PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สมชายห่วงรธน.46ปิดโอกาสสนช.แปรญัตติร่างแก้ไข รธน.57

   

   
นายสมชาย แสวงการ เลขานุการคณะกรรมการประสานงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวถึงการเตรียมการของสนช.ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อาจเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 เพื่อเปิดทางให้มีการลงประชามติ ว่า เป็นสิ่งที่ตนจะสอบถามในการประชุม วิป สนช.วันนี้ว่า สนช.ควรจะต้องมีการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ให้ชัดเจนหรือไม่ เพราะหากตีความอย่างแคบตามตัวบทกฎหมาย สนช.จะมีหน้าที่เพียงแค่ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ เช่นเดียวกับกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านคณะกรรมาธิการยกร่างฯครั้งสุดท้ายเมื่อเข้า สปช.ก็ทำได้แค่มีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น    

ส่วนตัวเห็นว่าควรตีความอย่างกว้าง เพราะสนช.ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ แตกต่างจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ การเสนอกฎหมายมีขั้นตอน 3 วาระ ซึ่งสนช.เป็นทั้ง ส.ส.และส.ว.อยู่ในขณะนี้ จึงควรจะต้องทำหน้าที่ในการพิจารณา และมีสิทธิที่จะปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่ครม.และคสช.ส่งมาได้ด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานและประชาชน แม้ว่าในรัฐธรรมนูญมาตรา 46 จะบัญญัติว่าในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สนช.จะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ เว้นแต่ครม.และคสช.จะเห็นชอบด้วย 


นายสมชาย กล่าวว่า ต้องถามนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ที่มีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญปี 2557 ด้วยว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 46 ต้องการให้ สนช.ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น หรือเปิดโอกาสให้เสนอเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แม้ว่าทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของครม.และคสช.ก็ตาม แต่จะทำให้สนช.ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้สมบูรณ์มากขึ้น  สนช.จึงน่าจะได้ทำหน้าที่เสนอความเห็นในประเด็นที่คิดว่าต้องแก้ไข เช่น เรื่องระยะเวลาการทำประชามติ โดยส่วนตัวเห็นว่าควรจะเป็น 180 วัน เพื่อให้มีเวลาในการจัดพิมพ์ร่าง ส่งไปรษณีย์ และให้เวลาประชาชนได้อ่านเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งสามารถเสนอในการพิจารณาวาระ 1 ได้ แต่ขึ้นอยู่กับตัวแทนของรัฐบาลและคสช.ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าไม่เห็นด้วยก็จบไปสู่ขั้นตอนว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น แต่ถ้าตัวแทนรัฐบาลและคสช.เห็นว่ามีเหตุผลก็สามารถนำกลับไปให้ครม.และคสช.พิจารณาปรับปรุงแล้วส่งกลับมาใหม่ ซึ่งเท่ากับว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะไม่ผ่าน 3 วาระรวดในวันเดียว แต่เมื่อครม.และคสช.ส่งกลับมาการลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2557 ก็จะจบภายในวันเดียว โดยได้ผ่านขั้นตอนการแปรญัตติจาก สนช.แล้ว    
การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญต้องมีทางออกด้วยว่า เมื่อทำประชามติแล้วหากไม่ผ่านจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งมี 3 ทางเลือก คือ 1.เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2557 คือ เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ 2.ใช้ร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ มาปรับปรุงแก้ไข 3.ใช้รัฐธรรมนูญ 50 มาเป็นหลักในการพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่มีปัญหา ซึ่งหากเป็นทางเลือกแรกการเลือกตั้งก็จะช้าออกไปมากกว่าการนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมามาปรับปรุง ซึ่งน่าจะดำเนินการรวดเร็วกว่าการเริ่มต้นตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างฯชุดใหม่ แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของครม.และคสช. 
   

ส่วนตนไม่เห็นด้วยที่จะให้ทำประชามติโดยเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 50 ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านก็ให้ใช้ปี 50 เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง เพราะแม้รัฐธรรมนูญ 50 จะมีข้อดีอยู่มากแต่ก็มีบางอย่างที่เป็นปัญหา หากไม่แก้ไขก่อนแล้วไปเลือกตั้งเลยโดยใช้รัฐธรรมนูญ 50ก็จะต้องเกิดความขัดแย้งในอนาคตขึ้นอีก
วันที่โพสข่าว : 19 พค. 2558 เวลา 14:26 น.
///////////////////

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 46 บัญญัติไว้ว่า
ในกรณีที่เห็นเป็นการจำเป็นและสมควร คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีมติร่วมกันให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ก็ได้ โดยจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบ
ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเห็นชอบด้วย มติให้ความเห็นชอบต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และให้นำความในมาตรา ๓๗ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

'แม้ว' วิจารณ์รัฐบาล 'บิ๊กตู่' ยังไม่ดีพอ/ปัดหนุนเสื้อแดง

'แม้ว' วิจารณ์รัฐบาล 'บิ๊กตู่' ยังไม่ดีพอ/ปัดหนุนเสื้อแดง | เดลินิวส์
„'แม้ว' วิจารณ์รัฐบาล 'บิ๊กตู่' ยังไม่ดีพอ/ปัดหนุนเสื้อแดง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงการทำงานของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่ายังไม่ดีเท่าไรนัก แต่เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ปัดหนุนเสื้อแดง ยันไม่มีแผนการให้บุตรชายรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนต่อไป วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:38 น. สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวนอกรอบงานประชุมผู้นำแห่งทวีปเอเชียครั้งที่ 6 "The 6th Asian Leadership Conference" ( ALC ) ที่โรงแรม เดอะ ชิลลา ในกรุงโซล ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในองค์ปาฐก วิจารณ์การทำงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน ว่ายังไม่น่า "ประทับใจ" เท่าใดนัก หลังผ่านพ้นมา 1 ปี และขอให้รัฐบาลพยายามทำงานให้หนักขึ้นกว่านี้ อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณเชื่อว่ารัฐบาลจะประสบความสำเร็จในการทำงาน ขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณปฏิเสธการให้ความสนับสนุนแก่กลุ่มคนเสื้อแดง และยืนยันไม่มีแผนการให้บุตรชายคนโต คือ นายพานทองแท้ ชินวัตร รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนต่อไป.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/322204

สื่อจีนตีข่าว ไทย-จีนลงนามข้อตกลงขุดคอคอดกระแล้ว(รอเฟิร์ม)

(ยังเป็นเพียงการเสนอข่าวจากสื่อจีนเพียงด้านเดียวครับ อาจเป็นเพียงแค่ข่าวลือ)
สื่อจีนตีข่าว ไทย-จีนลงนามข้อตกลงขุดคอคอดกระแล้ว
จีน - ไทย ลงนามในบันทึกความเข้าใจ ที่จะขุดคอคอดกระผ่านภาคใต้ของไทย ย่นระยะเวลาการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เว็บไซต์วอนท์ไชน่าไทมส์ รายงานว่า ประเทศจีนและไทย ได้ลงนามกันในบันทึกความเข้าใจที่เมืองกวางโจว เกี่ยวกับการขุดคอคอดกระทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดในคาบสมุทรมาเลย์ และทำให้โปรเจคท์นี้ที่ถูกเก็บเอาไว้นานนี้ จะเริ่มการก่อสร้างเร็ว ๆ นี้ จากการรายงานของเว็บไซต์ Oriental Daily สื่อในฮ่องกง

จากการวิจัยและพูดคุยด้านการลงทุนร่วมในเมืองกวางโจวนั้น คาดว่าอาจต้องใช้เวลาในการก่อสร้างคอคอดกระประมาณ 10 ปีและมีงบประมาณกว่า 28,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 9.3 แสนล้านบาท) หากโปรเจคท์นี้สำเร็จ นั่นก็หมายความว่า เรือขนส่งน้ำมันและเรือขนสินค้าจะสามารถเดินทางจากตะวันออกกลางสู่จีนได้ทันที โดยที่ไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา

ข้อตกลงดังกล่าว เกิดจากความพยายามของจีน ที่จะบุกเบิกเส้นทางสายไหมแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งถือเป็นโปรเจคท์ที่จีนทำไปพร้อม ๆ กับการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีน - ปากีสถาน และโปรเจคท์การสร้างทรงรถไฟความเร็วสูง จีน - รัสเซีย และเมื่อคอคอดกระขนาดความกว้าง 100 เมตรเปิดขึ้น ก็จะทำให้เรือขนส่งสามารถเดินทางจากมหาสมุทรแปซิฟิกผ่านอ่าวไทย ตรงเข้าสู่ทะเลอันดามันเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียได้ทันที ย่นระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตรจากเดิมที่ต้องล่องเรือผ่านสิงคโปร์

ด้านนายเหลียง หยุนเซียง ศาสตราจารย์จากสถาบันการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวกับเว็บไซต์ว่า บันทึกความเข้าใจแสดงให้เห็นว่า จีนกำลังเป็นผู้สนับสนุนหลักในการเปิดคอคอดกระ ซึ่งเรื่องนี้จะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ โปรเจคท์นี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้าเสรีระหว่างจีนและอาเซียน รวมถึงยังได้ย่นระยะทางที่เรือจะต้องใช้เดินทาง ทำให้เรือใช้เวลาเดินทางน้อยลง 2-5 วัน รวมทั้งยังลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มศักยภาพการพัฒนาท่าเรือทั้งในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงในเรื่องการเมืองเกี่ยวกับโปรเจคท์นี้ เนื่องจากเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุณหภูมิทางการเมืองระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความสัมพันธ์ของไทย - สหรัฐอเมริกาด้วย

อย่างไรก็ตาม ช่องแคบมะละกา ถือเป็นเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการขนส่งน้ำมันของจีน ซึ่งกว่า 80% ของน้ำมันในจีนนั้น มาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้ หากปล่อยให้มีเพียงเส้นทางการขนน้ำมันผ่านช่องแคบมะละกาเพียงอย่างเดียว จีนเองก็เกรงว่า สหรัฐอเมริกาจะเข้ามาปิดเส้นทางนี้สักวันก็เป็นได้


ิวิษณุ:รธน.ไม่ใช่อุบาย?

ไม่ใช่ "อุบาย"....
"ดร.วิษณุ เครืองาม"แจงแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว2557เปิดทางทำประชามติร่างรธน.ใหม่ อย่าสับสนเผย แม่น้ำ3สาย กมธ.-สปช-สนช.ก็เสนอทำประชามติ ยันไม่ใช่อุบายคสช.ให้ทำประชามติหวังอยู่นาน แต่เป็นความต้องการหลายฝ่าย คาดประชามติ มค.59 ถ้าผ่าน ก็เลือกตั้งปลายสค-กย.59 เผื่อใจ หากไม่ผ่าน ตั้งกมธ.ยกร่างใหม่ ยัน นายกฯ ใช้มาตรา 44 สั่งทำประชามติ ไม่ได้ เพราะ ม.44 อยู่ใน รธน.ชั่วคราว รื้อเวลาที่ล้อค รธน.ฉบับเดียวกันให้ได้ กระทบ กำหนดเดิม 6 สค .4กย. ปฏิบัติ/ไม่ได้ ยัน กระทบโรดแมพ คสช. อ้ำอึ้ง ตอบกรอบเวลา ขั่นตอนต่างๆ หาก ประชามติ ผ่าน แต่หากไม่ผ่าน ร่างนี้ก็ตกไป ต้องตั้ง กรรมาธิการยกร่างรธน.ขึ้นมาใหม่ แต่หากผ่าน ประชามติ ประชาขนยอมรับ ก็ต้องมีหลายขั้นตอน ออกกม.ลูก และเลือกตั้ง หลังจากนั้น ใน90 วัน คาด สค.-กย.2559 นายกฯตั่งเป็นหัวหน้าทีม ศึกษาและเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 ประชุม25 พค.นี้ เผย นายกฯสั่งเชิญศาสตราจารย์ด้านกม.การเมือง จากฝรั่งเศส 2 คน Paris10และSorbonne และเยอรมัน 1คน จาก Hamburg บรรยาย22พค.และ26พค.ที่ กต.


ไฟไหม้ในกรมอู่ทหารเรือ อพยพวุ่นสตรีวัดระฆัง รถเสียหาย 10 คัน

เกิดเหตุเพลิงไหม้ในกรมอู่ทหารเรือ ไฟลุกควันโขมงในโกดัง ที่มีทั้งน้ำมันและทินเนอร์ แต่ยังดีที่สามารถดับได้เร็วเพียง 20 นาที มีรถยนต์ที่จอดเสียหาย 10 คัน ขณะที่ ร.ร.สตรีวัดระฆัง ที่อยู่ใกล้เคียง สั่งอพยพเด็กไปอยู่ที่ปลอดภัย ...

เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 19 พ.ค. 58 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในพื้นที่ กองควบคุมคุณภาพ กรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย ใกล้กับหอประชุมกองทัพเรือ
จากการตรวจสอบเบื้องต้น เจ้าหน้าที่คาดว่า เกิดถังแก๊สระเบิดภายในโกดังที่มีเชื้อเพลิงคือ น้ำมันและทินเนอร์อยู่จำนวนมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือและดับเพลิงบางขุนนนท์ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้

ส่วนความเสียหาย มีที่ตัวอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ และรถยนต์ที่จอดอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จำนวน 10 คัน แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ สาเหตุที่ชัดเจนอยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์หลักฐานและตรวจสอบความเสียหายเพิ่มเติม

ขณะเดียวกัน ได้มีการอพยพนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดระฆังที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง ออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย ภายหลังเพลิงสงบ นักเรียนทั้งหมดได้กลับเข้าห้องเรียนตามปกติแล้ว

ล่าสุดพล.ร.ต.กาญจน์ ดีอุบล เลขานุการกองทัพเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ขณะนี้ สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว ในเบื้องต้น ตัวอาคารและอุปกรณ์ภายในอาคารเสียหาย กำลังพลปลอดภัย เมื่อดับไฟได้เรียบร้อยแล้ว จะสำรวจความเสียหายและสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้อีกครั้ง.


ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
19 พฤษภาคม 2558 15:01 น.
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
        เอเอฟพี – รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศวันนี้ (19 พ.ค.) ว่าพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่คลื่นผู้อพยพชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศหลายพันคนซึ่งถูกทางการมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ผลักดันเรือออกนอกน่านน้ำ ท่ามกลางเสียงตำหนิติเตียนอย่างรุนแรงจากองค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
      
       ฟิลิปปินส์มีพันธะทางกฎหมายที่จะต้องช่วยเหลือผู้อพยพเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่หนีการกวาดล้างออกมาจากเมียนมาร์ ทั้งนี้เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี 1951
      
       “เรามีพันธกรณีและหน้าที่ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ต้องการลี้ภัย" ชาร์ลส โฆเซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ให้สัมภาษณ์ต่อสถานีโทรทัศน์เอเอ็นซี
      
       โฆเซ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของฟิลิปปินส์คนอื่นๆ ยังไม่เผยรายละเอียดของความช่วยเหลือที่รัฐบาลจะมอบแก่คลื่นผู้อพยพชาวมุสลิมโรฮีนจาและบังกลาเทศ ซึ่งกำลังกลายเป็นหายนะด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่
      
       “เราคงชี้แจงรายละเอียดอะไรไม่ได้ เพราะยังไปไม่ถึงขั้นนั้น แต่ที่บอกได้คือนโยบายกว้างๆ ที่เรามีต่อปัญหานี้” เขาบอก
      
       ผู้อพยพเกือบ 3,000 คนว่ายน้ำหนีขึ้นฝั่งหรือได้รับความช่วยเหลือขณะลอยเรืออยู่นอกชายฝั่งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าจะยังมีอีกหลายพันชีวิตที่ติดอยู่กลางทะเลใหญ่โดยปราศจากทั้งอาหารและน้ำดื่ม
      
       รัฐบาลไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่ผลักดันเรือผู้อพยพบางลำออกไปจากน่านน้ำของตน หลังจากพวกเขาถูกนายหน้าค้ามนุษย์ทอดทิ้งไว้กลางทะเลเนื่องจากทางการไทยหันมากวาดล้างอย่างจริงจัง
      
       โฆเซ อ้างถึงเมื่อครั้งที่ฟิลิปปินส์อ้าแขนรับผู้ลี้ภัยจำนวนมากในช่วงทศวรรษ 1970 ขณะที่สงครามเวียดนามกำลังจะสิ้นสุดลง โดยรับทั้งผู้ที่ล่องเรือไปขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์โดยตรง และผู้ที่ขึ้นฝั่งในประเทศเพื่อนบ้าน
      
       เว็บไซต์รัฐบาลกรุงมะนิลา ระบุว่า เวลานั้นมีชาวเวียดนามเข้าไปอาศัยอยู่ตามค่ายผู้ลี้ภัยในฟิลิปปินส์ถึง 400,000 คน ก่อนจะกระจัดกระจายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศอื่นๆ
      
       ด้านโฆษกของประธานาธิบดี เบนิโญ อากีโน ระบุว่า ฟิลิปปินส์พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศ โดยถือความเมตตากรุณาและความสงสารต่อเพื่อนมนุษย์ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญในศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก
      
       “ในฐานะที่เราเป็นประเทศซึ่งมีพลเมืองนับถือคริสต์คาทอลิกมากที่สุดแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันจึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องช่วยเหลือผู้เดือดร้อน” เฮอร์มินิโอ โคโลมา โฆษกประธานาธิบดี ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี
      
       ชาวโรฮีนจาเป็นมุสลิมกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ท่ามกลางสังคมพุทธในเมียนมาร์ และเนื่องจากพวกเขาไม่มีสิทธิใดๆ ตามกฎหมาย จึงมักตกเป็นเหยื่อของแก๊งค้ามนุษย์
      
       ปัจจุบันคาดว่ามีมุสลิมโรฮีนจาอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ของเมียนมาร์ประมาณ 1.3 ล้านคน
      
       มาเลเซียและไทยเรียกร้องให้เมียนมาร์ซึ่งเป็นประเทศต้นทางหาวิธียับยั้งคลื่นผู้อพยพ แต่รัฐบาลเมียนมาร์ก็ปัดความรับผิดชอบ โดยอ้างว่าคนกลุ่มนี้เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองจากบังกลาเทศ
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
       
ฟิลิปปินส์ประกาศช่วยผู้อพยพ “โรฮีนจา-บังกลาเทศ” ตามหลักเมตตาในศาสนาคริสต์
        

เปิดบันทึกเจรจา ‘นปช.-ส.ว.’ ก่อนสลาย 19 พ.ค.53 ทำไมถึงประณาม "มาร์ค" ว่าหักหลัง

Tue, 2015-05-19 15:55

เปิดเอกสารบันทึกการเจรจาระหว่างกลุ่ม ส.ว.กับแกนนำ นปช. คืนวันที่ 18 ก่อนสลายชุมนุม เช้าวันที่ 19 พ.ค.53 พร้อมวิวาทะ ส.ว.กับอภิสิทธิ์ ทำไม ส.ส.ถึงประณาม "มาร์ค" ว่าหักหลัง
 เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา เว็บบล็อก Thailand Accountability Project ได้เผยแพร่บันทึกการเจรจาระหว่างสมาชิกวุฒิสภากับแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเกิดขึ้นช่วงเวลา 18.30-20.15น. เอกสารฉบับนี้เผยให้เห็นว่าแกนนำนปช. เห็นด้วยกับการเจรจาแบบไม่มีเงื่อนไขกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และนอกจากนี้สมาชิกวุฒิสภายังได้รับคำสัญญาจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่า หากแกนนำนปช.เข้าร่วมการพูดคุยอย่างไม่มีเงื่อนไข นายอภิสิทธิ์จะยับยั้งการใช้ทหารเข้าปราบปรามในอนาคต
1 วันก่อนสลายชุมนุม ส.ว. ยินดี นปช.ยอมละทิฐิลงมาแล้ว
ซึ่งก่อนที่จะมีการเจรจาดังกล่าว มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า นฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ตัวแทนกลุ่ม 64 ส.ว.เปิดเผยว่า หลังจากทราบข่าวล่าสุดว่า ตอบรับข้อเสนอของวุฒิสภาที่จะให้นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นคนกลางเจรจา จึงได้ประสานไปยังนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุมิสภาคนที่ 1 ให้ประสานกับนายประสพสุข เร่งดำเนินการประสานไปยังรัฐบาลเพื่อตอบสนองนำทั้งสองฝ่ายมาตั้งโต๊ะเจรจา ตนขอวิงวอนให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้มีการเจรจาโดยด่วน ต้องยุติการปฏิบัติการที่นำมาซึ่งความรุนแรง และความสูญเสียชีวิตประชาชนไปมากกว่านี้
"ขณะนี้ถือว่าน่ายินดีที่ฝ่ายหนึ่งยอมละทิฐิลงมาแล้ว รัฐบาลก็ต้องละทิฐิลงมาด้วยต้องมานั่งโต๊ะเจรจา เพื่อประโยชน์ของประเทศและคนไทย เราไม่ต้องรอให้องค์กรระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติมาไกล่เกลี่ย ดิฉันเชื่อว่า ส.ว.ส่วนใหญ่ยังเป็นกลาง เราอาสามาทำหน้าที่ตรงนี้อย่างตรงไปตรงมา ไม่มีนัยแอบแฝงอะไร" นฤมล กล่าว
พล.ท.ดาว์พงษ์ แถลงปฏิบัติการลักษณะเหมือนในสนามรบ
อย่างไรก็ตามในเช้าวันรุ่งขึ้น(19 พ.ค.53) ก็เกิดการสลายการชุมนุมในลักษณะเหมือนในสนามรบ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย ตามคำแถลงของ  พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบ (ยศขณะนั้น) ได้แถลงถึงการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเคลื่อนกำลังเข้าหากลุ่มผู้ชุมนุมในวันต่อมาว่า “เรามียานเกราะ มีการเคลื่อนที่เข้าไปในลักษณะเหมือนในสนามรบ ซึ่งต้องยอมรับว่าการจัดกำลังเข้าดำเนินการในครั้งนี้เราไม่ได้ทำเหมือนกับการควบคุมฝูงชน ถ้าหากย้อนไปก่อนหน้านี้จะเห็นภาพของทหารถือโล่ กระบอง เดินเข้าไปเป็นรูปขบวนปึกหนาๆ เข้าไปประจันหน้ากับผู้ชุมนุม อันนี้เป็นการควบคุมฝูงชนปกติ”  
"สว.ประณาม "มาร์ค" หักหลัง
หลังจากที่มีการสลายการชุมนุม วันที่ 20 พ.ค.53 ข่าวสด รายงานในหัวข้อข่าว "สว.ประณาม "มาร์ค"หักหลัง" ด้วยว่า นฤมล ตัวแทนที่ไปเจรจากับแกนนำนปช. กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลเข้าปฏิบัติการทั้งที่นายกฯพูดกับประธานวุฒิสภาให้วุฒิสภาเดินหน้าเจรจา แต่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต. ประจำสำนักนายกฯ และ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ กลับพูดต่อสาธารณะอีกอย่างหนึ่ง ทำแบบนี้เหมือนหักหลังวุฒิสภา
ขณะที่ในวันเดียวกันนายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร ตัวแทนที่ไปเจรจากับแกนนำนปช. กล่าวว่า เย็นวันที่ 18 พ.ค. ทั้งนปช.และรัฐบาลส่งสัญญาณบวก แต่เมื่อมีการสลายการชุมนุมชี้ชัดว่ารัฐบาลขาดความจริงใจตั้งแต่แรก เมื่อเช้านายกอร์ปศักดิ์ประสานมาว่า นายกฯระบุเจรจาจบนานแล้ว แสดงว่าฝ่ายบริหารไม่เห็นว่าสภาสูงมีความหมาย ทั้งนี้สังคมเตือนแล้วแต่รัฐบาลใช้ความรุนแรงจากหนักไปหนักกว่าทุกครั้ง
ต่อมาภายหลังจากแกนนำนปช.ประกาศยุติการชุมนุมและเข้ามอบตัว กลุ่มส.ว.ไม่นิยมความรุนแรงออกแถลงการณ์ว่า ขอบคุณและชื่นชมในความเสียสละของแกนนำที่เสียสละอิสรภาพเพื่อแลกกับเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ และภาพลักษณ์ประเทศชาติโดยรวม วุฒิสภาขอให้คำมั่นว่าจะติดตามการใช้กระบวนการยุติธรรมแก่แกนนำทุกคน และผู้อยู่ในข่ายที่ต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ได้รับความยุติธรรมตามกฎหมาย วุฒิสภาขอประณามรัฐบาลที่ไม่ตอบรับข้อเสนอด้วยความจริงใจในการเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีสันติ ทั้งที่ประสานกันไว้แล้ว จนเกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน วุฒิสภาเห็นว่านับจากนี้ต่อไปรัฐบาลมิอาจปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นครั้งนี้ได้
วิวาทะต่อ ‘อภิสิทธิ์’ กับ ‘ส.ว.’ ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมืองวุฒิสภา
รายการเรื่องเล่าเช้านี้วันที่ 29 สิงหา 54 รายงานด้วยว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวชี้แจง ณ ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมืองวุฒิสภา ซึ่งรายการเรื่องเล่าเช้านี้ได้เสนอข้อถกเถียงระหว่างอภิสิทธิ์ กับ นฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ สั้นๆ เกี่ยวกับการเจรจาและเข้าสลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค. 53
"วันรุ่งขึ้นที่พวกเรามาพบกันมันถึงเกิดความรู้สึกว่า ไม่ได้ให้เกียรติหรือคำว่า ส.ว. ถูกหักหลัง มันถึงเกิดขึ้น" นฤมล
ด้านอภิสิทธิ์ โต้กลับทันทีว่า "ไม่มีครับ ผมพูดชัดเจน คุยกันช่วงบ่ายภายในกี่โมงๆ การปะทะต้องหยุด ถ้าไม่หยุดนี่ผมไม่สามารถไปคอยบอกกับผู้บฏิบัติว่าคุณต้องไม่ทำอะไรทั้งสิ้นได้ เพราะฉะนั้นคุยกับท่านประธานเรียบร้อย พอเลยเวลาปั๊บก็บอกว่าจบ จบคือจบเท่านั้นเองครับ"
"ก็ได้หวังว่าจะมีการยืดหยุ่นเพื่อให้โอกาสในการสูญเสียมันน้อย" นฤมล กล่าว
"ผมเห็นใจครับผมเห็นใจ ย้ำอีกครั้งถ้าในวันที่ 19(พ.ค.53)ถ้าไม่มีการเข้าไปในสวนลุม คิดว่าความสูญเสียจะน้อยหรือมากกว่านี้ ผมยืนยันได้เลยว่ามากกว่านี้เยอะเลยครับ เพราะเงื่อนไขของการสูญเสียตอนนั้นอยู่ที่การไม่จบของการที่มีคนมาปะทะกับเจ้าหน้าที่ซึ่งตั้ง อยู่ 4 ด้านอะครับ แต่ว่าผมก็เห็นใจเพราะท่านก็เข้าไปเจรจา ท่านก็อาจจะไม่ทราบว่าเงื่อนเวลาอะไรต่างๆเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องขอเรียนว่าบังเอินพวกผมนี่ เจรจาแบบนี้มาเยอแล้วอะครับ ที่บอกว่าเวลาอย่างนี้แล้วมันก็ไม่จบไม่จบ" อภิสิทธิ์ กล่าว

"ทักษิณ"เผยสื่อนอก วอนคสช.เข้าใจโลก-นานาชาติ เชื่อปชต.มีชัยในอนาคต ไม่ต้องมีรุนแรง

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 11:30:45 น.



สำนักข่าว"รอยเตอร์ส"เผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวระหว่างการสัมมนา"Asian leader Conference"ที่เกาหลีใต้ ในวันนี้ ว่า เขาไม่มีแผนที่จะปลุกระดมคนเสื้อแดงขึ้นมาประท้วงรัฐบาลปัจจุบัน แต่ระบุว่า ปีแรกของการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่นำโดยคณะคสช.ว่า"ไม่เป็นที่น่าประทับใจ"

รายงานระบุว่า การเปิดเผยนี้เป็นการแสดงทัศนะเกี่ยวกับการเมืองไทยที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งปัจจุบันลี้ภัยออกนอกประเทศหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาคอรัปชั่น เมื่อปี 2008 และเกิดเหตุรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของเขา เมื่อปีก่อน และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังถูกห้ามเล่นการเมืองเป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งต้องเผชิญข้อหาทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว

โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าว ขอเรียกร้องไม่ให้คนไทยใช้ความรุนแรง โดยเมื่อถูกถามว่า เขาจะมีแผนปลุกระดมมวลชนคนเสื้อแดงหรือไม่ อดีตนายกฯไทยผู้นี้กล่าวว่า"ไม่" พร้อมทั้งกล่าวว่า เขาต้องการเห็นรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประสบความสำเร็จ แต่คงเป็นเรื่องยากอย่างที่เราสามารถคิดกันได้



โดยถึงขณะนี้ ในช่วงปีแรกของการบริหารประเทศ รัฐบาลคสช.ยังไม่มีผลงานเป็นที่น่าประทับใจ ซึ่งรัฐบาลนี้คงต้องทำงานให้หนักขึ้น และต้องเข้าใจโลกและนานาชาติ และความรู้สึกของประชาชนที่เคยอยู่กับประชาธิปไตยมานานหลายปี

พร้อมทั้งกล่าวว่า เขาคิดว่า ที่สุดแล้ว ประชาธิปไตยจะมีชัยในไม่ช้าก็เร็ว แต่เราต้องอดทน และต้องอยู่ในความสงบและสันติ อย่าใช้ความรุนแรงใดๆ

นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า เขาไม่มีแผนให้นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชาย เล่นการเมือง หรือผลักดันให้เป็นผู้นำของพรรคเพื่อไทยด้วย

ทั้งนี้ รอยเตอร์สเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เขาไม่วิตกเรื่องการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ไปร่วมงานสัมมนาผู้นำอาเซียนที่ประเทศเกาหลีใต้ และไม่สนใจว่าพ.ต.ท.ทักษิณ จะแสดงทัศนะหรือพูดในสิ่งใดก็ตาม 

"สุริยะใส"อ่านเกม ทางลอง-ทางเลือก-ทางรอดของ"ยิ่งลักษณ์"

"สุริยะใส"อ่านเกม ทางลอง-ทางเลือก-ทางรอดของ"ยิ่งลักษณ์"
ดูหนุ่มใส จะอ่านสาวปู ได้ออกไหม อุตสาห์ ดูทีละก้าว
สุริยะอาจจะอ่านพลาด ที่บอกว่า การตัดสินใจอยู่ที่ สาวยิ่งลักษณ์เท่านั้น
เพราะที่ผ่านมา " คณยิ่งลักษณ์ เป็นคุณหนูอยู่ในรูปปูมาตลอด "
การตัดสินใจทั้งหมดอยู่นอกคุก คือ พี่เหลี่ยมจัด ที่สร้างข่าวอยู่ที่เกาหลีตอนนี้

วันที่ 19 พฤษภาคม นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน
โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึง
กรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกอัยการสูงสุดยื่นฟ้อง
ในความผิดฐานปฎิบัติหน้าที่มิชอบ สร้างความเสียหายแก่รัฐ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ
ความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
พ.ส.2542
กรณีละเลยไม่ยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว สร้างความเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
โดยนายสุริยะใสนั้นระบุว่า

วันนี้มาตามนัด เมื่อคุณยิ่งลักษณ์ไปรับทราบข้อกล่าวหาคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
พร้อมทั้งยื่นบัญชีเงินฝาก 30 ล้านบาท ประกันตัวไปได้เรียบร้อย
ทางเดินของคดีจากนี้ไปต้องบอกว่าระทึกทุกจังหวะก้าว
ไฮไลท์ของคดีนี้อาจไม่ได้อยู่ที่แค่ว่าคำพิพากษาของศาลฯ จะออกมาอย่างไร
ซึ่งคาดว่าปลายๆ ปีนี้น่าจะตัดสินได้เพราะเทียบเคียงคดีคุณทักษิณ
กรณีทุจริตที่ดินรัซดาใช้เวลาพิจารณาไต่สวนประมาณ 8 เดือนเท่านั้น
แต่ดูหมือนโฟกัสของคอการเมืองที่ลุ้นระทึกก่อนวันพิพากษาจะมาถึงก็คือ
คุณยิ่งลักษณ์จะเดินตามรอยพี่ชายหรือไม่ นั่นคือการหนีคดี
เรื่องนี้ไม่ง่ายเพราะถ้าจะหนีโดยใช้วิธีขออนุญาตศาลเพื่อออกนอกประเทศ
จะให้เหตุผลอะไรที่จะทำให้ศาลเชื่อว่าจะกลับมาสู้คดี
เพราะตอนคุณทักษิณอ้างว่าไปดูโอลิมปิกที่จีน ก็ไม่กลับมาหายไปจวบจนวันนี้
หรือว่าอาจเลือกวิธีหลบหนีไปดื้อๆ โดยไม่ต้องขอศาลฯ
คำถามกืคือถึงวันนั้น คสช.จะถูกสังคมตั้งคำถามหรือไม่ว่าเปิดช่องให้หนี
ประเด็นนี้ไม่มีใครฟันธงได้ คุณยิ่งลักษณ์เท่านั้นเป็นคนตัดสินใจ
แต่ถ้าไม่หนีเลือกสู้คดีจนถึงที่สุดก็ไม่มีใครฟันธงได้เช่นกันว่าจะแพ้หรือจะชนะคดี
ที่สำคัญถ้าแพ้ก็อาจมีพ่วงคดีแพ่งที่กระทรวงการคลังฟ้อง
เรียกค่าเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท หรือคดีการยึดอายัดทรัพย์ที่อาจตามมาเป็นระลอก
พูดง่ายๆ ถ้าชนะคดีนี้ยังพอตั้งหลักหายคอหายใจกันได้บ้าง แต่ถ้าแพ้ขึ้นมางานนี้อ่วมอรทัย


วิษณุ ชี้ ถ้าทำประชามติ คาดคนไทยจะได้เลือกตั้งเดือน "ส.ค.ปีหน้า"

มติชน 19/5/58

"วิษณุ" คาดเลือกตั้งได้ภายในเดือน ส.ค. 59 หากทำประชามติ ด้านที่ประชุม ร่วมครม.-คสช.เสนอแก้รัฐธรรมนูญขยายเวลากรรมาธิการยกร่างฯแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปอีก 30 วัน
http://www.matichon.co.th/online/2015/05/14320268581432026918l.jpg
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวภายหลังการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.)และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าที่ประชุมมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 เพื่อเปิดทางให้มีการทำประชามติในอนาคตโดยเร็วซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่ง ครม.และคสช.จะเป็นผู้เสนอแก้ไขโดยให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)แก้ไขเพิ่มเติมภายใน15 วัน ทั้งนี้การทำประชามติขึ้นอยู่กับการพิจารณารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ในวันที่ 6 ส.ค. ด้วย

ขณะเดียวกันที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ดำเนินการในการจัดการทำประชามติ โดยจะต้องพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญและแจกให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 47 ล้านคน ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 เดือน นอกจากนี้จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน อีก 1 เดือน ทำให้การทำประชามติอาจใช้เวลาออกไป 3-4 เดือน โดยจะดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งไม่อาจกำหนดวันที่แน่ชัดได้แต่จะไม่เกิน เดือนมกราคม ปี 2559 ซึ่งการทำประชามติมีข้อเสียในเรื่องของงบประมาณในการทำที่สูงถึง 3,000 ล้านบาท และทำให้ต้องยืดเวลาออกไปและอาจเกิดการรณรงค์บางอย่างที่ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งได้ จึงต้องฟังเสียงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

ทั้งนี้หากการทำประชามติผ่านความเห็นชอบในเดือน ม.ค. 2559 ก็จะต้องมีการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาด้วยโดยคาดว่าจะใช้เวลารวม 4 เดือน ก่อนมีการประกาศใช้ และต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งภายใน 90 วัน หรือภายในเดือน ส.ค. ถึง ก.ย.

นายวิษณุ ระบุด้วยว่า ที่ประชุมร่วม ครม.-คสช.ได้เสนอให้เพิ่มเวลาในการแก้ไขจากเดิมเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีกรอบเวลาเพียง60 วัน เป็น 90 วัน เนื่องจากมีฝ่ายต่างๆเสนอให้แก้ไขจำนวนมาก ที่ประชุมจึงเห็นว่ามีความสำคัญจึงจัดประชุม ครม.นัดพิเศษเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆอีกครั้งในวันที่ 25 พ.ค. พร้อมกันนี้จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลการร่างรัฐธรรมนูญด้วย

นายวิษณุยังกล่าวด้วยว่า ภายในวันที่ 22 ,26 และ 27 พ.ค. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายและการเมืองจากฝรั่งเศสและเยอรมัน จะมาบรรยายในหัวข้อ การผ่านพ้นวิกฤติประชาธิปไตย ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งในการบรรยายจะมีตัวแทน ครม. สนช. สปช. เข้าร่วมในการรับฟังด้วย

สรรพากรวูบ! เก็บภาษีต่ำกว่าเป้า′แสนล้าน′ เล็งไล่บี้รายย่อยลักไก่

19/5/58 มติชน
http://www.matichon.co.th/online/2015/05/14320097441432009779l.jpg
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร  เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมในปีงบประมาณ 2558 จะต่ำกว่าเป้า 1.6 แสนล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากการนำเข้าลดลงมาก  ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง กระทบต่อผลประกอบการของธุรกิจน้ำมัน ทำให้ภาษีแวตจากปั๊มน้ำมันจะหายไปกว่า 6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาษีแวตจากการนำเข้าจะหายไปกว่า 4 หมื่นล้านบาท

นายประสงค์ ยังระบุว่า การจัดเก็บภาษีในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2558 (พ.ค.-ก.ย.) นอกจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในฐานรายได้หลักของกรมแล้ว ยังได้ย้ำให้สรรพากรพื้นที่ตรวจสอบการใช้ใบกำกับภาษีที่ถูกต้องของกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารดังๆ ประจำจังหวัดและร้านค้าต่างๆ ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งรวมร้านค้าแบรนด์เนมหรูจากต่างประเทศ เพราะกรมฯ ได้สุ่มตรวจหรือทดลองใช้บริการจากร้านค้าต่างๆ พบว่าผู้ประกอบธุรกิจหลายราย ไม่ใช้ใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังให้ตรวจสอบกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้างที่ส่วนใหญ่พบว่า ไม่มีใบกำกับภาษีที่ถูกต้องด้วย


ด้านนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้สุทธิ 1.14 ล้านล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1.55 หมื่นล้านบาท หรือ 1.4% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 6.2% เนื่องจากรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 2.5 หมื่นล้านบาท กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้สูงกว่าคาด 1.47 หมื่นล้านบาท และหน่วยงานอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าคาด 1.4 หมื่นล้านบาท

ขณะที่กรมสรรพากรจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้า 4.77 หมื่นล้านบาท โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 7.5% สะท้อนว่ากำลังซื้อและการลงทุนในประเทศยังขยายตัวอยู่ ส่วนกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้า 2,988 ล้านบาท

กฎเหล็ก สงคราม ประชามติ ประชาธิปไตย วิภาษวิธี สงคราม

มติชน 18/5/58

หากมองจากมุมของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญระดับ นายไพบูลย์ นิติตะวันหากมองจาก สปช.ระดับ นายวันชัย สอนศิริ ผ่าน "ประชามติ"

เหมือนกับ "นักการเมือง" กำลังกลายเป็น "เหยื่อ"
http://www.matichon.co.th/online/2015/05/14319296161431929662l.jpg
ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคชาติไทยพัฒนา ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคภูมิใจไทย ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคชาติพัฒนา

ล้วน "เสร็จ" ให้กับทีเด็ดของ "คสช."

เพราะพลันที่มีการทำ "ประชามติ" ร่างรัฐธรรมนูญความหมาย 1 หมายความว่าการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ว่าจะเป็นตอนต้นปี 2559 ก็ต้อง "เลื่อน" ออกไป

ความหมาย 1 หมายความว่า "เวลา" ของรัฐบาลก็จะต้อง "ยาว" โดยไม่สามารถกำหนดระยะเวลาอย่างแน่ชัด

"นิมิต" อันมาจากฤๅษี "เกวาลัน" จึงสดใส กาววาว

เท่ากับว่า "นักการเมือง" หรือแม้กระทั่งปรปักษ์ที่อยู่ตรงข้ามกับ "คสช." กลายเป็นปลาที่ติดเบ็ดกันถ้วนทั่ว

ขิงแก่อย่าง "คสช." เหนือกว่าไก่อ่อน "นักการเมือง" อย่างเด่นชัด



บรรดา "มหาปราชญ์" ที่กำหนดเกมและวางหมากนี้อาศัยจุดอ่อนของ

"ร่างรัฐธรรมนูญ" มาเสมือนกับเป็นเหยื่อล่อ

เหยื่อล่อให้ "นักการเมือง" เดินหลงเข้าไปใน "ลอบ"

ขณะเดียวกัน หากมองจากความสุกงอมของ "นักการเมือง" ก็ต้องยอมรับว่าเป็นการยินยอมเดินเข้าสู่ลอบอันวางดักไว้ด้วยความเต็มใจ

เพราะหงุดหงิดกับ "เนื้อหา" ที่ปรากฏผ่านร่างรัฐธรรมนูญจริงๆ

หากเป็นการสมยอมระหว่าง "คสช." กับ "36 มหาปราชญ์" ในนามคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ก็ต้องถือว่า ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เสียสละ

ก็ต้องถือว่า ดร.สุจิต บุญบงการ หรือแม้กระทั่ง ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสียสละให้กับหมากกลอันวางไว้อย่างแยบยลของ "คสช."
เพราะมาจากความยินยอมอย่างเต็มใจของบรรดา "นักการเมือง"

ประเด็น 1 ซึ่งมีความแหลมคมเป็นอย่างมากและไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ พลันที่เข้าสู่กระบวนการ "ประชามติ" เท่ากับทุกฝ่ายออกมายืนอยู่กลางแจ้ง เปิดเผย โดยมี "มวลมหาประชาชน" เป็นผู้ตัดสินอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้พ้น

หากเป็น "สงคราม" นี่ก็คือ สงคราม "ประชาชน"

ถามว่าในเกม "ประชามติ" สามารถเอามาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาเป็น"เครื่องมือ" ในการสร้างความได้เปรียบและอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าได้หรือไม่

ตอบได้เลยว่า ไม่ได้

จุดร่วมอย่างมีนัยสำคัญก็คือ ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม จะต้องดำรงอยู่อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสิทธิและเสรีภาพ

เพราะ "ประชามติ" เท่ากับ "ประชาธิปไตย"

ประชาธิปไตยอาจสามารถอ้างว่าแบบสากล หรือแบบไทย-ไทย แต่พลันที่มีคำว่า"ประชามติ" มาเป็นเครื่องกำกับ

นั่นย่อมพ่วงเอาคำว่า "สากล" เข้ามาด้วย

บทบาทและความหมาย 1 ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด อันมาพร้อมกับคำว่า "สากล" คือ

คำว่า "อารยะ" ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "ศิวิไลซ์" ซึ่งก็มาพร้อมกับคำว่า สิทธิ และ เสรีภาพ ในการแสดงออกและเคลื่อนไหวในทางการเมือง

เพื่อระดม "ประชา" จำนวนมหาศาลให้มา "ลงมติ" ร่วมกัน

จะลง "ประชามติ" ภายใต้กระบอกปืนก็ไม่สง่างาม จะลง "ประชามติ" ภายใต้ร่มเงาอันมืดครึ้มของระบอบ "รัฐประหาร" ก็ไม่ได้

เสรีภาพ ภราดรภาพ เสมอภาค จึงต้องกระหึ่ม


กฎเหล็ก 1 ของสงครามก็คือ การดำรงอยู่ของ "การรุก" และ "การรับ" ภายในองค์เอกภาพเดียวกัน

บางคนอาจมองเห็นแต่ด้านของ "การรุก" อันหมายถึงชัยชนะ กระทั่งลืมหรือมองข้ามบทบาทที่ภายในการรุกได้นำไปสู่ "การรับ" อย่างมิอาจปฏิเสธได้

รุกอาจกลายเป็นรับ ขณะเดียวกัน รับอาจกลายเป็นรุก

พลิก 6 คดีในศาลฎีกาฯก่อนคิว‘ยิ่งลักษณ์’ 4 อดีตนายกฯ 5 รมต. ‘จำเลย’

อัพเดท 6 คดีนักการเมืองใหญ่ในศาลฎีกาฯ ก่อนไต่สวน“ยิ่งลักษณ์”ปมทุจริตโครงการรับจำนำข้าว 19 พ.ค.58 คนเครือญาติชินวัตรอดีตนายกฯตกเป็นจำเลย 3 คนจาก 4 คน และ 5 อดีต รมต. – เสี่ยชูชีพ หาญสวัสดิ์ -วิทยา เทียนทอง คิวล่าสุด 
PIC uuuiidd 18 5 58 1
ไฮไลต์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองวันที่ 19 พ.ค.58 ด้านหนึ่งจะอยู่ที่คิวปรากฏตัวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกอัยการสูงสุดฟ้องในข้อกล่าวหากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ในการระงับความเสียหายโครงการรับจำนำข้าว (คดีหมายเลขดำที่ อม.22/2558) โดยศาลฎีกาฯนัดพิจารณาคดีนัดแรก 09.30 น. ล่าสุดมีเสียงยืนยันจากคนใกล้ชิดว่าอดีตนายกฯ “เดินทางไปศาลฯแน่” 
อย่างไรก็ตาม ในบริบทของคดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูล กรณีอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้อง และกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช.ฟ้องเอง อยู่ในสาระบบของศาลฎีกาฯ นอกจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์แล้วมีอีก 5 คดี (ไม่รวมคดีความผิดเกี่ยวกับการบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น) ได้แก่ 
1. คดีหมายเลขดำที่ อม.3/2555 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ 1 กับพวกรวม 27 คน จำเลย ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ (คดีทุจริตปล่อยเงินกู้ธนาคารกรุงไทย) นัดไต่สวนพยานครั้งต่อไป 20 พ.ค.58 
2. คดีหมายเลขดำที่ อม.3/2556 คณะกรรมการ ป.ป.ช. โจทก์ นายนพดล ปัทมะ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลย ความผิดตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในกรณีที่นายนพดลไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิ.ย. 51 ที่สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาไทย นัดไต่สวนพยานครั้งต่อไป 5 มิ.ย.58 
3.คดีหมายเลขดำที่ อม.2/2558 ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องยื่นฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 295 และ 302 กรณีเมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 รัฐบาลนายสมชายได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา กระทั่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 471 ราย นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าของสำนวน นัดพิจารณาคดีนัดแรก 29 พ.ย.58 
4. คดีหมายเลขดำที่ อม.25/2558 อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ 1 และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ 2 กับพวก อีก 19 ราย ร่วมกันเป็นจำเลยรวม 21 ราย ฐานทุจริตโครงการ ระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาเป็นเจ้าของสำนวน นัดพิจารณาคดีนัดแรก หรือนัดฟังคำพิพากษา 29 มิ.ย.58 
5.คดีหมายเลขดำที่ อม.27/2558 ระหว่างอัยการสูงสุด โจทก์ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ที่ 1 นายวิทยา เทียนทอง ที่ 2 จำเลย ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 กรณีร่วมกันทุจริตซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดว่านายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายวิทยา เทียนทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขานุการ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันกระทำผิด ศาลฎีกาฯนัดพิจารณาครั้งแรก 6 ก.ค.58 เวลา 09.30 น. มีนายปริญญา ดีผดุง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน 
ในจำนวนทั้งหมด 6 คดีเป็นคดีที่คนเครือญาติชินวัตร อดีตนายกฯตกเป็นจำเลย 3 คน (จากอดีตนายกฯ 4 คน มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ด้วย) และเป็นอดีตรัฐมนตรี 5 คน (ไม่รวม พล.อ.ชวลิต อดีตรองนายกฯ) 
ในช่วงที่ผ่านมา อดีตรัฐมนตรีถูกศาลฎีกาฯสั่งจำคุกมีมาแล้ว อาทิ นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย คดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย คดีคลองด่าน ส่วนอดีตนายกฯ มีมาแล้ว 1 คนในคดีจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ

ที่มา : http://www.isranews.org/investigative/investigate-news-person/item/38659-sandika_8890.html#.VVrpdYauO1E.facebook

สิริอัญญา:หมากกลโรฮิงญา

หมากกลโรฮิงญา
โดย สิริอัญญา
วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2558
หากตั้งข้อสังเกตอย่างแยบคาย ก็จะพบว่าช่วงนี้กระแสข่าวเรื่องโรฮิงญากำลังปกคลุมบรรยากาศประเทศไทยอย่างแน่นหนา จนราวกับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศชาติ ถึงขนาดที่ทุกผู้ทุกคนทุ่มมาสาละวนอยู่กับเรื่องนี้

ประหนึ่งว่าประเทศไทยมีแต่ปัญหาโรฮิงญาเป็นวาระแห่งชาติ

ก็ขอบอกให้รู้กันโดยทั่วไปว่า นี่คือกลอุบายอุบาทว์ที่มุ่งสร้างความขัดแย้งภายในชาติและบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศครั้งใหญ่ที่สุด และยังส่งผลต่อการก่อความแตกแยกให้เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย

ขอให้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องโรฮิงญากันให้ดี ในประการที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ

ประการแรก ชาวโรฮิงญามีสัญชาติดั้งเดิมเป็นอินเดีย ซึ่งต่อมากลายเป็นบังคลาเทศ และอังกฤษได้นำชาวโรฮิงญาเข้ามาช่วยอังกฤษรบกับพม่าตั้งแต่สมัยราชวงศ์กองบอง ครั้นเสร็จศึกแล้วก็ทิ้งหมากกลโรฮิงญาไว้ในพม่า ในแคว้นยะไข่ ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาชนชาติ ปัญหาศาสนาให้กับพม่าต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

ประการที่สอง ชาวโรฮิงญาในพม่าขณะนี้มีจำนวนประมาณ 2 ล้านคน พม่าไม่ยอมรับเป็นพลเมืองของตน ไม่ออกบัตรประชาชนและหนังสือเดินทางใด ๆ ให้ ในขณะที่ชาวโรฮิงญาก็เพิ่มประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ครั้นเมื่อประสบแรงกดดันในพื้นที่โดยทั่วด้านก็ดิ้นรนหลบหนี

ประการที่สาม บรรดามหาอำนาจที่วางหมากกลอันนี้ไว้ก็อาศัยกลไกของสหประชาชาติหรือสำนักงานข้าหลวงผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติเข้ามาจัดการ ซึ่งก็รู้ดีกันอยู่แล้วว่าเป็นการจัดการของมหาอำนาจ ดังนั้นขบวนการผู้อพยพชาวโรฮิงญาจึงออกเดินทางจากประเทศพม่าได้อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ๆ ให้สังเกตดูเรือของผู้อพยพที่เป็นเรือขนาดใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคนก็มี ระดับร้อยคนก็มี ที่เป็นเรือเล็ก ๆ ก็พอมีบ้าง เพียงเท่านี้ก็จะเห็นได้ว่ามีขบวนการจัดการคนผู้อพยพออกนอกพม่า

ประการที่สี่ ด้วยสมรรถนะในการสอดแนมของชาติมหาอำนาจต่าง ๆ ก็รู้ดีว่ามีขบวนเรือผู้อพยพออกจากพม่าอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก แต่ก็ทำเงียบเป็นเป่าสากและไม่สนใจที่จะช่วยเหลือแต่ประการใด มิหนำซ้ำหากขัดสนใด ๆ ก็จะเข้าช่วยเหลือเพื่อให้ผู้อพยพเดินทางมายังประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียได้ มาถึงขั้นนี้ก็สรุปได้แล้วว่าใครเป็นคนวางหมากกลและใครกำลังเดินหมากกลนี้อยู่

ประการที่ห้า ขณะนี้มีขบวนเรือผู้อพยพโรฮิงญาที่ยังลอยเรืออยู่ในทะเลมีจำนวนนับหมื่นคน ที่กำลังโฉมหน้ามาที่ประเทศไทย ดังนั้นหากรับไว้อย่างเป็นทางการก็จะต้องรับพวกเหล่านี้เข้ามาด้วย หากรวมจำนวนกับผู้ที่เข้ามาแล้วก็อาจจะมีจำนวนถึง 20,000 คน ซึ่งต้องไม่ลืมว่าชาวโรฮิงญานั้นเป็นนักรบที่อังกฤษก็เคยใช้มารบกับพม่ามาแล้ว หากพลาดพลั้งประการใดขึ้นมาประเทศไทยของเราก็จะมีความเสี่ยงภัยอย่างยิ่ง

ประการที่หก เมื่อมีขบวนการอพยพเช่นนี้ก็เป็นช่องทางให้ผู้ทุจริตแสวงหาผลประโยชน์ และทำให้ชาวโรฮิงญากระจัดกระจายกันไปในหลายที่ ทั้งเป็นแรงงานในโรงงานและเป็นแรงงานประมง โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องผิดกฎหมายตั้งแต่สมคบกันลักลอบเข้าเมืองแล้ว ดังนั้นเมื่อไปทำประมงก็จะถูกมหาอำนาจตราหน้าชี้ว่าประเทศไทยใช้แรงงานจากการค้ามนุษย์ เมื่อไปทำงานในโรงงานก็จะถูกมหาอำนาจตราหน้าชี้ว่าประเทศไทยใช้แรงงานจากการค้าทาส แล้วตัดสิทธิ์ทางภาษีอากรเพื่อให้สินค้าไทยสู้ใครไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ประการที่เจ็ด เมื่อขบวนอพยพผ่านมาทางไหน ไม่มีประเทศใดรับ พวกนักวางหมากกลก็เงียบเป็นเป่าสาก แต่พอมาใกล้เขตไทยก็โวยวายกดดันบังคับกันทุกสารทิศเพื่อให้ประเทศไทยรับผู้อพยพเหล่านี้ไว้อยู่ในประเทศไทย แล้วชี้หน้ากล่าวหาว่าประเทศไทยไร้มนุษยธรรม ทำลายเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของประเทศชาติอย่างร้ายแรง

ประการที่แปด การที่นักวางหมากกลเหล่านี้กระทำย่ำยีประเทศไทยและคนไทยได้ถึงเพียงนี้ก็เพราะความไม่มีจุดยืนที่แน่นอน ใจหนึ่งก็กลัวมหาอำนาจ ใจหนึ่งก็อยากเป็นไทแก่ตัว จึงสับสนอลวนกันอยู่ กระทั่งคนไทยด้วยกันเองก็มีความคิดเห็นต่างกันไปในหลายทิศทาง ยิ่งกลายเป็นอันตรายแก่บ้านเมือง

ดังนั้นชนชาวไทยทั้งผองจึงต้องทำความเข้าใจหมากกลอุบาทว์นี้ ว่าเป็นเรื่องที่มุ่งร้ายต่อประเทศไทย ดังนั้นเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของประเทศชาติ คนไทยทั้งประเทศจึงต้องสามัคคีร่วมใจกันทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันให้จงได้

ข้อแรก ต้องเข้าใจกลอุบายของพวกมุ่งร้ายต่อประเทศชาติที่ต้องการก่อให้เกิดความแตกแยกแตกสามัคคีภายในชาติ ต้องการทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศ และมุ่งให้เกิดความแตกแยกในอาเซียน

ข้อสอง ประเทศไทยจะต้องเด็ดเดี่ยวกล้าหาญในการยืนหยัดในเอกราชอธิปไตยและศักดิ์ศรีของชาติ อย่างน้อยก็ให้ถือแบบนายกรัฐมนตรีฮุนเซนที่ถึงแม้จะถูกกดดันจากมหาอำนาจอย่างไรก็ไม่ระย่อท้อถอย จนไม่มีชาติใดกล้าข่มเหงกัมพูชาอีกแล้ว

ข้อสาม จะต้องตั้งตนเป็นไทแก่ตัว สร้างดุลยภาพใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เลิกเป็นลิ่วล้อบริวารชาติใด ๆ และยืนหยัดพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติอย่างเด็ดเดี่ยว

ข้อสี่ จะต้องสร้างความสมดุลของบุคลากรในกิจการงานทั้งหลาย ไม่ใช่พึ่งพาอาศัยแต่พวกนักเรียนหัวนอก หัวตะวันตก ซึ่งกลัวฝรั่งยิ่งกว่าขอทานเขมรเสียอีก

ด้วยประการเหล่านี้ ประเทศชาติของเราก็จะอยู่รอดปลอดภัย.