PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

โปรดเกล้าฯ โผทหารรับราชการ ประจำปี 2557

(8 ก.ย.2557) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง ได้เผยแพร่ พระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ โดยมีตำแหน่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเอก วิชิต ศรีประเสริฐ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม
พลโท พันลึก สุวรรณทัต หัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (น้องชาย พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต อดีต รมช.คมนาคม)
กองบัญชาการกองทัพไทย
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รมว.ยุติธรรม)
พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ เสนาธิการทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พลอากาศเอก พลเทพ โหมดสุวรรณ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศเป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พลเอก สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น เสนาธิการทหาร
พลเอก ทวีป เนตรนิยม หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
พลเอก สุรพันธ์ วงศ์ไทย ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
พลโท วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็น รองเสนาธิการทหาร
กองทัพบก
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (รมช.กลาโหม)
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก (รมว.พาณิชย์)
พลเอก อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก
พลโท ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ ๑ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พลโท ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ ๓ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (น้องชายพลเอกประยุทธ์)
พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบก เป็น เสนาธิการทหารบก
พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก เป็น หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา (รมช.ศึกษาธิการ)
พลโท สุชาติ หนองบัว ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกิจการพลเรือน เป็นรองเสนาธิการทหารบก
พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร แม่ทัพน้อยที่ ๑ เป็น รองเสนาธิการทหารบก
พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็น แม่ทัพภาคที่ ๑
พลโท สาธิต พิธรัตน์ แม่ทัพน้อยที่ ๓ เป็น แม่ทัพภาคที่ ๓
พลโท ทลวงรณ วรชาติ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
พลตรี วิวรรธน์ สุชาติ เจ้ากรมยุทธโยธาทหารบก เป็น รองเสนาธิการทหารบก
พลตรี เทียนชัย รับพร รองปลัดบัญชีทหารบก เป็น ปลัดบัญชีทหารบก
พลตรี สุรเดช เฟื่องเจริญ เจ้ากรมกำลังพลทหารบก เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหารบก(อัตรา พลโท)
พลตรี ปณต แสงเทียน เจ้ากรมข่าวทหารบก เป็น เจ้ากรมข่าวทหารบก (อัตรา พลโท)
พลตรี สสิน ทองภักดี เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็น เจ้ากรมยุทธการทหารบก(อัตรา พลโท)
พลตรี สมชาย ยังพิทักษ์ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เป็น เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (อัตรา พลโท)
พลตรี พลาวุฒิ กลับเจริญ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก เป็น เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก (อัตรา พลโท)
พลตรี ธวัช สุกปลั่ง รองแม่ทัพภาคที่ ๒ เป็น แม่ทัพภาคที่ ๒
พลตรี ปราการ ชลยุทธ รองแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็น แม่ทัพภาคที่ ๔
พลตรี เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ รองแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็น แม่ทัพน้อยที่ ๑
พลตรี อาชาไนย ศรีสุข รองแม่ทัพภาคที่ ๒ เป็น แม่ทัพน้อยที่ ๒
พลตรี สุชาติ ผ่องพุฒิ รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร เป็น เจ้ากรมการทหารสื่อสาร
พลตรี บุณยรักษ์ พูนชัย รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก เป็น เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
พลตรี กฤษฎา อารีรัชชกุล รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
พลตรี ชาญชัย ยศสุนทร รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พลตรี อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๑
พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙ เป็น รองแม่ทัพภาคที่ ๑
พลตรี ณัฐ อินทรเจริญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๔ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙
พลตรี ชาตชาย วัฒน์ธนนันท์ เสนาธิการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ ๑
พลตรี บุญธัม สามปรุ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
พลตรี วิบูล ขยันกิจ เสนาธิการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก เป็นผู้บัญชาการศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
พลตรี วิบูลย์พงศ์ อินทะพงษ์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า
พลตรี สุรินทร์ แพโต ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ ๑ เป็น ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ ๑
พลตรี จักรชัย โมกขะสมิต ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ ๑
พลตรี ธัญญพรหม อัศวจินดา ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ ๓
พันเอก พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
พันเอก กฤต ผิวเงิน เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓
พันเอก นพพร เรือนจันทร์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๔
พันเอก คุณวุฒิ หมอแก้ว เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๕
พันเอก สุริศร์ สุขชุ่ม เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๑๑
พันเอก ธนิสร วงษ์กล้าหาญ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่
พันเอก ธรรมนูญ วิถี เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก
พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก (อดีต โฆษก ศอฉ.)
พันเอก ศตวรรษ รามดิษฐ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
พันเอก ศรีศักดิ์ พูนประสิทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
พันเอก บุญชู กลิ่นสาคร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
พันเอก หม่อมหลวงกุลชาต ดิศกุล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
กองทัพเรือ
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือเอก พจนา เผือกผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือเอก อภิชัย อมาตยกุล ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ
พลเรือเอก อิทธิคมน์ ภมรสูต รองเสนาธิการทหาร เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ
พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือเอก ธนะรัตน์ อุบล ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็น เสนาธิการทหารเรือ
พลเรือโท พลเดช เจริญพูล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธบริการ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ
พลเรือตรี ธนะกาญจน์ ใคร่ครวญ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
พลเรือตรี พิทักษ์ พิบูลทิพย์ รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
พลเรือตรี นริส ประทุมสุวรรณ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๑ เป็น ผู้บัญชาการทัพเรือ
พลเรือตรี ไพฑูรย์ ประสพสิน ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
พลเรือตรีหญิง พัฒนทวิ ศรีสมวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทันตกรรม กรมแพทย์ทหารเรือเป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ
กองทัพอากาศ
กองทัพอากาศ
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง เสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ
พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็น รองผู้บัญชาการทหารอากาศ
พลอากาศเอก วรฉัตร ธารีฉัตร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ
พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
พลอากาศโท จอม รุ่งสว่าง รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น เสนาธิการทหารอากาศ
พลอากาศตรี ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

.. งานนี้ปปช. ศพไม่สวย !!! ...

วันอังคาร, 09 กันยายน 2557
... งานนี้ปปช. ศพไม่สวย !!! ...
เลอะเทอะเละเทะไปกันใหญ่โต หลังจากอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องยิ่งลักษณ์ในคดีจำนำข้าว ที่ปปช. ส่งให้โดยคำชี้แจงที่ชัดเจน 3 ข้อสรุปคือ "ปปช. ไม่มีหลักฐานอะไรเลย" มี แต่ปกหน้า และคำนำผลวิจัยของทีดีอาร์ไอแนบคำฟ้องมา จนต่อมาทำให้คน "ศาสตราจารย์" อย่างนายวิชามหาคุณออกมา "ข่มขู่" อัยการว่า "ง่อนแง่น" ระดับ อาจถูกปลดเหมือนอัยการคนก่อน..นั่นแน่ !
ชั่วไม่ทันหม้อข้าวเดือดเท่านั้นชาวเน็ตก็ผลุดหลักฐาน “ผลวิจัยคดีจำนำข้าวของทีดีอาร์ไอที่ ปปช. แนบเรื่องให้อสส ". กันว่อนคนทั่วไปจึงได้เห็นว่าสิ่งที่ปปช. นำไปใช้ในการฟ้องยิ่งลักษณ์นั้นเป็นเรื่องเก่าตั้งแต่ตุลาคม 2554 ขณะที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ตายละซิปปช ... โอละพ่อ!
พระเดชพระคุณเอ๊ยผลการวิจัยฉบับนี้มันทำมาตั้งแต่ปี 48 / 49- สมัยรัฐบาลทักษิณจนมาถึงปี 52 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วอยู่ก็โผล่มาในปีเดือนตุลาคม 54 เมื่อยิ่งลักษณ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงไม่ถึง 2 เดือน.. อะไรกัน!
สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ตั้งแต่ปี 50-53 ใช้นโยบาย "ประกันราคาข้าว" ส่วนยุคยิ่งลักษณ์ประกาศใช้นโยบายจำนำข้าวเกวียนละ 15,000 บาท แต่เริ่มจริงๆเมื่อเดือนกันยายน 54 ก็แล้วผลวิจัยฉบับนี้มันมาได้อย่างไรโผล่มาในเดือนตุลาคม 2554 จากคนวิจัยชื่อนิพนธ์พัวพงศกรและจิตกรจารุพงศ์ที่ทำวิจัยมาตั้งแต่ปี 48 .. คนเดียวกัน!
ที่ร้ายที่สุดคือ ปปช.ได้นำเอาผลวิจัยของทีดีอาร์ไอฉบับนี้เป็น "ตัวตั้ง" แนบปกกับคำนำเป็นหลักฐานให้อัยการสูงสุด เพื่อฟ้องเอาผิดยิ่งลักษณ์ข้อหาทุจริตจำนำข้าว..พระเจ้า !!
ถามว่าทำไมปปช. ถึงไม่เอาผลวิจัยทีดีอาร์ไอปี 54/55 หรือ 55/56 หรือ 56/57 ที่ยิ่งลักษณ์ทำเอามาตัดสินละครับทำไมกลับไปหยิบเอาผลวิจัยของตุลาคม 54 ที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้ทำอะไรเลยมาตัดสิน หรือหยิบผิดหรือไม่มีหรือยังก็อปปี้ไม่ทันต้องรีบฟ้องชนิดเร่งด่วน.. บอกหน่อย ???
โลกนี้ทำไมซับซ้อนมันเป็นไปได้หรือ ?? ที่ยิ่งลักษณ์เริ่มทุจริตจำนำข้าวมาตั้งแต่ปี 48-49 ต่อเรื่อยมาจนถึงปี 54 เป็นเหตุให้ปปช. ของ "นายวิชา มหาคุณ”นำมาเป็นมูลเหตุฟ้องเอาผิดในปี 57 .. โอ๊ยยจะบ้าตาย!
ถ้ายิ่งย้อนไปดูคำตัดสินชี้มูลความผิดยิ่งลักษณ์ เมื่อวันที่ 7 กค 57. จนทำให้ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกฯนั้น ปปช.ได้นำเอาผลจากการวิจัยของทีดีอาร์ไอเป็นหลัก จนคณะปปช. ทั้ง 7 คนตัดสิน 7-0 ให้ยิ่งลักษณ์มีความผิดพ้นจากรักษาการณ์นายกฯ และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 4 กันยาที่ผ่านมา.. มันคืออะไร?
เฮ้ยปปช วันนั้นที่ชี้มูลยิ่งลักษณ์เห็นผลัดกันนั่งอ่านสคริปจ๋อยๆบอกยิ่งลักษณ์ผิดยังงั้นผิดยังงี้ทำให้คนไม่ได้เงินค่าข้าวจนผูกคอตายเพราะโกง 5 แสนล้านจนเงินไม่มีเหลือนั้นพวกคุณเอา หลักฐานอะไรที่ไหนมาตัดสิน.. พ่อคู๊ ณ ณ ณ ??
วันนั้นกลุ่มพวกคุณที่เรียกว่าปปช. เอาผิดยิ่งลักษณ์ด้วยหลักฐานบ้าบอปัญญาอ่อนชิ้นนี้ เพราะเป็นกลุ่มแก๊งค์ของพวกคุณกันเอง แต่มาวันนี้ จะข้ามกลุ่มเอาผิดด้วยหลักฐานที่พวกคุณใช้กันเอง หวังให้อัยการสูงสุดเห็นว่าหลักฐานปัญญาอ่อนนี้..แต่เขาไม่ปัญญาอ่อนด้วย !
ยิ่งวันนี้เห็นชัดเจนตามที่ PERC วิเคราะห์ว่าปปช. แบบไทย ๆ ออกกฎหมายเพื่อจะเอาผิดฝ่ายการเมืองพรรคตรงกันข้าม และเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มการเมืองฝ่ายตนเองเท่านั้น .. เขาเลยโห่ไล "บู่ว์" สิ้นดี!
เดาได้เลยว่าวันที่ตัดสินชี้มูลยิ่งลักษณ์เมื่อวันที่ 7 กค. ที่ผ่านมาน่ะคำตัดสินที่ปปช. ใช้กับ "ลอก" เอามาจากหนังสือยิ่งลักษณ์ก็คง “มหากาพย์โกงจำนำข้าว”ของหมอวรงค์จอมบิดเบือน "ศัตรูของชาวนา" คนนั้นแหละลำพังพวกตาแก่กลุ่มปปช. ถ้าไม่หน้าด้านจริงๆ คงไม่มีปัญญาที่จะเอาหลักฐานตั้งแต่ตุลาคม 54 ที่เขายังไม่ได้ทำอะไรเลย มาตัดสินชี้ผิดแบบด้านๆอย่างนี้หรอก รับรองงานนี้ศพไม่สวยครับปปช ... เชื่อผม !!!
ที่มา แผนสนทนาพันทิป

"ชูวิทย์"เสียดเย้ย"ไมค์ทองคำ"

ไมค์ทองคำ
สมัยก่อนเมื่อผมอยู่ในสภาก็เคยพูดเรื่องนาฬิกาเรือนละเจ็ดหมื่นห้า ตู้น้ำราคาเกือบแสน เก้าอี้หลุยส์ราคาเป็นล้าน เหตุผลเพราะการจัดซื้อจัดจ้างของระบบราชการไทยต้องมีเปอร์เซ็นต์ ค่าน้ำชา เบี้ยบ้ายรายทาง
วิธีการที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ
1.ล็อคเสปคให้กับบริษัทเอกชนที่เจรจาต้าอ่วยกันมาแล้ว จากสิบเจ้าเหลืออยู่ไม่ถึงสามเจ้า คู่แข่งโนเนมเดินทะเล่อทะล่าเข้ามาอย่าหวังจะได้เกิด
2.บริษัทเอกชนต้องมีเส้นสายคอนเน็คชั่น เข้าหาผู้ใหญ่ที่มีอำนาจอนุมัติ ของไม่ดีกลายเป็นของดี ของดีกลายเป็นของแพง
3.ระเบียบหยุมหยิมตามประสาราชการที่จะต้องเรียนรู้ บริษัทยักษ์ใหญ่อาจตกม้าตาย แพ้บริษัทตึกแถว ที่พวกหัวใสไปจัดตั้งไว้ล่วงหน้า
4.เรื่องซ่อมบำรุง ประกัน จะต้องมี เพราะบางหน่วยงานซื้อมาแล้วของยังไม่ทันใช้ หมดเงินเป็นพันๆล้านก็เคยเห็นมาแล้ว เช่น มอเตอร์ไซค์ไทเกอร์ของตำรวจ หรือ รถดับเพลิงของกทม.
ไม่รู้ว่าไมค์ราคาแสนสี่มันจะเสียงดีสักแค่ไหน? พูดออกมาแล้วเสียงทุ้มเหมือนกลั้วฟองเบียร์ เอาไปร้องเพลงในรายการเดอะวอยซ์กรรมการต้องแย่งกันกดปุ่มหรือเปล่า? สรุปจะพูดเอาเนื้อหาสาระหรือจะเอาเสียงใส?
ถึงขนาดนี้ควรจะดูตัวเองแล้วเปรียบเทียบถึงความเดือนร้อนของชาวบ้าน คงไม่ต้องใช้ไมค์ถึงตัวละแสนสี่ เพราะเสียงที่ดีคือเสียงที่สะท้อนปัญหาของประชาชน ไม่ได้อยู่ที่มูลค่าไมค์โครโฟน
ใช้เงินแบบนี้เดี๋ยวเขาจะหาว่าเป็น "สามล้อถูกหวย"
เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยยังยึดติดกับวิธีการเดิมๆ แค่เริ่มต้นก็เจอปัญหาเดิมๆเสียแล้ว นี่สิครับควรปฏิรูป เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนเห็นและสัมผัสได้
ส่วนหม่อมหลวงปนัดดา แรกๆพูดออกไมค์เสียงนุ่มทุ้มว่าไมค์ตัวนี้แจ๋ว เสียงดี มาตรฐานโอบาม่าใช้ หลังๆกลายเป็นเสียงอ้อมแอ้ม โยนไปโยนมาว่ายังไม่ได้จัดซื้อ สงสัยบริษัทนำมาให้ใช้ก่อน
สักพักคงกลายเป็นเสียงเงียบ คราวนี้ต่อให้เอาไมค์ราคาเป็นล้านมาจ่อปาก เสียงคงไม่ดัง
ไอ้ผมก็ขอเป็นฝ่ายค้านนอกสภาแล้วกัน ติเพื่อก่อ บางคนบอกให้ผมเงียบ ผมจะเงียบทำไมล่ะครับ? เมื่อผมมีปากไว้พูด และที่ผมพูดไป หากไม่ใช่เรื่องจริง ก็ช่วยบอกผมหน่อย

ผบ.4เหล่าทัพใหม่แกะกล่องทั้ง4


(8ส.ค.57)มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ตำแหน่งสำคัญมีดังนี้

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้บัญชาการทหารบก
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง เสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ

"ประยุทธ"ย้ำให้ ครม.ยึดค่านิยม12ประการ และปฏิบัติตามการถวายสัตย์ ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และยึดผลประโยชน์ของประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
*** ว่า วันนี้ถือเป็นวันดีที่ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างครม. เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งจะเน้นความโปร่งใส สร้างค่านิยม 12 ประการให้กับคนในชาติ และขอให้ครม.ปฏิบัติตามที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอาไว้คือ การซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และยึดผลประโยชน์ของประเทศ พร้อมกันนี้จะมีการรับทราบถึงผลการดำเนินงานของคสช. และจะหารือถึงข้อสรุปในการทำงานร่วมกันในอนาคต อย่างไรก็ตาม ได้รับการยืนยันแล้วว่า จะมีการแถลงนโยบายต่อสนช.ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ โดยครม.จะปฏิบัติหน้าที่หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบาย

อุกกาบาตตกในนิการากัว ทำเกิดหลุมกว้าง 12 เมตร

อุกกาบาตตกในนิการากัว ทำเกิดหลุมกว้าง 12 เมตร
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2557 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เกิดระเบิดปริศนาขึ้นในนิการากัว ทิ้งร่องรอยเป็นหลุมกว้างขนาด 12 เมตร ทางการชี้เป็นอุกกาบาตตก และโชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. วันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา บริเวณชานเมืองมานากัว ใกล้กับสนามบิน เมื่อมีแรงระเบิดปริศนาปะทะกับพื้นดิน จนทำให้มีหลุมไม่ลึกมาก กว้างประมาณ 12 เมตร ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ในช่วงเวลาเกิดเหตุ มีการตรวจพบแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวบริเวณดังกล่าว ทำให้คาดเดาว่าเป็นเหตุอุกกาบาตตกบนพื้นโลกนั่นเอง
โดยทางด้านนายโฮเซ มิลแลน จากสถาบันวิจัยธรณีวิทยาในนิการากัว ได้เปิดเผยว่า "จากหลักฐานที่เราพบ เราขอยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีรูปแบบที่เหมือนกับอุกกาบาตตก ไม่มีความเป็นไปได้เลยว่าจะเป็นปรากฏการณ์อื่น และเราต้องขอบคุณพระเจ้าที่อุกกาบาตได้ตกในพื้นที่รกร้างห่างที่อยู่อาศัย ทำให้ไม่สร้างอันตรายต่อประชาชน"
อย่างไรก็ดีทางการนิการากัวได้ขอความช่วยเหลือไปทางสหรัฐอเมริกาให้เข้ามาช่วยตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย เพื่อยืนยันว่าเป็นอุกกาบาตอย่างที่คาดไว้หรือไม่
ทั้งนี้นิการากัวเป็นประเทศที่มีภูเขาไฟกว่า 20 แห่ง และมักจะเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่เกิดเหตุจึงคิดว่าเสียงระเบิดที่พวกเขาได้ยินนั้นมาจากแผ่นดินไหว ก่อนที่ทางการจะออกมาชี้แจงว่าเป็นอุกกาบาตดังกล่าว