PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ห้ามยิ่งลักษณ์ไปนอก

วันนี้ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวทีนิวส์ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ทำเรื่องขอเดินทางไปต่างประเทศในระหว่างวันที่ 8 - 22 กุมภาพันธ์ นี้ ต่อมาทาง คสช.ได้สอบถามทางไปทางสำนักงานอัยการสูงสุดและได้รับทราบว่ามีกำหนดการยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ต่อศาล ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวกับเวลาที่นางสาวยิ่งลักษณ์ขออนุญาตพอดี
.....คสช.จึงไม่อนุญาตให้นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศในครั้งนี
.....การฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางเมือง แม้ว่าไม่ต้องนำตัวจำเลยไปศาลในวันฟ้องคดี เช่น คดีอาญาทั่วไปที่ฟ้องต่อศาลชั้นต้นพนักงานอัยการต้องนำตัวจำเลยไปส่งศาลด้วย
.....ทั้งนี้เพราะขณะที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีนั้น ยังไม่มีองค์คณะผู้พิพากษาที่จะพิจารณาพิพากษาคดี
.....พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542
.....มาตรา 13 บัญญัติว่า เมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ให้ประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาเป็นองค์คณะผู้พิพากษา จำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีนั้น
.....มาตรา 27 บัญญัติว่า เมื่อได้มีคําสั่งประทับฟ้องแล้วให้ศาลส่งสําเนาฟ้องแก่จําเลย และนัดคู่ความมาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก
.....ในวันพิจารณาครั้งแรก เมื่อจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลและศาลเชื่อว่า เป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้ฟ้อง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้บันทึกไว้ ถ้าจําเลยไม่ให้การ ก็ให้บันทึกไว้ และให้ศาลกําหนดวันตรวจพยานหลักฐานโดยให้โจทก์และจําเลย ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
.....ตามบทบัญญัติในมาตรา 13 และ 27 ดังกล่าวหมายความว่า เมื่ออัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ประธานศาลฎีกาต้องเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อให้ที่ประชุมเลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 คน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีนั้น
.....เมื่อได้องค์คณะผู้พิพากษาแล้ว องค์คณะผู้พิจารณาว่า จะให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาหรือไม่
.....ถ้ามีคำสั่งประทับฟ้องก็ต้องส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยและนัดให้โจทก์ จำเลย มาศาลในวันพิจารณาครั้งแรก
.....สำหรับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้จะไม่ต้องไปศาลในวันที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดี แต่นางสาวยิ่งลักษณ์และที่ปรึกษากฎหมายน่ารู้ดีว่า ตามรูปคดีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโอกาสที่จะถูกลงโทษมีมากกว่า ยกฟ้อง
.....ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนอันเป็นที่รู้กันอยู่ก็คือเรื่องที่ รมต.กระทรวงพาณิชย์ อ้างว่ามีการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจี ให้แก่ประเทศจีน ซึ่งไม่เป็นความเป็นจริง และนางสาวยิ่งลักษณ์ก็รู้จากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรของ ส.ส. ฝ่ายค้านแล้ว แต่นางสาวยิงลักษณ์ก็ปล่อยให้มีการดำเนินไป โดยไม่ให้สั่งให้หยุดการกระทำ
.....จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 123/1 ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี
.....ถ้า คสช. อนุญาตให้นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปต่างประเทศ โอกาสที่นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปแล้วไปลับไม่เดินทางกลับประเทศไทย เช่นเดียวกับทักษิณ ชินวัตร เป็นไปได้สูงมาก ครับ

ที่มา : เพจ ชูชาติ ศรีแสง

ไม่มีความคิดเห็น: