PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มติชน:4แนวทางตัดสินศาลรธน.

7 พฤษภาคม 2557 เวลาเที่ยงศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำตัดสินคดีย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี

คดีนี้จะชี้ชะตา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและคณะรัฐมนตรี อย่างไร เป็นที่สนใจของประชาชน

หลังจากที่ วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ไต่สวนพยาน 4 ปาก กว่า 4 ชั่วโมง

แนวทางของศาลรัฐธรรมนูญ จะออกแนวทางไหน ได้บ้าง

 

มติชน รวบรวม มานำเสนอ ดังนี้


 


เปิดค่ายทหารใหม่หลังบอมบ์หาดใหญ่

ค่ายใหม่.... 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีค่ายทหารใหม่ เพิ่มมาอีก1 แห่ง ใน อ.เมือง นราธิวาส. มาเป็นเพื่อนกับ ค่ายจุฬาภรณ์ฯ ของ ทหารนาวิกโยธิน ทร. คือ ค่ายกัลยาณิวัฒนา ที่ตั้ง ร.151-กรมทหารราบที่ 151 ที่ วันนี้ พล ท วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาค4 ไปเปิดค่าย โดยมี ผู้การก๋อย พ.อ.นพดล ฐิตะวัฒนสกุล ผบ.ฉก.นย. ร่วมด้วย .....ตกบ่าย เกิดเหตุ คาร์บอมบ์ จยย.บอมบ์ 2 จุด ในเมืองหาดใหญ่ สงขลา เจ็บ 10 ราย แม้ไม่สาหัส แต่ ก็ถือว่า พล.ท.วลิต เจอศึกหนัก ทุกเดือนเลย เชียว หลังรับตำแหน่ง ได้แค่เดือนเศษๆ

คำต่อคำ"ยิ่งลักษณ์ให้การศาลรธน.

สดจากศาลรธน.คำต่อคำ“ยิ่งลักษณ์” VS."ถวิล"คดีโยกย้ายตำแหน่งโดยมิชอบ

เขียนวันที่
วันอังคาร ที่ 06 พฤษภาคม 2557 เวลา 13:16 น.
เขียนโดย
ศักดา เสมอภพ

 “..ดิฉันไม่ได้ก้าวก่ายหรือแทรกแซง ครม.ต้องใช้ดุลยพินิจในการบริหารแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สูงสุด ไม่ได้คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า หรือวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน" VS. “ผมทำหน้าที่เอกสารอย่างเดียว เป็นเรื่องที่น่าจะต่ำกว่าความรู้ความสามารถที่ผมมีอยู่..”

qooqaassssssssll

หมายเหตุ: เป็นรายละเอียดคำชี้แจงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กับ นายถวิล เปลี่ยนศรี  เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่ให้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในระหว่างการไต่สวนคดีแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งนายถวิล โดยมิชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 

-------------

คำต่อคำ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ได้มอบอำนาจให้รองนายกฯ และรัฐมนตรี ในการกำหนดและพิจารณาบุคลากร ซึ่งผู้รับมอบอำนาจเข้าใจในการกำหนดแผนงานที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ได้มอบพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ดูแลสมช. ส่วนร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนน.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ ดูแลสำนักนายกรัฐมนตรี

“ดิฉันไม่ได้ก้าวก่ายหรือแทรกแซง ครม.ต้องใช้ดุลยพินิจในการบริหารแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สูงสุด ไม่ได้คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า หรือวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน แต่คำนึงประโยชน์สูงสุดของประเทศ ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นเครือญาติ ด้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้หย่าขาดกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ แล้วด้วย จึงพิสูจน์ได้ว่าพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ จะหมดอายุราชการแล้ว ก็ไม่ได้มาอยู่ในครม.ของดิฉันใดๆ การโยกย้ายก็ไม่ได้เร่งรีบ แต่การบริหารราชการเราต้องเร่งมือในการปฏิบัติ หัวหน้าส่วนราชการมีความสำคัญในการปฏิบัติ ก็ต้องมีผู้รับผิดชอบในการบริหาร ดิฉันไม่ได้รับประโยชน์ในการแต่งตั้งราชการกระทรวงใดๆ”

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ถามว่า การที่ได้มีในบันทึกถ้อยคำว่าการเป็นรัฐมนตรีของข้าพเจ้าต้องสิ้นลงหลังยุบสภา จะให้สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 182 อีก น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “ได้ประกาศยุบสภาไปแล้ว คืนอำนาจให้ประชาชน จึงไม่มีสถานะเป็นรัฐมนตรีในครม.ปัจจุบันแล้ว”

นายไพบูลย์ ถามอีกว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 181 ครม.จะต้องรักษาการอยู่ในตำแหน่งนายกต่อไป น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “ขอเรียนว่าการยุบสภา นายกได้พ้นจากครม.ชุดปัจจุบันแล้ว แต่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ได้เป็นครม.ชุดปัจจุบันแล้ว

นายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่า ในการโยกย้ายที่พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ไปเป็นเลขาธิการสมช. ดูความมั่นคง แต่ทำไมย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “เรื่องนี้เป็นดุลพินิจของพล.ต.ท.โกวิท ในการโยกย้ายทุกครั้งที่มีการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายไม่ได้มีการพูดถึงตำแหน่งข้างหน้า ส่วนการย้ายไปเป็นปลัดคมนาคม เกิดจากการทาบทามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งก็ให้ดุลพินิจของรัฐมนตรี เป็นการโยกย้ายตามฤดูกาล ดิฉันไม่ทราบถึงอนาคตข้างหน้าว่าตำแหน่งคมนาคมจะหมดลงเมื่อไหร่

นายจรูญ ถามว่า เกณฑ์ในการตัดสินใจการย้ายพล.ต.อ.วิเชียรมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมช.เป็นอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “อยู่ในดุลพินิจของพล.ต.อ.โกวิทได้พิจารณาแล้ว ดิฉันได้ทราบไว้ล่วงหน้าว่าพล.ต.ท.โกวิทได้ทาบทามแล้ว คุ้นเคยกัน เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาดูแลความมั่นคง ตามนโยบายที่แถลงไว้ในรัฐสภา และมีเรื่องความไว้วางใจด้วยในการพิจารณา เพื่อให้งานบรรลุผล ซึ่งพล.ต.อ.โกวิทเรียนว่า ที่ขอย้ายเพราะนายถวิลเคยร่วมกับ ศอฉ. ซึ่งเป็นห่วงในเรื่องต่างๆ ขณะนั้นมีความรุนแรงมีคนเสียชีวิต ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย การที่ใครจะมาเป็นสมช. ก็ต้องพิจารณาในเรื่องความไว้วางใจด้วย ส่วนตัวไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องโยกย้ายแต่อย่างใด เป็นเพียงผู้ลงนามเสนอเข้าครม.เท่านั้น"

"นอกจากนี้ ได้ทราบจากพล.ต.ท.โกวิท ว่าพล.ต.อ.วิเชียรก็มีความสมัครใจในการย้ายมาเป็น เลขาสมช. ถือว่าการสมัครใจแล้วไม่ว่าจะขู่เข็ญอย่างไรก็คงทำไม่ได้ โดยพล.ต.ท.โกวิท ก็เคยบอกว่าโดนโยกย้ายในสมัยองคมนตรี ซึ่งนำไปสูการร้องศาลปกครองในที่สุด"

นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่า หนังสือเสนอย้ายถวิล มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “ส่วนขั้นตอนเป็นเรื่องฝ่ายปฏิบัติที่รองนายกฯ ดำเนินการ แต่การโยกย้ายครั้งนี้อยู่ในช่วงฤดูการโยกย้ายปกติ”

นายนุรักษ์ ถามว่า การโยกย้ายเป็นอำนาจหน้าที่ตามที่แถลงไว้ในรัฐสภา เป็นการเร่งด่วน มันเป็นนโยบายอย่างไรที่ต้องย้ายเร่งด่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “การโยกย้ายเป็นไปตามฤดูกาล และเราเห็นว่าทุกตำแหน่งมีความสำคัญ ในปีแรกเรามี 16 นโยบาย พร้อมทั้งประสบกับปัญหาอุทกภัย เราจึงต้องเร่งนำนโยบายเหล่านี้ไปปฏิบัติ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ต้องรับนโยบายไปปฏิบัติ”

นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่า ในฐานะนายกฯ ในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้มีการระมัดระวังในการพิจารณาในเรื่องเครือญาติ ถึงแม้จะไม่นามสกุลเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า “ในการบริหารราชการแผ่นดิน ยึดหลักประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการทุกคน ซึ่งแทรกแซงไม่ได้ การพิจารณาพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ นึกถึงความอาวุโส ผลงาน ปราบปรามยาเสพติด ขณะเดียวกันนโยบายปราบปรามยาเสพติด เป็นนโยบายเร่งด่วน เพราะก่อนที่จะมารับตำแหน่งก็มีปัญหายาเสพติดเข้ามามากมาย

“ขณะที่เสนอไม่ได้มองความเป็นญาติ มองในเรื่องความเหมาะสม ผลงาน และมติกตช. ก็เห็นชอบโดยเอกฉันท์ พล.ต.อ.วิเชียรก็เห็นชอบด้วย ถึงแม้ดิฉันจะเสนอตำแหน่งผบ.ตร. แต่ถ้าคณะกรรมการกตช. ไม่เห็นด้วย ก็ตกไป เช่นเดียวกับสมัยอภิสิทธิ์ ที่เสนอพล.ต.อ.ประทีบ ตันประเสริฐ เป็นผบ.ตร. แต่กตช. ไม่เห็นด้วยก็ตกไป นอกจากนี้ดิฉันได้แต่งตั้งพล.อ.อักษรา เกิดผล เป็นเลขาธิการทหารบก ถึงแม้พ่อพล.อ.สายหยุด เกิดผล จะเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

คำต่อคำ “ถวิล เปลี่ยนศรี”

นายถวิล กล่าวว่า เหตุผลที่แท้จริงในการย้ายตนออกจากตำแหน่งเรื่องมาจากสตช. เพราะก่อนที่จะมีมติครม.โอนย้ายตน มีเรื่องของสตช.โดยร.ต.อ.เฉลิม ออกมาพูดเรื่องบ่อนการพนัน ซึ่งมีความบกพร่องของพล.ต.อ.วิเชียร ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ที่ปล่อยให้มีบ่อนการพนัน และมีข่าวออกมาบ่อยครั้งระยะปล่อยเดือนสิงหาคม 2554 ว่ามีการบีบบังคับให้พล.ต.อ.วิเชียร ได้ลุกขึ้นออกจากตำแหน่ง

“พล.ต.อ.วิเชียร เคยพูดกับผมตอนที่มีข่าวจะย้ายมาสมช. ว่าท่านไม่มาตำแหน่งที่ผม ขอให้ผมสบายใจได้ ท่านใช้คำว่าพี่ถวิลสบายใจได้ ผมไม่มาสมช. ผมจะต่อสู้ที่สตช. ผมก็บอกแล้วว่าดีแล้ว ผมไม่เคยเปิดเผยข้อมูลที่ใดมาก่อน” นายถวิล กล่าว

นายถวิล กล่าวว่า เมื่อจะทำให้ตำแหน่งที่สตช.ว่างลง จึงต้องเอาพล.ต.อ.วิเชียรออก จึงมาลงที่ตน เหตุที่ย้ายตนออกเพื่อรองรับพล.ต.อ.วิเชียร ก่อนแต่งตั้งพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ อีกทั้งรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสตช. ก็บอกชัดเจนว่าไม่ไว้ใจตน เพราะทำงานในศอฉ.ในช่วงปี 2552-2553 ซึ่งตนเรียนว่าอยู่ในโครงสร้างตามกฎหมาย

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ตอนย้ายพล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสมช. คุณถวิลดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสมช. ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ใช่หรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “ใช่ครับ แต่เหตุผลที่ย้ายพล.ท.สุรพล ผมไม่ทราบ ท่านนายกฯ ย้ายผม ตอนย้ายพล.ท.สุรพลผมจำได้ว่าย้ายประมาณเดือนกรกฎาคม ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาปี 2551 ให้พล.ท.สุรพลทำงานมา 8-9 เดือนแล้ว”

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า เคยขึ้นเวทีกปปส.หลายครั้ง นายถวิล กล่าวว่า “ถูกต้อง”

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ตอนขึ้นเวทีกปปส.ได้บอกว่าให้มวลชนไปขัดขวางการเลือกตั้ง นายถวิล กล่าวว่า “ผมจำได้ไม่เคยพูดให้ขัดขวางการเลือกตั้ง”

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ในศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยอำนาจถูกผู้ร้องว่ามีอำนาจโยกย้ายได้ ยกเว้นอย่างเดียวเรื่องดุลยพินิจ นายถวิล กล่าวว่า “ศาลปกครองวินิจฉัย แต่การใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ มีข้อเท็จจริงที่สะท้อนให้เห็นว่าเร่งรีบดำเนินการ การย้ายต่างหน่วยต่างกรมต้องให้ความยินยอมกันก่อน ระหว่างหน่วยที่ให้โอนและหน่วยที่รับโอน เลขาธิการนายกฯมีหนังสือลงวันที่ 4 กันยายน 2554 มีไปถึงหน่วยที่กำกับดูแลผมอยู่ ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่ามีตำแหน่งพร้อมจะรับโอน และรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ปรากฏว่ารัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลได้ให้ความเห็นชอบในวันที่ 5 กันยายน 2554 ซึ่งเท่ากับว่ารัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยที่รับโอนยังไม่ได้เห็นชอบ ซึ่งไม่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยที่โอนและหน่วยรับโอน เป็นการปกติปิดข้อมูลบางอย่าง”

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา การโยกย้ายข้าราชการความไว้วางใจกับความสามารถ ฝ่ายบริหารจะต้องแยกจากกัน คนที่ไว้วางใจควรอยู่ในตำแหน่ง เห็นด้วยหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “ผมไม่เห็นด้วย”

ทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามว่า พยานเบิกความทั้งหมดดูแล้วเป็นสาระสำคัญในคดี เหตุใดจึงไม่ให้การกับศาลปกครอง นายถวิล กล่าวว่า น้ำหนักของผมที่ศาลปกครองคือกรณีที่นายกฯ ไม่ใช้วิธีการที่กฎหมายกำหนด กระบวนการต่อสู้ของผมรับผิดชอบแค่นี้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเรื่องสตช. ผมต่อสู้ในประเด็นของผมที่โยกย้ายไม่เป็นธรรม”

นายจรูญ ถามว่า การย้ายในกรณีดังกล่าวเห็นว่าเป็นการย้ายตามปกติของระบบราชการหรือไม่ คิดว่าเป็นการแทรกแซงหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “ผมไม่ทราบว่าเป็นการแทรกแซงก้าวก่ายหรือไม่ แต่ผมเห็นว่าเกี่ยวพันกัน เป็นการแบ่งงานกันทำ เพราะถ้าไม่เอาผมออกก็ไม่สามารถโอนพล.ต.อ.วิเชียร มาตำแหน่งผมได้ และถ้าไม่เอาพล.ต.อ.วิเชียรออกจากตำแหน่งผบ.ตร.ได้ ก็ไม่สามารถเอาพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ขึ้นเป็นผบ.ตร.ได้”

นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการฯ ถามว่า ก่อนจะมีการย้ายได้มีการส่งคนมาทาบทามก่อนหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “นายกฯ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อว่าจะหาทางคุยกับผมก่อนวันที่ 6 กันยายน 2554 โดยนายกฯ ได้มอบหมายให้พล.ต.อ.โกวิท มาคุยกับผม ซึ่งพล.ต.อ.โกวิทแจ้งว่านายกฯ ถามผมว่าผมจะขัดข้องหรือไม่ ผมพิจารณาด้วยความถี่ด้วยทุกอย่าง ผมจึงบอกไปด้วยความเกรงใจว่าจะขอต่อสู้ตามกฎหมาย”

นายจรัญ ถามว่า วันที่ 4 กันยายน 2554 เป็นวันอาทิตย์หรือวันทำการอะไร นายถวิล กล่าวว่า “วันที่ 4 กันยายน 2554 เป็นวันอาทิตย์ เป็นวันหยุดราชการตามปกติ”

นายจรัญ ถามว่า ในบันทึกข้อความของสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ซึ่งระบุว่าน.ส.กฤษณา สีหะลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยินยอมให้รับโอนแล้ว นายถวิล กล่าวว่า “หนังสือจากพล.ต.อ.โกวิท แจ้งว่า น.ส.กฤษณาเห็นชอบพร้อมรับโอนแล้ว แต่มีหนังสือลงวันที่ 5 กันยายน 2554 ของน.ส.กฤษณาว่าเห็นชอบการรับโอน ผมเห็นว่าถ้าพิจารณาให้ดีแล้วการโอนย้ายต้องให้เกิดประโยชน์ต่อทั้ง 2 หน่วย ก็เห็นว่ามันไม่สอดคล้องกัน เพียงแต่ว่าเรื่องนี้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมและศาลปกครองสูงสุด ไม่ได้เห็นเป็นสาระสำคัญของการโอน”

นายจรัญ ถามว่า พยานผ่านงานระดับสูงมาแล้ว เห็นว่าการลงวันที่ไม่เหมือนกัน เพราะเหตุใดจึงมีความแตกต่างกัน นายถวิล กล่าวว่า “ผมคิดว่ามีการแก้ไขวันที่ ผมถ่ายเอกสารที่อยู่ในมือผมตั้งแต่ต้น ผมเห็นว่าหนังสือมีความลักลั่น”

นายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการฯ ถามว่า งานที่ปรึกษานายกฯ ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือไม่ นายถวิล กล่าวว่า “ผมทำหน้าที่เอกสารอย่างเดียว เป็นเรื่องที่น่าจะต่ำกว่าความรู้ความสามารถที่ผมมีอยู่”

นายทวีเกรียติ ถามว่า ตอนย้ายพล.ท.สุรพล สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ใช้ขั้นตอนเร็วหรือช้า นายถวิล กล่าวว่า “ส่วนใหญ่การทำงานในสมช.มีการเลือกกันเองในกอง แต่พล.ท.สุรพลได้โอนย้ายจากทหารมาเป็นรองเลขาธิการสมช.ในปี 2548 รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ และได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นเลขาธิการสมช.ในรัฐบาลสมัคร ก่อนมาพ้นตำแหน่งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งไม่ได้ย้ายทันที ได้ทำงานมา 7-8 เดือน และพล.ท.สุรพลไม่ได้ฟ้องต่อศาล”

คำนูน:ศาลรธน.ให้ตัดเอกสารปลอม

ใครปลอมเอกสาร 'บันทึกข้อความ ที่ นร 0401.2/8303' ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ?

เอกสารเดิมที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (นายบัณฑูร สุภัควณิช) ทำขึ้นเพื่อขอย้ายคุณถวิล เปลี่ยนสีจากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเป็นทึ่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ มี 2 ฉบับ ทั้ง 2 ฉบับลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์วันหยุดราชการ

1. นร 0401.2/2418 ทำถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์) เพื่อให้ความเห็นชอบและดำเนินการขอตัวนายถวิล เปลี่ยนสีมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี จากรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ - (ภาพซ้ายสุดและภาพที่สองจากซ้าย)

2. นร 0401.2/8303 ทำถึงรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ) เพื่อขอความเห็นชอบและยินยอมในการย้ายถวิล เปลี่ยนสีมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์) ให้ความเห็นชอบและยินยอมรับโอนแล้ว - (ภาพที่สี่และที่ห้าจากซ้าย)

ย้ำอีกครั้งว่าหนังสือบันทึกขัอความทั้ง 2 ฉบับลงวันที่วันเดียวกันคือ 4 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์วันหยุดราชการ

ทั้ง ๆ ที่ในหนังสือหมายเลข 2 ลงวันที่ 4 กันยายน 2554 อ้างว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯให้ความเห็นชอบและยินยอมแล้ว แต่ในหนังสือหมายเลข 1 ลงวันที่ 4 กันยายน 2554 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯเพิ่งเห็นชอบโดยเกษียรท้ายหนังสือลงลายมือกำกับไว้ว่าเป็นวันที่ 5 กันยายน 2554 


(ภาพที่สองจากซ้าย และขยายให้เห็นชัด ๆ ในภาพที่สามจากซ้าย)



หนังสือหมายเลข 2 จึงอ้างผิดความจริง


และแสดงให้เห็นว่าการโยกย้ายกระทำการอย่างเร่งรีบ ลุกลี้ลุกรน ข้ามขั้นตอน


นายถวิล เปลี่ยนสีจึงสู้มาตลอดในชั้นคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมและในศาลปกครองทั้ง 2 ชั้นว่าการย้ายตนทำผิดขั้นตอน และเร่งรีบ 

แต่ทั้งคณะกรรมการฯและศาลปกครองเห็นว่าไม่ใช่สารัตถะสำคัญที่ทำให้การโยกย้ายต้องเสียไป

ประเด็นคือในการต่อสู้ 2 ปีเศษ ไม่ปรากฎว่ามีการต่อสู้ว่าเอกสารหมายเลข 2 นั้นแท้จริงแล้วลงวันที่ 5 กันยายน 2554 ไม่ใช่วันที่ 4 กันยายน 2554 มาก่อนเลย

ในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดก็ไม่มีการพูดเป็นอื่น เอกสารที่ทั้งพวกผมคณะส.ว.ผู้ร้องและนายถวิล เปลี่ยนสีเสนอตีอศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นเอกสารลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ทั้ง 2 ฉบับ

แต่พอศาลรัฐธรรมนูญท่านมีคำสั่งเรียกพยานเอกสารไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีในช่วงกลางเดือนเมษายน 2557 เอกสารหมายเลข 2 ที่ส่งศาลรัฐธรรมนูญมากลับเกิดปาฏิหาริย์กลายเป็นลงวันที่ 5 กันยายน 2554 

ศาลรัฐธรรมนูญท่านเป็นผู้ค้นพบ พวกเราเองก็ไม่ทราบมาก่อน และไม่มีเอกสารหมายเลข 2 ฉบับปาฏิหาริย์อยู่ในมือ จึงไม่อาจนำมาแสดงเปรียบเทียบได้

ส.ว.ไพบูลย์ นิติตะวันและนายถวิล เปลี่ยนสีในฐานะพยานก็เพิ่งพบเห็นในศาลฯเมื่อศาลฯท่านนำมาให้ดู

ศาลฯท่านย้ำว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะต้องคัดกรองพยานหลักฐานปลอมออกไป
 (รูปภาพ 5 รูป)