PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

ทหารส่งตัว ‘บุรินทร์ อินติน’ พลเมืองโต้กลับ ให้ ปอท.แจ้งข้อหา ‘112-พ.ร.บ.คอมพ์’



ทหารส่งตัว ‘บุรินทร์ อินติน’ พลเมืองโต้กลับ ให้ ปอท.แจ้งข้อหา ‘112-พ.ร.บ.คอมพ์’
พ.อ.บุรินทร์ เปิดเผยว่า ทหารเฝ้าติดตามพฤติกรรมนายบุรินทร์ หลังจากสายข่าวพบการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวชื่อ “Burin Intin”ในลักษณะต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลและคสช.รวมทั้งมีการแชตพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยมีข้อความลักษณะหมิ่นเบื้องสูง เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 กระทั่งวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 12.13 น.นายบุรินทร์โพสต์คลิปวิดีโอความยาวประมาณ 40 นาที พร้อมข้อความ “นู๋อยากโดนอุ้ม#ปล่อยเพื่อนเราที่โดนอุ้ม” ก่อนจะมีบุคคลเข้ามาแสดงความคิดเห็นในคลิปดังกล่าว และนายบุรินทร์ตอบความคิดเห็นในลักษณะหมิ่้นเบื้องสูง หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ช่วงเวลา18.00น.นายบุรินทร์ เดินทางมาร่วมกิจกรรม”ยืนเฉยๆ”ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ก่อนจะเป็น1ใน16รายที่ถูกตำรวจสน.พญาไทควบคุมตัว

รัฐบาล"ปู" อยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง

รัฐบาล"ปู" อยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง

“นายกฯบิ๊กตู่” พูดชัด ครั้งแรก ไม่ได้ต้องการ "พูดคุยสันติสุข" แต่เพราะรัฐบาลที่แล้วเริ่มไว้ ต้องมาตามแก้ไข  ชี้แก้ปัญหาไม่ได้ แต่รัฐบาลเก่า รั้นที่จะทำ เลยต้องมาตามแก้ให้ ยัน ไม่ยอมรับ ไม่เรียกชื่อ Marapatani ไม่รับรองสถานะใคร ยัน รับไม่ได้เหตุการณ์รุนแรง ยันผู้ก่อเหตุต้องเข้ากระบวนการยุติธรรม ลั่น เราเอากม.ประเทศเราไปรองรับ ไม่ได้ ประกาศถ้าไม่ยอมรับ หรือ คุยไม่รู้เรื่องก็กลับมา

 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ที่มีกระแสจะไม่เป็นผลสำเร็จว่า อยากจะเตือนว่าการวิพากษ์วิจารณ์ โดยที่ไม่มีข้อมูล ก็เขียนกันอยู่นั่น แก้ปัญหาไม่สำเร็จ พูดคุยสันติภาพไม่สำเร็จบ้าง มันจะแก้ได้อย่างไร ถ้าอีกฝ่ายมีเจตนารมณ์ที่ตรงกัน ก็จะแก้ได้ 
ผมเห็นที่สื่อมวลชนเขียนระบุว่า ทำไมไม่จริงใจในการแก้ปัญหา มันยอมรับกระบวนการได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นการสร้างอาชญากรรมที่ร้ายแรงหรือไม่ 

กลุ่มผู้เห็นต่างที่เอาปืนมายิงกันนั้นผิดกฎหมาย องค์กรที่มีชื่อขึ้นตามทะเบียนต่างๆเหล่านั้นก็ผิดกฎหมายทั้งหมด 

รัฐบาลไม่สามารถที่จะนำกฎหมายในประเทศไปต่อรองได้ ประเทศไทยเจรจากับผู้กระทำความผิดไม่ได้ เอากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาว่ากัน ซึ่งต้องดูตรงนี้ 

"คณะพูดคุยก็จะนำเรื่องไปหารือว่าเขาจะยอมรับได้หรือไม่ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็กลับมา"
 
“ทำไมเราต้องไปยอมรับกติกาในการให้เรียกชื่อ ไม่เห็นใครเขาจะสนใจ แล้วมันมีกี่กลุ่มรู้ไหม แล้วรู้ไหมทำไมเขาต้องไปคุยที่ต่างประเทศ เพราะเจรจากับใครไม่ได้ 

รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นมันถึงต้องไปคุยนอกประเทศ และจะไปดึงเขาเข้ามาในประเทศอีก ไม่เข้าใจกันซักเรื่อง แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์ส่งเดชไปเรื่อย หลายคนนะ ผมดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็วิจารณ์กันไปเรื่อย อยากนี่อยากโน่นแต่ไม่เคยเข้าใจ 

เราหลีกเลี่ยงอยู่แล้วเรื่องการพูดคุย รัฐบาลที่แล้วอยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง แล้วมันจะจบไหมล่ะคุยกัน 

เจตนาวันแรกก็ไม่ตรงกันแล้ว ที่จะขอให้ผมเรียกชื่อกลุ่มเขา ผมรับรองชื่อเขาได้ไหม ถ้ามันมีชื่อขึ้นก็จะมีกลุ่มอื่นตามมาเรื่อยๆ แล้ววันหลังก็ขึ้นทะเบียนไป รัฐก็ผิด ฉะนั้นใครไปคุยในประเทศเมื่อไหร่ก็ผิดกฎหมายผิดรัฐธรรมนูญเมื่อนั้น” 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เข้าใจให้ตรงกันด้วย ทำให้คนเขาสงบ อย่าไปเพิ่มศักยภาพในการพูดคุยว่า ถ้าหากพูดคุยแล้วจะกดดันจากการใช้ความรุนแรง และอาวุธ ผมให้ไม่ได้ ดังนั้นการที่ขอให้เป็นพื้นที่ปิดเพื่อดูแลกิจกรรม ดูแลครู เด็กนักเรียน ก็ค่อยๆทำ ถ้าคิดว่าจะพูดคุยกัน ถ้าพูดคุยแล้วจะเร่งรัดให้เรียกชื่อ ให้แสดงความจริงใจ ให้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้เป็นวาระแห่งชาติ มันอะไรกัน การแก้ปัญหาภาคใต้ก็เป็นวาระแห่งชาติอยู่แล้ว
 
“เขียนให้ดีนะ ผมจะติดตาม เพราะฝ่ายความมั่นคงแจ้งมา เขาบอกว่ารับไม่ได้ การแก้ปัญหาวุ่นวายสับสนไปหมด เพราะการสร้างกระแสในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตรงกันหมด ไอ้นี่พูดอย่าง ไอนั่นพูดอย่าง รัฐบาลเขาตั้งหลักไว้แล้ว มีเจตนารมณ์ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาของชาติให้เป็นธรรม เท่าเทียม ใครบอกไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมก็ร้องมาจะสอบให้ ใครจะกลับบ้านก็มีกระบวนการมาตรา21 เขามีไว้หมดแล้วมันจะอะไรกันอีก ก็เริ่มกันไม่ได้แล้วมันจะไปตรงอื่นได้อย่างไร 

บางอย่างในตำรา ก็คือตำรา วิชาการ ก็คือวิชาการ มันอยู่ที่การปฏิบัติ นี่คือความแตกต่างในการทำงาน ไม่ใช่เอาปัญหาทุกปัญหามาตีกันมันไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น” นายกฯ  กล่าว

บิ๊กตู่ โวย พวกกล่าวหา ทหารจะโกงประชามติ แอบหย่อนบัตร

"ปัดโธ่! ใครจะขโมยใคร ย้อนกลับไปดูพฤติกรรมตัวเองบ้าง" บิ๊กตู่ โวย พวกกล่าวหา ทหารจะโกงประชามติ แอบหย่อนบัตร ลั่น "ไอ้คนโกง ไม่ใช่ผม ไปดูว่าอยู่ฝ่ายไหน มันจะโกงกันแน่"

"นายกฯ"ยัน มีประชามติ แน่ อย่าพูดส่งเดช.  ยัน ไม่ห้ามนานาประเทศ สังเกตการณ์ ข้างคูหา แต่ไม่เชิญเป็นทางการ ยันทหารไม่เข้าในคูหาแน่ ยันไม่เลือกปฏิบัติ ใครผิดก็จับ ห้ามแสดงออกVote No เปรย ดูใบหน้าแต่ละคน ก็หน้าเดิม ซ้ำอยู่ที่เดิม 10 ปี มาแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.กล่าวถึงการต่อต้านรัฐธรรมนูญ โดยมีการชักชวนให้Vote No ว่า เรื่องนี้จะห่วงหรือไม่ มีกฎหมายอยู่แล้ว 

และจากการที่ห่วงนี้ ถึงมีกฎหมายออกมา อย่ามาบอกว่า เป็นการแสดงความคิดเห็น

 ถามว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต และบิดเบือนหรือไม่ ถ้าเอารัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับออกมาคลี่ดู จะเห็นว่าส่วนไหนที่ทำเพื่อส่วนรวม และส่วนไหนที่เป็นการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องคุ้มครองบ้านเมืองให้ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ต้องไปดูตรงนั้น อย่ามาบอกว่ารับ หรือไม่รับมันไม่ใช่

"ถ้าเป็นห่วงก็หยุดการเคลื่อนไหว บอกเขาอย่างนี้ ผมบอกแล้ว ให้ชี้แจงในทางสร้างสรรค์ได้ ไม่ใช่มาล้มรัฐธรรมนูญ มันผิดกฎหมาย และคนพูดก็จะโดนด้วย"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ถามว่า เรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด อย่างเช่นการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันมีกฎหมายหลายฉบับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  เขาเขียนมาอย่างไร พ.ร.บ.ประชามติ เขียนอย่างไร คำว่าโดยสุจริต และไม่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง ถ้าบิดเบือนก็ผิด ไม่บิดเบือนก็ไม่ผิด คำง่ายๆ ทำไมไม่เข้าใจ แล้วอย่างนี้จะปกครองบ้านเมืองต่อไปกันอย่างไร ไม่ต้องมาตีความกฎหมาย 

ที่ผ่านมาทะเลาะกันเพราะตีความรัฐธรรมนูญ ตีกันอยู่นั่น อันนี้เดี๋ยวก็ตีกันอีก ตีความรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วก็ตีความรัฐธรรมนูญเข้าข้างตัวเอง ที่ผ่านมาตีความกันได้มาก เพราะไม่มีกฎหมายลูก แต่วันนี้รัฐธรรมนูญจะมีกฎหมายลูกตามมาทั้งหมด
 
"ถ้าเป็นคนดีจะกลัวอะไร กลัวตำรวจจับเหรอ คุณกลัวไหม ถ้าคุณไม่ทำความผิด ก็ไม่ต้องกลัว จะไปขยายเป็นปากเป็นเสียงให้คนที่ชอบทำความผิดทำไม แล้วคุณไม่รู้เหรอเขาทำอะไรมาบ้าง รู้ไหม"นายกฯ กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอว่า ถ้ายังเกิดความวุ่นวายช่วงทำประชามติ อาจเสนอให้ไม่ต้องทำประชามติ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าอย่างไร พูดส่งเดชกันไปเรื่อย สื่อก็ขยายความกันไป เขาเจตนาดี ผมไม่ได้ว่าเขาพูดส่งเดช แต่ต้องดูว่ารัฐธรรมนูญเขียนอย่างไร

" ถ้าไม่มีการทำประชามติ มันจะเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ได้อีก แล้วจะไปทางไหนกันคิดว่าทางกรธ. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  และประชาชนก็มีเจตนาดี และที่มาพูดกันทุกวันเชื่อว่าทุกคนมีเจตนาดี มีบางคนเท่านั้น ที่เจตนาไม่ดี นั่นแหละ

กฎหมายเขียนไว้ตรงนี้ ถ้าดีแล้วใครจะไปทำอะไร ก็เชิญเป็นกันต่อไปได้ ถ้าไม่ผิดกฎหมาย

 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าไม่เห็นด้วยก็ผิดกฎหมาย ไม่เห็นด้วยก็ไปกาตอนลงประชามติ ไม่ใช่มาเดินเคลื่อนไหวล้มไม่ล้ม มันคนละเรื่อง 

ถามอย่าให้งงตัวเอง ผมจะได้ตอบไม่งง เขาเขียนแล้วว่าให้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่มีใครว่า แต่ถ้าจะไปชักจูงคนมาVote No หรือใส่เสื้อ ทำผิดกฎหมายก็ต้องโดนจับ ไม่ใช่ว่าผมไปปิดกั้น แล้วอีกฝ่ายทำหรือไม่ 

"ผมเลือกปฏิบัติเหรอ วันนี้คนที่ออกมาด่าอยู่ข้างไหน ข้างใคร ผมพยายามไม่ดูฝ่ายแล้วนะ ดูใบหน้าแต่ละคนซึ่งก็หน้าเดิม ซ้ำอยู่ที่เดิม 10 ปี มาแล้ว"

เมื่อถามว่า ความพยายามเรียกร้องให้นานาประเทศเข้ามาสังเกตการณ์ทำประชามติ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผมไม่สนใจ. อยากจะมาก็มา แต่ไม่เป็นทางการ ผมไม่ได้ห้าม ไปเดินดูตามจุดที่ทำประชามติว่า สุจริตหรือไม่ 

ตอนเลือกตั้งก็ให้เขามาดูว่าจะเป็นอย่างไร ผมไปห้ามเข้าไม่ได้ ใครไปใครมาประเทศไทย ห้ามไม่ได้อยู่แล้ว 

และวันนี้ตนห้ามเขาพูดกับสื่อเหรอ ในโทรทัศน์ก็ไม่เคยห้าม เห็นพูดกันโครมๆ ถ้าผมใช้กฎหมายจริงๆ จับได้หมดอยู่แล้ว ทำไมไม่ดูตรงนี้
 
เมื่อถามว่า ถ้านานาประเทศเข้ามาสังเกตการณ์จริงมีข้อกังวลอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะเจตนาของผมบริสุทธิ์ในการทำประชามติ ไม่เว้นแต่ใครทำให้ไม่บริสุทธิ์ ผมทำให้ประเทศของตนเอง
 
เมื่อถามว่า ในส่วนของฝ่ายการเมือง นายกฯ ได้ย้อนถามทันทีว่า ฝ่ายไหนให้พูดมา 

ผู้สื่อข่าวจึงถามต่อว่า ฝ่ายพรรคเพื่อไทยตั้งข้อสังเกตการทำประชามติอาจมีการขโมยหย่อนบัตร อยากให้ฝ่ายการเมืองสามารถสังเกตการณ์ข้างคูหาได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามกฎหมายสามารถสังเกตการณ์นอกคูหาได้ ก็เป็นอย่างนี้มาตลอดทำไมจะต้องวุ่นวาย แล้วผมห้ามเขามาเหรอ 

"ที่กลัวว่าจะมีการขโมยหย่อนบัตรนั้น ปัดโธ่! ใครจะขโมยใคร ย้อนกลับไปดูพฤติกรรมตัวเองบ้าง ที่ผ่านมาไปถามชาวบ้านดู แม้แต่ทหาร ผมยังไม่ให้เข้าไป ให้แต่เจ้าหน้าที่เข้าไป ทหารต้องอยู่ข้างนอกดูแลความสงบเรียบร้อย ที่ผ่านมาทหารขอไปนั่งในคูหา ผมยังไม่ให้เข้าเลย แล้วมันก็เกิดเหมือนเดิม"
 
" ไอ้คนโกง ไม่ใช่ผม ไปดูว่าอยู่ฝ่ายไหน มันจะโกงกันทั้งสองฝ่าย ให้มันรู้ไป ฝ่ายสนับสนุน หรือฝ่ายไม่สนับสนุน ผมไม่รู้"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมไม่มั่นใจด้วยกฎหมาย แต่ผมมั่นใจในความดี และเจตนารมณ์ของพวกผม ที่ทำงานในวันนี้ ฉะนั้นผมก็จะมีประชาชนส่วนหนึ่งที่เขาอยากให้ประเทศชาติเดินหน้า หากใครไม่เห็นชอบ ก็ไปแสดงความคิดเห็นมาโดยบริสุทธิ์ ผมก็ฟังทั้งหมดแล้วค่อยไปแก้กันวันหน้า"
 
เมื่อถามว่า แต่วันนี้ดูเหมือนฝ่ายการเมืองจะดื้อยาในเรื่องกฎหมายจะทำอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สื่อก็ไปเขียนบอกให้เขาเลิก บอกเขาว่าควรจะทำอย่างไรให้เขาสงบกันบ้างเพื่อบ้านเพื่อเมืองอะไรก็แล้วแต่ เยอะแยะไปหมดบ้านเรามีหลักหลายอย่าง. กลับเข้ามาสู่หลักการเหล่านี้ ไม่ใช่มาต่อต้าน. ถ้าปมจะย้อนกลับไปถามว่าคนเหล่านี้สร้าง ปัญหาอะไรให้กับประเทศไทยบ้าง ต้องถามเขาจะมาพูดอะไรในวันนี้ ถ้าเขาไม่ทำในวันนั้น. ผมก็คงไม่มายืนในวันนี้ 

และที่เข้ามากำลังจะแก้ปัญหาที่เขาทำไว้ ซึ่งเขาก็จะต้องเข้ามาอีกในวันข้างหน้า สื่อต้องพูดกับเขาแบบนี้ ถ้าทำแบบเดิมก็ไม่ต้องเข้ามา ประชาชนก็คิดเอาเองจะเลือกหรือไม่เลือก

บิ๊กตู่ไม่หนุนเจรจาดับไฟใต้ ชี้แก้ปัญหาไม่ได้ อัดรบ.เก่าจะทำเลยต้องตามเช็ด

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 13:26 น.
จำนวนคนอ่านล่าสุด 37542 คน
 เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ที่มีกระแสจะไม่เป็นผลสำเร็จว่า อยากเตือนว่าการวิพากษ์วิจารณ์ โดยที่ไม่มีข้อมูลก็เขียนกันอยู่นั่น แก้ปัญหาไม่สำเร็จ พูดคุยสันติภาพไม่สำเร็จบ้างมันจะแก้ได้อย่างไร ถ้าอีกฝ่ายมีเจตนารมณ์ที่ตรงกันก็จะแก้ได้ ตนเห็นที่สื่อมวลชนเขียนระบุว่าทำไมไม่จริงใจในการแก้ปัญหา มันยอมรับกระบวนการได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นการสร้างอาชญากรรมที่ร้ายแรงหรือไม่ กลุ่มผู้เห็นต่างที่เอาปืนมายิงกันนั้นผิดกฎหมาย องค์กรที่มีชื่อขึ้นตามทะเบียนต่างๆ เหล่านั้นก็ผิดกฎหมายทั้งหมด รัฐบาลไม่สามารถที่จะนำกฎหมายในประเทศไปต่อรองได้ ประเทศไทยเจรจากับผู้กระทำความผิดไม่ได้ เอากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาว่ากัน ซึ่งต้องดูตรงนี้และคณะพูดคุยก็จะนำเรื่องไปหารือว่าเขาจะยอมรับได้หรือไม่ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็กลับมา

 “ทำไมเราต้องไปยอมรับกติกาในการให้เรียกชื่อ ไม่เห็นใครเขาจะสนใจ แล้วมันมีกี่กลุ่มรู้มั๊ย แล้วรู้มั๊ยทำไมเขาต้องไปคุยที่ต่างประเทศ เพราะเจรจากับใครไม่ได้ รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นมันถึงต้องไปคุยนอกประเทศ และจะไปดึงเขาเข้ามาในประเทศอีก ไม่เข้าใจกันซักเรื่อง แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์ส่งเดชไปเรื่อย หลายคนนะ ผมดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็วิจารณ์กันไปเรื่อย อยากนี่อยากโน่นแต่ไม่เคยเข้าใจ เราน่ะหลีกเลี่ยงอยู่แล้วเรื่องการพูดคุย รัฐบาลที่แล้วอยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง แล้วมันจะจบมั๊ยล่ะคุยกันน่ะ เจตนาวันแรกก็ไม่ตรงกันแล้วที่จะขอให้ผมเรียกชื่อกลุ่มเขา ผมรับรองชื่อเขาได้มั้ย ถ้ามันมีชื่อขึ้นก็จะมีกลุ่มอื่นตามมาเรื่อยๆ แล้ววันหลังก็ขึ้นทะเบียนไป รัฐก็ผิด ฉะนั้นใครไปคุยในประเทศเมื่อไหร่ก็ผิดกฎหมายผิดรัฐธรรมนูญเมื่อนั้น” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวและว่า เข้าใจให้ตรงกันด้วย ทำให้คนเขาสงบ อย่าไปเพิ่มศักยภาพในการพูดคุยว่าถ้าหากพูดคุยแล้วจะกดดันจากการใช้ความรุนแรงและอาวุธ ตนให้ไม่ได้ ดังนั้นการที่ขอให้เป็นพื้นที่ปิดเพื่อดูแลกิจกรรม ดูแลครู เด็กนักเรียน ก็ค่อยๆทำ ถ้าคิดว่าจะพูดคุยกัน ถ้าพูดคุยแล้วจะเร่งรัดให้เรียกชื่อ ให้แสดงความจริงใจ ให้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้เป็นวาระแห่งชาติ มันอะไรกัน การแก้ปัญหาภาคใต้ก็เป็นวาระแห่งชาติอยู่แล้ว
 
 หัวหน้าคสช. กล่าวอีกว่า “เขียนให้ดีนะ ผมจะติดตาม เพราะฝ่ายความมั่นคงแจ้งมาเขาบอกว่ารับไม่ได้ การแก้ปัญหาวุ่นวายสับสนไปหมด เพราะการสร้างกระแสในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตรงกันหมด ไอ้นี่พูดอย่าง ไอนั่นพูดอย่าง รัฐบาลเขาตั้งหลักไว้แล้ว มีเจตนารมณ์ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาของชาติให้เป็นธรรม เท่าเทียม ใครบอกไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมก็ร้องมาจะสอบให้ ใครจะกลับบ้านก็มีกระบวนการมาตรา21 เขามีไว้หมดแล้วมันจะอะไรกันอีก ก็เริ่มกันไม่ได้แล้วมันจะไปตรงอื่นได้อย่างไร บางอย่างในตำรา ก็คือตำรา วิชาการ ก็คือวิชาการ มันอยู่ที่การปฏิบัติ นี่คือความแตกต่างในการทำงาน ไม่ใช่เอาปัญหาทุกปัญหามาตีกันมันไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น”

ศาลทหารไม่ให้ประกันตัว 8 แอดมินเพจล้อการเมือง

อัพเดทเนื้อหา 16.09 น.
ศาลทหารไม่ให้ประกันตัว 8 แอดมินเพจล้อการเมือง อีกด้านศาลอาญามีคำสั่ง การเข้าควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่กระทำอย่างเปิดเผยสุจริตไม่ถือว่าผิดแต่ประการใด
หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัว 8 ผู้ต้องหา ซึ่งประกอบไปด้วย น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ นายชัยธัช รัตนจันทร์ นายนพเก้า คงสุวรรณ นายวรวิทย์ ศักดิ์สมุทรนันท์ นายโยธิน มั่งคั่งสง่า นายธนวรรธน์ บูรณศิริ นายศุภชัย สายบุตร และนายหฤษฏ์ มหาทน ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามความผิดในมาตรา 116 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไปฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพในช่วงเช้าวันนี้ 29 เม.ย. ทางทนายของทั้ง 8 ผู้ต้องหาคือนายอานนท์ นำภาได้ยื่นขอประกันตัวรายละ 100,000 บาท แต่หลังจากที่ศาลได้รับเรื่องไว้พิจารณา ล่าสุดทนายความได้โพสต์ในเฟซบุ๊กเมื่อเวลา 15.50 น.ว่า ศาลตกลงไม่ให้ประกันตัวบุคคลทั้งแปด
บุคคลที่ถูกจับและดำเนินคดีทั้งหมดถูกกล่าวหาว่ามีส่วนจัดทำเพจในเฟซบุ๊กเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นภัย ด้านนายอานนท์ ทนายความของพวกเขาได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวเปิดเผยว่า ในคำร้องขอฝากขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า เพจ “เรารักพล.อ.ประยุทธ์” มีภาพตัดต่อล้อเลียนนายกรัฐมนตรี ขณะที่ทนายความคัดค้านโดยระบุว่า การล้อเลียนไม่ถือว่าเป็นความผิดในเรื่องของความมั่นคงตามมาตรา 116 ต่อมานายอานนท์โพสต์ด้วยว่า ศาลทหารได้อนุญาตให้ฝากขังพวกเขาไว้ในระหว่างสอบสวน 12 วัน ขณะนี้ทนายความรอคำสั่งศาลในเรื่องการประกันตัว

ด้านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลในเพจของกลุ่มว่า ในขณะที่ไปศาล นายหฤษฎ์ มหาทน ผู้ต้องหาที่ 8 แถลงต่อศาลเพื่อประกอบการคัดค้านการฝากขังว่า ในช่วงที่อยู่ในค่ายทหารนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารผลัดกันสอบสวนตลอดเวลาและเจ้าหน้าที่ได้กล่าวกับนายหฤษฏ์เองว่า ได้สอบสวนหมดสิ้นแล้ว จึงไม่น่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องฝากขังเพิ่มเติม ตลอดจนกลุ่มตนก็ไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนีแต่อย่างใด พร้อมทั้งยินดีร่วมมือหากจะมีการสอบปากคำเพิ่มเติม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวในเพจของกลุ่มว่า ผู้ต้องหาหนึ่งในแปดระบุว่า แม้เพจที่ทำขึ้นมาจะเกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่ไม่ควรถูกกล่าวหาว่ามีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องที่ควรทำได้ในสังคมประชาธิปไตย

ส่วนที่ศาลอาญาซึ่งทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ร้องต่อศาลว่าการควบคุมตัวบุคคลทั้งแปดเป็นไปโดยมิชอบและขอให้ปล่อยตัว เนื่องจากพฤติกรรมการเข้าจับกุมไม่มีหมายจับ ประกอบกับการตรวจค้นเป็นไปอย่างอุกอาจ 

วันนี้ศาลอาญาพิจารณาไต่สวนแล้วระบุว่า การจับกุมตัวบุคคลทั้งแปดของเจ้าหน้าที่กระทำในเวลากลางวัน เป็นไปอย่างเปิดเผยและสุจริต อีกทั้งเป็นการเข้าควบคุมตัวในด้านความผิดด้านความมั่นคงที่เจ้าหน้าที่มีอำนาจกระทำได้ตามคำสั่งของคสช.ที่ 3/58 อย่างไรก็ตาม น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนผู้ยื่นเรื่องกล่าวว่า ทางทนายความจะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาเพิ่มเติมว่า จะอุทธรณ์คำสั่งหรือไม่ พร้อมกันนั้นชี้ว่า การที่ทนายความและญาติยื่นเรื่องร้องเรียนเชื่อว่ามีผลให้เจ้าหน้าที่ปรับวิธีการทำงานอยู่บ้าง สังเกตเห็นได้จากที่มีการขอหมายจับหนึ่งวันหลังจากที่มีการจับกุมและญาติร้องเรียนทันที ทั้งๆที่การขอหมายจับนี้สามารถทำได้ล่วงหน้า เชื่อว่าหากไม่มีความเคลื่อนไหวจากทีมทนาย บุคคลทั้งหมดอาจยังอยู่ในการควบคุมโดยที่ยังไม่มีขั้นตอนใดๆ

นี่เป็นภาพของพวกเขาช่วงก่อนเข้าสู่ศาล สองภาพหลังเป็นภาพหลังจากออกมาจากศาล











หิ้ว8มือโพสต์-ส่งศาลทหาร ทนายจ่อประกันคนละแสน


หิ้ว8มือโพสต์-ส่งศาลทหาร ทนายจ่อประกันคนละแสน 
Cr:เดลินิวส์
เมื่อวันที่29เม.ย. ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจกองปราบปรามกว่า20นายทำการควบคุมตัว 8 ผู้ต้องหาในคดีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และผิดกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฐานยุยง ปลุกปั่น ออกจากกองบังคับการปราบปราม เพื่อเตรียมส่งตัวฝากขังผัดแรกที่ศาลทหาร ประกอบด้วย 
1.น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์
2.นายนพเก้า คงสุวรรณ 
3.นายวรวิทย์ ศักดิ์สมุทรนันท์ หรืออ้วน
4.นายโยธิน มั่งคั่งสง่า หรือโย
5.นายธนวรรธน์ บูรณศิริ
6.นายศุภชัย สายบุตร หรือตั๋ม
7นายหฤษฏ์ มหาทน และ
8.นายกัณสิทธิ์ ตั้งบุญธินา หรือที 







ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 8 คน ได้เดินทางมาด้วยรถของกองบังคับการปราบปราม จำนวน 5 คัน และมาถึงที่ศาลทหารในเวลา 09.15 น. ซึ่งทุกคนมีสีหน้าเรียบเฉย ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารที่ดูแลพื้นที่โดยรอบศาลทหารฯและกระทรวงกลาโหม ด้าน นายวิญญัติ ชาญมนตรี กล่าวว่า ในคดีดังกล่าวนี้ตนจะเป็นทนายความให้กับ 8 ผู้ต้องหา ร่วมกับทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เบื้องต้นจะขอยื่นประกันตัวทั้ง 8 คน ในวงเงินหลักทรัพย์คนละ 1 แสนบาท.

ศาลยกคำร้องขอปล่อย 4 มือโพสต์ ‘เพจเรารัก พล.อ.ประยุทธ์’

ศาลยกคำร้องขอปล่อย 4 มือโพสต์ ‘เพจเรารัก พล.อ.ประยุทธ์’ ชี้ทหารมีอำนาจตามคำสั่ง คสช. ‘เปิดเผย-สุจริต’
วันที่ 29 เมษายน เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องพิจารณา 902 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เดินทางมาฟังคำสั่งขอให้ปล่อยตัวนายนพเก้า คงสุวรรณ, นายศุภชัย สายบุตร, น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ และนายหฤษฎ์ มหาทน กลุ่มโพสต์เพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” มีเนื้อหาโจมตีรัฐบาล หลังจากยื่นคำร้องว่าถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวไปที่ มทบ.11 โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญามาตรา 90
คำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 06.00 น.เจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวบุคคลทั้ง 4 ในสถานที่ต่างกันในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและ จ.ขอนแก่น โดยไม่มีการแสดงหมายจับหรือหมายค้น เป็นการเข้าคุมตัวในที่พักอาศัยขณะที่บุคคลทั้ง 4 กำลังพักผ่อนอยู่ หลังจากควบคุมตัวแล้วไม่มีการระบุว่านำตัวบุคคลทั้ง 4 ไปคุมขังยังสถานที่ใด การควบคุมตัวดังกล่าวนั้นไม่มีทนายความหรือญาติของบุคคลทั้ง 4 ทราบถึงสถานที่คุมขัง ถือเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ทราบชะตากรรม ไม่รู้ว่าผู้ถูกควบคุมตัวมีความปลอดภัยในร่างกายและจิตใจหรือไม่ เพียงแต่รับทราบในภายหลังจากที่มีการแถลงข่าวจากเจ้าหน้าที่ทหารว่าบุคคลทั้ง 4 คนถูกคุมขังอยู่ที่ มทบ.11 โดยญาติของผู้ถูกควบคุมตัวมีการติดต่อเพื่อขอเยี่ยมแต่ไม่ได้รับการอนุญาต ผู้ร้องจึงมาร้องต่อศาลเนื่องจากเห็นว่าอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐย่อมสามารถถูกตรวจสอบได้โดยศาล มิเช่นนั้นการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จและเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่รัฐในการจับกุมควบคุมตัว ผู้ร้องจึงขอให้ศาลมีคำสั่งออกหมายเรียกเจ้าหน้าที่ทหารที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวมาซักถามถึงการควบคุมตัวและมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมดตามคำร้องด้วย

ต่อมาเวลา 11.20 น. ศาลอ่านคำสั่งโดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การเข้าจับกุมตัวกระทำในเวลากลางวัน มีเจ้าหน้าที่ทหารเป็นเป็นผู้จับกุม และอยู่ระหว่างประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า คสช. และจากการไต่สวนทราบว่าผู้ถูกจับกุมมีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เมื่อนับวันยื่นคำร้องการควบคุมตัวยังไม่เกิน 7 วัน ตามคำสั่ง คสช. แสดงว่าการจับกุมและคุมตัวกระทำตามกฎหมายโดยเปิดเผยและสุจริต จึงไม่ถือว่าการควบคุมตัวบุคคลทั้ง 4 เป็นการควบคุมตัวที่มิชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง