PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ย้อนเหตุการณ์ระเบิด

จากกรณีเกิดเหตุวางระเบิดชนิดแสวงเครื่อง จำนวน 2 ลูก บริเวณทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม เมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 58) ทางเอเอสทีวีผู้จัดการ จึงขอรวบรวมเหตุการณ์ป่วนเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงรัฐบาลของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ระหว่างปี 2549 - 2550 และรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างปี 2551 - 2554 ไปจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
     
       วันที่ 31 ธ.ค. 2549 - 1 ม.ค. 2550 : เกิดเหตุระเบิดต่อเนื่องทั่วกรุงฯ ในคืนวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่รวม 9 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และได้รับบาดเจ็บ 36 ราย
     
       วันที่ 14 ม.ค. 2553 : ยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้ามาที่ตึกกองบัญชาการกองทัพบก บริเวณห้องทำงานของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น
     
       วันที่ 27 ก.พ. 2553 : ขว้างระเบิดเอ็ม 76 เข้าไปยังธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 2 แต่ระเบิดไม่ทำงาน
     
       วันที่ 27 ก.พ. 2553 : ขว้างระเบิดเอ็ม 26 เข้าไปที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนสีลม ซึ่งสามารถจับคนร้ายได้ 2 คน เป็นกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และในคืนเดียวกัน คนร้ายขว้างระเบิดไม่ทราบชนิด เข้าไปยังธนาคารกรุงเทพ สาขาพระประแดง ทำให้กระจกธนาคารได้รับความเสียหาย
     
       วันที่ 28 ก.พ. 2553 : ขว้างระเบิดเอ็ม 67 เข้าไปที่ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาศรีนครินทร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่เก็บกู้ไว้ได้
     
       วันที่ 15 มี.ค. 2553 : ยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้าไปที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) จำนวน 6 ลูก แต่ทำงานเพียง 4 ลูก ทำให้กำลังพลบาดเจ็บ 2 นาย
     
       วันที่ 16 มี.ค. 2553 : ยิงเอ็ม 79 ใส่บ้านเลขที่ 22/18 ซอยลาดพร้าว 23 ไม่ปรากฎว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
     
       วันที่ 19 มี.ค. 2553 : ยิงเอ็ม 16 ใส่บ้านประชาชนภายในซอยทองหล่อ 3 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ คาดเป็นการทวงหนี้ และเกิดเหตุยิงเอ็ม 16 ใส่บ้านประชาชนภายในซอยสุขุมวิท 53 แขวงคลองตันเหนือ กทม. ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ คาดว่าเป็นการทวงหนี้ ในคืนเดียวกันนี้ยังเกิดเหตุคนร้ายใช้น้ำมันก๊าดจุดไฟโยนเข้าถูกงรถถังหน้ากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม 2 รอ.) ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมคนขับแท็กซี่ร่วมก่อเหตุเป็นผู้ชมนุมเสื้อแดง 2 คน
     
       วันที่ 20 มี.ค. 2553 : ใช้ระเบิดเอ็ม 67 ขว้างใส่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) จ.นนทบุรี และเกิดเหตุยิงจรวดอาร์พีจี ใส่กระทรวงกลาโหม ในวันเดียวกันนี้ยังพบวัตถุต้องสงสัยบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถยิงทำลายได้สำเร็จ
     
       วันที่ 22 มี.ค. 2553 : ขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่ที่สำนักงานบำรุงทางธนบุรี
     
       วันที่ 23 มี.ค. 2553 : ยิงเอ็ม 79 ใส่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี และเกิดเหตุขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่กรมบังคับคดีบางขุนนนท์
     
       วันที่ 24 มี.ค. 2553 : ปาระเบิดบริเวณตู้ควบคุมไฟฟ้าริมรั้วของศาลากลาง จ.นนทบุรี ไม่ปรากฎความเสียหาย และเกิดเหตุขว้างระเบิดเอ็ม 67 บริเวณเสาไฟฟ้าริมรั้วของกรมบังคับคดีเขตตลิ่งชัน
     
       วันที่ 26 มี.ค. 2553 : ปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่สำนักงานอัยการสูงสุด
     
       วันที่ 27 มี.ค. 2553 : เกิดระเบิดหลายจุด (ยิงเอ็ม 79 ใส่ร้านบ้านลุงใหญ่ , ยิงระเบิด เค 75 ใส่อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร , พบระเบิดเอ็ม 67 จำนวน 2 ลูก บนถนนนวมินทร์ , ขว้างระเบิดเอ็ม 67 ใส่สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 , ยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11
     
       วันที่ 28 มี.ค. 2553 : ยิงเอ็ม 79 ใส่กรมทหารราบที่ 11 , ปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่บ้านนายบรรหาร ศิลปอาชา
     
       วันที่ 30 มี.ค. 2553 : ปาระเบิดเอ็ม 67 ใส่อาคารมูลนิธิรัฐบุรุษ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
     
       วันที่ 3 เม.ย. 2553 : ระเบิดชุมสายโทรศัพท์ทีโอที สาขาผดุงกรุงเกษม และกองขยะริมทางเท้า หน้าบ้านเลขที่ 260-262 ถนนหลานหลวง
     
       วันที่ 4 เม.ย. 2553 : ระเบิดคาร์บอมบ์ สถานอาบอบนวดโพไซดอน เป็นระเบิดแสวงเครื่องชนิดทีเอ็นที
     
       วันที่ 6 เม.ย. 2553 : ยิงเอ็ม 79 ใส่บ้านเลขที่ 48 หมู่บ้านมงคลนิเวศน์ ซอยวิภาวดีรังสิต 44 เขตจตุจักร กทม.
     
       วันที่ 7 เม.ย. 2553 : ปาระเบิดเอ็ม 26 ถล่มป้อมที่ทำการตำรวจชุมชน (ศูนย์อยู่เย็น) ถนนนวมินทร์ และนำถังน้ำยาดับเพลิงบรรจุปุ๋ยยูเรียผสมน้ำมันดีเซลและวงจรนาฬิกา วางใกล้ห้างแฟชั่น ไอส์แลนด์
     
       วันที่ 8 เม.ย. 2553 : ยิงเอ็ม 79 และเอ็ม 16 ถล่มที่ทำการพรรคการเมืองใหม่ ถนนพระสุเมรุ และตึกทีพีไอ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
     
       วันที่ 10 เม.ย. 2553 : ยิงเอ็ม 79 ใส่กองปราบปราม และวันเดียวกันนั้น กลุ่ม นปช. และทหารปะทะกันรุนแรง ที่สี่แยกคอกวัว มีผู้เสียชีวิตกว่า 25 ราย บาดเจ็บกว่า 800 คน
     
       วันที่ 12 เม.ย. 2553 : ใช้อาวุธปืนยิงใส่ตึกไซเบอร์ ถนนรัชดาภิเษก และยิงเอ็ม 79 ใส่บ้านเลขที่ 11 ถนนประดิพัทธ์ เขตพญาไท กทม.
     
       วันที่ 19 เม.ย. 2553 : คนร้ายวางระเบิดแสวงเครื่องหน้าบริษัทเคแอล แกรนิต เลขที่ 31/48-49 ซอยเอกชัย 10/1 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กทม. ตำรวจคาดปมขัดแย้งธุรกิจ
     
       วันที่ 23 เม.ย. 2553 : ยิงเอ็ม 79 จำนวน 5 ลูก ใส่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง และย่านใกล้เคียง มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บกว่า 100 คน
     
       วันที่ 26 เม.ย. 2553 : พบระเบิด เค 75 จำนวน 2 ลูก ที่หน้าโชว์รูมคาร์แม็กซ์ ถนนพระราม 9 ซอย 22 และค่ำวันเดียวกันคนร้ายได้ปาเอ็ม 67 ใส่บ้านนายบรรหาร ย่านบางพลัด
     
       วันที่ 27 เม.ย. 2553 : เกิดระเบิดหน้าธนาคารกรุงเทพ สาขาตลิ่งชัน
     
       วันที่ 26 พ.ค. 2556 : เกิดเหตุระเบิดปากซอยรามคำแหง 43/1
     
       วันที่ 1 ก.พ. 2558 : วางระเบิดชนิดแสวงเครื่อง 2 ลูก หลังหม้อแปลงไฟฟ้าบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสยาม

สถานการณ์ระเบิด

บึม! กรมสรรพาวุธ ย่านเกียกกาย พบทหารเจ็บหลายราย จนท.เร่งนำส่งรพ.พระมงกุฎเกล้า เบื้องต้น อาการไม่รุนแรง 'วินธัย' แจงอุบัติเหตุ ขณะซ่อม RPG แต่เกิดในอุโมงค์จึงไม่รุนแรงมาก...

เมื่อเวลา 10.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกโซเชียลฯ ได้มีการโพสต์ภาพ เกิดเหตุระเบิดภายในกรมสรรพาวุธ ทหารบก ย่านเกียกกาย เบื้องต้นมีภาพเจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บหลายราย ทั้งนี้ นำผู้บาดเจ็บส่ง รพ.พระมงกุฎเกล้า ส่วนสาเหตุการเกิดระเบิดยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน

ต่อมา ผอ.กองอุบัติเหตุฯ รพ.พระมงกุฎเกล้า เปิดเผยกับสื่อวิทยุ คลื่น 100.5 ว่า มีทหารได้รับบาดเจ็บจากระเบิดที่กรมสรรพาวุธ ทบ. ถูกส่งเข้ามารักษาตัว ที่ รพ.พระมงกุฎเกล้าแล้ว จำนวน 5 นาย โดยอาการไม่รุนแรง

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบเจ้าหน้าที่ร่วมกตัญญูรายหนึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ ได้เปิดเผยว่า จุดเกิดเหตุระเบิดเป็นโรงซ่อมอาวุธกองทัพบก ซึ่งขณะนั้น มีเจ้าหน้าที่ทหารกำลังซ่อมบำรุงเครื่องยิงลูก RPG อยู่ ทั้งนี้หลัง จนท.เข้าตรวจสอบเหตุระเบิดในกรมสรรพาวุธ ทบ. พบเครื่องยิง RPG ขัดข้อง ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นจนมีทหารได้รับบาดเจ็บ จำนวน 5 นาย

ขณะที่ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกทบ. แจง กรณีอุบัติเหตุที่กรมสรพาวุธ ทบ.ยืนยัน ไม่ใช่การระเบิด ผบ.ทบ.ทราบเรื่องแล้ว โดยได้สั่งการให้ดูแลผู้บาดเจ็บ พร้อมกำชับกำลังพลให้เพิ่มความระมัดระวัง

ทั้งนี้ สาเหตุเป็นการซ่อมอุปกรณ์ชุดเครื่องยิงจรวด RPG (ที่ไม่มีลูก) ของจนท.ในโรงซ่อม แล้ว ขณะทำการซ่อมอยู่นั้นเกิดการจุดตัวของชุดขับเคลื่อนลูกจรวดที่อยู่ภายในกระบอกลำกล้องจรวด จึง
มีผลทำให้ชุดขับเคลื่อนพุ่งทะลุหลุดออกมา ไปกระแทกอุปกรณ์เครื่องมืออื่นบริเวณใกล้เคียง ทำให้มีเศษชิ้นส่วนแตกกระจายจนไปทำให้มีกำลังพล ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย จำนวน 5 นาย ผู้-บาดเจ็บ 5 ราย เป็นช่างของโรงงาน บาดเจ็บที่ศรีษะต้องเย็บ 1 นาย ที่ลำตัว 1 นาย อีก 3 นาย มีการจุกเนื่องจากแรงอัด

รายชื่อทหารได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น

1.นายบรรเจิด เชียงสาย 58 ปี
อาการ มีบาดแผลที่ศีรษะ รู้สึกตัวดี

2.นายบัญชา ศรีประยูร 30 ปี
อาการ แน่นหน้าอก รู้สึกตัวดี

3.นายพีรภัทร ศรีนิยม
อาการ หูอื้อ รู้สึกตัวดี

4.นายกันตพล ภาคเจริญ 22 ปี
อาการ หูอื้อ รู้สึกตัวดี

5.นายสันติภาพ เกิดน้อย
อาการ หูอื้อ รู้สึกตัวดี ส่วนยศรอการตรวจสอบ

 อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อเวลา 13.50 น. พ.อ. วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เปิดเผยถึงความคืบหน้าเหตุดังกล่าวว่า ขณะนี้ พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก รับทราบเรื่องแล้ว และสั่งการให้ดูแลผู้บาดเจ็บ พร้อมกำชับกำลังพลให้เพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน และยืนยันว่าเหตุดังกล่าวไม่ใช่ระเบิดแต่อย่างใด

          พ.อ. วินธัย กล่าวต่อว่า สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการซ่อมอุปกรณ์ชุดเครื่องยิงจรวด RPG (ที่ไม่มีลูก) ของเจ้าหน้าที่ในโรงซ่อม และขณะที่ทำการซ่อมอยู่นั้น ก็เกิดการจุดตัวของชุดขับเคลื่อนลูกจรวดที่อยู่ภายในกระบอกลำกล้อง จึงทำให้ชุดขับเคลื่อนพุ่งทะลุหลุดออกมาไปกระแทกอุปกรณ์เครื่องมืออื่น บริเวณใกล้เคียง ทำให้มีเศษชิ้นส่วนแตกกระจาย จนกำลังพลได้รับบาดเจ็บเนื่องจากแรงอัด

           ส่วนทางด้าน พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า กรณีนี้เป็นอุบัติเหตุ มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นนายช่างเครื่องมือกล ไม่ใช่ทหาร  ส่วนข่าวที่ระบุว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 คน นั้นไม่เป็นความจริง เพราะตรวจสอบพบผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 คน โดยบาดเจ็บบริเวณศีรษะ 1 คนและอีก 4 คน มีอาการหูดับ

/////////////////
โฆษก สตช. เผย สั่งทางลับประกบกลุ่มต้องสงสัยวางบึ้มพารากอนแล้ว รับหนักใจ อาจมีการก่อเหตุจุดสัญลักษณ์อีก สั่งระดมพล ระวังจุดเสี่ยงแล้ว ด้าน 'พ.อ.บรรพต' ให้รอ ตร.แถลงจับมือบึ้มได้ในภูเก็ตจริงหรือไม่

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผช.ผบ.ตร. และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ความคืบหน้าเหตุระเบิดทางเชื่อมห้างสยามพารากอน กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สยาม หลัง
จากที่ศาลอนุมัติอหมายจับ 2 ผู้ต้องสงสัยแล้วนั้น ล่าสุด ทางทีมสืบสวนสอบสวน ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มก้อนในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งที่ยังรวมตัวกันอยู่
หรือแยกกันไปแล้ว แต่อาจจะกลับมารวมตัวกันใหม่ ซึ่งได้สั่งการและสนธิกำลังกับหน่วยความมั่นคงในการลงพื้นที่ประกบกลุ่มผู้ต้องสงสัยหมดแล้ว ซึ่งเป็นการทำงานในทางลับ ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้

โฆษก สตช. กล่าวอีกว่า ยอมรับค่อนข้างหนักใจ ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีจะก่อเหตุอีก โดยเฉพาะในจุดเชิงสัญลักษณ์ ที่มีผู้คนพลุกพล่าน และเป็นจุดเสี่ยงสาธารณะใน กทม. ดังนั้น จึงได้เฝ้าระวังระดับเข้มข้นที่สุด อาทิ ที่แยกราชประสงค์ ซึ่งมีทั้งบนสกายวอล์ค และในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ระดม ตร.นอกเครื่องแบบหาข่าวแล้ว นอกนั้นก็เป็นจุดเสี่ยงสำคัญอื่นๆ ซึ่งได้ส่งกำลังเข้าไปเฝ้าระวังทั้งหมดแล้ว
////////////////
ระเบิดการเมือง
เหตุระเบิดบริเวณทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม กับห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อค่ำวันที่ 1 ก.พ.

ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดตำรวจและฝ่ายความมั่นคงสันนิษฐานตรงกัน โดยให้น้ำหนักว่าน่าจะเกี่ยวโยงกับเหตุระเบิดเมื่อ 29 มี.ค.57 บนถนนราษฎร์อุทิศ ย่านมีนบุรีช่วงนั้นเป็นช่วงการชุมนุมของ กปปส. คนร้ายน่าจะกำลังเคลื่อนย้ายระเบิด "ไปป์บอมบ์" แบบเดียวกับที่ตูมตามหน้าสยามพารากอนไปส่ง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่เกิดอุบัติเหตุจนเกิดระเบิดขึ้นมาเสียก่อน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บ้านเช่าของผู้ตายอยู่ห่างออกไปไม่มาก เมื่อเกิดระเบิด คนร้ายที่เหลือก็เผ่นหนีหมด ทิ้งระเบิดไปป์บอมบ์อีก 4-5 ลูกไว้ดูต่างหน้า

หากข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง ระเบิดที่สยามพารากอนก็น่าจะเป็น "ระเบิดการเมือง"

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) อดีตนายทหารด้านการข่าวชื่อดัง วิเคราะห์ย้อนหลังไปไกลกว่าปี 57 โดยบอกว่า แนวคิดที่คนร้ายทำคล้ายกับระเบิดวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เมื่อปี 49 หลังการรัฐประหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รูปแบบคล้ายคลึงกันหมด โดยเฉพาะการใช้ระเบิดแสวงเครื่อง แต่คนทำเป็นคนละกลุ่ม

"กลุ่มที่ทำเมื่อปี 49 ถูกจับหมดแล้ว ไม่ใช่กลุ่มทหารที่ฝ่ายตำรวจไปจับมา แต่เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ถูกจับดำเนินคดีโดยไม่เป็นข่าวโด่งดังมากนัก"

พล.ท.นันทเดช บอกอีกว่า กลุ่มที่ทำระเบิดแสวงเครื่องได้มีหลายกลุ่ม และกลุ่มที่ป่วนเมืองช่วงชุมนุมทางการเมืองปี 57 ก็ยังถูกจับกุมไม่หมด โดยมีบางพวกมีความชำนาญเรื่องระเบิดแสวงเครื่อง

ไม่ใช่แค่เอ็ม 79 สำหรับจังหวะเวลาที่สร้างสถานการณ์ ชัดเจนว่าเป็นเรื่องการเมือง คงต้องการทำเพื่อเอาใจนาย หลังมีเหตุการณ์ที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล-สนับสนุนอำนาจเก่ากำลังเพลี่ยงพล้ำ

"การก่อเหตุลักษณะนี้ทำให้คนคิดว่ารัฐบาลทำเองหรือเปล่า และสังเกตได้ว่ามีการปล่อยข่าวทันทีว่ารัฐบาลทำเองหรือไม่ เพื่อกระชับอำนาจและกวาดล้างอีกฝ่าย จึงอยากทำความเข้าใจว่าไม่มีรัฐบาลที่ไหนสร้างสถานการณ์เพื่อดิสเครดิตตัวเอง ผลดีอาจจะมีแต่น้อยกว่าผลเสียมาก โดยเฉพาะการถูกมองว่าขนาดมีกฎอัยการศึกยังควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ และนี่คือสิ่งที่ฝ่ายต่อต้านหรือฝ่ายผู้กระทำต้องการให้สังคมคิด"

"ผมคิดว่าถ้าตำรวจเอาจริงน่าจะจับกุมคนร้ายได้ หรืออย่างน้อยก็รู้ว่าเป็นใคร กลุ่มไหน เพราะคนร้ายมาก่อเหตุถึงย่านธุรกิจการค้ากลางเมืองหลวง ซึ่งมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเยอะมาก หากไล่ดูภาพในกล้องไปทั้งหมด น่าจะพอได้เบาะแส" เขาชี้ช่อง

บทวิเคราะห์ของ พล.ท.นันทเดช สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาล ที่ระบุว่า ระเบิดที่คนร้ายใช้เป็นชนิดแสวงเครื่อง ทำให้ดูเหมือนผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ดูรายละเอียดแล้วไม่เหมือนกัน

"ระเบิด 2 ลูกนี้เป็นระเบิดการเมือง มีเป้าหมายทางการเมืองชัดเจน เราทราบแผนของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าจะทำตั้งแต่ช่วงก่อนปีใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกันนี้ แต่ช่วงนั้นได้สั่งเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ทำให้ไม่สามารถกระทำได้ตามแผน กระทั่งล่าสุดการรักษาความปลอดภัยเริ่มหย่อนลง ประกอบกับทางห้างสรรพสินค้ามีอีเวนท์ จึงมีช่องว่างให้เข้าไปก่อเหตุ"

แหล่งข่าวระดับสูงรายนี้บอกอีกว่า ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลประเมินว่ารัฐบาลกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ จึงเลือกก่อเหตุร้ายตรงศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้เกิดผลกระทบ (อิมแพค) สูงๆ เมื่อเหตุเกิดแล้วก็จะถูกผสมโรงหลายเรื่อง ฝ่ายผู้ก่อการก็จะได้ประโยชน์

อย่างไรก็ดี ทฤษฎีของหน่วยงานรัฐและผู้สนับสนุนช่างตรงกันข้ามกับทฤษฎีของ "คนเสื้อแดง" อย่างสิ้นเชิง เพราะคนเสื้อแดงและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ คสช.มองว่าเหตุระเบิดตูมตามเที่ยวนี้รัฐบาลอาจทำเองเพื่อคงกฎอัยการศึกไว้ และหลอกสหรัฐที่เรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยเร็ว ทำนองว่าเมืองไทยยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบอยู่จริง จึงยังเลิกกฎอัยการศึกไม่ได้

ขณะที่อีกทฤษฎีที่ฮาร์ดคอร์กว่านั้น คือ "ฝ่ายอำมาตย์" กำลังขัดแย้งกันเอง และเตะตัดขากันเพื่อประโยชน์ในเชิงอำนาจและการกำหนดทิศทางประเทศมุมมองต่างกันสุดขั้วยิ่งกว่าเส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบกันได้แบบนี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดประเทศไทยถึงวุ่นวายไม่หยุด!
//////////////////
รายงานการเมือง
     
       คืบหน้าไปพอสมควรกับการสืบหามือระเบิด “ไปป์บอมบ์” หน้าสยามพารากอน ศูนย์กลางธุรกิจ และชอปปิ้งระดับโลก เมื่อ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยว่า ขณะนี้ศาลได้อนุมัติออกหมายจับชายต้องสงสัยที่ปรากฏในภาพวงจรปิดทั้ง 2 คนแล้ว และรู้ตัวแล้วว่าเป็นใคร อยู่ระหว่างติดตามจับกุม เชื่อว่าคนร้ายมีมากกว่า 2 คนอย่างแน่นอน ส่วนสาเหตุตำรวจพุ่งเป้าไปยังประเด็นการเมือง เนื่องจากที่ผ่านมาการลอบวางระเบิดส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นการสร้างสถานการณ์ โฟกัสมาทางการเมืองทั้งสิ้น กรณีที่คนร้ายเลือกห้างสรรพสินค้าพารากอน เป็นสถานที่จุดระเบิด เชื่อว่า หวังผลหลายอย่าง รวมทั้งการท้าทายเจ้าหน้าที่ด้วยชัดเจน ไม่มีกั๊ก ทั้งกลุ่มคนร้ายที่มั่นใจว่ามีมากกว่า 2 คน โดยมือวางตำรวจทราบว่าเป็นใครแล้วกำลังตามจับ

ประเด็นสำคัญ “บิ๊กแป๊ะ” ยืดอก “ฟันธง” เลยว่าสาเหตุมาจากเรื่องการเมืองอย่างแน่นอน แต่เป็นการเมืองข้างไหน รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง ไม่ยอมบอก
     
       หากจับทิศทางที่ได้เปิดไว้แต่วันแรก ก็สามารถคาดเดาได้ว่าเป็นกลุ่มไหน เพราะเหตุการณ์ระเบิดที่สยามเมตตาแมนชั่น บางบัวทอง จ.นนทบุรี เมื่อปี 2553 ผู้เกี่ยวข้องก็คือฮาร์ดคอร์สายคนเสื้อแดงล้วนๆ ส่วนคดี “ไปป์บอมบ์” ย่านมีนบุรี ชานเมืองกรุงเทพฯ ตัวละครที่เกี่ยวข้องก็คือมวลชนคนเสื้อแดง
       
       แนวทางสืบสวนสอบสวนของตำรวจจึงหนีไม่พ้นที่จะมุ่งไปยังกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีประวัติน่าสงสัย ส่วนจะเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม เป็นสตอรี่ระทึกขวัญที่มีผู้เขียนบท “ล็อก” ตัวแสดงขึ้นมาหรือไม่ คงต้องรอคำตอบที่งวดเข้ามาทุกขณะ
     
       เมื่อกล่าวถึง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง ขอโฟกัสประวัติย้อนหลังสักเล็กน้อยเพื่อให้เห็นภาพอื่นๆ ซ้อนขึ้นมาอีกมิติหนึ่ง นายตำรวจผู้นี้เป็นนักเรียนนายร้อยรุ่น 36
เส้นทางความก้าวหน้าเติบโตมาอย่างรวดเร็ว และจุดที่พลิกผันจนขึ้นมาเป็นตัวเต็งว่าที่ ผบ.ตร. ก็คือ ตำแหน่ง “ผู้บัญชาการตำรวจ” โดยเมื่อปี 2551 ขึ้นเป็นผู้บัญชาการประจำปี 2553 ก้าวมาเป็น “ผู้
บัญชาการตำรวจนครบาล” ภายใต้ยุครัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อันเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นรัฐบาลก่อตั้งในรั้วทหาร และมีทหารเป็นพี่เลี้ยงระมัดระวังภัยคุกคามจากความร้อนแรงของมวลชนคนเสื้อแดง
     
       และในปี 2553 นั่นเองมีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองหลายครั้ง รวมทั้งคดีระเบิดสยามเมตตาแมนชั่น บางบัวทอง จ.นนทบุรี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย บาดเจ็บอีกนับสิบหนึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิต คือ นายสมัย วงศ์สุวรรณ อดีต นปช. สายฮาร์ดคอร์จากเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจค้นในซากปรักหักพังของห้องคนตายพบซีดีเขียนด้วยปากกาเคมี “รัฐไทยใหม่” จำนวนมากจึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน
     
       อย่างไรก็ตาม จากพยานหลักฐานที่ปรากฏ รวมทั้งประวัติของนายสมัย ที่เป็นคนเสื้อแดง แม้ตำรวจจะมีแนวโน้มว่าเป็นอุบัติเหตุเกิดความผิดพลาดจนวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่กลุ่มคนร้ายได้ตระเตรียมไว้เกิดระเบิดขึ้นก่อน แต่ยังมีข้อหักล้าง หรือข้อสงสัยจากกลุ่มคนเสื้อแดง และสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งว่าเป็นการจัดฉากเพื่อดิสเครดิตคนเสื้อแดง
     
       อีกทั้งเป็นมาตรการตามเก็บบรรดาเสื้อแดงหัวรุนแรง รวมทั้งประเด็นซีดีรัฐไทยใหม่กว่า 100 แผ่นที่กระจัดกระจายในห้องพักนายสมัย ไม่น่าเชื่อว่าการดำเนินงานลักษณะ “ใต้ดิน” จะทิ้งหลักฐาน เขียนข้อความประเจิดประเจ้อตามที่เจ้าหน้าที่รัฐให้ข่าว
     
       และเป็นเรื่องน่าบังเอิญอย่างเหลือเชื่อเมื่อขณะนั้นเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุคือ พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รักษาการ ผบช.ภ.1 ในขณะนั้นอย่างพอดิบพอดี
     
       ระเบิดไปป์บอมบ์หน้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2558 หรืออีก 5 ปีต่อมา จึงเป็นการโคจรมาพบกันระหว่าง “บิ๊กแป๊ะ” พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง กับ “บิ๊กปู” พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผบช.น. อย่างมิได้นัดหมาย
     
       โดยฝ่าย “บิ๊กแป๊ะ” มีขุมกำลังจาก นรต. 36 เป็นเครือข่ายตามล่าหามือระเบิด ประกอบด้วย พล.ต.ท.ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย ผบช.สันติบาล พล.ต.ต.รณศิลป์ ภู่สาระ และ พล.ต.ต.สุวัจน์ แจ้งยอดสุข
นักสืบมือปราบ จากกองบัญชาการยุทธศาสตร์ตำรวจ เป็นต้น
     
       ส่วนเครือข่ายของ “บิ๊กปู” อาศัยเพื่อนร่วมรุ่น นรต.35 พล.ต.ต.สมบัติ มิลินทจินดา ผบก.สส.บชน. เป็นกำลังหลัก
     
       ผลงานจะเป็นอย่างไร “แป๊ะ - ปู” จะลืมเรื่องความขัดแย้งแล้วจับมือกันเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรตำรวจหรือไม่โปรดติดตามห้ามกะพริบตา

(ข้อมูล)การเมืองเชิงสัญลักษณ์

การเมืองเชิง "สัญลักษณ์"

เมื่อ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ไม่เชื่อ "อานันท์ ปันยารชุน" ประธานคณะปฏิรูปประเทศไทย ที่เสนอวิธีการแก้ปัญหาด้วยประโยคสั้นๆ

"การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง"

ปรากฏการณ์ที่ตามมาหลังเหตุการณ์ "พฤษภามหาโหด" จึงเป็น "เสียงระเบิด" และการชุมนุมของ "คนเสื้อแดง" เป็นระยะๆ

ข้อเสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน "โดยเร็ว" ของ "อานันท์" ถูกปฏิเสธแบบ "นักภาษาไทยดีเด่น" จาก "อภิสิทธิ์"

"โดยเร็ว" ไม่ใช่ "ทันที"

การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไว้จนถึงวันนี้สะท้อนให้เห็นว่า "อภิสิทธิ์" เป็น "คนใจเย็น" อย่างยิ่ง เพราะผ่านไป 6 เดือนหรือครึ่งปีแล้ว พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ยังคงอยู่

ถึงวันนี้คำว่า "โดยเร็ว" ใน "ความรู้สึก" ของ "อภิสิทธิ์" จะหมายถึง 1 ปี หรือ 10 ปีก็ได้ ไม่มีใครรู้

อย่าลืมว่า "อานันท์" นั้นเคยผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในฐานะ "ผู้ถูกกระทำ" มาแล้ว

เขาถูกปลดจากตำแหน่ง "ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ" และถูกกล่าวหาว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" นายอานันท์ย่อมรู้ซึ้งถึง "ความเจ็บปวด" ของ "ผู้ถูกกระทำ" ทางการเมือง

แต่ "อภิสิทธิ์" ไม่รู้

ไม่แปลกที่ผลพวงหลังเหตุการณ์ "พฤษภามหาโหด" จะพัฒนาไปอย่างน่ากลัว เสียงระเบิดในเมืองกรุงทั้งที่รัฐบาลมี "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" ควบคุมอยู่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งเกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่ "สมานเมตตาแมนชั่น"

แม้เหตุระเบิดจะเกิดขึ้นเพราะความผิดพลาดในการประกอบระเบิดของ "สมัย วงศ์สุวรรณ์" คนเสื้อแดงจากจังหวัดเชียงใหม่

แต่ปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนยิ่งว่า "คนเสื้อแดง" กลุ่มหนึ่งเลือกหนทาง "ความรุนแรง" ในการต่อสู้กับ "อำนาจรัฐ"

หากอ่านบทสัมภาษณ์ของ "บัวคำ เมืองมา" ภรรยาของ "สมัย" จะรู้เลยว่า "ความแค้น" หลังเหตุการณ์ความรุนแรงที่สี่แยกคอกวัวสามารถเปลี่ยนชาวบ้านคนหนึ่งที่เงียบๆ และมีน้ำใจเป็น "มือระเบิด" ได้ในพริบตา

เป็น "ความแค้น" ในลักษณะเดียวกันกับ "นักศึกษา" ที่เข้าป่าจับอาวุธสู้กับรัฐบาลหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

ครั้งนั้น บางคนอาจเข้าป่าเพราะความเชื่อมั่นในอุดมการณ์ "คอมมิวนิสต์" แต่ส่วนใหญ่เข้าป่าเพราะ "ไม่มีทางเลือก" และ "ความแค้น"

หลังเหตุการณ์ "พฤษภามหาโหด" อารมณ์ความรู้สึกของคนเสื้อแดงส่วนใหญ่เปี่ยมไปด้วย "ความแค้น"

ยิ่งรัฐเลือกวิธี "ดับไฟด้วยไฟ" ความรู้สึกนั้นก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ปฏิกิริยาใน "ม็อบเสื้อแดง" ที่แยกราชประสงค์และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสะท้อนถึง "ความรู้สึก" ของ "คนเสื้อแดง" ได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่คนเสื้อแดงส่วนใหญ่เก็บความแค้นอยู่ในใจ แต่อีกกลุ่มหนึ่งได้เลือกแนวทางการต่อสู้ทางการเมืองของตน

เป็นการต่อสู้เชิง "สัญลักษณ์"

สัญลักษณ์ของ "ความรุนแรง"

แบบ "สมัย วงศ์สุวรรณ์"



ในอีกทางหนึ่ง "คนเสื้อแดง" กลุ่มใหญ่ได้เลือกแนวทางการต่อสู้แบบ "สันติวิธี"

เสนอรูปแบบการเคลื่อนไหมใหม่จากเดิมที่เน้นการชุมนุมใหญ่ที่มี "แกนนำ" เป็นการชุมนุมกลุ่มเล็กๆ กระจายไปทั่วแบบ "แกนนอน"

"สมบัติ บุญงามอนงค์" หรือ "บ.ก.ลายจุด" นักกิจกรรมเพื่อสังคมเป็น "ผู้นำ" แนวคิดนี้

เขาเริ่มต้นด้วยการผูก "ผ้าแดง" ที่ป้ายแยกราชประสงค์

เมื่อตำรวจตั้งกำแพงไม่ให้เข้าไปผูก "ผ้าแดง" เขาก็ไม่ได้แข็งขืนกลับยอมผูก "ผ้าแดง" ที่รั้วเหล็กแทน

ใช้ความอ่อนสยบความแข็งกร้าว

ทำให้ "อำนาจรัฐ" เป็น "ตัวตลก" เพราะใช้กำลังตำรวจจำนวนมากมาเฝ้าป้ายแยกราชประสงค์ไม่ให้ผูกผ้าแดง

"สมบัติ" สามารถสร้างวาทกรรม "ที่นี่มีคนตาย" ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง เช่นเดียวกับกิจกรรมผูก "ผ้าแดง" จุดเทียนแดง ปล่อยลูกโป่งสีแดง ฯลฯ

รวมทั้งการเล่นละครให้คนนอนตายบนพื้นถนนเพื่อแสดงให้รู้ว่า "ที่นี่มีคนตาย"

ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ จนคนรู้สึก

ในช่วงต้นหลังการสลายการชุมนุม "สมบัติ" ใช้วิธีการยั่ว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้วยกิจกรรมทางการเมืองแบบ "พูดให้ชัด แต่เตะไม่ถึง" ไม่ว่าจะเป็นการเต้นแอโรบิกที่สวนลุมพินี ขี่จักรยานที่สวนรถไฟ หรือลงทะเลที่พัทยา ฯลฯ

สร้างกิจกรรมชุมนุม "คนเสื้อแดง" ทุกวันอาทิตย์อย่างตั้งใจ เหมือนไม่ใช่กิจกรรมทางการเมือง แต่เนื้อแท้คือเรื่องการเมือง

"วันอาทิตย์สีแดง" เริ่มมีเสียงตอบรับมากขึ้น เพราะเป็นกิจกรรมแบบ "สันติวิธี" ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้

วันนี้ กิจกรรมที่ "สมบัติ" ทำเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ก็คือ เดินทางไปต่างจังหวัดชวน "คนเสื้อแดง" ขี่จักรยานรอบเมือง

เหมือน "ไร้สาระ" แต่มีพลัง

ไม่แปลกที่ "คำนูณ สิทธิสมาน" วุฒิสมาชิก และ "มันสมอง" ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเคยเป็นผู้นำนักศึกษามาก่อน จะมองทะลุว่า "การต่อสู้ในเชิงสัญลักษณ์ของ สมบัติ บุญงามอนงค์ อันตรายกว่าการใช้ความรุนแรง"

เพราะ "การต่อสู้ด้วยความรุนแรงคือการทำผิดกฎหมาย หากรัฐบาลเป็นมวย ย่อมฉกฉวยเป็นประโยชน์ในการปราบปรามได้ แต่การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของ สมบัติ บุญงามอนงค์ เอาผิดตามกฎหมายใดๆ ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือมาตราอื่นๆ อันนี้น่ากลัวหากรัฐบาลไม่เป็นมวย หรือยังคิดแต่จะซื้อเวลาไปเรื่อยๆ กลัวโน่นกลัวนี่"

เมื่อ "คำนูณ" และพลพรรคพันธมิตรออกโรง "บ.ก.ลายจุด" ก็โต้ตอบทันทีตามสไตล์ทีเล่นทีจริงในเฟซบุ๊กของเขา

"คำนูณ สำราญ สุริยะใส แหม...เดินหน้ามาเป็นชุดเลยนะตัวเอง กลัวการต่อสู้ทางสัญลักษณ์ยิ่งกว่าระเบิดอีกเหรอ โห...ทำไมขวัญเสียง่ายจัง"

และ "ด้วยตรรกะแห่งรัฐตอแหลแลนด์ ข้าพเจ้าขอประกาศว่า "รองเท้าแตะ" เป็นอันตรายกว่าระเบิด TNT โดย คำนึง สิทธิสยอง"

ใช้ "อารมณ์ขัน" เป็น "อาวุธ" เช่นเดิม



ในการชุมนุมใหญ่ที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 และที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553

"สมบัติ" เป็นผู้นำกิจกรรมเชิง "สัญลักษณ์" และมี "คนเสื้อแดง" มาร่วมงานอย่างล้นหลาม

ไม่มีใครเกรงกลัว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เลย

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าแม้จะมีการปราบปรามด้วยความรุนแรง แต่ไม่สามารถสลาย "คนเสื้อแดง" ได้

แค่ "สมบัติ" จัดกิจกรรม "จุดเทียน" รำลึกถึง "คนตาย" ที่สี่แยกคอกวัว พร้อมทั้งเขียนจดหมายถึง "คนเสื้อแดง" ที่อยู่ในเรือนจำ หรือกิจกรรม "red letter

ก็สามารถชิงพื้นที่สื่อ และขยายผลทางความรู้สึกได้แล้ว

แนวทางสันติ หรือการต่อสู้เชิง "สัญลักษณ์" ของ "บ.ก.หนูหริ่ง" จึงเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่สู้ ไม่ปะทะ

แค่ "จุดเทียน" และ "ขี่จักรยาน"

แต่พลานุภาพกลับรุนแรงยิ่งกว่าระเบิด TNT

ล่า"บรรพต" นปช.ตัวการหมิ่นเบื้องสูงผ่านเว็บฯ ตั้งค่าหัว 2 แสน Cr:ผู้จัดการ

ล่า"บรรพต" นปช.ตัวการหมิ่นเบื้องสูงผ่านเว็บฯ ตั้งค่าหัว 2 แสน
Cr:ผู้จัดการ
ASTVผู้จัดการ - ตร.ขออนุมัติหมายจับผู้ที่ใช้นามแฝง "บรรพต" หัสดิน อุไรไพรวัน หัวหน้าเครือข่ายหมิ่นสถาบันเบื้องสูงรายใหญ่ เผยยังอยู่ในประเทศ ตั้งรางวัลนำจับ 2 แสน หลังบุกค้นบ้านย่านสุขุมวิทพบอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสื่อผ่านเว็บไซด์ เพื่อจำหน่ายให้กับเครือข่าย เพื่อเป็นทุนในการเคลื่อนไหวกลุ่มนปช.
วันนี้ (9 ก.พ.)เมื่อเวลา 13.30 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผบ.ตร.และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) ร่วมกันแถลงความคืบการสืบสวนขยายผลจับกุมเครือข่าย "บรรพต" ขบวนการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงรายสำคัญ โดยระบุว่า ล่าสุดศาลทหารกรุงเทพ ได้อนุมัติหมายจับผู้ที่ใช้นามแฝง "บรรพต" คือ นายหัสดิน อุไรไพรวัน อยู่บ้านเลขที่ 167 ถ.วิสุทธิ์กษัตริย์ แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กทม. ในข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พล.ต.ต.ศิริพงษ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ปอท.ได้มีการสนธิกำลังกันระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง และทหาร เข้าตรวจค้นบ้านพัก นายหัสดิน ภายในซอยสุขุมวิท 101ตรวจพบอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสื่อ อาทิ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค อุปกรณ์บันทึกเสียง เอกสารร่างเพื่อใช้ในการบันทึกเสียง เอกสารทางการเงิน จากการตรวจสอบมีเงินหมุนเวียนในบัญชีธนาคารแต่ละเดือนเป็นหลักแสนบาท ซึ่งคาดว่ามาจากรายได้การจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มผู้สนับสนุน โดยหลังจากนี้จะมีการส่งข้อมูลเหล่านี้ให้ทางป.ป.ง.ตรวจสอบเส้นทางการเงินด้วย ขณะเดียวกันได้มีการตรวจยึดแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมาก ที่นายหัสดินใช้ในการทำสำเนาจำหน่ายให้กับกุล่มเครือข่าย เพื่อเป็นทุนในการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ นายหัสดิน เคยไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. แต่จากการสืบสวนไม่พบว่ากลุ่ม นปช.มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าว เพียงแต่พบว่ามีสมาชิกในเครือข่ายนี้ที่ได้ไปร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่ม นปช.เท่านั้น
"สำหรับ นายหัสดิน ไม่ได้มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง แต่อาศัยเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา จึงนำข้อมูลต่างๆ มาเรียบเรียง และแต่งเรื่องเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการร์ทางการเมือง เพื่อให้มีเนื้อหาดึงดูดความสนใจ แล้วชี้นำปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังต่อสถาบันฯ สำหรับวิธีการทำคลิปก็ไม่มีขั้นตอนซับซ้อนไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมากนัก เพียงแต่ใช้โปแกรมแปลงเสียงก่อนที่จะมีการอัพโหลดไฟล์ลงเว็บไซต์รับฝากไฟล์ต่างๆ โดยมีการอัพโหลดไฟล์ในประเทศ ขณะที่ผู้ที่ติดตามหรือผู้ที่จะนำไฟล์ไปแชร์ต่อ ก็จะเข้าไปดาวน์โหลดคลิปเสียงดังกล่าว ก่อนนำไปแชร์ต่อ" ผบก.ปอท. กล่าว
พล.ต.ต.ศิริพงษ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านั้นได้การมีจับกุมสมาชิกระดับปฏิบัติการเพิ่มอีก 2 ราย คือ น.ส.สายฝน อินทสร อายุ 48 ปี ภรรยานายหัสดิน ได้ที่บ้านพักย่านพระโขนง และสามารถจับกุม นายนที ผสมทรัพย์ อายุ 54 ปี ได้ขณะมาทำธุระย่านฝั่งธนบุรี โดย น.ส.สายฝน เป็นผู้เปิดบัญชีธนาคาร เพื่อให้ผู้อื่นโอนเงินมาช่วยเหลือการกระทำผิด เป็นการสนับสนุนให้การช่วยเหลือผู้กระทำผิดในการโพสต์คลิปเสียงชื่อ "บรรพต" ทางเฟซบุ๊ก ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นสถาบันฯ นอกจากนี้ยังได้มีการอัพโหลดคลิปเสียงและโพสต์ต่อกันไปอีกหลายทอดในลักษณะเครือข่ายกระจายกันออกไปทางสื่อสังคมออนไลน์ ถือเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ส่วนนายนที เป็นผู้ส่งสินค้า และซีดีคลืปเสียงบรรพต โดยได้รับค่าจ้าง ถือเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้กระทำผิด เบื้องต้นจึงแจ้งข้อหาฐานสนับสนุนผู้กระทำผิดฐานหมิ่นสถาบันเบื้องสูงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ขณะที่เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวน บก.ปอท.ได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ไปยื่นคำร้องเพื่อขออำนาจศาลฝากขังต่อศาลทหาร
พล.ต.ต.ศิริพงษ์ กล่าวว่า สำหรับการติดตามตัว นายหัสดิน ขณะนี้ทางปอท.ได้มีการส่งประกาศสืบจับนายหัสดินไปยังสถานีตำรวจ และด่านตรวจคนเช้าเมืองทั่วประเทศ โดยจากข้อมูลล่าสุดทราบว่านายหัสดินยังอยู่ในประเทศและยังหลบหนีอยู่ในกทม. ซึ่งตำรวจอยู่ระหว่างสืบสวนติดตามจับกุมตัว โดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ตั้งรางวัลนำจับแก่ผู้ที่สามารถแจ้งเบาะแสแล้วนำไปสู่การจับกุมตัวได้ เป็นเงินจำนวน 2 แสนบาท ทั้งนี้ อยากฝากเตือนไปยังประชาชน ว่า นายหัสดิน เป็นผุคคลที่เป็นภัยอันตรายอย่างยิ่ง อย่าให้การช่วยเหลือ หรือ สนับสนุน เครือข่ายดังกล่าว ทั้งการบริจาคเงินซื้อสินค้า หรือ โพสต์ข้อความคิดเห็นสนับสนุน หรือนำเอาข้อความ รูปภาพ คลิปเสียงไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งจะถือว่ามีความผิดในฐานะผู้ร่วมเครือข่ายบรรพตด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าจากแนวทางการสืบสวนมีผู้ที่บงการที่อยู่เหนือกว่านายหัสดิน หรือไม่ พล.ต.ต.ศิริพงษ์ กล่าวว่า จากสมมติฐานของตำรวจเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น โดยนายหัสดิน เป็นเพียงผู้ผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ออกไปน่าจะมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังหรือระดับผู้บงการที่สูงกว่านี้ แต่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการสืบสวน ซึ่งอาจเป็นลักษณะของการสนับสนุนทางการเงิน ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากได้ตัว นายหัสดิน มา ประเด็นนี้ก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น ขณะเดียวกันตำรวจอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อออกหมายจับสมาชิกของเครือข่ายนี้เพิ่มเติมอีกในเร็วๆ นี้


2556 ปีแห่งการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ โดย



http://www.matichon.co.th/online/2015/02/14234654221423465568l.jpg

สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งเงินรางวัลนำจับ หัวหน้าขบวนการบรรพตตัวการเผยแพร่คลิปหมิ่นสถาบัน สองแสนบาท ยังไม่พบเครือข่ายเอี่ยวปลอมแถลงการณ์

พลตำรวจโทประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำภาพถ่ายและ หมายจับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ผลิตคลิปเสียงหมิ่นสถาบันชื่อว่า "บรรพต" Banpodj หลังตำรวจได้สืบสวนขยายผลจนทราบตัว และขออนุมัติศาลออกหมายจับ นายหัสดิน อุไรไพรวัน ผู้ที่เป็นหัวหน้าขบวนการและเป็นผู้ผลิตคลิปเสียงเล่าเรื่องแนวคิดหมิ่นสถาบัน
หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้สนธิกำลังร่วมกันตรวจค้นบ้านนายหัสดินย่านสุขุมวิท101 เมื่อวันที่ 6ก.พ.ที่ผ่านมา พบอุปกรณ์การผลิตสื่อ/คอมพิวเตอร์ เอกสารทางการเงิน/เอกสารของเครือข่าย และแผ่นซีดีจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าบรรพตเป็นโปรดักชั่นเฮ้าส์ใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายซีดีหมิ่นสถาบันมีรายรับเข้ามามากกว่า1แสนบาทต่อเดือนโดยทำกันเป็นขบวนการซึ่งหลังจากนี้จะร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ในการตรวจสอบเส้นทางเงินและ อายัดทรัพย์สินต่อไป พร้อมขยายผลดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนเครือข่ายนายบรรพต

โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดเงินรางวัลนำจับกับผู้แจ้งเบาะแสจนนำไปสู่การจับกุมนายบรรพตจำนวน2แสนบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่มีข้อมูลว่านายหัสดินยังคงหลบหนีอยู่ในกรุงเทพฯ และจากการสืบสวนพบว่านายบรรพตเคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม นปช.ด้วย ทั้งนี้จากการตรวจสอบยังไม่พบจุดเชื่อมโยงกับกลุ่มผลิตแถลงการณ์ปลอมแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการจับกุมผู้ต้องหาในเครือข่ายบรรพตไปแล้ว4คน ต่อเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 58 ได้ขยายผลเพิ่มเติม โดยจับกุมนางสาวสายฝน อินทสร ผู้ทำหน้าที่เปิดบัญชีสนับสนุนเงินช่วยเหลือเครือข่ายบรรพต และ จับกุมนายนที ผสมทรัพย์ ผู้ทำหน้าที่ส่งสินค้าและซีดีคลิปเสียงบรรพต และนำตัวส่งฝากขังศาลทหารเมื่อวันที่7ก.พ.ในความผิดฐานสนับสนุนผู้กระทำผิดกรณีหมิ่นเบื้องสูง ตามมาตรา112 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง

ห้ามยิ่งลักษณ์ไปนอก

วันนี้ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวทีนิวส์ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ทำเรื่องขอเดินทางไปต่างประเทศในระหว่างวันที่ 8 - 22 กุมภาพันธ์ นี้ ต่อมาทาง คสช.ได้สอบถามทางไปทางสำนักงานอัยการสูงสุดและได้รับทราบว่ามีกำหนดการยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ต่อศาล ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวกับเวลาที่นางสาวยิ่งลักษณ์ขออนุญาตพอดี
.....คสช.จึงไม่อนุญาตให้นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศในครั้งนี
.....การฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางเมือง แม้ว่าไม่ต้องนำตัวจำเลยไปศาลในวันฟ้องคดี เช่น คดีอาญาทั่วไปที่ฟ้องต่อศาลชั้นต้นพนักงานอัยการต้องนำตัวจำเลยไปส่งศาลด้วย
.....ทั้งนี้เพราะขณะที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีนั้น ยังไม่มีองค์คณะผู้พิพากษาที่จะพิจารณาพิพากษาคดี
.....พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542
.....มาตรา 13 บัญญัติว่า เมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ให้ประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเป็นองค์คณะผู้พิพากษา จำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีนั้น
.....มาตรา 27 บัญญัติว่า เมื่อได้มีคําสั่งประทับฟ้องแล้วให้ศาลส่งสําเนาฟ้องแก่จําเลย และนัดคู่ความมาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก
.....ในวันพิจารณาครั้งแรก เมื่อจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลและศาลเชื่อว่า เป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟ้อง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้บันทึกไว้ ถ้าจําเลยไม่ให้การ ก็ให้บันทึกไว้ และให้ศาลกําหนดวันตรวจพยานหลักฐานโดยให้โจทก์และจําเลย ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
.....ตามบทบัญญัติในมาตรา 13 และ 27 ดังกล่าวหมายความว่า เมื่ออัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ประธานศาลฎีกาต้องเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อให้ที่ประชุมเลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีนั้น
.....เมื่อได้องค์คณะผู้พิพากษาแล้ว องค์คณะผู้พิจารณาว่า จะให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาหรือไม่
.....ถ้ามีคำสั่งประทับฟ้องก็ต้องส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยและนัดให้โจทก์ จำเลย มาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก
.....สำหรับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้จะไม่ต้องไปศาลในวันที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดี แต่นางสาวยิ่งลักษณ์และที่ปรึกษากฎหมายน่ารู้ดีว่า ตามรูปคดีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโอกาสที่จะถูกลงโทษมีมากกว่า ยกฟ้อง
.....ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนอันเป็นที่รู้กันอยู่ก็คือเรื่องที่ รมต.กระทรวงพาณิชย์ อ้างว่ามีการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจี ให้แก่ประเทศจีน ซึ่งไม่เป็นความเป็นจริง และนางสาวยิ่งลักษณ์ก็รู้จากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรของ ส.ส. ฝ่ายค้านแล้ว แต่นางสาวยิงลักษณ์ก็ปล่อยให้มีการดำเนินไป โดยไม่ให้สั่งให้หยุดการกระทำ
.....จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 123/1 ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี
.....ถ้า คสช. อนุญาตให้นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศ โอกาสที่นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปแล้วไปลับไม่เดินทางกลับประเทศไทย เช่นเดียวกับทักษิณ ชินวัตร เป็นไปได้สูงมาก ครับ

ที่มา : เพจ ชูชาติ ศรีแสง