PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

นศ.รามฯบุกล้อมบช.น.หา'แจ๊ด' ทวงความยุติธรรมเพื่อนโดนยิง

8 ม.ค. 56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.45 น.นายอธิวัฒน์ นาคเป้า แกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงพร้อมด้วยนิสิตนักศึกษารามฯจำนวน 50 คนเดินทางมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลด้วยการเดินเท้ามาตามถนนศรีอยุธยาโดยมีรถเครื่องขยายเสียงนำหน้ามาปักหลักอยู่บริเวณประตูทางเข้าด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ( บช.น.) ปิดทางเข้าออกปราศรัยเรียกร้องให้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเร่งรัดสืบสวนติดตามจับกุมมือปืนที่ก่อเหตุยิงนายทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว เพื่อนนักศึกษารามฯเสียชีวิตมาดำเนินคดีให้ได้หลังเกิดเหตุวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมานานกว่า 1 เดือนแล้ว

พร้อมระบุต้องการยื่นหนังสือแถลงการณ์กับมือ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ คนเดียวเท่านั้นโดยไม่ผ่านตัวแทนแม้ว่าขณะนี้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์จะไม่อยู่ในกองบัญชาการตำรวจนครบาลก็ตามแกนนำนักศึกษารามฯยืนยันว่า พร้อมจะปักหลักนั่งรอนอนรอจนกว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ จะมารับแถลงการณ์ของพวกเรา

ทันทีที่นักศึกษาฯเดินทางมาถึงหน้า บช.น.ต่างก็ใช้เท้าถีบไปที่ป้ายที่ตั้ง บช.น.และตราสัญลักษณ์ บช.น. พร้อมตะโกนโห่ไล่ "ตำรวจขี้ข้า" กินภาษีของประชาชนไม่เคยทำงานทำการ "มากี่ทีกี่ที" ก็ไม่เคยอยู่ ด้านสารวัตรแผนกประชาสัมพันธ์ บช.น.ได้เข้าพูดคุยเจรจากับแกนนำว่าจะส่งตัวแทนผบช.น.ออกมารับแถลงการณ์เรียกร้องจากผู้ชุมนุม แต่ไม่เป็นผลแกนนำและผู้ชุมนุมต่างยืนยันจะรอพบและยื่นแถลงการณ์ต่อผบช.น.เท่านั้น แม้ว่าจะต้องรอข้ามวันข้ามคืนก็ไม่เป็นไรพร้อมจะรอจนกว่าจะเจอตัว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเจรจากับกลุ่มนักศึกษาที่ปิดทางเข้าออกด้านหน้าประตู บช.น. ไม่ให้กีดขวางการจราจร ทำให้ผู้ชุมนุมเกิดความไม่พอใจพูดจากรรโชกโฮกฮากใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจและใช้อารมณ์น้ำเสียงก้าวร้าวจนเพื่อนนักศึกษารามฯด้วยกันต้องพาตัวออกห่างไประงับสติอารมณ์ จนนายอธิวัฒน์ กล่าวย้ำบนเวทีว่า ถ้าใครเป็นลูกพ่อขุนกินข้าวหม้อเดียวกันให้ก้าวถอยออกมาจนเหตุการณ์สงบลงการปราศรัยบนเวทีเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่จึงดำเนินต่อไป

นายอธิวัฒน์ กล่าวว่า วันนี้ที่เรามาไม่เหลือบ่ากว่าแรงเลยที่คนชื่อคำรณวิทย์จะออกมารับหนังสือแถลงการณ์จากพวกเรา เราไม่มีอาวุธ เรามีแต่ปากกาไม่ไปทำร้ายใคร พวกเราเป็นนักศึกษารามฯใส่ชุดสีขาวเป็นสีอันบริสุทธิ์ท่านไม่ออกมารับหรือว่าต้องให้พวกเราไปใส่เสื้อแดงท่านถึงจะออกมาหรือจะให้เราไปปลุกผีเพื่อนเราที่ตายไปออกมารับหนังสือใช่หรือไม่ หลังจากเพื่อนเรานักศึกษารามฯเสียชีวิตตำรวจไม่ทำอะไรเลยไม่ตามคดีไม่มีความคืบหน้าใดๆวันนี้เราจึงมาทวงถามหรือจะรอให้มีนักศึกษาที่อื่นตายอีกนับไม่ถ้วน พล.ต.ท.คำรณวิทย์จึงจะออกมาอย่างนั้นหรือ

" ถ้าวันนั้นตำรวจเข้าไปในที่เกิดเหตุแล้วพาเพื่อนของพวกเราออกมาก็จะไม่มีการล้มตายทำไมพวกท่านถึงไม่รีบเข้าไปหรือว่าพวกท่านเป็นผู้ที่กระทำการในคืนนั้นเสียเอง ถ้าพวกท่านไม่ได้เป็นคนทำก็ควรที่จะหาหลักฐานมายืนยันกัน พวกเราอยากรู้ว่าตอนนี้ ผบช.น.อยู่ที่ไหนมาทีไรก็ไม่อยู่หรือว่าบินไปอยู่ดูไบ ฮ่องกงกับทักษิณ ชินวัตรแล้ว ถ้าตอนนี้ท่านยอมออกมาพบพวกเราแต่โดยดีพวกเราก็จะรีบกลับไปเรียนหนังสือกันต่อในทันที การที่ท่านคำรณวิทย์ไม่กล้าออกมาเผชิญหน้ากับพวกเราเพราะอายที่กินภาษีประชาชนกี่ปีๆที่ผ่านมาเคยมีนักศึกษารามฯมายืนด่าที่หน้า บช.น.ไหมไม่เคยมีเพิ่งจะมีในช่วงนี้เพราะพี่ๆตำรวจมี ผบช.น.ที่ขี้ขลาด " แกนนำกล่าว

แกนนำนศ.รามฯ กล่าวต่อว่า ถ้าตำรวจคนไหนอยากมาเป็นพวกเดียวกับเรา เราก็ยินดีขอให้ถอดเครื่องแบบออกแล้วเดินออกมานั่งรวมกับเราตรงนี้เลยท่านไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดและวันนี้ขอยืนยันว่า ถ้า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ไม่ออกมารับหนังสือเรียกร้องจากพวกเราเราก็พร้อมจะปักหลักอยู่ที่นี่นอนตรงนี้จะลองนอนบนถนนดูบ้างสักคืนสองคืนจะเป็นไรไปเพราะที่ผ่านมานอนฟูกนิ่มๆกันมาหลายคืนแล้ว และก่อนออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยรามฯ พวกเราได้ปฏิญานกับเพื่อนที่ตายไปว่า ถ้าวันนี้ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจาก พล.ต.ท.คำรณวิทย์ พวกเราจะไม่กลับเพราะพวกเราอยากเห็นความถูกต้องในสังคมนี้ขอให้พล.ต.ท.คำรณวิทย์สละเวลามาพบพวกเราเพียงเล็กน้อยเท่านั้นท่านทำไม่ได้หรืออย่างไร หากวันนี้ตอนนี้หรือคืนนี้ ผบช.น.ไม่ว่างมาพบไม่เป็นไรพวกเรารอได้

ส่วนพี่ตำรวจคนอื่นๆเราเข้าใจที่ผ่านมาพวกเราไม่เคยคิดว่าตำรวจเป็นศัตรูเพราะรู้ว่าท่านต้องทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขอให้ตำรวจที่อยู่ใน บช.น.ช่วยไปบอก พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ว่าให้ออกมารับหนังสือเถิดช่วยมายืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะคลี่คลายหาตัวคนผิดมารับโทษให้ได้ขอความกรุณาพี่ๆตำรวจด้านในช่วยๆกันบอก พล.ต.ท.คำรณวิทย์ หน่อยว่านักศึกษารามฯ อยากจะเห็นหน้าท่านคำรณวิทย์ตัวเป็นๆเพราะที่ผ่านมาเคยเห็นแต่ในทีวี อยากจะเห็นหน้าคนที่เขาเรียกว่า "ขี้ข้า " หน้าตามันเป็นอย่างไร ขอยืนยันการมาวันนี้มาด้วยใจไม่มีใครว่าจ้างมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเพื่อนของเราที่ตายไป

#แนวหน้า
 — กับ สาวิตรี รักษ์โลก และ 3 อื่นๆ

'จารุพงศ์'ปัดข่าวจ้างทหารเขมรเด็ดหัวสุเทพ

"จารุพงศ์"ปัดข่าวติดต่อกองทัพเขมรขอทหารรับจ้าง สังหาร"สุเทพ" ค่าหัว 50 ล้านบาท

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ขณะนี้มีการเผยแพร่ข้อความทางโซเชียลมีเดียว่า พรรคเพื่อไทยสั่งให้แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทุกจังหวัดนำมวลชนมาปกป้องสถานที่ราชการในวันที่ 13 ม.ค. เพราะกปปส.ที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. จะปิดกรุงเทพฯ และสถานที่ราชการ

นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงแผนปฏิบัติการ อาทิ พรรคเพื่อไทยได้ติดต่อกับกองทัพกัมพูชาเพื่อขออาสาทหารรับจ้างเพื่อใช้อาวุธสงคราม เช่น สไนเปอร์ เพื่อสังหารนายสุเทพให้ได้หากทหารรับจ้างหรือคนเสื้อแดงสามารถสังหารนายสุเทพได้จะได้รับเงินค่าหัว 50 ล้านบาท

ขณะที่ค่าหัวแกนนำกปปส.คนอื่น ๆ นั้นจะได้รับการพิจารณาจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีอีกที โดยลงชื่อตนพร้อมกับลายเซ็นแนบท้ายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตนขอปฏิเสธว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า น่าจะเป็นการสร้างกระแสบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อหวังแสวงผลประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา เป็นการสร้างความขัดแย้ง กระทบกับความมั่นคงและกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศบ้าน ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ด้วย อย่างไรก็ตาม ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยจะรวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นเรื่องให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) นำตัวคนผิดมาลงโทษ เพราะสร้างความเสียหายให้กับรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง

"กต.เชิญทูตกล่อม ยันรัฐใช้สันติวิธีแก้ เผย ตปท.ห่วงมาทำงานไม่ได้"

กระทรวงการต่างประเทศ เชิญทูตและองค์กรระหว่างประเทศ แจง กปปส.ชุมนุมใหญ่จันทร์หน้า ปลัด กต.เผยทูตใกล้ม็อบห่วงมาทำงานไม่ได้ ยันพร้อมดูแลความปลอดภัย บอกรัฐใช้สันติวิธีแก้ รับฟังปฏิรูปการเมือง ฝรั่งเศสเสียวโดนเหมือนตึก กสท อีก ด้านเยอรมันหวั่นเจอปิดสนามบิน “สีหนาถ” เชื่อกำนันไม่ทำ

วันนี้ (8 ม.ค.) ที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีการเชิญคณะทูตต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศที่ประจำการในประเทศไทย มารับฟังการบรรยายสรุปต่อสถานการณ์การเมืองและการชุมนุมใหญ่ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่จะปิดกรุงเทพฯ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้

โดยนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ชี้แจง ขณะที่มีคณะทูตต่างประเทศจาก 50 ประเทศ และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ มารับฟังการบรรยายสรุปดังกล่าว รวมจำนวน 63 คน ซึ่งมีระดับเอกอัครราชทูต 28 คน เช่น ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เดนมาร์กอิตาลี แคนาดา เป็นต้น

นายสีหศักดิ์แถลงภายหลังว่า คณะทูตต่างประเทศมีความกังวลและห่วงใย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่จะมีการชุมนุมในวันที่ 13 ม.ค.นี้ จำนวน 20 แห่งในถนนสีลมสาทร และถนนวิทยุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานและการเดินทาง ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนามีพันธะผูกพัน ต้องดูแลความปลอดภัยต่อการปฏิบัติหน้าที่และการเดินทางของนักการทูต

ทั้งนี้ ในการบรรยายสรุปดังกล่าว ทางกระทรวงฯ ได้เล่าถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในขณะนี้เป็นอย่างไรและรัฐบาลมีแผนป้องกันและรักษาความปลอดภัยอย่างไรบ้าง โดยมีประเด็นสำคัญคือเรื่องการเมือง ซึ่งตนได้ชี้แจงว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาด้วยหลักสันติวิธีและคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งรัฐบาลเปิดกว้างพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะการปฏิรูปการเมืองที่สอดคล้องภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งได้ย้ำว่าศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) จะดูแลความปลอดภัยของคณะทูต หากเกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้นสามารถติดต่อหน่วยงานราชการของไทยได้ตลอดเวลา

นายสีหศักดิ์กล่าวอีกว่า คณะทูตต่างประเทศได้แสดงความกังวลเรื่องการที่ผู้ชุมนุมจะปิดสี่แยก และหวังว่ารถของคณะทูตและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ จะสามารถเดินทางเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสถานเอกอัครราชทูตและองค์กรระหว่างประเทศได้ตามปกติไม่มีอุปสรรคใดๆ เพราะเป็นสิทธิคุ้มกันทางการทูต

นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยมีความกังวลอย่างมากเพราะสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสฯ ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากได้ย้ายไปใช้พื้นที่อาคารของบริษัท กสท โทรคมนาคม ถนนเจริญกรุง เป็นที่ทำการชั่วคราวของสถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งถูกตัดไฟ รวมถึงเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยได้แสดงความกังวลต่อกระแสข่าวที่ว่าจะมีการปิดสนามบิน ซึ่งตนได้ยืนยันตามที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ประกาศว่าจะไม่มีการปิดสนามบินโดยเด็ดขาด

http://astv.mobi/ACOk2ce


ดีเอสไอขอศาลออกหมายจับ33แกนนำพรุ่งนี้

"ธาริต"พร้อมส่งพนักงานสอบสวนขอศาลออกหมายจับ 33 แกนนำกปปส.พรุ่งนี้ (9 ม.ค.)

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้(9 ม.ค.) เวลา 09.00 น. ตนจะมอบหมายให้พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ไปยื่นคำร้องขอศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำกปปส.จำนวน 33 คน ที่ไม่เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการชุมนุมกปปส.ตามหมายเรียกของดีเอสไอ ซึ่งขณะนี้พนักงานสอบสวนกำลังเร่งรวบรวมเอกสาร เนื่องจากเป็นการขอศาลออกหมายจับจำนวนหลายคน มีเอกสารเกี่ยวข้องที่ต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงพฤติกรรมกระทำผิดของแกนนำจำนวนมาก โดยเฉพาะการอ้างถึงคำปราศรัยของแกนนำแต่ละคนที่กล่าวปลุกระดมมวลชนบนเวทีซึ่งดีเอสไอถอดเทปคำปราศรัยเรียบร้อยแล้ว และกรณีที่แกนนำกปปส.ยังมีพฤติกรรมที่ส่อว่าจะร่วมกันเคลื่อนไหวการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการชุมนุมใหญ่ปิดกรุงเทพฯในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ตนยืนยันว่าสามารถยื่นขอหมายจับได้ทันในวันพรุ่งนี้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม การขอหมายจับแกนนำกปปส.แต่ละคนมีข้อกล่าวหาที่แตกต่างกันเนื่องจากมีทั้งแกนนำหลัก และนักวิชาการที่ขึ้นเวทีปราศรัย ดังนั้นจึงจะมีทั้งกลุ่มที่ถูกออกหมายจับข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ และกลุ่มที่ร่วมกันกระทำการให้เกิดความปั่นป่วน หรือมั่วสุมกันเพื่อทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย

อ่าน บิ๊กอ๊อด ฉบับเต็มๆ..นานๆพูดที มีนัยะ...

Wassana Nanuam · ผู้ติดตาม 43,598 คน
3 ชั่วโมงที่แล้ว ผ่าน โทรศัพท์มือถือ · 
  • “พล.อ.ยุทธศักดิ์” เผย หากจำเป็นตัองทำรัฐประหาร กองทัพจะทำเพื่อประเทศชาติ ราชบัลลังก์ แต่วันนี้ยังไม่ใช่ เผย เช้า13มค. นัดพบ ผบ.ทบ.ที่ กองทัพภาค1 หนุน เจรจา ทางลับ แก้ปัญหา หาทางออก/ ยันทหาร ไม่ได้ ไม่ตอบสนองรัฐบาล แต่ ศอรส.ขอมาไม่ถูกขั้นตอน ยิ่งลักษณ์ จึงสี่งให้ ประสานงาน/ บอก ปลัดกลาโหม ช่วยกันทำงาน คิดรอบคอบ บอกในเรื่องที่นายกฯไม่รู้/ปลื้ม “องค์หญิง” พระราชทานเค้กวันเกิด 77 ปี ขณะที่ “นิพัทธ์” ตบเท้าอวยพร ฝาก “ปลัดกลาโหม” ช่วยงานนายกฯ คิดพิจารณาอะไรให้รอบคอบ

    พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช. กลาโหม มองว่า โอกาสที่จะเกิดการรัฐประหาร นั้น มีอยู่ หากสถานการณ์เลวร้าย กองทัพนั้น ต้องเพื่อประเทศชาติและราชบัลลังก์ เตรียมคุย ผบ.ทบ.เช้า13มค.หารือสถานการณ์

    ต่อคำถามที่ว่า กองทัพยังมีแนวคิดทำรัฐประหารเพื่อแก้ไขสถานการณ์หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการทำรัฐประหารวันนี้ ยังไม่มีอยู่ในสมอง

    " แต่ถ้าสถานการณ์มันเลวร้ายที่จำเป็นก็ต้องทำงานให้ประเทศชาติและราชบัลลังก์ไว้ค่อยคุยกันตอนนั้นอีกที" พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าว

    เมื่อถามย้ำ หากมีการรัฐประหารรัฐบาลยอมรับได้ใช่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลยังไม่ได้พูดอะไรออกมา คิดเพียงว่า กองทัพอยู่ในฐานะที่จะต้องรักษาเอกราช รักษาความสงบให้กับประชาชนส่วนรวม รวมถึงราชบัลลังก์ เป็นงานของกองทัพที่จะต้องทำให้ได้

    "ผบทบ.ท่านมีการข่าวของท่าน ใครพวกไหน ทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ท่านรู้หมด"พล.อ.ยุทธศีกดิ์ กล่าว

    เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่กองทัพจะทำรัฐประหารเพื่อช่วยรัฐบาล พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า กองทัพบอกแล้วว่า น้ำหนักอยู่ที่ประชาชน ประเทศชาติ และราชบัลลังก์

    เมื่อถามย้ำว่า ปัจจัยที่ทางจะทำรัฐประหารคืออะไร พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า สถานการณ์วันนี้ยังไม่ใช่ และไม่น่าจะอยู่ในความคิด

    รมช.กลาโหม กล่าวด้วยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายให้ตนเป็นผู้ประสานระหว่างรัฐบาลกับหน่วยงานราชการในห้วงสถานการณ์การชุมนุมปิดกทม โดยท่านให้ตนเป็นผู้ประสานงานระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ เนื่องจากที่ผ่านมา ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) จะขอกำลังสนับสนุนจากทหารได้ขอตรงไปยังเหล่าทัพเลยซึ่งผิดสายงาน 

    "ดังนั้นจะต้องขอไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อสั่งไปที่กองบัญชาการกองทัพไทย ถือเป็นระเบียบของกองทัพ"

    "ที่ผ่านมาดูเหมือนทหารจะไม่ตอบสนองและการทำงานช้าไป แต่ความจริงไม่ใช่ เพียงแต่การดำเนินงานไม่ถูกสายงานและขั้นตอนเท่านั้น ดังนั้น การที่นายกฯสั่งการให้ผมรับผิดชอบเพื่อต้องการให้ขั้นตอนถูกระเบียบและถูกวิธีในการทำงาน"

    “ผมไม่อยากให้สถานการณ์มีอะไรไปมากกว่านี้ อยากให้อยู่กันอย่างสันติ หันหน้าเข้าหากัน พูดจากัน จะพูดในทางเปิดหรือลับก็ได้ ว่าจะเอาอย่างไรเพื่อให้ประเทศชาติอยู่ได้"

    พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ในวันที่13 มกราคมนี้ที่กลุ่ม กปปส.จะชุมนุมปิดกรุงเทพฯนั้น ผมจะพบ ผบ.ทบ.ในช่วงเช้าเนื่องจากเป็นวันสถาปนากองทัพภาคที่ 1 และคงจะหารือกันถึงสถานการณ์

    "ผมมอง ผบ.เหล่าทัพในภาพรวมอะไรที่ช่วยทำให้เกิดสันติได้หรือช่วยเหลือให้สิ่งต่างๆหรือสถานการณ์ที่จะเลวร้ายให้ดีขึ้น ผมคิดว่า ผบ.เหล่าทัพมีความตั้งใจที่จะทำแบบนั้น แต่ภาพที่ดูเหมือน ผบ.เหล่าทัพ ยังไม่ได้ทำอะไรนั้น ผมคิดว่าท่านกำลังทำอยู่ อาจทำเป็นการส่วนตัวหรือทางลับทางไหนก็ได้ ที่จะช่วยเหลือให้เกิดความรักสามัคคีหันหน้าเข้าหากันได้ "

    ส่วนจุดจบของเหตุการณ์จะจบอย่างไรนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ทุกคนก็อยากทราบเช่นเดียวกัน

    เมื่อถามกรณีที่ ผบ.ทบ.เป็นห่วงเรื่องมือที่ 3 ที่จะก่อเหตุสร้างความวุ่นวาย พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า มือที่ 3 มีมาโดยตลอด ถ้าหากมีการปะทะกันหรือเกิดเหตุรุนแรง กลุ่มมือที่3 จะเกิดขึ้นแน่นอน มือที่ 3 มีมาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม2516

    เมื่อถามว่า วันนี้รัฐบาลมีความหวาดระแวงกองทัพหรือไม่ต่อสถานการณ์ปัจจุบัน พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ในฐานะที่มีความสนิทสนม ตนคิดไม่น่าจะเกิดความหวาดระแวงต่อกัน เพราะกองทัพคิดถึงแต่เรื่องประเทศชาติ และราชบัลลังก์เป็นสิ่งสำคัญ

    พล.อ.ยุทธศักดิ์ ได้เปิดบ้านพักส่วนตัว ย่าน ถนนสุโขทัย เนื่องในวันเกิดครอบรอบ 77 ปี 

    พล.อ.ยุทธศักดิ์ เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 77 ปี รู้สึกปลาบปลื้มและดีใจเป็นที่สุด เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งที่พระองค์หญิงสิริวัณวลีนารีรัตน์ ทรงมีพระกรุณาให้ได้เข้าเฝ้า และพระราชทานเลี้ยงเป็นส่วนพระองค์ ก่อนที่จะทรงมอบเค้ก และประทานพรให้ทำงานให้ประสบความสำเร็จ 

    “ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดแล้วในชีวิต เป็นสิ่งที่ล้ำค้ามากว่าสิ่งใดๆ เป็นสิ่งที่พอแล้วในชีวิตของตนที่มีความจงรักษ์ภักดี ต่อสถาบันฯ"

    สำหรับวันเกิดนั้นผมไม่ขออะไรเป็นพิเศษเพียงแต่ไม่อยากให้มีสถานการณ์ในประเทศเรามากไปกว่านี้ และอยากให้ทุกอย่างอยู่กันอย่างสันติ และหันหน้าเข้าหากันเข้ามาพูดกัน จะหารือทางเปิดก็ได้หรือทางลับก็ได้ ว่าจะเอาอย่างไร เพื่อให้ประเทศชาติเราอยู่ได้

    พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกลาโหม ได้เข้าอวยพร พล.อ.ยุทธศักดิ์ ด้วย ในการนึ้
    พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ช่วงนี้ปลัดกระทรวงกลาโหม ต้องทำงานหนัก และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ให้ตนลงมาช่วยประสานงานกับรัฐมนตรี กระทรวงต่างๆที่ไม่เข้าใจระเบียบของกองทัพ ให้ง่ายและถูกต้องมากขึ้นและสอดคล้อง อยากฝากปลัดกระทรวงกลาโหมด้วย เพราะนายกฯ ในฐานะ รมว.กลาโหมบางอย่างท่านก็ไม่รู้เหมือนกัน คนที่รู้อย่างเรา รมช.กลาโหม และ ปลัดกลาโหมต้องอธิบายและชี้แจงให้ท่านเข้าใจ ซึ่งนายกฯเป็นคนที่เข้าใจง่ายในทุกๆเรื่อง ฝากไว้ด้วยเพราะงานสำคัญยังไม่หมด ต้องดำเนินไปอีกระยะหนึ่ง เพราะฉะนั้นในช่วง 1 – 2 เดือน จะคิดทำ หรือพิจารณาอะไร ขอให้รอบคอบมากๆ คิดในทางที่เป็นประโยชน์ อย่าก่อให้เกิดความเสียหาย การคิดต้องรอบด้าน อย่าฟังหรือคิดอะไรเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ประเทศชาติ ประชาชน สถาบันพระมหากษัตริย์ คือจุดมุ่งหมายของประเทศ

องค์กรวิชาชีพสื่อ เดินสายพบกปปส.และ ศอ.รส.ห่วงความปลอดภัยและการถูกขัดขวางในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง

องค์กรวิชาชีพสื่อ ห่วงความปลอดภัยและการถูกขัดขวางในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง และเพื่อการรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน จึงเข้าพบเลขาธิการ กปปส. และ ศอ.รส. เพื่อยื่นหนังสือและพูดคุยทำความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

(8 ม.ค. 57) นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะตัวแทน 2 องค์กรวิชาชีพสื่อ คือ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้เข้าพบ นายสุเืทพ เืืิทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส เพื่อขอความร่วมมือ กปปส. ในการจัดพื้นที่ปลอดภัย ให้กับสื่อมวลชนทุกประเภทและทุกสังกัด ในวันที่ 13 ม.ค. 57 ซึ่ง ทาง กปปส. ประกาศเคลื่อนมวลชนไปสถานที่ต่างๆ

และต่อจากนั้น นายกทั้งสองสมาคม ได้เข้าพบ พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะที่ ศอ.รส. มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศภายใต้กรอบของกฏหมาย เพื่อยื่นหนังสือ ขอความร่วมมือกับ ศอ.รส. 4 ข้อ

----------------------------------------------------
*** จดหมายถึง เลขาธิการ กปปส.

8 มกราคม 2557

เรียน เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)

เนื่องจากคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ประกาศเคลื่อนมวลชนออกมาปิดกรุงเทพฯ ในวันที่ 13 มกราคม 2557 นั้น เพื่อความปลอดภัยและไม่ถูกขัดขวางในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนงและเพื่อการรักษาไว้ซึ่งสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน องค์กรวิชาชีพสื่อ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอความร่วมมือจากคณะกรรมการ กปปส. ดังต่อไปนี้

1.ขอให้จัดพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) ให้กับสื่อมวลชนในแต่ละเวทีปราศรัย ซึ่งจะเป็นที่รวมสื่อมวลชนในทุกสังกัด ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ทั้งนี้หากเป็นไปได้ควรจัดพื้นที่สำหรับจุดถ่ายทอดรายงานสดของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ด้วย

2. สืบเนื่องจากกรณี กปปส.ประกาศเคลื่อนมวลชนออกมาปิดกรุงเทพฯ นั้น ซึ่งโดยข้อเท็จจริงในหลายพื้นที่มีสำนักงานของสื่อมวลชนตั้งอยู่ด้วย โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ต้องมีการขนส่งหนังสือพิมพ์กระจายไปยังผู้อ่านตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่ง กปปส. ควรให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกให้กับรถขนส่งหนังสือพิมพ์หากมีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องผ่านพื้นที่การชุมนุมในบางจุด รวมทั้งไม่ขัดขวางรถขนส่งหนังสือพิมพ์และรถถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ในทุกกรณี

3.ขอความร่วมมือคณะกรรมการ กปปส. ได้ทำความเข้าใจกับผู้ปราศรัยบนเวที ควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหรือการใส่ร้ายป้ายสีสื่อมวลชน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดของผู้ชุมนุมจนนำไปสู่การกระทบกระทั่งหรือปิดล้อมนักข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ชุมนุมในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้นักข่าวรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัย แม้ว่าแกนนำ กปปส.ได้ร่วมเข้ามาแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ในแต่ละเหตุการณ์ แต่องค์กรวิชาชีพสื่อไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างผู้ชุมนุมกับนักข่าวในพื้นที่การชุมนุมเกิดขึ้นอีก

4.ในกรณีที่มีการปิดล้อมสถานที่ราชการบางแห่ง เมื่อมีการแสดงตัวว่าเป็นสื่อมวลชน ด้วยสัญลักษณ์ต่างๆเช่น บัตรประจำตัวนักข่าวจากต้นสังกัด หรือแสดงปลอกแขนสื่อสีเขียวอ่อน ควรปล่อยตัวนักข่าวให้ออกจากพื้นที่ปิดล้อมในทันที

5.จัดให้มีการประสานงานที่ชัดเจน โดยการกำหนดตัวบุคคลในการทำหน้าที่ประสานงานของแต่ละฝ่าย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถประสานเพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันที

----------------------------------------------------
*** จดหมายถึง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) 

8 มกราคม 2557

เรียน ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) 

เนื่องจากคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ประกาศเคลื่อนมวลชนออกมาปิดกรุงเทพฯ ในวันที่ 13 มกราคม 2557 นั้น ในฐานะที่ ศอ.รส. มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศภายใต้กรอบของกฎหมายนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเป็นห่วงความปลอดภัยและการถูกขัดขวางในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง จึงขอความร่วมมือกับ ศอ.รส. ดังต่อไปนี้

1. ในการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยก็ดี หรือการปฏิบัติการควบคุมฝูงชนก็ดี นอกจากต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของประชาชนแล้ว ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่อยู่ในทุกพื้นที่ของการชุมนุมด้วย 

2. ในบางสถานการณ์ เจ้าหน้าที่อาจประกาศบางพื้นที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการพิเศษ หรือในกรณีที่มีการปิดล้อมสถานที่ เมื่อมีการแสดงตัวว่าเป็นสื่อมวลชน ด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น บัตรประจำตัวนักข่าวจากต้นสังกัด หรือการแสดงปลอกแขนสื่อสีเขียวอ่อน ขอความร่วมมืออำนวยความสะดวกให้นักข่าวออกจากพื้นที่ดังกล่าวด้วยความปลอดภัย

3. ขอความร่วมมือ ศอ.รส. ระมัดระวังในการให้ข้อมูลข่าวสารผ่านเครือข่ายโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เพื่อป้องกันการตื่นตระหนกและเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในหมู่ประชาชน จนอาจสร้างความเกลียดชังและเกิดความขัดแย้งขยายรุนแรงยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน โทรทัศน์ในเครือข่ายรวมการเฉพาะกิจ ไม่จำเป็นถ่ายทอดสดแถลงการณ์ของรัฐบาล หรือ ศอ.รส.ในทันที แต่ควรพิจารณาว่าเนื้อหาของแถลงการณ์มีความสำคัญต่อสถานการณ์มากน้อยเพียงใด ทางสถานีโทรทัศน์แต่ละสถานี สามารถใช้ดุลพินิจนำไปเสนอเป็นข่าวทั่วไปเช่นเดียวกับข่าวอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน

4. ควรมีระบบการประสานงานที่ชัดเจนด้วยกำหนดตัวบุคคลในการทำหน้าที่ประสานงานของทุกฝ่าย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถประสานเพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

5 คำถาม ในความคลางแคลงใจต่อ มติ ปปช.!!!


ผมเห็นว่ามติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ในคดี 381 สส.-สว. ร่วมกัจกระทำการมิชอบให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มา สว. โดยปปช.ได้แจ้งข้อกล่าวหา 308 สส.-สว.และไม่แจ้งข้อกล่าว 73 คนรวมนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรด้วย โดยอ้างว่าทั้ง 73 คนไม่มีเจตนาและร่วมโหวตเฉพาะวาระ 3 เท่านั้น

มติของ ปปช.ครั้งนี้มีข้อน่าสงสัยอย่างน้อย 5 ประการ คือ

ประการแรก ถ้า ปปช.จะใช้การโหวตร่างแก้ไข รธน.ในแต่ละวาระมาเป็นเกณฑ์ กำหนดความผิดเพื่อแจ้งข้อกล่าวหานั้น ใช้หลักคิดอะไรมาจำแนกว่าผู้เสนอญัตติและโหวตวาระ 1 มีเจตนากระทำผิด ในขณะที่ผู้โหวตเฉพาะวาระ 3 ไม่มีเจตนาและได้เอกสิทธิ์คุ้มครอง

ประการที่สอง แม้ สส.-สว.บางคนจะโหวตแค่ขั้นตอนวาระ 3 ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเจตนากระทำผิด เพราะคนที่จะลงมติวาระ 3 จะตัองไตร่ตรอง วิเคราะห์ผลดีผลเสียของการอภิปรายในวาระที่ 1 และการแปญัตติในวาระที่ 2 มาก่อนแล้ว ที่สำคัญผู้ลงมติวาระ 3 เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่าร่าง พรบ. หรือญัตตินั้นจะผ่านสภาเป็นกฎหมายได้หรือไม่

ประการที่สาม คำวินิจฉัยศาล รธน. ชี้ชัดว่า การแก้ รธน.ที่มา สว.ผิดทั้งเนื้อหาและกระบวนการ การยกประโยชน์ให้คนโหวตวาระ3 นั้น ถือว่ามติ ปปช.ครั้งนี้ปฏิเสธคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเป็นการขยายความคำวินิจฉัยจนเบี่ยงเบนออกไปจากสาระสำคัญของคำวินิจฉัยหรือไม่ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ชัดเจนว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กรรวมทั้ง ปปช.ด้วย

ประการที่สี่ มติ ปปช.ครั้งนี้จะทำให้เกิดบรรทัดฐานที่ไม่ดีต่อกระบวนการนิติบัญญัติหรือการพิจารณาร่างกฎหมายในอนาคต ที่อาจทำให้ สส.-สว. ใช้ไปเป็นเครื่องมือในการทำนิติกรรมอำพราง หรือเกิดการฉ้อฉลทางกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้

ประการที่ห้า ถ้า ปปช.จะใช้หลักเกณฑ์การลงมติแต่ละวาระเพ่ือกำหนดฐานความผิด สส.-สว.ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องปล่อยให้เรื่องล่าช้ามาจนขนาดนี้...


การ์ด กปปส.จับ ตร.พกปืน-ยาไอซ์เข้าที่ชุมนุมใกล้แยกคอกวัว เจ้าตัวรับเสพยามาจริง!!!

การ์ด กปปส.รวบตัว ส.ต.อ.พกปืน 9 มม. พร้อมยาไอซ์ได้บริเวณที่ชุมนุมใกล้แยกคอกวัว ก่อนนำตัวส่ง สน.สำราญราษฎร์ ตรวจพบฉี่ม่วง เจ้าตัวสารภาพเสพยามาจริง อ้างได้มาจากเพื่อน

วานนี้ (7 ม.ค.57) เมื่อเวลา 23.00 น. ฝ่ายรักษาความปลอดภัยของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส.ได้นำตัว ส.ต.อ. ท.ภัทร เพ็ชรอาวุธ ผบ.หมู่ฝ่ายพิพิธภัณฑ์ กองสารนิเทศ ส่ง ร.ต.ท.เลิศชาย ผือลองชัย พนักงานสอบสวนสน.สำราญราษฎร์ ให้ดำเนินคดี หลังถูกควบคุมตัวได้ภายในพื้นที่การชุมนุมบริเวณแยกคอกวัวถนนราชดำเนิน พร้อมอาวุธปืนขนาด 9 มม.กระสุน 10 นัดและ และยาไอซ์น้ำหนักประมาณ 0.5 กรัม

ส.ต.อ. ท.ภัทร ให้การว่า ตนเองเป็นตำรวจทำหน้าที่ดูแลภูมิทัศน์และความเรียบร้อยในพิพิธภัณฑ์ตำรวจ ก่อนเกิดเกตุได้ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปในพื้นที่ชุมนุม และได้ไปยืนเลือกซื้อเสื้อผ้าอยู่บริเวณใกล้แยกคอกวัว ปรากฎมีคนบอกว่ามีคนเข็นรถจักรยานยนต์ของตนไปใกล้กับด่านของ กปปส. จึงเดินตามไปเอาคืน และบอกว่าเป็นตำรวจ จึงถูกการ์ดค้นตัว และทำร้ายร่างกาย จากนั้นได้นำตัวส่งมาที่สน.

ส.ต.อ. ท.ภัทร กล่าวว่า ยอมรับว่าพกพาอาวุธปืนประจำตัวไปจริงเพราะไม่อยากเก็บไว้ที่บ้าน แต่ยืนยันว่าไม่ได้จะพกเข้าไปในพื้นที่ชุมนุม ส่วนยาไอซ์อ้างว่าได้มาจากเพื่อน และรับว่าได้เสพยาเสพติดมา

ด้านนายพงษ์พันธ์ เสมา อายุ 50 ปี การ์ดกปปส.กล่าวว่า ขณะเกิดเหตุมีผู้ชุมนุมเห็นว่าส.ต.อ.ท.ภัทร ได้ทำท่าชักอาวุธปืนแล้ววิ่งไล่นักศึกษาอาชีวะที่มาช่วยเป็นการ์ดให้ผู้ชุมนุม ทางการ์ดจึงเข้าจับกุมและทำการค้นตัวได้ทั้งอาวุธและยาเสพติดดังกล่าว

เบื้องต้นทั้งนี้ ตำรวจได้ควบคุมตัว ส.ต.อ.ท.ภัทร ไปทำการตรวจปัสสาวะ พบว่าเป็นสีม่วง จึงแจ้งข้อหามียายสเสพติด (ยาไอซ์)ไว้ในครอบครอง และเสพยาก่อนส่งไปตรวจสอบยืนยันท้องที่เกิดเหตุ เพื่อสอบสวนก่อนแจ้งข้อหาเพิ่มเติม

สิทธิ(ที่จะมีชีวิตใน)เมือง ท่ามกลางสงครามการผลิตพื้นที่ โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

วันพุธที่ 8 มกราคม 2557, 08:24 น.
madpitch@yahoo.com

ในห้วงเวลาของการนับถอยหลังไปสู่การ "ปิดกรุงเทพฯ" ในวันที่ 13 มกราคม ที่จะมาถึงนี้ ผมก็อยากจะมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เรื่องราวของการปิดกรุงเทพฯในหลายมิติสักหน่อยที่แตกต่างไปจาก "คำอธิบายที่เป็นทางการ" ของฝ่ายผู้รณรงค์การปิดกรุงเทพฯเอง

ในมิติแรก การปิดกรุงเทพฯนั้นก็เป็นเรื่องของ "สงครามของความภักดี" ว่าตกลงจะภักดีกับ "รัฐบาล" หรือ ระบอบทักษิณ ในด้านหนึ่ง หรือจะภักดีกับ "ระบอบสุเทพ" หรือคำอื่นๆ เช่น มวลมหาประชาชน และ การปฏิวัตินกหวีด

การรณรงค์ในเรื่องนี้ในทางหนึ่งอ้างว่าเป็นเรื่องที่กระทำได้ หากเป็นเรื่องของการอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และจะต้องเข้าสู่การตีความจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังมีการอ้างว่าได้รับการรับรองคุณภาพของความเป็นสันติวิธีจากบรรดานักสันติวิธีบางท่าน ไม่ว่าที่ผ่านมาจะตายกันไปกี่ศพ บาดเจ็บไปแล้วกี่ราย หรือจะมีความรุนแรงที่กระทบจิตใจไปแล้วเท่าไหร่ก็ตาม 

ที่สำคัญก็คือเมื่อสังคมไทยอยู่ในตรรกะที่ว่าผู้ชนะคือผู้กำหนดเกมส์ การกระทำใดๆ ที่จะนำไปสู่ชัยชนะก็จะทำให้มีแรงผลักดันในส่วนลึกว่าจงมุ่งมั่นที่จะกระทำให้สำเร็จเถิด (วาทกรรมแบบทุบหม้อข้าว หรือ สู้ไม่ถอย ก็น่าจะมาจากเรื่องแบบนี้นี่แหละครับ)

คำถามเรื่องของสงครามความภักดีนี้เป็นเรื่องที่ "ยิ่งใหญ่" จริงๆ ตามการกล่าวอ้างหรือไม่? หรือว่าคำถามนี้ถูกทำให้ใหญ่ขึ้นทั้งที่ฐานคิดในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อาจไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น?

กล่าวคือเรื่องการปิดกรุงเทพฯนั้นเป็นเรื่องของความยิ่งใหญ่ของการปิดกั้นหรือเชิญชวนด้วยเสียงนกหวีดและ(เสาธง) ให้เลิกให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ทั้งที่เป็นอยู่คือสถานการณ์ของการเลือกตั้งที่รัฐบาลเป็นเพียงผู้รักษาการณ์? ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากอยู่ว่าการเชิญชวนให้เลิกภักดีต่อรัฐบาล และหันมาภักดีกับการปฏิวัตินกหวีดนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะในขณะนี้สิ่งที่เผชิญหน้ากับระบอบการปฏิวัตินกหวีดหรือระบอบสุเทพนั้นคือการเลือกตั้งที่อยู่ในมือขององค์กรอิสระและระบอบรัฐธรรมนูญ?(หรือนี่คือเหตุผลจริงของการพยายามจูงใจให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญตัดสินไปในแนวทางที่พวกเขาต้องการไม่ว่าการตีความและตัดสินนั้นจะละเมิดเขตอำนาจขององค์กรตัวเองมากขึ้นทุกวันๆ?)

พูดง่ายๆก็คือเรากำลังเผชิญหน้ากันระหว่าง "มวลมหาประชาชน" ที่เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางที่ตนต้องการที่ถูกต้องหนึ่งเดียว กับ "ประชาชน" ที่เข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อกำหนดชีวิตของพวกเขาท่ามกลางความหลากหลายทางความคิดที่สามารถสะท้อนออกมาในระดับหนึ่งจากสัดส่วนและกระบวนการเข้าสู่อำนาจตามรัฐธรรมนูญ?


จริงหรือที่การปิดกรุงเทพฯนั้นจะสามารถส่งสารว่าจะเกิดปรากฏการณ์"รัฐล้มเหลว" ในความหมายของ "รัฐบาลล้มเหลว" ทั้งที่สิ่งที่อาจจะเปิดขึ้นก็คือกระบวนการ "รัฐธรรมนูญและระบอบรัฐธรรมนูญล้มเหลว" หรือเปล่า? และถ้าใช่ก็หมายถึง "ระบอบองค์กรอิสระล้มเหลว" มิใช่หรือ? 

ประการต่อมา การปิดกรุงเทพฯแล้วถามว่าประชาจะภักดีต่อระบอบสุเทพ หรือรัฐบาล นั้นอาจเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก หากนึกถึงพื้นที่เล็กๆ สักแห่งในระดับตำบล ทั้งในแง่ตำบลชนบท หรือ ตำบลในเมือง ที่มีผู้มีอิทธิพลส่งลูกสมุนลงไปถามหาค่าคุ้มครองจากประชาชนและผู้ประกอบการที่ใช้ชีวิตตามปกติ ที่ฝ่ายผู้มีอิทธิพลมองว่าเป็นการภักดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่ภักดีต่อฝ่ายของตน ดังนั้น การแสดงออกถึงความภักดีที่มีต่อฝ่ายของตนนั้นย่อมจะต้องถูกกระทำขึ้นง่ายๆ เช่นไปทำให้ชีวิตปกตินั้นเกิดขึ้นไม่ได้ 

ในมิติที่สอง การยึดกรุงเทพฯนั้นถูกนำเสนอในเชิงพื้นที่อย่างน่าสนใจ ว่าพื้นที่ที่ต้องการปิด (แต่ปิดแบบไม่ปิดระบบขนส่งมวลชน และเปิดไว้หนึ่งเลนเพื่อการขนส่งและรองรับเหตุฉุกเฉิน นั้นเป็นพื้นที่ที่ดูเหมือนจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯในปัจจุบัน และเป็นการทำให้พื้นที่เศรษฐกิจเหล่านี้เป็นพื้นที่ที่ซ้อนทับกับพื้นที่ทางการเมือง)

เรื่องนี้เป็นวิวัฒนาการที่น่าสนใจว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองจากในอดีตนั้นมุ่งเน้นที่ชุมนุมหน้าหน่วยงานหรือในพื้นที่อย่างถนนราชดำเนินเป็นหลักมาสู่การตั้งประจันหน้าทางยุทธศาสตร์ใกล้สถานที่ราชการอย่างเป็นระบบที่ยืดเยื้อยาวนาน เช่นแยกมัฆวานฯ และต่อมามุ่งสู่พื้นที่ทางเศรษฐกิจ 

ในทางหนึ่งอาจมีการสร้างแรงบันดาลใจจากการยึดครองถนนเศรษฐกิจอย่างเช่นพื้นที่ถนนวอลล์ในนิวยอร์กเป็นต้นเพื่อเป็นการต่อสู้ทางสัญลักษณ์ต่อระบอบทุนนิยมโลกที่เลวร้าย

นำมาสู่การตั้งคำถามที่ว่าในกรณีของการปิดกรุงเทพฯ 20 จุด นั่นคือ แยกอุรุพงศ์ แยกเจริญผล หัวลำโพง ถนนบางรัก ถนนสีลม สามย่าน แยกพญาไท ราชเทวี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สยามสแควร์ ห้าแยกลาดพร้าว ดินแดง ประตูน้ำ ราชประสงค์ สวนลุม คลองเตย สี่แยกอโศก ราชดำเนิน แยกเพชรบุรี และเยาวราช นั้นการปิดพื้นที่เหล่านี้ผู้ชุมนุมต้องการ "แสดงสัญลักษณ์" อะไรในทางการยึดครองพื้นที่? 

ยี่สิบจุดนี้คือพื้นที่ของ "ทุนนิยมสามานย์" ที่ควรจะต้องถูกต่อต้านหรือปฏิรูปด้วยหรือไม่? หรือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการ "ระเบิดตัวเอง" หรือทำร้ายตัวเองของบรรดาผู้ทรงมูลค่าทั้งหลาย ต่อความเลวร้ายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในวันนี้ 

คำถามที่น่าถามต่อก็คือ หากเราสนใจว่าพื้นที่ 20 จุดนี้คือจุดที่มูลค่าสูงสุดของกรุงเทพฯ และจะทำให้กรุงเทพฯนั้นเป็นอัมพาต และเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง เราก็คงจะต้องเจาะลึกกันต่อไปล่ะครับว่าพื้นที่ 20 จุดนี้มีมูลค่ามาในวันนี้ได้อย่างไร? ใครเป็นเจ้าของ? ใครร่วมผลิตมูลค่าเหล่านั้น? หรือว่าความเลวร้ายทางการเมืองที่สมควรจะถูกปฏิรูปในวันนี้มันเพาะสร้างพื้นที่แห่งความรุ่งเรืองทั้ง 20 จุดนี้ขึ้นมาได้อย่างไร? 

ในแง่นี้ หนึ่งในแนวคิดที่กำลังเป็นที่ฮือฮา ในระดับโลกก็คือเรื่องของสิทธิ (ที่จะมีชีวิตใน) เมือง (Right to the City) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีความหมายที่กว้างขวางมาก และถือเป็นกระแสของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในนครที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่เชื่อมโยงกับเรื่องของพื้นที่ เรื่องเมือง และเรื่อง "ชีวิตประจำวัน" (ต้นธารของความคิดมาจากนักปรัชญาและสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Henri Lefebvre (1901-1991)


แนวคิดสำคัญของเลอเฟฟที่เป็นที่สนใจในวันนี้ (ต่างจากยุคแรกที่ถูกนำเข้ามาในโลกวิชาการภาษาอังกฤษในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70) ก็คือการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์พื้นที่ โดยมองถึงพื้นที่ที่เราใช้ชีวิตหรือพื้นที่ที่ "มีชีวิต" (lived space) ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจอย่างซับซ้อน โดยเขาสนใจปฏิบัติการทางอำนาจที่ปรากฏและเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ทางกายภาพ กับพื้นที่ทางจินตนาการ โดยพื้นที่ที่เราใช้และมีชีวิตนั้นเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกสร้างอย่างสำเร็จแล้วโดยรัฐ หรือเป็นเพียงพื้นที่ในจินตนาการของเรา แต่เป็นปฏิบัติการของการต่อสู้ต่อรองในชีวิตประจำวันของการสร้างสรรค์ชีวิตบนพื้นที่จริงของผู้คนที่แตกต่างหลากหลายที่ใช้ชีวิตจริงในพื้นที่นั้นโดยเฉพาะที่เห็นอย่างเด่นชัดก็คือพื้นที่เมืองซึ่งความเป็นเมืองนั้นกำลังจะกลายเป็นตัวแทนหลักของอารยธรรมใหม่ของโลกในยุคนี้ (ยุคแห่งเมือง)

เลอเฟฟมองว่า สิทธิที่จะอยู่ในเมืองนั้นเป็นของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนที่ลงทะเบียนเป็นพลเมืองในพื้นที่นั้น หรือในระดับชาติ แต่หมายถึงคนที่มีชีวิตในเมืองนั้น (citadins) ที่จะต้องมีโอกาสใช้ชีวิตหรือ "ผลิตพื้นที่" ในเมืองขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสิทธิตามกฎหมายในการออกนโยบาย แต่เป็นสิทธิของคนทุกคนที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และ "ยึดครอง" พื้นที่ตามความต้องการของคนที่มีชีวิตในเมืองนั้นโดยไม่ปล่อยให้พื้นที่นั้นถูกครอบครองโดยมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเดียว(อาทิการต้องมีพื้นที่ทางศิลปะ พื้นที่ทำมาหากิน หรือพื้นที่พักอาศัยของคนรายได้น้อย เป็นต้น)

นอกเหนือจากแนวคิดของเลอเฟฟแล้ว กระบวนการยึดครองพื้นที่เมืองผ่านการสร้างถนนคนเดินในอดีตนั้นก็มีความมุ่งหวังที่จะนำกลับมาซึ่งพื้นที่ในทางจินตนาการให้เป็นจริงชั่วคราวถึงการมี"พื้นที่สาธารณะ"ที่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันให้ได้มาซึ่ง "เหตุผลจากการติดต่อสื่อสาร" (communicative rationality) และสร้างความเชื่อมโยงกันของอัตวิสัย (intersubjectivity) มากกว่าการยอมรับอำนาจในแบบที่เชื่อว่าเหตุผลของฝ่ายตนนั้นถูกอยู่ฝ่ายเดียว หรือเหตุผลของฝ่ายตนนั้นเป็นเครื่องมือที่จะต้องบรรลุเป้าหมายที่ตนมุ่งหวังให้ได้ ซึ่งแนวคิดแบบที่เน้นความถูกต้องหนึ่งเดียวโดยไม่ฟังเหตุผลของคนอื่นๆ ด้วยนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่จัดว่าเป็นการสร้างอาณานิคมทางความคิดแบบหนึ่ง ซึ่งรูปแบบของการปิดถนนให้คนเดินนั้นเดิมมุ่งหวังที่จะก้าวพ้นจากสิ่งนี้มิใช่หรือ?

หรือกล่าวง่ายๆการปลดปล่อยผู้คนไปสู่เสรีภาพและความจริงที่ร่วมกันสร้างให้จริงตามความหมายของเหตุผลจากการติดต่อสื่อสารนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจว่าการครอบงำนั้นเกิดจากการพูดฝ่ายเดียวและการ"ปิดถนนเพื่อเปิดพื้นที่" นั้น ก็เพื่อทำให้คนได้พูดและฟังกันด้วย ซึ่งต่างจากการ "ปิดถนนเพื่อปิดกั้นพื้นที่" ซึ่งเปิดให้พูดอยู่ฝ่ายเดียวนั่นแหละครับ 


ในมิติที่สาม ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่เรียกว่า "ใบอนุญาตปิดเมือง" หรืออาจเรียกมันว่า "คำอธิบายที่ปลอบประโลมใจอันเป็นที่สุดในการเคลื่อนไหว" ก็คือ ความเชื่อที่ว่าการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นนั้นอาจจะทำให้เดือดร้อนไปบ้าง แต่ถ้าไม่เสียหายเท่ากับ (หรือถ้าจะเสียหายเหมือนกับหรือมากกว่า) อะไรๆ ที่ตนเชื่อว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อนนั้นโดย "คนเสื้อแดง" สิ่งนั้นก็ย่อมจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ 

หรือถ้าสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่มีความรุนแรงเท่าที่คนเสื้อแดงเป็นผู้ทำมาก่อน สิ่งที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ก็ถือเป็นเรื่องของความสงบ สันติ และอหิงสา เสียเช่นนั้น ทั้งที่ในเรื่องของการกล่าวหาเสื้อแดงนั้นยังไม่มีผลถึงที่สุดในการสืบหาความจริง และในหลายเรื่องสิ่งที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการกระทำของเสื้อแดงก็ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี 

หากการเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นเรื่องของการมีอคติในใจที่มีต่อคนเสื้อแดงมากกว่าการพยายามค้นหาความจริงของความสูญเสียจากครั้งที่ผ่านมาหรือข้ามพ้นตรรกะของความรุนแรงจากการเคลื่อนไหวในหลายๆครั้งในอดีต ก็เชื่อได้ว่าการปิดกรุงเทพฯครั้งนี้ย่อมเป็นการยืนยันอคติทางการเมืองที่ยังมีต่อเนื่องมาโดยตลอดของคนกลุ่มที่อ้างถึงความถูกต้องหนึ่งเดียวของความจริงที่ไม่ต้องผ่านการพิสูจน์ใดๆนอกจากหมุนวนหล่อเลี้ยงกันเองอยู่เช่นนั้นท่ามกลางการก่อร่างสร้างพื้นที่ในจินตนาการที่ต้องการยืนยันให้เป็นจริงด้วยการจ่ายราคามหาศาลที่ไม่มีหลักประกันในขั้นสุดท้ายแต่อย่างใดว่าความเสียหายนั้นจะย้อนกลับมาถึงพวกเขาในคุณภาพและปริมาณขนาดไหน

ท่ามกลาง"สงครามการผลิตพื้นที่" ที่ยังไม่จบลงง่ายๆ ในวันที่ 13 มกราคม 2557 นี้ครับผม

(ที่มา:มติชนรายวัน 7 มกราคม 2557)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline


รอชัดเจนปิดโรงเรียนทั่วกรุงเทพหนีม็อบ

รอชัดเจน 'ปิดโรงเรียน' ทั่วกรุง หนีม็อบชัตดาวน์

วันพุธที่ 8 มกราคม 2557, 09:27 น.

ที่ประชุมคณะบริหารกรุงเทพมหานคร เห็นพ้องสั่งปิดโรงเรียนทุกเขตทั่วกรุงเทพฯ 146 แห่ง รับม็อบ กปปส.ชัตดาวน์กรุงเทพฯ "รอง ปลัด กทม." เผยเตรียมสรุปผลกับผู้ว่าฯ กทม. เช้านี้...

จากประกาศ "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ" ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. โดยผู้ชุมนุมเดินขบวนใน 7 เขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 13 ม.ค.นั้น ส่งผลกระทบในต่อหลายภาคส่วน หนึ่งในนั้นคือ โรงเรียนสถานศึกษาที่อยู่ในบริเวณการชุมนุม ทั้งนี้ คณะบริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณากรณีผลกระทบต่อสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ทาง กปปส. แจ้งว่าจะเคลื่อนผู้ชุมนุมเดินขบวนปิดกรุงเทพฯ 

นายอรรถพร สุวัธนเดชา รองปลัด กทม. กล่าวกับไทยรัฐออนไลน์ว่า คณะบริหาร กทม. ได้พิจารณาจากหลายความคิดเห็นในที่ประชุม ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เห็นพ้องกันว่าควรให้งดการเรียนการสอนสถานศึกษาทุกแห่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ กรุงเทพฯ ส่วนกลาง 41 แห่ง กรุงเทพฯ ใต้ 59 แห่ง และกรุงเทพฯ เหนือ 46 แห่ง รวม 146 แห่ง ในวันที่ 13 ม.ค. 2557 นี้เพียงวันเดียว แต่ผู้อำนวยการแต่ละโรงเรียนสามารถปิดการเรียนการสอนเพิ่มได้ หากสถานการณ์ยังไม่ปกติตามอำนาจ

"เหตุที่คณะบริหารของ กทม. ให้ปิดโรงเรียนนั้น เนื่องจากเห็นถึงผลกระทบในด้านการรับ-ส่งนักเรียน ที่อาจเป็นปัญหาได้ หากไม่สามารถใช้ถนนสัญจรได้ ทั้งนี้ ในด้านของการใช้ความรุนแรงนั้น ยังต้องคอยวิเคราะห์สถานการณ์อย่างต่อเนื่อง แต่เบื้องต้นคาดว่าไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมมีวัตถุประสงค์ที่จะชัตดาวน์กรุงเทพฯ เพื่อประท้วงเท่านั้น ไม่มีเจตนาสร้างความวุ่นวาย และไม่มีการพกอาวุธ" รองปลัด กทม. กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายอรรถพร กล่าวอีกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. จะเรียกผู้อำนวยการเขตพื้นที่ในกรุงเทพฯ พิจารณาสรุปผลในวันนี้ เวลา 08.00 น. ก่อนออกแถลงข่าวในช่วงสายของวันพรุ่งนี้.

โดย ไทยรัฐออนไลน์

ทีดีอาร์ไอ แนะเลิกทำนโยบายประชานิยมไร้ความรับผิดชอบ


เขียนวันที  ท่
วันอังคาร ที่ 07 มกราคม 2557 เวลา 12:07 น.ทีดีอาร์ไอ แนะวิธีอยู่กับประชานิยมไม่ให้วิกฤติ ชี้ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นสวัสดิการสังคม อย่าเหมารวม เสนอ หากมีเลือกตั้ง 2 ก.พ.นี้ พรรคการเมืองต้องแถลงต้นทุนนโยบายที่ใช้หาเสียง-ที่มารายได้ให้ชัด
007001571
วันที่ 7 มกราคม 2557 ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประชานิยมกับเรื่องการกระจายรายได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันมาก โดยส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยมก็เพื่อช่วยคนจนช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นกับประเทศที่กำลังเป็นประชาธิปไตย ที่ประชาธิปไตยจะมาพร้อมกับแรงกดดันให้เกิดการกระจายรายได้
"นโยบายที่เราเรียกกันว่าประชานิยม ไม่ว่าจะเป็น จำนำข้าว, รถคันแรก, 30 บาทรักษาทุกโรค, เช็คช่วยชาติ หรือการอุดหนุนราคาพลังงาน ความจริงแล้วไม่ได้เหมือนกันไปทั้งหมด แต่ละนโยบายมีความแตกต่างกัน อาทิ 30 บาทรักษาทุกโรค จะเห็นว่าเป็นนโยบายที่มีความยั่งยืนทางการคลัง รัฐบาลเตรียมเงินไว้ว่าจะต้องใช้ในแต่ละปีต่อหัวคนไข้เท่าไหร่ ไม่ทำลายกลไกตลาด เพราะเป็นการไปสู่ตลาดที่ช่วยคนจนและสร้างความสามารถทำให้คนมีสุขภาพดี แต่นโยบายอย่าง การอุดหนุนราคาพลังงานนั้นไม่ยั่งยืน เพราะการตั้งกองทุนพลังงาน เพื่อมาอุดหนุน แต่หากราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นกองทุนพลังงานก็จะเจ๊ง" ดร.สมเกียรติ กล่าว และว่า ฉะนั้น นโยบายเช่นนี้จึงอยู่ได้ไม่นานไม่ยั่งยืน ทำลายกลไกตลาดและไม่สร้างความสามารถให้ภาคอุตสาหกรรม ให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัด เพราะราคาพลังงานบางอย่างมันถูกเกินจริง ส่วนนโยบายจำนำข้าว รถคันแรก เช็คช่วยชาติ ก็ล้วนเป็นนโยบายที่ไม่ยั่งยืนเช่นกัน นโยบายที่ถูกเรียกว่าประชานิยมส่วนใหญ่จึงไม่ได้ช่วยคนจนอย่างแท้จริง
0147812
อย่างไรก็ตาม นโยบายดีๆ ก็ยังมีอยู่ เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค ดร.สมเกียรติ มองว่า ในทางวิชาการจะเรียกว่าเป็น นโยบายสวัสดิการสังคม มากกว่าจะเรียกว่าเป็นประชานิยม จึงไม่ควรเหมาว่านโยบายประชานิยมทุกอย่างแย่ไปหมด จึงควรแบ่งว่า นโยบายประชานิยมที่ดีก็มี ส่วนนโยบายประชานิยมที่สร้างปัญหา เป็นประชานิยมที่แย่จริงๆ ขอเรียกว่า เป็น นโยบายไร้ความรับผิดชอบ ประชานิยมที่ดีก็ควรคงไว้ อะไรไม่ดีก็ควรทบทวนให้เลิก และอย่าไปดูว่าเป็นนโยบายที่เริ่มจากรัฐบาลไหนแล้วจะต้องดีหรือแย่ทุกนโยบาย เพราะจะเห็นว่าทุกรัฐบาลมีทั้งนโยบายที่ดีและนโยบายที่ไม่ดี
"ประชานิยมไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย ยกตัวอย่างประสบการณ์ของประเทศในอเมริกาใต้ ซึ่งมีความแตกต่างทางรายได้สูงมาก พอเริ่มเป็นประชาธิปไตยก็เกิดปัญหา เกิดเป็นวัฏจักรประชานิยม ที่พอเริ่มใช้แล้วจะมีลักษณะคล้าย 'ยาสเตอรอยด์' เหมือนยาเสพติดที่เลิกได้ยาก คือ เมื่อใช้นโยบายประชานิยมไปนานๆ เกิดการใช้เงินไม่ระมัดระวังก็จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในที่สุดก็ต้องรัดเข็มขัด เมื่อรัดเข็มขัดคนก็เดือดร้อน สุดท้ายผู้นำประชานิยมก็กลับขึ้นมาอีกเมื่อเศรษฐกิจฟื้น มาหาเสียงว่าจะมีนโยบายลดแลกแจกแถมให้ประชาชนมีความสุข แล้วก็กลับไปสู่วัฏจักรประชานิยมอีก"
ดร.สมเกียรติ เสนอแนะทางออกนโยบายประชานิยมระยะกลาง-ระยะยาว โดยระบุว่า
1.ต้องลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการให้สวัสดิการสังคมที่ดี และการศึกษาที่มีคุณภาพที่จะทำให้คนไม่ต้องรอพึ่งรัฐบาลอยู่ร่ำไป
2.สร้างวินัยทางการคลัง จำกัดการขาดดุลของรัฐ โดยออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 167
3.ควรมีการตั้งสำนักงบประมาณของรัฐสภา ขึ้นมาสนับสนุนรัฐสภาในการพิจารณางบประมาณและให้ข้อมูลแก่สาธารณะ
01284912
สำหรับข้อเสนอแนะเฉพาะหน้าหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ ดร.สมเกียรติ เรียกร้องให้ พรรคการเมืองต้องแถลงต้นทุนของนโยบายที่ใช้หาเสียง และแหล่งที่มาของรายได้ด้วยว่า นโยบายที่ใช้หาเสียงกันนั้นใช้เงินเท่าไหร่จะเอารายได้จากที่ไหน ไปทำให้นโยบายนั้นเกิดขึ้นได้จริง อย่าให้เหมือนกับนโยบายจำนำข้าวที่จนบัดนี้ยังไม่รู้ว่าขาดทุนหรือกำไรเท่าไหร่ ทั้งนี้ นักวิชาการควรช่วยกันตรวจสอบต้นทุนของนโยบายพรรคการเมืองใหญ่ที่ใช้หาเสียง