PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เบื้องหลัง นกแสก คือ โล้นซ่า

เบื้องหลัง นกแสก คือ โล้นซ่า โดย เปลว สีเงิน
• หมายเหตุ ประเด็นที่อยากให้ 5 กกต. อ่าน คือ
นปช. ใช้อิทธิพลอำนาจรัฐ ข่มขู่บังคับชาวบ้านในชนบทอย่างไร
แล้วอย่างนี้ กกต. จะจัดการเลือกตั้งให้สุจริต เที่ยงธรรม อันเป็นหน้าที่ของกกต.
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 ได้อย่างไร
เมื่อไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรมได้
การจัดการเลือกตั้ง 20 กค. 2557 ก็จะกลายเป็นเครื่องมือของคนชั่วไป
• งวดนี้ "หวยออก" วันที่ ๒ พอดีมีคนนำที่ @เสธ น้ำเงิน เขียนรายงานเหตุการณ์ที่อุตรดิตถ์ เมือง "พระยาพิชัยดาบหัก" มาแปะให้อ่าน
ดูข่าวตามสื่อแดงไปอย่าง แต่ตาม "เหตุที่เกิด" ในพื้นที่จริง มันไปอีกอย่าง...?
แบบนี้...ต้องขอลอกบางท่อนมาให้อ่านกันเลย เพราะเหมือนยามถนนมืด
แล้วบังเอิญ "ฟ้าแลบ" แค่แปล๊บเดียว นั่นก็พอเพียงสำหรับคน "หูไว-ตาไว" มองเห็นเส้นปลายทางได้ใสแจ๋ว ต้องอ่าน...และต้องอ่าน
!
• บางท่อนที่ @ เสธ น้ำเงิน รายงานให้พึงวินิจฉัย ดังนี้....
พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญ ให้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคง
ท่านได้รับความเคารพนับถือจากคนอุตรดิตถ์และคนไทยจำนวนมาก เป็นที่กล่าวขานในความศักดิ์สิทธิ์ว่า ดาบของท่านยังคงปัดเป่าทุกข์ภัยให้ลูกหลานตลอดมาและแล้วบัดนี้ อิทธิปาฏิหาริย์ของพระยาพิชัยดาบหัก ก็ปรากฏให้ประจักษ์ชัดต่อสายตาอีกครั้ง
เมื่อแก๊งเนรคุณป่วนชาติ (นปช.) ที่มีเป้าหมายโค่นล้มสถาบันเบื้องสูง และเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ภายใต้การแอบอ้างชื่อว่า “ประชาธิปไตยแบบเท่าเทียม” ไปจัดม็อบเสื้อแดง ที่สนามกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ หมอนไม้ ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
ก่อนการชุมนุม ได้มีการสั่งการอำนาจรัฐ ให้ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. ให้ขนประชาชนมาฟังแกนนำ นปช.ปราศรัย หมิ่นและให้ร้ายสถาบันเบื้องสูง
คุยโวว่าครั้งนี้เป็นการชุมนุมใหญ่ของ นปช.ภาคเหนือ เป้าหมายคือ ๑๕,๐๐๐ คน โดยมีรองนายก อบจ.อุตรดิตถ์ และนาย ป.ประธาน นปช.อุตรดิตถ์ เป็นผู้ระดมมวลชน
แต่ปรากฏว่า ทำอย่างไรประชาชนก็ไม่ยอมมา เพราะกลัวว่าพระยาพิชัย จะลงโทษที่ไปสนับสนุนขบวนการล้มเจ้า จนแกนนำระดมมวลชนปั่นป่วนไปหมด
ต้องไปขอระดมคนเสื้อแดงจากจังหวัดใกล้เคียง คือ จ.แพร่ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก และ จ.นครสวรรค์ ให้เดินทางมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย
ทันทีที่แก๊งเนรคุณป่วนชาติ (นปช.) ประกาศว่าจะมาชุมนุมที่อุตรดิตถ์ ช่วงดึกๆ ทุกคืน ก็เกิดอาเพศพายุอย่างหนัก พายุพัดถล่มทุกอำเภอ ทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์หลายรอบ โดยเฉพาะ ๓ อำเภอ ที่โดนอ่วมหนัก คือ “พิชัย” ตรอน และเมือง อุตรดิตถ์ จนต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มทับสายไฟฟ้าขาด
ที่แปลกก็คือ ที่วัดหนองกาย ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ศาลาการเปรียญของวัด อายุเกือบ ๑๕๐ ปี ที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลังได้พังคลืนลง เพราะถูกกระแสลมพัดเข้าใส่จนไม่เหลือซากของศาลา ท่ามกลางความงุนงงของพระ และประชาชนในพื้นที่ ชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างพากันมายืนมุงดูพร้อมวิพากษ์วิจารณ์ ว่าจะต้องเกิดอาเพศหนัก เจ็บ ตาย จำนวนมาก กับคนเสื้อแดงเร็วๆ นี้แน่ๆ
และรู้สึกเสียดายโบสถ์ เพราะเป็นศาลาวัดที่เก่าแก่ คู่กับหมู่บ้านมาแต่ดั้งเดิม และยังไม่รู้จะดำเนินการอย่างไรต่อ เพื่อชาวบ้านมีที่ทำพิธีทางศาสนาต่อไป
พายุพิโรธยังไม่หยุดเท่านั้น เหตุการณ์ไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้นซ้ำอีก
คืนก่อนการชุมนุม ๒๙ เม.ย. เวลา ๒๓.๐๐ น. ได้เกิดอาเพศ พายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกรุนแรงมากที่สุดในรอบหลายสิบปีอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเกือบทุกอำเภอของอุตรดิตถ์
ส่งผลทำให้ต้นไม้ใหญ่หักโค่นระเนนระนาด บ้านเรือนชาวบ้านพังกระจุยเป็นจำนวนมาก บางบ้านถูกต้นไม้ใหญ่หักโค่นลงมาทับกลางหลังคาบ้าน (เหมือนดาบของพระยาพิชัยที่หักเป๊ะ) กระเบื้องแตกละเอียดตกลงมาใส่หัวของชาวบ้านที่นอนหลับอยู่บนที่นอนได้รับบาดเจ็บ ส่งไปรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลกันชุลมุน
อาเพศพายุลมแรงพิโรธโกรธายังพัดกระหน่ำต่อไปไม่ยอมหยุดหย่อน พัดถล่มในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ดึกๆทุกคืนจนราบเป็นหน้ากลอง จนถึงเช้ามืดวันที่ ๓๐ เมษา โดยเฉพาะ
ที่บริเวณประตูทางเข้าสนามกีฬา ที่เป็นที่จัดชุมนุมขบวนการล้มเจ้า คอมมิวนิสต์แดง นปช.
ส่วนพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ชาวบ้านบอกว่าตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเจอพายุรุนแรงที่สุด และไม่เคยเกิดในพื้นที่มาก่อนแบบนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถูกต้นไม้ล้มทับ
ซ้ำร้ายเป็นลาง คือ ต้นไม้ขนาดใหญ่ ต้นสักอายุ ๓๐๐ ปี ราว พ.ศ.๒๒๕๗ (พอๆ กับช่วงที่พระยาพิชัยอายุเป็นวัยฉกรรจ์รุ่นหนุ่มพอดี) ที่ปลูกตามสองข้างถนนสายหลักอายุกว่า ๓๐๐ ปี กว่า ๒๐ ต้น ล้มชนิดถอนรากถอนโคนเป็นแนว ทับสายไฟฟ้า
ส่วนบริเวณกลางสนามกีฬา ซึ่งมีการตั้งเวทีปราศรัยแดง นปช.ขนาดใหญ่ และด้านข้างเวที กางเต็นท์ไว้จำนวน ๑๕ หลัง ถูกลมพายุพัดถล่มจนเสียหายพังยับเยิน พัดโต๊ะ-เก้าอี้-เต็นท์สนาม และเวทีกลางที่ได้มีการเตรียมไว้ ล้มกระจัดกระจาย เสาไฟฟ้าบริเวณทางเข้าชุมนุม ที่หักโค่น “กีดขวางทางเข้า-ออก”...
เหมือนพระยาพิชัยท่านไม่ต้อนรับ และขับไล่ผู้มาจัดงาน ท่านจึงกระโดดเตะด้วยความโกรธ จนต้นไม้ เสาไฟฟ้า ล้มพับ โค่นคาเท้าท่าน เหมือนในอดีตกาล
จนราวช่วงสายถึงเที่ยง คนเสื้อแดงที่รู้ข่าว บอกลือต่อๆ กันไปเริ่มเหวอหนัก กลัวกันมาก วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา ว่าถ้าไปร่วมกับขบวนการล้มเจ้าเสื้อแดง ต้องตาย และครอบครัวฉิบหายวายป่วงแน่ๆ จึงมีการปฏิเสธกับแกนนำว่าจะยกเลิกไปแล้ว ทำเอาแกนนำสายจัดม็อบปั่นป่วนอย่างหนัก จึงสั่งเกณฑ์ระดมคนลาวที่อยู่ในพื้นที่ (อุตรดิตถ์ ติดชายแดนลาว ที่ อ.บ้านโคก) มาร่วมให้ได้มากที่สุด
• ส่วนถ้าเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ขู่ว่าจะไม่จ่ายเงินเดือนให้
ส่วนผู้นำชุมชน ให้ไปข่มขู่ประชาชนพื้นที่ตนเองว่า
คนที่ไม่ไปร่วมชุมนุมกับเสื้อแดงล้มเจ้า จะ
ถูกยกเลิกบัตร ๓๐ บาทรักษาทุกโรค
ยกเลิกเบี้ยยังชีพคนแก่
ไม่ให้กู้กองทุนหมู่บ้าน
ไม่ให้พักหนี้ ธ.ก.ส.
ไม่จ่ายเงินค่าจำนำข้าวทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ค้างไว้มากกว่าหมื่นล้านบาท
โรงสีจะไม่รับซื้อข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ ที่ตอนนี้เหลือราคาเพียง๔,๐๐๐ บาท/ตัน เท่านั้น
• ต่อมาช่วงบ่าย ทำให้ชาวบ้านบางส่วนเกรงกลัวคำขู่ ยินยอมรับเงินค่าจ้าง ๑๕๐-๒๐๐ บาท/คน เดินทางจากจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือตอนล่าง ทยอยเดินทางมาที่สนามกีฬา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแม่ค้าพ่อค้าที่มาตั้งเต็นท์ขายของที่ระลึกของคนเสื้อแดง ส่วนใหญ่คือเสื้อยืด เสื้อแจ็กเกตแขนยาว ผ้าพันคอ และผ้าคาดหัว ที่มีรูปของปูเน่า และชายดูไบ
นี่อาจเป็นคำเฉลย ว่าทำไมพายุอาเพศถึงถล่มอุตรดิตถ์ เพราะ
ภาพปูเน่าไปที่ไหน ที่นั่นเป็นโดนถล่มยับเยิน
ขนาดไปโรงเรียนชายชุดดำ ไม่กี่วันตกเครื่องบินตาย ๒ คนรวด
ไปเยี่ยม รมต.พีรพันธุ์ ป่วย..ต่อมาไม่กี่ชั่วโมง ตายทันทีเลย..คนพาความซวยแท้ๆการชุมนุมของเสื้อแดงที่สนามกีฬา ช่วงเย็นถึงค่ำ แปลกมากคือ ลมพายุกลับเปลี่ยนเวลาซะงั้น รีบมาแต่หัวค่ำ ที่ชุมนุมจึงเต็มไปด้วยข่าวลือเรื่องอาเพศพระยาพิชัยมากมาย เสื้อแดงที่มาจากจังหวัดอื่น ต่าง “จิตตก” สีหน้าอมทุกข์ วิตกจริต หวาดหวั่นภัยร้ายที่มีมาถึงตนเองและครอบครัว จนคนเสื้อแดงหลายคนทนความกลัวไม่ไหว ขอกลับออกไปก่อน
แต่การ์ด นปช. ที่ปิดทางเข้า-ออกไว้แน่นหนา ไม่ยอมให้ออกไปจากสนามกีฬา ขู่ว่าใครรับเงินไปแล้ว ขืนหนีกลับก่อนเวลา จะถูกอุ้มไปยิงทิ้งในป่าทันที
ได้เวลาราว ๑๗.๐๐ น. มีมวลชนที่ถูกบังคับมา และจ้างมา ถูกขังอยู่ในสนามกีฬา ประมาณไม่เกิน ๑,๐๐๐ คน แต่แกนนำอับอายมาก กลัวว่าจะโดนเช็กบิลจากเจ้าของท่อน้ำเลี้ยง เลยแถออกข่าวเสื้อแดงมา ๑๒,๐๐๐ คน..(ฮา)..ช่วยลือบอกไปถึงชายดูไบว่าขาด ๑๒,๐๐๐ คน ไปแค่ ๑๑,๐๐๐ คนเอง
ไอ้ที่แดงๆ ที่ทีวีเอเชียอาบแดดถ่ายน่ะ มันคือ “เก้าอี้เปล่า” ที่ไม่มีคนนั่ง เพราะที่เหลือมันอมแบ่งเงิน รับเงินมา ๑,๐๐๐ บาท/หัว จำนวน ๑๕,๐๐๐ ราย แต่จ่ายจริง ๑๕๐-๒๐๐ บาท และจ่ายเพียง ๑,๐๐๐ กว่าคนเท่านั้น เงินที่เหลือ แกนนำอมกันแหลกลาญ เข้ากระเป๋าไปแล้ว..ดังนั้นเจ้าของท่อน้ำเลี้ยงไป “สอย” เอาเงินคืนได้ที่แกนนำ นปช.ได้เลย
เสื้อแดงที่อยู่ในสนามจึงตกอยู่ในสภาพเหมือนถูกขังคุก คือ เข้าไปได้ แต่ออกไม่ได้ ถ้าออกจะต้องยอมสละถึงชีวิต..ทุกคนจึงกล้ำกลืนฝืนทน ท่ามกลางพายุพิโรธ ลมแรงพัดกระโชกล้อมรอบที่ชุมนุมเหมือนตกอยู่ในนรกก็ไม่ปาน เสียงลมพายุดึงหึ่งๆ อื้ออึงไปทั่วบริเวณ เหมือนเสียงคำรามจากลมหายใจโกรธของพระยาพิชัย
จากนั้นบรรดาแกนนำ คากคกตู่, นกแสก ฯลฯ และอีกหลายคน ต่างผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวที เนื้อหาพล่าม โกหก ให้ร้ายเบื้องสูง, การปกป้องปูเน่า โดยคนเสื้อแดงต้องเดินออกหน้าไปสละชีพ ส่วนแกนนำจะหลบอยู่ในที่ปลอดภัยข้างหลัง และเปลี่ยนแผนการชุมนุมใหญ่ พาเสื้อแดงไปตาย ที่ถนนอักษะ"
ปรับเลื่อนเป็นวันที่ ๕ พฤษภาคม “นั่นเพราะกำนันจะรวมตัวประชาชนทั้งประเทศใส่เสื้อสีเหลืองในวันนั้น เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ถวายพระพรชัยมงคล และตั้งสัตยาธิษฐาน เนื่องในวันฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม
ในขณะที่แกนนำกำลังปราศรัย โจมตีหมิ่นเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินอยู่นั้น สิ่งเลวร้ายลางความตายของคนเสื้อแดงก็เกิดขึ้น เมื่อพายุโกรธกระโชกแรงขึ้นอย่างผิดปกติ เสียงดังปานสายฟ้าฟาด ดังสนั่นหวั่นไหว เปรี้ยงๆๆ โครม...ครืน
ลมพัดตัวแกนนำปราศรัยบนเวทีจนยืนโยกทรงตัวแทบไม่อยู่ ทรงผมหลุดลุ่ย โดยเฉพาะนกแสก ถึงกับเห็นหัวล้านหมดทั้งหัวเหมือนไม่มีผมเลยทีเดียว..และถ้าดูดีๆ คล้ายคนไม่มีเงาหัว และเหมือนผีมากๆ..บรื๋อ!!
และแล้วสิ่งที่พระยาพิชัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ เตือนมาก่อนหลายวัน แต่ไม่มีเสื้อแดงฟังก็เกิดผล เมื่อมีพายุลูกหนึ่ง พัดจงใจพุ่งเข้าใส่มวลชนเสื้อแดง ลักษณะเป็นมวลใหญ่เหมือนกำปั้นพระยาพิชัย ชกดัง "โครม" เข้ากระแทกใส่โคมไฟในสนามกีฬาจนหล่นแตกกระจาย
ฟาดหัวคนเสื้อแดงจนบาดเจ็บกันจำนวนมาก ที่หนักๆ คือ หัวแตกเลือดอาบโชก 1 คน บาดเจ็บเลือดสาด 3 คน และบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ อีกระนาว ร้องโหยหวนกันระงม วิ่งกันกระเจิดกระเจิง หงายเงิบ หน้าเหวอ..น่ากลัว ไม่ไหวแล้วโว้ย!!
@เสธ น้ำเงิน
ที่มา https://www.facebook.com/topsecretthai
• อ้อ...มิน่าล่ะ เห็นภาพนกแสกว่อน fb ถูกพายุกระชากวิกจนความลับเผย
ที่ทำผมทรงออเดรย์ เฮปเบิร์น แอ๊บแบ๊วเหวงมาตลอดนั้น ที่แท้ ก็...
"โล้นซ่า...มหาภัย"!.

ศาลอาญาไม่ถอนประกันตัว หมอระวี,ทศพล ไม่พบยั่วยุ

ศาลอาญา มีคำสั่งยกคำร้องขอถอนประกัน 'น.พ.ระวี' กับ 'ทศพล' 2 แกนนำ กคป. ชี้ ยังไม่มีพฤติการณ์ยั่วยุปลุกปั่น แต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่ม ห้ามปิดล้อมสถานที่ราชการ

ศาลอาญา รัชดา มีคำสั่งยกคำร้องพนักงานสอบสวน สน.บางซื่อ ที่ยื่นขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว น.พ.ระวี มาศฉมาดล และ นายทศพล แก้วทิมา แกนนำกลุ่มกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย หรือ กคป. ซึ่งทั้งสองเป็นจำเลยในคดีที่ร่วมกับพวกรวม 8 คน ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ / ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และบุกรุกในเวลากลางคืน กรณีปิดล้อมกระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2557 ซึ่งภายหลังถูกจับกุม ศาลได้อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไป พร้อมกำหนดหนดเงื่อนไข ห้ามยั่วยุปลุกปั่นให้ประชาชนล่วงละเมิดฎหมายหรือเกิดความวุ่นวาย และห้ามออกนอกประเทศ แต่ทั้งสองกลับนำผู้ชุมนุมไปบุกล้อม กระทรวงพลังงาน อีกครั้งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า น.พ.ระวี และ นายทศพล กับพวก ชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการปฎิรูปพลังงาน โดยขอเข้าไปติดป้ายและธงที่ประตูด้านหน้ากระทรวงพลังงาน โดยมีการเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว และไม่มีผู้ใดมาห้ามปราม การกระทำจึงยังไม่เป็นการยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย ส่วนที่ฝ่ายผู้ร้องอ้างว่ามีการเคลื่อนย้ายแบริเออร์ ทำให้กระจกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเสียหายนั้น เห็นว่าทางผู้เสียหายได้ดำเนินคดีในส่วนนั้นไปแล้ว จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง แต่ศาลเห็นว่ามีความสุ่มเสี่ยงที่ต่อไปอาจทำผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว จึงกำหนดเงื่อนไขเพิ่ม ห้ามไม่ให้กระทำการใดๆ ลักษณะปิดล้อมสถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และห้ามกระทำการใดๆ ให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าไปทำงานของเจ้าหน้าที่


โปรแกรม นปช.เลื่อนจาก5เป็น10พ.ค.

ประธาน นปช. จตุพร พรหมพันธุ์ ประกาศเลื่อนวันปราบกบฎเป็นวันที่ 10 พฤษภา ที่ถนนอักษะ โดยระหว่างนี้จะมีการปราศรัยย่อยตามนี้ (ทีมงาน)
วันที่ 3 พ.ค. มีนบุรี
วันที่ 4 พ.ค. ข้างวัดหลวงพ่อโต บางพลี
วันที่ 6 พ.ค. ท่าน้ำนนท์
วันที่ 7 อ.ปลวกแดง ระยอง


เทพมนตรี ลิมปพยอม:กราบนมัสการพระคุณเจ้า หลวงปู่พุทธอิสระ ขอนิมนต์ให้ท่านลาสิกขา

เรื่อง ขอนิมนต์ให้ท่านลาสิกขา
กราบนมัสการพระคุณเจ้า หลวงปู่พุทธอิสระ
อาจเป็นบาปกรรมที่กระผมจะได้ทำในชาตินี้เหมือนที่เคยกระทำมาแต่กาลก่อน ด้วยความเคารพ พระคุณเจ้า กระผมคอยเฝ้าติดตามพระคุณเจ้ามานานหลายเดือน อันที่จริงแล้วกระผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐบาลหรือดร.ทักษิณ ชินวัตร การที่พระคุณเจ้าได้เสียสละมาเป็นผู้นำการชุมนุมที่แจ้งวัฒนะเพื่อขับไล่รัฐบาลและวาดหวังการปฏิรูปการเมือง ในฐานะที่ผมเป็นคนไทยมีความรักและหวงแหนสถาบันและประเทศชาติ รู้สึกซาบซึ้งในความเมตตากรุณาของพระคุณเจ้าเป็นอย่างยิ่ง
แต่ในฐานะที่พระคุณเจ้าเป็นสมณเพศครองผัาไตรจีวรและต้องเคร่งครัดศีล บางครั้งการกระทำของพระคุณเจ้า ก็อาจถูกชาวโลกติฉินนินทาดูถูกดูแคลนได้ บางทีแม้จดหมายฉบับนี้ของกระผมก็อาจเป็นส่วนหนึ่งของการ"ติฉิน" ในฐานะชาวพุทธและฮินดู ในฐานะที่กระผมก็มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและในฐานะที่กระผมก็เคยขับไล่พระสงฆ์มานักต่อนักแล้ว
ที่ต้องเขียนจดหมายฉบับนี้ก็เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระคุณเจ้า ที่จะนำพาผู้คนไป"หัวหิน"โดยมีเจตนาที่จะไปยื่นฎีกา หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่จะดึงพระเจ้าอยู่หัวลงมาในเกมส์การเมืองครั้งนี้
พระคุณเจ้าคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คุณสุเทพ เทือกสุบรรณและพลพรรคในคณะกปปส.ก็ล้วนแล้วมาจากรากเหง้าของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่เป็นสมาชิกพรรค นักการเมืองของพรรค ฐานเสียงของพรรค และสมุนรับใช้ในฐานะสาวก
พระคุณเจ้าไม่อาจปฏิเสธได้อีกว่าช่องบลูสกายที่ถ่ายทอดสดเวทีกปปส.ก็เป็นส่วนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ที่อุปถัมภ์ค้ำชูกันมา ภาพซึ่งออกมาเมื่อพระคุณเจ้าได้แสดงเจตน์จำนงค์อย่างชัดแจ้งในการที่จะเป็นแกนนำของประชาชนที่มาชุมนุมที่แจ้งวัฒนะ พระคุณเจ้ายังได้แสดงออกว่าได้ร่วมมือกับคุณสุเทพและพรรคประชาธิปัตย์ที่จะโค่นล้มรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์และคุณทักษิณ
ความสัมพันธ์ของพระคุณเจ้าในสายตาของกระผมจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะเข้าใจว่าพระคุณเจ้ากำลังให้ความร่วมมือกับพรรคประขาธิปัตย์ นั่นเอง
เมื่อมีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่เป็นคู่แข่ง(แต่ไม่ใช่ศัตรู)กับพรรครัฐบาลและพรรคการเมืองนั้นเกี่ยวก้อยพระคุณเจ้ามาร่วม(หรือพระคุณเจ้าอยากร่วมเสียเองอันนี้ผมก็ไม่อาจเดาได้) ย่อมเป็นเรื่องทางการเมืองที่สมณเพศไม่ควรจะเข้ามายุ่ง เพราะการเมืองคือตัณหาคือกิเลส เสียงสรรเสริญเยอย่อคือ"ความไม่พอ""พอใจ"ของคนและไม่อาจขาดได้ในหมู่ผู้ชุมนุมที่พวกเขาเหล่านั้นสนับสนุนพระคุณเจ้าไปสู่โลกโลกียะไม่ใช่การสนับสนุนไปในโลกุตระอันถูกต้อง
ด้วยความเคารพของกระผมที่มีมาในอดีต ซึ่งไม่อาจนิ่งดูดายกับสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นได้ เพราะการที่พระคุณเจ้าจำต้องไป"หัวหิน"พร้อมญาติธรรมศิษยานุศิษย์และผู้ชุมนุม ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมในสถานะที่พระคุณเจ้าเป็นพระสงฆ์และเลือกข้างไปร่วมกับพรรคการเมือง ที่หมายจ้องล่มอีกพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่ง และ"แม้หากพระคุณเจ้าไม่อยู่ในสถานะแกนนำในการชุมนุมหรือไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมกระผมก็ไม่อาจเห็นด้วยที่จะให้พระคุณเจ้าไปดึงพระเจ้าอยู่หัวลงมาเกี่ยวข้อง"
การที่พระคุณเจ้าได้แสดงออกในความเป็นปรปักษ์กับพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลก็ไม่ถูกหลักของการเป็นสมณ กระผมจะไม่ขอกล่าวอ้างพระธรรมวินัยหรือศีลอะไรเลย แต่ถ้าพระคุณเจ้าดื้อดึงที่จะทำต่อ กระผมก็ขอนิมนต์ให้พระคุณเจ้าลาสิขาหรือสึกออกมาก่อนและควรกระทำเยี่ยงดังเช่น"พระพิมลธรรมอนันตปรีชา"ในสมัยอยุธยา ที่ลาสิขาออกมานำมวลชนทำการปฏิวัติ เพราะความเป็นสงฆ์และการขับเคลื่อนมวลชนมันเป็นการไม่เหมาะสม
ประวัติศาสตร์ของพระเจ้าทรงธรรมอาจเป็นตัวอย่างอันดีในประเด็นที่ว่า"พระสงฆ์มิอาจนำม๊อบหรือการชุมนุมได้"
ด้วยความเคารพพระคุณเจ้าอย่างสูงสุด แม้กาลครั้งหนึ่งพระคุณเจ้าได้แสดงบรรยายในเรื่องที่มีผู้วิจารณ์การกระทำของพระคุณเจ้าที่ไปนับเงินหน้าโรงแรมว่าเป็นการไม่เหมาะสมแต่กระผมก็มองผ่านเรื่องเหล่านี้ไป แต่มาถึงตอนนี้พระคุณเจ้ากำลังจะพาผู้ชุมนุมไปกดดันพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งควรเทิดทูนไว้ในที่สูงสุด กระผมจึงไม่อาจเห็นด้วยแลคล้อยตามได้ จึงได้ทำจดหมายฉบับนี้
จริงอยู่ว่าในการต่อสู้จำต้องใช้วิธีที่หลากหลายแต่วิธีการบางวิธีเราจะไม่ทำกัน แต่ถ้าหากพระคุณเจ้ายังดื้อดึงที่จะกระทำในสถานะ"พระ"กระผมขอนิมนต์ให้พระคุณเจ้าได้ลาสิกขาเสียเพื่อออกมากระทำการอย่างเต็มที่ในฐานะ"ฆาราวาส"จะเป็นการเหมาะสมกว่า
กราบนมัสการมาด้วยความเคารพ
เทพมนตรี ลิมปพยอม
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗


เหรียญทอง: อาการผู้ร่วมชุมนุมกปปส.แจ้งฯที่ถูกM79


 
2 พ.ค.57 แชร์ให้ทราบทั่วกันว่า รพ.มงกุฎวัฒนะ ขอรายงานว่าเมื่อวันที่ 1 พ.ค.57 เวลา 22.00 น.เศษ มีการยิง M.79 ที่ชุมนุมแจ้งวัฒนะ มีผู้ป่วยชื่อ นาย อติเทพ อ่อนจันทร์ ผู้ชุมนุม กปปส.แจ้งวัฒนะ ได้รับบาดเจ็บและถูกส่งตัวมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะ พบว่ามีบาดแผลที่ หน้าอกด้านขวา – มือซ้าย – ต้นขาซ้าย ...ผู้ป่วยบาดเจ็บสาหัสจากสะเก็ด M.79 ที่หน้าอกด้านขวาทำให้เกิดภาวะลมรั่วและคั่งในช่องปอด (PNEUMOTHORAX) ทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลว และภาวะช๊อค ...คณะแพทย์นำโดย พันเอก นายแพทย์ ธวัชชัย กาญจนรินทร์ ได้ทำการใส่ ท่อระบายลมออกจากช่องปอด (INTERCOSTAL CHEST DRAIN) และสามารถระบายลมรั่วและคั่งในช่องปอด (PNEUMOTHORAX) ออกได้ทัน จนพ้นอันตรายจากภาวะหายใจล้มเหลวและภาวะช๊อค ถึงแม้จะมีเลือดออกจากช่องปอดในทันทีที่ใส่ท่อระบายลมจากช่องปอดประมาณ 400 CC ก็ตาม แต่การตกเลือดที่ออกจากช่องปอดได้ลดลงอย่างชัดเจน ...ขณะนี้ผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว อย่างไรก็ตามยังคงจำเป็นต้องอยู่ในห้อง ไอ ซี ยู ต่อไป เพื่อเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ...สำหรับสะเก็ดระเบิดที่ทะลุเข้าหน้าอกด้านขวาได้ทะลุเข้าไปลึกถึงขั้วปอด ซึ่งอยู่ลึกมาก แต่สะเก็ดระเบิดไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแล้ว และสะเก็ดระเบิดมีขนาดเล็กมากจนคณะแพทย์เห็นว่า การผ่าตัดเพื่อเอาสะเก็ดระเบิดออกจะไม่คุ้มค่า แต่กลับจะทำให้ปอดที่บอบช้ำจากสะเก็ดระเบิด เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย มากกว่าการปล่อยให้สะเก็ดระเบิดทิ้งไว้ ...ส่วนสะเก็ดระเบิดที่มือและต้นขวา ยังคงไม่ทำอะไร จนกว่าผู้ป่วยจะอาการเป็นปกติแล้วค่อยประเมินใหม่
พลตรี เหรียญทอง แน่นหนา
ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เป็นวิกฤตการณ์การเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน มีสาเหตุจากร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน
2556 และถูกหลายฝ่ายคัดค้าน ฝ่ายหนึ่งมีสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำ และอีกฝ่ายหนึ่งคือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และคนเสื้อแดงบางส่วน

ครั้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 วุฒิสภาลงมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทว่า การชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพยังคงดำเนินต่อไป โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการต่อต้านรัฐบาลแทน

อีกเหตุการณ์หนึ่ง รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด[2][8] ประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการ

ให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ[9] วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลวินิจฉัยตามนั้น พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยนี้[10] และในวันที่ 8 ธันวาคม

2556 นายกรัฐมนตรีขอถอนร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืนจากพระมหากษัตริย์[11] ขณะที่ นปช. จัดชุมนุมตอบโต้ขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถานตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2556 ระหว่างนั้น

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ผู้ชุมนุมฝ่ายสุเทพเข้ายึดสถานที่ราชการเพื่อบีบให้ปิดทำการ มีเหตุรุนแรงที่สำคัญคือ การปะทะกันบริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงตลอดทั้งวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงเช้าวันที่ 1

ธันวาคม มีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บ 57 คน[12][13]

การยกระดับการชุมนุมในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจเป็นเวลาสองวัน ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและหัวฉีดน้ำ เพื่อยับยั้งไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าทำเนียบรัฐบาล มีผู้

บาดเจ็บ 119 คน[14] จนวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ตำรวจจึงเปิดให้ผู้ชุมนุมเข้าไปได้ เพื่อสงบศึกในวันเฉลิมพระชนมพรรษา จากนั้น ผู้ชุมนุมจึงชุมนุมกันต่อ ครั้นวันที่ 8 ธันวาคม 2556 ส.ส. ประชาธิ

ปัตย์ทั้ง 153 คนลาออก และในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่สุเทพและผู้ชุมนุมปฏิเสธการเลือกตั้ง และเรียก

ร้องให้จัดตั้งสภาประชาชนเพื่อปฏิรูปการเมืองเสียก่อน[15][16]

วันที่ 13 มกราคม 2557 สุเทพนัดชุมนุมปิดถนนสายหลักในกรุงเทพมหานครเพื่อกดดันรัฐบาล[17][18] นำไปสู่การใช้ความรุนแรงและอาวุธเป็นระยะ ๆ[19][20][21][22] จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

วันที่ 21 มกราคม 2557 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ[23] วันที่ 26 มกราคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า

ในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ ทำให้การเลือกตั้งเสียระบบ[24] ผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว 440,000 คนไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลยืนยันเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 ว่า การเลือก

ตั้งต้องดำเนินตามกำหนดต่อไป ท้ายที่สุด มีผู้มาเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 46.79

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลอาญาออกหมายจับแกนนำการชุมนุม 19 คน ในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[27] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 สุเทพ

ประกาศยุติการปิดถนนในกรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม และรวมเวทีการชุมนุมทั้งหมดไปอยู่ที่สวนลุมพินี[28] วันที่ 18 มีนาคม 2557 คณะรัฐมนตรีจึงยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และ

กลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น[29]

วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ [30][31] แกนนำผู้ชุมนุมยืนยันว่า จะทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่ให้มีผลโมฆะ [32][33]

วันที่ 3 เมษายน 2557 ศาลอาญาเพิกถอนหมายจับแกนนำการชุมนุม 19 คน ในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เนื่องจากรัฐบาลได้ยกเลิกสถานการณ์

ฉุกเฉินแล้ว[34]
/////////////////////////
@สาเหตุของสถานการณ์

@ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ

"วรชัย เหมะ" สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนักเคลื่อนไหวร่วมกับ นปช. เป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการ

เมืองของประชาชน พ.ศ. .... (ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ) ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติวาระแรกในเดือนสิงหาคม 2556[64] กลุ่มต่อต้านทักษิณที่เรียกว่า "กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบ

ทักษิณ" ตลอดจนพรรคประชาธิปัตย์ จัดการประท้วงบนท้องถนนก่อนสมัยประชุมรัฐสภา แต่ไม่ได้รับแรงสนับสนุน[65] ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมาธิการพิจารณา

35 คน ซึ่งจะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวกลับมายังสภาฯ เพื่อพิจารณาในวาระสองและสาม คณะกรรมาธิการส่งร่างกฎหมายที่ได้รับการทบทวนแล้วเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556[66] ร่างกฎหมายดังกล่าว

เปลี่ยนจากเดิมที่จะนิรโทษกรรมให้เฉพาะแก่ผู้ชุมนุม ไม่รวมถึงแกนนำการชุมนุม และผู้สั่งการ ซึ่งรวมถึงผู้นำรัฐบาลและทหาร เป็น "นิรโทษกรรมเหมาเข่ง" ซึ่งรวมการนิรโทษกรรมให้ทั้งแกนนำ

การชุมนุม และผู้สั่งการด้วย ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2556 ความผิดที่จะได้รับนิรโทษกรรมนี้รวมข้อกล่าวหาฉ้อราษฎร์บังหลวงของทักษิณ ตลอดจนข้อกล่าวหาฆ่าคนของอภิสิทธิ์และ

สุเทพด้วย ต่อมา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 วุฒิสภาลงมติไม่รับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ 141 เสียง ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ถูกยับยั้งไว้ 180 วัน[67]

@การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ว่าด้วยที่มาของวุฒิสภา

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พุทธศักราช ... ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดัง

กล่าวจะเปลี่ยนรูปแบบของวุฒิสภาจากที่สมาชิกมาจากทั้งการเลือกตั้งและแต่งตั้ง มาเป็นสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเหมือนก่อนรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[68][69]

@คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๕–๑๘/๒๕๕๖

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ทั้งกระบวนการและเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในประเด็นเรื่องกระบวนการ ศาลพิจารณาว่า ร่างรัฐ

ธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณานั้นมิได้เป็นฉบับเดียวกับที่เสนอแต่แรก แต่ได้นำร่างที่จัดทำขึ้นใหม่มาพิจารณาในสมัยประชุม ศาลยังพิจารณาว่า

การนับระยะเวลาย้อนหลังไปทำให้เหลือระยะเวลาขอแปรญัตติเพียงหนึ่งวันไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนออกเสียงแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้เข้าประชุม

ในประเด็นเรื่องเนื้อหา ศาลพิจารณาว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเปิดให้ญาติของผู้แทนราษฎรเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาและจะทำให้วุฒิสภาไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมา รัฐ

ธรรมนูญฉบับปี 2540 มิได้ห้ามญาติของผู้แทนราษฎรเป็นสมาชิกวุฒิสภาและส่งผลให้สภานิติบัญญัติได้สมญาว่า "สภาผัวเมีย" ศาลยังพิจารณาว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มุ่งตัดอำนาจในการ

พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในอนาคตไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการเปลี่ยนวุฒิสภาเป็นให้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจะทำลายระบบสอง

สภา[70][71]

"นันทวัฒน์ บรมานันท์" ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าบางส่วนของคำวินิจฉัยนี้ มีถ้อยคำที่แสดงถึงความไม่พอใจ ในการดำเนินกิจกรรมของสภาผู้แทนราษฎร

ยิ่งไปกว่านั้น ศาลยังเห็นว่า ตนเองมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตามหลักการแยกใช้อำนาจเช่นเดียวกับการตรวจสอบและถ่วงดุล แต่นักวิชาการกฎหมายบางคนแย้งว่า ศาลไม่สามารถแทรกแซงการแก้ไข

เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพราะสภานิติบัญญัติไม่ได้กำลังใช้อำนาจนิติบัญญัติ หากเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างสามอำนาจ พรรคเพื่อไทย

ปฏิเสธคำวินิจฉัยดังกล่าว โดยอ้างว่า ศาลไม่มีอำนาจเหนือกรณีนี้

ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย สมาชิกพรรคเพื่อไทย และนักวิชาการส่วนหนึ่ง ให้ความเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญพึงระวังว่า การวินิจฉัยจะล่วงละเมิดพระราชอำนาจ เนื่องจากยังไม่มีพระบรม

ราชวินิจฉัย[77] เป็นผลให้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สมาชิกพรรคเพื่อไทยฟ้องร้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่ามีการกระทำอันเป็นกบฎต่อแผ่นดิน

พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลในกรณีดังกล่าวมาตลอด และยังคงยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2556 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ขอ

พระราชทานร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืน โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยผ่านเป็นกฎหมาย

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตัดสินเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา 308 คนถูกแจ้งข้อหาละเมิดกฎหมายไทย แต่ไม่

รวมนักการเมือง 73 คน รวมทั้งยิ่งลักษณ์ อันเนื่องจากการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งหากทั้ง 308 คนนี้ถูก ป.ป.ช. วินิจฉัยว่าผิดจริง ก็อาจส่งผลให้ถูก

วุฒิสภาห้ามเกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นเวลาห้าปี

@ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

30 ต.ค. 2556 สุเทพ เทือกสุบรรณ แถลงข่าวจัดการชุมนุมใหญ่ในวันรุ่งขึ้น หลังสภาผู้แทนราษฎรกำหนดการประชุมพิจารณาพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ในวาระที่สาม
31 ต.ค. เริ่มชุมนุมที่สถานีรถไฟสามเสน
4 พ.ย. ย้ายการชุมนุมไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
11 พ.ย. สุเทพยกระดับการชุมนุมดำเนินมาตรการ 4 ข้อ, เปิดตัวแกนนำ 9 คน และลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
19-20 พ.ย. นปช. ชุมนุมใหญ่ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ครั้งที่ 1
20 พ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ
24-30 พ.ย./
1 ธ.ค. นปช. ชุมนุมใหญ่ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ครั้งที่ 2
24 พ.ย. การชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและบริเวณโดยรอบ โดยแกนนำเรียกว่า "วันมวลมหาประชาชน คนไทยใจเกินล้าน"
25 พ.ย. - กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปปิดล้อม 13 สถานที่สำคัญ และสุเทพนำผู้ชุมนุมบุกยึดกระทรวงการคลัง
- นายกรัฐมนตรีแถลงเพิ่มเขตพื้นที่บังคับใช้ พ.ร.บ.มั่นคงฯ[35]
27 พ.ย. กลุ่มผู้ชุมนุมบุกยึดศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
29 พ.ย. เปิดตัวกลุ่ม กปปส.
30 พ.ย.
/ 1 ธ.ค. เกิดเหตุจลาจลบริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีผู้บาดเจ็บ 64 ราย[36]
1-3 ธ.ค. การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจบริเวณใกล้ทำเนียบรัฐบาล มีผู้บาดเจ็บ 221 ราย[37][38][39]
9 ธ.ค. - กลุ่มผู้ชุมนุมคืนพื้นที่กระทรวงการคลัง และศูนย์ราชการฯ และย้ายไปชุมนุมที่แยกนางเลิ้ง
- นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร โดยจัดการเลือกตั้งใหม่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
22 ธ.ค. การชุมนุมปิดถนนในกรุงเทพมหานคร 6 จุด เป็นเวลาครึ่งวัน
26 ธ.ค. เกิดเหตุจลาจลที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง มีผู้บาดเจ็บ 160 ราย
13 ม.ค.
2557 การชุมนุมปิดถนนในกรุงเทพมหานคร 9 จุด
15 ม.ค. ประชุมหารือเรื่องกำหนดวันเลือกตั้งซึ่ง กกต. กปปส. ปชป. สตง. และศาลยุติธรรมไม่เข้าร่วม มติที่ประชุมให้คงวันเลือกตั้งตามเดิม
17 ม.ค. มีผู้ขว้างระเบิดลูกเกลี้ยง[40] ใส่ผู้ชุมนุมที่เดินขบวนถึงถนนบรรทัดทอง บาดเจ็บ 41 ราย[41]
19 ม.ค. มีผู้ขว้างระเบิดลูกเกลี้ยงใส่ผู้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บาดเจ็บ 29 ราย[42] สาหัส 8 ราย
21 ม.ค. นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร, จ.นนทบุรี, อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี และ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ[43]
24 ม.ค. ศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าวันเลือกตั้งทั่วไปสามารถเลื่อนได้ และ ครม.กับ กกต. สามารถปรึกษาหารือกัน[44]
26 ม.ค. - วันเลือกตั้งล่วงหน้า, กปปส.ขัดขวางผู้ต้องการใช้สิทธิ
- เกิดเหตุปะทะใกล้ที่เลือกตั้งล่วงหน้า แกนนำ กปท. ถูกยิงเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 12 คน[45]
28 ม.ค. การหารือระหว่างคณะรัฐมนตรีกับ กกต. หาข้อยุติไม่ได้ จึงจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามกำหนดเดิม[46]
1 ก.พ. - กปปส. ปะทะคนเสื้อแดงที่ต้องการนำอุปกรณ์การเลือกตั้งออกมาจากสำนักงานเขตหลักสี่ บริเวณใต้สะพานข้ามแยกหลักสี่ มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย[47]
2 ก.พ. วันเลือกตั้งทั่วไป
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตดินแดงชุมนุมประท้วงกลุ่ม กปปส. ที่ปิดเขตดินแดงจนไม่สามารถเลือกตั้งในพื้นที่ได้ และเรียกร้องสิทธิเลือกตั้ง[48]
5 ก.พ. ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. 19 คน ข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน[49]
9 ก.พ. มีผู้ยิงเอ็ม-79 ใส่ที่ชุมนุม กปปส.แจ้งวัฒนะ มีผู้บาดเจ็บ 2 คน[50]
10 ก.พ. สุเทพเดินขบวนเพื่อระดมทุน นำไปให้ กปปส.จ้างทนายความ ช่วยชาวนาดำเนินคดี[51][52]
14 ก.พ. ศรส. ขอพื้นผิวการจราจรคืน ตั้งแต่แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถึงแยกสวนมิสกวัน[53]
-มีผู้ยิงเอ็ม 79 ใส่ศาลอาญา[54]
17-18 ก.พ. สุเทพนำผู้ชุมนุมบางส่วนไปทำเนียบรัฐบาล (ที่ชุมนุมของ คปท.), คปท.ฉาบปูนปิดประตูทำเนียบรัฐบาลเพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรีเข้าทำงาน[55]
18 ก.พ. ตำรวจและผู้ชุมนุมปะทะกันบริเวณแยกสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มีผู้บาดเจ็บ 71 คน เสียชีวิต 5 คน[56]
23 ก.พ. - มีผู้ยิงเข้าใส่เวที กปปส. ตลาดยิ่งเจริญ จังหวัดตราด มีผู้บาดเจ็บ 41 คน และเสียชีวิต 3 คน[57]
- มีผู้ยิงเอ็ม 79 บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ ใกล้ที่ชุมนุม กปปส.แยกราชประสงค์ มีผู้บาดเจ็บ 24 คน และเสียชีวิต 3 คน[58]
28 ก.พ. สุเทพประกาศยุบเวที ย้ายเวทีชุมนุมหลักไปสวนลุมพินี, พระสุวิทย์ ธีรธมฺโมยืนยันไม่ยุบเวทีแจ้งวัฒนะ[59]
7 มี.ค. มีผู้ยิงเอ็ม 79 ใส่ที่ชุมนุม กปปส.สวนลุมพินี มีผู้บาดเจ็บ 5 คน[60]
11 มี.ค. มีผู้ยิงเอ็ม 79 ใส่ที่ชุมนุม กปปส. มีผู้บาดเจ็บ 3 คน อาการสาหัส 1 ราย[61]
12 มี.ค. ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ[62]
14 มี.ค. ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองไม่ให้เนรเทศสาธิต เซกัล ชาวอินเดีย หนึ่งในแกนนำผู้ชุมนุม เป็นการชั่วคราว[63]
21 มี.ค. ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปเมื่อ 2 ก.พ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
5 - 7 เม.ย. นปช.นัดหมายคนเสื้อแดง ชุมนุมใหญ่ที่ถนนอุทยาน (พุทธมณฑลสาย 4)
//
ลำดับเหตุการณ์

การประท้วงร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม

Unbalanced scales.svg

สถานีรถไฟสามเสน เป็นสถานที่แรกในการชุมนุม เพื่อต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน ต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน สุเทพ เทือกสุบรรณประกาศ

ย้ายเวทีการชุมนุม โดยเคลื่อนขบวนไปปักหลักที่ถนนราชดำเนินแทน พร้อมทั้งยกระดับการชุมนุม

สุเทพนำกลุ่มผู้ชุมนุม เคลื่อนขบวนจากสถานีรถไฟสามเสน ในเวลา 10:00 น. ไปกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประกาศยกระดับ โดยตั้ง

เวทีปราศรัยถาวร ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และใช้ถนนราชดำเนินกลาง เป็นสถานที่ในการชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จนถึง 12 มกราคม พ.ศ. 2557

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สุเทพประกาศยกระดับการชุมนุม โดยอ้างว่ารัฐบาลไม่ยอมถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ออกจากสภาทั้งหมด พร้อมทั้งประกาศมาตรการ 4 ข้อดังนี้ หยุด

งาน 3 วันคือ วันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน 2556 โดยให้หยุดงานเพื่อออกมาชุมนุม, งดชำระภาษีประจำปี, ประดับธงชาติไทย ที่หน้าบ้านของตนเอง, ถ้าพบเห็นรัฐมนตรีคนใด ให้เป่านกหวีดใส่ และ

เปิดตัวแกนนำ ทั้งหมด 9 คน ซึ่งประกาศลาออกจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับสุเทพด้วย คือถาวร เสนเนียม, สาทิตย์ วงศ์หนองเตย, อิสสระ สมชัย, วิทยา แก้ว

ภราดัย, เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ซึ่งสุเทพให้เป็นโฆษก, ชุมพล จุลใส, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และณัฎฐพล ทีปสุวรรณ ซึ่งสุเทพให้เป็นแกนนำหลัก หากสุเทพไม่สามารถเป็นแกนนำหลักได้ โดยสุเทพ

พร้อมทั้งแกนนำ 8 คนดังกล่าว เข้ายื่นใบลาออกจากความเป็น ส.ส. ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่รัฐสภา ในวันต่อมา

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สุเทพประกาศยกระดับการชุมนุมอีกครั้ง ให้กลายเป็นการถอนรากถอนโคนสิ่งที่สุเทพและผู้ชุมนุมเรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยกล่าวอ้างทั้งสามประการคือ มีการเอื้อ

ประโยชน์แก่สกุลชินวัตรและพวกพ้อง, เป็นบ่อเกิดของเผด็จการรัฐสภาให้เป็นศูนย์รวมอำนาจ และล้มล้างการถ่วงดุลอำนาจเพื่อเอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อโค่นล้ม

ให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย พร้อมทั้งออกมาตรการเพิ่มเติมคือ การล่ารายชื่อถอดถอน ส.ส. ทั้งหมด 310 คน โดยจะยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายใน

วันที่ 19 พฤศจิกายน, ต่อต้านบุคคลในเครือข่าย ด้วยการเป่านกหวีดเมื่อพบเจอ, ต่อต้านสินค้าในเครือข่ายทุกชนิด และขอให้คนไทยทั้งหมดหยุดงานมารวมพลังต่อสู้ให้มากที่สุด จนกว่าจะได้รับชัย

ชนะ

@การประท้วงต่อต้านรัฐบาลและการยึดสถานที่ราชการ

ในวันที่ 24 พฤศจิกายน มีการชุมนุมใหญ่ที่เวทีราชดำเนิน โดยประกาศยกระดับข้อเรียกร้องเป็นการต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยใช้ชื่อว่า วันมวลมหาประชาชน คนไทยใจเกินล้าน โดยแกนนำต้อง

การให้ผู้ชุมนุมมาให้ได้เกิน 1 ล้านคน

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ บุกรุกเข้ายึดบริเวณและอาคารสถานที่ราชการ ของสำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง ซึ่งตั้งอยู่ติดกัน ก่อนจะ

เคลื่อนการชุมนุม ไปบุกเข้ายึด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ริมถนนแจ้งวัฒนะ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยมอบหมายให้วิทยา แก้วภราดัย เป็นผู้ควบคุมบริเวณดังกล่าวแทน ทั้งนี้ มี

การชุมนุมอยู่

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ บุกรุกเข้ายึดบริเวณและกลุ่มอาคาร ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ โดยตั้ง

เวทีชุมนุมขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ขณะที่ภายในกระทรวงการคลัง ก็ยังคงมีกลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักอยู่

@การจัดตั้ง กปปส.

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ที่ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ สุเทพ เทือกสุบรรณประกาศก่อตั้ง "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อัน

มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" หรือ กปปส. ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มองค์กรประชาชน ในสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่นกลุ่มนักวิชาการ นำโดยสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูป

ประเทศไทย (คปท.) กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย กองทัพธรรม กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เป็น

ต้น โดยมีสุเทพเป็นเลขาธิการของกลุ่ม

@เหตุจลาจลบริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายงานเหตุการณ์ตามคำบอกเล่าของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงว่า มีกลุ่มคนเสื้อแดงกรีดรูปพ่อขุนรามคำแหงทำให้นักศึกษาชุมนุมเพื่อปกป้องศักดิ์ศรี เมื่อวันที่ 30

พฤศจิกายน 2556 อนิวัฒน์ นาคเป้า รองนายกองค์การนักศึกษา เล่าว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน สร้างความเดือดร้อนแก่พวกตน และมีนักศึกษาถูกคนเสื้อแดงทำร้าย

พร้อมทั้งเรียกร้องให้ตำรวจดูแลความปลอดภัย และให้ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรับเรื่องร้องเรียน เพราะให้คนเสื้อแดงเช่าสถานที่

ครั้นเวลา 16.30 น. วันเดียวกัน พันตำรวจเอก สรรค์หกิจ บำรุงสุขสวัสติ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง และพันตำรวจเอก ณรงค์ พรหมสวัสดิ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล

หัวหมาก เดินทางมายังที่ชุมนุมพร้อมรับปากจะดูแลความปลอดภัยให้ เวลา 16.40 น. นักศึกษานับร้อยคนบริเวณถนนหน้าทางเข้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ปิดถนนและทำร้ายคนเสื้อแดงที่เดิน

ผ่านหน้าไปเข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง เวลา 18.00 น. มีรถขนส่งมวลชนกรุงเทพที่คนเสื้อแดงได้ว่าจ้าง โดยใช้เส้นทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัย เมื่อรถคันดังกล่าวมาถึง นักศึกษาชุดเดิมก็กรูเข้าทำ

ร้ายอีก

ตั้งแต่เวลา 20.00 น. คนเสื้อแดงปิดล้อมประตูด้านหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างนักศึกษากับตำรวจ โดยมีคนเสื้อแดงแฝงตัวอยู่หลังตำรวจ เหตุดังกล่าวทำให้มีผู้ได้รับ

บาดเจ็บหลายคน โดยนักศึกษามีอาวุธไม้และเสาธงชาติ ส่วนคนเสื้อแดงใช้อาวุธปืน มีด ระเบิดปิงปอง ระเบิดเพลิง และประทัดยักษ์ และคนเสื้อแดงยังมีการวางแผนการปะทะอย่างดี โดยมีชุดยิง

แต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่ และยังมีชุดเก็บปลอกกระสุน ตลอดจนชุดปาระเบิดเพลิง ปิงปองและประทัดยักษ์ เมื่อคนเสื้อแดงยึดพื้นที่หลังประตูมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว คนเสื้อแดงได้เอาไม้ตีรถ

จักรยานยนต์ของประชาชนในซอยรามคำแหง 24 แยก 14 โดยตำรวจไม่ทำอะไร

คนเสื้อแดงได้ยิงปืนเข้ามาในมหาวิทยาลัยตลอดทั้งคืน โดยมีเฮลิคอปเตอร์ตำรวจบินวนตลอดคืนพร้อมสาดไฟส่องผู้ชุมนุมในมหาวิทยาลัย แล้วมือปืนก็จะยิงอีกครั้ง กระทั่งบ่ายวันที่ 1 ธันวาคม

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ส่งรถไปรับนักศึกษาออกจากมหาวิทยาลัย โดยมีทหารจากกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์คอยดูแล

@การยึดสถานที่ราชการเป็นครั้งที่ 2 และการตัดไฟอาคารกสท บางรัก

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 12:30 น. ผู้ชุมนุม กปปส. บุกรุกเข้าไปยัง บริเวณอาคารของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เขตบางรัก โดยอ้างว่า พนักงาน กสท เป็นผู้เปิดประตูรั้ว

ให้เข้าไปเอง และอ้างว่า ไม่ได้เข้าไปในตัวอาคาร แต่อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูลของอาคาร กสท เขตบางรัก รีบโทรศัพท์แจ้ง ผู้ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคาร ให้เร่งปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์

ก่อนจะมีการตัดไฟฟ้า

โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่า แหล่งไฟฟ้าทั้งสองทาง ของศูนย์ข้อมูล กสท ดับไปทั้งหมด และเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรอง สามารถใช้งานได้ ประมาณหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น และภายหลัง กระแสไฟฟ้าก็หมดลง

ส่วนทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทรูออนไลน์ ระบุเช่นเดียวกันว่า เครือข่ายทั้งหมดของ กสท ก็หยุดลงไปพร้อมกัน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่า เหตุใดไฟฟ้าจึงดับลง และส่งผลกระทบให้ ระบบเกม

ออนไลน์ในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคาร กสท เขตบางรัก ต้องขัดข้องไปทั้งหมด รวมถึงระบบอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ต่าง ๆ เกิดขัดข้องไปแทบทั้งหมดอีกด้วย
/////////////////////////////////
@การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ที่ทำเนียบรัฐบาล และกองบัญชาการตำรวจนครบาล

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ผู้ชุมนุมเคลื่อนประชิดแนวกั้นตำรวจหลายจุด มุ่งหน้าสู่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และทำเนียบรัฐบาล ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่

ตำรวจขึ้น 3 จุด คือ บริเวณ แยกกองพลที่ 1 ใกล้กองบัญชาการตำรวจนครบาล วัดเบญจมบพิตร และที่สะพานชมัยมรุเชฐ เส้นทางเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาล

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการกั้นแท่นแบริเออร์ (Barricade) ขว้างแก๊สน้ำตา และฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุม เพื่อตอบโต้ผู้ชุมนุมที่บุกเข้าประชิด และใช้ระเบิดปิงปองปาเข้าใส่แนวปิดกั้น

ต่อมาในวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ตำรวจรื้อถอนสิ่งกีดขวาง แล้วปล่อยให้ผู้ชุมนุมเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล เพื่อลดความตึงเครียด และนับเป็นการสงบศึกชั่วคราว เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายฉลองวันเฉลิม

พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[89] ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นมั่นคง และร่มเย็นเป็นสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่น

ในชาติ และต่างบำเพ็ญกรณียกิจตามหน้าที่ ให้สอดคล้องเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ

@การยุบสภาผู้แทนราษฎรและเหตุการณ์สืบเนื่อง

ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 08:45 น. นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงการณ์ว่า ตนดำเนินการทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร[91] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลง

มาในช่วงค่ำวันเดียวกัน โดยคณะรัฐมนตรีจะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว้ในมาตรา 181

ประกอบมาตรา 180 (2)

วันเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณภายในกระทรวงการคลัง และศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ประกาศคืนพื้นที่ และสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้นำการเคลื่อนขบวน ไปยังทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 08:39

น. แต่ต้องปักหลักชุมนุม บนถนนพิษณุโลก ช่วงหน้าราชตฤณมัยสมาคม บริเวณแยกนางเลิ้ง เนื่องจากไม่สามารถเดินไปถึงทำเนียบรัฐบาลได้ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งเวทีปราศรัยของ เครือข่ายนักศึกษา

ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ซึ่งเป็นแนวร่วมของ กปปส.

@การชุมนุมใหญ่ 5 เวทีกลางกรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 กลุ่ม กปปส. ตั้งเวทีใหญ่ชุมนุมใน 5 จุดกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกอโศก แยกราชประสงค์ แยกปทุมวัน สวนลุมพินี ทุกเวทีมี

การถ่ายทอดสัญญาณจากเวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยขบวนของสุเทพ เทือกสุบรรณเริ่มตั้งต้นที่วงเวียนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเดินทางเยือมผู้ชุมนุมในทุก

เวที ก่อนที่จะกลับไปปราศรัยที่เวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

@ผู้สื่อข่าวถูกผู้ชุมนุมเวทีราชดำเนินทำร้ายและเหตุการณ์สืบเนื่อง[แก้]

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556เวลา 16.00 น. ได้เกิดเหตุกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ทำร้ายร่างกาย เพ็ญพรรณ แหลมหลวง ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย และผู้ช่วยช่างภาพ ขณะกำลังกำลังปฏิบัติหน้าที่

รายงานสถานการณ์การชุมนุม บนรถถ่ายทอดนอกสถานที่ ของสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ซึ่งจอดอยู่หน้าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเดิม เพ็ญพรรณระบุว่า ระหว่างที่รายงานข่าว ตนกล่าวถึง

บรรยากาศการชุมนุม และภารกิจของแกนนำ กปปส. แต่มิได้พูดถึงจำนวนผู้ชุมนุมแต่อย่างใด ทว่าเมื่อลงจากรถ ปรากฏว่ามีชายคนหนึ่ง เข้ามาตะโกนต่อว่าตน รายงานมีผู้ชุมนุม 3 พันคนได้อย่างไร

จากนั้นผู้ชุมนุมที่เป็นชายฉกรรจ์ เข้ามาล้อมรถถ่ายทอดนอกสถานที่ไว้ โดยเพ็ญพรรณพยายามขอโทษ พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้กล่าวถึงจำนวนผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมไม่ฟัง และสาดน้ำเข้าใส่ ทั้งมีชายอีก

คนหนึ่ง ชกเข้าที่แขนซ้าย รวมทั้งกระชากแขน ไม่ให้ขึ้นรถออกนอกพื้นที่ นอกจากนี้ มีการทำร้ายผู้ช่วยช่างภาพ โดยผลักจนล้มและจะกระทืบ แต่มีผู้เข้ามาห้ามปรามไว้ทัน ทั้งนี้ ทีมข่าวพยายามนำ

รถออกนอกพื้นที่ แต่ก็ยังมีผู้ชุมนุมขว้างขวดน้ำ และทุบรถ

นอกจากนี้ ในช่วงเช้า ทีมข่าวไทยทีวีสีช่อง 3 รายงานสถานการณ์การชุมนุม อยู่บนหลังคารถถ่ายทอดนอกสถานที่ ซึ่งจอดอยู่บริเวณหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จากนั้นขณะลงจากรถดังกล่าว

มีผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่งเข้ามาล้อม พร้อมทั้งต่อว่า แล้วเป่านกหวีด รวมทั้งพยายามเข้าทำร้ายร่างกายผู้สื่อข่าว วารุณี ซื่อสัตย์สกุลชัย แต่ทีมข่าวของช่อง 3 เข้าช่วยป้องกันไว้ทัน อย่างไรก็ตาม หลังเกิด

เหตุทั้งสอง แกนนำ กปปส.ขึ้นปราศรัยบนเวที กำชับห้ามผู้ชุมนุม ขัดขวางการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ไม่ว่าจะสำนักข่าวไหนก็ตาม เนื่องจากเป็นหน้าที่ ในการนำเสนอข่าว ความเคลื่อนไหวของ

การชุมนุม

@เหตุจลาจลที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)

วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 กกต. ได้แจ้งให้ 34 พรรคการเมืองที่ได้เดินทางมายื่นแสดงความจำนงในการสมัครและจับสลากหมายเลขประจำพรรค ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหา

นคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง แต่กลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วม คปท. พยายามนำคีมขนาดใหญ่ เข้าตัดเหล็กรั้วประตู 2 และรื้อกำแพงของสนามฯ เพื่อบุกรุกเข้าไปภายใน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงยิงแก๊สน้ำตา

และกระสุนยาง เข้าใส่ผู้ชุมนุมเพื่อสกัดกั้น โดยผู้ชุมนุมพยายามเข้าไปในกระทรวงแรงงาน เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับสนามฯ เพื่อหาทางเข้าไปด้านใน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเข้าจับกุมผู้ชุมนุมบางส่วนไว้

ต่อมาในช่วงเย็น กลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วม คปท. ปิดถนนวิภาวดีรังสิตทั้งขาเข้าและขาออก เพื่อเรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมไป หลังจากนั้นมีการลอบยิงที่เวทีหลักสะพานชมัยมรุเชฐ

แกนนำ คปท. จึงเรียกเคลื่อนขบวนกลับไปเพื่อความปลอดภัย ถนนวิภาวดีรังสิตจึงเปิดการจราจรตามเดิม ระหว่างนั้น ผู้ชุมนุมบางส่วน วิ่งเข้าจับชายฉกรรจ์ สวมเสื้อคลุมสีดำ ซึ่งกลุ่ม คปท.อ้างว่า

ชายคนดังกล่าว ยิงปืนอยู่ที่ฝั่งแฟลต ตรงข้ามกระทรวงแรงงาน

@กรณีเรียกร้องให้เลื่อนวันเลือกตั้ง

สืบเนื่องจากที่กลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งนำโดยกลุ่ม กปปส. ตั้งเงื่อนไขให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการ พ้นจากตำแหน่ง จากนั้น กปปส.จะเป็นฝ่ายจัดตั้งสภาประชาชน ขึ้นเพื่อทำการปฏิรูป

ประเทศไทย ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งอีกครั้ง ประกอบกับเหตุจลาจล ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)

เมื่อเวลาประมาณ 14:00 น. ของวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งประกอบด้วย ประธานศุภชัย สมเจริญ, สมชัย ศรีสุทธิยากร, บุญส่ง น้อยโสภณ, ประวิช รัตนเพียร

และธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ ร่วมกันประชุมเพื่อกำหนดท่าที และแสดงจุดยืน ในรูปของแถลงการณ์ กรณีเหตุปะทะรุนแรง ระหว่างการจับสลากหมายเลขพรรค โดยเนื้อหาของแถลงการณ์ดังกล่าว

แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งยังขอโทษประชาชน ที่ไม่สามารถทำให้การรับสมัครเลือกตั้ง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้ โดยระบุให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน จนกว่าจะมี

ข้อตกลงร่วมกัน โดย กกต.แสดงความพร้อมที่จะเป็นตัวกลางยุติเหตุการณ์ แต่หากรัฐบาลไม่ตอบสนอง กกต.จะดำเนินการใช้สิทธิส่วนของแต่ละบุคคล เพื่อดำเนินการตามที่เห็นว่าเหมาะสมต่อไป

ทางด้านพรรคเพื่อไทย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค, ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค, โภคิน พลกุล กรรมการยุทธศาสตร์พรรค และพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค ร่วมกันแถลงข่าว หลัง

จากเสร็จการประชุมพรรค โดยโภคินกล่าวว่า ขอชื่นชม กกต.ในความตั้งใจดำเนินกระบวนการเลือกตั้ง แม้จะมีอุปสรรคอยู่พอสมควร อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่ กกต.ออกแถลงการณ์ พรรคเพื่อไทย

มีความเห็นร่วมกันว่า ก่อนที่นายกรัฐมนตรี จะประกาศยุบสภาในวันที่ 9 ธันวาคม ก็มีความขัดแย้งต่าง ๆ เกิดขึ้น ทำให้มีหลายฝ่ายเสนอว่า ความขัดแย้งนี้ น่าจะสามารถแก้ไขได้ ด้วยการเลือกตั้ง จึง

เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา เพื่อให้ประชาชนที่ขัดแย้งกัน ไปใช้สิทธิของตน เลือกพรรคที่ตนชอบ เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งการกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เป็นวันเลือกตั้ง รัฐบาลก็

ปรึกษากับทาง กกต.ชุดที่แล้ว เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนดให้จัดการเลือกตั้ง ภายใน 45-60 วันหลังยุบสภา การกำหนดวันเลือกตั้ง ถือเป็นอำนาจตามรัฐธรรมนูญ โดยจะ

ประกาศเป็นพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอย่างอื่นไม่ได้ ทั้งรัฐบาลยังไม่มีสิทธิ ในการเปลี่ยนวันเลือกตั้งอีกด้วย นอกจากนี้ แม้ว่ามาตรา 78 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการ

เลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. จะระบุว่า กรณีการลงคะแนนเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งแห่งใด ไม่อาจกระทำได้ ด้วยเหตุจลาจล หรือภัยธรรมชาติ เป็นต้น กกต.ก็สามารถกำหนดวันลงคะแนน

ใหม่ได้ และที่ผ่านมาก็เคยปรากฏเหตุการณ์ลักษณะนี้แล้ว ส่วนจารุพงศ์ กล่าวว่า ความขัดแย้งในระบอบประชาธิปไตย สามารถหาทางออกได้ ด้วยการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ กกต.หนัก

แน่น และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด พร้อมพงศ์ กล่าวว่า หาก กกต.เลื่อนวันเลือกตั้งออกไป ก็จะเป็นการเพิ่มปัญหาเข้าไปอีก ไม่ใช่การแก้ปัญหา ขอถามว่าหาก กกต.ยืนยันจะเลื่อนการเลือกตั้ง จะมี

ความผิดหรือไม่ โภคินชี้แจงเรื่องนี้ว่า อาจมีผู้ไปร้องว่า กกต.ไม่ปฏิบัติหน้าที่ แต่โดยส่วนตัวคิดว่า คงยังไม่ไปถึงขั้นนั้น พร้อมพงศ์กล่าวอีกว่า กกต.อาจถูกร้องเรียนว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม

รัฐธรรมนูญ มาตรา 157 แล้วตั้งคำถามว่า หาก กกต.ใช้วิธีลาออกทั้ง 5 คนจะเป็นอย่างไร โภคินชี้แจงว่า ตนเห็นว่า กกต.สามารถแก้ไขปัญหาได้

ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557 มีการประชุมปรึกษาหารือ และรับฟังข้อเสนอจากทุกภาคส่วน ในประเด็นที่ กกต.เห็นว่า การจัดการเลือกตั้งมีผลกระทบ เนื่องจากปัญหาการชุมนุมทางการเมือง

พร้อมทั้งเสนอให้นายกรัฐมนตรี กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยในการประชุมนี้ กลุ่มที่มิได้เข้าร่วมคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง 5 คน (ส่งภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ มาเป็นตัวแทน) กปปส. พรรค

ประชาธิปัตย์ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ที่ประชุมสรุปว่า ควรดำเนินการเลือกตั้งตามกำหนดเดิมต่อไป

@การชุมนุมปิดกรุงเทพมหานคร

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 สุเทพประกาศว่า จะจัดการชุมนุมใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาลรักษาการในวันที่ 13 มกราคม โดยจะตั้งเวทีปิดถนนสำคัญต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งส่งมวลชนไป

เฝ้าสังเกตการณ์ และปิดล้อมบ้านพักรัฐมนตรี[98] วันต่อมา สุเทพอธิบายการปิดกรุงเทพฯ เพิ่มเติมว่า เพื่อไม่ให้ข้าราชการไปทำงาน รวมถึงจะตัดระบบประปาและไฟฟ้า เฉพาะสถานที่ราชการทุก

แห่ง โดยไม่รวมถึงบ้านเรือนของประชาชน และไม่รบกวนการให้บริการ รถโดยสารประจำทาง รถไฟ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน เรือเมล์ (เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารคลองแสนแสบ)

เนื่องจากในทุกถนน จะเว้นช่องทางให้เดินรถเมล์ และรถพยาบาล หรือผู้ป่วยที่จะเข้ารักษาในโรงพยาบาล โดยจะเริ่มปฏิบัติการดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 09:00 น.[99] และวันที่ 6 มกราคม สุเทพกล่าว

ปราศรัยว่า จะยุติเวทีบนถนนราชดำเนิน เพื่อกระจายเวทีออกไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ ทั้งหมด 7 เวทีคือ หน้าศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ กปปส.นนทบุรี, ห้าแยกลาดพร้าว

โดยกลุ่มอาจารย์ส่วนหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยรังสิต และกลุ่มอาจารย์ส่วนหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สี่แยกปทุมวัน โดยส่วนหนึ่งของกลุ่มอาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิต

ปัจจุบัน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สวนลุมพินี โดยชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย, แยกอโศก โดยส่วนหนึ่งของกลุ่มอาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

และส่วนหนึ่งของกลุ่มอาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), แยกราชประสงค์ โดยเสรี วงษ์มณฑา และส่วนหนึ่งของกลุ่มอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยอีก

หลายแห่ง

โดยเมื่อวันที่ 13 มกราคม นอกจาก กปปส.จะชุมนุมตามแยกถนน ในกรุงเทพมหานคร 9 แห่ง นายแพทย์ระวี มาศฉมาดล กรรมการ กปปส. แถลงที่หน้ากระทรวงพลังงานวันเดียวกันว่า กปท.และ

เครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย ซึ่งเป็นอีกเครือข่ายหนึ่งของ กปปส. นำมวลชนปิดล้อมกระทรวงพลังงาน โดยจะมีการค้างแรมไป จนกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะลาออก พร้อมยื่นข้อเสนอระยะสั้นเฉพาะ

หน้า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และปลัดกระทรวงพลังงาน ลดราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 95 และ แก๊สโซฮอล์ 91 ลงลิตรละ 5 บาท โดยทันที และให้ชะลอขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี

ภาคครัวเรือน[101] และวันเดียวกัน กองทัพธรรมแบ่งมวลชนจากถนนราชดำเนินนอก เข้าปิดกั้นการจราจรทั้ง 2 ฝั่งบนสะพานพระราม 8 โดยนำรถปราศรัย มาตั้งขวางกลางสะพาน พร้อมกางเต็นท์

จับจองพื้นที่

สำหรับกระทรวงคมนาคม ดำเนินการเปิดเว็บไซต์ ศูนย์อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชน เพื่อรวบรวม บริการขนส่งมวลชน การเดินทาง จุดเชื่อมต่อ เส้นทางเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา

จุดจอดรถยนต์ เพื่อเดินทางต่อโดยระบบขนส่งสาธารณะ ประชาชนสามารถตรวจสอบ จุดจอดรถ และจุดให้บริการขนส่งสาธารณะ ระหว่างการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ ของ กปปส.

จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงการณ์เมื่อวันที่ 2 มกราคม ตอบโต้สุเทพ โดยนัดชุมนุมคนเสื้อแดง ในวันที่ 13 มกราคม เพื่อเปิดกรุงเทพ

มหานคร  ในวันต่อมา (3 มกราคม) ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ แกนนำ นปช. ชี้แจงรายละเอียด การจัดชุมนุมคู่ขนาน กับกลุ่ม กปปส.ภายใต้ชื่องาน "เปิดประเทศ เปิด

เจ้าของอำนาจอธิปไตย" โดยจะมีการชุมนุมทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และ 14 จังหวัดภาคใต้

ต่อมา เมื่อวันที่ 12 มกราคม นายแพทย์เหวง โตจิราการ, รองศาสตราจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ, และแนวร่วม นปช.จำนวนมาก พร้อมรถบรรทุกขยายเสียง 3 คัน รถจักรยานยนต์ราว 200 คัน และรถยนต์

ชนิดต่าง ๆ อีกกว่า 60 คัน ซึ่งล้วนแต่เปิดไฟหน้ารถ เพื่อรณรงค์ "หยุดรัฐประหาร ต่อต้านกบฎ" คัดค้านการปิดกรุงเทพฯ ของ กปปส. เคลื่อนขบวนจากหน้าสถานีดาวเทียมไทยคม ถนนรัตนาธิเบศร์

อำเภอเมืองนนทบุรี ไปตามเส้นทางต่าง ๆ คือสะพานพระนั่งเกล้า ตลาดสด/หอนาฬิกา/ท่าน้ำนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด เมืองทองธานี แล้วกลับมาที่หน้าสถานีดาวเทียมไทยคม นอกจากนั้น ยังมีการ

เคลื่อนขบวนลักษณะเดียวกัน ที่จังหวัดปทุมธานีด้วย ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ยืนยันว่า จะลดการเผชิญหน้า ลดความขัดแย้งระหว่างสีเสื้อ

@การชุมนุมปิดกั้นหน้าสถานที่ราชการ

เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557 กลุ่ม กปปส.จังหวัดต่าง ๆ เคลื่อนรถปราศรัยเข้าปิดกั้น หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี[107], นอกจากนี้ ยังมีผู้ชุมนุมเข้าปิดกั้น หรือนำรถปราศรัยเข้าปิดกั้น ศาลา

กลางบางจังหวัดในภาคใต้ และมีผู้ชุมนุมเข้ายื่นหนังสือ อาทิ จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดสุราษฎร์ธานี, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดยะลา, จังหวัดชุมพร, จังหวัดสตูล, จังหวัดตรัง, จังหวัดสงขลา,

จังหวัดกระบี่ และจังหวัดปัตตานี

ทั้งนี้ กลุ่ม กปปส.ซึ่งชุมนุมอยู่ในกรุงเทพมหานคร เคลื่อนรถปราศรัยเข้าปิดกั้น หน้าธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่สะพานควาย , กรมทางหลวง, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร,

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และโรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว

นอกจากนี้ กลุ่มเกษตรกรชาวนาซึ่งเดือดร้อนจากเหตุไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าว เข้าชุมนุมปิดกั้น ศาลากลางจังหวัดพิจิตร[114] และในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557 ผู้ชุมนุมกลุ่ม คปท.เข้าทำลายป้าย

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

@ความพยายามสังหารผู้นำกลุ่มทางการเมือง

เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557 มีคนร้ายพยายามจะลอบสังหาร ขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร ด้วยอาวุธปืน ที่บ้านพักในจังหวัดอุดรธานี ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม ปี

เดียวกัน สุทิน ธราทิน หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัย กปท. ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณถนนศรีนครินทร์ ใกล้กับวัดศรีเอี่ยม เขตบางนา กรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 23 เมษายน ปีเดียวกัน กมล ดวงผาสุก

หรือ ไม้หนึ่ง ก.กุนที กวีประชาธิปไตย, แกนนำกลุ่ม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ถูกลอบยิงเสียชีวิต ที่ลานจอดรถ หน้าร้านอาหาร ครกไม้ไทยลาว ซอยลาดปลา

เค้า 24 เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ

@การเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 27 และเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกต่อต้านโดยกลุ่ม กปปส.โดยอ้างว่าต้องการปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง  จึงทำการขัดขวางหน่วยเลือกตั้ง ในบางท้องที่ของกรุงเทพมหานคร และเกือบทั้งหมดของภาคใต้

จนไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้  ซึ่งส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ได้ และจะจัดให้มีการเลือกตั้งชดเชย ในเขตที่

เลือกตั้งไม่ได้ อนึ่ง มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ที่คว่ำบาตรการเลือกตั้ง ด้วยการไม่ส่งผู้สมัคร โดยอ้างว่าการเมืองล้มเหลว

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ อย่างไม่เป็นทางการ คิดเป็นร้อยละ 45.84

@การยึดพื้นที่คืน

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลาเช้า เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการขอพื้นที่ บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศคืน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจ และเข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีการยิงแก๊สน้ำตา

และกระสุนยางตอบโต้ผู้ชุมนุม จากนั้นมีเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้ง และมีกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ยิงลูกระเบิดชนิด เอ็ม-79 เข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย[125] ต่อมาในช่วงบ่าย ผู้

บังคับบัญชา สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ถอนกำลังออกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย ส่วนแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุม ยังคงตรึงพื้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศอยู่ต่อไป[126]

@การยกเลิกปิดกรุงเทพมหานครและเหตุการณ์ต่อเนื่อง

เย็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 สุเทพประกาศว่าจะยุบสถานที่ชุมนุมที่แยกปทุมวัน ราชประสงค์ สีลมและอโศกในวันที่ 2 มีนาคม 2557 และขอโทษแก่ประชาชนผู้ไม่ได้รับความสะดวกจากการยึด

กรุงเทพมหานคร กปปส. ย้ายสถานที่ชุมนุมไปยังสวนลุมพินี นับเป็นจุดสิ้นสุดของ "การปิดกรุงเทพมหานคร" และอีกหนึ่งเวทีชุมนุมที่ยังเหลืออยู่ คือ ที่แจ้งวัฒนะ ที่มีพระสุวิทย์ ธีรธมฺโม (หลวงปู่

พุทธะอิสระ) เป็นแกนนำ ซึ่งประกาศว่าจะไม่รื้อหรือย้ายเวทีไปไหนหลังจากการประกาศของสุเทพ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป ความมุ่งหมายหลักของขบวนการประท้วงจะเป็นการคว่ำ

บาตรและขัดขวางปฏิบัติการของผลประโยชน์ทางธุรกิจของตระกูลชินวัตร[127]

วันที่ 15 มีนาคม 2557 มีการแต่งตั้งจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นประธาน นปช. คนใหม่แทนธิดา ถาวรเศรษฐ และแต่งตั้งณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นเลขาธิการ บนเวทีชุมนุมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[128][129]

ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมองว่าเป็นปรับท่าทีเชิงรุกของคนเสื้อแดง[130][131]

@การเลือกตั้งชดเชย

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 มีการจัดประชุมโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และสมชัย กรรมการการเลือกตั้ง ภายหลังอธิบายว่า หากจะมีการจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้งซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่

สามารถลงสมัครได้ จำเป็นต้องมีพระราชกฤษฎีกาเป็นลายลักษณ์จากรัฐบาล ที่ประชุมตัดสินอย่างเป็นเอกฉะน์ว่าจำต้องแสวงพระราชกฤษฎีกาจากรัฐบาล และคณะกรรมการการเลือกตั้งเชื่อว่า

สามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ในพื้นที่ห้าจังหวัด ระยอง ยะลา ปัตตานี นราธิวาสและเพชรบุรีได้ไม่ยาก ศุภชัย สมเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า คณะกรรมการฯ กำหนดวัน

รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 4–8 มีนาคม การเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 23 มีนาคม และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 30 มีนาคม[132]

คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศวันเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อเปิดโอกาสแก่พลเมืองที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนได้ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากการ

ประท้วงต่อต้านรัฐบาล การเลือกตั้งล่วงหน้าจะจัดในวันที่ 20 เมษยน และกำหนดให้วันที่ 27 เมษายนเป็นวันเลือกตั้งสำหรับเขตเลือกตั้งที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ กปปส.

ไม่เห็นชอบกับวันเลือกตั้งใหม่[133]

ตามวอลสตรีตเจอร์นัล วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 จำนวนผู้ประท้วงลดลงเหลือประมาณ 5,000 คน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เสนอว่าหลังการเลือกตั้งรอบถัดไป รัฐบาลจะดำเนินการเปลี่ยน

แปลงใน 18 เดือนเพื่อเปิดกระบวนการเลือกตั้งแบบใหม่ ถ้อยแถลงของร้อยตำรวจเอก เฉลิมมีขึ้นหลังยิ่งลักษณ์โพสต์ลงหน้าเฟซบุ๊กของเธอซึ่งชี้การเปิดให้นายหน้าบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม

เพื่อช่วยระงับความขัดแย้งทางการเมือง[134]

@การวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

เดิมผู้ตรวจการแผ่นดินต้องการให้การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ถูกเพิกถอน หลังจากกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์วิชากฎหมายสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอว่า

ควรยกเลิกการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเท่านั้น ไม่อาจยื่นคำร้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงขอให้

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแทน โดยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557[135][136]

ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงหกต่อสามว่า เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งไม่

สามารถแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในวันดังกล่าวได้ พระราชกฤษฎีกาจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่อพระราชกฤษฎีกา

ในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[137][138][139]

มีการวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างหนักทั้งจากภาควิชาการและพรรคเพื่อไทย อาทิ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์วิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์

กล่าวว่า เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้เลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวันหลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎร และพระราชกฤษฎีกาก็กำหนดวันเลือกตั้งตามเงื่อนไขดังกล่าว พระราชกฤษฎีกาจึงไม่ขัดต่อรัฐ

ธรรมนูญ[136] พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในสมาชิกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยเสริมว่า กฎหมายจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อมีเนื้อหา

สาระไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพราะมีบุคคลใดมาทำให้ไม่เกิดผลตามรัฐธรรมนูญ[140] คณิน บุญสุวรรณ อาจารย์วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า คำวินิจฉัยของ

ศาลไร้เหตุผล เพราะพระราชกฤษฎีกาไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ไม่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้เนื่องจากถูกผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลขัดขวาง[136][141] ส่วนวีรพัฒน์

ปริยวงศ์ นักวิชาการกฎหมาย ตั้งข้อสังเกตว่า ศาลวินิจฉัยให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะเพราะไม่เสร็จสิ้นภายในวันเดียว แต่ศาลไม่พิจารณาว่า เหตุใดจึงไม่สามารถเสร็จสิ้นได้[142]

กานต์ ยืนยง นักวิเคราะห์การเมือง กล่าวว่า ค่อนข้างชัดเจนว่า องค์กรอิสระต้องการถอดถอนยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีทั้งคณะเพื่อสร้างช่องว่างแห่งอำนาจ โดยอ้างว่า ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

แล้วจะเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตามอำเภอใจ[139] สมชาย ปรีชาศิลปกุล รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในสมาชิกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย กล่าวว่า ไม่แปลกใจ

กับคำวินิจฉัย แต่สลดใจมาก[143] ขณะที่สดศรี สัตยธรรม อดีตผู้พิพากษาและอดีตกรรมการการเลือกตั้ง วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการแช่แข็งประเทศ และเรียกร้องให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิในการ

เลือกตั้งครั้งหน้าให้มากเพื่อ "นำประชาธิปไตยกลับคืนมา"[144]

พรรคเพื่อไทยแสดงความเสียใจต่อคำวินิจฉัย และกล่าวว่า ประเทศได้สูญเสียโอกาสที่จะก้าวเดินต่อไป และศาลได้สร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องเพื่อเปิดให้ล้มการเลือกตั้งทั้งหมดได้ด้วยการสร้าง

ความปั่นป่วนที่หน่วยเลือกตั้งเพียงบางแห่งเท่านั้น[139][145] ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน แสดงความเห็นทำนองเดียวกันว่า "เป็นบรรทัดฐานว่า ต่อไปหากใครอยากล้ม

การเลือกตั้ง ให้หาคนออกมาประท้วงปิดถนนล้อมหน่วยเลือกตั้งไม่ให้มีการสมัครสัก 28 เขต แค่นี้การเลือกตั้งก็เป็นโมฆะ"[146]

วันที่ 21 มีนาคม 2557 นั้นเอง กลุ่มนักเรียนนักศึกษาซึ่งใช้คำขวัญว่า "โปรดเคารพอนาคตของเรา" (Respect My Future) รวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และใช้ผ้าดำคลุมอนุสาวรีย์เพื่อเป็น

สัญลักษณ์ว่า ประชาธิปไตยได้ตายลงแล้ว[147] ส่วนประชาชนอีกกลุ่มจัดกิจกรรมชื่อ "เคารพเสียงของเรา" (Respect My Vote) ที่หน้าบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ที่ทำการเดิมของศาลรัฐธรรมนูญ

เพื่อเรียกร้องให้ตุลาการลาออกเพราะ "ทำลายคุณค่าของเสียงประชาชน"[148] ขณะเดียวกัน สมาชิกพรรคเพื่อไทยแต่งดำเป็นเวลาหกวัน เพื่อไว้ทุกข์ให้แก่ตุลาการหกคนที่ลงมติล้มการเลือกตั้ง[149]

และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในจังหวัดเชียงใหม่ก็ร่วมแต่งดำด้วย[150]

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากมีคำวินิจฉัย องอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ได้เรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และกล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปนั้นขึ้นอยู่กับ

การปรึกษาพูดคุยระหว่างนายกรัฐมนตรีและกรรมการการเลือกตั้งเพื่อจัดการเลือกตั้ง พร้อมทั้งเสนอว่าไม่ควรจะเร่งรีบเพราะอาจจะนำไปสู่การโมฆะอีกครั้ง[151]

ทาง กปปส. โดยเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ได้แถลงในวันเดียวกันหลังจากมีคำวินิจฉัยว่า กปปส. ยอมรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นว่ารัฐบาลดื้อดึงที่จะให้มีการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่าน

มาทั้งที่ยังไม่พร้อม แต่อย่างไรก็นับเป็นโอกาสที่ดีที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมกันปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ส่วนสุเทพนั้นปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใด ๆ ต่อคำวินิจฉัย [152]

อย่างไรก็ดี ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลยินดีกับคำวินิจฉัยนี้[153] และยืนยันว่า จะขัดขวางการเลือกตั้งครั้งต่อไป ๆ อีกจนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสภาประชาชน[32][33]
////////////

ปฏิกิริยา[แก้]
รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ[แก้]
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ผู้รับผิดชอบ ในการป้องกันปราบปราม ระงับยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ อันกระทบต่อความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร

ตามประกาศลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556[154] ออกคำสั่งที่ 404/2556 ลงวันเดียวกัน เพื่อให้จัดตั้ง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เป็นหน่วยขึ้นตรง กอ.รมน. มีภารกิจในการ

ป้องกันปราบปราม ระงับยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ อันกระทบต่อความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร ดังกล่าว โดยมอบหมายให้ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่ง

ชาติ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ[155] ต่อมา มีการออกประกาศอีกสองฉบับ เพื่อขยายกำหนดผลบังคับใช้ และขยายเขตพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์ฯ ลงวันที่ 18 ตุลาคม[156], วันที่ 25 พฤศจิกายน[157] และ

วันที่ 25 ธันวาคม[158] รวมถึงออกคำสั่ง กอ.รมน.อีกสองฉบับ เพื่อกำหนดให้ ศอ.รส.ยังคงเป็นศูนย์อำนวยการฯ ต่อไป ลงวันที่ 18 ตุลาคม[159][160], วันที่ 26 พฤศจิกายน[161] วันที่ 26

ธันวาคม[162]

ทั้งนี้ปรากฏว่า ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน มีพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ประกาศตนเป็นผู้กำกับดูแลงานของ ศอ.รส. ก่อนที่ต่อมา เมื่อเวลา 11:30 น. วันที่ 2

ธันวาคม พลตำรวจเอก ประชา กับสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันแถลงข่าว ใจความสำคัญว่า นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้สุ

รพงษ์ เป็นผู้กำกับดูแลงานของ ศอ.รส. เพื่อเป็นผู้ทำความเข้าใจ กับนานาประเทศให้รับทราบ และเข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง ตนจึงขอมอบหน้าที่กำกับดูแลงาน ศอ.รส.ให้แก่สุรพงษ์ เป็นผู้ควบ

คุมและกำกับดูแล ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[163]

ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และ

อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยให้มีผลบังคับใช้ ระหว่างวันที่ 22 มกราคม ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557 เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่มีแนวโน้ม จะรุนแรงยิ่งขึ้นต่อจากนี้ เนื่องจากยังคงมีกลุ่ม

บุคคล ที่ก่อความวุ่นวาย และนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ล่วงละเมิดต่อกฎหมายแผ่นดิน คำสั่งและหมายของศาล ยุยงให้ประชาชนบุกรุก และยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง ตัดน้ำ

ประปาและไฟฟ้า ปิดระบบฐานข้อมูล พยายามจะเข้าควบคุมตัวผู้บริหาร หรือบุคคลสำคัญซึ่งมีอำนาจหน้าที่ ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนใช้กำลังขัดขวางการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎรเป็นการทั่วไป ซึ่งกำลังจะจัดให้มีขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 อันกระทบต่ออำนาจอธิปไตย และสิทธิของปวงชนชาวไทย ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยชัดแจ้งหรือโดย

ปริยาย นอกจากนี้ ยังมีบุคคลบางกลุ่ม ก่อเหตุร้ายต่อเนื่องหลายครั้ง เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหาย และไม่ปลอดภัยต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน ในสถานการณ์ที่มีกลุ่มบุคคลยุยงประชาชน ให้ละเมิด

กฎหมายมากยิ่งขึ้นอย่างยืดเยื้อ เพื่อก่อให้เกิด ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ และเกิดความเสียหาย หรือไม่ปลอดภัย ต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงเป็นการกระทำที่

ไม่สงบ และมุ่งหมายให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย[43]

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จัดตั้งหน่วยงาน กำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. และมีกรรมการประกอบด้วย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม

อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้อำนวยการศูนย์, พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นรองผู้อำนวย

การ ซึ่งแตกต่างจากอดีตรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ตั้งชื่อหน่วยงานกำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อกลางปี พ.ศ. 2553 นั้นว่า ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เป็น

ผู้อำนวยการศูนย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองผู้อำนวยการ


@ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการชุมนุม

พลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ, นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐ

ธรรมนูญ พ.ศ. 2550, พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ พันโท กมล ประจวบเหมาะ สมาชิกวุฒิสภา อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการ

ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกันแถลงข่าว ถึงสถานการณ์ทางการเมือง พร้อมทั้งประกาศจัดตั้ง กลุ่มนายทหารตำรวจนอกประจำการที่จงรักภักดีต่อสถาบันฯและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอัน

มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (นกภป.) โดยมี พลอากาศเอก กันต์ เป็นประธาน


ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม

สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย

ดูบทความหลักที่ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ, รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, รอง

ศาสตราจารย์ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข, ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล, อาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ และกลุ่มนักวิชาการ

จำนวนกว่า 150 คน ร่วมกันก่อตั้ง สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) โดยมีจุดยืนร่วมกันในเบื้องต้นคือ ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ย­วข้องกับการเมือง และมีข้อเสนอหลัก 3 ข้อ

ดังต่อไปนี้

การก่อตั้งสภาประชาชน ด้วยการอ้างอิงมาตรา 3 ถือว่า ไม่สอดคล้องประชาธิปไตย หลักนิติธรรม ไม่สามารถทำได้
ข้อเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลางหลังยุบสภา ตามมาตรา 7 เป็นการพยายามตีความรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย
เสนอการร่วมออกแบบการทำประชามติ ในการแก้ไขหรือยืนยันการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ควรเป็นทางออกของสังคม
กลุ่มคนกรุงเทพฯ ไม่เห็นด้วยกับ กปปส.

ในเครือข่ายสังคม มีการตั้งกลุ่ม "คนกรุงเทพฯ ไม่เห็นด้วยกับ กปปส." ในเว็บไซต์ change.org เพื่อรณรงค์ให้สุเทพ ยุติการชุมนุม และเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

@พอกันที ! หยุดการชุมนุมที่สร้างเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 3 มกราคม 2557 ที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน มีกิจกรรมจุดเทียนเขียนสันติภาพ จัดโดยแฟนเพจเฟซบุ๊ก พอกันที!หยุดการชุมนุมที่สร้าง

เงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง ภายในงานมีกิจกรรมเขียนโพสต์อิต แสดงความในใจ ต่อสถานการณ์ทางการเมือง มีเวทีเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปราศรัย คนละ 5 นาที ซึ่งมีผู้ร่วมกิจกรรมให้หลาย

คนให้ความสนใจ จากนั้นมีการแจกเทียนให้ผู้ชุมนุมคนละ 1 เล่ม และร่วมกันแปรอักษรภาพมนุษย์ เป็นรูปเครื่องหมายสันติภาพ และจุดเทียน พร้อมร่วมกันอ่านแถลงการณ์ หยุดการณ์ชุมนุมที่สร้าง

เงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง และตะโกนคำว่า พอกันที เอาเลือกตั้ง ไม่เอาเทือกตั้ง อยู่นานหลายนาที ก่อนจะแยกย้ายกันจับกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

กิตติชัย งามชัยพิสิฐ ผู้จัดกิจกรรม กล่าวว่า หลังจากที่เห็นภาพภรรยาของตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง และเห็นการ์ด กปปส.ที่เสียชีวิตในวันต่อมา รู้สึกอัดอั้น

ตันใจอยู่คนเดียว จึงตั้งแฟนเพจดังกล่าวขึ้นมา เพื่อเป็นพื้นที่แสดงออกสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำไปสู่เงื่อนไขความรุนแรงจนมีผู้บาดเจ็บและเสีย

ชีวิตอีก โดยเรียกร้องให้มีการเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นมาเป็นครั้งที่สองแล้ว ไม่ได้มีใครแกนนำ ไม่คิดจะยกระดับการชุมนุม โดยเชื่อว่าผู้มาร่วม

ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ จะพัฒนาไปเองตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วม ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว มีกำหนดจัดขึ้นทุกวันศุกร์ โดยครั้งแรกคือ วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

@ปฏิกิริยาจากนานาชาติ

Flag of the United Nations สหประชาชาติ - นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมประณามเหตุการณ์รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้น โดยย้ำว่าไม่

ควรมีฝ่ายใดใช้ความรุนแรงในการแก้ไขความแตกต่างและความขัดแย้งทางการเมือง และยังกล่าวอีกว่าพร้อมให้ความช่วยเหลือในการหาทางออก หลังจากสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่า

การกระทรวงการต่างประเทศ เสนอให้เลขาธิการสหประชาชาติเป็นคนกลางเจรจาไกล่เกลี่ย

ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา - แมรี ฮาร์ฟ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า ทางการสหรัฐฯ ขอเรียกร้องทุกฝ่าย งดเว้นความรุนแรง อดทนอดกลั้น และ

เคารพหลักนิติรัฐ ขณะเดียวกันรัฐบาลสหรัฐฯ ก็แสดงความชื่นชมรัฐบาลที่แสดงความอดกลั้นมาโดยตลอด โดยขณะนี้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่การทูต กำลังประสานงานกับฝ่ายที่

เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพ ประชาธิปไตย และหาทางออกทางการเมือง

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น - ศาสตราจารย์ ดันแคน แมกคาร์โก (Duncan McCargo) อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลีดส์ แห่งสหราชอาณาจักร ผู้ศึกษาการเมืองไทยอย่างยาวนาน ให้สัมภาษณ์

ผ่านรายการ โกลบอลสแควร์ (Global Square) วิเคราะห์ถึงผู้ชุมนุมฝ่ายสุเทพ ที่เริ่มรวมตัวกันปิดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 เนื่องจากต้องการสถาปนาพวกตนซึ่งเป็น

อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ ในเมืองหลวง และเคยเป็นชนชั้นปกครองมากว่า 30 ปี กลับคืนสู่อำนาจ ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่า การปฏิรูปประเทศ และกดดันให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปในระหว่างปฏิรูป ทั้ง

พยายามยุแยงให้ฝ่ายทหารปฏิวัติด้วย

@การสำรวจความคิดเห็นประชาชน

เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น ของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน

1,975 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-16 มกราคม ในหัวข้อ “คนกรุงฯ กับการเข้าร่วม ปิดกรุงเทพฯ” โดยมีข้อคำถามต่าง ๆ ที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วม กับการชุมนุมกลุ่ม กปปส. คปท. และ กปท. ของ

คนกรุงเทพมหานคร พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากระบุว่า ไม่เคยเข้าร่วม คิดเป็นร้อยละ 71.04 ส่วนอีกร้อยละ 28.96 เคยเข้าร่วม; สำหรับการมีส่วนร่วม ชุมนุมปิดกรุงเทพฯ กับกลุ่ม กปปส. ระหว่าง

วันที่ 13-15 มกราคม ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากระบุว่า ไม่ได้เข้าร่วม คิดเป็นร้อยละ 80.10 ส่วนอีกร้อยละ 19.90 ไปเข้าร่วมด้วย

@ผลกระทบ

@ด้านเศรษฐกิจ

วันที่ 23 ธันวาคม 2556 ค่าเงินบาทไทยลดลงต่ำสุดในรอบสามปีเนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง[178][179] ตามข้อมูลของบลูมเบิร์ก ค่าเงินของไทยลดลงร้อยละ 4.6 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน

และธันวาคม ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลักร่วงลงเช่นกัน (ร้อยละ 9.1)

ในด้านการท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศรายงานว่ารายได้จากการท่องเที่ยวลดลง 125 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปี 2555 สมาคม

พันธมิตรท่องเที่ยวไทย-จีนทำนายว่า สำหรับไตรมาสแรกของปี 2557 จำนวนชาวจีนที่เดินทางเข้าประเทศคาดว่าจะลดลงร้อยละ 60 จาก 900,000 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2556[181] ซึ่งปี

นั้น ชาวจีนเป็นชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด

ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2557 วันที่สองของการ "ปิดกรุงเทพฯ" ว่า ธนาคารสาขาต่าง ๆ 135 แห่งได้รับผลกระทบ ธนาคารกล่าวว่า 36 สาขาประกาศปิดเต็มวัน ขณะที่

99 แห่งประกาศปิดก่อนเวลาทำการปกติ

ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยกระทรวงการคลังของไทย บลูมเบิร์ก แอล.พี. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นักลงทุนต่างชาติได้ถอนเงิน 3,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (เกือบ 100,000 ล้านบาท) จาก

ตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่เริ่มการประทว้งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังได้ประโยชน์และตลาดหลักทรัพย์ได้ติดตามเงินประมาณ 6,300 ล้าน

บาทว่าย้ายไปลงทุนในหลักทรัพย์อินโดนีเซียแทน[184][185] วันที่ 23 มกราคม 2557 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ แถลงว่าจำนวนผู้เดินทางมาประเทศไทยจะ

ลดลงเหลือหนึ่งล้านคนในเดือนมกราคม 2557 ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรนักท่องเที่ยวปกติของเดือนมกราคม ผู้แทนจากบาร์เคลย์ บริษัทบริการธนาคารและการเงินข้ามชาติของสหราช

อาณาจักร กล่าวย้ำประวัติของการเคลื่อนไหวทางการเมืองและอธิบายต่อว่า "มันไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น สิ่งที่กำลังเสียหายคือ การรับรู้ การลงทุนและการท่องเที่ยว ขณะนี้ทั้งหมด

สามารถย้อนกลับคืนได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายบางอย่างจะกลายเป็นถาวร"[184][185]

ตามรายงานสื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เซ็นทรัลเวิลด์ หนึ่งในศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ปริมาณลูกค้าลดลงร้อยละ 20 จากปี 2556 วันเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยลด

การพยากรณ์การเติบโตของจีดีพีในปี 2557 ลงจากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 3

รายงานข้อมูลเศรษฐกิจซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ระบุว่า จีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 นับเป็นระดับการเติบโตต่ำสุดของประเทศนับแต่ไตรมาสแรกของปี 2555

ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงว่าค่าเงินบาทอ่อนลงร้อยละ 4 นับแต่เริ่มชุมนุม โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงว่า นโยบายการเงินในวันที่ 17 กุมภาพันธ์เพียงพอที่จะรองรับความต้องการของประเทศ

แล้ว

@ด้านคมนาคม

กระทรวงคมนาคมประเมินจากการที่กลุ่มกปปส.ชุมนุมปิดถนน 7 จุด ว่า วันที่ 13 มกราคมประชาชนเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะลดลงกว่าปกติ โดยทางรถประจำทาง ลดลงร้อยละ 30 ซึ่ง

สอดคล้องกับผู้ที่ให้บริการรถโดยสารบางส่วน ยอมรับว่ารายได้หายไปกว่าครึ่ง ผู้ใช้บริการสามล้อรับจ้าง หรือ ตุ๊กตุ๊กย่านสะพานควาย คนหนึ่ง กล่าวถึงการเดินทางของประชาชนวันนี้ว่า ส่วนใหญ่

จะใช้บริการรถโดยสารสาธารณะประเภท รถไฟฟ้า หรือ รถเมล์ เนื่องจากมีถนนหลายสายที่ไม่สามารถสัญจรได้ ทำให้ไม่ค่อยมีผู้โดยสารมาใช้บริการ เช่นเดียวกับแม่ค้ารายหนึ่งที่ยอมรับว่า มีปัญหา

ด้านการเดินทางเข้าพื้นที่ย่านอนุสาวรีย์ ซึ่งเป็นอีกร้านที่เปิดขายอยู่ทุกวันแต่วันนี้ ไม่สามารถขนของเข้าพื้นที่ได้ จึงเปิดขายได้เพียงร้านเดียว

ซึ่งการชุมนุมของกลุ่มกปปส.ตามเส้นทางต่าง ๆ ส่งผลให้การเดินทางของประชาชนในภาพรวมลดน้อยลงและมีผลกระทบทั้งการเดินทางในระบบรถส่วนบุคคล และการเดินทางในระบบรถ

โดยสารสาธารณะภายใต้โครงข่ายของขสมก. ปรับเปลี่ยนเส้นทางหลายจุดโดยบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯกระทบการเดินรถของรถโดยสารสาธารณะ 90 สายนอกจากนี้ยังกระทบต่อการเดินทางของ

ประชาชนด้วยระบบขนส่งสาธารณะลดลงกว่าปกติ โดยทางรถประจำทางปกติ 3.1 ล้าน เหลือ 2 ล้านคน ลดลงร้อยละ 30 ดอนเมืองโทล์เวย์ปกติ 80,000 เที่ยว เหลือ 51,000 เที่ยว ลดลงร้อยละ 46 มี

เพียงเรือคลองแสนแสบที่เพิ่มขึ้นจากปกติ 47,000 คน เป็น 60,000 คน คิดเป็นร้อยละ 20 เรือด่วนเจ้าพระยาปกติ 35,000 เที่ยว เป็น 50,000 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 40แอร์พอร์ตลิงก์ปกติ 40,000 เที่ยว เป็น

48,000 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 บีทีเอส 700,000 เที่ยว ใกล้เคียงปกติ

ไทกรปูด แดงมีแผนปฏิเสธอำนาจศาล(ศร.)และ ปปช.

เพจ ไทกร พลสุวรรณ โพส ข้อความอ้างว่า ฝ่ายแดง โดย นปช.แดงทั้งแผ่นดิน,พวกซ้ายจัด,ส.ส.หัวเอียงซ้าย,กองกำลังติดอาวุธ ชายชุดดำ มีแผนการเคลื่อนไหวเพื่อ ปฏิเสธอำนาจศาล(ศร.)และ ปปช. ใน ๔ รูปแบบ ที่จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันจันทร์ ที่ ๕ พ.ค.เป็นต้นไป
/// 

แผนปฏิเสธอำนาจศาล(ศร.)และ ปปช.

นปช.แดงทั้งแผ่นดิน,พวกซ้ายจัด,ส.ส.หัวเอียงซ้าย
,กองกำลังติดอาวุธ ชายชุดดำ
แยกกันปฏิบัติการดังนี้
1.นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ภารกิจคือ หัวหมู่ทะลวงฟัน ปฏิบัติการคือ
~ปักหลักชุมนุมในพื้นที่ กทม.อย่างยืดเยื้อ
~ใช้ทีวีแดงปลุกกระแสต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญ และ ปปช.พร้อมทั้งใช้สื่อในเครือข่ายระบอบทักษิณนำเสนอข่าวสร้างกระแสต่อต้าน และขยายความขัดแย้งให้กว้างขวางมากขึ้น
~ใช้มวลชนแดงในกรุงเทพเคลื่อนขบวนไปมา เพื่อสร้างความปั่นป่วนและความน่าหวาดกลัว ทั้งขบวนรถยนต์และขบวนมอเตอร์ไซค์
2.พวกซ้ายจัด ภารกิจคือ สนับสนุนการชุมนุมของ นปช.แบบใต้ดินดังนี้
~ปล่อยข่าวสร้างกระแสโดยทั่วไปว่า การชุมนุมของเสื้อแดงได้รับการสนับสนุนจากเจ้านายผู้ใหญ่บางพระองค์
~โจมตีใส่ร้ายองคมนตรี
~โจมตีพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
~ปล่อยข่าวสร้างกระแสว่ามีความแตกแยกในราชวงศ์
~ปล่อยข่าวเรื่องทหารแตกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายประชาชน(เสื้อแดง)กับฝ่ายอำมาตย์
~ล็อบบี้ให้แม้วจ่ายเงินสนับสนุนการชุมนุมของเสื้อแดง อย่าให้เงินขาดมือ
3.ส.ส.หัวเอียงซ้าย ยึดพื้นที่ของตนเองปลุกกระแสต่อต้าน
~จัดชุมนุมต่อต้านศาล(ศร.)และ ปปช.ในจังหวัดของตนเอง
~ให้การสนับสนุนทางลับกับทีมชายชุดดำในพื้นที่ ลงมือปฏิบัติการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่โดยการก่อวินาศกรรม เช่น เผา,วางระเบิด,ยิงถล่ม เป้าหมายที่เป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณ
4.กองกำลังติดอาวุธ"ชายชุดดำ" ภารกิจคือ สร้างสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่กรุงเทพ
~ก่อวินาศกรรม เช่น เผา,วางระเบิด,ยิงเอ็ม 79,ยิงผู้ชุมนุม เป้าหมายทั้งบุคคลและสถานที่
~ลอบสังหารแกนนำและบุคคลสำคัญ เพื่อสุ่มไฟให้เกิดการปะทะกันแบบแตกหัก

แผนการนี้จะเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค.2557 เป็นต้นไป