PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตามคาด! อินเดียได้ประธานาธิบดีคนใหม่ที่มาจาก “จัณฑาล”

นายราม นาธ โกวินด์ ตัวแทนจากพรรคร่วมรัฐบาล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของอินเดียตามความคาดหมาย และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจาก จัณฑาล


ทั้งนี้ นายโกวินด์เป็นฝ่ายเอาชนะเหนือ นางไมรา กุมาร์ คู่แข่งจากพรรคคองเกรส โดยได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากสมาชิกสภาอินเดีย 4,896 คน ซึ่งลงคะแนนเลือกตั้งไปตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ (17 ก.ค.) ที่ผ่านมา โดยการเอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่างนางกุมาร์ ส่งผลให้นายโกวินด์ ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มาจากจัณฑาล ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 14 ของอินเดีย และยังช่วยให้พรรคภารติยะชนตะ (บีเจพี) พรรครัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์ สามารถควบคุมอำนาจในตำแหน่งระดับสูงเพิ่มมากขึ้น


รัฐธรรมนูญอินเดีย ระบุว่า ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะมีบทบาทในเชิงพิธีการ ส่วนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะมีบทบาทสำคัญในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเมือง อาทิ ในกรณีที่การเลือกตั้งไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองที่เหมาะสมที่สุด ให้เข้ามาจัดตั้งรัฐบา

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี"

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี"
1. ยุทธศาสตร์ชาติ คือ แผนทิศทางของประเทศ ที่จะกำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนต้องทำตาม มีระยะบังคับใช้ 20 ปี ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเริ่ม พ.ศ.2560-2579 (นานไปไหม? ถ้าเปรียบเป็นเด็กคนหนึ่งก็ตั้งแต่เกิด จนเรียนมหาวิทยาลัยปี 2 เอง)
2. ทิศทางที่มุ่งไป คือ "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" หรือเรียกแบบสั้นๆ ว่า "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" อย่างที่เราได้ยินกันบ่อยๆ จากทีวี ตอน 6 โมงเย็นนั่นแหละ
3. ที่มาของยุทธศาสตร์ชาติ ก็มาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ มีชัย ฤชุพันธ์ เป็นหัวหน้าทีมร่าง โดยมาตรา 65 กำหนดให้รัฐต้องมียุทธศาสตร์ชาติเพื่อเป็นแผนในการพัฒนาประเทศ
4. จากมาตรา 65 ของรัฐธรรมนนูญกำหนดให้ต้องออกกฎหมายมาอีกฉบับ เรียกว่า "พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560" เพื่อเป็นกรอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
5. พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ บอกให้มีคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และสเป๊กครึ่งนึงของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติก็เป็นโดยตำแหน่ง
6. บุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติโดยตำแหน่งหลายคนก็นั่งซ้อนหลายเก้าอี้มากมาย เช่น พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ควบตำแหน่งนายกฯ ผบ.เหล่าทัพ พ่วงด้วยตำแหน่งใน คสช. แถม สนช.อีก หรือตัวแทนภาคเอกชนบางคนก็ยังมีเก้าอี้อยู่ใน สนช. ด้วย
7. ตอนนี้มีร่างยุทธศาสตร์ชาติแล้วนะ แต่ไม่เปิดเผยให้ประชาชนดู iLaw ยื่นหนังสือขอดูอย่างเป็นทางการไปแล้วก็ยังเงียบ และร่างยุทธศาสตร์นี้ก็แอบร่างไว้ก่อนจะมีรัฐธรรมนูญเสียอีก (ตั้งแต่ 28 มิถุนายน 2558)
8. "โรดแมป" วางกันไว้ว่า ประมาณกันยายนปีหน้า แผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกก็จะมีผลบังคับใช้ และอยู่ยาวไปอีก 20 ปี
9. ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อบังคับใช้แล้ว จะมีผลให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องแถลงนโยบาย และเสนองบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้วย ประมาณว่ากรอบยุทธศาสตร์ชาติใหญ่ที่สุด ขนาดรัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้งในอนาคตก็ต้องทำตาม ถ้าไม่ทำตามก็มีโทษอีก
10. ตามร่างยุทธศาสตร์ชาติที่แอบร่างไว้แล้ว มีการแบ่งยุทธศาสตร์ชาติออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านความมั่นคง การสร้างความสามารถในการแข่งขั้น การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสังคม การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ถ้าอยากรู้จักยุทธศาสตร์ให้มากกว่า ก็ตามลิงก์ด้านล่างเลย
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร? เข้าใจกันแบบย่อๆ
ร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คสช. เตรียมเขียนข้อผูกพันรัฐยาวนาน 20 ปี เตรียม "ลักไก่" ไม่ต้องมีส่วนร่วมอีก
ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่แอบเขียนไว้ก่อนแล้ว ประชาชนขอดูหน่อย
รู้จัก ป.ย.ป. ทำหน้าที่ปฏิรูป ยุทธศาสตร์ชาติ และปรองดอง
ขั้นตอนสู่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศของคสช.
คนหน้าซ้ำเตรียมรับงานใหม่ ในโรดแมปการร่างยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูป

"อดีตหัวหน้าคลัง อคส."ให้การหลัง รปห.สั่งห้ามรมยา ทำข้าวเน่า

อดีตหัวหน้าคลังสินค้า อคส.ให้การหลัง รปห. คสช.สั่งเลิกติดกล้องวงจรปิด เปลี่ยนกุญแจ ห้ามรมยา ทำข้าวเน่า เผย "ปนัดดดา" กำหนดมาตรฐานตรวจข้าวเอง ไม่อิง ก.พาณิ

นายพศดิษ ดีเย็น  อดีตหัวหน้าคลังสินค้า องค์การคลังสินค้า (อคส.)  กล่าวภายหลังการเบิกความเป็นพยานในคดีโครงการรับจำนำข้าว ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหาตามคำฟ้องของ อัยการสูงสุด ว่า ในช่วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าคลังสินค้าและรับผิดชอบในการกำกับดูแลสต๊อกข้าวในโครงการรับจำนำ ตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงปี 2559 เห็นว่า ขั้นตอนในการตรวจรับข้าวเข้าสู่โครงการรับจำนำ เป็นไปตามมาตรฐานและขั้นตอนที่กำหนดโดยรัฐบาลและคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) โดยในส่วนของ อคส.เป็นหน่วยงานโดยตรงที่รับมอบนโยบายจากกระทรวงพาณิชย์ และปฏิบัติตามคู่มือการรับจำนำข้าวของกรมการค้าภายใน ที่มีหน้าที่โดยตรงตั้งแต่การออกใบประทวน ตรวจสอบตาชั่ง ตรวจสอบเอกสารเกษตรกร จัดเก็บข้าวเปลือก จัดเก็บข้าวสาร เบิกจ่ายระบายข้าว ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2554 ในสมัยรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  โกดังและคลังสินค้าในความดูแลของ อคส.ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน และคู่มือเพื่อเก็บรักษาสภาพข้าวเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมาโดยตลอด ตั้งแต่ การตรวจสอบคุณภาพข้าว การรมยากำจัดแมลงและศัตรูพืช เป็นต้น  
 
    อย่างไรก็ตามจุดสังเกตในเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ข้าวในโครงการรับจำนำมีหลายเรื่องหลายประเด็น โดยเฉพาะปัญหาเรื่องข้าวหายไปจากโกดัง ในโกดังมีข้าวเสื่อมคุณภาพปะปน ข้าวไม่ตรงสเป็คตามโครงการรับจำนำ  และอีกหลายปัญหา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าหลังการรัฐประหาร รัฐบาล คสช.ได้มีคำสั่งโดยกระทรวงพาณิชย์ให้มีการยกเลิกการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่เคยติดตั้งอยู่ที่โกดังเก็บข้าวในโครงการรับจำนำ สั่งเปลี่ยนคณะบุคคลที่ถือกุญแจ และตั้งแต่ ปี 2557-2559 กระทรวงพาณิชย์ห้ามมิให้มีการเปิดโกดังข้าวเพื่อรมยา ตามปกติ จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้าวในโครงการรับจำนำ ได้รับความเสียหาย
 
    สำหรับปัญหาเรื่องข้าวเน่า ข้าวเสียและข้าวเสื่อมคุณภาพ นั้นโดยข้อเท็จจริงแล้วข้าวที่เก็บไว้ในโครงการรับจำนำยังมีสภาพที่สามารถจำหน่ายได้ตามปกติ  แต่ปัญหาเกิดจากการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ม.ล.ปนัดดา กำหนดเอง ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์ เอามาตรฐานการกำหนดคุณภาพข้าวเพื่อการส่งออกมาเป็นเกณฑ์ตรวจวัด ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวต้องเป็นข้าวที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว จึงทำให้ข้าวในคลังและโกดังรับจำนำ ทั้งประเทศเป็นข้าวที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ ม.ล.ปนัดดา ประกอบกับบุคลากรที่ออกไปตรวจสอบนั้นเป็นบุคลากรที่ไม่มีประสบการณ์ไม่มีความรู้เรื่องข้าวขั้นตอนการตรวจสอบไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จนทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมหาศาล และกลายเป็นที่มาของนโยบายการสั่งขายข้าวคุณภาพดี ในราคาข้าวเสื่อมคุณภาพ หรือข้าวเน่า เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบางรายประมูลข้าวได้ในราคาที่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 5 บาท ทั้งที่ข้าวในคลังบางแห่งสามารถขายในราคาที่สูงกว่า 10 บาท ทำให้ประเทศได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก    
            ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพข้าวตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์ ต้องตรวจข้าวให้ได้ปริมาณตัวอย่าง อย่างน้อย 5 % ของข้าว 1 กอง เช่นข้าวสาร 1 กองมีจำนวน 20,000 กระสอบ การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ต้องฉ่ำข้าวอย่างน้อย 1,000 กระสอบ แต่ในทางปฏิบัติของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดย ม.ล.ปนัดดา ฉ่ำข้าวแต่ละกอง ไม่ถึง 200 กระสอบ อีกทั้งยังไม่ทั่วทั้งกองข้าว แต่กลับบอกว่าข้าวที่ตรวจสอบเป็นคุณภาพต่ำ ที่แบ่งเกรดเป็น เอ บี และซี ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ตั้งขึ้นเองโดยไม่เคยมีมาก่อน    
            ส่วนปัญหาเรื่องการทุจริตข้าวถุง ที่เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้มีการทุจริตเมื่อปี 2556 นั้น โดยข้อเท็จจริงแล้ว ในเวลานั้นการจัดทำข้าวถุงเป็นนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการทำข้าวถุง เพื่อจำหน่ายในราคาถูกให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย และไม่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีเลย เป็นการปฏิบัติในระดับของกรมการค้าต่างประเทศ และองค์การคลังสินค้า (อคส.) แต่ อดีตนายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์ยกเลิก และดำเนินการตรวจสอบตั้งแต่เกิดเรื่อง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 และ อคส.ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2556 ในปีเดียวกัน วุฒิสภาได้หยิบยกเรื่องนี้มาอภิปรายในสภาฯ ตอนนี้เรื่องอยู่ระหว่างการสอบสวน และดำเนินการของ ป.ป.ช

ศาลฎีกาฯยกคำร้อง"ปู"ขอตีความ นัดพิพากษาคดีจำนำข้าว25สิงหา.พร้อม"บุญทรง"


21 ก.ค. 60 - เวลา 14.45 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การไต่สวนพยานจำเลยคดีโครงการรับจำนำข้าวนัดสุดท้ายจำนวน 3 ปาก เสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นศาลได้อ่านกระบวนพิจารณาให้ยกคำร้องของทีมทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลย ที่ยื่นเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2560 ต่อศาลฎีกาฯ เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 5 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 235 วรรค 6 ของรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่
โดยศาลเห็นว่าเป็นการใช้คำที่มีความหมายเดียวกัน ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขณะที่ศาลให้โอกาสอัยการโจทก์ นำพยานบุคคลไต่สวนแล้วถึง 15 ปากใช้เวลา 10 นัด และฝ่ายจำเลยไต่สวนพยาน 30 ปากใช้เวลา 16 นัด ศาลจึงเห็นว่าให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายเต็มที่ในการนำพยานบุคคลไต่สวนแล้วตามหลักเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามหลักกฎหมายแล้ว ดังนั้นที่จำเลยยื่นขอส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยบทกฎหมายเรื่องดุลพินิจศาลในการไต่สวนพยานจึงไม่มีเหตุตามรัฐธรรมนูญ
และศาลได้อนุญาตให้จำเลยแถลงปิดคดีด้วยวาจาในวันที่ 1 ส.ค. นี้ เวลา 9.30 น. และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 ส.ค. นี้ เวลา 9.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลได้นัดพิพากษาในวันเดียวกับคดีทุจริตจีทูจีของนายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ อดีต รมว.พาณิชย์ กับพวกรวม 28 ราย เนื่องจากข้อเท็จจริงหลักฐานเสนอในคดีเชื่อมโยงกัน อีกทั้งองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 2 สำนวน มีจำนวน 5 คนที่ร่วมพิจารณาทั้งสองสำนวน.

ข้ามช็อตลุ้น ‘ยิ่งลักษณ์’

ข้ามช็อตลุ้น ‘ยิ่งลักษณ์’

ถึงดีเดย์คดีใหญ่ วันที่ 21 ก.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดไต่สวนพยานนัดสุดท้ายคดีโครงการรับจำนำข้าว ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ
ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฯ ละเลยไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวทำให้รัฐเสียหาย
ในส่วนรัฐบาล คสช. ออกอาการห่วงคิวมวลชนนัดรวมตัวไปให้กำลังใจอดีตนายกฯหญิง ทั้ง “บิ๊กตู่”พ ล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. เตือนอย่าก่อความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ศาล
ขณะที่ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ติดเบรก “อย่ามาเยอะ”
ระแวดระวัง ระแวงเหตุป่วน

เพราะอีกทางฝ่ายคุมเกมเครือข่ายฝ่ายหนุนอดีตนายกฯ ทั้งบรรดานักการเมือง

แกนนำมวลชนโชว์ตัวทางสื่อ หรือที่มีคิวชาวบ้านถือป้ายถ่ายรูปในพื้นที่ โพสต์โชว์ในโซเชียลมีเดียกันคึกคัก

ปั่นแคมเปญ “เชียร์จำนำข้าว-หนุนอดีตนายกฯปู” ส่อวุ่นอยู่เหมือนกัน

ถึงแม้ว่าตามโปรแกรมที่โฆษกศาลยุติธรรม ระบุ หลังนัดไต่สวนพยานนัดสุดท้ายเสร็จ ศาลจะนัดคู่ความแถลงปิดคดีใน 7 วัน จากนั้นจะนัดฟังคำพิพากษาใน 7 วัน แต่ถ้ามีเหตุสมควรหรือจำเป็น อาจจะนัดได้อีกภายใน 14 วัน

รวมแล้วจะใช้ระยะเวลาก่อนมีคำพิพากษาไม่เกิน 1 เดือน

ยังไม่รวมกรณีอดีตนายกฯยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความบทบัญญัติใน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ปมการไต่สวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม

และกรณีมีการส่งเรื่องต่อตามร้อง ก็น่าจะยืดเวลาตัดสินออกไปอีก

มหากาพย์จำนำข้าว ยังอีกอึดใจใหญ่จะถึง “ตอนจบ”

แล้วอันที่จริง ประเด็นชะตากรรมของ “อดีตผู้นำโคลนนิ่ง” ก็น่าจะโฟกัสกันอยู่ที่คำตัดสินที่ออกมา
“คุก-ไม่คุก” ต่อด้วยจับจ้องคิวต่อไป “เผ่น-ไม่เผ่น”

ส่วนเส้นทางและอนาคตการเมืองของ “ปู-ยิ่งลักษณ์” ที่จริงก็น่าจะจบไปแล้ว

ตั้งแต่คิว “โดนสอย” สนช.ลงมติถอดถอนจากปมจำนำข้าว ทำให้ถูกเพิกถอนสิทธิการเมือง 5 ปี ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ

ปิดฉากการเมืองไปตั้งแต่ปี 2558 แล้ว

กระทั่ง “นายใหญ่ทักษิณ” ก็มอง “ข้ามช็อต” ถึงมีข่าวเตรียม “แม่ทัพคนใหม่” ล่าสุดเป็นชื่อของ “เจ๊หน่อย” คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่เดินสายเบียดซีนกันมากับ “อดีตนายกฯปู”

นัยว่าได้ตั๋ว “นอมินี” มาแทนที่ “โคลนนิ่ง” จากนายใหญ่-นายหญิง

และก็กลายเป็นห้วงกระเพื่อมป่วนๆกันในค่ายเพื่อไทยเวลานี้ เพราะอีกทางมีชื่ออย่าง “เจ๊แป๋ว” มณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล น้องสาว “นายใหญ่” อีกรายมาประกบ จึงมีเครื่องหมายคำถามปม “ด่านสกัด”
ไม่เท่านั้น ในปีกมวลชนแนวร่วมกลุ่ม นปช. ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกสเปกบางแคนดิเดต โดยล่าสุด “กุนซือหมู” พรศักดิ์ ศรีละมุล ที่ปรึกษา แกนนำ นปช. เหมือนจะเป็นตัวแทนออกมาโดดขวาง บิ๊กเนม ที่มีชื่อ เป็นแม่ทัพคนใหม่เพื่อไทย

เปรียบเปรย ไม่ใช่สร้างพระองค์เดียว จะขอเป็นเจ้าสำนัก

มองทิศทางเพื่อไทย คนจะมาเป็น “ประมุขสำนัก” ต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกและสาขา

ตั้งคำถามแรงในมุม นปช. “วันที่มวลชนต่อสู้บาดเจ็บล้มตาย ไม่เห็นใครบางคนมาร่วมทุกข์ร่วมสุข”
ไม่เอ่ยชื่อก็รู้ว่า “เป้าหมาย” ที่เอ่ยถึงคือใคร

เอาเป็นว่านอกจากต้องจับตา ฝั่งบรรดา “เจ๊ๆ” เจ้าแม่ขาใหญ่บอร์ดตระกูลชินฯ เริ่มตั้งท่าขวาง โดยเจ๊ใหญ่-เจ๊เล็ก นัดลูกข่ายเพื่อไทยพบปะกันถี่ ตรวจแถวเช็กความภักดี

ตั้งกองหนุน จัดกองขวางเตรียมไว้

ยังมีกระแสข่าว เฮียๆบิ๊กเนมขาใหญ่ในป้อมค่าย ท่าทีไม่คลิกชื่อแคนดิเดตแม่ทัพหญิงที่ออกมา

โดยรวมแล้วจึงเป็นห้วงปั่นป่วนในค่ายเพื่อไทย

แทรกคิวแบบมองข้ามช็อตระทึกขวัญของ “ยิ่งลักษณ์”

ทีมข่าวการเมือง

สรุปยอด ปขช.1,658 คน ร่วมเวที 4ภาค แจง "ร่างสัญญาประชาคม"

กอ.รมน.สรุปยอด ปขช.1,658 คน ร่วมเวที 4ภาค แจง "ร่างสัญญาประชาคม" เป็น กลุ่มทางการเมือง 377 คน /เผย ให้ กก.ชุด บิ๊กเจี๊ยบ พัฒนาร่างฯ ก่อนส่ง ปยป.

พันเอก พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษก กอ.รมน. กล่าวถึง ผลการจัดเวทีสาธารณะเพื่อชี้แจงร่างสัญญาประชาคมที่ได้จัดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ เมื่อวันที่ 17-20 ก.ค.60 ที่ผ่านมาว่า มีพี่น้องประชาชนจากกลุ่มต่างๆที่ได้เคยให้ข้อมูลข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะฯในขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นฯและการสรุปข้อคิดเห็นฯจากทุกจังหวัดเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

มีตัวแทนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงร่างสัญญาประชาคม จำนวน 1,658 คน แยกเป็น ภาคกลาง จำนวน 431 คน , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 476 คน , ภาคเหนือ จำนวน 391 คน และภาคใต้ จำนวน 360 คน

เมื่อแยกเป็นกลุ่มต่างๆ สามารถจำแนกได้แก่ กลุ่มที่ 1 (กลุ่มทางการเมือง,กลุ่มที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง) จำนวน 377 คน
กลุ่มที่ 2 (กลุ่มนักวิชาการ,กลุ่มนักศึกษา,กลุ่มสื่อมวลชน,กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม(CSOs),กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs),กลุ่มองค์กรวิชาชีพในพื้นที่) จำนวน 363 คน
กลุ่มที่ 3 (กลุ่มข้าราชการ,กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน,กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ,หอการค้าจังหวัด,กลุ่ม/องค์กรที่ทำงานร่วมกับส่วนราชการ) จำนวน 485 คน
กลุ่มที่ 4 (กลุ่มผู้นำชุมชน,กลุ่มผู้นำจิตวิญญาณในพื้นที่,กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง,กลุ่มคนในท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการของรัฐ) จำนวน 433 คน

การจัดการชี้แจงร่างสัญญาประชาคมในภาพรวมได้รับการตอบรับจากทุกกลุ่มเป็นอย่างดี และมีข้อคิดเห็นอยากให้สังคมไทยได้ขับเคลื่อนไปสู่การปรองดองสมานฉันท์อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอให้ทุกส่วนได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่ เช่น การจัดสรรทรัพยากรน้ำ ที่ดินทำกิน เป็นต้น

กอ.รมน. ขอขอบคุณผู้แทนของกลุ่มต่างๆที่ได้มาร่วมรับฟังการชี้แจงร่างสัญญาประชาคมและแสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอกระบวนการเพื่อความสามัคคีปรองดอง(คณะอนุกรรมการฯชุดที่ 3)จะได้นำข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากเวทีต่างๆ นำมา พัฒนาร่างสัญญาประชาคมให้มีความสมบูรณ์ ก่อนที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง ต่อไป

บรรยากาศ ดี๊ดี ปรองดอง !!!

บรรยากาศ ดี๊ดี ปรองดอง !!!
"บิ๊กป้อม" ชี้ พรรคเพื่อไทย ไม่รับ"ร่างสัญญาประชาคม" ไม่กระทบกระบวนการปรองดอง เพราะส่วนใหญ่ยอมรับ ชี้ การตัดสินคดี"ตู่จตุพร- ยิ่งลักษณ์"ไม่กระทบบรรยากาศปรองดอง เพราะเป็นเรื่องคดี และกระบวนการยุติธรรม...."สั่งปรับปรุง"ร่างสัญญาประชาคม"ให้เป็นรูปธรรม เพิ่ม แนวทางปฏิบัติ 15 ขัอ. ก่อนนำเสนอ"บิ๊กตู่-ปยป."24กค.นี้ ก่อนแถลง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปร่างสัญญาประชาคมหลังจากจัดเวทีสาธารณะ เพื่อชี้แจงร่างสัญญาประชาคม 4 กองทัพภาค เมื่อวันที่ 17 -20 กรกฎาคมที่ผ่านมา

พล.อ.ประวิตร กล่าว ว่า เป็นการรับฟังข้อคิดเห็นภายหลังจากเปิดเวทีสาธารณะเพื่อชี้แจงร่างสัญญาประชาคมในพื้นที่4 กองทัพภาค รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากคณะกรรมการฯ และทุกภาคส่วน ว่าจะดำเนินการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจน

แม้ว่าความคิดเห็นร่วมทั้ง10 ข้อจะเป็นนามธรรมก็ตาม แต่เราจะต้องมีหลักการที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อให้ร่างสัญญาประชาคมเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งนี้จากการเปิดเวทีสาธารณะทั้ง4 กองทัพภาคที่ผ่านมา

ผมพอใจในระดับหนึ่ง ที่มีข้อคิดเห็นต่างๆเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่จะนำข้อคิดเห็นทั้งหมดมาสรุป ซึ่งคิดว่าจะแล้วเสร็จ1-2 วัน เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นประธาน

"ผมเชื่อว่าร่างสัญญาประชาคมฉบับนี้จะเป็นที่ยอมรับของทุกคน อีกทั้งร่างสัญญาประชาคมก็เป็นส่วนหนึ่งของโรดแมป เพื่อให้รัฐบาลเดินต่อไปข้างหน้าได้ ผมจึงคิดว่าน่าจะประสบความสำเร็จ " พล.อ.ประวิตร กล่าว

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทย ไม่ยอมรับร่างสัญญาประชาคม จะส่งผลอะไร หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นจุดยืนของพรรคตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ไม่ส่งผลอะไร เพราะเราไปรับฟัง และชี้แจงทุกรายละเอียดให้ประชาชนทั้ง4 กองทัพภาคแล้ว และเมื่อผ่านที่ประชุม ปยป.ก็จะลงไปแถลงรายละเอียดทั้งหมด ผ่านโทรทัศน์

จากนั้นจะนำสัญญาประชาคมลงไปให้ประชาชนทุกหมู่บ้านรับทราบ และเข้าใจ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จังหวัด) ดำเนินการในเมื่อพรรคเพื่อไทยไม่เปลี่ยนท่าที แค่เป็นการพูดแบบเก่า และยังเป็นพรรคที่มีหลายพวกหลายคน ฉะนั้นเราต้องฟังความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ที่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกัน

เมื่อถามถึงกรณีการตัดสินคดีจำนำข้าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะส่งผลกระทบการสร้างความปรองดอง หรือไม่ พลเอกประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องคดีเป็นเรื่องของศาล และกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทางฝ่ายบริหารไม่ได้เกี่ยวข้อง ดังนั้นเชื่อว่าจะไม่กระทบกระบวนการสร้างความปรองดอง

ปลายกค.เรียกประชุม บอร์ดกห.ถกโผทหาร ได้

"บิ๊กป้อม" คาดปลายกค.เรียกประชุม บอร์ดกห.ถกโผทหาร ได้ เชื่อไม่มีปัญหา ยันให้ ผบ.เหล่าทัพ เลิอกเอง เพราะเป็นคนใช้งาน
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำบัญชีโยกย้ายนายทหาร ว่า ตอนนี้ยังอยู่ที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพ พิจารณา จึงยังไม่ได้นำรายละเอียดทั้งหมดเข้าที่ประชุมคณะกรรมการปรับย้ายนายทหาร ระดับชั้นนายพล
โดยคาดว่าจะประชุมคณะกรรมการได้ช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ เชื่อไม่มีปัญหาอะไร เพราะที่ผ่านมาทุกปีก็ไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า ได้ให้ข้อแนะนำ ผบ.เหล่าทัพ ในการพิจารณาโยกย้าย หรือไม่ พล.อ.ประวิตร ย้อนถามว่า ทำไมผมต้องให้คำแนะนำด้วย
" เพราะผบ.เหล่าทัพต้องเป็นผู้พิจารณาว่าคนของเขาเป็นใคร และจะใช้ใครทำงานอะไร เพราะเขาเป็นคนใช้งาน จะไปให้คำแนะนำผบ.เหล่าทัพได้ไง"
ส่วนหลักความอาวุโส ความรู้ความสามารถนั้น เป็นเรื่องที่ผบ.เหล่าทัพรู้อยู่แล้วว่าจะพิจารณาอย่างไร

อะไรๆ ก็ไม่กระทบปรองดอง!!!

อะไรๆ ก็ไม่กระทบปรองดอง!!!
"บิ๊กป้อม" เชื่อ "คดียิ่งลักษณ์-จตุพร" ไม่กระทบปรองดอง/ พรรคเพื่อไทย ไม่รับร่างสัญญาประชาคม ก็ไม่กระทบต่อ"มั่นใจ" ประชาชน รับร่างสัญญาประชาคม มอบ "มหาดไทย-กอ.รมน.จังหวัด" เตรียมเผยแพร่ในทุกหมู่บ้าน
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปร่างสัญญาประชาคมหลังจากจัดเวทีสาธารณะ เพื่อชี้แจงร่างสัญญาประชาคม 4 กองทัพภาค เมื่อวันที่ 17 -20 กรกฎาคมที่ผ่านมา
พล.อ.ประวิตร กล่าว ว่า เป็นการรับฟังข้อคิดเห็นภายหลังจากเปิดเวทีสาธารณะเพื่อชี้แจงร่างสัญญาประชาคมในพื้นที่4 กองทัพภาค รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากคณะกรรมการฯ และทุกภาคส่วน ว่าจะดำเนินการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจน
แม้ว่าความคิดเห็นร่วมทั้ง10 ข้อจะเป็นนามธรรมก็ตาม แต่เราจะต้องมีหลักการที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อให้ร่างสัญญาประชาคมเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งนี้จากการเปิดเวทีสาธารณะทั้ง4 กองทัพภาคที่ผ่านมา

ผมพอใจในระดับหนึ่ง ที่มีข้อคิดเห็นต่างๆเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่จะนำข้อคิดเห็นทั้งหมดมาสรุป ซึ่งคิดว่าจะแล้วเสร็จ1-2 วัน เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นประธาน
"ผมเชื่อว่าร่างสัญญาประชาคมฉบับนี้จะเป็นที่ยอมรับของทุกคน อีกทั้งร่างสัญญาประชาคมก็เป็นส่วนหนึ่งของโรดแมป เพื่อให้รัฐบาลเดินต่อไปข้างหน้าได้ ผมจึงคิดว่าน่าจะประสบความสำเร็จ " พล.อ.ประวิตร กล่าว
เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทย ไม่ยอมรับร่างสัญญาประชาคม จะส่งผลอะไร หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นจุดยืนของพรรคตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ไม่ส่งผลอะไร เพราะเราไปรับฟัง และชี้แจงทุกรายละเอียดให้ประชาชนทั้ง4 กองทัพภาคแล้ว และเมื่อผ่านที่ประชุม ปยป.ก็จะลงไปแถลงรายละเอียดทั้งหมด ผ่านโทรทัศน์
จากนั้นจะนำสัญญาประชาคมลงไปให้ประชาชนทุกหมู่บ้านรับทราบ และเข้าใจ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (กอ.รมน.จังหวัด) ดำเนินการในเมื่อพรรคเพื่อไทยไม่เปลี่ยนท่าที แค่เป็นการพูดแบบเก่า และยังเป็นพรรคที่มีหลายพวกหลายคน ฉะนั้นเราต้องฟังความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ที่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกัน
เมื่อถามถึงกรณีการตัดสินคดีจำนำข้าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะส่งผลกระทบการสร้างความปรองดอง หรือไม่ พลเอกประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องคดีเป็นเรื่องของศาล และกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทางฝ่ายบริหารไม่ได้เกี่ยวข้อง ดังนั้นเชื่อว่าจะไม่กระทบกระบวนการสร้างความปรองดอง