PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

สปป.:รัฐบาลรักษาการ

ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อผู้นำรัฐบาลลงจากตำแหน่ง ไม่ว่าจากการลาออกหรือยุบสภา รัฐบาลนั้นจะยังคงต้องบริหารกิจการต่างๆ ของประเทศต่อไปในฐานะรัฐบาลรักษาการ (caretaker government) ในทางการเมืองมักจะเรียกประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีรักษาการว่า Incumbent หรือผู้กุมสภาพ

แน่นอนว่ารัฐบาลรักษาการนี้มีข้อจำกัดมากมาย เช่น ไม่สามารถตั้งงบประมาณใหม่ ไม่สามารถทำข้อตกลงระหว่างรัฐได้ ฯลฯ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงมักกำหนดระยะเวลาที่จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็วที่สุด แต่ก็มีบางครั้งที่วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองทำให้การตั้งรัฐบาลใหม่ต้องผลัดออกไปเป็นเวลานานๆ

รัฐบาลรักษาการที่มีอายุยาวนานมีไม่มากนัก ที่รู้จักกันดีคือรัฐบาลของนาย Joop den Uyl นายกรักษาการของเนเธอแลนด์ในปี 1977 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่นานถึง 207 วันจึงสามารถตกลงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ อิรักใช้เวลา 249 วันในการจัดตั้งรัฐาลใหม่ในปี 2011 และที่ทุบทุกสถิติโลกก็คึอการดำรงตำแหน่งของนาย Yves Leterme ซึ่งรักษาการนายกเบลเยี่ยมอยู่นานถึง 589 วันหลังจากการลาออกของตนเองในปี 2010 เนื่องจากพรรคร่วมต่างๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ลงตัว

แม้จะต้องอดทนต่อวิกฤตการเมืองที่กินเวลาร่วมปี แต่ท้ายที่สุดทั้งเนเธอแลนด์และเบลเยี่ยมก็ได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้นายกรัฐมนตรีที่มีที่มาตามกติกาที่ทุกคนยอมรับร่วมกัน.. เพราะถึงที่สุดแล้ว การเลือกตั้งคือทางออกที่ดีที่สุดในการหาข้อยุติทางการเมือง ผู้นำคนใหม่ที่จะมาแก้ไขปัญหา ปฏิรูปประเทศจำเป็นที่จะต้องมาจากการลงคะแนนของประชาชนที่ล้วนก็เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤต

ดังนั้นแล้ว ในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลรักษาการณ์จึงต้องทำงานต่อไป จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ "ที่มาจากการเลือกตั้ง" .. ไม่มีหนทางอื่น !
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อผู้นำรัฐบาลลงจากตำแหน่ง ไม่ว่าจากการลาออกหรือยุบสภา รัฐบาลนั้นจะยังคงต้องบริหารกิจการต่างๆ ของประเทศต่อไปในฐานะรัฐบาลรักษาการ (caretaker government) ในทางการเมืองมักจะเรียกประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีรักษาการว่า Incumbent หรือผู้กุมสภาพ

แน่นอนว่ารัฐบาลรักษาการนี้มีข้อจำกัดมากมาย เช่น ไม่สามารถตั้งงบประมาณใหม่ ไม่สามารถทำข้อตกลงระหว่างรัฐได้ ฯลฯ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงมักกำหนดระยะเวลาที่จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็วที่สุด แต่ก็มีบางครั้งที่วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองทำให้การตั้งรัฐบาลใหม่ต้องผลัดออกไปเป็นเวลานานๆ

รัฐบาลรักษาการที่มีอายุยาวนานมีไม่มากนัก ที่รู้จักกันดีคือรัฐบาลของนาย Joop den Uyl นายกรักษาการของเนเธอแลนด์ในปี 1977 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่นานถึง 207 วันจึงสามารถตกลงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ อิรักใช้เวลา 249 วันในการจัดตั้งรัฐาลใหม่ในปี 2011 และที่ทุบทุกสถิติโลกก็คึอการดำรงตำแหน่งของนาย Yves Leterme ซึ่งรักษาการนายกเบลเยี่ยมอยู่นานถึง 589 วันหลังจากการลาออกของตนเองในปี 2010 เนื่องจากพรรคร่วมต่างๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ลงตัว

แม้จะต้องอดทนต่อวิกฤตการเมืองที่กินเวลาร่วมปี แต่ท้ายที่สุดทั้งเนเธอแลนด์และเบลเยี่ยมก็ได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้นายกรัฐมนตรีที่มีที่มาตามกติกาที่ทุกคนยอมรับร่วมกัน.. เพราะถึงที่สุดแล้ว การเลือกตั้งคือทางออกที่ดีที่สุดในการหาข้อยุติทางการเมือง ผู้นำคนใหม่ที่จะมาแก้ไขปัญหา ปฏิรูปประเทศจำเป็นที่จะต้องมาจากการลงคะแนนของประชาชนที่ล้วนก็เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤต

ดังนั้นแล้ว ในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลรักษาการณ์จึงต้องทำงานต่อไป จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ "ที่มาจากการเลือกตั้ง" .. ไม่มีหนทางอื่น !

"สาธิต เซกัล" ส่งตัวแทน ถวายฎีการ้องขอความเป็นธรรม แล้วหลังโดนเนรเทศ

ถวายฏีกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวาน วันนี้ ตม.ถือหมายมาปิด ยังงี้เรียกว่าท้าทายพระราชอำนาจหรือเปล่า

"สาธิต เซกัล" ถวายฎีกาแล้วหลังโดนเนรเทศ -สุดอั้น!! ศรส.ไม่เคยเรียกสอบสวน

"สาธิต เซกัล" ส่งตัวแทน ถวายฎีการ้องขอความเป็นธรรม แล้วหลังโดนเนรเทศ -ชี้ไม่เคยได้รับเอกสาร หรือเรียกไปสอบสวนจาก ศรส.เลยสักครั้ง

วันนี้ ( 6 มี.ค.57 ) เวลาประมาณ 09.00 น. จส.100 รายงานว่า ตัวแทนนายสาธิต เซกัล ประธานสมาคมนักธุรกิจอินเดีย-ไทย ได้เดินทางไปที่สำนักพระราชวัง เพื่อถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กรณีศูนย์รักษาความสงบ(ศรส.) มีคำสั่งเนรเทศออกนอกประเทศแล้ว
นายสาธิต กล่าวว่า ไม่ได้รับความยุติธรรม ซึ่งวันนี้ได้มอบหมายให้น้องชาย และทนายความมายื่น เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยไม่เคยเรียกมาชี้แจง และไม่ทราบขั้นตอนดำเนินการใด ๆ จน ถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับเอกสาร ศรส. เรื่องข้อกล่าวหาที่เนรเทศออกนอกประเทศ ไม่เคยมีการเรียกไปสอบสวน ไม่เคยผ่านตามกระบวนการยุติธรรม โดยทั้งนี้ยืนยันการเคลื่อนไหวทางการเมือง กับ กปปส.ไม่เคยพาดพิง หรือกล่าวพาดพิง หรือ กระทำผิดกฏหมายอาญา มาตรา12(7) ว่าด้วย วิธีการที่ก่อการร้ายต่อสังคม
ด้านนายอาทิตย์ เปิดเผยว่า พี่ชายของตนมีความจงรักภักดีต่อสถาบัน และมีการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง แต่ในลักษณ์เทิดทูนสถาบัน และหลังจากเกิดเรื่องขึ้น ครอบครัว รู้สึกเสียใจ
ขณะที่ ทนายความ เปิดเผยว่า นายถาวร เสนเนียมแกนนำ กปปส. จะเดินทางไปยื่นฟ้อง ร้อยตำรวจเอกเฉลิม กรณีฝ่าฝืนละเมิดคำสั่งศาลแพ่งที่กำหนด ข้อห้าม 9 ข้อ รวมถึงคำสั่งเนรเทศ นายสาธิต อีกด้วย
tnews


มติชนวิเคราะห์ ...นับถอยหลัง เข้าสู่′นาทีสุดท้าย′ จับสัญญาณ′แตกหัก′ ?!

วิเคราะห์

ยังอยู่ในเกมรอคอยมะม่วงหล่น ที่การเผชิญหน้าตึงเครียดมากขึ้นเป็นลำดับ

เสียงระเบิด เสียงปืน ประทัดยักษ์ ดังสนั่นใกล้บริเวณชุมนุม และอาคารสถานที่ต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน

การจับกุมหน่วยซีลที่มารับจ๊อบเป็นการ์ดให้แกนนำม็อบ ก็ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างเหล่าทัพกับม็อบ กปปส.

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ประกาศไม่เจรจากับใครทั้งสิ้น เป็นสัญญาณที่ส่งตรงไปยังวงเจรจาที่ถกกันเงียบๆ วางตัวนายกฯคนกลางและรัฐบาลกลาง

ทำเอาวงเจรจาต้องพักประเมินสถานการณ์

ก่อนที่นายสุเทพจะพลิกเกม หันมาเล่นเชิง ท้าให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเจรจาในสถานที่เปิดเผย คุยกันสองต่อสอง ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์

ทางฝ่ายรัฐบาลไม่รับข้อเสนอนี้ เพราะตามรูปการณ์ ออกไปทาง "ดีเบต" มากกว่าที่จะเป็นการเจรจาหาทางออก

แรงบีบจากขั้วอำนาจตรงข้าม ต่อรัฐบาลเพื่อไทย หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ

โดยเฉพาะการเตรียมจะลงดาบฟัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในข้อหาละเลยเพิกเฉยให้มีการโกงจำนำข้าว ซึ่งคาดว่า จะทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯปลาย มี.ค.นี้

ทำให้พรรคเพื่อไทย ต้องงัดเอาข้อมูลความล่าช้าในการพิจารณาการระบายข้าวในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมัยเป็นนายกฯ ตั้งแต่ปี 2553 เวลาผ่านไป 4 ปียังไม่มีความคืบหน้า ขึ้นมาสู้

น.ส.ยิ่งลักษณ์เอง ออกมาตอบโต้แรงบีบแรงกดดัน ด้วยการประกาศว่าจะทำงานในหน้าที่จนนาทีสุดท้าย

รวมถึงที่ให้สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ 28 ก.พ. ที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ต้องบอกว่าเราเป็นผู้รักษากติกา รักษาประชาธิปไตย ถ้าในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือเป็นทหารก็ต้องบอกว่าทหารต้องทำหน้าที่ของตนเองจนนาทีสุดท้าย ทหารต้องรักษาพื้นที่

ต้องตายสนามรบ วันนี้ดิฉันก็ต้องตายในสนามประชาธิปไตย

นี่คือหน้าที่ การที่ประเทศจะเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นจากต่างชาติได้ ก็คือการที่เราต้องเดินตามกรอบของประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นผู้นำรัฐบาล ไม่สามารถบอกประเทศอื่นว่าตนเองจะไม่รักษา

ประชาธิปไตย จะให้คนอื่นมาฉีกรัฐธรรมนูญได้ เป็นใครที่อยู่ในหน้าที่ปฏิบัติก็ต้องทำหน้าที่ของตนเอง

เช่นเดียวกับทหารที่ต้องทำหน้าที่ของตนเองในสนามรบจนนาทีสุดท้ายเช่นเดียวกัน

และที่ทำให้สถานการณ์เข้มข้นขึ้นมาอีก ยังได้แก่ การเข้ามาสู่เกมของผู้สนับสนุนรัฐบาล รวมถึง แนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.

ด้วยการออกมาแสดงปฏิกิริยาต่อคำตัดสินของศาลแพ่ง ที่สั่งยกเลิกข้อห้าม 9 ข้อ จาก 12 ข้อ ในมาตรการตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

และไปชุมนุมปิดสำนักงาน ป.ป.ช. โดยใช้มุขเดียวกับ กปปส.ที่ไปปิดทำเนียบ สถานที่ราชการต่างๆ

นปช.นัดชุมนุมประชาชนที่ทุ่งศรีเมือง อุดรธานี ในวันที่ 1 มี.ค. ก่อนจะปฏิบัติการย้อนเกล็ด กปปส. ด้วยเคลื่อนออกไปปิดหน่วยงานองค์กรอิสระ ที่มีสำนักงานในภาคอีสาน

และยังมีการเคลื่อนไหวของนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน ที่ประกาศว่า จะระดมกองกำลังอาสาปกป้องประชาธิปไตย จำนวนนับแสนคน

เริ่มเปิดรับสมัครที่ภาคอีสาน ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.เป็นต้นไป

การปราศรัยของคนเสื้อแดง กล่าวถึงการปฏิบัติ 2 มาตรฐาน วิกฤตการเมืองที่ทำให้ความแตกแยกของประชาชนในแต่ละภาครุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ความเคลื่อนไหวของเสื้อแดง กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวในเชิงความมั่นคง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้สั่งการในฐานะรองผอ.กอ.รมน. ให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ติดตามความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ด้วยอาการซีเรียส

และให้สัมภาษณ์ถึงการเคลื่อนไหวของเสื้อแดง หลังเป็นประธานเปิดเวทีมวยลุมพินีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ว่า

ได้นำเรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบแล้ว ในคำสั่งไม่ได้ให้จับตาใครเป็นพิเศษ ให้ดูแลทุกกลุ่มที่ฝ่าฝืนกฎหมายความมั่นคง รวมถึงการพูดจาว่าสิ่งไหนผิด บางอย่างต้องเข้าใจว่า เป็นคำพูด การกระทำ

ยังไม่เกิด หากการกระทำที่สมบูรณ์ความผิดก็จะเกิดขึ้น และสามารถดำเนินคดีได้

ส่วนกรณีการสวนสนามตำรวจบ้านที่ จ.พะเยา โดยใช้ธงสีแดงแทนธงชาติไทยนั้น เรื่องนี้ได้เตือนไปหมดแล้วว่าอย่าทำอย่างนั้นอีก

และยังตอบคำถามเรื่องการปฏิวัติ ว่าการปฏิวัติที่ผ่านมาเพราะมีเหตุการณ์รุนแรง ความไม่เป็นธรรม แต่ในวันนี้โลกเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน ประชาชนก็เปลี่ยน พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ไปถึงตรง

นั้นเพราะเป็นเรื่องที่อันตราย

คงไม่สัญญาว่าการปฏิวัติจะมีหรือไม่มี แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องในทางนิตินัย ซึ่งการปฏิวัติทุกครั้งเพื่อให้สถานการณ์ยุติ แล้วยุติได้หรือไม่ก็ต้องไปนั่งวิเคราะห์กัน ทุก

สถานการณ์ต้องแก้ไขด้วยกฎหมาย หากแก้ไม่ได้ก็ต้องใช้วิธีพิเศษ

ส่วนจะเป็นวิธีพิเศษอย่างไรก็ต้องไปว่ากัน --พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

เมื่อต่างฝ่ายต่างระดม "ตัวช่วย" ออกมาเข้าแนวรบ ขณะที่วันชี้ชะตานายกฯและรัฐบาลใกล้เข้ามาเรื่อยๆ

เหมือนจะเป็นสูตรเดิมที่เคยใช้สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

แต่ปัจจัยตัวแปร แตกต่างออกไป โดยเฉพาะท่าทีจากต่างประเทศ และขบวนการหนุนรัฐบาลในต่างจังหวัดที่ส่งสัญญาณเหมือนพร้อมแตกหัก

สถานการณ์จากนี้ไปน่าจะอ่อนไหวและหมิ่นเหม่มากขึ้น

ด้วยอุณหภูมิจากวิกฤตยืดเยื้อที่ร้อนระอุอยู่แล้ว

และจากการฉวยโอกาส การจ้องหาจังหวะป่วนของกลุ่มที่ยังหวังพึ่งพา "วิธีพิเศษ"

...........................................................................................

(ที่มา:มติชนรายวัน 2 มี.ค. 2557)

ที่มา: http://bit.ly/1kvPMnh  

มหากาพย์การเมืองปี ๒๕๔๗-๒๕๕๗

มหากาพย์การเมืองปี ๒๕๔๗-๒๕๕๗



ความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทย อันมีจุดเริ่มต้นจากปฐมบทจากการขับไล่ "ระบอบทักษิณ" นั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่กลางปี ๒๕๔๗ ในนาม "กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์" โดยมีแกนนำประกอบด้วย นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ,นายเอกยุทธ อัญชันบุตร (เสียชีวิตแล้ว), นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์, นายอัมรินทร์ คอมันตร์,พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม ในนาม ชมรมคนรู้ทัน, นายสมาน ศรีงาม ในนาม ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ, นายประพันธ์ คูณมี และนายเพียร ยงหนู ในนาม สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมถึงกลุ่มสตรีผู้สูงศักดิ์และมีเชื้อสายราชนิกูลด้วย เช่น หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรี ประธานกลุ่มรักความจริงและความโปร่งใส, นางปราไพ ปราสาททองโอสถ, นางเบญจวรรณ กระจ่างเนตร์ และนางสุมารี วีระไวทยะ เป็นต้น โดยร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลการทุจริตในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ และมีการชุมนุมใหญ่ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๕กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่การประโคมข่าวความเคลื่อนไหวไม่ประสบความสำเร็จมากนัก การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายรักฐมนตรี เริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ท้ายสุดได้นำไปสู่การทำรัฐประหารโดยคณะนายทหารเมื่อ ๑๙ ก.ย. ๒๕๔๙ และนำไปสู่การจัดตั้ง "เครือข่าย ๑๙ กันยา ต้านรัฐประหาร" กับ "กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ" เมื่อ ๑ พ.ย.๕๗ ที่เคลื่อนไหวต่อต้านการทำรัฐประหารและสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งต่อมารวมกลุ่มกับ "นปก." ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๕๐ และกลายเป็นกลุ่ม นปช. ในที่สุด
ความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน (ก.พ.๒๕๔๗) นับรวมเวลากว่า ๙ ปี และยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงไปโดยสงบราบคาบ แม้ฝ่ายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) จะยุติแผนปฏิบัติการ "Shutdown Bangkok" ย้ายมวลชน กปปส. ไปปักหลักชุมนุมที่เวที กปปส. สวนลุมพินี คงเหลือแต่แนวร่วม กปปส. ๕ กลุ่ม ที่ยืนยันขอปักหลักชุมนุมอยู่ที่เดิม ได้แก่
๑. กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) นำโดย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ ปักหลักชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้า กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มแรกที่รับไม้ต่อจาก "องค์กรพิทักษ์สยาม" ภายใต้การนำของ "เสธ.อ้าย" เปิดตัวมาตั้งแต่ ๒๕ ก.ค. ๒๕๕๖ ด้วยการแถลงข่าวที่ห้องศิวะรา ราชตฤณมัยสมาคมฯ มีกลุ่มเสนาธิการร่วม อาทิ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ อดีตแกนนำเครือข่ายคนไทยรักชาติ รักษาแผ่นดิน นายไทกร พลสุวรรณ ฯลฯ เริ่มชุมนุมตั้งแต่ ๔ ส.ค. ๒๕๕๖ กลุ่มนี้ปักหลักชุมนุมอยู่ที่สวนลุมพินีมาระยะหนึ่ง ก่อนย้ายมาปักหลักชุมนุมที่ ถ.ราชดำเนินนอก เรื่อยมา 
๒. เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดยนายนิติธร ล้ำเหลือ "ทนายนกเขา" และนายอุทัย ยอดมณี นักศึกษารามคำแหง สายพรรคสานแสงทอง กลุ่มนี้แยกตัวมาจากกลุ่ม กปท. หลังแกนนำ กปท. ตัดสินใจนำมวลชนที่ปักหลักชุมนุมอยู่ที่ทำเนียบฯ กลับไปปักหลักชุมนุมที่สวนลุมพินีที่เดิม เพื่อเปิดพื้นที่ให้รัฐบาลใช้ต้อนรับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่มีมวลชนบางส่วนไม่ยินยอมจึงปักหลักชุมนุมที่แยกอุรุพงษ์ ก่อนย้ายไปชุมนุมเชิงสะพานมัฆวานฯ
๓. กลุ่มแนวร่วมประชาชนภาคประชาชน (นปป.) นำโดย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และนายคมสัน ทองศิริ เลขาธิการ สรส. รวมถึงกลุ่มนักศึกษา มร. สายพรรคสานแสงทอง ปักหลักชุมนุมที่ มท.
๔. เวที กปปส. แจ้งวัฒนะ นำโดย หลวงปู่พุทธอิสระ  กลุ่มนี้ได้รับการร้องขอจากนายสุเทพให้มาชุมนุมรวมกับ กปปส. แต่หลวงปู่ขอตั้งเวทีเอง เคยขัดแย้งกับกลุ่ม กปปส.นนทบุรี ภายใต้การนำของนายราเชน ตระกูลเวียง โดยหลวงปู่ฯ ยอมรับว่าที่ผ่านมาไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนายราเชนที่ให้เคลื่อนไปกระทรวงสาธารณสุข เพราะปลัดกระทรวง แพทย์ พยาบาลเลือกข้างชัดเจนแล้ว
๕. กลุ่มกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย นำโดย นพ.ระวี มาศฉมาดล และนายทศพล แก้วทิมา ปักหลักชุมนุมที่กระทรวงพลังงานเก่ายศเส-โบ๊เบ๊ หลังถูกขอคืนพื้นที่ชุมนุมบริเวณ สนง.ใหญ่ ปตท.  กลุ่มนี้เริ่มจากการเข้าร่วมชุมนุมกับ กปท. ก่อนแยกไปตั้งเวทีที่ สนง.ปตท. และต่อมานายสุทิน ธราทิน หนึ่งในแกนนำ ถูกยิงเสียชีวิตขณะนำมวลชนไปปิดล้อมหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าที่วัดศรีเอี่ยม ย่านบางนา
ท่าทีของนายสุเทพที่ประกาศนำมวลชนไปปักหลักที่สวนลุมพินี ในเชิงยุทธวิธีถูกวิเคราะห์ว่าเป็นการรอคอยเวลา...ด้วยการนำมวลชนที่อ่อนล้าไปปักหลักในพื้นที่ที่มีความพร้อมต่อการชุมนุมยืดเยื้อ  ปัจจุบันมวลชนส่วนใหญ่ของ กปปส. ก็ปักหลักชุมนุมในพื้นที่สวนลุมพินีอยู่แล้ว การยุบเวทีลงยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการแต่ละเวทีลงไปด้วย ไม่ใช่การถอยทัพของ กปปส. แต่อย่างใด การต่อสู้ในทางเปิดจะยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับความพยายามที่จะประสานการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งของหลายๆ ฝ่าย  
ฝ่ายต่อต้าน "ระบอบทักษิณ" แม้จะอ้างการชุมนุมสันติวิธีอหิงสา แต่ก็ต้องยอมรับว่าการชุมนุมในหลายครั้ง ทั้งการ์ดนักรบศรีวิชัย และ "ชายชุดดำ" แจก "ป๊อปคอร์น" ถือเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของการใช้ความรุนแรง ทั้งด้วยตั้งใจหรือเพื่อต่อสู้ตอบโต้กลับ ขณะที่ฟากฝั่ง นปช. แม้จะดูสงวนท่าทีในเชิงประกาศศึกในห้วงที่ผ่านมาหลังเกิดเหตุรุนแรงย่านรามคำแหงระหว่างที่ นปช. ชุมนุมที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน พร้อมปรากฏชื่อทีม "เลิศ ไม้เก่า" ที่ใกล้ชิดกับแกนนำ นปช. และ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว ยังรวมถึงเสื้อแดงสายวิทยุชุมชน ออกมาต่อต้านอย่างชัดเจน โดยเฉพาะนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ "โกตี๋แดงนอกคอก" ดีเจวิทยุเสื้อแดง สถานีวิทยุประชาชน เอฟเอ็ม ๑๐๔.๑๐ คลองสาม ปทุมธานี ที่ปรากฏชื่อในหลายเหตุการณ์ที่เป็นเหตุรุนแรง ที่ชัดเจนที่สุดพร้อมกับมีภาพยืนยันตัวตน คือ เหตุปะทะหลักสี่เมื่อ ๑ ก.พ. ๒๕๕๗
“โกตี๋” ตั้งกลุ่ม “กลุ่มปทุมธานีรักษ์ประชาธิปไตย” เมื่อปี ๒๕๕๒ ได้รับการสนับสนุนจาก “ชูชาติ หาญสวัสดิ์” และบรรดาส.ส.ในจังหวัดปทุมธานี ในช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีบทบาทสำคัญในการยกพลไปล้มการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่โรงแรมรอยัลคลิฟ พัทยา ที่ขณะนั้นมีแดงฮาร์ดคอร์อย่าง "อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง" และ "สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์" เป็นแกนนำ โดยเฉพาะบทบาทของการปราศรัยของ "สุรชัย" นั้น นำไปสู่การขว้างปาก้อนหินกันอุตลุตระหว่างฝ่ายเสื้อแดงกับฝ่ายเสื้อน้ำเงิน
เมื่อปี ๒๕๕๓ ““กลุ่มปทุมธานีรักษ์ประชาธิปไตย” ยังเป็นทัพหน้าที่เคลื่อนกำลังบุกยึดสถานีไทยคม ลาดหลุมแก้ว จนเกิดเหตุปะทะกับ “ทหาร”  แต่หลัง “คนเสื้อแดง” พ่ายแพ้ในการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ บรรดา “แดงฮาร์ดคอร์” ก็กระจัดกระจายกันไป ช่วงที่ “โกตี๋” หนีการไล่ล่าหัวซุกหัวซุน ก็ได้รวบรวมบรรดา “แดงฮาร์ดคอร์” ที่เคยอยู่กับ “พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล” หรือ สธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ซึ่งส่วนใหญ่เป็น “อดีตทหาร” ไร้ที่พึ่งก็มาอาศัยบารมีของ “โกตี๋” ที่ยังพอมีอยู่บ้างในจังหวัดปทุมธานี ใช้เป็นฐานในการหลบหนีกบดาน กลางปี ๒๕๕๔ “โกตี๋” ก็คัมแบ็คกลับมาจัดคลื่นวิทยุ “คนเสื้อแดง” อีกครั้ง พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “หมู่บ้านเสื้อแดง” ขึ้นในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์เคลื่อนไหวของ “แดงนปช.” 
“โกตี๋” มีคอนเนคชั่นกับ “พรรคเพื่อไทย” อยู่บ้าง เพราะสนิทสนมกับ “พ.ต.ท.เสงี่ยม สำราญรัตน์” อดีตข้าราชการการเมืองสำนักนายกรัฐมนตรี “ชินวัฒน์ หาบุญพาด” อดีตส.ส.ปาตี้ลิสต์ พรรคเพื่อไทย “พายัพ ปั้นเกตุ” อดีตส.ส.ปาตี้ลิสต์ พรรคเพื่อไทย เป็นต้น ว่ากันว่า...การเคลื่อนไหวของ "โกตี๋" ก็เพื่อสร้างผลงานที่ส่งผลดีถึงระดับ "นาย" ด้วย
หลัง "โกตี๋" เล่นบทหนักมาระยะหนึ่ง ขณะที่แดงฮาร์ดคอร์อย่าง "ขวัญชัย ไพรพนา" นอนพักรักษาตัวจากการถูกยิง ๑-๓ มี.ค. ๒๕๕๗ กลุ่ม นปช. ก็ได้ฤกษ์ "ลั่นกลองรบ" หลังมีข่าวเป็นระยะจากปากของแกนนำ นปช. และพรรค พท. ทั้งระดับบน กลาง และล่าง พูดเรื่องการแยกประเทศ เพราะว่ามาวันนี้ฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่อาจยอมรับฝ่ายประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้อีกต่อไป
เมื่อ ๑ มี.ค. ๒๕๕๗ นางธิดา ถาวรเศรษฐ "ส.ปูน" ประธาน นปช.  กล่าวเปรียบเทียบสถานการณ์ว่า
"ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นจาก พวกจารีตนิยมหัวดื้อที่หวงแหนอำนาจ  ยังต้องการอำนาจอยู่ในมือตนเอง ทั้งโครงสร้าง การเมือง และธุรกิจ แล้วมารุมสะกรัมอำนาจรัฐ และประชาชน ทำให้การเมืองถูกลายอย่างย่อยยับ ทำลายอนาธิปไตย ทำตามใจฉัน ไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ไปยึดเอาเผด็จการเสียงข้างน้อย ได้รับการสนับสนุนจากคนล้าหลัง ถึงเวลาที่ นปช.จะเปิดโปงความเลวร้าย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระ เริ่มจาก ป.ป.ช.ถือเป็นองค์กรเถื่อน เพราะไม่ได้รับการโปรดเกล้า , กกต.ไม่อยากจะจัดการเลือกตั้ง , องค์กรสิทธิมนุษยชน ไม่สนใจ กปปส.ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานประชาชน , กองทัพก็เอากาชาดไปอำพราง สวมชุดทหาร ติดตรากาชาดสากล แต่กลับถือปืน และยังขู่จะทำรัฐประหาร,   กระบวนการยุติธรรม เป็นตราชั่งเอียงที่พูดได้ แต่ขอเตือนต้องทำหน้าที่ผดุงความยุติธรรม มีกระแส นปช.ต้องการแบ่งแยกประเทศ เราจะไปทำไปทำไม เพราะเราคือเจ้าของประเทศ คือคนคนส่วนใหญ่ ร่วมกันสร้างประเทศมาหลายร้อยปี ประเทศเจริญขึ้นมาเพราะคนอีสาน แต่คนอีสานกลับถูกเหยียดหยาม โดยชาวอีสานกำลังต่อสู้กับคนล้าหลัง ทำประเทศให้ล้าหลัง คนอีสานจึงไม่ต้องการประชาธิปไตยแบบไทยๆ แต่ต้องการประชาธิปไตยแบบประเทศอื่น คือไม่เอาแบบจารีตนิยม"
บทวิเคราะห์ทางการเมืองเกี่ยวกับความขัดแย้งของสังคมไทย หากมองในมุมฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้า ได้ตั้งเอาวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕  เป็นวันต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย และเห็นว่าจนถึงปัจจุบันประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตย ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยไม่เอาระบอบทักษิณตั้งต้นเอาปี ๒๕๔๘ เป็นปฐมบท ว่ากันว่า...การต่อสู้ในคร้ั้งนี้เปิดหน้าเปิดตาเล่นกันอย่างเปิดเผยในทุกระดับทุกฝ่าย แม้แต่ "ชายชุดดำ" ก็ยังถูกนำมาเปิดเผยใบหน้ากันไปหลายคน  ฝ่ายพรรคเพื่อไทยอ้างความชอบธรรมจากการเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง  ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอ้างรัฐบาลหมดความชอบธรรมและเป็นสิทธิของประชาชนในระบอบ ประชาธิปไตยที่จะขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อบริหารประเทศได้ไม่ดี  ฝ่ายพรรค พท. อ้างยอมคืนอำนาจให้ประชาชนแล้วด้วยการยุบสภาและจัดเลือกตั้งใหม่  ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอ้างว่าเมื่อรัฐบาลรักษาการอยู่ในอำนาจย่อมส่งผลให้การจัดการเลือกตั้งขาดความชอบธรรม จึงต้องลาออกจากรัฐบาลรักษาการและทำการปฏิรูปประเทศก่อน ๑๘ เดือน ค่อยเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง

วันนี้เวลานี้...จึงมีการวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ชุมนุมยืดเยื้อประลองกำลัง ยังคงดำเนินต่อไปอีก ๓ เดือน จึงจะมีข้อสรุป แม้ "กำนันสุเทพ" จะประกาศสงครามครั้งสุดท้ายระดมมวลชนเข้าร่วมชุมนุมมาแล้วหลายรอบ แต่ก็ยังไม่มีบทสรุปของ "มหากาพย์" แต่อย่างใด ส่วนฝ่าย นปช. เพิ่ง "ลั่นกลองรบ" ศึกครั้งนี้คงไม่จบม้วนเดียวภายใน ๒-๓ วันอย่างแน่นอน และเหตุเด็กเสียชีวิตในพื้นที่ชุมนุมจึงน่าจะไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้ายอย่าง แน่นอน  ว่ากันว่า...แม้จะมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง มีผู้เสียชีวิตจากความเห็นต่างทางการเมืองกันไปหลายคน แต่ท่าทีของแต่ละฝ่ายยังไม่ได้เล่นนอกระบบเท่าที่ควร ความหวังและเป้าหมายของทั้งสองฝ่ายในขณะนี้คือ บทบาทขององค์กรอิสระ  ดังนั้น การเดินเกมทางการเมืองด้วยการจัดชุมนุมดิสเครดิตยังคงเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ ชิงกระแสกันแบบวันต่อวัน เช่นเดียวกับเกมใต้ดินของฝ่ายที่ก่อเหตุและสร้างสถานการณ์ทั้งเพื่อความสะใจและหวังสร้างเงื่อนไขทางการเมืองก็ยังคงดำเนินต่อไปเช่นกัน
จะทำอย่างไรให้ชาติไทยก้าวข้ามวิฤกติการเมืองที่ฟาดฟันกันมาเกือบ ๑๐ ปีนี้ไปเสียที เพื่อจะได้เดินหน้าพัฒนาประเทศกันอย่างเต็มที่ บทสรุปทางการเมืองที่ดีที่สุดคือ จบบนโต๊ะเจรจา แม้จะเปิดศึกนองเลือดแต่ที่สุดก็ต้องกลับสู่โต๊ะเจรจาอยู่ดี การที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ประกาศตายในสนามรบประชาธิปไตย ย่อมบ่งชี้ว่าฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้าสู้ไม่ถอยเช่นกัน ไม่รวมถึงการจัดตั้งกองกำลังอาสาสมัครพิทักษ์ประชาธิปไตยในภาคอีสาน แต่ละฝ่ายต่างได้สร้างเครื่องมือในการขับเคลื่อนแนวทางของตนอย่างชัดเจน สื่อทีวีดาวเทียมที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ความดีของฝ่ายตน โจมตีความชั่วร้ายหรือเลวไม่มีที่ติของฝ่ายตรงข้าม ยังคงดำรงอยู่ได้ในสังคมไทย โดยที่ กสทช. กินเงินเดือนเป็นแสนนั่งเงียบ
อย่างนั้น...ตอนอวสานของมหากาพย์ทางการเมืองมีอยู่ ๓ แนว คือ (๑) เข้าประหัตประหารให้รู้แพ้รู้ชนะกันไปข้าง"รบเถิด อรชุน หากท่านตายในสนามรบ สวรรค์ยังรอท่านอยู่ ยังเปิดประตูรอผู้ปราชัย แม้นหากว่าท่านชนะความเป็นใหญ่ในแผ่นดินนี้ ทุกพงพื้นปฐพีรอให้ท่านเข้ามาครอบครอง" (๒) เจรจาจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัวกันของทั้งสองฝ่าย (๓)เปิดการเจรจาที่ตั้งอยู่บนประโยชน์ร่วมของสังคม ไม่จบแค่คนชั้นนำ ไม่เอาแต่ประโยชน์ของตัวเอง ไม่ทิ้งประชาชนทั้งสองฝ่าย นักการเมืองและชนชั้นนำละวางความขัดแย้งและผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อความอยู่รอดของชาติ
เชื่อไหม...ใครๆ ก็อยากเห็นบทอวสานที่ Happy Ending แบบทางเลือกที่ ๓ เพราะประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาช้านาน  นานจนลืมว่า...อำนาจทางการเมืองควรเป็นของประชาชน ไม่ใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ใช่นางธิดา ถาวรเศรษฐ ไม่ใช่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่กองทัพ ไม่ใช่...ไม่ใช่...ไม่ใช่...
บอกแล้วว่าไม่ใช่....บ้านเมืองไม่ใช่ของเล่นนะ...ประชาชนมีชีวิตจิตใจนะ...
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต..แค่แสดงภาพไม่ใช่ข้อยืนยันว่าเกิดขึ้นจริงตามข้อความหรือสัญลักษณ์ที่แสดง)

โดย littlestar

อนุมัติหมายจับ'อิสสระ สมชัย'ซ้อม รปภ.เสื้อแดง โยนทิ้งแม่น้ำบางปะกง


« เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:21:40 PM »

  

    ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา อนุมัติหมายจับ'อิสสระ สมชัย'ซ้อม รปภ.เสื้อแดง โยนทิ้งแม่น้ำบางปะกง

เมื่อวันที่ 7 มี.ค. พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออยผกก.สภ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เปิดเผยความคืบ
หน้ากรณีนายยืม นิลหล้าอายุ 33 ปี อาชีพรปภ. อยู่บ้านเลขที่ 96 หมู่ 4 ต.ท่าแฝก อ.ท่าปลา จ.อุตร
ดิตถ์ถูกคนร้ายไม่ทราบจำนวนรุมซ้อมจนได้รับบาดเจ็บอาการสาหัสแล้วมัดแขน มัดขาปิดตา นำมา
โยนทิ้งแม่น้ำบางปะกง ถนนบางนา-ตราดกม.50 เมื่อวันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา แต่โชคดีมีชาวบ้านช่วย
ชีวิตเอาไว้ได้ ว่า ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราได้อนุมัติหมายจับกลุ่มคนร้ายในกรณีดังกล่าวแล้ว คือ
นายอิสสระ สมชัย แกนนำ กปปส. และพวกอีก 6คน ข้อหาร่วมกันทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้
ก่อน หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพจนได้รับอันตรายสาหัส ร่วมกันทำร้ายร่างกาย
ผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัสและร่วมกันลักทรัพย์ร่วมกันเอาเอกสารของผู้อื่นโดยประการที่จะเกิด
ความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชนซึ่งจะได้ติดตามตัวกลุ่มคนร้ายมาสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป