่จึงนำมาสู่ข้อสงสัยมากมาย 

เพราะธรรมเนียมปฏิบัติเข้าบ้านป๋าปีละ3 ครั้งดำเนินต่อเนื่องมาทุกปี 

ผู้นำเหล่าทัพทุกยุคล้วนยึดถือปฏิบัติมากว่า 30 ปีแล้ว 

จู่ๆป๋ามาสั่งงดย่อมเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์!! 

เกิดกระแสข่าว 2 กระแสที่บ่งชี้เบื้องหลัง 

กระแสหนึ่งระบุว่าการที่คนสนิทป๋าเปรมให้เหตุผลว่าเห็นพล. อ. ประยุทธ์และผบ. เหล่าทัพกำลังยุ่งเพราะกำลังมีภารกิจบริหารประเทศจึงไม่อยากรวบกวนเวลานั้น 

ภารกิจที่กำลังยุ่งก็คือ การควบคุมการปกครองประเทศและกำลังตั้งรัฐบาลที่มี พล. อ. ประยุทธ์เป็นนายกฯ 

ดังนั้นทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่าหากพล. อ. ประยุทธ์และคณะนายทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจตบเท้าเข้าอวยพรป๋าเปรมจะทำให้เกิดภาพไม่ดีกับป๋า เหมือนไปดึงป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจหนนี้ 

เกรงจะทำให้ป๋าเปรมตกเป็นเป้าหมายถูกโจมตีในทางการเมืองได้ 

การที่ป๋างดเปิดบ้านและการที่ผบ.เหล่าทัพไม่ได้เข้าบ้าน จึงมีเหตุผลเพื่อป้องกันไม่ให้ป๋าต้องเสียหายในห้วงของการปฏิวัติรัฐประหารนี่เอง 

แต่มีอีกกระแสข่าวระบุว่าก่อนและหลังการยึดอำนาจหนนี้ พล. อ. ประยุทธ์และแกนนำคสช พยายามระมัดระวังอย่างสูง เพื่อไม่ให้ป๋าเปรมต้องมีภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง 

เนื่องจากมีสถานะเป็นถึงประธานองคมนตรี ย่อมต้องปกป้องไม่ให้ถูกลากไปโจมตีได้ 

คณะคสช จึงไม่ได้ติดต่อประสานกับป๋าเปรมมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนปฏิวัติแม้แต่วันลงมือยึดอำนาจไปจนถึงหลังจากนั้น ได้ป้องกันเต็มที่ไม่ให้มีภาพป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย 

ข่าวกระแสนี้ระบุว่าการที่ป๋าเปรมปิดบ้านสี่เสาไม่ให้ใครเข้าอวยพรเป็นการตอกย้ำความเป็นจริงที่ว่า บ้านสี่เสามีระยะห่างจากคณะนายทหารยุคนี้อย่างชัดเจนเป็นสำคัญ! 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้ายึดอำนาจของคสช เมื่อ 22 พฤษภาคมนั้น เป็นผลมาจากขบวนการวางแผนชัตดาวน์ประเทศ ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลายเป็นรัฐล้มเหลว 

ขบวนการเคลื่อนไหวซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายหลายส่วนมีทั้งกลุ่มอำนาจ มีทั้งพรรคการเมือง มีทั้งกลุ่มคนที่มีความคิดต้องการสังคมแนวอนุรักษนิยม

ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เดินหน้าไปไม่ได้เพื่อกดดันให้ทหารต้องออกมายึดอำนาจ 

แต่เราจะพบว่า การชุมนุมประท้วงขับไล่ยิ่งลักษณ์นั้นยืดเยื้อยาวนานจนแทบหมดเรี่ยวหมดแรงหมดทุนรอน 

เพราะพล. อ. ประยุทธ์สงบนิ่งมาตลอด! 

คงเพราะไม่ต้องการเป็นหมากในกลเกมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งเพื่อแสดงให้เห็นความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง 

แม้กระทั่งวันที่ตัดสินใจยึดอำนาจ ก็เชื่อกันว่าเป็นการตัดสินใจตามจังหวะเวลาของผู้นำกองทัพเอง 

ไม่ได้ตัดสินใจไปตามแผนที่คนอื่นวางเอาไว้เพื่อให้เป็นแค่คนออกมาปิดจ๊อบ 

จึงน่าสนใจเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังมีการชุมนุมชัตดาวน์อย่างยืดเยื้อ 

ในวันที่ 14 มีนาคมพล. อ. เปรมเดินทางไปเปิดอนุสาวรีย์พล. อ. กฤษณ์สีวะรา ในฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ที่ค่ายกฤษณ์สีวะราจังหวัดทหารบกสกลนครอำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร 

ขณะที่พล. อ. เปรม เดินนำคณะนายทหารดูบริเวณอนุสาวรีย์ดังกล่าว ได้หยุดอ่านข้อความที่บันทึกไว้ใต้ฐานรูปปั้น แล้วหันมากล่าวกับคณะนายทหารว่า "จะไปบอก ผบ.ทบ. ให้มาอ่านดูตรงนี้" 

ทั้งนี้ป้ายข้อความดังกล่าวเป็นคำพูดของพล. อ. กฤษณ์ที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า 

"ทหารเรายืนอยู่บนเกียรติอันสูงส่ง ที่ประชาชนคนไทยหวังเป็นที่พึ่งขั้นสุดท้ายของเขา" 

ท่าทีและคำพูดของป๋าเปรมในวันนั้นผนวกกับความหมายของข้อความดังกล่าว ทำให้ถูกตีความว่าเป็นการส่งสัญญาณบางอย่าง 

ในวันรุ่งขึ้นนักข่าวสอบถามพล. อ. ประยุทธ์ทันทีได้รับคำตอบว่าเป็นเพียงเรื่องภายในพล. อ. เปรมคงจะพูดในทำนองว่าอยากให้มาดูอนุสาวรีย์ที่สร้างใหม่ซึ่งหลายส่วนยังไม่เรียบร้อย 

"ไม่มีการส่งสัญญาณ และผมเองไม่เคยรับสัญญาณใครทั้งนั้น" 

พล. อ. ประยุทธ์ย้ำด้วยว่าประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นผู้มีเกียรติเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมืองไม่ทำอะไรให้เกิดปัญหา และคงไม่ต้องฝากอะไรมาถึงตนเองเพราะก็คุยกันตลอด 

จากวันที่ 14 มีนาคมทิ้งช่วงอีกกว่า 2 เดือนจึงเกิดเหตุ 22 พฤษภาคม 

คสช เข้าควบคุมการปกครองมากว่า 3 เดือน และกำลังเข้าสู่ช่วงของการเข้าเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ จะพบว่าได้พยายามมาตลอด เพื่อจะให้เห็นว่าเข้ามาทำหน้าที่กรรมการกลาง ยุติความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วให้หมดสิ้นไป 

ตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมากลายเป็นว่าฝ่ายทักษิณพรรคเพื่อไทยและเสื้อแดงสงบเงียบเป็นส่วนใหญ่ 

โดยเชื่อว่า ฝ่ายนี้ต้องการให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี เพื่อวันเลือกตั้งที่คสช กำหนดเอาไว้คือเดือนตุลาคม 2558 จะไม่ต้องเลื่อนออกไปอีก 

ไปๆมาๆกลายเป็นว่า กลุ่มคนที่ร่วมขบวนการชัตดาวน์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งอาจจะรู้สึกเสมือนว่าเป็นคนกันเองกับผู้นำกองทัพและ คสช เริ่มหงุดหงิดและเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับคสช หลาย ๆ ประการ 

ม็อบสวนยางปักษ์ใต้เริ่มขยับตัว กลุ่มเคลื่อนไหวด้านพลังงานเริ่มเดินขบวน 

เร็ว ๆ นี้โฉมหน้าของสภาปฏิรูปแห่งชาติจะปรากฏออกมา และจะเริ่มเห็นแนวทางการวางกรอบการเมืองใหม่ว่าเป็นเช่นไร 

เป็นไปตามฝ่ายต่อต้านทักษิณต้องการหรือไม่หรือ คสช จะทำให้ออกมาตามแนวของตัวเองไม่ยึดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 

นั่นจะเป็นคำตอบว่า สถานการณ์ในภายภาคหน้าของรัฐบาลประยุทธ์ จะต้องเผชิญกับคลื่นใต้น้ำจากฝ่ายไหนกันแน่ 

แต่วัน. อ. ประยุทธ์และคสชนี้จะพบว่าพล เดินตามแนวทางที่เป็นตัวของตัวเองอย่างสูง 

ยึดอำนาจด้วยการตัดสินใจจังหวะเวลาเอง แล้วเป็นนายกฯ เอง ตั้งรัฐบาลประกอบด้วยคณะทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจเอง 

กระนั้นก็ตามส่วนหนึ่งที่พล. อ. ประยุทธ์มีความมั่นใจในตัวเองสูง เพราะฐานกำลังในกองทัพนั้นค่อนข้างเหนียวแน่น 

ถ้าหากการแต่งตั้ง ผบ.ทบ. และระดับ 5 เสือที่กำลังจะลงมือในอีกไม่กี่วันนี้ วางคนที่ไว้วางใจได้คุมอย่างครบถ้วน 

พล. อ. ประยุทธ์ ก็คงยังมั่นใจสูงที่จะเดินหน้าทำงานตามแนวทางของตนเอง โดยไม่ต้องให้ใครมานำหรือกำหนด 

แม้แต่กับป๋าเปรมก็น่าจะรักษาระยะห่างเอาไว้ เพื่อไม่ให้ฐานะประธานองคมนตรีต้องถูกโจมตีเสียหาย 

แต่ยังไม่รู้ว่า จะมีผลให้ตำนานการตบเท้าเข้าบ้านสี่เสาที่ยาวนานมากว่า 30 ปี 

ต้องแปรเปลี่ยนไปในที่สุดหรือไม่?

งปปช ไม่ควรอ้างถึงงานวิชาการของทีดีอาร์ไอในฐานะที่เป็น "หลักฐาน" ในการตัดสินกล่าวโทษผู้ใด

ป ธ . ทีดีอาร์ไอสมเกียรติตั้งกิจวานิชย์ติงปปช ไม่ควรอ้างถึงงานวิชาการของทีดีอาร์ไอในฐานะที่เป็น "หลักฐาน" ในการตัดสินกล่าวโทษผู้ใด

ที่มา FB สมเกียรติตั้งกิจวานิชย์ 

มีการวิพากษ์วิจารณ์ และมีการสอบถามกันเข้ามาพอสมควรต่อเรื่องที่ ปปช อ้างงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ ในการกล่าวโทษอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในโครงการจำนำข้าว โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อความเห็นที่แตกต่างระหว่างอัยการสูงสุด กับปปช ทำให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นข่าวใหญ่

อันที่จริงอาจารย์นิพนธ์พัวพงศกรเพื่อนร่วมงานของผมที่ทีดีอาร์ไอซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวและเป็นเจ้าของงานวิจัยดังกล่าว ก็กำลังเตรียมที่จะชี้แจงเรื่องดังกล่าวต่อสาธารณะอยู่ แต่ผมเห็นว่าการอภิปรายกันในสังคม โดยเฉพาะในโลกออนไลน์เริ่มจะสับสนมากขึ้น โดยเนื้อหาบางส่วนก็พาดพิงมาถึงทีดีอาร์ไอในแง่มุมต่างๆ ผมจึงอยากอธิบายสั้น ๆ กับเพื่อน ๆ ว่าทีดีอาร์ไอทำอะไรเพื่ออะไร และอธิบายว่างานวิชาการแตกต่างจากงานไต่สวนอย่างไร

ก่อนอื่นผมขอแจ้งให้ทราบก่อนว่าโดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิพนธ์อย่างยิ่งว่า นโยบายจำนำข้าวเป็นนโยบายที่มีปัญหามาก เพราะไม่ได้ช่วยคนจนอย่างตรงจุด ทำลายกลไกตลาดค้าข้าวซึ่งทำงานได้ดีพอใช้จนแทบจะเสียหายไปหมด และทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในวงกว้าง ซึ่งปปช ควรต้องไต่สวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ 

ประเด็นสำคัญที่ผมอยากสื่อสารก็คือ ทีดีอาร์ไอเป็นสถาบันวิจัยด้านนโยบาย หน้าที่ของเราคือ การวิจัยที่มุ่งให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขนโยบายที่มีปัญหา เป้าหมายของทีดีอาร์ไอแตกต่างจากของ ปปช ที่ต้องไต่สวนเอาผิดกับผู้ทุจริตคอรัปชั่นหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่

ผมจึงคิดว่าปปช ไม่ควรอ้างถึงงานวิชาการของทีดีอาร์ไอในฐานะที่เป็น "หลักฐาน" ในการตัดสินกล่าวโทษผู้ใด เพราะพยานหลักฐานทางวิชาการย่อมมีลักษณะแตกต่างจากพยานหลักฐานในคดีอาญาหรือคดีการเมืองในความรับผิดชอบของ ปปช 
ในความเห็นของผม งานวิชาการอาจจะมีประโยชน์บ้างในการเป็นจุดเริ่มต้นหรือช่วยวางกรอบความคิดในเรื่องซับซ้อนที่ ปปช ต้องไต่สวน แต่หลักฐานที่จะใช้ได้ในคดีความนั้น ก็เป็นหลักฐานซึ่งมีมาตรฐานในการพิสูจน์คนละอย่างจากหลักฐานทางวิชาการ เช่น งานวิชาการอาจใช้หลักสถิติในการพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน ในขณะที่การพิสูจน์การกระทำผิดทางกฎหมาย ก็มีมาตรฐานในกฎหมายกำหนดอยู่เช่นต้องมีเจตนาหรือประมาทเลินเล่อเป็นต้นซึ่งทางวิชาการมักจะไม่สนใจเพราะไม่ได้พุ่งเป้าที่จะเอาผิดใคร

ด้วยอำนาจตามกฎหมายและทรัพยากรที่มีอยู่ ผมเชื่อว่าปปช สามารถหาพยานหลักฐานต่างๆ หาตัวคนผิดในโครงการจำนำข้าวมาดำเนินคดีได้ ในขณะที่นักวิชาการไม่ว่าที่ทีดีอาร์ไอ หรือที่ไหน ๆ ก็ไม่มีอำนาจไปเรียกใครมาให้ปากคำ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะมุ่งดำเนินคดีกับใคร

ปปช เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศ และมีบทบาทหลักในการป้องปรามการทุจริตคอรัปชั่น ผมอยากจะเห็นปปช ทำงานอย่างรัดกุมและสื่อสารกับสาธารณะอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของหน่วยงาน ซึ่งผมเชื่อว่าไม่เกินความสามารถและทรัพยากรที่ปปช มีอยู่