PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ร่างพรบ.ยุทธศาตร์ชาติ

ร่างพรบ.ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ...ที่ผ่านสภาวาระ3
ม.5วรรค3 การกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของครม.ก่อนเข้าบริหารราชการ การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ นโยบายและแผนความมั่นคงแห่งชาติ แผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี แผนอื่นใด ต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ
ม.8 ในกระบวนการจีดทำร่างยุทธศาสต์ชาติ ให้ปชช.ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยการรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นและเมื่อจัดทำร่างฯเสร็จเบื้องต้น
ม.9 เมื่อจัดทำร่างฯเสร็จให้เสนอครม. พิจารณาโดยให้แก้ไขได้ แล้วส่งสภาผู้แทนฯให้พิจารณาให้เสร็จใน60วัน วุฒิสภาใน30วัน แล้วนายกฯนำขึ้นทูลเกล้า
ม.10 เมื่อมีพระบรมราชโองการฯประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ให้คกก.ยุทธศาตร์แต่ละด้านจัดทำแผนแม่บท. เมื่อประกาศในราชกิจจาแล้วให้มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐที่จะต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องสอดคล้องกับแผนแม่บท โดยคกก. ยุทธศาสตร์ชาติแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทได้

ม.11ทบทวนยุทธศาสตร์ชาติทุก5ปี หรือขอรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกแะในประเทศ
ม.12 คกก.ยุทธศาสตร์ชาติมีนายกฯเป็นปธ. ปธ.สภาผู้แทนฯเป็นรองฯคนที่1 ปธ.วุฒิสภาเป็นรองคนที่2 รองนายกฯหรือรมต.ที่นายกฯมอบหมายเป็นรองคนที่3 ข้าราชการโดยตำแหน่ง13คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ17คน อายุไม่เกิน75 มีวาระ5ปี จากด้านความมั่นคง ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกม.และกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณสุขและด้านอื่นๆ ให้เลขาธิดการ สศช.เป็นกรรมการและเลขา รองเลขาสมช.และรองเลขาฯสศช.เป็นรอง
ม.15 หน้าที่และอำนาจของคกก.คือจัดทำร่างยุทธศาสต์ชาติ กำหนดวิธีการมีส่วนร่วมของปชช.ในการจัดทำฯ เสนอความเห็นต่อรัฐสภา ครม.หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแลการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และหน้าที่อื่น
ม.16 ให้คกก.แต่งตั้งคกก.จัดทำยุทธศาสตร์ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ จำนวนไม่เกินคณะละ15คน
ม.18 ในการประชุมของคกก. ปธ.กรรมการและรองฯปธ.จะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้

ม.20 คกก.จะขอให้สำนักงานจ้างบุคคล สถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่มีวัตถุประสงค์ศึกษาวิจัย ศึกษาค้นคว้าหรือจัดทำรายงานก็ได้
ม.22ให้สำนักงานสศช.ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคกก.
ม.24 ให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดำเนินการต่อสศช.ภายในเวลาที่กำหนด สรุปผลการดำเนินการประจำปีต่อคกก., ครม.และรัฐสภาทราบ ถ้ามีเหตุรายงานให้สภาทราบเฉพาะเรื่องได้ ให้คกก.ด้านที่เกี่ยวข้องรายงานคกก.เพื่อเสนอรัฐสภา
ม.25 ในกรณีที่สภาผู้แทนหรือวุฒิสภาเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุอันควร ให้มีมติส่งเรื่องให้ปปช.ดำเนินการกับหัวหน้าหน่วยงานนั้นให้แล้วเสร็จภายใน1ปี
ม.26 วรรคสาม ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและคกก. จัดทำยุทธศาสตร์ชาติแจ้งแล้ว ยังไม่ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่แจ้งเหตุการดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้คกก.จัดทำยุทธศาสตร์ชาติแจ้งปปช. ทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
บทเฉพาะกาล ม.27 ให้ครม.แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน30วันนับแต่วันที่พรบ.ใช้บังคับ ให้แต่งตั้งคกก.จัดทำยุทธศาสต์ชาติด้านต่างๆให้แล้วเสร็จใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
ให้คกกจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเบื้องต้นให้เสร็จใน120วันโดยให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติระยะ20ปีเป็นหลัก โดยให้รับฟังความคิดเห็นให้เสร็จใน30วัน

คกก.จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ~> คกก.ยุทธศาสตร์ชาติ~>ครม.~>
สนช.ทำหน้าที่รัฐสภา พิจารณาให้เสร็จใน30วัน~>นายกฯนำยุทธศาสต์ชาติขึ้นทูลเกล้า

ยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวเป็นแนวคิดที่ดี หลายประเทศมีแล้ว คราวนี้เราจะมีเหมือนกับเขา เมื่อมีแล้วก็ต้องมีบทบังคับให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ ถ้าไม่ทำก็ต้องส่งให้ปปช.จัดการ แผนต่างๆของชาติก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งแผนสภาพัฒน์ งบประมาณรายจ่ายประจำปี หมดยุคการบริหารบ้านเมืองตามแนวนโยบายพรรครัฐบาล ที่ไม่ได้มองภาพรวมของประเทศเสียทีครับ

Fb.นพ.เจตน์

งานเข้า เริ่มถี่ รัฐบาล นุงนัง ระวัง ทับซ้อน

งานเข้า เริ่มถี่ รัฐบาล นุงนัง ระวัง ทับซ้อน


มิใช่แต่เวทีประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสุขภาพ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “30 บาททุกโรค”
ไม่ว่าจะเป็นที่ภาคเหนือ ภาคใต้ หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เท่านั้นดอกที่ระอุคุกรุ่น
แม้กระทั่งเวทีอภิปรายว่าด้วยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ซึ่ง นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ออกหน้าเอง
ก็ดุเด็ดเผ็ดร้อน
แต่ถามว่าเป้าหมายของกลุ่มผู้ออกมาคัดค้าน
ไม่ว่าจะเป็นประชาชน เป็นเอ็นจีโอ เป็นนักวิชาการ รวมไปถึงบรรดาแพทย์ชนบททั้งหลาย พุ่งไปที่กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นหรือไม่
คำตอบคือเปล่าเลย
ปลายหอกของการเคลื่อนไหวจากทุกพื้นที่
ล้วนชี้ตรงเข้าไปที่รัฐบาล
เช่นเดียวกันกับกรณี การจะประกาศใช้มาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ส.ป.ก.กับกิจการอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นการขุดเจาะปิโตรเลียม หรือการเปิดทางให้พัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ ทั้งไร่กังหันลม หรือทุ่งของแผงแปรรูปพลังงานแสงอาทิตย์
ก็ทำให้เกิดปัญหาและข้อสงสัย
สงสัยว่า
ระหว่างการให้สัมปทานปิโตรเลียมกับการประกาศพื้นที่ ส.ป.ก. อะไรเกิดขึ้นก่อนกัน
สงสัยว่า
การเปิดพื้นที่ซึ่งเดิมระบุว่ามีไว้เพื่อให้ราษฎรยากจนประกอบกิจกรรมการเกษตร ให้กับบริษัทเอกชนเข้าไปทำประโยชน์จากกิจการอื่น สามารถทำได้หรือไม่
เป็นการเอื้อต่อเอกชนหลายซ้ำหลายซ้อน
หลังจากที่บริษัทเหล่านี้ได้สัญญารับซื้อไฟฟ้าจากรัฐ ด้วยราคา “รับประกัน” ที่บวกกำไรจำนวนแน่นอนเอาไว้ให้แล้ว
สงสัยว่า
ในบริษัทเอกชนที่ได้ผลประโยชน์จากการประกาศใช้กฎหมายอย่างรวบรัดเช่นนี้
จะ “บังเอิญ” มีใครในรัฐบาล หรือวงศ์วานว่านเครือ
เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่

เป็นข้อสงสัยที่ต่อเนื่องมาจากการประกาศใช้มาตรา 44 เพื่อ “ปลดล็อก” การเจรจาที่ไม่คืบหน้าในการก่อสร้างรถความเร็วสูงไทย-จีน
ที่แม้บรรดาตัวแทนของวิศวกรรมสถานหรือสภาสถาปนิกที่เข้าพบกับตัวแทนของรัฐบาล จะออกมาระบุว่า “พอใจ”
และพร้อมเปิดทางให้การเจรจา การทำสัญญา และการก่อสร้างเดินหน้า
ข้อสงสัยก็ยังไม่หายไปไหน
ยังไม่หายไปจนกว่าข้อเท็จจริงในการเจรจาจะได้รับการเปิดเผยอย่างโปร่งใส
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกำหนดคุณภาพของงานก็ดี
การกำหนดสัดส่วนใช้วัตถุดิบและแรงงานในประเทศก็ดี
การใช้ประโยชน์จากที่ดินข้างทาง อันมี
มูลค่าและศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
จะตกอยู่ในมือฝ่ายไหนก็ดี
เงื่อนไขสัญญาเงินกู้ ว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายหรือเป็นสัญญาบีบรัดฝ่ายผู้กู้หรือไม่ก็ดี
ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ยังตามมาด้วยคำถามคล้ายคลึงกันกับกรณีข้างต้น
ว่ามีคนใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจ
เข้าไปมีส่วนได้เสียด้วยหรือไม่

สามปีผ่านไป หลังการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน
คำถามที่ คสช. และรัฐบาล ไม่คิดว่าจะได้รับฟัง และไม่เคยได้รับฟังในช่วงแรกของการอยู่ในอำนาจ ก็เริ่มดังระงมขึ้นมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำถามที่จี้เข้าไปยังประเด็นที่เป็นจุดแข็งที่สุด
ซึ่งขณะเดียวกันก็อาจจะกลายเป็นจุดอ่อนที่สุดของฝ่ายผู้มีอำนาจ
ก็คือคำถามว่าด้วยความสุจริต
คำถามว่าด้วยความโปร่งใส
ไม่เพียงแต่กรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำ หรืออาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เท่านั้น ที่ถูกติดตามตรวจสอบ
กิจกรรมอะไรก็ตามที่อาจจะเกี่ยวพันกับผลประโยชน์มหาศาล อาทิ กรณีพลังงานทดแทน ก็ถูกติดตามตรวจสอบ
รวมไปถึงเรื่องที่กระทบกับผลประโยชน์ของประชาชนโดยตรง อย่างกรณีแก้ไขกฎหมายบัตรทอง-หลักประกันสุขภาพ
ก็ยิ่งถูกติดตามตรวจสอบ
เป็นการตรวจสอบที่ติดตามต่อเนื่องกันมาเป็นระลอก
อันบ่งชี้แนวโน้มอันใกล้ให้เห็นว่า รัฐบาลยังจะต้องเชิญหน้ากับการตรวจสอบที่ถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น เป็นลำดับไป
ตั้งการ์ดไม่ดี มีแผลแตกให้สังคมเห็น
ที่เผชิญหน้าอยู่ในวันนี้
อาจจะเป็นแค่เรื่องขี้ฝุ่นขี้ผง

ด่วน! สนช.มติเอกฉันท์ ผ่าน “กม.ยุทธศาสตร์ชาติ – กม.ปฏิรูปฯ” 2 ฉบับรวด

ด่วน! สนช.มติเอกฉันท์ ผ่าน “กม.ยุทธศาสตร์ชาติ – กม.ปฏิรูปฯ” 2 ฉบับรวด

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานการประชุม ได้มีมติเอกฉันท์ 218 คะแนน งดออกเสียง 3 คะแนน เห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ…. ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดย พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ การกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกฯมอบหมาย ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรแห่งชาติ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกิน 17 คน
ทั้งนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอความเห็นต่อรัฐสภา หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ กำกับดูแลการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเบื้องต้นด้านต่างๆให้เสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและส่งให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จากนั้นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาและเสนอต่อ ครม.ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจากคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ต่อมา ครม.ต้องส่งร่างยุทธศาสตร์ชาติให้สนช.ภายใน 30 วัน โดย สนช.ต้องให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจาก ครม. และเมื่อ สนช.ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้นายกฯนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างยุทธศาสตร์ชาติจากสนช.
จากนั้น ที่ประชุมสนช.ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 เป็นประธาน ได้มีมติเอกฉันท์ 216 คะแนน งดออกเสียง 4 คะแนน เห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. … ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งตามขั้นตอนนายกฯจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ และเมื่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ จะทำให้สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ต้องพ้นจากตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กำหนดโดยทันที ซึ่งสาระสำคัญของร่างดังกล่าว คือ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ จำนวน 11 ด้าน คือ 1.ด้านการเมือง 2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3.ด้านกฎหมาย 4.ด้านกระบวนการยุติธรรม 5.ด้านการศึกษา 6.ด้านเศรษฐกิจ 7.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8.ด้านสาธารณสุข 9.ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ 10.ด้านสังคม และ 11.ด้านอื่นตามที่ครม.กำหนด ด้านละไม่เกิน 13 คน โดย ครม.เป็นผู้แต่งตั้ง มีวาระการดำรง 5 ปี โดยแต่ละด้านต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 90 วันจากนั้นเสนอให้ที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการปฏิรูปทุกคณะพิจารณา อีกทั้งเสนอให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ พิจารณาด้วยว่า ร่างแผนการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างแผนการปฏิรูปประเทศก่อนเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป

ถ้าทำ “ไพรมารี่โหวต”ไม่ทัน

“วิษณุ” เผย ตัดสิทธิ “พรรคการเมือง” ส่งคนลงสมัครเลือกตั้ง ถ้าทำ “ไพรมารี่โหวต”ไม่ทัน เว้น “กมธ.ร่วม” เขียนยกเว้น

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 22 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กรณีเสียงคัดค้านจากพรรคการเมืองถึงระบบไพรมารีโหวตว่า ตนไม่ทราบว่าถ้าพรรคการเมืองดำเนินขั้นตอนไพรมารี่โหวตไม่ทันจะกระทบการเลือกตั้งหรือไม่ แต่ถ้าหลักการอุตส่าห์ให้มีเรื่องนี้มันก็ต้องมีผล
เมื่อทำไม่ทันอาจจะตัดสิทธิหรือเสียสิทธิในการส่งคนลงสมัครได้ เว้นแต่กรรมาธิการร่วมจะไปเขียนข้อยกเว้นไว้ให้ วันนี้สังคมพูดกันว่าถ้าจะใช้ระบบนี้ประเดิมการเลือกตั้งครั้งหน้า มันอาจมีอะไรต้องผ่อนสั้นผ่อนยาวสำหรับความไม่พร้อม
“ข้อยกเว้นจะใช้เฉพาะเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ ไม่ทราบ มันจะเลือกปฏิบัติหรือเปล่า ถ้าบังคับแล้วต้องบังคับเลยหรือเปล่า คนที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาก็จะต้องคิดว่าจะมีปัญหาอะไรขึ้น แล้วจะแก้ปัญหานั้นยังไง ส่วนระบบไพรมารี่โหวตจะเหมาะกับบ้านเราหรือไม่ ผมไม่ทราบ ไม่แน่ใจเหมือนกัน” นายวิษณุ กล่าว

จริงๆแค่เถียงแก้เขิน

จริงๆแค่เถียงแก้เขิน

แค่อาการ “แก้เขิน” กันพอเป็นพิธี

กับลีลาที่ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.ออกมาโต้แย้ง นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ฟันธงเลยว่า รัฐบาลทหาร คสช. ทีมงานคนดี จะเป็นนอมินีของ “ชนชั้นนำ” คุมเกมอำนาจบริหารประเทศไทยต่อไปอีกอย่างน้อยเป็น 10 ปี
แต่สังเกตว่า “บิ๊กตู่” ก็ไม่ได้เถียงแบบหัวชนฝา

นั่นก็เพราะด้วยสถานะ นายเสกสรรค์ไม่ใช่ประเภท “ขาประจำ” นักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหวที่ฝักใฝ่ขั้วการเมือง แต่เป็นต้นแบบของ “คนเดือนตุลา” อย่างแท้จริงที่เหลืออยู่ไม่กี่คน ที่คิดโดยอิงกับผลประโยชน์มวลมหาประชาชนเป็นหลัก

การคิดการพูดมาจากพื้นฐานการมองด้วยความเป็นกลาง

และก็ไม่ใช่แค่นักวิชาการระดับเสกสรรค์ที่มองเห็นมุมการต่อโปรโมชั่นอำนาจของ คสช.

ตามสภาพการณ์ที่ประชาชน คอการเมืองสภากาแฟก็รู้คำตอบมาตั้งแต่ตามแกะรอยคำถามพ่วงประชามตินำมาสู่บทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ ที่เปิดทางให้สมาชิกวุฒิสภา สรรหาจำนวน 250 คน มีสิทธิร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยน ผ่าน 5 ปี

นั่นหมายถึงโอกาส ส.ว.สรรหาได้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งอย่างน้อย 2 สมัย คือเทอม 4 ปีรัฐบาล บวกอีก 1 ปี

นี่ก็ชัดเจนว่า คสช.วางหมากเผื่อไว้ ไม่ใช่จบแค่เทอมนี้เทอมเดียวแน่

ที่สำคัญกว่านั้น หากฟังให้จบครบถ้วนกระบวนความ โดยปรากฏการณ์ที่นายเสกสรรค์วิเคราะห์โดยอ้างอิงปัจจัยสนับสนุนการอยู่คุมเกมยาวของรัฐบาล

ไม่ใช่แค่ลำพังการใช้อำนาจทางการทหารมายึดกันตามฟอร์มคนมีปืน

แต่มันโยงถึงความพยายามของรัฐบาล คสช.ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 และกลไกประชารัฐ ที่แม้ภายนอกจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ลึกๆแฝงเหลี่ยมการช่วงชิงมวลชน ที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ
และเชื่อว่ามีจุดหมายที่ดี ที่จะสามารถพาประเทศพ้นกับดักปานกลาง โดยอาศัยนวัตกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการสร้างรายได้ให้กับคนไทย

ซึ่งสิ่งที่นายเสกสรรค์วิเคราะห์มันก็อิงกับสถานการณ์ที่ “นายกฯลุงตู่” ใช้ดาบมาตรา 44 เปิดทางให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กัปตันทีมเศรษฐกิจ เดินหน้าเมกะโปรเจกต์ วางระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตระยะยาว

ทั้งการเร่งเครื่องโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (อีอีซี) ต่อเนื่องกับการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ เมกะโปรเจกต์ด้านคมนาคม ที่กระจายเส้นทางออกต่างจังหวัด

เป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรของคนชนบท

จากที่คนกรุงเทพฯมีรถไฟฟ้าผุดขึ้นสารพัดสาย สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีน้ำเงิน ฯลฯ วันนี้ก็ถึงคิวของคนต่างจังหวัดจะได้รับความสะดวกด้านการคมนาคมจากรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่

เป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท แก้ปมแตกต่างระหว่างชนชั้นนำ ชนชั้นกลาง ชนชั้นฐานราก

ที่เป็นหัวเชื้อชนวนวิกฤติความขัดแย้งอย่างแท้จริง

เอาเป็นว่า ถ้าสารพัดโครงการไทยแลนด์ 4.0 คืบหน้าไปได้แค่ 50 เปอร์เซ็นต์ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้เห็นความตั้งใจของรัฐบาล คสช.ในการวางแผนปฏิรูปประเทศระยะยาว

แค่นี้นักการเมืองอาชีพก็หนาวแล้ว

ตามรูปการณ์มาถึงตรงนี้ โจทย์สำคัญของรัฐบาลทหาร คสช.ต้องเคลียร์ ก็เหลือแค่การบริหารกระแสเฉพาะหน้าที่นำมาซึ่งแรงเสียดทาน

อย่างที่เห็นปรากฏการณ์ป่วนๆจากปมล้มบัตรทอง โครงการประกันสุขภาพ ที่เจอเหลี่ยมแฝงทางการเมืองปลุกระดมมวลชนออกมาต่อต้าน โดยที่รัฐบาลลนลานอธิบายไม่เคลียร์

หรือปัญหาสินค้าพืชผลทางการเกษตร ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้การบริหารของ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯยังมะงุมมะงาหราไปไม่เป็น

และอารมณ์ดราม่าแบบที่อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พูดน้ำตานองหน้า ในวันเกิด แทนที่จะอธิษฐานขอให้มีสิ่งดีๆเกิดขึ้นกับชีวิต

แต่กลับต้องอธิษฐานให้รอดบ่วงกรรมคดีทางการเมือง

นี่คือเรื่องอันตรายที่ทำให้รัฐบาลหงายท้องได้ทุกขณะ.

ทีมข่าวการเมือง

ไพรมารี’ ทำโจทย์ยาก

ไพรมารี’ ทำโจทย์ยาก

“หนุมานเหาะเกินกรุงลงกา”
ว่ากันตามสำนวนที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ มือหนึ่งกฎหมายรัฐบาล คสช. เคยเปรียบเปรยปมปัญหาลักลั่นของรัฐธรรมนูญแม่บทกับกฎหมายลูก
มุกนี้น่าจะถูกต้องตามท้องเรื่องมากสุดกับปมปัญหาว่าด้วยร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองที่มีการปรับเพิ่มเนื้อหาในขั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ในมาตราที่เกี่ยวกับการตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดและการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง
หรือเรียกกันตามสากลว่า “ไพรมารีโหวต”
เบื้องต้นเลยไม่ต้องวิเคราะห์ถึงที่มาที่ไปให้ยุ่งยาก แกะรอยจากต้นเรื่องที่มีชื่อของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ที่นั่งเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง สนช.
ยี่ห้อนี้ถือธงมาล้างบางระบอบ “ทักษิณ” ตั้งแต่บ้าน
ตามเงื่อนสถานการณ์น่าจะยึดโจทย์ของป้อมค่าย “นายใหญ่” เป็นตัวตั้ง โยงกับปมปัญหาตัวอย่างจากในอดีตที่การกาหัวผู้สมัครของพรรคต้องมาจากทีมผู้บริหารหรือเจ้าของพรรค
เข้าฟอร์มบริษัทจำกัดมากกว่าพรรคการเมือง
เป็นเรื่องที่ฝ่ายต้านระบอบ “ทักษิณ” ปักใจเชื่อว่า เป็นต้นตอของวงจรอุบาทว์ เลือกตั้งถอนทุน ส.ส.เป็นแค่ลูกจ้าง “นายใหญ่” ทำให้การเมืองยึดโยงอยู่กับทุนสามานย์
ชาวบ้านไม่มีส่วนในการเลือกตัวแทนอย่างแท้จริง
นี่คือสิ่งที่มโนกันในหมู่ของ “นักลากตั้งอาชีพ” ที่ไม่เคยลงสนามเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม งานนี้ถือว่า “ผิดคิว” เต็มๆ
จับอาการหงุดหงิดของ “ซือแป๋” อย่างนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ว้ากใส่ทีมงานกรรมาธิการฯ สนช.2-3 รอบ ล็อกคอเลยว่า ถ้าดึงดันก็ต้องรับผิดชอบหากระบบไพรมารีโหวตสร้างปัญหาอย่างที่หลายฝ่ายกังวล
ด้วยเหตุผลที่อธิบายกันชัดๆในทางปฏิบัติ ระบบไพรมารีโหวตต้องใช้เวลานาน เนื่องจากกระบวนการคัดสรรผู้สมัครที่ต้องผ่านการเลือกตั้งขั้นต้นจากสมาชิกในพื้นที่ก่อน
จึงมีปัญหาว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ และพรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งทันหรือไม่
เรื่องใหญ่ ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
แถมยังมีแนวโน้มกระทบการเลือกตั้งทำให้ยืดเยื้อออกไป
แต่นั่นไม่สำคัญ ด้วยระบบไพรมารีโหวตถือเป็นอุปสรรคของพรรคการเมืองใหม่มากกว่าพรรคการเมืองเก่าที่มีฐานเสียงและกลุ่มสมาชิกเดิมอยู่แล้ว
แนวโน้มป้อมค่ายใหม่เกิดขึ้นลำบาก
แทนที่จะล้างกระดานระบอบ “ทักษิณ” กลับเข้าทางพรรคเพื่อไทยมากกว่า
นี่คือผลของ “หนุมานเหาะเกินกรุงลงกา” สนช.เล่นแร่แปรธาตุ ทำกฎหมายลูกใส่กติกาเกินกว่าแม่บทรัฐธรรมนูญ ทำให้ “ซือแป๋ มีชัย”หงุดหงิด
ผิดคิวกันอย่างแรงในหมู่ฝ่ายออกแบบกติกาใหม่ประเทศไทย
และถึงที่สุดเลย ถ้าเคลียร์กันไม่ได้ ก็ต้องไปสู่กระบวนการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย คือ สนช. กรรมการยกร่างฯ และตัวแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
โหวตตัดสินกันในขั้นสุดท้ายแบบใครดีใครได้
ซึ่งตามรูปการณ์น่าจะเป็นฝ่ายของนายมีชัยที่ได้เปรียบกว่า เพราะประเมินจากเสียงของฝ่าย กกต. ที่เป็นตัวแปร ก็ยังไม่ตอบรับไพรมารีโหวต
เนื่องจากความลักลั่นในทางปฏิบัติ
เหนืออื่นใด โดยเงื่อนสถานการณ์ที่โยงกับพิมพ์เขียวอำนาจในช่วงเปลี่ยนผ่าน ทีมงานทหาร คสช.ยังต้องแฝงตัวอยู่ในเกมบริหารต่ออีกอย่างน้อย 5 ปี
ตามเงื่อนไขไฟต์บังคับจำเป็นต้องมีป้อมค่าย “นอมินีสีเขียว” มาช่วยประคอง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.
ถ้าพรรคใหม่เกิดลำบาก การต่อโปรโมชั่นมันก็จะยิ่งยากไปอีก.
ทีมข่าวการเมือง

"บิ๊กตู่"ยัน เตรียม"ส่งมอบ" ภารกิจให้รัฐบาลใหม่



"บิ๊กตู่"ยัน เตรียม"ส่งมอบ" ภารกิจให้รัฐบาลใหม่ แต่จะเมื่อไร ก็เป็นไปตามนั้น แต่จะพยายามทำให้เร็วที่สุด ขออย่ากังวล

พลเอกประยุทธ์ นายกฯและหัวหน้า คสช. ระบุว่า ภารกิจของรัฐบาล ในระยะนี้คือ การเตรียมส่งมอบ ส่วนจะส่งมอบเมื่อไร ก็เป็นไปตามนั้น โดยจะพยายามทำให้เร็วที่สุด ให้มีความยั่งยืน เพื่อให้รัฐบาลต่อไปดำเนินงานได้ทันที ขออย่ากังวลเรื่องเหล่านี้
ตอนนี้เราก็ปฏิรูปไปแล้วทุกด้าน เราเริ่มปฏิรูป 130 กว่าเรื่อง ซึ่งครอบคลุมทุกด้าน ผมก็เดินไปเรื่อย โลกมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน เราก็ต้องปฏิรูปทุกวัน”
พลเอกประยุทธ์ กล่าวในการเปิดงานสัมมนาผู้ลงทุนสถาบันในตลาดทุนระดับนานาชาติ “Thailand's Big Strategic Move” ที่ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
//
พูด จนเหนื่อย!!
บิ๊กตู่ บ่น พูดจนเหนื่อย แต่ก็ต้องพูด เพิ้ออธิบาย แขวะ "ไม่ใช่เอาแต่คิด แล้วก็พูดๆแต่ไม่ทำ"
บิ๊กตู่ เปรย เวลาผมไปพูด พูดไปพูดมา ก็เหนื่อย ...."บางที มีเอกสาร 150 หน้า แต่ก็อยากอธิบาย แต่ถ้าไม่อธิบาย ไม่ยืนยัน นั่งยัน นอนยัน พูดอะไรก็ไม่รู้เรื่องกันทุกวัน
ดังนั้นเราต้องมีความคิดพื้นฐานที่เป็นตรรกะ มีเหตุผล วิเคราะห์ได้ รวมถึงระบบการเรียนการสอน และการพัฒนาคนก็ต้องสอนให้คนมีกระบวนการคิดวิเคราะห์
"ไม่ใช่เอาแต่คิด แล้วก็พูดๆแต่ไม่ทำ" ซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาความวุ่นวาย เราจึงต้องสอนให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และทำงานเป็น
พลเอกประยุทธ์ กล่าวในการเปิดงานสัมมนาผู้ลงทุนสถาบันในตลาดทุนระดับนานาชาติ “Thailand's Big Strategic Move” ที่ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ

"แม่ทัพ2"จับตา กลุ่ม "สหพันธรัฐไทยใหม่"

"แม่ทัพ2"จับตา กลุ่ม "สหพันธรัฐไทยใหม่" เคลื่อนไหว โชยกลิ่นการเมือง ในอิสาน โยงข้ามแดนไป เพื่อนบ้าน

พล.ท.วิชัย แชจอหอ แม่ทัพภาค 2 ยอมรับว่า ฝ่ายทหาร ยังคงติดตามการเคลื่อนไหว ของ กลุ่มน่าสงสัย คือ "สหพันธรัฐไทยใหม่" ในพื้นที่ภาคอีสาน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง และเสียประโยชน์ทางการเมือง และหนีข้ามไปประเทศเพื่อนบ้าน แล้วใช้เป็นเอเย่น ต่อๆมา
ทั้งนี้ จึงเป็นเหตุผล ที่ทำให้ ทหาร ต้องไปตรวจค้น บ้าน ไผ่ดาวดิน เมื่อวานนี้ วันที่ นายกฯลงพื้นที่ ขอนแก่น เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย ไม่ให้เกิดอะไรขึ่น
ด้วยเพราะหน่วยการข่าวต้องประเมินว่า จะมีการ ลดเครดิตรัฐบาลและลดเครดิตนายกฯ และทำให้เกิดความไม่เรียบร้อย จึงใช้อำนาจหน้าที่ทางทหารดูแล โดยไม่ต้องใช้ หมายศาล หมายค้น แต่ไม่เกินเลยสิ่งที่สมควรจะทำ ก็มีหลักฐานอื่นๆเข้ามาประกอบ
แต่อย่างไรก็ตาม เรายังไม่เห็น ความเกี่ยวข้องของ "ไผ่ ดาวดิน" หรือ คุณพ่อไผ่ ดาวดิน กับ สหพันธรัฐไทยใหม่
แม่ทัพภาค2 กล่าวด้วยว่า กำลังติดตามตรวจสอบ ความเคลื่อนไหวของ "โกตี๋" ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เพราะเชื่อว่า หากหนีจากลาว มาเข้าเขมร ก็จะอยู่ได้แค่ชายแดน คงไม่เข้าไปลึกถึงในเมือง หรือจังหวัดไหน