PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

คลายล็อค6+1

“คลายล็อค “ ซะที!!6+1 

“บิ๊กตู่” นำประชุม คสช. ไฟเขียว”คลายล็อค” ให้พรรคการเมือง 6ข้อ และ ทำกิจกรรมอื่นๆ ตามที่ จะมีประกาศคสช.ต่อไป แต่ห้ามหาเสียง  แต่มีแผนจะ”ปลดล็อค”ประกาศ-คำสั่ง คสช.2ฉบับ เลิกห้ามชุมนุมการเมือง เกิน5 คน กลาง ธค.61 เพื่อเข้าสู่ช่วงจัดเลือกตั้ง

พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร  รองหัวหน้า คสช. เผย ที่ประชุมคสช. พิจารณา”คลายล็อคพรรคการเมือง 6 ข้อ  และ ให้ทำกิจกรรมทางการเมืองได้ ตั้งแต่กันยายน- ธันวาคม เผยอนุญาตเป็นช่วงๆไป  เผย หัวหน้า คสช. จะมีออกคำสั่งฯ กำหนดรายละเอียด เร็วๆนี้

ทั้งนี้ มีรายงานว่า  ที่ประชุม คสช. อนุมัติ คลายล็อค ห้วงแรก คือ  6ข้อ และทำกิจกรรมอื่นๆ ตามที่ คสช.ประกาศกำหนดต่อไป แต่ห้ามหาเสียง โดย การคลายล็อค จะต้อง รอ พรป. เลือกตั้ง ลงมาก่อน. จากนั้น พล.อ.  ประยุทธ์ จึงจะออกคำสั่ง อีกที

และห้วง 2 มีการพิจารณาว่า มี แผนจะ” ปลดล็อค” ประกาศ คสช. 57/2557 และ คำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 เรื่อง ห้ามขุมนุม ทางการเมือง เกิน5 คนประมาณ กลาง ธ.ค.2561 เพื่อ เข้าสู่ช่วงการจัดเลือกตั้ง

อารมณ์ การเมือง เนื่องแต่ ถ้อย ‘ผมพอแล้ว’ มาจาก ‘ภายใน’

อารมณ์ การเมือง เนื่องแต่ ถ้อย ‘ผมพอแล้ว’ มาจาก ‘ภายใน’



คําว่า “ผมพอแล้ว” อันเปล่งจากปาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก่อให้เกิดนัยประหวัดไปยังคำว่า “ผมพอแล้ว” อันเปล่งจากปาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
เพราะเป็นการเปล่งในเดือนสิงหาคมเหมือนกัน
จะต่างก็เพียงแต่ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เปล่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2531 ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เปล่งในเดือนสิงหาคม 2561
ห่างกัน 30 ปี
หากดูจากเจตจำนงของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ก็คือ ไม่ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีอีกแล้ว เมื่อประสานเข้ากับเจตจำนงของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เด่นชัดว่าพอแล้วในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นี่คือ ความเหมือน
กระนั้น ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ ผลสะเทือนจากการเปล่งคำว่า “ผมพอแล้ว” จะมีมากน้อยเพียงใดในทางการเมือง
เมื่อมองไปยังรากที่มาของคำกล่าว “ผมพอแล้ว” ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาจากการประเมินว่าอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมายาว นานอย่างยิ่งแล้ว
คือจากเดือนมีนาคม 2523 มายังเดือนสิงหาคม 2531
เป็นการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้ลงเลือกตั้ง โดยไม่มีพรรคการเมือง เวลา 8 ปีเศษจึงน่าจะเพียงพอ
ผลก็คือ หลังการตัดสินใจ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ก็ได้เป็น “รัฐบุรุษ”
กระนั้น กล่าวสำหรับ พล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณ เราอาจไม่รู้ว่าเหตุผลอันจำหลักหนักแน่นอย่างแท้จริงคืออะไร
สัมผัสได้เพียงบางถ้อยคำ
“ผมพอแล้ว โดนด่าพอแล้ว ด่าตลอดจริงๆ ผมทำแทบตายผมได้อะไรขึ้นมา โดนด่าอย่างเดียวไม่ได้อะไรเลย”

ตรงนี้ต่างหากที่แหลมคม
มีความจำเป็นต้องหวนกลับไปตรวจสอบว่า สภาพที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ “โดนด่าอย่างเดียว” กระทั่งลงเอยด้วย “ไม่ได้อะไรเลย”
สถานการณ์ “ล่าสุด” เป็นอย่างไร
การถูกด่า ถูกวิพากษ์วิจารณ์ จากฝ่ายตรงกันข้ามในทางการเมืองย่อมไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลก หรือเป็นเรื่องผิดปกติ
เพราะถูกด่าเป็นประจำอยู่แล้ว และแทบไม่ระคาย
ความละเอียดอ่อนของเรื่องนี้จำเป็นต้องตรวจสอบลักษณะอันเรียกได้ว่า “ปฏิสัมพันธ์” ภายในกลุ่มอำนาจอย่างเป็นด้านหลัก
โดยถือเอา “แนวร่วม” จากขบวน “รัฐประหาร” เป็นสำคัญ
ถามว่าอะไรคือกรณีล่าสุดอันมีผลสะเทือนโดยตรงไปยัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จากภายในหรือจากพวกเดียวกัน
หากค้นพบ นั่นแหละคือ มูลเชื้อ
จากนี้จึงมีความเป็นไปได้ว่า อาการหงุดหงิดอันเกิดขึ้นและดำรงอยู่ภายใน “ทำเนียบรัฐบาล” มากด้วยความสลับซับซ้อน
ไม่ว่าจะจาก “นายกรัฐมนตรี” ไม่ว่าจะจาก “รองนายกรัฐมนตรี”
มิได้เป็นเรื่องจาก “ภายนอก” แม้ว่าดูเหมือนบรรดานักข่าวน้อยใหญ่จะกลายเป็นเป้าหมาย แต่ในความเป็นจริง มิใช่
หากที่สุดก็เป็นเรื่องภายในคนกันเองมากกว่า

สถานีคิดเลขที่ 12 : ตัวเลขการเมือง : โดย นฤตย์ เสกธีระ

สถานีคิดเลขที่ 12 : ตัวเลขการเมือง : โดย นฤตย์ เสกธีระ



สัปดาห์ที่แล้ว คสช.แสดงความจริงใจในการจัดการเลือกตั้งให้เห็น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. บอกตรงๆ ว่าจัดเลือกตั้งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
แต่ถ้าทำไม่ได้ค่อยมาว่าอีกที
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้กั๊กในการที่จะอำนวยความสะดวกการเลือกตั้ง
ปัญหาเรื่องไพรมารีโหวตที่เกรงจะทำกันไม่ได้ ทำกันไม่ทัน พล.อ.ประยุทธ์เปิดทางให้เสนอทางแก้
หากเสนอให้แก้ไขด้วย ม.44 ..ยื่นมาเมื่อไหร่ก็เซ็นให้เมื่อนั้น
ต่อมา พล.อ.ประยุทธ์อีกนั่นแหละที่นัด คสช.ประชุมเรื่อง “คลายล็อก”
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เป็นคนตระเตรียมแนวทาง “คลายล็อก” เอาไว้แล้ว
คาดว่าตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป การเมืองจะเริ่มขยับได้
ทั้งหมดส่งสัญญาณดีว่าไทยจะมีเลือกตั้ง
สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ต้องปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนด
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีข้อบัญญัติที่เอื้อให้ คสช.คืนกลับมาบริหารประเทศอีก
หาก พล.อ.ประยุทธ์ต้องการนั่งเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง ก็มีโอกาสสูง
ทั้งนี้ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้เปลี่ยนจากแนวทางเก่า
แนวทางเก่า คือ แบ่ง ส.ส.เป็น 2 แบบ คือ แบบเขต และแบบบัญชีรายชื่อ
การลงคะแนนแบบเก่า คือ เลือก ส.ส.แบบเขต และเลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ส.ส.แบบเขต ใครได้คะแนนมากกว่าก็ชนะไป ส่วนคะแนนของคนที่ไม่ชนะต้องทิ้ง
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รวมคะแนนกันทั้งหมดแล้วนำมาคำนวณ เฉลี่ยสัดส่วนไปตามกฎเกณฑ์
ขณะที่แนวทางใหม่มีความแตกต่าง
แม้จะมี ส.ส. 2 แบบ คือ แบบเขต และบัญชีรายชื่อ เหมือนกัน

แต่การนับคะแนนในการเลือกตั้งที่จะถึง ถือว่า “ทุกคะแนน” มีความหมาย
พรรคการเมืองหนึ่งส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบเขต เมื่อประชาชนลงคะแนนหย่อนบัตรแล้ว
คะแนนทุกคะแนนที่ผู้สมัคร ส.ส.ได้รับ คือ “คะแนนของพรรค” ที่ ส.ส.ไปสังกัด
ส.ส.แบบเขต ใครที่ได้คะแนนมากกว่าก็ชนะได้เป็น ส.ส.เขตนั้นไป
แต่คะแนนของคนที่แพ้ไม่ได้ทิ้งไปเหมือนแนวทางเดิม
หากแต่นำมาเก็บไว้เป็น “คะแนนของพรรค”
คะแนนทั้งหมดที่พรรคได้รับจะนำไปคำนวณเพื่อหาสัดส่วน ส.ส.ในสภาที่พรรคนั้นๆ พึงมี
ประมาณกันว่า พรรคต้องมีคะแนน 70,000 คะแนน ถึงจะได้ ส.ส. 1 คน
ถ้าพรรคใดมี ส.ส.แบบเขต แต่คะแนนไม่ถึง 70,000 คะแนน
เช่น ชนะมาด้วยคะแนน 30,000 คะแนน แต่เพราะเป็นคนที่ประชาชนเลือก เขาก็ให้ผู้สมัครคนนั้นเป็น ส.ส.เขตนั้นๆ ไป
ส่วนพรรคใดที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตไม่ได้รับเลือกเลยก็ต้องมาลุ้น “คะแนนพรรค”
พรรคใดมี ส.ส.ที่มีคะแนนพรรคถึง 70,000 คะแนน ก็ได้ ส.ส. 1 คนละ
มีการคำนวณกันว่า พรรคใหญ่แม้จะได้ ส.ส.เขตมาก แต่ในที่สุดแล้วอาจไม่มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ
เพราะได้จำนวน ส.ส.เขตเท่ากับหรือมากกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคพึงมีอยู่แล้ว
พรรคใหญ่อย่าง เพื่อไทย หรือ ประชาธิปัตย์ จึงมีโอกาสได้ ส.ส.น้อยลง
พรรคเกิดใหม่หลายพรรค แม้จะไม่ได้ ส.ส.เขตเลย ก็อาจได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ตัวเลข 70,000 จึงเป็นตัวเลขการเมืองที่ใช้คำนวณกันสะพัด
ตัวเลขจำนวนนี้มาจากไหน ค่อยมาว่ากันตอนต่อไป
นฤตย์ เสกธีระ
maxlui2810@gmail.com

มิติ การเมือง พันธมิตร ‘แนวร่วม’ ต่อต้าน คสช.

มิติ การเมือง พันธมิตร ‘แนวร่วม’ ต่อต้าน คสช.



พลันที่พรรคประชาชาติมีการเปิดตัวโดยมีการวางตัว นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นหัวหน้า ขณะที่ นายวรวีร์ มะกูดี จะอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการ
ก็มองเห็นพันธมิตรในแนวร่วม “เพื่อไทย” ชัดขึ้น
เพราะไม่เพียงแต่ นายวรวีร์ มะกูดี จะเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย หากแม้กระทั่ง นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ก็เคยอยู่ทั้งพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน มาแล้ว
ยิ่งเห็นอีกหลายคน
เช่น นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ แห่งนราธิวาส นายมูฮำมัดอารีฟีน จะปะกิยา แห่งปัตตานี นายต่วน อับดุลเลาะ ดาโอ๊ะมารียอ แห่งยะลา
ยิ่งมีความแจ่มชัด
แจ่มชัดว่าพรรคประชาชาติไทยเน้นหนักไปยังพื้นที่มุสลิมและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นการเจาะเฉพาะกลุ่มอย่างเด็ดเดี่ยว มั่นคง
หากประเมินจากฐานทางความคิดด้วยการเอา “รัฐประหาร” เป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็นรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าจะเป็นรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557
ถือได้ว่ามีอย่างน้อย 3 พรรคการเมืองที่ยืนอยู่แนวเดียวกัน
1 คือพรรคเพื่อไทย อันเป็นความต่อเนื่องจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และ 1 คือพรรคประชาชาติ อันสัมพันธ์กับพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย
และ 1 คือ พรรคอนาคตใหม่
3 พรรคนี้มีจุดร่วมอย่างสำคัญ คือ ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร และไม่เห็นด้วยกับการสืบทอดอำนาจของ คสช.
รูปธรรม คือ ต่อต้าน “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540”

รูปธรรม คือ ต่อต้านผลพวงเลวร้ายจากการรัฐประหาร ไม่ว่าจะจากเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าจะจากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557
นี่คือ พันธมิตรในแนวร่วม “ไม่เอา คสช.”
ไม่ว่าในที่สุดพันธมิตรในทางความคิดระหว่างพรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ และพรรคอนาคตใหม่ จะลงเอยอย่างไร
แต่หากนำเอาจุดเด่นของ 3 พรรคมาเปรียบเทียบ
พรรคเพื่อไทยมีจุดแข็งอยู่ที่ ส.ส.ระบบเขต ซึ่งยึดครองพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่มีจุดอ่อนอยู่ในภาคใต้
จุดอ่อนของพรรคเพื่อไทยในภาคใต้จะได้จุดเด่นของพรรคประชาชาติมาทดแทน
ขณะเดียวกัน พรรคอนาคตใหม่อาจเป็นพรรคใหม่อย่างยิ่ง ละอ่อนอย่างยิ่ง แต่เป้าหมายที่พรรคนี้จะเจาะทะลวงเข้าไป คือ คนรุ่นใหม่
คนรุ่นใหม่ซึ่งอยู่ใน “ทศวรรษแห่งความมืดมน”
หากพรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ และพรรคอนาคตใหม่ สามารถแยกกันเดินและย้อนกลับมาก่อรูปพันธมิตรกระทั่งกลายเป็น “แนวร่วม” ทางการเมืองขึ้นได้
3 พรรคนี้จะกลายเป็นพลังต่อรองอย่างทรงความหมาย
การเมืองนับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และโดยเฉพาะจากรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ถือได้ว่าเป็นการเมืองในอีกมิติหนึ่ง
แตกต่างไปจากก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 แน่นอน
ยิ่งกว่านั้น ยังแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และพร้อมจะฝ่าฟันแม้จะมีร่มเงาอันมืดครึ้มจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กางครองอยู่ก็ตาม
เป็นมิติแห่งการเปิดหน้าชกในทางความคิด ในทางการเมือง

เดือนหน้าชัดเจน

เดือนหน้าชัดเจน



วันนี้ (28 ส.ค.) จะเกิดจุด เปลี่ยนเล็กๆทางการเมืองที่น่าจับตา
วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะประชุม คสช.เพื่อออกคำสั่ง ม.44 “คลายล็อก” ให้พรรคการเมืองเริ่มขยับเนื้อขยับตัว เตรียมเข้า สู่การเลือกตั้งใหญ่ต้นปีหน้า (ซึ่งมีเวลาเหลืออีก 6 เดือน หรือ 7 เดือน)
โดย คสช.จะคลายล็อกให้เท่าที่จำเป็นจริงๆ
ส่วนการจะปลดล็อกการเมือง 100 เปอร์เซ็นต์ ยังต้องรอพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งจะประกาศใช้ในเดือนมกราคม
จากนั้นจะเปิดโอกาสให้พรรคการเมือง เปิดเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งอีกประมาณ 20 วัน
พรรคการเมืองค้านกันตรึมว่า การปลดล็อกให้ปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งแค่ 20 วัน น้อยเกินไป
“แม่ลูกจันทร์” มองต่างมุมว่าการให้เวลาพรรคการเมืองเดินสายหาเสียงเลือกตั้งมากหรือน้อย ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไป
แต่ปัจจัยสำคัญคือคนที่เสนอตัวเป็นผู้นำรัฐบาลต้องมีความชัดเจน
ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการกลับมา เป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกติกา
พล.อ.ประยุทธ์ต้องตัดสินใจให้พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ เปิดตัวชัดเจน โอกาสจะสืบทอดอำนาจเป็นนายกฯต่อไปย่อมดีกว่ารอเสียบ...เป็น “นายกฯคนกลาง”
ผลสำรวจนิด้าโพล ล่าสุดสอบถามความเห็นประชาชน 1,291 คน ถึงความพึงพอใจการทำงานของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เป็นนายกรัฐมนตรี ครบ 4 ปีเต็ม
ประชาชน 22.15 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ดีมาก
และประชาชน 48.96 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นนายกรัฐมนตรีได้ค่อนข้างดี
เมื่อเอาคะแนน 2 กลุ่มบวกกัน เท่ากับประชาชนส่วนใหญ่ 71.11 เปอร์เซ็นต์พึงพอใจ “พล.อ.ประยุทธ์” ในบทบาทนายกรัฐมนตรี
มีเพียงส่วนน้อย 28.89 เปอร์เซ็นต์ ที่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ทำหน้าที่นายกฯไม่ค่อยดี หรือไม่ดี
ถ้ายึดผลสำรวจนิด้าโพลล่าสุด เป็นใบเสร็จยืนยัน “นายกฯลุงตู่” มีโอกาสสูงที่จะเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง อย่างสะดวกโยธิน
“แม่ลูกจันทร์” ย้ำอีกครั้งว่าปัจจัยสำคัญทางการเมืองคือ...“ความชัดเจน”
คนไทยชอบอะไรที่ชัดเจนตรงไปตรงมา
เดือนหน้า กันยายน เป็นกำหนดที่ “พล.อ.ประยุทธ์” สัญญาว่าจะเปิดเผยอนาคตทางการเมืองของตัวเองอย่างชัดเจน
คาดว่า “พล.อ.ประยุทธ์” จะตัดสินใจให้พรรคการเมืองเสนอชื่อตัวเองเป็น “ว่าที่นายกรัฐมนตรี” คนต่อไป
แต่...แต่ถ้า “พล.อ.ประยุทธ์” ตัดสินใจจะล้างมือในอ่างทองคำ
(มีโอกาสเป็นไปได้ 10 เปอร์เซ็นต์)
พล.อ.ประยุทธ์ ต้องหาตัวตาย ตัวแทนที่จะส่งขึ้นแท่น เป็นว่าที่นายกฯคนต่อไป
“แม่ลูกจันทร์” มองว่า ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯเศรษฐกิจที่มีผลงานประทับใจสูงถึง 49.88เปอร์เซ็นต์ จากผลสำรวจล่าสุดของนิด้าโพล
น่าจะมีความเหมาะสมที่จะสานต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของ คสช.
หวังว่าเดือนกันยายน...จะเห็นอนาคตการเมืองไทยชัดเจนซะที.
“แม่ลูกจันทร์”

เกม 'รับน้อง' เริ่มแล้ว

เกม 'รับน้อง' เริ่มแล้ว



มวยเขี้ยวทันกัน ไม่ยอมโดนเตะ “กินเปล่า” ฝ่ายเดียวอยู่แล้ว
แนวโน้มแบบที่ “เสี่ยแฮงค์” นายอนุชา นาคาศัย แกนนำกลุ่มสามมิตร ตั้งโต๊ะแถลงใหญ่ เปิดคลิปโชว์หลักฐานในโซเชียลมีเดีย แฉกลับคนของพรรคเพื่อไทย ทีมงานประชาธิปัตย์ แกนนำค่ายภูมิใจไทย ไปยันลูกแถวพรรคชาติไทยพัฒนา ก็เคลื่อนไหวแบบเดียวกับกลุ่มสามมิตร
ถ้าผิดก็ผิดกันหมด เข้าข่ายละเมิดกฎเหล็กเหมือนกัน
เป็นการการันตี คสช.ไม่ได้สองมาตรฐาน และจังหวะพลิกเหลี่ยมเบี่ยงแรงกดดัน กระตุกกระแสสู้แรงเสียดทานที่กลุ่มสามมิตรโดนเจ้าถิ่นพรรคเก่า “รุมกินโต๊ะ”
เพราะอารมณ์หมั่นไส้พรรคหนุน “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ นั่นแหละ
ตามอาการ “สามมิตร” พร้อมท้าแลกหมัดนักการเมืองอาชีพด้วยกัน โต้ทุกเม็ดทุกดอก
ฤกษ์ตะลุมบอนเดือนกันยายน คสช.ปลดล็อกการเมืองเมื่อไหร่ ได้โซ้ยกันมันแน่
และแกะรอยตามยุทธการรุมกินโต๊ะกลุ่มสามมิตร โดยสถานการณ์หนีไม่พ้นต้องไล่กระแทกไปถึงเป้าหมายปลายทางคือ ป้อมค่าย “พลังประชารัฐ” ที่มีข่าวเกี่ยวโยงกันอยู่
นักการเมืองเจ้าถิ่นต้องเจาะยางขวางยุทธการตุนแต้มของทีมหนุน “นายกฯลุงตู่”
สถานการณ์แบบที่คล้อยหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ยกคณะกลับจาก ครม.สัญจรที่ภาคใต้ไม่ทันไร ก็มีกระแสร้อนๆปั่นดราม่าในพื้นที่รัฐบาล “ลุงตู่” ไม่รักชาวใต้ รับแค่พิจารณาโครงการในการประชุม ครม.สัญจรที่ชุมพร ไม่มีการอัดฉีดโครงการใหญ่ งบก้อนโตเหมือน ครม.สัญจรภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง
ทั้งๆที่ของจริงตามข่าวที่ทีมโฆษกรัฐบาลแถลงโครงการที่เอกชนภาคใต้เสนอ ล้วนผ่านความเห็นชอบจากมติ ครม.สัญจรที่ชุมพร โดยเฉพาะโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (เอสอีซี) ที่เป็นวาระสำคัญตามยุทธศาสตร์ เมกะโปรเจกต์เรือธงของรัฐบาลโยงกับเมกะโปรเจกต์ อีอีซีและไทยแลนด์ริเวียร่า
โดยที่นักธุรกิจภาคใต้ต่างยอมรับในแผนพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม
แต่นัยอีกมุมกลับกัน นั่นแสดงว่า ผลจากการประชุม ครม.สัญจรที่ชุมพร ถูกตีความเป็นการรุกทางการเมืองครั้งสำคัญ เป็นเรื่องเดิมพันเจาะฐานเสียงในภาคใต้
ทีมหนุน “ลุงตู่” เลยเจอ “ขาใหญ่” เจ้าถิ่นเตะตัดขาเจาะยาง
ตามสถานการณ์ยี่ห้อ “พลังประชารัฐ” ต้องเจอเกมรับน้องหนักขึ้นตามเงื่อนไขสถานการณ์ปลดล็อก
กับข่าวล่ามาไว พาดหัวไม้หนังสือพิมพ์ 2 รัฐมนตรี มือดีของทีมเศรษฐกิจ ทั้งนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กับนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ จะทิ้งเก้าอี้รัฐมนตรีเพื่อไปรับเก้าอี้หัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
รีบตัดกระบอกไม้ไผ่ตั้งแต่ยังไม่เห็นน้ำ แต่งตัวลงสนามตั้งแต่หัววัน
เรื่องของเรื่อง มันเป็นข่าวที่รู้กันดีอยู่แล้ว เพียงแต่ถึงเวลา “ถอดมงคล” ขึ้นเวทีหรือยังเท่านั้น
เพราะวัดจากภารกิจสำคัญ ณ ปัจจุบันของนายอุตตมที่ต้องรับผิดชอบดูแลโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (อีอีซี) เมกะโปรเจกต์เรือธงของรัฐบาลที่กำลังก่อร่างสร้างฐาน
นักลงทุนจีน นักลงทุนญี่ปุ่น แห่มาจองทำเลกันไม่ขาดสาย
ขณะที่นายสนธิรัตน์ก็ต้องรับภาระประคองปากท้องค่าครองชีพประชาชน ตลอดจนการเป็นแม่ทัพรับมือส่งสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ส่งผลต่อการส่งออก
ถ้า “สนธิรัตน์” ถอนสมอมีหวังป่วน ต้องสลับฉากกันวุ่นวาย
นี่แค่ปมบริหารราชการแผ่นดิน ไม่นับยุทธศาสตร์การเมืองที่ต้องเดินหมากดีๆ
ตามรูปการณ์ขืนหัวหน้ากับเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ “ขาลอย” ไม่มีตำแหน่งรัฐมนตรี การลงพื้นที่หาเสียงไม่มีมือไม้ ข้าราชการไม่สนใจ ไม่ให้ราคา
มันจะยิ่ง “โหรงเหรง” ไปกันใหญ่
อะไรไม่เท่ากับว่า ถ้า “อุตตม-สนธิรัตน์” ออก ตามเหลี่ยมสถานการณ์ที่เดาเกมได้
แรงกระแทกจะกระฉอกไปถึง “นายกฯลุงตู่”
หนีไม่พ้นโดนโห่ฮาตีปี๊บให้ลาออกจากนายกฯไปลงสนาม โชว์สปิริตอย่าเอาเปรียบคู่ต่อสู้
ดูแล้ว ผลกระทบด้านลบหนักกว่าเยอะถ้าเทียบกับการทนเสียงนกเสียงกากระแนะกระแหน
อีกทั้งกระแสวันนี้คนทั่วประเทศรู้หมดแล้ว แนวโน้ม “ลุงตู่” ตีตั๋วต่อ เป็น 1 ใน 3 บัญชีนายกฯพรรคพลังประชารัฐ “อุตตม-สนธิรัตน์” คือแคนดิเดตหัวหน้ากับเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
ไม่จำเป็นต้องแกรนด์โอเพนนิ่ง เปิดตัวอย่างอลังการ
เว้นแต่มีคนในทีมงาน คสช.ด้วยกัน “เขี่ยลูก” เปิดเกมวัดใจกันเอง.
ทีมข่าวการเมือง

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช

มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีพระนครศรีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีโคราช
...
ขนาด 1.435 เมตร เป็นทางยกระดับ 190 กิโลเมตร มีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 7-22 เมตร และทางระดับพื้น 54.5 กิโลเมตร อุโมงค์ยาว 7.8 กิโลเมตร จำนวน 2 แห่ง คือ บริเวณมวกเหล็ก จ.สระบุรี และบริเวณลำตะคอง จ.นครราชสีมา
...
ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา ประมาณ 1.30 ชั่วโมง ช่วงเวลาให้บริการ 06.00-22.00 น. ออกเดินทางทุก 90 นาที
...
อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 107-534 บาท เฉลี่ยค่าโดยสาร 80 บาท บวก 1.8 บาทต่อกิโลเมตร เปิดให้บริการปี 2566 งบประมาณ 179,000 ล้านบาท

ที่มา : เพจ 

“ล็อคลวงพราง”



จับชีพจรข่าว 28ส.ค.61 ตอน “ล็อคลวงพราง”
อยู่ในโหมดที่นักการเมืองพรรคการเมืองต้องยอมรับสภาพ ตามแต่ ฝ่ายอำนาจจะจัดให้แบบไหนสำหรับการ คลายล็อคจากประกาศคำสั่งคสช. 53/2560 ที่จะมีการพูดคุยในวงประชุม คสช.พรุ่งนี้ โดย ตั้งต้นที่ 6 เงื่อนไข ให้พรรคการเมืองได้ขยับทำกิจกรรมได้นั้น คือ 1.พรรคการเมืองจัดประชุมใหญ่ เพื่อรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติมได้ 2.ให้ความเห็นเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 3.สามารถดำเนินการเกี่ยวกับไพรมารีโหวตได้4.ตั้งกรรมการเพื่อสรรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ 5.ติดต่อประสานงานกับสมาชิกได้และ 6.การดำเนินการอื่นๆ แต่ไม่ใช่การหาเสียงเลือกตั้ง ที่เอาเข้าจริงแล้ว ฝ่ายการเมืองเหมือนจะดูออกว่า งานนี้เป็นการคลายล็อค ของฝ่าย กรรมการกำลังจะมาเป็น ผู้เล่นในลักษณะ เพื่อประโยชน์ของ พรรคกองหนุนที่เป็นพรรคใหม่ที่ ติดล็อคกับประกาศคำสั่ง 53/60 จนทำท่าจะขยับอะไรไม่ทันเหมือนกันหาก พรป.เลือกตั้ง ส.ส.โปรดเกล้าลงมา และเริ่มสตาร์ท ซึ่งเหลือเวลาแค่ 90 วันในการเตรียมตัว….

https://www.innnews.co.th/features/colorful-flowers/news_172944/