PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

ย้อนรอย ยุบพรรคการเมือง ฝีมือศาลรธน.

ย้อนรอยผลงาน 'ศาลรัฐธรรมนูญ'

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
23 พฤศจิกายน 2556 06:05 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ย้อนรอยผลงาน 'ศาลรัฐธรรมนูญ'

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์- ปฏิเสธไม่ได้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มา ส.ว. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยในรูปใดรูปแบบหนึ่ง เพราะแม้ศาลจะบอกว่าเป็นการแก้ไขกฎหมายที่มิชอบ แต่ไม่ได้ตัดสินยุบพรรค และไม่มีการเพิกถอนสิทธิ 312 ส.ส.-ส.ว. ซีกรัฐบาล ซึ่งเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลเพื่อไทยจะสามารถลอยตัวพ้นมลทินแต่อย่างใด
      
       ในทางกลับกันองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ สามารถนำผลพวงจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปยื่นร้องทุกข์กล่าวโทษ 312 ส.ส.-ส.ว. ตลอดจนนายกฯรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้ ซึ่งผลการวินิจฉัยของ ป.ป.ช.ก็อาจจะส่งผลสะเทือนถึงพรรคเพื่อไทยได้เช่นกัน
      
       ทั้งนี้ หากย้อนไปดูการทำหน้าที่ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาของศาลรัฐธรรมนูญก็จะพบว่ามีทั้งผลงาน และความผิดพลาด แต่ประเด็นที่เป็น 'ตราบาป' และตามหลอกหลอนศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งคนไทยทั้งประเทศมาถึงวันนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้นคำตัดสินใน'คดีซุกหุ้นภาค 1' ซึ่งทำให้ 'ทักษิณ ชินวัตร' บุคคลที่ได้รับการจัดอันดับให้เห็น 1 ใน 5 ผู้นำ 'เลว' ของโลกขึ้นมาผงาดในเวทีการเมืองไทย และใช้อำนาจโกงกิน บ่อนทำลายทุกองค์กรทุกสถาบันที่ขัดขวางการ 'กินรวบ' ประเทศของเขา โดยครั้งนั้นศาลรัฐธรรมนูญใช้วาทกรรม 'บกพร่องโดยสุจริต' มาเป็นข้ออ้างในการวินิจฉัยว่าทักษิณไม่มีความผิดในกรณีซุกหุ้น ทั้งนี้เพราะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ไม่ยึดหลักกฎหมาย แต่ตัดสินตามกระแสของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่สนับสนุนทักษิณ ต้องการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลไทยรักไทยต่อไป ไม่อยากให้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองด้วยข้อหายื่นบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ เพราะเชื่อว่าทักษิณคือนักธุรกิจเลือดใหม่ที่อยากจะเข้ามาทำงานรับใช้ประเทศชาติและประชาชนจริงๆ อีกทั้งหลงเชื่อในคำหวานของทักษิณที่นั่งยันนอนยันว่า 'รวยแล้วไม่โกง' !!
      
       ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญนำคะแนนเสียงที่ไม่วินิจฉัย 2 เสียงไปรวมกับ อีก 6 เสียงที่วินิจฉัยว่า ทักษิณไม่ได้กระทำผิด จึงทำให้ทักษิณรอดพ้นความผิด ทักษิณจึงชนะคดีไปด้วยคะแนน 8 ต่อ 7 ทั้งๆที่ตามหลักการแล้วจะนำคะแนน 2 เสียงที่ไม่วินิจฉัย ไปรวมกับคะแนนเสียงที่วินิจฉัยว่าทักษิณไม่ได้กระทำผิดไม่ได้ เพราะ 2 เสียงที่ไม่วินิจฉัยเปรียบเสมือนการงดออกเสียง ดังนั้นทักษิณต้องถูกตัดสินว่ามีความผิดด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 6
      
       ส่วน 'ผลงาน' ของศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือการพิจารณา 'คดียุบพรรค' โดยเฉพาะการยุบพรรคการเมืองที่อยู่ภายใต้แบรนด์ 'ทักษิณ' ถึงสองครั้งสองครา คือทั้งพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสินยุบพรรคไปเมื่อเดือน 30 พ.ค.2550 และพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบไปเมื่อเดือน 2 ธ.ค. 2551 โดยทั้งสองครั้งล้วนเกิดจากความผิดในกรณีทุจริตการเลือกตั้งทั้งสิ้น
      
       อย่างไรก็ดี หากพูดถึงคดียุบพรรคแล้วไม่ได้มีเฉพาะพรรคในเครือทักษิณเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายพรรคที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค และคงต้องแบ่งเหตุการณ์ออกเป็นสองช่วงด้วยกัน คือคดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 และคดียุบพรรคการเมืองอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งปี 2550
      
       สำหรับคดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นั้นถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ เพราะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีพรรคการเมืองถูกตัดสินยุบพรรค โดยมีพรรคการเมืองที่ถูกยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคถึง 5 พรรคด้วยกัน ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า
      
       โดยคดียุบพรรคทั้ง 5 พรรคนั้น เริ่มจากที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ร้องเรียนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า พรรคไทยรักไทยได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรค พรรคไทยรักไทยจึงร้องเรียนกลับว่าถูกพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรคตน ซึ่ง กกต. มีความเห็นว่าทั้ง 5 พรรค กระทำความผิดตามมาตรา 66 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และได้ส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 พรรค ซึ่งสุดท้ายตุลาการรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหา ส่วนอีก 4 พรรคมีความผิดจริง จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย รวมทั้งให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรค มีกำหนด 5 ปีด้วย
      
       ทั้งนี้ ในส่วนของคดียุบพรรคไทยรักไทยนั้น ผู้ร้องได้ระบุว่า พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ร่วมกันให้เงินสนับสนุนแก่พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ลงแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะต้องมีคะแนนเสียงถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น และร่วมกันสนับสนุนให้มีการตัดต่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลการเป็นสมาชิกของพรรคพัฒนาชาติไทย ที่เป็นสมาชิกไม่ครบ 90 วัน ให้ครบ 90 วัน อันเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนให้มีการปลอมเอกสาร เป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามมาตรา 66 (1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความผิดคามคำร้องจริงจึงมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน เป็นเวลา 5 ปี จึงเป็นที่มาของคำว่า 'บ้านเลขที่ 111'
      
       ส่วนคดียุบพรรคการเมืองที่เกิดจากการเรื่องตั้งปี 2550 นั้นเป็นคดีที่พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคพลังประชาชน (2 ใบแดง) ถูกฟ้องเป็นจำเลยอันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปีดังกล่าว โดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีความเห็นว่าทั้ง 3 พรรคกระทำความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา111 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 94 (1) (2) และมาตรา 95 กกต.จึงได้ส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค
      
       สำหรับกรณีของพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย ในการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของนายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย และนายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรคชาติไทยนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินไปในทิศทางเดียวกันคือวินิจฉัยให้ยุบพรรคและตัดสิทธิเลือกตั้งแก่กรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี
      
       ขณะที่คดียุบพรรคพลังประชาชนนั้นเกิดจากปัญหาในการซื้อเสียงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.แบบสัดส่วน กระทั่ง ถูก กกต.ให้ใบแดง เนื่องจากพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงราย โดยมีนายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ กำนัน ต.จันจว้า อ.แม่จัน เป็นพยานคนสำคัญ ซึ่งจากหลัง กกต.มีมติ นายยงยุทธได้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาโดยไม่ลาออก เมื่อขั้นตอนขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ศาลได้วินิจฉัยว่านายยงยุทธให้เงินกับกำนัน อ.แม่จัน ทั้ง 10 คนเพื่อให้ช่วยซื้อเสียงจริง จึงพิพากษายืนตามมติของ กกต. และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธเป็นเวลา 5 ปี และเนื่องจากนายยงยุทธเป็นกรรมการบริหารพรรค กกต.จึงดำเนินการต่อ โดยสรุปสำนวนส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เสนอให้ยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่านายยงยุทธ เป็นนักการเมืองหลายสมัย มีฐานะเป็นถึงรองหัวหน้าพรรค และเป็นอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ย่อมต้องเพิ่มความเข้มงวดที่จะไม่กระทำการใดๆ อันฝ่าฝืนกฎหมาย แต่นายยงยุทธ ติยะไพรัช กลับกระทำผิดเสียเอง จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชน
      
       ทั้งนี้คำสั่งยุบพรรคและตัดสิทธิทางเมืองทั้ง 3 พรรคดังกล่าวนั้น ส่งผลให้มี ส.ส.ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี รวมทั้งสิ้น 109 คน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า 'บ้านเลขที่ 109' นั่นเอง

ย้อนดูวิกฤติการเมืองไทย2556-57

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เป็นวิกฤตการณ์การเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงพฤษภาคม 2557 จัดระเบียบโดย กปปส. กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองซึ่งจัดและมีสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำ การประท้วงนี้ลงเอยด้วยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง รัฐประหารและการสถาปนาคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง

เป้าหมายหลักของการประท้วง คือ การขจัดอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย และการตั้ง "สภาประชาชน" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดูแลการปฏิรูป
ระบบการเมือง[8] ผู้ประท้วงมองว่า พันตำรวจโททักษิณทุจริตอย่างมากและทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเสียหาย[9][10] แม้เขาได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ เนื่องจากโครงการสังคมปฏิรูปและนโยบายเศรษฐกิจของเขา พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรของพันตำรวจโททักษิณชนะการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2544 นัก
วิเคราะห์และนักวิจารณ์ยังมองว่าประเด็นอื่น เช่น การสืบราชสันตติวงศ์[11][12][13] ความแตกแยกเมือง-ชนบทหรือเหนือ-ใต้[14][15] ความเหลื่อมล้ำทางสังคม[16] ระบบข้าราชการประจำที่รวมศูนย์เกินไป[17][18] อิทธิพลของพระมหากษัตริย์และทหารในการเมือง[19][20][21][22] และสถานภาพชนชั้นกลาง[23][24] เป็นปัจจัยเบื้องหลังวิกฤตการณ์นี้

การประท้วงมีสาเหตุจากร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ซึ่งจะนิรโทษกรรมความผิดของนักการเมืองย้อนหลังไปถึงปี 2547 โดยถูกหลายฝ่ายคัดค้าน ฝ่ายหนึ่งมีสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำ และอีกฝ่ายหนึ่งคือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และคนเสื้อแดงบางส่วน ครั้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 วุฒิสภาลงมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทว่า การชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพยังคงดำเนินต่อไป โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการต่อต้านรัฐบาลแทน

อีกเหตุการณ์หนึ่ง รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด[2][25] ประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ[26] วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลวินิจฉัยตามนั้น พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยนี้[27] และในวันที่ 8 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรีขอถอนร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืนจากพระมหากษัตริย์[28]

ฝ่าย นปช. จัดชุมนุมตอบโต้ขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถานตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2556 ระหว่างนั้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ผู้ชุมนุมฝ่ายสุเทพเข้ายึดสถานที่ราชการเพื่อบีบให้ปิดทำการ

มีเหตุรุนแรงที่สำคัญคือ การปะทะกันบริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงตลอดทั้งวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงเช้าวันที่ 1 ธันวาคม มีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บ 57 คน[29][30]

การยกระดับการชุมนุมในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจเป็นเวลาสองวัน ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและหัวฉีดน้ำ เพื่อยับยั้งไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าทำเนียบรัฐบาล มีผู้บาดเจ็บ 119 คน[31]

จนวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ตำรวจจึงเปิดให้ผู้ชุมนุมเข้าไปได้ เพื่อสงบศึกในวันเฉลิมพระชนมพรรษา จากนั้น ผู้ชุมนุมจึงชุมนุมกันต่อ ครั้นวันที่ 8 ธันวาคม 2556 ส.ส. ประชาธิปัตย์ทั้ง 153 คนลาออก และในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่สุเทพและผู้ชุมนุมปฏิเสธการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้จัดตั้งสภาประชาชนเสียก่อน กลุ่มผู้ประท้วงจึงถูกวิจารณ์ว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย [32][33]

วันที่ 13 มกราคม 2557 สุเทพนัดชุมนุมปิดถนนสายหลักในกรุงเทพมหานครเพื่อกดดันรัฐบาล[34][35] นำไปสู่การใช้ความรุนแรงและอาวุธเป็นระยะ ๆ[36][37][38][39] จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

วันที่ 21 มกราคม 2557 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ[40]

วันที่ 26 มกราคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้าในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ ทำให้การเลือกตั้งเสียระบบ[41] ผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว 440,000 คนไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลยืนยันเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 ว่า การเลือกตั้งต้องดำเนินตามกำหนดต่อไป ท้ายที่สุด มีผู้มาเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 46.79[42][43]

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลอาญาออกหมายจับแกนนำการชุมนุม 19 คน ในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[44]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 สุเทพประกาศยุติการปิดถนนในกรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม และรวมเวทีการชุมนุมทั้งหมดไปอยู่ที่สวนลุมพินี[45]

วันที่ 18 มีนาคม 2557 คณะรัฐมนตรีจึงยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น[46]

วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[47][48] แกนนำผู้ชุมนุมยืนยันว่า จะทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่ให้มีผลโมฆะ [49][50]

วันที่ 3 เมษายน 2557 ศาลอาญาเพิกถอนหมายจับแกนนำการชุมนุม 19 คน ในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เนื่องจากรัฐบาลได้ยกเลิกสถานการณ์ฉุก
เฉินแล้ว[51]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีที่มีมติย้ายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี[52]

วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[53] อีกสองวันต่อมา กองทัพรัฐประหารรัฐบาลรักษาการ และให้ผู้ชุมนุมสองฝ่ายยุติการชุมนุม[54]

สาเหตุ[แก้]

ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ[แก้]

วรชัย เหมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนักเคลื่อนไหวร่วมกับ นปช. เป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการ
เมืองของประชาชน พ.ศ. .... (ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ) ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติวาระแรกในเดือนสิงหาคม 2556[62] กลุ่มต่อต้านทักษิณที่เรียกว่า "กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ" ตลอดจนพรรคประชาธิปัตย์ จัดการประท้วงบนท้องถนนก่อนสมัยประชุมรัฐสภา แต่ไม่ได้รับแรงสนับสนุน[63]

ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมาธิการพิจารณา 35 คน ซึ่งจะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวกลับมายังสภาฯ เพื่อพิจารณาในวาระสองและสาม คณะกรรมาธิการส่งร่างกฎหมายที่ได้รับการทบทวนแล้วเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556[64] ร่างกฎหมายดังกล่าวเปลี่ยนจากเดิมที่จะนิรโทษกรรมให้เฉพาะแก่ผู้ชุมนุม ไม่รวมถึงแกนนำการชุมนุม และผู้สั่งการ ซึ่งรวมถึงผู้นำรัฐบาลและทหาร เป็น "นิรโทษกรรมเหมาเข่ง" ซึ่งรวมการนิรโทษกรรมให้ทั้งแกนนำการชุมนุม และผู้สั่งการด้วย ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2556 ความผิดที่จะได้รับนิรโทษกรรมนี้รวมข้อกล่าวหาฉ้อราษฎร์บังหลวงของทักษิณ ตลอดจนข้อกล่าวหาฆ่าคนของอภิสิทธิ์และสุเทพด้วย

ต่อมา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 วุฒิสภาลงมติไม่รับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ 141 เสียง ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ถูกยับยั้งไว้ 180 วัน[65]

การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ว่าด้วยที่มาของวุฒิสภา[แก้]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พุทธศักราช ... ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะเปลี่ยนรูปแบบของวุฒิสภาจากที่สมาชิกมาจากทั้งการเลือกตั้งและแต่งตั้ง มาเป็นสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเหมือนก่อนรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[66][67]

 วิกิซอร์ซมี คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๕–๑๘/๒๕๕๖

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ทั้งกระบวนการและเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในประเด็นเรื่องกระบวนการ ศาลพิจารณาว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณานั้นมิได้เป็นฉบับเดียวกับที่เสนอแต่แรก แต่ได้นำร่างที่จัดทำขึ้นใหม่มาพิจารณาในสมัยประชุม ศาลยังพิจารณาว่า การนับระยะเวลาย้อนหลังไปทำให้เหลือระยะเวลาขอแปรญัตติเพียงหนึ่งวันไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนออกเสียงแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้เข้าประชุม ในประเด็นเรื่องเนื้อหา ศาลพิจารณาว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเปิดให้ญาติของผู้แทนราษฎรเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาและจะทำให้วุฒิสภาไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมา รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มิได้ห้ามญาติของผู้แทนราษฎรเป็นสมาชิกวุฒิสภาและส่งผลให้สภานิติบัญญัติได้สมญาว่า "สภาผัวเมีย" ศาลยังพิจารณาว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มุ่งตัดอำนาจในการพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในอนาคตไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการเปลี่ยนวุฒิสภาเป็นให้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจะทำลายระบบสองสภา[68][69]

นันทวัฒน์ บรมานันท์ ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าบางส่วนของคำวินิจฉัยนี้ มีถ้อยคำที่แสดงถึงความไม่พอใจ ในการดำเนินกิจกรรมของสภาผู้แทนราษฎร[70] ยิ่งไปกว่านั้น ศาลยังเห็นว่า ตนเองมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตามหลักการแยกใช้อำนาจเช่นเดียวกับการตรวจสอบและถ่วงดุล แต่นักวิชาการกฎหมายบางคนแย้งว่า ศาลไม่สามารถแทรกแซงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพราะสภานิติบัญญัติไม่ได้กำลังใช้อำนาจนิติบัญญัติ หากเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างสามอำนาจ[71][72][73] พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยดังกล่าว โดยอ้างว่า ศาลไม่มีอำนาจเหนือกรณีนี้[74]

ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย สมาชิกพรรคเพื่อไทย และนักวิชาการส่วนหนึ่ง ให้ความเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญพึงระวังว่า การวินิจฉัยจะล่วงละเมิดพระราชอำนาจ เนื่องจากยังไม่มีพระบรมราชวินิจฉัย[75] เป็นผลให้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สมาชิกพรรคเพื่อไทยฟ้องร้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่ามีการกระทำอันเป็นกบฎต่อแผ่นดิน

พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลในกรณีดังกล่าวมาตลอด และยังคงยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2556 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ขอ

พระราชทานร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืน โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยผ่านเป็นกฎหมาย[76]

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตัดสินเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา 308 คนถูกแจ้งข้อหาละเมิดกฎหมายไทย แต่ไม่

รวมนักการเมือง 73 คน รวมทั้งยิ่งลักษณ์ อันเนื่องจากการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งหากทั้ง 308 คนนี้ถูก ป.ป.ช. วินิจฉัยว่าผิดจริง ก็อาจส่งผลให้ถูก

วุฒิสภาห้ามเกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นเวลาห้าปี[77]

การขับตระกูลชินวัตร[แก้]

เอเชียเซนตินัล รายงานอ้างนักธุรกิจคนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแกนนำ กปปส. ว่า เหตุแห่งการประท้วงนั้นหาใช่เพียงการโค่นรัฐบาล แรงจูงใจแท้จริงคือขับทุกร่องรอยของอดีตนายก

รัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ออกจากอำนาจ และออกจากประเทศ และกำจัดอิทธิพลใด ๆ ที่ยังเหลือค้างอยู่ แหล่งข่าวของ เอเชียเซนตินัล รายงานว่า หลังรัฐประหาร มีแผนขับยิ่งลักษณ์

ชินวัตรออกนอกประเทศเช่นเดียวกับพี่ชาย หรือไม่ก็จับเธอขังคุกหรือให้โทษเธอเพื่อห้ามมิให้เธอเข้าสู่การเมืองอีกครั้งเมื่อ คสช. อนุญาตให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งอาจเป็นในเดือนตุลาคม 2558[78]

อื่น ๆ[แก้]

นักวิเคราะห์จากต่างประเทศให้ความเห็นว่าประเด็นการสืบราชสันตติวงศ์เป็นปัจจัยหนึ่งของความขัดแย้งนี้[79][80]

ลำดับเหตุการณ์

การประท้วงร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม[แก้]

พรรคเพื่อไทยซึ่งครอบงำสภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 เวลาประมาณ 4.00 น.[81] ซึ่งร่างกฎหมายร่างสุดท้ายนั้นจะนิรโทษกรรมผู้ประท้วง

ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2547 รวมทั้งยกการพิพากษาลงโทษฉ้อราษฎร์บังหลวงของทักษิณและบอกล้างข้อกล่าวหาฆ่าคนของอภิสิทธิ์และสุเทพ[82][83]

ร่างพระราชบัญญัตินั้นจุดชนวนการคัดค้านจากทั้งพรรคประชาธิปัตย์และขบวนการเสื้อแดงอันนิยมรัฐบาล[84] รัฐบาลถูกวิจารณ์ที่ผ่านการออกเสียงลงคะแนนในสมัยประชุมก่อนเช้าผิดปกติเพื่อป้องกันการคัดค้าน[1] คู่แข่งของทักษิณประท้วงต่อการทำให้ทักษิณพ้นจากความรับผิดการพิพากษาลงโทษ ฝ่ายผู้สนับสนุนทักษิณวิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติรรี้ว่าทำให้ผู้รับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 พ้นจากความรับผิด เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 เกิดการประท้วงหลายจุดทั่วกรุงเทพมหานคร ตลอดจนต่างจังหวัด หลายมหาวิทยาลัยและองค์การออกแถลงการณ์ประณามร่งพระราชบัญญัติ สุเทพตั้งเวทีปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และใช้ถนนราชดำเนินกลางเป็นสถานที่ชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 จนถึง 12 มกราคม 2557 ทว่า การสอบถามความเห็นอิสระซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 11 และ 13 พฤศจิกายนรายงานว่า ฝ่ายข้างมากที่สำรวจต้องการให้การประท้วงยุติ[85]

เมื่อเผชิญกับการคัดค้านอย่างแข็งขัน ยิ่งลักษณ์ออกคำแถลงกระตุ้นให้วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายนี้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ตามกำหนดการ สภาผู้แทนราษฎรไม่อาจเรียกคืนร่างพระราชบัญญัติหลังออกเสียงลงคะแนนแล้ว คำวินิจฉัยเป็นของวุฒิสภา ผู้นำพรรคเพื่อไทยยังสัญญาจะไม่รื้อฟื้นร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมอื่นใดหากถูกวุฒิสภาปฏิเสธ ต่อมา วุฒิสภาลงมติปฏิเสธร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556[86][87]

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 สุเทพประกาศยกระดับการชุมนุม โดยอ้างว่ารัฐบาลไม่ยอมถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ออกจากสภาทั้งหมด พร้อมประกาศมาตรการ 4 ข้อ ได้แก่ ให้หยุดงาน 3 วันคือ วันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน 2556 เพื่อออกมาชุมนุม, งดชำระภาษีประจำปี, ประดับธงชาติไทยหน้าบ้าน, ถ้าพบเห็นรัฐมนตรีคนใด ให้เป่านกหวีดใส่ และเปิดตัวแกนนำอีก 8 คน คือ ถาวร เสนเนียม, สาทิตย์ วงศ์หนองเตย, อิสสระ สมชัย, วิทยา แก้วภราดัย, เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ซึ่งสุเทพให้เป็นโฆษก, ชุมพล จุลใส, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และณัฎฐพล ทีปสุวรรณ ซึ่งสุเทพให้เป็นแกนนำหลัก หากสุเทพไม่สามารถเป็นแกนนำหลักได้[88] ทั้งเก้ายื่นใบลาออกจากความเป็น ส.ส. ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐสภา ในวันต่อมา[89]

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 สุเทพประกาศยกระดับการชุมนุมอีกเป็นการถอนรากถอนโคน ระบอบทักษิณ โดยอ้างว่ามีลักษณะเอื้อประโยชน์แก่สกุลชินวัตรและพวกพ้อง, เป็นบ่อเกิดของเผด็จการรัฐสภาให้เป็นศูนย์รวมอำนาจ และล้มล้างการถ่วงดุลอำนาจเพื่อเอื้อต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง พร้อมทั้งออกมาตรการเพิ่มเติมคือ การล่ารายชื่อถอดถอน ส.ส. ทั้ง 310 คน โดยจะยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน, ต่อต้านบุคคลในเครือข่าย ด้วยการเป่านกหวีดเมื่อพบเจอ, ต่อต้านสินค้าในเครือข่ายทุกชนิด และขอให้คนไทยทั้งหมดหยุดงานมารวมพลังต่อสู้ให้มากที่สุดจนกว่าจะได้รับชัยชนะ[90] การประท้วงประกอบด้วยหลายกลุ่ม ซึ่งรวมเครือข่ายพลเมืองเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มการเมืองสีเขียว เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) กองทัพธรรมและสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)[91]
--

การประท้วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการยึดสถานที่ราชการ[แก้]

ผู้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556

พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญส่งผลให้จำนวนผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 23–24 พฤศจิกายน 2556 โดยมีผู้ประท้วงชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนินอย่างน้อย 500,000 คน ผู้นำประท้วงอ้างว่ามีผู้เข้าร่วมการชุมนุมถึงหนึ่งล้านคน ฝ่ายเสื้อแดงซึ่งปรองดองกับรัฐบาลหลังถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และจัดการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานก่อนคำวินิจฉัยของศาลดังกล่าว กลับมาประท้วงตอบโต้เช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน มีผู้สนับสนุนมา 40,000 คน[92]

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลซึ่งมีสุเทพเป็นผู้นำเริ่มเดินขบวนไปยังสำนักงานรัฐบาลหลายแห่งและบุกเข้าไปในกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กระทรวงการต่างประเทศและกรมประชาสัมพันธ์ บังคับให้ปิดโดยไม่มีตำรวจเข้าแทรกแซง เนื่องจากรัฐบาลเกรงว่าอาจซ้ำรอยรัฐประหารปี 2549 ยิ่งลักษณ์ประกาศใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในกรุงเทพมหานคร, จังหวัดนนทบุรี, อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี[93] เพิ่มเติมจากเขตกรุงเทพมหานครชั้นในซึ่งพระราชบัญญัติความมั่นคงฯ มีผลตั้งแต่เดือนที่แล้ว ทว่า ไม่มีการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างผู้ประท้วงและฝ่ายความมั่นคง ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ผู้ประท้วงดำเนินการต่อโดยชุมนุมนอกสำนักงานกระทรวงอีกสิบแห่ง ตัดไฟฟ้าและไล่ผู้ที่ทำงานในสำนักงานใหญ่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และจัดการยึดพื้นที่ประท้วงที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ผู้ประท้วงยังชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดยี่สิบสี่จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดภาคใต้ อันเป็นฐานเสียงเดิมของพรรคประชาธิปัตย์[94]

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ที่ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ สุเทพ เทือกสุบรรณประกาศก่อตั้ง คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มองค์กรประชาชนสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่น กลุ่มนักวิชาการ นำโดยสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เป็นต้น โดยมีสุเทพเป็นเลขาธิการของกลุ่มผู้ประท้วงบุกเข้าไปในสำนักงานบริษัทโทรคมนาคมของรัฐ กสท โทรคมนาคมและทีโอทีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน รบกวนบริการอินเทอร์เน็ตเป็นเวลาหลายชั่วโมง[95]

การปะทะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง[แก้]

เหตุจลาจลบริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การประท้วงมีสภาพสันติ[96]ก่อนการปะทะอย่างรุนแรงช่วงสั้น ๆ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนและ 1 ธันวาคม 2556[30] ในคืนวันที่ 1 ธันวาคม ความรุนแรงปะทุระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยราม
คำแหงที่ต่อต้านรัฐบาลกับเสื้อแดงผู้สนับสนุนรัฐบาลใกล้สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน นักศึกษาโจมตีรถแท็กซี่ซึ่งมีผู้สนับสนุนเสื้อแดง มีการยิงปืนใส่นักศึกษาทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คนและได้รับ
บาดเจ็บ 57 คน[30][29] พยานอ้างว่ามือปืนเป็นผู้ประท้วงเสื้อแดง ฝ่ายแกนนำ กปปส. สาธิต วงศ์หนองเตย อ้างว่า "เจ้าหน้าที่ตำรวจถอดเครื่องแบบออกแล้วใส่เสื้อแดงเพื่อโจมตีนักศึกษารามคำแหงหน้ามหาวิทยาลัย"[97] ต่อมา แกนนำ นปช. ยุติการชุมนุมในรุ่งเช้า[98]

การปะทะที่ทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาล[แก้]

การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐในวันที่ 1 ธันวาคม 2556
วันที่ 1 ธันวาคม สุเทพ เลขาธิการ กปปส. ประกาศยกระดับการประท้วงในความพยายาม "ปฏิวัติประชาชน" วันนั้น ผู้ประท้วงพยายามบุกเข้าทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาล แต่
ถูกตำรวจสกัดโดยใช้เครื่องกีดขวาง แก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำ ขณะที่มีรายงานว่าผูประท้วงบางคนพยายามขว้างระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงใส่แถวตำรวจ มีทหารไม่มีอาวุธราว 2,700 นายถูกเรียกมาสนับ
สนุนตำรวจ บ่ายวันนั้น ยิ่งลักษณ์ต้องยกเลิกการสัมภาษณ์สื่อตามกำหนดและย้ายไปยังสถานที่ลับเมื่ออาคารที่เธออยู่นั้นถูกผู้ประท้วงล้อม[99][100] ผู้ประท้วงยังเข้าสถานีโทรทัศน์หลายแห่ง ซึ่งรวมองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และบังคับให้แพร่ภาพคำปราศรัยสาธารณะของสุเทพ[101][102] อันเป็นการกระทำที่องค์การสื่อสามแห่งประณาม[103] ในคำปราศรัยทางโทรทัศน์ สุเทพว่า ผู้ประท้วงยึดอาคารรัฐบาลสิบสองแห่ง แต่ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปฏิเสธข้ออ้างนี้[104] ภายหลัง สุเทพประกาศฝ่ายเดียวว่าเขาพบกับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เพื่อยื่นคำขาดให้ "คืนอำนาจประชาชน" ภายในสองวัน เขายืนยันท่าทีของเขาอีกครั้งว่า การลาออกของยิ่งลักษณ์หรือยุบสภาผู้แทนราษฎรยังยอมรับไม่ได้ และย้ำข้อเรียกร้องของเขาให้ตั้ง "สภาประชาชน" อันไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซึ่งจะเลือกผู้นำ[105] ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าวด้วยเหตุว่า การงดไว้ซึ่งกระบวนการประชาธิปไตยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[106]

วันที่ 3 ธันวาคม 2556 ตำรวจรื้อเครื่องกีดขวางออกและอนุญาตให้ผู้ประท้วงเข้าทำเนียบรัฐบาล ซึ่งลดความตึงเครียดเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัว[107] วันที่ 5 ธันวาคม 2556 พระองค์มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นมั่นคง และร่มเย็นเป็นสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติ และต่างบำเพ็ญกรณีย

กิจตามหน้าที่ ให้สอดคล้องเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ[108]

การยุบสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
หลังวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ สุเทพเรียกร้องให้ผู้ประท้วงยึดถนนแล้วเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 9 ธันวาคมใน "การต่อสู้ครั้งสุดท้าย" ซึ่งมีผู้ร่วมประท้วง 760,000 คน[109] วันที่ 8

ธันวาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 153 คนร่วมกันลาออกในท่าทีซึ่งถูกมองว่าพยายามกดดันรัฐบาลเพิ่มเติม[110] ในการสนองต่อการประท้วงเข้มข้นนี้ ยิ่งลักษณ์ยุบสภาผู้แทน

ราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 และเสนอการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งอนุมัติภายหลัง[111] กปปส. ยืนกรานให้นายกรัฐมนตรีลา

ออกภายใน 24 ชั่วโมง ฝ่ายยิ่งลักษณ์ยืนกรานว่าเธอจะยังปฏิบัติหน้าที่ต่อจนการเลือกตั้งที่กำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 พร้อมกระตุ้นให้ผู้ประท้วงยอมรับข้อเสนอของเธอว่า "ถอยจนไม่รู้จะถอย
ยังไงแล้ว"[109]

ขณะเดียวกัน เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยอ้างยึดกองบัญชาการกองทัพบก เรียกร้องให้ทหารเข้าร่วมการประท้วง[112] พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก สนอง

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยกระตุ้นให้กลุ่มผู้ประท้วงไม่เกี่ยวข้องกับทหารและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายระงับวิกฤตโดยสันติ[112] รัฐบาลงดเว้นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ โดยยึดไม้ตะบอง ปืนฉีดน้ำ

และแก๊สน้ำตาแทน[104]

หลังยุบสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
วันที่ 17 ธันวาคม 2556 สุเทพ เลขาธิการ กปปส. เรียกร้องให้ชุมนุมโดยมีคำขวัญเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ให้ยิ่งลักษณ์และคณะรัฐมนตรีลาออกทันที และการตั้งสภาประชาชนเพื่อเริ่ม

กระบวนการปฏิรูปเป็นเวลา 12 ถึง 18 เดือน


กลุ่มผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2556
วันที่ 21 ธันวาคม 2556 พรรคประชาธิปัตย์แถลงว่าจะคว่ำบาตรการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์[113] ในการสนองต่อกระบวนการลงทะเบียนของผู้สมัครบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการการเลือก

ตั้งสำหรับการเลือกตั้งซึ่งมีกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเดินขบวนไปยังสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น อันเป็นสถานที่ลงทะเบียน ในวันที่ 22 ธันวาคม 2556 สุเทพและ กปปส.

นำการประท้วง โดยสุเทพประกาศว่า "หากรัฐบาลและ กกต. ยังยืนยันการเลือกตั้ง เขากำลังท้าทายความปรารถนาของประชาชน"

กปปส. ประมาณว่ามีผู้ร่วมเดินขบวน 6ล้านคนในวันที่ 22 ธันวาคม ขณะที่กำลังความมั่นคงอ้างว่ามีผู้ประท้วงเข้าร่วมการเดินขบวนประมาณ 270,000 คน แหล่งข้อมูลระหว่างประเทศรายงานว่า มี

ผู้ประท้วงเข้าร่วมหลายหมื่นคน[114][115] ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยย้ำแผนการเลือกตั้งและคาดหมายการนำเสนอรายชื่อผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 125 คนต่อ กกต.[116] วันเดียวกัน เกิดเหตุผู้ชุมนุม

กปปส. ทำร้ายร่างกายผู้สื่อข่าวขณะปฏิบัติหน้าที่[117]

วันที่ 26 ธันวาคม 2556 ผู้ประท้วงที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นปะทะกับตำรวจ มีผู้เสียชีวิตสองคน คนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ[118] ผู้ประท้วงมีอาวุธเป็นหนังสติ๊กและสวมหน้ากากกันแก๊สเพื่อสู้กับ

ตำรวจ รวมมีผู้ได้รับบาดเจ็บราว 200 คน เนื่องจากความรุนแรงบานปลาย คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกแถลงการณ์ซึ่งกระตุ้นให้รัฐบาลพิจารณาเลื่อนการเลือกตั้ง รองนายกรัฐมนตรี พงศ์เทพ

เทพกาญจนา สนองต่อแถลงการณ์ดังกล่าวในนามของรัฐบาลว่า "วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ถูกกำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร และไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลเปลี่ยนแปลงวันนี้" เขาอธิบายเพิ่มว่า รัฐบาลยังเปิดอภิปรายกับผู้ประท้วง[119]

วันที่ 27 ธันวาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ออกแถลงการณ์ต่อสื่อซึ่งเขาไม่ชี้ขาดโอกาสรัฐประหารอีกหนหนึ่ง โดยว่า "ไม่ว่าอะไรจะเกิด เวลาจะบอก เราไม่ต้องการ

ก้าวล้ำขอบเขตอำนาจของเรา เราไม่ต้องการใช้กำลัง เราพยายามใช้สันติวิธี การพูดคุยและพบปะเพื่อระงับปัญหา" ในช่วงเดียวกัน ทางการออกหมายจับสุเทพโดยอ้างเหตุว่าก่อการกบฏ แต่ตำรวจ

ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งด้วยเกรงความแตกแยกเพิ่มเติม[118]

การชุมนุมปิดกรุงเทพมหานคร[แก้]

กลุ่มผู้ชุมนุมที่แยกปทุมวัน 13 มกราคม 2557
จนวันที่ 28 ธันวาคม 2556 มี 58 พรรคการเมืองลงทะเบียนสำหรับการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ หลังคณะกรรมการการเลือกตั้งสรุปกระบวนการลงทะเบียนห้าวันเมื่อวันที่ 27

ธันวาคม 2556[120] เย็นวันที่ 27 ธันวาคม สุเทพประกาศในสุนทรพจน์ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพมหานครว่า ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลมีแผนปิดกรุงเทพมหานครในวันที่ 13 มกราคม

2557[34]

วันที่ 2 มกราคม 2557 สุเทพปราศรัยที่สนามมวยราชดำเนิน ซึ่งอธิบายแผนการปฏิบัติประท้วงในวันที่ 13 มกราคมเพิ่มเติม เขาว่า นอกจากปิดแยกสำคัญ ได้แก่ ปทุมวัน สวนลุมพินี ลาดพร้าวและ

ราชประสงค์แล้ว สำนักงานรัฐบาลทุกแห่งจะถูกตัดไฟฟ้าและน้ำประปา และพาหนะของรัฐบาลจะไม่สามารถใช้เลนฉุกเฉินได้ (เปิดให้แต่รถพยาบาล ผู้ที่ต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ และรถ

โดยสารประจำทางสาธารณะ) บนถนนที่ถูกยึด[121] ในการแถลงข่าวซึ่งจัดในวันเดียวกัน ผู้นำนิยมรัฐบาล จตุพร พรหมพันธุ์ เปิดฉากการรณรงค์ใหม่เพื่อปกป้องกรุงเทพมหานครจากผู้ประท้วง ซึ่ง

เขาเรียกว่า "เครือข่ายอำมาตย์" จตุพรอธิบายว่ากำลังนิยมรัฐบาลจะ "ต่อสู้ภายใต้หลักสันติ" และจะมีแถลงการณ์เพิ่มเติม[122] วันที่ 3 มกราคม ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

และแกนนำ นปช. ชี้แจงการจัดชุมนุมคู่ขนานกับ กปปส. ใช้ชื่อว่า "เปิดประเทศ เปิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย" โดยจะมีการชุมนุมเกือบทุกจังหวัด[123]

วันที่ 4 มกราคม หัวหน้าศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ประกาศสดทางโทรทัศน์ว่า ผู้ใดที่เข้าร่วมขบวนการประท้วงจะเป็นการละเมิดประมวลกฎหมายอาญา

ของไทย สุรพงษ์อธิบายปฏิบัติการปิดกรุงเทพว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงของประเทศและเปิดเผยว่ารัฐบาลจะใช้แผนซึ่งรวมการใช้กำลังผสมพร้อมกันเพื่อรับมือกับการปิด ในการถ่าย

ทอดทางโทรทัศน์ไม่มีแถลงการมีส่วนเกี่ยวข้องของทหารอย่างชัดเจน แต่สุรพงษ์รับประกันผู้ชมว่าแผนของรัฐบาลเป็นไปตามมาตรฐานสากล[124]

วันที่ 5 มกราคม สุเทพนำผู้ประท้วงหลายหมื่นคนผ่านทางตะวันตกของกรุงเทพมหานครในการเดินขบวนก่อนปิดกรุงเทพ[125] วันเดียวกัน รักษาการนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์แถลงบนหน้าเฟซบุ๊ก

ของเธอว่า การเลือกตั้งเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับระงับความขัดแย้งทางการเมือง โดยว่า "ถ้าคุณไม่ต้องการให้รัฐบาลกลับคืนอำนาจ คุณต้องสู้กับเราในการเลือกตั้ง"[126] ยังเกิดการปะทะระหว่างผู้

สนับสนุนจากกลุ่มแยกการเมืองทั้งสองในวันเดียวกันที่จังหวัดเชียงใหม่[127]

เมื่อเวลา 2.30 น. ของวันที่ 13 มกราคม 2557 สำนักงานใหญ่พรรคประชาธิปัตย์ถูกยิงถล่มจากรถเก๋งโตโยต้า ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ พรรคยังไม่เข้าร่วมการประท้วงปิดกรุงเทพ[128] เย็นวันที่ 14

มกราคม 2557 มีความพยายามโจมตีพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง คราวนี้ผู้โจมตีพยายามระเบิดบ้านพักของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ การโจมตีล้มเหลวและทีมกอบกู้วัตถุระเบิด

พบสลักระเบิดมือเอ็ม26 ที่ผลิตในสหรัฐ ทีมอนุมานว่า ระเบิดมือนั้นพยายามปาขึ้นหลังคาของห้องซึ่งปกติบิดาของอภิสิทธิ์อยู่ กรุงเทพมหานครสนับสนุนตำรวจผู้สืบสวนในการทบทวนผ่านการจัด

หาเทปวงจรปิด[129] ชายสามคนและหญิงหนึ่งคนพร้อมระเบิดสี่ลูก ปืนและกระสุนถูกจับที่จุดตรวจถนนสุขุมวิทในเย็นวันเดียวกัน[130]

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบสวนข้อกล่าวหาว่ายิ่งลักษณ์ประมาทในการจัดการข้อตกลงข้าวส่วนเกินกับประเทศจีน ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. โยงกับอดีต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และข้าราชการอื่นอีกกว่าโหลแล้ว หาก ป.ป.ช. ตัดสินว่าผิด ยิ่งลักษณ์จะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง[131]

วันที่ 17 มกราคม รักษาความปลอดภัย กปปส. รายงานว่าได้ยินเสียงระเบิดสองหรือสามครั้งที่ถนนแจ้งวัฒนะ สวนลุมพินี แยกลาดพร้าวและวังสวนผักกาด ยังมีรายงานอีกว่า มีการยิงจากรถเก๋ง

ฮอนดา แอคคอร์ด แต่ไม่มีรายงานผู้ไดรับบาดเจ็บ เสียงระเบิดและปืนบีบให้กิจกรรมบนเวที กปปส. หยุดชั่วคราว ยังมีการปาระเบิดมือใส่บ้านพักผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาด

เจ็บ[132]

วันเดียวกัน มีการโจมตีด้วยระเบิดมืออีกหนใกล้ศูนย์การค้าโลตัส เจริญผล มีผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บ 38 คน เสียชีวิต 1 คนระหว่างการเดินขบวนที่มีสุเทพเป็นผู้นำ รักษาความปลอดภัย กปปส.

รายงานว่า ระเบิดถูกขว้างจากอาคารสามชั้นที่ถูกทำลายบางส่วน[133] ตำรวจนครบาลกล่าวว่า คลิปวิดีทัศน์ที่ตำรวจตรวจสอบแสดงชายสองคนกำลังมีกิริยาอาการน่าสงสัย[134][135]

วันที่ 19 มกราคม ช่วงบ่าย เกิดการโจมตีด้วยระเบิดอีกซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 คน ณ จุดชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถาวร เสนเนียม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประ

ชาธิปัตย์ซึ่งอยู่ที่จุดชุมนุมเชื่อว่าเขาเป็นเป้าระเบิด ชายไม่ทราบรูปพรรณขว้างวัตถุระเบิดใกล้เตนท์ศูนย์สื่อหลังเวทีชุมนุมแล้วหลบหนีเมื่อเวลา 13.30 น.[136] รักษาความปลอดภัยที่จุดชุมนุมของ

เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยบนถนนราชดำเนินนอกถูกนำส่งโรงพยาบาลจากกระสุนปืนจากมือปืนไม่ทราบตัวในเย็นวันเดียวกัน[137]

วันที่ 20 มกราคม กปปส. จังหวัดต่าง ๆ เคลื่อนรถปราศรัยเข้าปิดกั้น หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี[138], นอกจากนี้ ยังมีผู้ชุมนุมเข้าปิดกั้นหรือนำรถปราศรัยเข้าปิดกั้นศาลากลางบางจังหวัดใน

ภาคใต้ และมีผู้ชุมนุมเข้ายื่นหนังสือ อาทิ จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดสุราษฎร์ธานี, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดยะลา, จังหวัดชุมพร, จังหวัดสตูล, จังหวัดตรัง, จังหวัดสงขลา, จังหวัดกระบี่ และ

จังหวัดปัตตานี[139] กปปส. ในกรุงเทพมหานครเคลื่อนรถปราศรัยเข้าปิดกั้นหน้าธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่สะพานควาย[140], กรมทางหลวง[141], ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ

เกษตร[142], การทางพิเศษแห่งประเทศไทย[143] และโรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว[144]

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ผู้ประท้วง กปปส. เปิดพื้นที่ลาดพร้าวและอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิให้สัญจรอีกครั้งหลังผู้ประท้วงรื้อเวทีชุมนุม ณ สถานที่ทั้งสองแล้วย้ายไปเสริมการยึดครองในและรอบสวน

ลุมพินี[145]

สถานการณ์ฉุกเฉิน[แก้]
วันที่ 21 มกราคม 2557 มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 60 วัน ให้รัฐบาลมีอำนาจประกาศการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน ตรวจพิจารณาสื่อ สลายการชุมนุม ใช้กำลังทหารเพื่อ "รักษาความ

สงบเรียบร้อย" ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยปราศจากข้อกล่าวหา ห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนและประกาศให้บางส่วนของประเทศเข้าถึงไม่ได้[146] ตามคำแถลงอย่างเป็นทางการจาก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ผู้ประท้วงเป็นสาเหตุของการวินิจฉัยดังกล่าวโดยการปิดกั้นสำนักงานรัฐบาลและธนาคาร และขัดขวางข้าราชการมิให้สามารถ

ดำเนินธุระอาชีพของเขาได้และนำชีวิตส่วนตัวอย่างปลอดภัย[147]

วันที่ 22 มกราคม 2557 ขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร ถูกยิงในจังหวัดอุดรธานี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ตำรวจสรุปว่า เหตุโจมตีมีแรงจูงใจทางการเมือง

และใช้ภาพจากโทรทัศน์วงจรปิดเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนและรายงานการเกี่ยวข้องของ "รถกระบะปิ๊กอัพสีบรอนซ์" ก่อนหน้าเหตุการณ์ในจังหวัดอุดรธานี มีเหตุโจมตีด้วยระเบิดมือสามครั้ง

ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน และได้รับบาดเจ็บหลายคน แต่ไม่มีการจับกุมคนร้ายขณะที่ทั้งรัฐบาลและผู้ประท้วงกล่าวโทษกันไปมา หลังข่าวการยิง สุเทพยังยืนกรานการยึดกรุงเทพมหานคร โดยว่า

"เราจะสู้ต่อไปจนกว่าจะชนะ" และ[148]

วันที่ 23 เมษายน กมล ดวงผาสุก (ไม้หนึ่ง ก.กุนที) กวีประชาธิปไตย, แกนนำกลุ่ม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่ลานจอดรถหน้าร้านอาหาร

ครกไม้ไทยลาว ซอยลาดปลาเค้า 24 เขตลาดพร้าว[149]

วันที่ 24 มกราคม ศาลรัฐธรรมนูญไทยประกาศว่า การเลื่อนการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์สามารถทำได้ตามคำวินิจฉัยของสมาชิก[150]

วันที่ 26 มกราคม สุทิน ธราทิน หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัย กปท. ถูกยิงขณะปราศรัยบนรถกระบะระหว่างการชุมนุมที่สถานีเลือกตั้งซึ่งคาดว่าจะมีการเลือกตั้งล่วงหน้า และต่อมาเสีย

ชีวิต[151] มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกสามคน และโฆษก กปปส. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ บุตรบุญธรรมของสุเทพ ออกแถลงการณ์สาธารณะว่า "นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและผู้

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องรับผิดชอบเหตุกรณ์วันนี้ มิฉะนั้นสาธารณะจะลุกขึ้นต่อต้านและเรียกร้องความยุติธรรม"[152]

วันเดียวกัน ยิ่งลักษณ์ประชุมกับคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่ออภิปรายความเป็นไปได้ของการเลื่อนการเลือกตั้งเนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเกรงจะเกิดความรุนแรงในวันเลือกตั้ง ทว่า

หลังการประชุมสามชั่วโมงที่สโมสรกองทัพบก รักษาการรองนายกรัฐมนตรี พงศ์เทพ เทพกาญจนา แจ้งสื่อว่าวันที่เลือกตั้งยังไม่เปลี่ยนแปลง กรรมการการเลือกตั้ง สมชัย ศรีสุทธิยากร แถลงว่า

คณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ให้ดีที่สุด โดยรวมการบังคับใช้มาตรการเพื่อป้องกันความรุนแรงและจัดการเลือกตั้งรอบสองแก่ผู้ออกเสียงลงคะแนนที่ถูกขัดขวาง

ระหว่างการเลือกตั้งรอบแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เฉลิม อยู่บำรุง ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสำนักรับมือวิกฤตของรัฐบาล อธิบายว่าจะมีการระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 10,000 นายเพื่อ

รับประกันความปลอดภัยของผู้ออกเสียงลงคะแนนระหว่างการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์[153] ระหว่างการประชุมที่สโมสรกองทัพบก ผู้สนับสนุน กปปส. ล้อมชายผู้หนึ่งและฟาดอิฐบนศีรษะเพราะ

ถูกสงสัยว่ามิใช่ผู้สนับสนุน กปปส. ตำรวจนอกเครื่องแบบผู้หนึ่งเปิดฉากยิงเป็นการป้องกันตัว[154]

วันที่ 30 มกราคม มีการจัดประท้วงเพิ่มอีกระหว่างการรณรงค์ต่อต้านการเลือกตั้ง สุเทพนำผู้ประท้วงผ่านส่วนพื้นที่พาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ยิ้มและโบกมือแก่ผู้ผ่านไปมา และกระตุ้นให้ผู้อื่น

เข้าร่วมการกระทำ 2 กุมภาพันธ์เพื่อป้องกันมิให้การออกเสียงเลือกตั้งของชาวไทยที่เจตนาเสร็จสมบูรณ์ ในการคาดการส่งเสริมการรบกวนผ่านการประท้วงเหล่านี้ ตำรวจไทยประกาศว่าจะมีการ

วางกำลังเพิ่ม 190,000 นายทั่วประเทศ โดยเน้นกรุงเทพมหานครและสิบจังหวัดภาคใต้[155]

วันที่ 31 มกราคม สุเทพประกาศว่า หน่วยเลือกตั้งจะสามารถเปิดทำการได้สำหรับการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ตามปกติ ทว่า แหล่งข้อมูลยังว่า สุเทพเชื่ออย่างแรงกล้าว่า วันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะ

เป็นโมฆะเพราะปัญหากฎหมายหลายอย่างที่จะเกิดตามมา[156]

การเลือกตั้งทั่วไป[แก้]
ดูบทความหลักที่: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557
แม้ กปปส. ประกาศว่าจะไม่ขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง แต่ทำให้ไม่สามารถการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ใน 87 เขตเลือกตั้ง ส่วนมากในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ของประเทศ เกิดการรบกวนใน 10

จังหวัด ผู้ประท้วงทั่วประเทศพยายามคัดค้านการเลือกตั้งล่วงหน้าตามกำหนด เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภุชงค์ นุตราวงศ์ ว่า สามารถจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าในภาคเหนือและภาคตะวัน

ออกเฉียงเหนือได้ยกเว้นจังหวัดสุริทนร์ รวมทั้งสิ้นแล้ว มีผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าทั่วประเทศ 2.16 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในกรุงเทพมหานคร 916,210 คน ราว 440,000 คนถูกขัดขวางมิให้

ออกเสียงเลือกตั้ง สุนัย ผาสุก นักวิจัยอาวุโสฮิวแมนไรต์วอช กล่าวว่า

เป็นวันเศร้าสำหรับประชาธิปไตยเมื่อสิทธิออกเสียงลงคะแนน [...] ถูกโจมตีโดยขบวนการทางการเมืองที่อ้างว่าต่อสู้เพื่อปฏิรูปและให้อำนาจประชาชน ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้แสดงว่าเขากำลังต่อสู้

เพื่อสิ่งตรงข้าม

วันก่อนการเลือกตั้ง เกิดความรุนแรงอีกในกรุงเทพมหานคร หลังผู้ชุมนุม กปปส. ปิดกั้นการส่งหีบเลือกตั้งจากสำนักงานเขตหลักสี่ และมีกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลราว 200 คนคัดค้าน กลุ่มชายติด

อาวุธ กปปส. เริ่มยิงปืน[157][158][159] และมีการยิงโต้ตอบกันหลายนัด ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อยหกคน[160] ผลแห่งความรุนแรงทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสินใจระงับการออก

เสียงลงคะแนนในเขตหลักสี่[161] นอกจากนี้ ยังยกเลิกการออกเสียงลงคะแนนในจังหวัดชุมพร ตรัง พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลาและสุราษฎร์ธานีเนื่องจากขาดบัตรเลือกตั้ง[162] ต่อมา มี

การจับกุม "มือปืนป๊อปคอร์น" การ์ด กปปส. ซึ่งยิงปืนเล็กยาวเอ็ม16 ใส่ผู้ประท้วงสนับสนุนรัฐบาลและสารภาพว่า เขาใช้อาวุธที่หัวหน้าการ์ด กปปส. มอบให้[163][164]

แม้สุเทพอ้างซ้ำ ๆ ว่าการกระทำของเขาสันติและ "ปราศจากอาวุธ" แต่ภาพถ่ายและวิดีทัศน์ของการปะทะแสดงผู้ประท้วงสวมสายรัดข้อมือสีเขียวของการ์ด กปปส. กำลังใช้อาวุธอย่างปืนเล็กยาวจู่

โจมชัดเจน[165][166][167] สุเทพไม่รักษาคำสัตย์ของถ้อยแถลงของตนที่ยืนยันว่าการเดินขบวนจะไม่ขัดขวางการออกเสียงลงคะแนนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์[168] เนื่องจากผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล

สกัดกั้นการส่งหีบเลือกตั้งนอกเหนือไปจากขัดขวางมิให้ประชาชนไปออกเสียงลงคะแนน[169][170][171]

คณะกรรมการการเลือกตั้ง รายงานผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ร้อยละ 47.72 หรือ 20,530,359 คน โดยนับจาก 68 จังหวัดและไม่นับ 9 จังหวัดที่ยกเลิกการออกเสียงลงคะแนน (การออก

เสียงลงคะแนนปิดก่อนกำหนด 15.00 น. ในบางพื้นที่ของจังหวัดเหล่านี้) จังหวัดที่มีอัตราผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 75.05 ส่วนกรุงเทพมหานคร มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

ร้อยละ 25.94[172] คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศว่า บัตรเลือกตั้งร้อยละ 12.05 เป็นบัตรเสีย และร้อยละ 16.57 ไม่ประสงค์ลงคะแนน คณะกรรมการการเลือกตั้งจะประชุม 28 เขตเลือกตั้งที่ผู้

สมัครถูกกันมิให้ลงทะเบียนก่อนการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งเนื่องจากการประท้วงและแถลงว่าจะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษากฎหมายก่อนบรรลุคำวินิจฉัย[162]

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 พรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้วินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เช่นเดียวกับยุบพรรคเพื่อไทยและเพิกถอนสิทธิพิเศษของผู้บริหาร ส่วนหนึ่งของคำ

ร้องนั้น พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่าการเลือกตั้งเป็นความพยายามของรัฐบาลเพื่อได้มาซึ่งอำนาจบริหารด้วยวิถีมิชอบด้วยยรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68[173][174] อันเป็นมาตราเดียวกับที่

พรรคประชาธิปัตย์อ้างเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ด้านพรรคเพื่อไทยยื่นคำร้องกลับในการสนองต่อพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ โดย

ขอให้ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิพิเศษของผู้บริหารโดยอ้างมาตรา 68 เช่นกัน โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า คำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ให้วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะเป็นความพยายามล้ม

รัฐบาลนอกการปกครองระบอบประชาธิปไตย[175] วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องของทั้งสองพรรคไม่มีมูล[176]

หมายจำแกนนำประท้วง[แก้]
ตามที่ศาลอาญาไทยอนุมัติหมายจับเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 แกนนำเป้าหมายยืนยันว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อการรณรงค์ทางการเมืองแม้ศาลสืบสวนพบหลักฐานเพียงพอยืนยันว่า

แกนนำดังกล่าวละเมิดพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งประกาศในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี บางส่วนของจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสมุทรปราการ ตาม

หมายจับ ตำรวจสามารถจับกุม 19 แกนนำและควบคุมตัวไว้ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ที่คลอง 5 ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ได้ไม่เกินเจ็ดวัน หมายนี้มีผลใช้ได้หนึ่งปีและ

ต้องแจ้งการจับกุมต่อศาลภายในเวลา 48 ชั่วโมง[177]

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ศาลอาญาปฏิเสธการเสนอออกหมายจับแกนนำ กปปส. 13 คน ได้แก่ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สมศักดิ์ โกศัยสุข, จิตภัสร์ กฤดากร, สกลธี ภัททิยกุล, สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, เสรี

วงษ์มณฑา, ถนอม อ่อนเกตุพล, หลวงปู่พุทธะอิสระ, สาวิทย์ แก้วหวาน, คมสัน ทองศิริ, สุชาติ ศรีสังข์, ระวี มาศฉมาดล และนพพร เมืองแทน ทนายความ กปปส. อธิบายว่า ศาลยกคำร้องของดีเอส

ไอเพาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประท้วง กปปส. เปลี่ยนไปแล้ว[178]

การเลือกตั้งชดเชย[แก้]
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 มีการจัดประชุมโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสมชัย กรรมการการเลือกตั้ง ภายหลังอธิบายว่า หากจะมีการจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้งซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่

สามารถลงสมัครได้ จำเป็นต้องมีพระราชกฤษฎีกาเป็นลายลักษณ์จากรัฐบาล ที่ประชุมตัดสินอย่างเป็นเอกฉะน์ว่าจำต้องแสวงพระราชกฤษฎีกาจากรัฐบาล และคณะกรรมการการเลือกตั้งเชื่อว่า

สามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ในพื้นที่ห้าจังหวัด ระยอง ยะลา ปัตตานี นราธิวาสและเพชรบุรีได้ไม่ยาก ศุภชัย สมเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า คณะกรรมการฯ กำหนดวัน

รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 4–8 มีนาคม การเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 23 มีนาคม และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 30 มีนาคม[179]

คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศวันเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อเปิดโอกาสแก่พลเมืองที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนได้ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากการ

ประท้วงต่อต้านรัฐบาล การเลือกตั้งล่วงหน้าจะจัดในวันที่ 20 เมษยน และกำหนดให้วันที่ 27 เมษายนเป็นวันเลือกตั้งสำหรับเขตเลือกตั้งที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ กปปส.

ไม่เห็นชอบกับวันเลือกตั้งใหม่[180]

ตามวอลสตรีตเจอร์นัล วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 จำนวนผู้ประท้วงลดลงเหลือประมาณ 5,000 คน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เสนอว่าหลังการเลือกตั้งรอบถัดไป รัฐบาลจะดำเนินการเปลี่ยน

แปลงใน 18 เดือนเพื่อเปิดกระบวนการเลือกตั้งแบบใหม่ ถ้อยแถลงของร้อยตำรวจเอก เฉลิมมีขึ้นหลังยิ่งลักษณ์โพสต์ลงหน้าเฟซบุ๊กของเธอซึ่งชี้การเปิดให้นายหน้าบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม

เพื่อช่วยระงับความขัดแย้งทางการเมือง[155]

การยึดพื้นที่คืน[แก้]
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ มีผู้ยิงเอ็ม-79 ใส่ที่ชุมนุม กปปส.แจ้งวัฒนะ มีผู้บาดเจ็บ 2 คน[181] วันที่ 10 กุมภาพันธ์ สุเทพเดินขบวนเพื่อระดมทุน นำไปให้ กปปส.จ้างทนายความ ช่วยชาวนาดำเนินคดีต่อ

รัฐบาล[182][183]

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ตำรวจพยายามยึดพื้นที่สาธารณะคืนจากกลุ่มผู้ประท้วงเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ขั้นแรก ตำรวจประชุมกันที่ลานพระราชวังดุสิตก่อนเคลื่อนเข้าแยก

มิสกวันเพื่อเริ่มปฏิบัติการ มีการรื้อถอนเต๊นต์จากถนนราชดำเนินบนสะพานมัฆวาน แต่ผู้ประท้วงย้ายที่แล้วเมื่อตำรวจมาถึง จึงไม่เกิดความรุนแรง[184] ตำรวจปราบจลาจลยังเคลียร์ที่ประท้วงซึ่ง

เคยตั้งอยู่ที่แยกสำคัญใกล้ทำเนียบรัฐบาลและไม่เผชิญกับการต่อต้านจากผู้ประท้วง เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าปฏิบัติการความมั่นคงพิเศษของรัฐบาล อธิบายต่อสื่อว่า ปฏิบัติการนี้เป็นเครื่องบ่งชี้การ

สนองของรัฐบาลรักษาการต่อขบวนการประท้วง เฉลิมอธิบายว่า "เรากระตุ้นให้ผู้ประท้วงกลับบ้าน หากเขาไม่ฟัง เราจะมีการปฏิบัติเพิ่มเติม เราไม่สามารถปล่อยให้เกิดเหตุการณ์นี้ ประเทศของเรา

ไม่สามารถทำงานอย่างนี้ได้" ทว่า ตำรวจงดปฏิบัติเพิ่มเติมหลังกลุ่มผู้เดินขบวนกลับจุดประท้วงที่ยังไม่เสียหายใกล้ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น ผู้ประท้วงราว 10,000 คนชุมนุมนอกกองบังคับการ

ตำรวจนครบาลหลังปฏิบัติการนี้[155] วันเดียวกัน มีผู้ยิงเอ็ม 79 ใส่ศาลอาญา[185]


การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ชุมนุม บริเวณแยกสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557
เช้าวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ตำรวจเก้ากองร้อยยึดจุดกระทรวงพลังงานได้สำเร็จ และจับกุมผู้ประท้วงกว่า 140 คนหลังไม่ยอมออกจากพื้นที่[186][187] ขณะที่ตำรวจยังคงดำเนินการตามเป้าหมายเพื่อยึด

จุดประท้วงห้าจุดต่อไปนั้น สถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นที่จุดประท้วงสะพานผ่านฟ้าที่ถนนราชดำเนินกลาง ผู้ประท้วงขัดขืนคำสั่งของตำรวจโดยนั่งลงบนถนนและสวดมนต์[188][189] ตำรวจ

ผลักโดยมีความรุนแรงเล็กน้อย และต่อมาตั้งต้นทุบเวทีและเต๊นต์ สถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อมีจำนวนผู้ประท้วงมากขึ้นพยายามขัดขวางเจ้าหน้าที่ แล้วตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนจริงเพื่อสลาย

ขณะที่ตำรวจดำเนินการ พวกเขาถูกโจมตีด้วยแรงระเบิดจน ตำรวจสนองด้วยกระสุนจริงแล้วล่าถอย[188][189] คลิปวิดีทัศน์ของบีบีซีแสดงชัดเจนว่า มีการปาระเบิดมือใส่แถวตำรวจจากที่ที่ผู้

ประท้วงอยู่[190]

จนถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ มีผู้เสียชีวิต 5 คน เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นายและพลเรือน 4 คน และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 64 คนจากเหตุการณ์ที่สะพานผ่านฟ้า[188] รายงานของบีบีซี พิมพ์เผยแพร่เมื่อ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ระบุว่า รัฐบาลประกาศเจตจำนงยึดจุดที่ถูกยึดคืนเมื่อสิ้นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557[191]

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีผู้ยิงอาร์จีดี5 บริเวณแยกประตูน้ำ มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย[192]

เกิดเหตุยิงปืนและขว้างระเบิด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 34 คนในจังหวัดตราดในเย็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์[193] วันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีผู้ยิงเครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี

ราชดำริ ใกล้ที่ชุมนุม กปปส.แยกราชประสงค์ มีรายงานว่า การระเบิดของระเบิดมือ 40 มิลลิเมตรทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน เป็นเด็ก 2 คนและหญิง 1 คน[194] ชายขับรถตุ๊กตุ๊กคนหนึ่งถูกจับกุมใน

เวลาต่อมา[195] หลังจากนั้น ผู้ประท้วง กปปส. ในกรุงเทพมหานครพยายามขัดขวางกิจกรรมของธุรกิจตระกูลชินวัตรในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่กรมศุลกากรในเขตคลองเตย สถานีวอยซ์ทีวี และ

หลายกระทรวง เช่น กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพลังงาน[196]

การยกเลิกปิดกรุงเทพมหานครและเหตุการณ์ต่อเนื่อง[แก้]
เย็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 สุเทพประกาศว่าจะยุบสถานที่ชุมนุมที่แยกปทุมวัน ราชประสงค์ สีลมและอโศกในวันที่ 2 มีนาคม 2557 และขอโทษแก่ประชาชนผู้ไม่ได้รับความสะดวกจากการยึด

กรุงเทพมหานคร กปปส. ย้ายสถานที่ชุมนุมไปยังสวนลุมพินี นับเป็นจุดสิ้นสุดของ "การปิดกรุงเทพมหานคร" และอีกหนึ่งเวทีชุมนุมที่ยังเหลืออยู่ คือ ที่แจ้งวัฒนะ ที่มีพระสุวิทย์ ธีรธมฺโม (หลวงปู่

พุทธะอิสระ) เป็นแกนนำ ซึ่งประกาศว่าจะไม่รื้อหรือย้ายเวทีไปไหนหลังจากการประกาศของสุเทพ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป ความมุ่งหมายหลักของขบวนการประท้วงจะเป็นการคว่ำ

บาตรและขัดขวางปฏิบัติการของผลประโยชน์ทางธุรกิจของตระกูลชินวัตร[197]

วันที่ 7 มีนาคม มีผู้ยิงเอ็ม 79 ใส่ที่ชุมนุม กปปส.สวนลุมพินี มีผู้บาดเจ็บ 5 คน[198] วันที่ 11 มีนาคม มีผู้ยิงเอ็ม 79 ใส่ที่ชุมนุม กปปส. มีผู้บาดเจ็บ 3 คน อาการสาหัส 1 ราย[199]

วันที่ 14 มีนาคม ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองไม่ให้เนรเทศสาธิต เซกัล ชาวอินเดีย หนึ่งในแกนนำผู้ชุมนุม เป็นการชั่วคราว[200]

วันที่ 15 มีนาคม 2557 มีการแต่งตั้งจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นประธาน นปช. คนใหม่แทนธิดา ถาวรเศรษฐ และแต่งตั้งณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นเลขาธิการ บนเวทีชุมนุมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[201][202]

ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมองว่าเป็นปรับท่าทีเชิงรุกของคนเสื้อแดง[203][204]

การวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[แก้]
เดิมผู้ตรวจการแผ่นดินต้องการให้การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ถูกเพิกถอน หลังจากกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์วิชากฎหมายสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่า

ควรยกเลิกการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเท่านั้น ไม่อาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงขอให้

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแทน โดยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557[205][206]

ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่

สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกา

ในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[207][208][209]

มีการวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างหนักทั้งจากภาควิชาการและพรรคเพื่อไทย อาทิ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์วิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์

กล่าวว่า เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้เลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวันหลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎร และพระราชกฤษฎีกาก็กำหนดวันเลือกตั้งตามเงื่อนไขดังกล่าว พระราชกฤษฎีกาจึงไม่ขัดต่อรัฐ

ธรรมนูญ[206] พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในสมาชิกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยเสริมว่า กฎหมายจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อมีเนื้อหา

สาระไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพราะมีบุคคลใดมาทำให้ไม่เกิดผลตามรัฐธรรมนูญ[210] คณิน บุญสุวรรณ อาจารย์วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า คำวินิจฉัยของ

ศาลไร้เหตุผล เพราะพระราชกฤษฎีกาไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ไม่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้เนื่องจากถูกผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลขัดขวาง[206][211] ส่วนวีรพัฒน์

ปริยวงศ์ นักวิชาการกฎหมาย ตั้งข้อสังเกตว่า ศาลวินิจฉัยให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะเพราะไม่เสร็จสิ้นภายในวันเดียว แต่ศาลไม่พิจารณาว่า เหตุใดจึงไม่สามารถเสร็จสิ้นได้[212]

กานต์ ยืนยง นักวิเคราะห์การเมือง กล่าวว่า ค่อนข้างชัดเจนว่า องค์กรอิสระต้องการถอดถอนยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีทั้งคณะเพื่อสร้างช่องว่างแห่งอำนาจ โดยอ้างว่า ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

แล้วจะเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตามอำเภอใจ[209] สมชาย ปรีชาศิลปกุล รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในสมาชิกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย กล่าวว่า ไม่แปลกใจ

กับคำวินิจฉัย แต่สลดใจมาก[213] ขณะที่สดศรี สัตยธรรม อดีตผู้พิพากษาและอดีตกรรมการการเลือกตั้ง วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการแช่แข็งประเทศ และเรียกร้องให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการ

เลือกตั้งครั้งหน้าให้มากเพื่อ "นำประชาธิปไตยกลับคืนมา"[214]

พรรคเพื่อไทยแสดงความเสียใจต่อคำวินิจฉัย และกล่าวว่า ประเทศได้สูญเสียโอกาสที่จะก้าวเดินต่อไป และศาลได้สร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องเพื่อเปิดให้ล้มการเลือกตั้งทั้งหมดได้ด้วยการสร้าง

ความปั่นป่วนที่หน่วยเลือกตั้งเพียงบางแห่งเท่านั้น[209][215] ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน แสดงความเห็นทำนองเดียวกันว่า "เป็นบรรทัดฐานว่า ต่อไปหากใครอยากล้ม

การเลือกตั้ง ให้หาคนออกมาประท้วงปิดถนนล้อมหน่วยเลือกตั้งไม่ให้มีการสมัครสัก 28 เขต แค่นี้การเลือกตั้งก็เป็นโมฆะ"[216]

วันที่ 21 มีนาคม 2557 นั้นเอง กลุ่มนักเรียนนักศึกษาซึ่งใช้คำขวัญว่า "โปรดเคารพอนาคตของเรา" (Respect My Future) รวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และใช้ผ้าดำคลุมอนุสาวรีย์เพื่อเป็น

สัญลักษณ์ว่า ประชาธิปไตยได้ตายลงแล้ว[217] ส่วนประชาชนอีกกลุ่มจัดกิจกรรมชื่อ "เคารพเสียงของเรา" (Respect My Vote) ที่หน้าบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ที่ทำการเดิมของศาลรัฐธรรมนูญ

เพื่อเรียกร้องให้ตุลาการลาออกเพราะ "ทำลายคุณค่าของเสียงประชาชน"[218] ขณะเดียวกัน สมาชิกพรรคเพื่อไทยแต่งดำเป็นเวลาหกวัน เพื่อไว้ทุกข์ให้แก่ตุลาการหกคนที่ลงมติล้มการเลือกตั้ง[219]

และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในจังหวัดเชียงใหม่ก็ร่วมแต่งดำด้วย[220]

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากมีคำวินิจฉัย องอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ได้เรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และกล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปนั้นขึ้นอยู่กับ

การปรึกษาพูดคุยระหว่างนายกรัฐมนตรีและกรรมการการเลือกตั้งเพื่อจัดการเลือกตั้ง พร้อมทั้งเสนอว่าไม่ควรจะเร่งรีบเพราะอาจจะนำไปสู่การโมฆะอีกครั้ง[221]

ทาง กปปส. โดยเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ได้แถลงในวันเดียวกันหลังจากมีคำวินิจฉัยว่า กปปส. ยอมรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นว่ารัฐบาลดื้อดึงที่จะให้มีการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่าน

มาทั้งที่ยังไม่พร้อม แต่อย่างไรก็นับเป็นโอกาสที่ดีที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมกันปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ส่วนสุเทพนั้นปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใด ๆ ต่อคำวินิจฉัย [222]

อย่างไรก็ดี ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลยินดีกับคำวินิจฉัยนี้[223] และยืนยันว่า จะขัดขวางการเลือกตั้งครั้งต่อไป ๆ อีกจนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสภาประชาชน[49][50]

การประท้วงดำเนินต่อและความรุนแรง[แก้]
คดีการข่มขู่ ความรุนแรงและความผิดอาญาซึ่งการ์ดและผู้สนับสนุน กปปส. เป็นผู้ก่อ ถูกสาธารณะรายงาน ตำรวจจับกุมชายผู้รับสารภาพว่าได้รับว่าจ้างจาก กปปส. ให้ยิงใส่ผู้ประท้วงนิยมรัฐบาล

ในวันก่อนการเลือกตั้งที่เขตหลักสี่ ทำให้มีผู้บาดเจ็บเจ็ดคน และชายคนหนึ่งเป็นอัมพาต "มือปืนป๊อปคอร์น" ซึ่งยิงปืนเล็กยาวเอ็ม16 ยังยอมรับว่า หัวหน้าการ์ด กปปส. ให้ปืนเขา[163][164] ศาล

ออกหมายจับอิสระ สมชัย อดีตสมาชิกสภาผูแทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์และแกนนำ กปปส. และรักษาความปลอดภัย กปปส. ห้าคน เขาถูกกล่าวหาว่าสั่งการ์ดให้กักขัง ทุบตีและฆ่าพลเรือนคน

หนึ่งหลังพบว่ามีบัตรผู้สนับสนุนเสื้อแดง มีการกล่าวหาว่า ชายคนนั้นถูกการ์ดผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลหน่วงเหนี่ยวเป็นเวลาห้าวัน ถูกทุบตี จับมัดและทิ้งลงแม่น้ำบางปะกง[224][225] ผู้สนับสนุน

กปปส. ชื่อ "ลิตเติลซัดดัม" ซึ่งถูกถ่ายภาพขณะบีบคอชายที่พยายามออกเสียงลงคะแนน ก็กำลังถูกค้นหา[226][227][228]

วันที่ 29 มีนาคม 2557 กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล กปปส. นำโดยสุเทพ เดินขบวนรอบถนนกรุงเทพมหานคร จากสวนลุมพินีไปยังลานพระบรมรูปและรัฐสภา แล้วกลับมาสวนลุมพินีเพื่อยืนยัน

ท่าทีว่าต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งทั่วไป[229] ขณะที่พรรคการเมือง 53 พรรคเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45–60 วัน พรรคประชาธิปัตย์รับท่าทีของสุเทพ ซึ่งว่า พรรครัฐบาลเพื่อไทยจะใช้

อำนาจที่ได้จากการเลืกอตั้งใหม่ผ่านกฎหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทว่า พรรคไม่อธิบายเพิ่มเติมถึงการเข้าร่วมในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่มีแผน[229][230]

ณ เวทีชุมนุม กปปส. ที่สวนลุมพินีเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2557 สุเทพปราศรัยผู้ชุมนุมและวางยุทธศาสตร์ในการรณรงค์เพื่อถอดถอนยิ่งลักษณ์จากบทบาทรักษาการนายกรัฐมนตรี เขาเรียกร้องให้เครือ

ข่ายท้องถิ่น กปปส. รวบรวมรายชื่อสมาชิกทั่วประเทศและ "รอวันเผด็จศึก" โดยอธิบายต่อว่าเขาจะนำ "การต่อสู้ยืดเยื้อ" ซึ่งจะกินเวลา "อย่างน้อย 15 วัน" ผลลัพธ์ของทั้งสองเหตุการณ์ถูกนำเสนอ

ว่าสำคัญต่อแนวทางการปฏิบัติในอนาคตของสุเทพ คือ คำวินิจฉัยของ ป.ป.ช. ต่อยิ่งลักษณ์และคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่ายิ่งลักษณ์ละเมิดรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่ ในกรณี ป.ป.ช. วินิจฉัย

ว่ามีความผิด สุเทพขอให้ผู้สนับสนุนรอคำสั่งต่อไป ทว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์มี่ความผิด สุเทพเรียกร้องให้มีการระดมมวลชนทันทีเพื่อให้เขาสวมบทบาท "องค์อธิปัตย์" เพื่อออก

กฎบัตรใหม่ คล้ายกับผู้เผด็จการทหารในคริสต์ทศวรรษ 1960 สุเทพแถลงเป้นการยืนยันว่า "ผมจะสามารถสั่งให้ประหารใครก็ได้ด้วยชุดยิง แต่ผมจะเพียงอายัดทรัพย์สินเท่านั้น" หากเขาครอง

ตำแหน่งปกครอง สุเทพแถลงว่า เขามีแผนแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามดุลยพินิจของตน ตามด้วยการกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เขาสามารถ

แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติและ "สภาประชาชน" องค์กรนิติบัญญัติซึ่งมิได้มาจากการเลือกตั้งทั้งคู่ เพื่อดำเนินการ "ปฏิรูป" ประเทศ สุเทำยังแสดงการผูกมัดคืนอำนาจให้ประชาชนชาวไทย

หลังนำการปฏิรูปไปปฏิบัติ แต่พูดถึงการประท้วงบนท้องถนนต่อไปหากรัฐบาลที่เขาแต่งตั้งไม่สามารถนำการปฏิรูปที่ กปปส. ชี้นำไปปฏิบัติได้สำเร็จ[231]

วันที่ 25 เมษายน 2557 นายทหารนายหนึ่งกำลังรื้อถอนสิ่งกีดขวางที่วางใกล้จุดประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่แจ้งวัฒนะเมื่อการ์ดยิงปืนใส่เขา การโจมตีจบลงเมื่อการ์ดดูบัตรระบุรูปพรรณทหารของ

เขา[232]

คำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ถอดถอนนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่ง[แก้]
วันที่ 30 กันยายน 2554 สำนักนายกรัฐมนตรีย้ายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่

ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไปเป็นเลขาธิการฯ แทนถวิล ต่อมาพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พันตำรวจโท ทักษิณ ได้รับแต่ง

ตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถวิลร้องศาลปกครองให้เพิกถอนการย้ายนี้ ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 7 มีนาคมว่า การย้ายนั้นชอบด้วยกฎหมาย แต่ดุลยพินิจ

ของการย้ายนั้นไม่มีเหตุผลอันสมควร เพราะไม่ปรากฏว่าถวิลปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือผิดพลาดหรือไม่ยอมตามนโยบายของรัฐบาล ศาลสั่งให้สำนักนายกรัฐมนตรีย้ายถวิลกลับ

ตำแหน่งเดิมภายในสี่สิบห้าวัน[233] สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศการย้ายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557 โดยมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 30 กันยายน 2554[234]

ต่อมา ไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ถอดถอนนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าการย้ายถวิลเป็นการใช้อำนาจแทรกแซงกิจการปกติของรัฐบาล เอื้อ

ประโยชน์ต่อสกุลชินวัตรหรือพรรคเพื่อไทย รัฐธรรมนูญห้ามมิให้ผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือรัฐมนตรี แทรกแซงกับกิจการปกติของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้อื่นหรือพรรคการเมือง

รวมทั้งการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง ลดตำแหน่งข้าราชการ หรือให้ข้าราชการพ้นจากตำแหน่ง[235]

วันที่ 3 เมษายน ศาลรัฐธรรมนูญตกลงรับวินิจฉัยคดี และสั่งให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงภายในสิบห้าวัน[235] มีการไต่สวนนัดสุดท้ายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2557[236] และมีคำวินิจฉัยในวันรุ่งขึ้นทันทีคือ

7 พฤษภาคม 2557 ซึ่งชี้ว่านายกรัฐมนตรียังสามารถถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ เพราะความเป็นรัฐมนตรียังคงมีอยู่ จนกว่ามีการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ศาลวินิจฉัยว่าการย้ายถวิล เกี่ยวข้องกับผล

ประโยชน์ส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี โดยว่า "พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ เป็นลุงของหลานอาของผู้ถูกร้อง ย่อมถือว่าเป็นเครือญาติของผู้ถูกร้อง จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องมิได้เป็น

ไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและของประชาชนแต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำที่มีเจตนาอำพรางหรือแอบแฝง เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง อันเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐ

ธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) และ (3) อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)[237]"

ศาลมีมติเอกฉันท์ถอดถอนนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่ง นอกจากนี้ ศาลยังถอดถอนรัฐมนตรีอื่นอีกเก้าคน ที่ลงมติเห็นชอบการย้ายนี้[238][239] ซึ่งได้แก่ นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี, กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์,

ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และพลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิ

ประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[240]

มีการจัดการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดรอบบริเวณศาล ระหว่างคำแถลงคำวินิจฉัยที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ และตุลาการออกจากศาลทันทีหลังคำแถลง[241] และมีความกังวลในเรื่องความ

ปลอดภัย ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดทำการตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 13 พฤษภาคม 2557[241] โดยศาลดูเหมือนกลับบรรทัดฐานของตนเอง เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลยกฟ้องคำร้องคล้ายกันต่อ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยอ้างเหตุผลว่า เขาออกจากตำแหน่งเมื่อยุบสภาผู้แทนราษฎร[242][243] นิวยอร์กไทมส์ยังแสดงความเห็นว่า ศาลบรรลุคำวินิจฉัยด้วย "ความเร็วผิดปกติ" เพราะมีคำวินิจฉัย

เพียงหนึ่งวันหลังจากยิ่งลักษณ์ให้การต่อศาล[242] ด้านเดอะวอลสตรีทเจอร์นัล รายงานว่า มูลเหตุการถอดถอนยิ่งลักษณ์นั้น "ค่อนข้างคลุมเครือ"[244]

หลังฟังคำวินิจฉัย ยิ่งลักษณ์ออกมาแถลงการณ์ โดยปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา[244] รัฐมนตรีที่เหลือเลือกนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ปฏิบัติ

หน้าที่รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี[245] ประธาน นปช.อธิบายคำวินิจฉัยดังกล่าวว่าเป็น "รัฐประหารโดยตุลาการ" และว่าพวกตนจะยังคงนัดหมายชุมนุม ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 ตาม

กำหนดเดิม[244]

การชุมนุมขับไล่รัฐบาลหลังถอดถอนนายกรัฐมนตรี[แก้]
สุเทพเปิดฉากการประท้วงที่เรียกว่า "การต่อสู้ครั้งสุดท้าย" ด้วยการควบคุมสื่อมวลชน ตั้งแต่หลังเวลา 09.00 น. ของวันที่ 9 พฤษภาคมเล็กน้อย แกนนำระดับรองนำผู้ชุมนุมเดินขบวนไปประท้วง

ยังที่ทำการของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบแอนะล็อกในส่วนกลาง ได้แก่ ไทยทีวีสีช่อง 3, ททบ.5, ช่อง 7 สี, โมเดิร์นไนน์ทีวี และเอ็นบีที แล้วค้างคืนที่นั่นเพื่อให้แน่ใจว่าสื่อเหล่านั้นจะไม่

รายงานข่าวเบี่ยงเบนไปจากที่ กปปส.เห็นชอบ สุเทพอ้างว่า สื่อเหล่านี้เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล และต้องโน้มน้าวไม่ให้รายงานโฆษณาชวนเชื่อนิยมรัฐบาลอีกต่อไป เพราะเชื่อว่าเป็นการบิด

เบือนความจริง และเสริมว่า สุเทพตั้งใจขอความร่วมมือจากช่องโทรทัศน์เหล่านี้ให้แพร่ภาพคำแถลงของตนเมื่อได้ "ชัยชนะ" แล้ว ส่วนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนัก

ข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนประณามการเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ว่า ผู้ชุมนุมกำลังคุกคามสิทธิพื้นฐานของสื่อมวลชนและเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลโดยปราศจากการแทรก

แซง การรณรงค์คุกคามนี้ยังเคยเกิดขึ้นช่วงรณรงค์ปิดกรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ด้วย[246] [247][248] [249]

ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมอันมีพระสุวิทย์ ธีรธมฺโมเป็นผู้นำ เดินขบวนไปยังสโมสรตำรวจ อันเป็นที่ตั้งของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) โดยเกิดความรุนแรงระหว่างผู้ประท้วง

และตำรวจ ผู้ประท้วงรื้อรั้วลวดหนาม และเรียกร้องให้ ศอ.รส. ส่งผู้แทนมาเจรจากับพวกตนภายใน 5 นาที หลังเวลาผ่านไปตามคำขาด ผู้ประท้วงก็บุกรุกเข้าไป ทำให้ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาและฉีดน้ำ

เข้าใส่จนผู้ประท้วงถอย ทำให้มีผู้ชุมนุม 4 คนบาดเจ็บ รวมทั้งพระสุวิทย์ ซึ่งปรากฏข่าวว่าอาพาธ ในวันที่ 10 พฤษภาคม[250]

รัฐประหาร[แก้]
ดูบทความหลักที่: รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
เมื่อเวลา 3.00 น. ของวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศกฎอัยการศึกในรูปของประกาศกองทัพบก ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัย

อำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 หลังประกาศกฎอัยการศึกแล้ว พลเอก ประยุทธ์ สั่งยุบ ศอ.รส. ซึ่งตั้งโดยรัฐบาลรักษาการ แล้วตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) โดยเป็นผู้

บังคับบัญชาเอง กอ.รส. มีหน้าที่ "เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว" และได้รับอำนาจให้ "ป้องกันระงับ

ยับยั้ง และแก้ไขสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของประเทศ ในทุกท้องที่ของประเทศ" และสามารถเชิญตัวบุคคลมารายงานตัวได้ พลเอก ประยุทธ์ยังสั่งให้กำลัง

พลตำรวจ กองทัพเรือ กองทัพอากาศและกระทรวงกลาโหมอยู่ในบังคับของ กอ.รส.[251]

ในกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ทหารประจำอยู่ทุกแห่ง[252] และมีการปิดกั้นถนนสายหลัก[253] เจ้าหน้าที่ยึดทำเนียบรัฐบาลคืนจากผู้ประท้วง กปปส.[254] และยังยึดสถานีโทรทัศน์ทุกแห่งใน

กรุงเทพมหานครและบางส่วนของประเทศ[255][256] ก่อนปิดบางสถานี รวมทั้งสถานีของ กปปส. และ นปช.[257] ภายหลัง พลเอก ประยุทธ์สั่งให้สื่อทั้งหมดแทนที่รายการปกติด้วยรายการของ

กอ.รส. ทุกเมื่อตามที่เขาต้องการ[258] และกำหนดการห้ามเผยแพร่สารสนเทศที่อาจกระทบภารกิจของทหาร[259] เขายังสั่งให้หัวหน้าส่วนราชการทุกคนรายงานต่อเขา[260]

วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กอ.รส. ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายงานต่อ กอ.รส. เพื่อควบคุมเนื้อหาออนไลน์[261]

รัฐบาลรักษาการแถลงว่า ไม่ได้รับการปรึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของกองทัพ ทว่า กองทัพแถลงว่าท่าทีดังกล่าวมิใช่รัฐประหาร[262]

ทว่า ในเย็นวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ ประกาศผ่านการประกาศทางโทรทัศน์ว่า กองทัพควบคุมประเทศแล้ว[263] เป็นรัฐประหารต่อรัฐบาลรักษาการอย่างเป็นทางการ และมีการ

จัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขึ้น หลังรัฐประหารเมื่อเวลา 16:30 น. ผู้ประท้วง กปปส. แสดงความยินดีต่อการรัฐประหารในครั้งนี้ และรอท่าของ

แกนนำ แต่ระหว่างที่รอนั้นก็มีประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมถอนตัวออกจากสถานที่ดังกล่าว จนในที่สุดทั้งกลุ่ม นปช. และกลุ่ม กปปส. ก็ถอนตัวออกจากพื้นที่ตามคำสั่ง[264]

คสช.จับสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมือง หลังเชิญตัวมายังสโมสรทหารบกที่ถนนวิภาวดีรังสิตแล้วถูกนำตัวไปกักขังที่กรมทหารราบที่ 1 รักษา

พระองค์[265] ภายหลัง คสช.สั่งห้ามออกนอกเคหสถานเวลาค่ำคืนระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 5.00 น.[266] ทั้งออกประกาศฉบับที่ 11/2557ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ และ คสช.ได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่[267]

ปฏิกิริยา[แก้]
รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ[แก้]
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ผู้รับผิดชอบ ในการป้องกันปราบปราม ระงับยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ อันกระทบต่อความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร

ตามประกาศลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556[268] ออกคำสั่งที่ 404/2556 ลงวันเดียวกัน เพื่อให้จัดตั้ง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เป็นหน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. มีภารกิจในการ

ป้องกันปราบปราม ระงับยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ อันกระทบต่อความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร ดังกล่าว โดยมอบหมายให้ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่ง

ชาติ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ[269] ต่อมา มีการออกประกาศอีกสองฉบับ เพื่อขยายกำหนดผลบังคับใช้ และขยายเขตพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์ฯ ลงวันที่ 18 ตุลาคม[270], วันที่ 25 พฤศจิกายน[271] และ

วันที่ 25 ธันวาคม[272] รวมถึงออกคำสั่ง กอ.รมน.อีกสองฉบับ เพื่อกำหนดให้ ศอ.รส.ยังคงเป็นศูนย์อำนวยการฯ ต่อไป ลงวันที่ 18 ตุลาคม[273][274], วันที่ 26 พฤศจิกายน[275] วันที่ 26

ธันวาคม[276]

ทั้งนี้ปรากฏว่า ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน มีพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ประกาศตนเป็นผู้กำกับดูแลงานของ ศอ.รส. ก่อนที่ต่อมา เมื่อเวลา 11:30 น. วันที่ 2

ธันวาคม พลตำรวจเอก ประชา กับสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันแถลงข่าว ใจความสำคัญว่า นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้สุ

รพงษ์ เป็นผู้กำกับดูแลงานของ ศอ.รส. เพื่อเป็นผู้ทำความเข้าใจ กับนานาประเทศให้รับทราบ และเข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง ตนจึงขอมอบหน้าที่กำกับดูแลงาน ศอ.รส.ให้แก่สุรพงษ์ เป็นผู้ควบ

คุมและกำกับดูแล ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[277]

เมื่อมีการปิดกรุงเทพมหานครในช่วงต้นเดือนมกราคม 2557 กระทรวงคมนาคมเปิดเว็บไซต์ ศูนย์อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชน เพื่อรวบรวม บริการขนส่งมวลชน การเดินทาง จุด

เชื่อมต่อ เส้นทางเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา จุดจอดรถยนต์ เพื่อเดินทางต่อโดยระบบขนส่งสาธารณะ ประชาชนสามารถตรวจสอบ จุดจอดรถ และจุดให้บริการขนส่งสาธารณะ ระหว่างการชุมนุม

ปิดกรุงเทพฯ ของ กปปส.[278]

ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และ

อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยให้มีผลบังคับใช้ ระหว่างวันที่ 22 มกราคม ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557 เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่มีแนวโน้ม จะรุนแรงยิ่งขึ้นต่อจากนี้ เนื่องจากยังคงมีกลุ่ม

บุคคล ที่ก่อความวุ่นวาย และนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน คำสั่งและหมายของศาล ยุยงให้ประชาชนบุกรุก และยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง ตัดน้ำ

ประปาและไฟฟ้า ปิดระบบฐานข้อมูล พยายามจะเข้าควบคุมตัวผู้บริหาร หรือบุคคลสำคัญซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนใช้กำลังขัดขวางการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎรเป็นการทั่วไป ซึ่งกำลังจะจัดให้มีขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 อันกระทบต่ออำนาจอธิปไตย และสิทธิของปวงชนชาวไทย ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยชัดแจ้งหรือโดย

ปริยาย นอกจากนี้ ยังมีบุคคลบางกลุ่ม ก่อเหตุร้ายต่อเนื่องหลายครั้ง เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหาย และไม่ปลอดภัยต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน ในสถานการณ์ที่มีกลุ่มบุคคลยุยงประชาชน ให้ละเมิด

กฎหมายมากยิ่งขึ้นอย่างยืดเยื้อ เพื่อก่อให้เกิด ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ และเกิดความเสียหาย หรือไม่ปลอดภัย ต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงเป็นการกระทำที่

ไม่สงบ และมุ่งหมายให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย[57]

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จัดตั้งหน่วยงาน กำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. และมีกรรมการประกอบด้วย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม

อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้อำนวยการศูนย์, พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นรองผู้อำนวย

การ[279] ซึ่งแตกต่างจากอดีตรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ตั้งชื่อหน่วยงานกำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 นั้นว่า ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี

เป็นผู้อำนวยการศูนย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองผู้อำนวยการ[280]

Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการชุมนุม[แก้]
นกภป.[แก้]
พลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ, นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐ

ธรรมนูญ พ.ศ. 2550, พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ พันโท กมล ประจวบเหมาะ สมาชิกวุฒิสภา อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการ

ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกันแถลงข่าว ถึงสถานการณ์ทางการเมือง พร้อมทั้งประกาศจัดตั้ง กลุ่มนายทหารตำรวจนอกประจำการที่จงรักภักดีต่อสถาบันฯและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอัน

มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (นกภป.) โดยมี พลอากาศเอก กันต์ เป็นประธาน[281]

พระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์[แก้]
ตามที่ปรากฏเป็นข่าว พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นอนุวงศ์พระองค์หนึ่ง ที่สนับสนุน กปปส.และการชุมนุม อย่างเปิดเผย[282][283][284]

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงโพสต์พระฉายาลักษณ์ซึ่งทรงถักเปียด้วยโบสีธงชาติไทยลงในอินสตาแกรม จึงมีผู้ตีความอย่างกว้างขวางว่า เป็นการสนับสนุน

การชุมนุม แม้พระองค์จะมิได้ออกพระโอษฐ์ถึงเรื่องดังกล่าว[285] หนังสือพิมพ์ ดิอินดิเพนเดนต์ (The Independent) รายงานความเห็นของนักวิเคราะห์การเมืองไทยผู้หนึ่งซึ่งไม่เปิดเผยชื่อว่า การ

แสดงออกของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็น การประกาศสงคราม และเป็นสัญลักษณ์ว่า พระราชวงศ์ไทยสนับสนุนขบวนการต่อต้านนี้อย่างเต็มที่[285] ขณะที่แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ (Andrew

MacGregor Marshall) นักวารสารศาสตร์เชิงการเมืองชาวสกอตกล่าวว่า "อภิชนหัวเก่าไม่เคยสนใจประชาธิปไตยอยู่แล้ว พวกเขาเพียงต้องการมั่นใจว่า เมื่อกษัตริย์สวรรคต พวกเขาจะสามารถควบ

คุมสภานิติบัญญัติไว้ได้"[285]

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม[แก้]
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย[แก้]
ดูบทความหลักที่: สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ, รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, รอง

ศาสตราจารย์ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข, ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล, อาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ และกลุ่มนักวิชาการ

จำนวนกว่า 150 คน ร่วมกันก่อตั้ง สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) โดยมีจุดยืนร่วมกันในเบื้องต้นคือ ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ย­วข้องกับการเมือง และมีข้อเสนอหลัก 3 ข้อ

ดังต่อไปนี้[286]

การก่อตั้งสภาประชาชน ด้วยการอ้างอิงมาตรา 3 ถือว่า ไม่สอดคล้องประชาธิปไตย หลักนิติธรรม ไม่สามารถทำได้
ข้อเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลางหลังยุบสภา ตามมาตรา 7 เป็นการพยายามตีความรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย
เสนอการร่วมออกแบบการทำประชามติ ในการแก้ไขหรือยืนยันการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ควรเป็นทางออกของสังคม
กลุ่มคนกรุงเทพฯ ไม่เห็นด้วยกับ กปปส.[แก้]
ในเครือข่ายสังคม มีการตั้งกลุ่ม "คนกรุงเทพฯ ไม่เห็นด้วยกับ กปปส." ในเว็บไซต์ change.org เพื่อรณรงค์ให้สุเทพ ยุติการชุมนุม และเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[287]

พอกันที !ž หยุดการชุมนุมที่สร้างเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง[แก้]
เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 3 มกราคม 2557 ที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน มีกิจกรรมจุดเทียนเขียนสันติภาพ จัดโดยแฟนเพจเฟซบุ๊ก พอกันที!ž หยุดการชุมนุมที่

สร้างเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง ภายในงานมีกิจกรรมเขียนโพสต์อิต แสดงความในใจ ต่อสถานการณ์ทางการเมือง มีเวทีเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปราศรัย คนละ 5 นาที ซึ่งมีผู้ร่วมกิจกรรมให้

หลายคนให้ความสนใจ จากนั้นมีการแจกเทียนให้ผู้ชุมนุมคนละ 1 เล่ม และร่วมกันแปรอักษรภาพมนุษย์ เป็นรูปเครื่องหมายสันติภาพ และจุดเทียน พร้อมร่วมกันอ่านแถลงการณ์ หยุดการณ์ชุมนุม

ที่สร้างเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง และตะโกนคำว่า พอกันที เอาเลือกตั้ง ไม่เอาเทือกตั้ง อยู่นานหลายนาที ก่อนจะแยกย้ายกันจับกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

กิตติชัย งามชัยพิสิฐ ผู้จัดกิจกรรม กล่าวว่า หลังจากที่เห็นภาพภรรยาของตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง และเห็นการ์ด กปปส.ที่เสียชีวิตในวันต่อมา รู้สึกอัดอั้น

ตันใจอยู่คนเดียว จึงตั้งแฟนเพจดังกล่าวขึ้นมา เพื่อเป็นพื้นที่แสดงออกสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำไปสู่เงื่อนไขความรุนแรงจนมีผู้บาดเจ็บและเสีย

ชีวิตอีก โดยเรียกร้องให้มีการเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นมาเป็นครั้งที่สองแล้ว ไม่ได้มีใครแกนนำ ไม่คิดจะยกระดับการชุมนุม โดยเชื่อว่าผู้มาร่วม

ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ จะพัฒนาไปเองตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วม ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว มีกำหนดจัดขึ้นทุกวันศุกร์ โดยครั้งแรกคือ วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556[288]

ปฏิกิริยาจากนานาชาติ[แก้]
Flag of the United Nations สหประชาชาติ - นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมประณามเหตุการณ์รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้น โดยย้ำว่าไม่

ควรมีฝ่ายใดใช้ความรุนแรงในการแก้ไขความแตกต่างและความขัดแย้งทางการเมือง และยังกล่าวอีกว่าพร้อมให้ความช่วยเหลือในการหาทางออก หลังจากสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่า

การกระทรวงการต่างประเทศ เสนอให้เลขาธิการสหประชาชาติเป็นคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ย[289]
ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา - แมรี ฮาร์ฟ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า ทางการสหรัฐฯ ขอเรียกร้องทุกฝ่าย งดเว้นความรุนแรง อดทนอดกลั้น และ

เคารพหลักนิติรัฐ ขณะเดียวกันรัฐบาลสหรัฐฯ ก็แสดงความชื่นชมรัฐบาลที่แสดงความอดกลั้นมาโดยตลอด โดยขณะนี้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่การทูต กำลังประสานงานกับฝ่ายที่

เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพ ประชาธิปไตย และหาทางออกทางการเมือง[290]
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น - ศาสตราจารย์ ดันแคน แมกคาร์โก (Duncan McCargo) อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลีดส์ แห่งสหราชอาณาจักร ผู้ศึกษาการเมืองไทยอย่างยาวนาน ให้สัมภาษณ์

ผ่านรายการ โกลบอลสแควร์ (Global Square) วิเคราะห์ถึงผู้ชุมนุมฝ่ายสุเทพ ที่เริ่มรวมตัวกันปิดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 เนื่องจากต้องการสถาปนาพวกตนซึ่งเป็น

อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ ในเมืองหลวง และเคยเป็นชนชั้นปกครองมากว่า 30 ปี กลับคืนสู่อำนาจ ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่า การปฏิรูปประเทศ และกดดันให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปในระหว่างปฏิรูป ทั้ง

พยายามยุแยงให้ฝ่ายทหารปฏิวัติด้วย[291]
การสำรวจความคิดเห็นประชาชน[แก้]
เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น ของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน

1,975 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-16 มกราคม ในหัวข้อ “คนกรุงฯ กับการเข้าร่วม ปิดกรุงเทพฯ” โดยมีข้อคำถามต่าง ๆ ที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วม กับการชุมนุมกลุ่ม กปปส. คปท. และ กปท. ของ

คนกรุงเทพมหานคร พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากระบุว่า ไม่เคยเข้าร่วม คิดเป็นร้อยละ 71.04 ส่วนอีกร้อยละ 28.96 เคยเข้าร่วม; สำหรับการมีส่วนร่วม ชุมนุมปิดกรุงเทพฯ กับกลุ่ม กปปส. ระหว่าง

วันที่ 13-15 มกราคม ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากระบุว่า ไม่ได้เข้าร่วม คิดเป็นร้อยละ 80.10 ส่วนอีกร้อยละ 19.90 ไปเข้าร่วมด้วย[292]

ผลกระทบ[แก้]
ด้านเศรษฐกิจ[แก้]
วันที่ 23 ธันวาคม 2556 ค่าเงินบาทไทยลดลงต่ำสุดในรอบสามปีเนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง[293][294] ตามข้อมูลของบลูมเบิร์ก ค่าเงินของไทยลดลงร้อยละ 4.6 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน

และธันวาคม ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลักร่วงลงเช่นกัน (ร้อยละ 9.1)[295]

ในด้านการท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศรายงานว่ารายได้จากการท่องเที่ยวลดลง 125 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปี 2555 สมาคม

พันธมิตรท่องเที่ยวไทย-จีนทำนายว่า สำหรับไตรมาสแรกของปี 2557 จำนวนชาวจีนที่เดินทางเข้าประเทศคาดว่าจะลดลงร้อยละ 60 จาก 900,000 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2556[296] ซึ่งปี

นั้น ชาวจีนเป็นชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด[297]

ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2557 วันที่สองของการ "ปิดกรุงเทพฯ" ว่า ธนาคารสาขาต่าง ๆ 135 แห่งได้รับผลกระทบ ธนาคารกล่าวว่า 36 สาขาประกาศปิดเต็มวัน ขณะที่

99 แห่งประกาศปิดก่อนเวลาทำการปกติ[298]

ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยกระทรวงการคลังของไทย บลูมเบิร์ก แอล.พี. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นักลงทุนต่างชาติได้ถอนเงิน 3,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (เกือบ 100,000 ล้านบาท) จาก

ตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่เริ่มการประทว้งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังได้ประโยชน์และตลาดหลักทรัพย์ได้ติดตามเงินประมาณ 6,300 ล้าน

บาทว่าย้ายไปลงทุนในหลักทรัพย์อินโดนีเซียแทน[299][300] วันที่ 23 มกราคม 2557 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ แถลงว่าจำนวนผู้เดินทางมาประเทศไทยจะ

ลดลงเหลือหนึ่งล้านคนในเดือนมกราคม 2557 ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรนักท่องเที่ยวปกติของเดือนมกราคม ผู้แทนจากบาร์เคลย์ บริษัทบริการธนาคารและการเงินข้ามชาติของสหราช

อาณาจักร กล่าวย้ำประวัติของการเคลื่อนไหวทางการเมืองและอธิบายต่อว่า "มันไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น สิ่งที่กำลังเสียหายคือ การรับรู้ การลงทุนและการท่องเที่ยว ขณะนี้ทั้งหมด

สามารถย้อนกลับคืนได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายบางอย่างจะกลายเป็นถาวร"[299][300]

ตามรายงานสื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เซ็นทรัลเวิลด์ หนึ่งในศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ปริมาณลูกค้าลดลงร้อยละ 20 จากปี 2556 วันเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยลด

การพยากรณ์การเติบโตของจีดีพีในปี 2557 ลงจากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 3[301]

รายงานข้อมูลเศรษฐกิจซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ระบุว่า จีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 นับเป็นระดับการเติบโตต่ำสุดของประเทศนับแต่ไตรมาสแรกของปี 2555

ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงว่าค่าเงินบาทอ่อนลงร้อยละ 4 นับแต่เริ่มชุมนุม โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงว่า นโยบายการเงินในวันที่ 17 กุมภาพันธ์เพียงพอที่จะรองรับความต้องการของประเทศ

แล้ว[302]

ด้านคมนาคม[แก้]

ประชาชนที่มาใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557
กระทรวงคมนาคมประเมินในวันที่ 13 มกราคม 2557 ว่าประชาชนเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะลดลงกว่าปกติ โดยทางรถประจำทางลดลงร้อยละ 30 ผู้ให้บริการตุ๊กตุ๊กคนหนึ่งว่า ประชาชน

หันไปใช้บริการรถโดยสารสาธารณะประเภทรถไฟฟ้าหรือรถโดยสารประจำทางมากกว่า เพราะมีถนนหลายสายที่ไม่สามารถสัญจรได้ การประท้วงกระทบการเดินรถของรถโดยสารสาธารณะ 90

สาย โดยทางรถประจำทางปกติ 3.1 ล้าน เหลือ 2 ล้านคน ลดลงร้อยละ 30 ดอนเมืองโทล์เวย์ปกติ 80,000 เที่ยว เหลือ 51,000 เที่ยว ลดลงร้อยละ 46 มีเพียงเรือคลองแสนแสบที่เพิ่มขึ้นจากปกติ 47,000

คน เป็น 60,000 คน คิดเป็นร้อยละ 20 เรือด่วนเจ้าพระยาปกติ 35,000 เที่ยว เป็น 50,000 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 40แอร์พอร์ตลิงก์ปกติ 40,000 เที่ยว เป็น 48,000 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 บีทีเอส 700,000

เที่ยว ใกล้เคียงปกติ[303]

ตื่นใจ สปช.โหวตสวน กมธ.ปฏิรูปพลังงาน

ตื่นใจ สปช.โหวตสวน กมธ.ปฏิรูปพลังงาน
Posted by tachang
แอบเอาใจช่วยคนทำงานด้านพลังงานที่เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและคนไทยทั้งมวลที่เป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นคุณรสนา โตสิตระกูล หรือ คุณคำนูณ สิทธิสมาน แต่พอ กมธ.ปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมาก มีข้อสรุปให้เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ก็ทำเอาหงุดหงิดเล็กน้อย ที่ไม่หงุดหงิดเยอะนั่นเพราะไม่ได้คิดและไม่อยากคาดหวังกับคนทำงานด้านพลังงานอีกฟากหนึ่งซึ่งยืนอยู่แต่ข้างฝ่ายทุนและผลประโยชน์ของตนและคนบางกลุ่ม และเป็นฟากที่มีเสียงมากกว่า
แต่นับเป็นข่าวดีที่เมื่อวานเกิดเรื่องที่คุณคำนูณ บอกว่า "ปาฏิหาริย์" เมื่อ สปช.ลงมติโหวตไม่เห็นด้วยกับรายงานของ กมธ.ปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากในเรื่องนี้ ไปได้ด้วยคะแนนขาดลอย 130 ต่อ 79 มีส่วนช่วยยับยั้งความพยายามในการเปิดสัมทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ซึ่งยังไม่เห็นชัดเจนว่าจะคุ้มค่าต่อคนไทยและประเทศไทยหรือไม่ นอกจากความชัดเจนที่่เป็นประโยชน์กับกลุ่มทุนและบริวาร
ต้องขอขอบคุณ สปช. ชุดใหญ่ด้วยคน จากใจคนที่เฝ้ามองพวกคุณ
ปาฎิหาริย์ คือสิ่งที่น่าอัศจรรย์ โอ้...การคิดการทำงานของชนชั้นปกครองเพื่อปวงชน เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ไปแล้วหรือนี่
โอมเพี้ยง... ขอให้รายการ "พราง ลวง ลับ" จงลับดับหาย


พลังงานเมินเสียงค้านสปช.ยันเดินหน้า สัมปทาน ปิโตเลียมรอบ21

ก.พลังงานเมินเสียงค้าน สปช. ยันเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 มกราคม 2558 13:05 น.
ก.พลังงานเมินเสียงค้าน สปช. ยันเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21
        กระทรวงพลังงานรอ “สปช.” ส่งรายงานอย่างเป็นทางการพร้อมรับฟังแต่หลักการยังคงเดินหน้าเปิดให้ยื่นสิทธิ์สำรวจตามเดิมภายใน 18 ก.พ.นี้ ยืนยันไม่ได้รีบเหตุแผนงานดังกล่าวได้วางไว้ตั้งแต่ปี 2553 เหตุสำรองก๊าซฯ ในไทยเริ่มถดถอย ย้ำผลประโยชน์สัมปทานไม่ต่างจากระบบแบ่งปัน
      
       นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงานและสมาชิกสภาปฏิรูปด้านพลังงาน หรือ สปช. เปิดเผยว่า ได้หารือและรายงานถึงกรณีมติ สปช. 130 ต่อ 79 คะแนนที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช.เสียงข้างมาก ให้เดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ต่อนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ในช่วงเช้าวันนี้ (14 ม.ค.) ซึ่ง รมว.ยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงใด กระทรวงพลังงานจึงพร้อมที่จะเดินหน้าตามกรอบเดิม
      
       “คงต้องรอให้ สปช.ส่งรายงานผลสรุปอย่างเป็นทางการมาก่อนหลังจากนั้นจะดูข้อเสนอต่างๆ แต่หลักการปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะกระทรวงพลังงานมีหน้าที่บริหารและมีหน้าที่รับฟังจาก สปช. ทางกระทรวงพลังงานพร้อมเดินหน้าตามรัฐบาล โดยการศึกษาเรื่องนี้เป็นไปตามที่รัฐบาลส่งมาให้ สปช.ศึกษาหลังประกาศปิดสัมปทานรอบ 21 ไปเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 57 และเห็นว่าสัมปทานรอบ 21 ควรเปิดตามที่ประกาศไปแล้วเพราะเป็นเรื่องจำเป็น” นายคุรุจิตกล่าว
      
       นายคุรุจิตกล่าวว่า ทาง สปช.พลังงานศึกษา 3 ประเด็น คือ 1. ให้เปิดสัมปทานรอบ 21 ใช้ระบบสัมปทานประเทศระบบที่ 3 หรือไทยแลนด์ทรี 2. ยกเลิกสัมปทาน 21 แล้วให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือพีเอสซี และ 3. เปิดสัมปทานรอบ 21 ใช้ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส หรือระบบที่ 3 พิเศษ และให้ศึกษาระบบพีเอสซีว่าสมควรจะใช้ในการประกาศเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบต่อไปหรือไม่ ซึ่ง สปช.พลังงานได้เลือกข้อสรุปที่ 3 ส่งต่อให้รัฐบาล
       
       นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ขณะนี้การเปิดสัมปทานรอบ 21 ก็ยังเป็นไปตามมติ ครม. โดยจะปิดรับข้อเสนอในวันที่ 18 ก.พ. 2558 เช่นเดิม โดยมีผู้สนใจมาขอดูข้อมูลทั้งรายเก่าและรายใหม่นับสิบราย ซึ่งจะมีการยื่นขอมากน้อยแค่ไหนคงจะต้องรอดูช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนปิดรับข้อเสนอ
       
       ทั้งนี้ ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดไม่ได้เป็นการเร่งรีบเพราะได้เตรียมการเปิดมาตั้งแต่ปี 2553 ด้วยเหตุที่ไทยต้องการก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นแต่การจัดหาในประเทศเริ่มน้อยลง ดังนั้นการเปิดสัมปทานฯ ครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซฯ ภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่ปัจจุบันไทยก็ต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานกว่า 50% ของความต้องการใช้ภาพรวมหรือคิดเป็นมูลค่าปีละกว่า 1.44 ล้านล้านบาท
      
       นอกจากนี้ ระบบสัมปทานรอบ 21 ผลประโยชน์ของรัฐไม่น้อยกว่าพีเอสซี โดยแบ่งปันผลประโยชน์ของรัฐและเอกชนในสัดส่วน 72% ต่อ 28% หลังหักจากค่าใช้จ่ายไปแล้ว และการดำเนินการไม่ซ้ำซ้อน โปร่งใสกว่าเพราะทุกอย่างเป็นไปตามที่รัฐประกาศ แต่พีเอสซีต้องแก้กฎหมายตั้งองค์กรใหม่มาเจรจารายสัญญากับเอกชน หลังอนุมัติโครงการแล้วทุกสัญญาของเอกชนที่จะไปว่าจ้างต่อต้องขอความเห็นชอบจากองค์กรใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น ซึ่งทำให้การทำงานล่าช้าและอาจเป็นช่องโหว่ของการแสวงหาผลประโยชน์ได้