PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ทหารเสือพระสุรสีห์ พล.ร.9 ขยับ จัดไลน์ /เสธ.ก้อง ขึ้น รอง ผู้การกรม สน.

ทหารเสือพระสุรสีห์ พล.ร.9 ขยับ จัดไลน์ /เสธ.ก้อง ขึ้น รอง ผู้การกรม สน./ เสธ.กอล์ฟ เป็น ผู้พัน ร.29พัน1
พันเอกวินิจ สว่างเนตร รองผบ.กรมสนับสนุน พล.ร.9 ขยับเป็น รองผบ.ร.9
เสธ.ก้อง พันเอกพงศพัฒน์ ห้องสินหลาก (ตท.32) เสธ.ร.19 เป็นรองผบ.กรมสนับสนุน พล.ร 9 พันเอกพรรณศักย์ เพรียวพานิช ผบ.ร. 29 พัน1 เป็นเสธ.ร. 19
เสธ.กอล์ฟ พันโท อริยวรรษ มาลาหอม(ตท.37) หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนพล.ร.9 เป็น ผบ.ร.29 พัน1
พันเอกเฉลิมพล. สังข์ต้อง รองผบ.กรมสนับสนุน พล.ร.9 เป็นรองผบ.ร 19
พันโทณัฐพงศ์ น้อยประชา หน.ฝ่ายข่าว พล ร.9 เป็น ผบ.ร. 29 พัน3

วันแรก ไม่คึกคักนัก! .

กอ.รมน.รายงานผล ตอบ6 คำถาม "บิ๊กตู่"วันแรก ไม่คึกคักนัก! ... กทม. 1,718 คนรวมทั้งประเทศ17,696 คน อิสาน เยอะสุด9,633คน โคราช-ขอนแก่น-สกลนคร พอคึกคัก 3จ.ชายแดนใต้ ก็ยังมาตอบ รวมเกือบ300คน
เรียงลำดับมากสุดทั่วประเทศ 5 อันดับแรก
1. นครราชสีมา 3,416 คน
2. สกลนคร 2,311 คน
3. ขอนแก่น 2,302 คน
4. กทม. 1,718 คน
5. เพชรบูรณ์ 755 คน
มีรายงานข่าวจาก กอ.รมน.ภาค และจังหวัด ถึงการไปตอบคำถาม4+6 ของ "นายกฯบิ๊กตู่" ของประชาชน ที่ศูนย์ดำรงธรรม ในวันแรก 13 พย.2560 ที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ได้มีการเกณฑ์ชาวบ้านไปตอบ
กอ.รมน.ภาค 1 ภาคกลาง รวม 4,787คน
1.นครปฐม 92 คน
2.ราชบุรี 89 คน
3.สมุทรสาคร-108 คน
4.สมุทรสงคราม 71 คน
5.เพชรบุรี 17 คน
6.ประจวบคีรีขันธ์ 124 คน
7.ปทุมธานี 134 คน
8.นนทบุรี 122 คน
9.สุพรรณบุรี 79 คน
10.ชัยนาท 87 คน
11.สิงห์บุรี 56 คน
12.อ่างทอง 68 คน
13.นครนายก 72 คน
14.ฉะเชิงเทรา 150คน
15.ปราจีนบุรี 86 คน
16.สระแก้ว 75 คน
17.ชลบุรี -95
18.สมุทรปราการ-175
19.ระยอง 79 คน
20.จันทบุรี 93 คน
21.ตราด 96 คน
22.กาญจนบุรี 105
23.สระบุรี -815
24.ลพบุรี 101 คน
25.อยุธยา 60 คน
26.กรุงเทพ-1,718 คน
กอ.รมน.ภาค 2 ภาคอิสาน 9,633คน
1.กาฬสินธุ์ เป็นชาย.26 คน หญิง24คน
รวม 50 คน
2.ขอนแก่น ชาย1,037 หญิง.1,229 คนรวม 2,302 คน
3.ชัยภูมิ ช.17 ญ.25 คน รวม 42 คน
4.นครพนม ช.20 ญ.16 รวม 36 คน
5.นครราชสีมา-ช.1,876 ญ.1,540 คนรวม 3,416 คน
6.บึงกาฬ ช.69 ญ.61 คน รวม 130 คน
7.บุรีรัมย์ ช.94 ญ.68 คน รวม 162 คน
8.มหาสารคาม ช.50 ญ. 19 คน รวม 69 คน
9.มุกดาหาร ช.39 ญ.49 คน รวม 88 คน
10.ยโสธร ช.46 ญ.36 รวม 82 คน
11.ร้อยเอ็ด ช.28 ญ.33 คน รวม 61 คน
12.เลย ช.30 ญ.28 คน รวม 58 คน
13.ศรีสะเกษ ช.89 ญ.131 คน รวม 220 คน
14.สกลนคร ช.1,261 ญ.1,050 คน รวม 2,311 คน
15.สุรินทร์ ช.52 ญ.41 คน รวม 93 คน
16.หนองคาย ช.15 ญ.15 รวม 30 คน
17.หนองบัวลำภู ช.29 ญ.26 คนรวม 55 คน
18.อำนาจเจริญ ช.52 ญ.63 คน รวม 115 คน
19.อุดรราชธานี ช.84 ญ.37 คน รวม 121 คน
20.อุบลราชธานี ช.84 ญ75 คน รวม152 คน
กอ.รมน.ภาค 3 ภาคเหนือ 2,250 คน
1.กำแพงเพชร-82
2.เชียงใหม่168 คน
3.เชียงราย53คน
4.ตาก29คน
5.น่าน51คน
6.นครสวรรค์354คน
7.พิจิตร107 คน
8.เพชรบูรณ์ 755คน
9.พะเยา 278คน
10.แพร่11 คน
11.พิษณุโลก-183คน
12.แม่ฮ่องสอน-19คน
13.ลำพูน59 คน
14.ลำปาง25คน
15.สุโขทัย20คน
16.อุตรดิตถ์27คน
17.อุทัยธานี 30คน
กอ.รมน.ภาค 4 ภาคใต้ 1,026คน
1.จ.ชุมพร 134 คน
2.จ.ระนอง 7คน
3.จ.สุราษฎร์ธานี -106คน
4.จ.พังงา 123 คน
5.จ.ภูเก็ต 44 คน
6.จ.กระบี่ 72 คน
7.จ.นครศรีธรรมราช 47 คน
8.จ.ตรัง 75 คน
9.จ.พัทลุง 32 คน
10.จ.สงขลา 20 คน
11.จ.สตูล 79คน
12.จ.ปัตตานี 64คน
13.จ.ยะลา 48 คน
14.จ.นราธิวาส 175 คน

นายกฯให้อยู่ ให้ไป ให้ย้าย ก็พร้อม

"บิ๊กอู๋" ตะเบ๊ะ หลังตรง !! ยัน "ผมมีวินัย" นายกฯให้อยู่ ให้ไป ให้ย้าย ก็พร้อม ยันไม่รู้ "บิ๊กแป๊ะ" ผบ.ตร. จะมาแทน
"บิ๊กอู๋" พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พัฒนาสังคมฯ ปัดตอบ ไม่รู้ ข่าว จะถูกขยับ เปิดทางให้ บิ๊กแป๊ะ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. มาเป็น รมว.พม.แทน เผย นายกฯยังไม่ได้คุยอะไรด้วย.....ไม่รู้ ข่าว ขยับขึ้น รองนายกฯ หรือไม่
แต่ไม่ว่า นายกฯจะให้ไปอยู่ไหน ไม่ว่า จะอยู่หรือไป "บิ๊กอู๋ " บอก "ผมเป็นคนมีวินัย อยู่แล้ว" ผม "ตะเบ๊ะ!!!

"บิ๊กโด่ง" ชิ่งนักข่าว

บนทางเดิน แห่งความฝันนี้....
อาจไม่มี พรมแดง ปูทาง....
อุปสรรค ขวากหนาม มากมาย เหลือเกิน...
"บิ๊กโด่ง" พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม เดินหลบนักข่าว ขึ้นประชุม ครม....ออกตัวว่า "ผมไม่มีข้อมูล ไม่มีอะไร"
ท่ามกลางกระแสข่าว และถูกจับตามอง ว่า จะ ถูกขยับ ถูกปรับ ครม.หรือไม่

ยัน ไม่มีการเกณฑ์ประชาชน ไปตอบ 6คำถาม นายกฯ

โฆษก กอ.รมน. โต้"อภิสิทธิ์" ยัน ไม่มีการเกณฑ์ประชาชน ไปตอบ 6คำถาม นายกฯ แต่เป็นไปตามธรรมชาติ ตามวิถีชีวิต เผย ยอดรวม ปชช. ตอบ 17,696 คน ภาคอิสาน มามากสุด 9,633 คน โคราชมากสุด 3,416 คน ระนอง ต่ำสุด 7 คน
พลตรี พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษกกอ.รมน. กล่าวถึงการที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า มีการเกณฑ์ประชาชน ไปตอบคำถาม 6 ข้อ ของนายกฯ นั้นว่า ไม่เป็นความจริง ไม่มีการเกณฑ์ประชาชน ไปตอบ 6คำถาม นายกฯ แต่เป็นไปตามธรรมชาติ ตามวิถีชีวิตของประชาชน
ทั้งนี้จากรายงาน พบว่า การตอบคำถาม วันแรก 13 พย. นั้น ภาคอีสาน มาตอบมากที่สุด รวม 9,633 คน โดยนครราชสีมา ตอบมากสุด 3,416 คน
ภาคกลาง มาตอบคำถาม 4,787 คน คนกทม. มาตอบมากสุด 1,718 คน
ภาคเหนือ 2,250 คน จ.เพชรบูรณ์ มากสุด 755 คน
ภาคใต้ 1,026 คน นราธิวาส มากสุด 175 คน
ส่วน จังหวัด 5 อันดับแรก ที่ตอบคำถามมากสุดคือ 1. นครราชสีมา 3,416 คน
2. สกลนคร 2,311 คน 3. ขอนแด่น 2,302 คน 4. กทม. 1,718 คน 5. เพชรบูรณ์ 755 คน
ส่วนน้อยที่สุด 5 อันดับสุดท้าย
1. ระนอง 7 คน
2. แพร่ 11 คน
3. เพชรบุรี 17 คน
4. แม่ฮ่องสอน 19 คน
5. สุโขทัย และ สงขลา 20 คน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทง จะสรุปยอด รายงาน ทุก10วัน

ปิดวิทยุสปริง

รายการ "หน้า1 กรอบเช้า" ของ "พี่เด้ง บุญระดม จิตรดอน" ทุกเช้า และรายการ "ก็อสสิพ การเมือง" ทุกวันเสาร์ "พี่เด้ง"กับ "ญาดา เพิ่มลาภ" และ "เจาะข่าวลายพราง" ทุกวันเสาร์ กับ "พี่เล็ก วาสนา" และ"น้องไอ้ซ์ ปรัชญา นงนุช" ....เตรียม โบกมืออำลา แฟนๆรายการ ใน อีกไม่นานนี้...
.เพราะ คลื่น Spring Radio FM 98.5 เตรียมอำลาหน้าปัดวิทยุ เร็วๆ นี้ เพราะปัญหาทางธุรกิจ.....
ทุกคนใจหาย โดยเฉพาะ "พี่เด้ง บุญระดม จิตรดอน" ที่จัดรายการวิทยุ มาราว 20ปี.... แต่ต้อง วางมือ วางมือ ทั้งๆที่ ใจยังอยาก บอกเล่าเริ่องราว ให้ผู้ฟัง รับทราบ.....
หลังปิดสถานี "พี่เด้ง" จะไปพักผ่อน ทำใจ สักพัก จากนั้น จะพบ ,พี่เด้ง" ทาง เฟสบุ้ค Live เพราะพี่เด้ง บอก ถ้าอยู่เฉยๆ ทำข่าว อย่างเดียว รู้สึกแปลกๆ เคย ตื่นเช้ามาจัดรายการ.... จึงอยากจะจัดรายการ ให้ฟังต่อไปทางFB live....แต่แฟนทางวิทยุ ก็คงจะไม่ได้ฟัง ....คิดถึง ทุกคน นะ
ใจหายๆ ....

สวน"เสี่ยหนู"..โต้"หนุ่มมาร์ค"

สวน"เสี่ยหนู"..โต้"หนุ่มมาร์ค"

"บิ๊กป้อม" สวน "อนุทิน" 6ข้อ "นายกฯ"ถามประชาชน ไม่ได้ถามนักการเมือง ยัน ไม่ผลักมิตร เป็น ศัตรู ยันเป็นมิตรกับทุกคน / โต้"อภิสิทธิ์" ยันไมได้เกณฑ์ คนมาตอบคำถาม ขอมองในทางบริสุทธิ์ บ้าง ยันไมได้หวัง ตั้งพรรค หรือ มีนอมีนี หนุนใคร

"บิ๊กป้อม" พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม กล่าวถึงเสียงวิจารณ์ 6 คำถามของนายกฯ ที่หวังสืบทอดอำนาจ หวังผลการเมือง นั้นว่า นายกฯถามประชาชน อยากรู้ความเห็นปชช. ไม่ได้ถามนักการเมือง

ส่วนการที่ นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า มีการเกณฑ์ ประชาชน ไปตอบคำถาม นั้น ว่า ไม่มี ใครจะไปเกณฑ์ ประชาชน ไปตอบคำถาม แล้วแต่ว่าใครจะไปตอบ

ส่วนที่ปชช.ไปตอบกันเบาบาง นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า นี่ เพิ่งเริ่มต้น วันแรก ก็เป็นธรรมดา ที่จะปชช.มาหันเบาบางตา เพราะเพิ่งเริ่มต้น

ส่วนที่ถูกวิจารณ์ว่า หวังผลทางการเมือง ในกาตั้งพรรคและ การสนับสนุนพรรค จะทำให้ คสช. ไม่เป็นกลาง นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ท่านนายกฯไม่ได้คิดแบบนั้น ท่าน นายกฯแค่อยากถามประชาชน ไม่ใช่ถามพรรคการเมือง

ส่วนเสียงวิจารณ์นั้น เราจะไปนั่นเค้าได้ยังไง เพราะเขาคิดแบบนี้

ส่วนการที่ นายอนุทิน ชาญวีรกุล หร.พรรคภูมิใจไทย ออกมาวิจารณ์ 6คำถามว่า ไม่ให้เกียรติ นักการเมือง นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า มองกันคนละแง่ แล้วนี่ถามประชนชน ไม่ได้ถามนักการเมือง

ส่วน รูปแบบคำถาม แบบใช่หรือไม่ นั้น เป็นเรื่องไปคิดกันเอง ผมไม่รู้ ผมไม่ได้เป็นคนถาม. ตัองไปถาม ท่านนายกฯ

ส่วนที่มองว่า กรณี นายอนุทิน คสช.ผลักมิตร ไปเป็นศัตรู นั้น

"คสช.ไม่ได้เป็นศัครูกับใคร เราเป็นมิตรกับทุกพรรค ทุกคน ไม่มีคนไหนเป็นศัตรู ไม่มี. เราเป็นมิตรทั้งหมด"

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ คสช. ส่อแววจะตั้งพรรค หรือสนับสนุนบางพรรค หรือไม่ เลยทำให้มีศัตรู นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ยังไม่สนับสนุน แต่อย่าถามล่วงหน้า ผมจะตอบได้ไง ไปถามนายกฯ อยากรู้ ท่านไม่ได้ตั้งพรรคการเมือง นี่

อยากให้มองในทางบริสุทธิ์บ้าง เพราะท่านนายกฯ อยากรู้จาก ปชช. ว่า ปชช.ว่าไง

เมื่อถามว่า หากประชาขนให้ตั้งพรรค จะทำอย่างไร พลเอกประวิตร กล่าวว่า ยังไม่รู้อะไรเลย ถามเนี่ย ถามไป ข้างหน้า ยังไม่มีอะไรเลย จะให้ผมตอบยังไง

ทำท่า "เลื่อย ขาเก้าอี้" ประกอบ ด้วย...



ทำท่า "เลื่อย ขาเก้าอี้" ประกอบ ด้วย...
"บิ๊กป้อม" ท้า ย้าย"บิ๊กแป๊ะ" แล้วเอา"ศรีวราห์"มาเป็น ผบ.ตร.แทน. เปรย ให้รอดูไป ว่า จะย้าย บิ๊กแป๊ะ มาเป็น รมต.มั้ย
‪"บิ๊กป้อม" พลเอกประวิตร บอกให้ รอดูไปว่า "บิ๊กแป๊ะ" พล.ต.อ.จักรทิพย์ ผบ.ตร.จะโดนโยก มาเป็นรมต. เปิดทางเปลี่ยน ให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ เป็น ผบ.ตร.หรือไม่
"คุณย้ายเลย อยากย้าย ย้ายเลย คุณจะได้เอา ศรีวราห์ ขึ้น คุณย้ายซิ" บิ๊กป้ิม กล่าว
เมื่อถามว่า ยืนยันได้หรือไม่ว่า ไม่มีการบ้สย พลเอกประวิตร บอก ไม่ต้องยืนยันแต่ให้ดูไป
แต่สื่อเมื่อถามว่า ให้ดูไป นี่ มีโอกาส ใช่มั้ย บิ๊กป้อม สวนทันทีว่า ไม่มี
พร้อมติงสื่อถาม "เลอะเทอะ"เมื่อถามว่า มีโอกาสใช่มั้ย ที่ให้รอดูเนี่ย....‬
‪ออกตัว ไม่รู้ทำไม "บิ๊กแป๊ะ" โดนเลื่อยขาเก้าอี้ตลอด เพราะผมไม่ใช่คนเลื่อย‬
พร้อมทำท่า มือถือ เลื่อย อีกด้วย

หลากคำตอบ ฟังเสียงจากชาวบ้าน ตอบคำถามนายกฯ

หลากคำตอบ ฟังเสียงจากชาวบ้าน ตอบคำถามนายกฯ


หมายเหตุ – ความเห็นจากนักศึกษาและประชาชนบางส่วนที่เดินทางไปตอบคำถาม 4 ข้อเดิม และ 6 ข้อใหม่ของนายกฯที่ศูนย์ดำรงธรรมในจังหวัดต่างๆ ที่กระทรวงมหาดไทยเปิดรับคำตอบวันแรก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน

นภดล พรมมา

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ถือเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ที่จะได้มีโอกาสสื่อสารถึงความต้องการไปยังนายกฯ รู้สึกดีที่มีการตั้งคำถามและรับฟังความคิดเห็นประชาชน แต่คำถามยาวและมีความเห็นของผู้ถามอยู่ในนั้นด้วย ต้องอ่านและทำความเข้าใจให้ดีจึงจะตอบได้ตรงจุด

ผมมองว่าช่วงที่รัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารประเทศแก้ปัญหาได้ตรงจุด แต่ปัญหาของบ้านเมืองมีมากจึงไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด ทำให้เป็นการแก้ไขปัญหาทีละประเด็น คงต้องวางแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว
สิ่งที่ผมมองอีกอย่างคือ คำถามจากนายกฯไม่ควรเป็นเรื่องการเมืองอย่างเดียว แต่ควรมีปัญหาเรื่องการศึกษาและเศรษฐกิจด้วย เพราะคนไทยส่วนใหญ่เป็นระดับรากหญ้าที่รอการแก้ไข ต้องทำงานหนักดิ้นรนหาเช้ากินค่ำ รัฐบาลควรหาทางเพิ่มสวัสดิการและให้ความสำคัญมากขึ้น

ผมเห็นด้วยหลายประเด็นในคำถามของนายกฯ แต่การเมืองไทยที่เห็นคือสิ่งสะท้อนคนไทยในสังคมว่าเป็นอย่างไร เท่าที่ดูก็คือเราคงต้องพัฒนาประเทศชาติไปอีกนาน

น.ส.วิลาสินี ภาพพิมาย

นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา

ที่นายกฯเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคำถาม 4 ข้อก่อนหน้านี้ และ 6 ข้อเมื่อเร็วๆ นี้นั้น ถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่สำคัญต่อการทำงานของรัฐบาลในปัจจุบัน และอาจจะเป็นแนวทางในการทำงานให้กับรัฐบาลในอนาคตที่กำลังเกิดขึ้น

สง่า บงสันเทียะ

อายุ 57 ปี ชาวตำบลสำโรง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา

รู้สึกดีใจที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนในการร่วมแสดงความคิดเห็น และต้องการรู้ถึงปัญหาความต้องการของประชาชนชาวรากหญ้าส่วนใหญ่ ต้องการให้รัฐบาลป้องกันไม่ให้นักเมืองที่โกงกินสามารถเข้ามาบริหารประเทศแล้วชอบฉกฉวยผลประโยชน์

อาภรณ์ ปราวกระโทก

อายุ 60 ปี ชาว ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา

ครั้งที่ผ่านมาฉันพลาดโอกาส ไม่ได้ไปแสดงความคิดเห็น 4 ข้อ แต่ครั้งนี้ได้มาตอบคำถาม 6 ข้อแล้วรู้สึกได้มีส่วนร่วม เพื่อช่วยขับเคลื่อนผลักดันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า จึงรู้สึกดีใจอย่างมาก ขอให้รัฐบาลบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

วิทยา จันทรเนตร

อายุ 72 ปี ชาว ต.ในเมือง อ.เมืองยโสธร

ถือเป็นเรื่องดีอย่างมากที่นายกฯได้ตั้งคำถามขึ้นมาถามประชาชนโดยตรง เพราะที่ผ่านมาไม่เคยเห็นมีรัฐบาลไหนเคยถามถึงความต้องการของประชาชนมาก่อน เห็นแต่ไปถามนักการเมืองน้ำเน่าหรือสื่อมวลชนเท่านั้น ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาล คสช.โดยการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯที่เข้ามาบริหารประเทศและสามารถเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเด็ดขาด เช่น ปัญหาการคอร์รัปชั่น ปัญหาการบุกรุกที่ป่าสงวนฯ เป็นต้น

อดล แถวหมอ

อายุ 63 ปี ข้าราชการบำนาญ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น

สําหรับคำถามของนายกฯ 6 คำถาม รวมกับ 4 คำถาม เป็น 10 คำถาม เป็นสิ่งที่ดีมาก เราจะได้รู้ว่าใครจะทำอะไร เพราะการเมืองที่ผ่านมาก็ยังลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ และสร้างปัญหาให้กับสังคมเยอะอยู่ ถ้านายกฯพูดออกมาอย่างนี้ก็เป็นการแสดงความชัดเจนของนายกฯ ว่าท่านอยากให้ประเทศของเราเดินไปแนวทางไหน สำหรับความมุ่งหวังทั้ง 10 คำถามของท่านนายกฯจากใจผมอยากให้ทั้ง 10 คำถามเป็นจริงทั้งหมด
อยากเชิญชวนชาวไทยออกมาตอบคำถามของนายกฯ เพราะนายกฯได้แสดงเจตนาว่าต้องการทราบว่าอยากให้ทำอะไร อยากให้มาตอบเยอะๆ เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงการบริหารประเทศในแนวทางที่ดี และถูกต้อง ที่ผ่านมาประชาธิปไตยของเรามันเยอะเกิน วันนี้ผมมาตอบคำถามของนายกฯครบทั้ง 10 ข้อ ถ้าคนไทยอยากแสดงความคิดเห็นก็ออกมาตอบคำถามทั้ง 10 ข้อเยอะๆ เพื่อที่ผู้นำจะได้ทราบความต้องการของเราและนำไปปรับปรุงพัฒนาประเทศต่อไป

สมคิด สิงหจันทร์

อายุ 49 ปี ชาวขอนแก่น

มาแสดงความคิดเห็นเพื่อที่จะได้เป็นอีก 1 กระบอกเสียงถึงนายกฯ ผมได้แสดงความคิดเห็นไปทั้งหมด 10 ข้อ เช่น คำถามว่า คิดว่าการเลือกตั้งจะได้รัฐบาลที่ธรรมาภิบาลหรือไม่ ผมตอบว่าได้ และข้อ 2 ถามว่าหากไม่ได้จะทำอย่างไร ผมตอบไปว่า ต้องให้ระบบราชการเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ฝ่ายทหารและฝ่ายปกครองเข้ามาดูแลและควบคุมในการเลือกตั้งให้อยู่ในระบอบประชาธิปไตย และบริสุทธิ์ และยุติธรรมที่สุด

ส่วนที่ถามถึงนักการเมืองมีความไม่เหมาะสมในทุกกรณี ผมอยากให้มีการควบคุมฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล ให้อยู่ในกรอบของประชาธิปไตยของการเลือกตั้งที่ถูกต้อง ส่วนการแก้ไข ก็ยังเชื่อมั่นว่าทหารและฝ่ายปกครองจะสามารถควบคุมการเลือกตั้งให้อยู่ในกรอบได้ดีที่สุดโดยไม่มีการเลือกฝักเลือกฝ่าย

ส่วนที่ถามว่าเหตุใดพรรคการเมือง นักการเมือง จึงออกมาเคลื่อนไหวเพื่อด้อยค่าต่อ คสช. รัฐบาล นายกฯโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น เป็นเพราะนักการเมืองรู้ว่าจะมีการจัดการเลือกตั้ง จึงทำทุกวิธีเพื่อให้รัฐบาล คสช.หมดความน่าเชื่อถือ ในโลกปัจจุบัน การสื่อสารผ่านโซเชียลแพร่หลายได้กว้างขวางและรวดเร็ว จึงทำให้ภาพลักษณ์ หรือจุดด้อยของรัฐบาล คสช.โดนโจมตีอย่างรวดเร็ว

ส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยกับคำถาม คือข้อที่ 6 ที่ถามว่า การที่ คสช.จะสนับสนุนพรรคการเมืองใด หรือบุคคลใด ภายใต้ขอบเขตตามกฎหมาย ก็ถือว่าเป็นสิทธิของ คสช. ผมไม่เห็นด้วย ต้องเปิดโอกาสให้พรรคการเมือง หรือบุคคลต่างๆ ได้ใช้สิทธิของตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่ใช่มาปิดกั้นโอกาสของนักการเมือง หรือพรรคต่างๆ และต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสเลือกเอง เพราะรัฐบาลมีการกลั่นกรองนักการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ อยู่แล้ว

เพราะฉะนั้นไม่ควรสนับสนุนเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง หากรัฐบาล คสช.สนับสนุนโดยเลือกฝักเลือกฝ่าย จะกลับไปเป็นประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบเหมือนเดิม ความขัดแย้งก็จะกลับมาอีกเหมือนเดิม

จึงอยากให้รัฐบาลควบคุมการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์และยุติธรรม พร้อมตรวจสอบผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้สมัคร ส.ส.อย่างจริงจัง ก่อนที่จะหลุดเข้ามาเป็น ส.ส.ได้ เพราะการได้เป็น ส.ส.จากการซื้อสิทธิขายเสียง จะเข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ไม่ได้มาพัฒนาบ้านเมืองและช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง และอยากให้ควบคุมฐานเสียงของนักการเมือง เช่น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ให้รัดกุมในการซื้อสิทธิขายเสียง

ปรัตมิตร ขำคม

อายุ 49 ปี ชาว ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

คําถามข้อ 1 ผมเห็นด้วยกับการที่มีพรรคการเมืองใหม่และนักการเมืองใหม่ๆ เพราะนักการเมืองรุ่นใหม่จะมุ่งมั่นในการทำงานอย่างเต็มที่ และการทุจริตหรือคอร์รัปชั่นจะลดน้อยลง ข้อ 2 คสช.น่าจะมีความเป็นกลางมากที่สุด ไม่เอนเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ข้อ 3 มองเห็นครับ บ้านเมืองคงจะดีขึ้นเพราะรัฐบาลมีนโยบายการปราบคอร์รัปชั่น ปราบการทุจริต คงจะน้อยลงและให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ สามารถตรวจสอบการทำงานในภาครัฐได้

ข้อ 4 ที่ผ่านมานักการเมืองรุ่นเก่ามีความขัดแย้งกันมากที่สุด แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เพราะต้องการอำนาจและผลประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง จึงทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายกันมาก ข้อ 5 ไม่เพียงพอครับ

ข้อ 6 เพราะนักการเมืองต้องการอยากให้มีการเลือกตั้งและต้องการให้ คสช.คืนอำนาจให้แก่ประชาชน

ประหยัด มากนวล

อาชีพค้าขาย ในเขตเทศบาลตำบลเมืองเดชอ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

ท่านนายกฯจะถามกี่ข้อผมก็ตอบได้อย่างเดียวว่า วันนี้ประชาชนเดือดร้อนจากปัญหารายได้และความเป็นอยู่กันทั่วหน้า รัฐบาลต้องหาทางออกเรื่องนี้ สงสารและเห็นใจประชาชนบ้าง ท่านได้แต่ข้อมูลดีๆ แต่พวกผมไม่ได้อยู่ดีกินดีอย่างท่านว่า


สมมาตร อุไรวงศ์

ชาวสงขลา

ตอบคำถามในข้อแรกว่า ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ ผมตอบว่า ได้ หากไม่ได้จะทำอย่างไร แสดงความเห็นว่ายอมรับไปก่อน ค่อยเลือกใหม่


อดุลย์ สงดวง

ชาวสงขลา

ที่นายกฯถามว่า ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ ผมว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะไม่ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล และให้รัฐบาลทหารบริหารประเทศต่อไป


กฤษฎา ไชเยศ

ชาวต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว

นักการเมืองหน้าใหม่หรือรุ่นใหม่ การบริหารประเทศอาจดีกว่า ก้าวไกลกว่าก็ได้ สำหรับใครจะสนับสนุนพรรคการเมืองใด ก็เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล สำหรับ คสช.ที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองใดนั้น จะเป็นจะเป็นสิทธิของ คสช. เพราะนายกไม่ได้ลงสมัครเล่นการเมือง จะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนก็ได้

ส่วน คสช.บริหารมาแล้ว 3 ปี ก็มีการพัฒนาและมองเห็นอนาคตของประเทศมากขึ้น เช่น ที่ดิน ที่อาศัยอยู่ ตอนนี้เป็นที่ดินของนายทุนมาก่อน ต่อมาทาง สปก.ได้ทำการยึดคืน แล้วรัฐบาลก็นำมาแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน


วันเพ็ญ เทียมโสม

ชาวต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต มีทั้งถูกบ้างผิดบ้าง ไม่ถูกต้องไปหมดทุกอย่าง มีการขัดแย้งกันบ้าง ถ้าเปรียบเทียบระหว่างอดีตกับปัจจุบัน จะเห็นว่าปัจจุบันจะดีกว่าเยอะ ทำประโยชน์ให้กับคนยากคนจนไว้เยอะ พอมีอนาคตอยู่บ้าง ส่วนเรื่องคุณธรรมของนักการเมืองในอดีต ดูแล้วก็ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นใหม่ หากมีนักการเมืองหน้าใหม่ๆ น่าจะดี เพราะว่าคนรุ่นใหม่อาจมีแนวคิด มีแนวทางการพัฒนารูปแบบใหม่แตกต่างจากเดิมก็ได้ ส่วนนักการเมืองเก่าก็มีข้อดีอยู่บ้าง แต่จะถูกใจทั้งหมดก็เป็นไปไม่ได้

สำหรับการบริหารของรัฐบาล คสช. ที่บริหารมา 3 ปี ก็ดีขึ้น เพราะตัวเองไม่มีที่ทำกิน รัฐบาลมีโครงการใหม่ๆ จะสนับสนุนคนที่ไม่มีที่ทำกินให้มีทำกินอีกด้วย

ก้าว ทางการเมือง เลือกตั้ง ระดับ ท้องถิ่น ก้าวควร สนับสนุน

ก้าว ทางการเมือง เลือกตั้ง ระดับ ท้องถิ่น ก้าวควร สนับสนุน


เเหมือนกับว่า การตระเตรียมให้มีการเลือกตั้งในระดับ “ท้องถิ่น” คือ การปลดล็อกทางการเมืองอย่างมีจังหวะก้าว มีขั้นตอน

ก่อนที่จะมีการปลดล็อก “พรรคการเมือง”

ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการของ “การเลือกตั้ง” ซึ่งคาดหมายว่าจะกำหนดวันได้ในเดือนมิถุนายน เพื่อที่จะดำเนินการจริงในเดือนพฤศจิกายน 2561

เป็นความรอบคอบ เป็นความรัดกุม

แม้ฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะจาก “นักการเมือง” จะออกมาตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการเช็ก “เรตติ้ง” ว่า 1 คสช.ประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบาย

“ปฏิรูป ก่อน เลือกตั้ง” อย่างที่ กปปส.ชี้แนะ

และ 1 เป็นการตรวจสอบ หยั่งไปยังขุมกำลังทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นของพรรคเพื่อไทย

กระนั้น ความเป็นจริงก็คือ “การเลือกตั้ง”

ไม่ว่าจะเป็นในระดับ “ตำบล” ไม่ว่าจะเป็นในระดับ “อำเภอ” ไม่ว่าจะเป็นในระดับ “จังหวัด” บทบาทและความหมายของมันก็คือ

เป็น “การเลือกตั้ง”

อาจมองได้ว่าเป็นเช็ก “เรตติ้ง” แต่อุบัติการแห่ง “การเลือกตั้ง” ไม่ว่าระดับท้องถิ่น ไม่ว่าระดับประเทศก็ถือได้ว่าเป็นลักษณะ “ก้าวหน้า”

เพราะในที่สุดแล้ว “อำนาจ” ก็เป็นของ “ประชาชน”

การปลดล็อกในเรื่องการเลือกตั้งระดับ “ท้องถิ่น” จึงถือได้ว่าเป็นการก้าวอย่างชนิด “ก้าวกระโดด” มากที่สุดหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

ทุก “พรรค” และ “กลุ่มการเมือง” ควรขานรับ

ความหมายก็หมายความว่า การเลือกตั้งระดับ “ท้องถิ่น” ถือได้ว่าเป็นการซ้อมมือก่อนเข้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ในขอบเขตทั่วประเทศ

ใครจะเป็นหมู่ ใครจะเป็นจ่า

ที่ผ่านมา, แม้การเลือกตั้งในระดับ “ท้องถิ่น” จะมิได้เป็นการชูพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างชนิดเปิดหน้าชก เพราะเป็นการดำเนินไปในลักษณะ “ตัวแทน”

รู้กันในพื้นที่ว่า ใครเป็นใคร

คำว่าใครเป็นใครในที่นี้ คือ สายสัมพันธ์กับกลุ่มและพรรคการเมืองใด ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะปิดงำกันได้
อย่าคิดว่าจะมีแต่ฝ่ายพรรคการเมืองเท่านั้นที่จะถูกเปิด

ตรงกันข้าม เส้นสายแห่งกลุ่มอำนาจที่สัมพันธ์กับ คสช. สัมพันธ์กับกระบวนการรัฐประหารก็มีโอกาสถูกเปิดออกมาเช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นเมื่อเดือนกันยายน 2549 หรือเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

จึงมิได้เป็นการตรวจสอบหรือเช็ก “เรตติ้ง” ของพรรคการเมืองอย่างด้านเดียว หากอาการขยับขับเคลื่อนของ คสช.และกลุ่มอำนาจก็มิได้รอดพ้น

นี่คือความเข้มข้นในทางการเมือง

ความเข้มข้นนี้เมื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการของ “การเลือกตั้ง” ยิ่งตรวจสอบความพร้อม ความสุกงอมได้อย่างเต็มที่

ไม่ว่าจะเป็นระดับ “ท้องถิ่น” ไม่ว่าจะเป็นระดับ “ประเทศ” เมื่อเข้าสู่กระบวนการของ “การเลือกตั้ง” แล้วก็ล้วนเป็นเรื่องดี ควรสนับสนุน

ยิ่งหากเป็นจังหวะก้าวของ “การปลดล็อก” ยิ่งเป็นเรื่องดี

เพียงแต่ว่า คสช.จะมีรายละเอียดอย่างไรในการบริหารจัดการ จะทำในแบบเดียวกับตอน “ประชามติ” หรือเปิดกว้างอย่างเต็มที่

ตรงนี้ต่างหากที่จะต้อง “ตามไปดู”

'ใครอยากเป็นผู้ว่าฯ กทม.บ้าง?'

ขอโทษนะ...ทีมงานพี่ตูน...........
ไม่มีเจตนาก้าวก่าย แต่อยาก "ย้ำเสนอ" เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
คืออยากให้ "ปรับระยะเส้นทางวิ่ง" แต่ละวันลงซักครึ่ง
แล้วเพิ่มจุดแวะพัก "เซลฟี-รับเงินบริจาค" เพิ่มขึ้น
เพื่อให้พี่ตูนกับแฟนๆ ได้มีเวลาชื่นอก-ชื่นใจอยู่ด้วยกันนานๆ ทำกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ร่วมกันชนิด "ฉ่ำหัวใจ"
ไม่อยากให้พี่ตูนวิ่งแบบพิชิตระยะทาง ๒,๑๙๑ กิโลเมตร ตามเวลากำหนดใต้จรดเหนือ ๕๕ วัน
ซึ่งการวิ่งแบบนั้น เหมือน "ฝนไล่ช้าง" คือตกซู่ แล้วหายวับไป
นอกจากไม่ทำให้ดินที่แตกระแหงหายโหย ต้นไม้ที่เฉาโรยหายเหี่ยวแล้ว
ยังเป็นการเคี่ยวกรำร่างกายพี่ตูนให้ต้องรีดพลังมากไปในแต่ละวัน นอกจากเหนื่อยล้า ยังอาจเกิดอุบัติเหตุได้
ทุกคนมีจิตปรารถนาเดียวกัน.......
ต้องการให้พี่ตูนและทีมงานสดชื่น-แข็งแรง-ไร้ปัญหาใดๆ เป็นอุปสรรคต่อมโนปณิธานในการวิ่ง
อุปสรรคใดๆ เราช่วยกันแก้ไข-ป้องกันได้
แต่ถ้าอุปสรรคนั้น มาจากเหตุปัจจัย "ศรัทธามหาชน" ที่มีต่อพี่ตูนหนุนเนื่องในทุกถิ่น-ทุกที่-ทุกทาง ที่ไปถึง
ก็จง "ปรับแผนวิ่ง" เพื่อสนองตอบศรัทธามหาชนเถิด!
หัวอก-หัวใจพี่น้องร่วมชาติทุกหัวระแหง "แล้ง-แห้งโหย" นานแล้ว เมื่อพี่ตูน เป็นดั่งเม็ดฝน
ก็จงหล่นชโลมแต่ละพื้นที่นานๆ หน่อย!
เพื่อเมล็ดเพาะในแต่ละหัวใจชนชาวได้งอกเงยสายพันธุ์แห่งความดีงาม จากสายน้ำแห่งใจและสายใยแห่งเหงื่อพี่ตูนนั้น รดริน
ผมก็เชื่อว่า แต่แรกพี่ตูนกับทีมงาน คงคาดไม่ถึง
ว่าการวิ่งของพี่ตูนจะได้รับ "การตอบรับ" จากพี่น้องประชาชนในแต่ละพื้นที่ "มืดฟ้า-มัวดิน" ขนาดนี้
เมื่อทุกอย่างเปลี่ยนไปในทางงอกเงย........
"ตูน บอดี้สแลม" ก็ไม่ใช่นักวิ่งเพื่อหาเงินซื้อเครื่องมือแพทย์ให้ ๑๑ โรงพยาบาล
"ตูน" ไม่ใช่นักร้อง-นักร็อกที่มีจิตอุทิศเพื่อมวลชนผ่านการวิ่งรับเงินบริจาค
แต่เป็นว่า..........
"ตูน" ในสายตา ในความรู้สึก-นึกคิด ในจิตใจของประชาชนวันนี้
ตูน คือ "ทูตแห่งสันติสุข"
"ตูน" คือรูปธรรมแห่งความดีงามผ่าน "จิตให้" เพื่อมนุษยชาติ
"ตูน" คือพลังใจ ตูนคือความหวัง ตูนคือศรัทธา ตูนคือสายใยแห่งรักเชื่อมโยงใจพี่น้องไทย
เมื่อเป็นเช่นนี้...........
"ตูน-ผู้ให้" ในความเป็นทูตแห่งสันติสุข ซึ่งตูนอาจไม่ต้องการเป็นอย่างที่ศรัทธามหาชนคาดหมายให้เป็น
แต่เวลานี้........
ตูน "เป็นเช่นนั้น" ไปแล้ว!
เมื่อประชาชนคาดหมายในตัวพี่ตูนว่า เป็นทูตสันติสุข เป็นตัวแทนแห่งจิตให้
ด้วยเหตุนั้น มันก็ไม่ใช่แล้ว ที่ตูนจะวิ่งเอาระยะทางในแต่ละวันเป็นสรณะ
ตูน น่าจะเป็นแบบ "พระบิณฑบาต" มากกว่า.............
ค่อยๆ ก้าวไป รับบิณฑบาต คือเซลฟี-โอบกอด-รับบริจาค ทำกิจกรรมร่วมชาวบ้าน เป็นไอดอลให้เด็กๆ ตามรายทาง-รายที่-รายถิ่น
ก็เพื่อความเป็น "เนื้อนาแห่งใจสุข" ที่ชนชาวทุกรุ่น-ทุกวัย ขณะนี้ ปรารถนาจะได้รับจากพี่ตูน
ผมเห็นข่าวเมื่อวาน (๑๓ พ.ย.๖๐) ร่างกายพี่ตูนเริ่มเป็นไปตามธรรมชาติ คือเคี่ยวกรำมาก ความอ่อนล้า ความเจ็บปวด ก็มาเยือน
และพี่ตูนก็เหมือนพระบิณฑบาตดังว่านั่นแหละ คือเห็นคนศรัทธารอเซลฟี เป็นต้องแวะรับ
ด้วยศรัทธาล้นจากผู้คน ถึงขั้นยื้อยุด-ฉุดแย่งตัวขณะวิ่ง จนเกิดอุบัติเหตุเหยียบเท้าพี่ตูน มีอาการบาดเจ็บ จนต้องหยุดพักการวิ่งชั่วขณะ
นี่คืออุทาหรณ์ ที่ทีมงานต้องนำมาใคร่ครวญ.........
ว่าจะวิ่งเอาระยะทางตะพึด-ตะพือ หรือจะวิ่งเอาศรัทธามหาชนรายถิ่น-รายที่-รายทางด้วย?
ไม่ได้คัดค้านหรือตำหนิอะไร
เพียงหวังให้ตูน-ทีมงาน-ผู้ศรัทธา "สมบูรณ์ใจ" ด้วยทุกอย่างราบรื่นสู่เป้าหมาย อะไรที่ปรับได้ เพื่อการณ์นั้น ก็จงปรับเถิด
นั่นก็เรื่องเกี่ยวกับตูน........
อีกนานเป็นเดือน ที่เรื่องราวดีๆ ระหว่างตูนกับประชาชนจะมีให้เราได้ชื่นใจ ได้เห็นสังคมร่วมในสุขศานติ
ก็มาคุยเรื่องไม่ค่อยนำมาซึ่งความสงบสุข คือเรื่องการบ้าน-การเมืองบ้างดีกว่า
ตอนนี้ในท้องตลาด พูดกันอยู่ ๒ เรื่อง คือ
เรื่อง ปรับ ครม."ปรับใหญ่-ปรับย่อย"
กับเรื่อง "ปลดล็อกการเมือง" นำร่องโดยจะให้มี "เลือกตั้งท้องถิ่น" ประเดิมก่อน
การพูดถึงเรื่องปรับ ครม.ก็เหมือน "ตดเอง-ดมเอง" ผมไม่อยากเป็นเช่นนั้น จึงไม่อยากคุย
ปี ๑-๓ การขนทหารมาทั้งแผง เป็นเรื่องทางยุทธศาสตร์เพื่อการตั้งมั่น
เมื่อตั้งมั่นแล้ว ถ้าหวังการเป็นรัฐบาลในสมัยต่อไป
ในปีที่ ๔ ของเทอม.........
การจะเอาใครออก-เอาใครเข้ามาเป็น ครม. นั่นมันเป็นเรื่องทางยุทธวิธี เพื่อการคุมพื้นที่-คุมสถานการณ์ด้วยศรัทธาในงานแล้ว
ก็สุดแต่นายกฯ ประยุทธ์เขาจะคิดเห็นและต้องการ
ถ้ารักยาว ก็ต้อง "บั่น"
แต่ถ้ารักสั้น รักพี่ใหญ่-พี่รอง-น้อง-เพื่อน ก็ต้อง "ต่อ"!
ฉะนั้น มันเป็นเรื่อง "นอกวงแขน" คนนอกพูดไป ก็ได้แค่พูด สู้รอดูจากตัวนายกฯ เองจะดีกว่า
ทุกอย่าง "ผูก" ด้วยตัวเอง
ถึงคราว "แก้" ก็ต้องแก้เอง
จะแก้เพื่อมัดคอตัวเองตาย หรือแก้เพื่อต่อในเส้นทางที่จะไปยาว มันมี ๒ ชอยซ์ ที่ควรมอง
ชอยซ์แรก ปรับ ครม.ทางยุทธวิธี
ชอยซ์ที่สอง ปรับนายกฯ?
พูดเรื่องเลือกตั้งท้องถิ่นดีกว่า "กรุงเทพมหานคร" ก็ท้องถิ่น อยู่ในข่ายจะได้เลือกตัว "ผู้ว่าฯ กทม." เป็นการนำร่องการเมืองใหญ่
จะพูดว่า "ปีหน้า ๒๕๖๑ มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม."
ไม่น่าพลาด!
น่าสนใจนะ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.รอบนี้ ไม่ใช่การวัดบารมีพรรคประชาธิปัตย์-เพื่อไทย ที่มี ส.ส.เป็นฐานคะแนนใหญ่ในพื้นที่
แต่เป็นการวัดเรตติง "พรรคประยุทธ์-คสช." โดยตรงกันเลยทีเดียว!
ตอนนี้ "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง" เป็นผู้ว่าฯ กทม.อยู่ ดูเผินๆ อาจเข้าใจว่าเป็น "คนกลาง" รัฐบาลใช้ ม.๔๔ ตั้งเข้ามาคั่นสุขุมพันธุ์ที่ปลดออกไป
ความจริงไม่ใช่หรอก พล.ต.อ.อัศวิน ก็คนสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ขึ้นเป็นผู้ว่าฯ "ซ่อนรูป" ในคำสั่ง ม.๔๔ เท่านั้น
ถ้าประกาศให้มีเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ละก็
ประชาธิปัตย์อยู่ในสภาพ "เสมอตัวกับขาดทุน" ส่วนเพื่อไทย "เสมอตัวกับกำไร"
ส่วน คสช.อยู่ในสภาพ "เสมอตัวกับลอยตัว"!
ประชาธิปัตย์จะเอาใครลงสมัคร หรือจะให้ พล.ต.อ.อัศวินลงต่อ ดูแล้ว ไม่มีอะไรเร้าใจ "ทางบวก" ซักเท่าไหร่
ส่วนเพื่อไทย ในสภาพพรรคไร้ทั้ง "หัวหลัก" และ "หัวตอ" แค่จะตกลงเอาใครลงสู้ในสนาม
ในสภาพ "นายห้อย-นางโหน" เต็มพรรค แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว!
ฉะนั้น พิเคราะห์ตามทิศทางนี้...........
ผู้สมัคร "อัศวินเดี่ยว" คือไม่สังกัดพรรค ถ้าชื่อ-ชั้นดี มีผลงานเป็นที่รู้จักทางสังคมด้วย มีโอกาสสูงมาก
ยิ่งถ้าภาพลักษณ์และนโยบายไม่ขัดแย้ง คสช. ผมมองว่าคน กทม.ที่เบื่อหน่ายกับความจำเจ อยากเห็นผลงานสร้างสรรค์ กทม.มากกว่างานรูทีนและ "อุโมงค์ยักษ์" รอระบาย
อาจเทคะแนน "ลองของใหม่" เพียงเสนอนโยบายให้เตะตา-ต้องใจหน่อยเท่านั้น!
ผมมั่นใจ ถ้าใครมีแผน "ถอดรูป กทม." สู่ยุคใหม่ สนองตอบเมืองท่องเที่ยว-ช็อปปิงระดับโลก นำเสนอให้น่าเชื่อว่าเป็นไปได้และจับต้องได้ละก็
ตีตราจองเก้าอี้ "ผู้ว่าฯ กทม." สมัยหน้าได้แต่วันนี้เลย!
เอ้า...ใครมีแผน-มีไอเดีย............
ยังจะรออะไรอยู่อีกล่ะ?

กกต.ไม่ใช่แค่ตรายางเท่านั้น

กกต.ไม่ใช่แค่ตรายางเท่านั้น

7เสือ กกต.อย่าคิดแค่เลือกตั้ง

ที่ปรามาสกันมาก่อนหน้านี้คงหน้าแหกไปตามระเบียบหลังจากที่มีการประกาศรับสมัครบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง กกต.ชุดใหม่ ปรากฏว่าวันแรกไม่มีความเคลื่อนไหว คือไม่มีผู้สมัคร

เท่านั้นแหละมีการประโคมโหมข่าวทำนองว่ามีปัญหาแน่เมื่อไม่มีผู้สมัคร อ้างเหตุว่าเป็นเพราะ กกต.กำหนดคุณสมบัติเอาไว้สูงเกินไป

มีแต่ “เทวดา” เท่านั้นแหละที่จะเป็นได้

อ้างคุณสมบัติเช่นว่า รับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

อีกข้อหนึ่งก็แล้วกัน จากทั้งหมด 7 ข้อ เป็นผู้ทำงานหรือเคยทำงานในภาคประชาสังคมมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี ตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด

เสร็จแล้วก็เหมารวมเลยว่า 7 ข้อนี่แหละคือปัญหา...

สุดท้ายปรากฏว่า มีผู้สนใจสมัครรวมทั้งสิ้น 41 คน ขาดคุณสมบัติไป 1 คน จึงเหลือ 40 คนพอดิบพอดี ว่าไปแล้วมากกว่าเป้าไปด้วยซ้ำ

ก็ดีครับ...ยิ่งสมัครกันมากก็ยิ่งเป็นการดี เพราะทำให้เกิดความหลากหลาย สามารถที่จะเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมได้มากขึ้น

ที่สำคัญก็คือ จะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติให้ชัด ถูกต้องไม่เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม เพราะจะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลังเดี๋ยวจะต้องมีฟ้องร้องจะยุ่งกันอีก

เพราะลักษณะต้องห้ามนั้นมีมากถึง 24 ข้อ 24 ลักษณะ

ที่ต้องสรรหากันใหม่นั้นก็เนื่องจากกฎหมายลูกได้กำหนดให้ “เซ็ตซีโร่” ทั้งชุด 7 คน และให้มีการสรรหากันใหม่ 7 คนให้เข้ามาทำหน้าที่ อีกทั้งมีการยกเลิก กกต.จังหวัด แต่ให้มีการตั้งผู้ตรวจ กกต.แทนที่

รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนปรุงแต่ง เพิ่มอำนาจ ตัดตอนอำนาจ หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้งก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง เป็นเพียงแค่ควบคุมดูแลเท่านั้น

หากว่ากันตามภาระหน้าที่ อำนาจต่างๆที่เป็นไปตามกฎ กติกานั้นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่อยากจะให้ กกต.ชุดใหม่คิด และรับผิดชอบที่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ

คือนอกเหนือการจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อยบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว น่าจะมีความรับผิดชอบเหนือไม่ต่างจากนี้

ทำยังไงให้ได้ “นักการเมือง” ที่ดีอีกด้วย

นั่นถือว่าเป็นความรับผิดชอบสูงสุด เหนือกฎหมายที่ได้ให้อำนาจเอาไว้ ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้การเมืองเราดีขึ้น เพราะความสำคัญของ กกต.นั้นเป็นการเร่ิมต้นทางที่ทำให้ระบบ การเมืองดีขึ้น โปร่งใส นำไปสู่การได้นักการเมืองที่ดี

การประชาสัมพันธ์ชี้แจง ทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธ์ิที่พึงมี การมีส่วนร่วม การชี้แนะว่าควรจะเลือกบุคคลลักษณะไหน พรรคการเมืองลักษณะไหน เพื่อประกอบการตัดสินใจของประชาชน
ไม่ได้หมายความว่า เป็นการชี้แนะให้เลือกพรรคไหน นักการเมืองคนไหน

กฎ กติกาที่กำหนดการลงโทษผู้กระทำผิดก็ต้องว่ากันอย่างชัดเจน ถูกต้อง ใครผิดก็ว่ากันตามผิด ไม่มีอภิสิทธิ์ใด เพราะพฤติกรรมในลักษณะนี้คือจุดอ่อนสำคัญของ กกต.ในชุดที่ผ่านๆมา

ที่ต้องพูดถึงอีกส่วนหนึ่งก็คือ คณะกรรมการสรรหาจะต้องเลือกด้วยความโปร่งใส และมองให้เห็นถึงความสำคัญของ กกต. รวมถึงการตัดสินใจสุดท้ายก็คือ สนช.ด้วย

เพราะทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมกันด้วย.

“สายล่อฟ้า”

ถามมาตอบไป

ถามมาตอบไป

หลังไปกระทบไหล่ “ทรัมป์-สี จิ้นผิง-ปูติน” 3 อภิมหาผู้นำโลกในการประชุมเอเปกที่เวียดนาม แล้วสะเวิ้ปไปประชุม สุดยอดอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ เสร็จสิ้นลงอย่างสวยสดงดงาม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำสายแข็งของไทย ก็กลับมาทุ่มเททำงานเพื่อกอบกู้เรตติ้งรัฐบาล คสช.ที่ตกวูบไป 20 เปอร์เซ็นต์ ให้กระเด้งกลับมาเท่าเดิม

“แม่ลูกจันทร์” เชื่อว่า การปรับ ครม.ประยุทธ์ 5 เพื่อกระชากเรตติ้งคืนเป็น “วาระเร่งด่วน” ที่ต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว!!

แต่ยังมีวาระเร่งด่วนอีกเรื่อง คือคำถาม 6 ข้อของนายกรัฐมนตรี ที่ขอให้ประชาชนช่วยกันตอบผ่านศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย

จำนวนประชาชนที่ไปตอบคำถามจะเป็นดัชนีชี้วัดทางการเมือง

ถ้าหากมีผู้แห่ไปตอบคำถาม 6 ข้อกันอย่างคึกคัก ย่อมแสดงว่าพี่น้องประชาชนยังศรัทธาเหนียวแน่นกับรัฐบาล คสช.

แต่ถ้าหากประชาชนไปตอบคำถามกันโหรงเหรง

แสดงว่ากระทรวงมหาดไทยทำงานไม่ถึงลูกถึงคน

ด้วยเหตุนี้ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย จึงมีหนังสือด่วนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้เร่งประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนให้ไปตอบคำถาม 6 ข้อของนายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมทุกอำเภอ

โดยกำชับทุกจังหวัดต้องรายงานจำนวนประชาชนที่ไปตอบคำถามภายในเวลาห้าโมงเย็นของทุกวัน
และให้ทุกจังหวัดสรุปผลการแสดงความคิดเห็นของประชาชนแยกเป็นรายข้อเสนอกระทรวงมหาดไทย ทุกๆ 10 วัน

เรียกว่ามะรุมมะตุ้มตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัดจนถึงกระทรวงมหาดไทยกันทีเดียวเชียว

“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่า พล.อ. ประยุทธ์ ต้องการรับฟังคำตอบประชาชนเพื่อวางแผนอนาคตรัฐบาล คสช.

ฉะนั้น ยิ่งมีประชาชนตอบคำถามมากๆเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

ไม่งั้น ปลัดมหาดไทยคงไม่สั่งจี้ผู้ว่าฯทุกจังหวัดต้องรายงานจำนวนประชาชนเป็นรายวัน

ข้อสำคัญ คำถาม 6 ข้อของนายกฯบิ๊กตู่ ก็ดึงดูดให้คนอยากตอบกันทั่วบ้านทั่วเมือง

ล่าสุด มีผู้ใช้สิทธิประชาชนตอบคำถาม 6 ข้อกันอึกทึกครึกโครม

แต่ไม่มีคำตอบของใคร จะเป็นข่าวฮือฮาเท่าคำตอบของนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. คนดัง

อจ.สมชัย เจาะจงขอตอบคำถามข้อ 2 เพียงข้อเดียว

คำถามข้อ 2 พล.อ.ประยุทธ์ ถามว่า การที่ คสช.จะสนับสนุนพรรคการเมืองใดเป็นสิทธิของ คสช.ใช่หรือไม่?

กกต.สมชัย ตอบว่า ถ้า คสช.จะ ประกาศสนับสนุนพรรคการเมืองใด นอกจากไม่เหมาะสมแล้ว ยังเข้าข่ายขัด พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 29 ที่ห้ามผู้มิใช่เป็นสมาชิกพรรค ควบคุมครอบงำหรือชี้นำพรรคการเมือง

แถมยังขัดร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 56 ที่ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการใดเพื่อให้คุณหรือให้โทษผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง

ยิ่งกว่านั้น ยังเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่ห้ามนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีกระทำการใดๆอัน มีผลต่อการเลือกตั้งทั้งทางอ้อมและ ทางตรง

คำตอบ (คำถามข้อ 2) ของ กกต. สมชัย คือ คสช.ไม่มีสิทธิสนับสนุนพรรคการเมืองทุกกรณี

เพราะจะขัดรัฐธรรมนูญ และจะขัด พ.ร.บ.เลือกตั้ง และจะขัด พ.ร.บ.พรรคการเมือง

ปัดโธ่ เค้าถามประชาชนไม่ได้ถาม กกต.

"แม่ลูกจันทร์"

เกมชัดอาการเปลี่ยน

เกมชัดอาการเปลี่ยน

เท่าที่ตรวจคำตอบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ออกมา “เชิงลบ” ทั้งนั้น

แถมรีบตอบกันตั้งแต่ยังไม่ทันที่รัฐบาล โดยกระทรวงมหาดไทยจะเริ่มตั้งกล่องรับคำตอบของประชาชนที่ตอบ 6 คำถามของ “นายกฯลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. ผ่านศูนย์ดำรงธรรมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน เป็นต้นไป

พวกคิดไวทำไวแย่งกันส่งคำตอบ ปลิวว่อนไปหมด

โดยเฉพาะการตอบโจทย์ 6 คำถามจากนักการเมืองอาชีพ ทุกป้อมค่าย ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย ฯลฯ

เจี๊ยวจ๊าวตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่ “นายกฯลุงตู่” ปล่อยเปเปอร์ออกมา

เช่นเดียวกับอีกคนที่ส่งคำตอบล่วงหน้า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ยังคงแฝงอาการค้างคาใจจากยุทธการ “เซ็ตซีโร่” กกต. ก็เลือกเคลียร์คำถามในข้อที่ 2 ฟันธงเลยว่า คสช.ออกหน้าหนุนพรรคการเมืองคงไม่เหมาะ เพราะเป็นการให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัคร

สอนมวย พล.อ.ประยุทธ์ งัดข้อ หักหน้ากันแรงๆ

ตามฟอร์มของพวกแฝง “วาระทางใจ” ทีมงานองค์กรอิสระที่ไม่ได้ไปต่อ นักการเมืองที่ส่อเสียประโยชน์ ต่างสะท้อนอาการต่อต้าน ปฏิเสธสัญญาณ “โยนหิน” ถามทางของ “นายกฯลุงตู่” เพราะรู้เหลี่ยมรู้ทางกันดีว่าเป็นยุทธศาสตร์ปูทางอำนาจของทีมงาน คสช.

มุกหยั่งกระแส ต่อเวลาโปรโมชั่นพิเศษกันแน่ๆ

แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับเสียงของประชาชนเจ้าของประเทศตัวจริง อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกที่ถามเพราะอยากให้ทุกคนที่เป็นคนไทยได้พิจารณาตัดสินใจ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

ว่ากันในอารมณ์นี้ หัวหน้า คสช.ก็คงไม่ฟังเสียงของนักการเมืองสักเท่าไหร่

ยิ่งเป็นอะไรที่ถือว่า “เข้าเหลี่ยม” เบื้องต้นเลย ผลจาก “6 คำถาม” สามารถกลบกระแส “ปลดล็อกพรรคการเมือง” ที่นักเลือกตั้งอาชีพกำลังเปิดเกมกดดัน พล.อ.ประยุทธ์กับ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม เบอร์หนึ่งด้านความมั่นคง

งงกันหมด ไม่นึกว่า “บิ๊กตู่” จะงัดมุก 6 คำถามมาเปลี่ยนเกมกะทันหัน

ที่แน่ๆมันก็คือความชัดเจนทางยุทธศาสตร์ของทีมงาน คสช.ที่ไม่ต้องรอคำตอบจากชาวบ้าน

โฟกัสข้อแรกถึงข้อที่สาม อ่านหมากกระดานอำนาจไปถึงจุดที่ต้องปล่อยไฟเขียวเลือกตั้ง “นายกฯลุงตู่” ไม่ต้องลงสนามเอง แต่จะประกาศสนับสนุนพรรคการเมืองที่น่าจะมีการตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อเบียดแย่งแต้มกับนักการเมืองหน้าเดิมๆ ทั้งยี่ห้อเพื่อไทยและค่ายประชาธิปัตย์

เป็นทางเลือกให้คนที่กลัวประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยจะพาประเทศกลับไปวังวนวิกฤติขัดแย้งแบบเก่า

โดยรูปการณ์ ในสถานการณ์สมมติป้อมค่ายใหม่ที่จะตั้งขึ้นมาชื่อพรรค “ประชารัฐ” ก็จะเป็นฐานสนับสนุน
พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนนอก

เป็นต้นทุนส่วนตัวเพื่อประกันความปลอดภัย หลังสมาชิกวุฒิสภา 250 เสียง ช่วยอุ้มได้เฉพาะตอนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาเท่านั้น แต่เกมในสภา ต้องวัดกันเฉพาะเสียงของ ส.ส.

ถ้าไม่มี ส.ส.ในกำมือ “บิ๊กตู่” เจอเขี้ยวนักการเมืองบีบหน้าเขียวแน่

และชัดเจน จากเดิมที่มองว่า คสช.ต้องพึ่งป้อมค่ายการเมืองมาเป็น “นอมินี” ถึงตรงนี้ “ลุงตู่” พลิกแผนลุยเองโดยไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ พวกที่หวังโอกาสเสียบในแผนอำนาจ “อัตโนมัติ” ก็ฟาวล์ไปตามๆกัน
นั่นก็ทำให้อารมณ์พลิกวูบวาบกะทันหัน

อาการแบบที่ “เสี่ยหนู” นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล้าโซ้ยกันตรงๆเลยว่า หาก คสช.ดูถูกและแสดงความรังเกียจฝั่งการเมือง ก็ต้องพร้อมที่จะรับได้ว่า ฝั่งการเมืองและวิญญูชนทั่วไปก็ดูแคลน ดูถูก และรังเกียจคนทุกคนที่ไม่ได้เข้ามาตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน

“อนุทิน” เลิกเล่นตามบทที่ถูกมองจะเป็น “พรรคหลัก” ของทหาร

สถานการณ์เดียวกันกับพวกที่ลุ้นแล้วผิดหวัง ว่ากันว่า ก่อนหน้านี้มีคนระดับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์เพิ่งต่อสายคุยกับแกนนำรัฐบาล บอกทหารต้องใช้พรรคประชาธิปัตย์เป็นหัวหอก

ขู่เลยว่า อย่าทำเอง มีแต่เจ๊ง

ในเงื่อนไขที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ก็หวังจะแก้มือนายกรัฐมนตรีอีกรอบ

แต่เมื่อเจอคำตอบสุดท้ายของ “นายกฯลุงตู่” ผ่าน 6 คำถาม สะท้อนยุทธศาสตร์ไม่ใช้ประชาธิปัตย์เป็นฐาน เป็นไปอย่างที่หวั่นไหวว่าทหารจะทำพรรคมาตัดแต้มพรรคประชาธิปัตย์

“อภิสิทธิ์” เลยฟัด “นายกฯลุงตู่” แบบไม่ยั้งมืออีกต่อไป.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน