PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ธัชชาติ โพสFB ลุ้นโครงการกู้2.2ล้านล้าน


วันพรุ่งนี้ พ.ร.บ. สร้างอนาคตไทย ก็จะเข้าสู่สภาแล้วครับ ผมอยากให้พวกเรารับทราบรายละเอียดกันก่อน ผมขออธิบายรายละเอียดโครงการต่างๆในแต่ละยุทธศาสตร์ที่ทางกระทรวงคมนาคมเตรียมไว้ซึ่งมีดังนี้ครับ


- รถไฟความเร็วสูง 783,553 ล้านบาท คิดเป็น 42.7%
- รถไฟฟ้า 456,662 ล้านบาท คิดเป็น 24.9%
- ถนนทางหลวง 241,080 ล้านบาท คิดเป็น 13.1%
- ถนนทางหลวงชนบท 34,309 ล้านบาท คิดเป็น 1.9%
- สถานีขนส่งสินค้า 14,093 ล้านบาท คิดเป็น 0.8%
- ท่าเรือ 29,581 ล้านบาท คิดเป็น 1.6%
- ด่านศุลกากร 12,545 ล้านบาท คิดเป็น 0.7%
- ปรับปรุงระบบรถไฟ (เพิ่มเครื่องกั้น ซ่อมบำรุงรางที่เสียหาย) 23,236 ล้านบาท คิดเป็น 1.3%
- รถไฟรางคู่ และรางคู่เส้นทางใหม่ 240,875 ล้านบาท คิดเป็น 13.1%


จะเห็นได้ว่า โครงการใน พ.ร.บ.สร้างอนาคตประเทศนี้ ไม่ได้มีแต่เรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าในกทม. ถนนสี่เลน ด่านศุลกากร ศูนย์กระจายสินค้า มอเตอร์เวย์ บูรณะถนนสายหลัก ถนนเชื่อมประตูการค้า ท่าเรือ สะพานข้ามทางรถไฟ โดยกระจายอยู่ในทุกๆด้าน และ อยู่ในทั่วทุกภูมิภาค ตามความจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ

โครงการเหล่านี้ ไม่ได้คิดขึ้นมาลอยๆ แต่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) หัวข้อ 5.3.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ การปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งในเมือง และ เป็นไปตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ทั้งในส่วนของ โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟฟ้าในกทมและปริมณฑล โครงการท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน และ ฝั่งอ่าวไทย การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งการเสนอโครงการต่างๆในพรบ.นี้ เป็นการปฏิบัติตามนโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่ได้แถลงเป็นพันธะสัญญากับรัฐสภาอย่างครบถ้วน

สำหรับสิ่งที่จะได้จากโครงการนี้ ที่ทางรัฐบาลคาดหวังไว้คือ

1. ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงจากปัจจุบัน (ที่ 15.2%) ไม่น้อยกว่า 2%
2. สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดลงจาก 59% เหลือ 40%
3. ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจาก 39 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม. และขบวนรถโดยสาร เพิ่มขึ้นจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม.
4. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง เพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5%
5. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 18%
6. ความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี
7. สัดส่วนการเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30%
8. ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 5%
9. ปริมาณผู้โดยสารรถไฟ เพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน/เที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคน/เที่ยว/ปี
10. ลดระยะเวลาการเดินทางจาก กทม. ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 กม. รอบกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง

วันพรุ่งนี้ติดตามคำอธิบายและคำชี้แจงได้ทั้งในสภาและ facebook ของผม รบกวนพวกเราช่วยกัน share บอกต่อด้วยครับ ขอบคุณทุกท่านครั

"กกต.หมดวาระพรุ่งนี้...แต่รักษาการได้จนกว่าจะมีชุดใหม่"

กรอบเวลาในการสรรหาที่กฎหมายกำหนดว่าต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง โดยคณะกรรมการสรรหาดังกล่าวจะประกอบไปด้วย
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด 
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา (นายกู้เกียรติ สุนทรบุระ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญากรุงเทพใต้)
และผู้แทนจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด)
ส่วนการเปิดรับสมัครเบื้องต้นทางสำนักเลขาธิการวุฒิสภากำหนดไว้ในวันที่ 23-30 ก.ย. ไม่เว้นวันหยุดราชการ และคณะกรรมการสรรหาจะมีการประชุมเพื่อลงมติคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือ 3 คน ในวันที่ 17 ต.ค. ก่อนที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภาจะเสนอนำไปรวมกับ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกกต.จากสายที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 คน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบต่อไป


กมธ.งบประมาณ57

กมธ.งบประมาณ57

รายชื่อกรรมาธิการวิสามัญ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 จำนวน 63 คน ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี 15 คน 1.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง 2.นายวราเทพ รัตนากร 3.

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย 4.นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว 5.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 6.นายจาตุรนต์ ฉายแสง 7.นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ 8.นายอุดมเดช รัตนเสถียร 9.นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ 10.นายยุคล ลิ้ม

แหลมทอง 11.นายพันธุ์ศักดิ์ เกตวัตถา 12.นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล 13.นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ 14.นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ 15.นายวีระยุทธ ปั้นน่วม

พรรคเพื่อไทย (พท.) 25 คน 1.นายอำนวย คลังผา 2.นายสมชัย อัศวชัยโสภณ 3.นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ 4.นายนิยม ช่างพินิจ 5.นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร 6.นายชวลิต วิชยสุทธิ์ 7.นายธานี ยี่สาร 8.

นางนันทนา สงฆ์ประชา 9.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ 10.นายจุลพันธ์ อมรวิวัตน์ 11.นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน 12.นายสงวน พงษ์มณี 13.นางวันเพ็ญ พร้อมพัตน์ 14.นายอนันต์ ผลอำนวย 15.ร.ท.ปรีชาพล

พงษ์พานิช 16.นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ 17.นายสุทธิชัย จรูญเนตร 18.ว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย 19.นางอนุรักษ์ บุญศล 20.นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม  21.นายขจิตร ชัยนิคม 22.นายไพจิต ศรีวรขาน

23.นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ 24.นางบุญรื่น ศรีธเรศ 25.นายวิทยา บุรณศิริ

พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 15 คน 1.นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล 2.น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ 3.นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน 4.พ.ต.อ.สามารถ ม่วงศิริ 5.นายกนก วงศ์ตระหง่าน 6.นายวัชระ เพชรทอง 7.น.ส.บุณย์

ธิดา สมชัย 8.นายอรรถพร พลบุตร 9.วิฑูรย์ นามบุตร 10.น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล 11.นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว 12.น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร 13.นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ 14.นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ 15.นายกูอาเซ็ม กูจินามิง

พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 3 คน 1.นายชัย ชิดชอบ 2.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ 3.น.ส.เรวดี รัศมิทัต

พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ) 2 คน 1.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร 2.นาชาดา ไทยเศรษฐ์

พรรคชาติพัฒนา (ชพ.) 1 คน นายประสาท ตันประเสริฐ

พรรคพลังชล 1 คน นายสุชาติ ชมกลิ่น

พรรครักประเทศไทย พรรคมาตุภูมิ พรรครักษ์สันติ พรรคประชาธิปไตยใหม่ และพรรคมหาชน 1 คน  คือ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

"ใบเตย อาร์สยาม" ยอมรับเคยบินไปรับจ๊อบร้องเพลง-กินข้าวกับ "ทักษิณ" จริง

"ใบเตย อาร์สยาม" ยอมรับเคยบินไปรับจ๊อบร้องเพลง-กินข้าวกับ "ทักษิณ" จริง - จ้างผ่านค่ายจ่าย 1 ล้าน

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 18 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว มีงานเปิดตัวบริษัท ไทยเฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนักร้องลูกทุ่งสาวเซ็กซี่ น.ส.สุธีวัน ทวีสิน หรือ ใบเตย อาร์สยาม มาร่วมงานด้วย

หลังจากจบงาน ใบเตย อาร์สยาม ลูกทุ่งสาว เปิดเผยถึงเรื่องที่มีกระแสข่าวจากสื่อบางสำนักโจมตีว่าไปทานข้าวกับ พ.ต.ท.ด.ร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง แต่เป็นงานที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ใหญ่ทุกท่านใน บ.อาร์สยาม แล้ว เพราะอดีตนายกฯ มีมิตรภาพที่ดีกับ บ.อาร์เอสฯ มาโดยตลอด มีงานไหนที่เหมาะสมกับศิลปินคนไหนก็ได้ไป ไม่ใช่เฉพาะตนคนเดียว ครั้งนี้ถึงคิวที่ตนต้องไป ซึ่งตนได้ไป 2 ประเทศ คือ ฮ่องกง ซึ่งเป็นงานเลี้ยงภายในที่นักการเมืองบินไปเยี่ยมท่านที่นั้น ส่วนที่สิงคโปร์เป็นงานเอฟวัน ทั้งสองประเทศนี้ไปตั้งแต่ปีที่ พ.ศ. 2555 แล้ว นอกจากตนแล้วยังมีศิลปินจากหลายๆ ค่ายไปเช่นกัน

ลูกทุ่งสาวกล่าวต่อว่า ตนไปที่นั้นคือไปร้องเพลง และทานข้าวกับท่าน ตนได้พูดคุยกับท่าน ท่านเป็นคนดีคนหนึ่ง ท่านไม่รู้จักตัวใบเตยเลย เพราะอยู่ต่างประเทศตลอด พอท่านได้ฟังเพลงของเราท่านถึงรู้ว่าเราคือ ใบเตย อาร์สยาม ตนได้ร้องเพลงเก่าๆ ให้ท่านฟัง ในมุมของตนก็เห็นใจท่านเพราะอยากเพลงไทยมาก และอยากกลับบ้านเกิด ตนมีหน้าที่เป็นตัวแทนที่ทำให้ท่านรู้สึกว่าท่านอยู่เมืองไทย

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่ามีข่าวว่าไปสองครั้งได้รับเงินค่าตอบแทนถึง1ล้านบาทจริงหรือไม่ ใบเตย ยอมรับว่า “เป็นความจริงค่ะ รับค่าตัว 5 แสน ทานข้าว และร้องเพลง 2 ประเทศ ส่วนเรื่องกระเป๋าแบรนด์เนม ได้จากที่เราไปช้อปปิ้งหลังจากเสร็จงาน ท่านได้ให้คนมาติดตามและเทคแคร์ พอไปช้อปปิ้งตามที่ต่างๆ”

ถามต่อว่ามีค่าตอบแทน หรือได้ทิปเพิ่มจากค่าจ้างหรือเปล่า นักร้องสาวกล่าวว่า ไปครั้งนี้ไม่ได้คิดถึงค่าจ้าง ถือว่าไปเที่ยวเป็นกำไรชีวิต นอกเหนือจากนั้นถือเป็นการอุปการะของผู้ใหญ่ เพราะอดีตนายกฯ สนิทกับทางเฮียฮ้อ (สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์) นานมากแล้ว และเรียกใช้ทางค่ายมาตลอด

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าเหมือนบ้านที่ ‘ใบเตย’ ซื้อเป็นโครงการบางกอก บูเลอวาร์ด ได้ส่วนลดจากอดีตนายกรัฐมนตรีด้วย ลูกทุ่งสาว เผยว่า ได้ส่วนลดจากทางครอบครัวของท่านมากกว่า เพราะโครงการนี้ลูกเขยท่านเป็นคนดูแลโครงการ และท่านทักษิณไม่ได้เป็นคนซื้อให้ ถ้าท่านซื้อให้ตนจะไปร้องเพลงตอบแทนท่านอีกสัก 3 งาน

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่ากลัวคนจะมองว่าฝักใฝ่ฝ่ายสีใดหรือไม่ นักร้องลูกทุ่งสาว ตอบว่า ตนไม่อยากให้มองตรงนั้น อยากให้มองเป็นงานที่ตนต้องรับผิดชอบงานเพื่อสร้างความสุข ไม่มีการแบ่งสี เรื่องงานก็คืองาน เรื่องส่วนตัวก็คือเรื่องส่วนตัว เรื่องสังคมก็คือสังคม ถามว่าอยากไปอีกหรือเปล่า ตนได้คุยกับพี่โอ๊ค พานทองแท้ ว่าอยากไปเพราะเป็นงานที่แฮปปี้และมีสุขมาก ได้ไปเที่ยว ร้องเพลง และเปิดโลกทัศน์ใหม่

( @ Khaosod )

สุขสุดๆ “ใบเตย” ฟุ้งฟัน 1 ล้าน+กระเป๋าแบรนด์เนมค่าตัวร้องเพลง-หม่ำข้าว "ทักษิณ"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์18 กันยายน 2556 20:29 น.

       “ใบเตย อาร์สยาม” รับรับงานร้องเพลง-หม่ำข้าวกับ “ทักษิณ ชินวัตร” จริง บอกมีศิลปินหลายคนที่ไป ฟุ้งค่าจ้างครั้งละ 5 แสน/กระเป๋าแบรด์เนม พร้อมส่วนลดบ้านหรูราคา 20 ล้าน เปรยสงสารอีกฝ่ายอยากกลับบ้าน ลั่นสุขสุดๆ ได้เปิดโลกทัศน์ บอกคุยกับ “พี่โอ๊ค” แล้วอยากไปให้ความสุขกับ “ท่าน” อีก
     
        หลังตกเป็นข่าวไปรับงานเอนเตอร์เทนร้องเพลงและตบท้ายด้วยการทานข้าวกับอดีตนายกฯนักโทษหนีคดี “ทักษิณ ชินวัตร” ถึงที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ด้วยค่าตัวครั้งละ 5 แสนบาท กระเป๋าแบรนด์เนมหรูพร้อมสิทธิพิเศษส่วนลดบ้านใหม่ ราคา 20 ล้าน ล่าสุดทางด้านของนักร้องสาวจากค่ายอาร์สยามเจ้าของฉายา “สั้นเสมอหู” อย่าง “ใบเตย สุธีวัน ทวีสิน” ก็ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
     
        ทั้งนี้นักร้องสาวได้ยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวทั้งหมดเป็นความจริง แต่ทั้งหมดนั้นได้ผ่านการพิจารณาจากบริษัทต้นสังกัดตลอดจนผู้ใหญ่แล้ว ก่อนบอกอดีตนายกฯมีมิตรภาพที่ดีกับทางค่ายอาร์เอส รวมถึงศิลปินในสังกัดมาโดยตลอดไม่ใช่เฉพาะกับตนคนเดียว
     
        “เป็นจริงทุกประการตามข่าวค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นได้ผ่านการพิจารณาจากบริษัท และผู้ใหญ่ทุกท่านแล้ว ตัวท่านทักษิณ มีมิตรภาพที่ดีกับอาร์เอสมาตลอดเหมือนมีงานไหนที่เหมาะสมกับศิลปินคนไหน ไม่ใช่แค่ใบเตยคนเดียวที่ได้ไปแต่ล่าสุดเป็นเราเท่านั้นเอง”
       
        “ไปมา 2 ประเทศแล้ว ฮ่องกงและสิงคโปร์ จริงๆ ก็ตั้งแต่ปีที่แล้วนะคะ สิงคโปร์นี่ไปงาน เอฟวัน อย่างฮ่องกงก็เป็นงานเลี้ยงภายในของท่านที่มีนักการเมืองหลายท่านไปเยี่ยมท่านที่นั่น มีศิลปินที่มีเราและหลายๆ เบอร์จากค่ายต่างๆ ใบเตยก็ไปร้องเพลงและนั่งทานข้าว เป็นงานส่วนตัวนิดนึงค่ะ ที่ได้ใกล้ชิดกับท่าน มีคนไม่มาก ได้พูดคุยกันค่ะ”
     
        “ท่านก็เป็นคนดีในระดับนึง ท่านไม่รู้จักใบเตย เพราะท่านอยู่ต่างประเทศตลอด พอได้เจอฟังเพลงก็เลยรู้จักว่าเราคือใบเตย อาร์สยาม ได้ร้องเพลงเก่าๆ ให้ท่านฟัง ความจริงแล้วใบเตยบอกได้เลยว่าน่าเห็นใจ ท่านอยากฟังเพลงไทยมาก ท่านอยากกลับบ้านเกิด ใบเตยก็มีหน้าที่ส่วนนึงได้ทำให้ท่านรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเกิดได้ฟังเพลงไทย”
     
        เผยอีกฝ่ายติดต่อผ่านมาทางค่ายและผู้จัดการส่วนตัว แต่ไม่ได้คุยกับตนโดยตรง...“ติดต่อมาทางค่ายและผู้จัดการส่วนตัวโดยตรงค่ะ แต่ไม่มีคุยส่วนตัวค่ะ (ได้เงิน 1 ล้านบาทพร้อมกระเป๋าแบรนด์เนม?) ค่ะ ดีมาก เรียกว่าเป็นการชอปปิ้งมากกว่า จะมีลูกน้องเป็นตัวแทนพาเราไปช้อปปิ้งหลังเสร็จงานแล้ว (เห็นว่าหมู่บ้าน บลูเลอวาร์ด ที่ซื้อก็ได้ส่วนลดด้วย?)...ได้ส่วนลดจากครอบครัวท่านมากกว่าค่ะ”
     
        เมื่อถูกถามว่ากลัวถูกมองโยงไปเรื่องการเมืองหรือไม่เจ้าตัวบอกไม่อยากให้มองเช่นนั้นแต่อยากให้มองเป็นเรื่องงานที่ตนรับผิดชอบมากกว่า...“ไม่ค่ะ อยากให้มองว่ามันคืองานที่ใบเตยต้องรับผิดชอบ ทำหน้าที่มอบความสุข เรื่องงานก็คือเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวก็คือเรื่องส่วนตัว เรื่องสังคมก็คือเรื่องสังคม”
     
        ตกใจกับข่าวมั้ย?...“ไม่เลยค่ะ เพื่อนส่งข่าวมาให้ดู ไม่เอะใจอะไร ความจริงก็คือความจริง ใบเตยชัดเจนอยู่แล้ว หลายฝ่ายรับทราบกับตรงนี้”
       
        ลั่นแฟนหนุ่มดีเจแมน “พัฒนพล” เข้าใจ ไม่หวั่นคนมองมากกว่ากินข้าว-แถมซื้อบ้านให้ ก่อนบอกคุยกับ “โอ๊ค พานทองแท้” รับอยากจะไปร้องเพลงตอบแทนอีกสัก 3 งาน เชื่อแฟนคลับเข้าใจ
        “โอเคค่ะ พี่แมนเข้าใจ...ไม่มีอยู่แล้วเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เราไปในฐานะ ศิลปินจากค่ายอาร์สยาม (คนมองว่า ท่านซื้อบ้านให้เรา?) ไม่เลยค่ะ ซื้อเอง ให้ก็ดีค่ะ อยากจะไปร้องตอบแทนท่านซัก 3 งานค่ะ (หัวเราะ) ก็คุยกับพี่โอ๊คค่ะ ว่าอยากไป เป็นงานที่แฮปปี้มีความสุข ได้ร้องเพลงได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ”
     
        “ถามว่าจะมีทริปพิเศษอีกไหม คือใบเตยไม่ได้ซีเรียสเรื่องค่าจ้าง แค่ได้ไปเที่ยวก็มีเป็นกำไรแล้ว นอกเหนือจากนั้นก็อยู่ที่วาระของผู้ใหญ่ ทางทักษิณ ก็สนิทกับทางอาร์เอสกับเฮียอยู่แล้ว ได้เรียกใช้อาร์เอสมาตลอด”
     
        กลัวคนมองว่าเรารับจ๊อบพิเศษหรือเปล่า? “ไม่นะคะ หลายฝ่ายคงเข้าใจ ตามข่าวก็เคลียร์ชัดเจนว่าเราไปทำงาน ไม่ได้เขียนว่าเราไปทำอะไรไม่ดีกับท่าน”
     
        กลัวแฟนคลับแอนตี้ไหม?...“ไม่ค่ะ เข้าใจ ไม่มีฟีดแบ็กอะไรที่ไม่ดีเลย”
      
      
      
      

แกนนำม็อบยางติดต่อมอบตัว8ราย



สตช. เผย แกนนำม็อบเกษตรกรชาวสวนยางติดต่อขอมอบตัวแล้ว 8 คน กรณีชุมนุมปิดถนนเมื่อวันที่ 3-5 ก.ย.

พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า มีผู้ถูกออกหมายจับจากการชุมนุมประท้วงปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดนครศรีธรรมราช ติดต่อขอเข้ามอบตัวแล้ว 8 คน โดย 7 คน ได้แก่ นายพัฒนะ สนธิ, นายขวัญชัย หนูรุ่ง, นายสมควร ดำกลิ้ง, นายไชยัน ทิมแท้, นายมนัส ยอดยิ่ง, นายวิมล สุขสุรัตน์, และนายสุวพันธ์ พุ่มนวล มีพฤติการณ์ร่วมชุมนุมที่บริเวณถนนเพชรเกษมขาเข้า เมื่อวันที่ 3 และ 5 กันยายน และคนที่ 8 คือ นายอำนวย ยุติธรรม ซึ่งร่วมปิดถนนบริเวณทางหลวง หมายเลข 401 อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 3 กันยายน

โฆษก สตช. ยังกล่าวถึงกรณีที่ ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือ ผู้กองปูเค็ม อ้างว่า มีผู้ถูกกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่บาดเจ็บระหว่างชุมนุม ว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่ปรากฏว่า มีผู้มาแจ้งความดำเนินคดีตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด หากมีเหตุการณ์ดังกล่าวจริง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายออกมาแสดงตัว และแจ้งความดำเนินคดี เพื่อหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป

"ภาคีสวนยาง" ออกแถลงการณ์ !!! จวกยับตร. ใช้ความรุนแรงกับปชช. -ย้ำ ชุมนุมอย่างชอบธรรม

"ภาคีชาวสวนยาง" ออกแถลงการณ์ 6 ข้อ -พร้อมประณามการใช้ความรุนแรง ของเจ้าหน้าที่ตร.ในการสลายการชุมนุม -ย้ำพี่น้องควนหนองหงษ์ ใช้สิทธิ์ชอบธรรมในการประท้วง หลังรัฐไม่แล

วันนี้ ( 18 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดได้มีการออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4/2556 ภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ มีมติในที่ประชุมที่อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ อ.เมือง จ.ตรัง ดังนี้

1.ภาคีเครือข่ายฯ ประณามการใช้กำลังและความรุนแรง ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่สลายการชุมนุมของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน บริเวณแยกควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 16 ก.ย 56 และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง

2.การชุมนุมของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่แยกควนหนองหงษ์ เป็นการใช้สิทธิ์โดยชอบธรรมเพื่อประท้วง และแสดงพลังของกลุ่มเกษตรกร ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการความช่วยเหลือเรื่องปัจจัยการผลิตของรัฐบาล ทางเครือข่ายจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล ได้พิจารณาอย่างจริงจัง เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรครอบคลุมทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้รัฐบาลนิยามคำจำกัดความ คำว่า เกษตรกรชาวสวนยาง เสียใหม่ โดยให้ครอบคลุมถึง 1. เจ้าของสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน 2. เจ้าของสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน 3. กลุ่มพี่น้องที่รับจ้างกรีดยาง

3.ให้เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาลล์มน้ำมัน ทั้ง 16 จังหวัดในภาคใต้ ส่งตัวแทนเพื่อเจรจากับ ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บังคับการจังหวัด เพื่อให้รัฐบาล หยุดใช้อำนาจรัฐ ข่มขู่ คุกคาม จับกุม คุมขัง โดยไม่ชอบธรรม

4.รัฐบาลต้องให้มีการประกันตัวผู้ต้องหา ที่ถูกดำเนินคดีในกรณีการชุมนุมเรียกร้องราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน
ตามสิทธิแห่งกฏหมาย

5.รัฐบาลต้องหยุดการสร้างความแตกแยก และความขัดแย้งในหมู่เกษตรกรชาวสวนยาวพาราและปาล์มน้ำมัน และให้รัฐบาลยุติการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อใส่ร้ายป้ายสีพี่น้องเกษตรกร ด้วยวาทะกรรม " เป็นม๊อบมีพรรคการเมืองหนุนหลัง หรือ เป็นม๊อบการเมืองแย่งชิงอำนาจ

6.หากรัฐบาลใช้กำลังและความรุนแรง เข้าสลายการชุมนุมพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่แยกควนหนองหงษ์ ทางภาคีเครือข่ายฯ จะประกาศยกระดับสู่การชุมนุมขั้นสูงสุด ในทุกพื้นที่ และทุกจังหวัด

ภาพจากเพจ "รักตรัง ปกป้องตรัง"

#ทีนิวส์


บอร์ดตลาดหลักทรัพย์มีมติเลือก"สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์"เป็นประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 15


บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ มีมติเลือก ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 15 

คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ มีมติเลือก ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ซึ่งเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 15 มีผลตั้งแต่ 18 กันยายน นี้

นายศักรินทร์ ร่วมรังษี เลขานุการคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ และนายสุทธิชัย จิตรวาณิช ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้าเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2556 – 5 กันยายน 2558 แทนนายสมพล เกียรติไพบูลย์และดร.สุภัค ศิวะรักษ์ ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2556 ที่ผ่านมานั้น ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันนี้ (18 กันยายน 2556) ได้มีมติเลือก ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 15 แทนนายสมพล เกียรติไพบูลย์ ที่ครบวาระ โดย ดร.สถิตย์จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556 เป็นต้นไป

ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อายุ 63 ปี จบปริญญาเอก Ph.D (Development Administration) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในหลายองค์กร อาทิ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รองประธานกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

นายสุทธิชัย จิตรวาณิช อายุ 62 ปี จบการศึกษาด้านกฎหมายระดับปริญญาโท จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยทำงานในภาคตลาดทุนโดยดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกำกับและพัฒนาตลาดทุนกระทรวงการคลัง และเป็นกรรมการคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด และอนุกรรมการกฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทเรียน"ม็อบยาง" กับแนวรบโซเชียลเน็ตเวิร์ก

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 18:00:03 น.มติชน
 
ภาพเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องราคายางพารา บริเวณแยกควนหนองหงษ์ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตรึงกำลังอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย

ความรุนแรงลามไปถึงการเผารถยนต์ 8 คัน เป็นรถคุมขังผู้ต้องขัง 2 คัน และรถยนต์ 191 อีก 5 คัน รถตู้ตำรวจอีก 1 คัน เมื่อเที่ยงวัน วันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา ไม่ต่างอะไรกับการจลาจลย่อยๆ

ทว่า ห้วงสถานการณ์กำลังตึงเครียด ก็มีภาพปริศนาโผล่ปรากฏบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ชายแต่งกายครึ่งท่อน ท่อนบนแต่งกายคล้ายชุดปราบจลาจล มีเสื้อเกราะ หมวกกันกระแทก ท่อนล่างสวมกางเกงยีนสีดำ กำลังใช้ไม้ทุบรถควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เป็นภาพปริศนาที่ถูกโพสต์ไม่ทันข้ามวันก็มียอดคนกดไลค์หลักพัน กดแชร์หลักร้อย ที่ต่อมาทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์หลายแห่ง นำไปเผยแพร่ต่อ

จากคอมเมนต์บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก หลายคนตัดสินแล้วว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการคอมเมนต์ตำหนิการกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรง บ้างก็เสริมว่าชาวบ้านบางคนถูกยิงเป็นมือมืดมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่นั่นเอง

กระเเสข่าวเหล่านี้ เเพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จนเกิดข้อกังขาว่า เเท้จริงเเล้วเป็นฝีมือการสร้างสถานการณ์จากฝ่ายใด หรือเป็นมือที่สาม หรือเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ชุมนุมแต่งกายเลียนแบบเจ้าหน้าที่ หรือเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่จริงๆ ส่งผลให้ภาพลักษณ์เเละความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกบั่นทอนโดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง

จุดนี้เป็นประเด็นที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ในฐานะคู่กรณีและผู้เสียหายหลักจำเป็นต้องหาทางรับมือ และแก้ข้อครหาให้ได้?!!

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เปิดเผยถึงเเนวทางดำเนินการที่จะสามารถกู้ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อันเกิดจากข่าวที่ไม่จริงที่ทำลายความน่าเชื่อถือของอำนาจรัฐ เเละเป็นเหตุให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสามารถกระทำได้ 3 เเนวทาง คือ 1.การสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด 2.สกัดกั้นระงับยับยั้งข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายเเละไม่ถูกต้อง เเละ 3.การปฏิบัติการข่าวสาร หรือไอโอ หรืออินโพเมชั่น โอเปอเรชั่น

พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวว่า สำหรับการปฏิบัติการข่าวสารตามข้อ 3 นั้น สามารถจำเเนกได้อีก 3 เเนวทาง คือ 1.การสืบสวนซึ่งใช้วิธีการทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของตำรวจเเละพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดำเนินการหาตัวผู้กระทำความผิดเเละที่มาเครือข่ายเเนวร่วมขบวนการใหญ่มาลงโทษ โดยมาตรา 14 (1) ระบุว่าเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอม หรือข้อมูลเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดดวามเสียหายแก่ผู้อื่น (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงหรือก่อการร้าย (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่มีลักษณะลามก

พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวต่อว่า 2.ดำเนินการระงับยับยังข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายตามอำนาจหน้าที่ของตำรวจเเละพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 20 เป็นการอาศัยคำสั่ง
ศาลปิดกั้น เพื่อมิให้ข้อมูลข่าวสารเเพร่กระจายต่อไปอีก อันที่จะเกิดความเสียหายต่อสังคมเเละความมั่นคงของประเทศ

"เเละ 3.การปฏิบัติตามข่าวสาร มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ ชี้เเจงทำความเข้าใจกับประชาชน โดยใช้สื่อทุกรูปแบบ บนพื้นฐานเเห่งความเป็นจริง ทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ฯลฯ การโต้ตอบเชิงเทคนิค บนพื้นฐานของความเป็นจริง นั่นคือการตั้งทีมตอบกระทู้ หรือชี้เเจงในกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเละกระทำซ้ำๆ เพื่อลดความสำคัญของกระทู้นั้นๆ ลง

"จะสังเกตได้ว่า เมื่อเซิร์ชหาข้อมูล ข่าวสารดังกล่าวผ่านทาง www.google.com จะขึ้นเป็นกระทู้ที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ชี้เเจงอยู่เป็นอันดับต้นๆ ในขณะที่กระทู้จากฝ่ายตรงข้ามลดระดับของข่าวสารลงไปอยู่ในอันดับท้ายๆ เเทน การปฏิบัติการเชิงลึกทางเทคนิค ที่จะทำให้การเเพร่กระจายข่าวสารของฝ่ายตรงข้ามถูกระงับ ยับยั้ง สกัดกั้น จนไม่สามารถเเพร่กระจายข่าวสารต่อไป เป็นการลดความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารได้อีกทางหนึ่ง" ผบก.ปอท.ระบุ

ผบก.ปอท.แจงด้วยว่า ทาง ปอท.ได้สร้างกลุ่มงานเฝ้าระวังเเละตรวจตราความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต โดยมีหน้าที่หลักเพื่อตอบโจทย์การปฏิบัติการข่าวสารเชิงลึกทางเทคนิค นอกจากนี้ ยังต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้มีการดำเนินการจัดการที่สอดคล้องกัน

เป็นอีกบทเรียน เมื่อโลกเปลี่ยน มีการโจมตีเล่นงานกันทางโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างรุนแรง ฉะนั้น การตอบโต้และชี้แจงทำความเข้าใจ ก็จำเป็นต้องใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเช่นกัน!!

คาด ศาลโลกให้ไทย-เขมรตกลงปมพระวิหารเอง

กมธ.ต่างประเทศ สภาฯ ยันคนไทย นักธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบประท้วงเขมร คาดศาลโลกวินิจฉัยให้ไทยเขมรไปตกลงกันเองปมแผนที่พระวิหาร

น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมกมธ. ว่าที่ประชุม พิจารณาศึกษาสถานการณ์การประท้วงผลการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศกัมพูชาและผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทย ซึ่ง ทางกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงว่าจากการตรวจสอบ ไม่มีคนไทยหรือธุรกิจของคนไทยได้รับผลกระทบใดๆ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้

นอกจากนี้ กมธ.ยังได้พิจารณาศึกษาถึงแนวโน้มคำพิพากษาของศาลโลกต่อกรณีการตีความคดีปราสาทพระวิหารและการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลคำพิพากษา ที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนพ.ย.นี้ว่า เชื่อว่าจะมีแนวทางออกมา4 แนวทางคือ 1. ให้กลับไปใช้แผนที่ตามกัมพูชาสัดส่วน 1 ต่อ200,000 ซึ่งเท่ากับว่าพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นของประเทศกัมพูชา 2. เป็นไปตามมติครม.ของฝ่ายไทย ซึ่งเชื่อว่าค่อนข้างเป็นไปได้ยาก 3. ออกมาในแนวทางกลางโดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายยื่นข้อมูลเพิ่มเติม 4. ให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปเจรจาตกลงกันว่าจะใช้แผนที่ 1ต่อ2 แสน หรือมติครม.ของประเทศไทย

น.ส.จารุพรรณ กล่าวว่า เชื่อว่าแนวทางที่4 จะเป็นไปได้มากที่สุด และมั่นใจว่าการเจรจาน่าจะมีประโยชน์มากที่สุดเพราะประเทศไทยมีบุญคุณกับกัมพูชาค่อนข้างมากโดยเฉพาะการให้เงินช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ทำหนังสือการ์ตูนเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องคดีประสาทพระวิหาร เพื่อให้สามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย โดยจะได้มีการแจกให้ผู้ที่สนใจต่อไปด้วย


นักวิชาการชี้ พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านผ่านฉลุย แต่เจอด่านศาลรัฐธรรมนูญ ส่อขัดกฎหมาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์17 กันยายน 2556 18:35 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เชื่อร่าง พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านเสียงข้างมากในสภา และ ส.ว.ที่ได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข็นผ่านฉลุย แต่ฟันธงไม่พ้นถูกยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เชื่อรัฐจ่อดันร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ หวังฟอกกฎหมายกู้เงิน ส่อชัดรัฐรู้ดีขัดรัฐธรรมนูญ
     
       วันนี้ (17 ก.ย.) นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการเงินการคลัง กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้านบาท ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19-20 ก.ย.นี้ ไม่น่าจะมีเหตุอะไรที่ทำให้ร่างดังกล่าวสะดุดหยุดลง เพราะเสียงข้างมากของรัฐบาลจะทำให้ร่างนี้ผ่านในชั้นสภาผู้แทนฯ ไปได้อย่างแน่นอน แต่ร่างนี้อาจสะดุดได้ในชั้นของวุฒิสภา โดยเฉพาะกลุ่ม 40 ส.ว.ที่อาจมีการขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมไม่ให้เป็น พ.ร.บ.กู้เงิน โดยให้เข้าเป็นงบประมาณภายในผูกพันข้ามปีและก่อหนี้หลายๆ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญให้เป็นการใช้งบประมาณตามกฎหมายที่ไม่ใช่เป็นการกู้เงิน หาก ส.ว.เสียงข้างมากมีมติแก้ไขเพิ่มเติมก็ต้องส่งเรื่องกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกัน
     
       นายปรีชา กล่าวว่า รู้สึกกังวลว่าจากการที่รัฐบาลได้มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวนั้น อาจจะมีส่วนให้ ส.ว.ใส่เกียร์ว่างในเรื่องนี้ เพราะอาจมองได้ว่าเป็นข้อต่อรองระหว่างกัน ซึ่งหาก ส.ว. เสียงข้างมากเห็นชอบกับร่างดังกล่าวจริง ส.ส.และ ส.ว.ก็สามารถเข้าชื่อและส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ต้องยับยั้งการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ พร้อมทั้งเชื่อว่าเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวแล้ว จะต้องใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยนานพอสมควร เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน และหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ก็เป็นผลให้ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เป็นอันตกไปทันที เพราะถือเป็นสาระสำคัญ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะต้องถูกยื่นฟ้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน
     
       นอกจากนี้ นายปรีชา กล่าวว่า ขณะนี้มีร่างกฎหมายที่รัฐบาลพยายามจะแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้กฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนี้ มีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลมีความกังวลว่าร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีความพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้วและส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อ 14 สิงหาคม 2556 ซึ่งมีเจตนาให้เป็นกฎหมายฟอกความผิดเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ให้ไม่ผิดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 และยังให้เห็นชอบในการกู้นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะที่ให้กู้ได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดใน 5 วัตถุประสงค์เท่านั้น
     
       ทั้งนี้ หลักในกรณีกู้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเช่นที่จะกู้ 2 ล้านล้านบาท จะกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น และยังผิดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 ที่จะจ่ายเงินแผ่นดินได้ต้องจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน ฉะนั้น เพื่อไม่ให้การกู้เงินที่เป็นการใช้จ่ายเงินแผ่นดินผิดกฎหมายดังกล่าว ในร่างกฎหมายฉบับล่าสุดนี้จึงมีบทบัญญัติฟอกเงินกู้ทุกประเภทที่ไม่ต้องนำส่งคลังและใช้เป็นเงินนอกงบประมาณให้ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะไว้
     
       โดยในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ได้ตัดคำนิยาม “เงินแผ่นดิน” ออกไปจากร่างเดิมของกระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะถ้าคงคำนิยาม “เงินแผ่นดิน” ตามร่างเดิมไว้ เงินกู้ทุกประเภทรวมทั้ง 2 ล้านล้านบาทแม้จะไม่ต้องส่งคลัง แต่เป็นเงินนอกงบประมาณที่เป็นเงินแผ่นดินตามคำนิยาม การนำไปจ่ายต้องเป็นไปตามมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อตัดคำว่า “เงินแผ่นดิน” ในคำนิยามออกไปแล้ว จึงต้องตัดคำนี้ในทุกๆ มาตราออกตามไปด้วย โดยรายจ่ายจะบัญญัติไว้อย่างกำกวมและขัดต่อวินัยการคลัง ที่แก้ไขคำว่า “จ่ายเงินแผ่นดิน” เป็น “จ่ายเงินได้” แทนในมาตรา 17 เพื่อเปิดกว้างให้จ่ายได้ตามกฎหมายอื่น ที่จะเป็นกฎหมายทุกชนิด ทุกประเภทนอกเหนือกรอบวินัยตามมาตรา 169 บัญญัติไว้ ซึ่งทำให้กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไปเข้าข่ายจ่ายได้ตามกฎหมายอื่น
     
       ขณะเดียวกันยังมีการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับใหม่ในมาตรา 30 ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นความใหม่ที่เปิดกว้างยกเว้นไว้ จากร่างเดิมที่บัญญัติว่า การก่อหนี้สาธารณะและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เป็นการกู้ที่ผิดกรอบในการกู้นอกเหนือกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ เพราะไม่มีข้อยกเว้นให้กู้ได้เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งนี้ มาตรา 30 ระบุว่า “การกู้เงินนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะให้กระทรวงการคลังกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ...” ซึ่งการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทก็อ้างความจำเป็นดังกล่าวไว้เช่นกัน ดังนั้นความคิดในการใช้และร่างกฎหมายการคลังในระบบสองมาตรฐานก็จะเกิดขึ้น จึงต้องเขียนยกเว้นไว้ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ก็เพื่อให้กรณีการกู้เงินและการใช้จ่ายไม่ผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ เพราะกฎหมายการเงินการคลังของรัฐจะต้องตราขึ้นตามมาตรา 167 แห่งรัฐธรรมนูญ และถือเป็นกฎหมายกลางด้วย
     
       อย่างไรก็ตาม นายปรีชา ระบุว่า การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐฉบับนี้ ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ข้อยกเว้นที่ให้กระทำได้จึงยังไม่มีผลใดๆ ดังนั้นทุกกรณีที่ได้กระทำฝ่าฝืนไปแล้ว จึงเป็นความผิดแล้วทั้งสิ้น ซึ่งขณะนี้แม้รัฐบาลจะเขียนยังไงก็ไม่ทันแล้ว เพราะร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทได้เข้าสู่สภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ถือเป็นตัวสะท้อนถึงความกังวลของรัฐบาลต่อ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลก็รู้ดีแก่ใจอยู่แล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ
       

เส้นทางพรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน

เส้นทางพรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน

รายงานพิเศษ



พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านการรับหลักการหรือวาระแรกของสภา เข้าสู่การแปรญัตติของกรรมาธิการวิสามัญ จากนั้นรอสภาโหวตผ่านวาระ 2 และ 3 

ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา ที่ถูกจับตาว่าบรรยากาศอาจระอุไม่แพ้สภาล่าง 

ด้วยท่าทีของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ร่วมกับส.ส.ประชาธิปัตย์ยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความพ.ร.บ.ร่วม ทุน สกัดพ.ร.บ.กู้เงิน ชัดเจนว่าส.ว. กลุ่มดังกล่าวไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายนี้ 

เส้นทางของพ.ร.บ.กู้เงิน จึงต้องลุ้นหลายขยัก 

มีความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์และนักกฎหมาย มองการยื่นตีความและการออกพ.ร.บ.กู้เงิน ดังนี้



นันทวัฒน์ บรมานันท์
นิติศาสตร์ จุฬาฯ


การออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เป็นการกู้เงินที่มีความเหมาะสมแล้ว เนื่องจากเป็นการออก พ.ร.บ.เพื่อมากู้เงินโดยผ่านกลไกรัฐสภา ที่มีการตรวจสอบกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน 

ต้องมีการอภิปรายเพื่อแสดงความชัดเจนและจุดประสงค์ในการกู้เงิน และต้องมีการลงมติเพื่อให้ความเห็นชอบก่อน จนกว่าจะมีการลงมติ 

ถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำถูกต้อง แตกต่างกับ พ.ร.ก.เงินกู้สมัยที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล การออก พ.ร.ก.เพื่อมากู้เงินเท่ากับเป็นการมัดมือชก โดยไม่ผ่านรัฐสภา 

จะเห็นได้จากความล้มเหลวในการสร้างสถานีตำรวจของโครงการไทยเข้มแข็งที่กว่าจะพบว่ามีการทุจริต เวลาก็ผ่านมานานแล้ว

แม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่า ไม่มีความจำเป็นที่ต้องออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน ควรนำงบฯ นี้ไปอยู่ในงบประมาณแผ่นดิน แต่อยากให้เข้าใจว่าทุกวันนี้ระบบสาธารณูปโภคของประเทศไทยถือว่าเก่าและล้าหลังมาก ควรได้รับการพัฒนามาตั้งนานแล้ว 

เชื่อว่าคนไทยเองต้องยอมรับที่จะเป็นหนี้ เพราะการพัฒนาครั้งนี้เป็นการหวังผลในระยะยาว ตอนนี้อาจมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยและมีกระแสคัดค้านแต่หากการพัฒนาดังกล่าวเริ่มเป็นรูปธรรม สังคมจะยอมรับได้เอง 

แต่ขณะนี้ รัฐบาลต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าการกู้เงินครั้งนี้ มันคือการเปลี่ยนแปลงและปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของประเทศ เมื่อลงทุนไปแล้วมันจะอยู่กับประชาชนไปตลอดชีวิต

หาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่านรัฐสภามาได้ รัฐบาล ฝ่ายค้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ทุกภาคส่วนต่างมีหน้าที่ในการตรวจสอบ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาดเหมือนโครงการไทยเข้มแข็ง จึงต้องวางกฎเกณฑ์การตรวจสอบอย่างเป็นระบบ 

หลังจากที่กลุ่ม 40 ส.ว. เสนอประธานสภาให้ยื่นร่าง พ.ร.บ.ร่วมทุน ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามกฎหมาย กลุ่ม 40 ส.ว. สามารถยื่นได้ หากเห็นว่ามาตราใดในพ.ร.บ.ร่วมทุนขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ให้ศาลฯ ตีความว่า พ.ร.บ.ร่วมทุน ขัดต่อรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ 

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน เคยได้รับการแก้ไข เนื่องจาก พ.ร.บ.ร่วมทุนฉบับปี 2535 มีปัญหาเรื่องคำนิยามและรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน จึงได้รับการแก้ไข เสนอผ่านสภาเมื่อปี 2555 และกฤษฎีกามีมติเห็นชอบให้ใช้เป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญได้

ดังนั้น เชื่อว่า พ.ร.บ.ร่วมทุนนี้ ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง และเป็นคนละส่วนกับ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท 

เนื่องจากการกู้เงินครั้งนี้รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุน ดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยตัวเอง และไม่ได้ร่วมเป็นคู่สัญญากับบริษัทเอกชนใดทั้งสิ้น ประเด็นนี้ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลจะว่าจ้างบริษัทต่างๆ 

จึงไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ร่วมทุน



พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ 
เศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


ผมเห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะหางบประมาณเพื่อมาพัฒนาระบบคมนาคมทางราง ด้วยการออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพราะการออกเป็นร่าง พ.ร.บ.จะต้องผ่านการอภิปรายถกเถียงกันในรัฐสภา 

ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติได้ร่วมกันพิจารณา ฝ่ายค้านก็จะได้ทำหน้าที่ค้านกันอย่างเต็มที่ ประชาชนก็ได้รับประโยชน์จากการชมการถ่ายถอดสดตลอด 2 วัน ว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีข้อดีข้อเสียอย่างไร 

ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง อีกทั้งยังมีความเหมาะสมเนื่องจากโครงการดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลา 7 ปี 

ซึ่งต่างจากการออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี เพราะจะทำให้โครงการที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการหลายปีนี้สามารถถูกล้มเลิกได้ง่ายๆ หากเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ 

แม้ว่าการออกเป็น พ.ร.บ.สามารถล้มเลิกได้เช่นกัน แต่การดำเนินการก็ยังยุ่งยาก และซับซ้อนมากกว่าการออกเป็นงบประจำปี และยังดีกว่าการออกเป็น พ.ร.ก.ที่จะดูเป็นไปในลักษณะของการมัดมือชกมากเกินไป เนื่องจากวงเงินที่ต้องการกู้มีมูลค่าสูง 

เชื่อว่าถ้าเล่นกันในเกม ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้าน จะสามารถผ่านสภาได้อย่างแน่นอน ส่วนกลุ่มส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะมีจำนวนน้อย 

แต่ก็ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญว่าจะให้ไฟเขียว หรือไฟแดง จะปล่อยเรื่องนี้ผ่านไปหรือไม่ 

การนำกรณีการวินิจฉัยครั้งการกู้เงิน 3.5 แสนล้าน เพื่อนำมาบริหารจัดการเรื่องน้ำมาเทียบเคียงก็ยังไม่สามารถบอกอะไรได้ 

จะเอาผลการตี ความของกฤษฎีกา มายืนยันก็คงไม่ได้ เพราะกฤษฎีกาเป็นเพียงทีมทนายของ อำนาจฝ่ายบริหาร ไม่มีผลผูกพันกับอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ 

กล่าวคือหากเรื่องดังกล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็ ยังเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ เพราะขนาด พ.ร.ก.กู้เงินในโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลพรรรคประชาธิปัตย์ที่ แย่กว่านี้ก็ยังผ่านมาได้ 

การร้องตีความ พ.ร.บ.ร่วมทุนเพื่อสกัด พ.ร.บ.กู้เงิน ก็ปล่อยให้เขาทำไปแต่ผมมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่



วรากรณ์ สามโกเศศ 
นักเศรษฐศาสตร์


ที่เป็นข้อถกเถียงคือ การออก พ.ร.บ.ที่ผ่านการอนุมัติครั้งเดียวแต่ผูกพันไปถึง 7 ปี การนำงบนี้ใส่ไว้ในงบประมาณทำให้มีการตรวจสอบได้ครั้งเดียว ทำไมไม่แยกทำรายปี 

รัฐบาลชี้แจงว่ากลัวจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงการเมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาแล้วไม่ยอมสานต่อโครงการ ซึ่งไม่ใช่เหตุผลเพราะ พ.ร.บ.ยกเลิกได้ตลอดเวลา รัฐบาลใหม่เข้ามาใช้เสียงข้างมากก็ยกเลิกพ.ร.บ.ได้ ทำ ให้โครงการหยุดชะงักได้เช่นกัน 

แต่ปกติการออกกฎหมายก็จะออกเป็น พ.ร.บ. จะได้ช่วยกันดูได้หลายฝ่าย มีหลากหลายมุมมอง ช่วยดูกันหลายตา การออก พ.ร.บ.จึงเป็นการเริ่มที่ ศูนย์ หนึ่ง สอง สาม สี่ 

ขณะที่การออกพ.ร.ก.มีแค่หนึ่ง กับศูนย์ คือ ผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะ พ.ร.ก.ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยที่สภาไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย รัฐบาลออกพ.ร.ก.ก็นำไปใช้ ได้เลย ไม่ต้องแปรญัตติ ไม่ต้องถกเถียง 

อีกทั้งการกู้เงินถึง 2 ล้านล้านบาท ออกเป็น พ.ร.ก.คงไม่มีใครกล้าทำ เพราะออกพ.ร.ก.ต้องเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่การออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน รัฐบาลเขียนชัดเจนว่า 7 ปี ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน 

ประเด็นที่เราไม่ค่อยพูดถึงคือ โครงการใหญ่ๆ ไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง ทั้งหมดแต่อาจเป็นลักษณะของการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกับเอกชน หรือให้เอกชนลงทุน 

ที่ต้องระวังคือ โครงการที่ทำจะกลายเป็นช้างเผือกที่นอนอยู่กลางแดด เหมือนกับการสร้างสเตเดี้ยมแข่งกีฬาโอลิมปิก จบการแข่งขันก็ไม่มีคนใช้งาน จึงอยากให้มองเรื่องของความคุ้มค่า 

เช่น มีรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดินเท่าที่มีอยู่ตอนนี้คนแน่นเกือบทั้งวัน ถามว่าหากทำพร้อมกัน 10 สาย จะแน่นแฉพาะช่วงเย็นหรือเปล่า 

และการใช้เงินของคนทั้งประเทศมาพัฒนาจุดเดียว ขณะที่เมืองอื่นๆ อาจจะ อยากได้ระบบเขื่อน ระบบน้ำ หรือด้านสาธารณสุข แต่อย่างไรก็เห็นว่าควรออก เป็น พ.ร.บ. 

ส่วนการยื่นตีความคงต้องรอให้สภาผ่านร่าง พ.ร.บ.ออกมาก่อน เพราะต้องมีขั้นตอนการแปรญัตติ ต้องดูร่างที่ผ่านการโหวต 3 วาระออกมาแล้ว ถ้ารีบยื่นก็ดูผิดปกติ

อภิมหาโปรเจคท์ พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน รัฐบาลจะนำไปใช้อะไรบ้าง

         สภาผู้แทนราษฎร จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.เงินกู้2.2 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลจะนำร่างเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณากันต่อไป แต่ร่างพ.ร.บ.นี้ก็กำลังถูกหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆนานา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความเหมาะสมและการคอรัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

         การกู้เงินจำนวนมหาศาล 2.2 ล้านล้านบาทครั้งนี้ จะทำให้การใช้หนี้คืนต้องใช้เวลานานมากอาจจะเป็นเวลาถึง 50 ปี หรือ 100 ปีก็ได้ จึงเป็นผลกระทบต่อทั้งตัวเราและลูกหลานของเราอีกด้วยซึ่งในเรื่องของความเหมาะสมโดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ฝ่ายค้านชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโครงการนี้จะไม่ได้ผลดีตามที่คาดหวัง เพราะโครงการไม่ต่อเชื่อมกับรางของต่างประเทศแต่อย่างไร เป็นการเสี่ยงต่อการล้มเหลวเพราะกิจการอาจจะขาดทุนอย่างบักโกรกเสียอีกด้วยซ้ำไป ซึ่งจะตกเป็นภาระให้ประชาชนไทยรุ่นต่อๆไปต้องรับกรรมอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไปตามกัน นอกเหนือจากการที่มีช่องทางทุจริตกันอย่างขนานใหญ่อีกด้วย
         อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ฝ่ายค้านโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านก็ยอมรับบนเวทีผ่าความจริงแล้วว่า ฝ่ายค้านไม่สามารถต้านการออกพ.ร.บ.นี้ได้อย่างแน่นอน เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็จะใช้เสียงข้างมากในสภาเอาชนะจนได้ ดังนั้น นายอภิสิทธิ์จึงเอ่ยปากขอร้องให้ประชาชนช่วยกันออกมาต่อต้านการออกพ.ร.บ.นี้ด้วย แต่เสียงชักชวนของนายอภิสิทธิ์ก็ดูเหมือนจะยังไม่ทั่วถึงประชาชนสักเท่าไรเลย
         สำหรับการชี้แจงของรัฐบาลนั้น ได้จัดนิทัศน์การไปแล้ว ดังที่ผมคัดลอกมาจากเว็บไซต์Kapook.com เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านแล้วใช้วิจารณญาณพิจารณากันคร่าวๆอีกด้านหนึ่งก่อนครับ หากเห็นว่ารัฐบาลยังชี้แจงไม่ละเอียดพอก็ช่วยกันคัดค้านด้วยก็แล้วกัน เพราะขณะนี้รัฐบาลก็ยังมิได้ทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันยังไม่มีรายละเอียดของโครงการอย่างเพียงพอนอีกด้วย
         อย่าลืมว่าเมื่อรัฐบาลลงมือกู้แล้วแต่ยังไม่ลงมือทำอะไร ดอกเบี้ยมันก็จะเบ่งบานขึ้นมาด้วยแล้วนะครับ.


อภิมหาโปรเจคท์ พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน รัฐบาลจะนำไปใช้อะไรบ้าง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


**
             เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่อลังการสำหรับนิทรรศการ "THAILAND 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การลงทุนของประชาชน...เพื่อประชาชน" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2556 ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท แผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ รวมไปถึงการบริหารจัดการโครงการเครือข่ายต่าง ๆ

             ทั้งนี้ ทางหลายคนคงอยากทราบว่า วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท ของ พ.ร.บ. กู้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น ทางรัฐบาลจะนำเงินในส่วนนี้ ไปใช้จ่ายเรื่องใดบ้าง โดยวันนี้เราได้นำข้อมูลจาก กระทรวงคมนาคม ที่ได้แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่จะดำเนินการในวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท มาให้ได้ทราบกัน

             รายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว 7 ปี (ปี 2556-2563) กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย 3 ด้านสำคัญ ดังนี้

 ด้านที่ 1 : การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและเพื่อนบ้าน แบ่งออกเป็น 3 โครงข่าย คือ

โครงข่ายถนน
**

             เร่งพัฒนาระบบขนส่งทางถนน อาทิ เร่งสร้างโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) อีก 5 สายทาง คือ

             บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา
             บางปะอิน-นครสวรรค์
             บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี
             นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ
             ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด

            รวมไปถึงการก่อสร้างทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและขนส่งสินค้า




โครงข่ายรถไฟ
**

             เร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งทางราง ตามแผนการลงทุนระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2553-2558 ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาให้ระบบรถไฟเป็นระบบหลักในการขนส่งสินค้า ระหว่างพื้นที่ผลิตภายในประเทศกับท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่าย, รูปแบบการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
 
             รวมไปถึงโครงการจัดทำระบบรถไฟรางคู่ และรถไฟสายใหม่ คือ
    
              บ้านไผ่-มหาสารคาม-มุกดาหาร
              อรัญประเทศ-ปอยเปต
              ท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน

             นอกจากนี้ ยังเตรียมการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค

โครงข่ายขนส่งมวลชน
**

           โครงข่ายนี้จะเน้นเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะเร่งปรับปรุงให้ครอบคลุมพื้นที่บริการเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับการขยายตัวของเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 ด้านที่ 2 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศ

            เร่งขยายขีดความสามารถและคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ทันสมัย สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจากปีละ 45 ล้านคน เป็น 60 ล้านคน ตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2




 ด้านที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและเป็นประตูการขนส่งของอนุภูมิภาค

           เร่งพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นประตูการขนส่งสู่ท่าเรือหลักต่าง ๆ ของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของท่าเรือหลักในภูมิภาคอาเซียน  รวมถึงพัฒนาระบบขนส่งชายฝั่งเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง และการสร้างท่าเรือใหม่ในฝั่งอันดามัน เพื่อรองรับการค้ากับอินเดีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา และยุโรป เช่น ท่าเทียบเรือชายฝั่ง ท่าเรือชุมพร ท่าเรือน้ำลึกสงขลา และการศึกษาก่อสร้างท่าเรือปากบารา

      

สำหรับกรอบแผนการลงทุนเบื้องต้นนั้น ทางกระทรวงคมนาคมได้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย


1. ทางราง สัดส่วน 82.5 % ราว 1.6 ล้านล้านบาท

        โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมที่ได้ประกาศไว้กับรัฐสภา 4 เส้นทาง คือ ไฮสปีดเทรน รวมทั้งรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ส่วนรถไฟรางคู่ ได้เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, บ้านภาชี-นครหลวง, บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม



         สำหรับ รถไฟฟ้า 10 เส้นทาง มีดังต่อไปนี้

          1.รถไฟสายชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต – มหาชัย)  
          2. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก)
          3. Airport Rail Link (สนามบินดอนเมือง – สนามบินสุวรรณภูมิ)
          4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา - บางปู)
          5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส - บางหว้า)
          6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – หัวลำโพง, ท่าพระ -  พุทธมณฑล สาย 4)
          7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ)
          8. รถไฟฟ้าสายสีส้ม (จรัญสนิทวงศ์ - มีนบุรี)
          9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี)
         10. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง)

2. ทางถนน สัดส่วน 15% ราว 3.2 แสนล้านบาท

        ทางรัฐบาลจะปรับยุทธศาสตร์ให้เน้นขยายถนน 4 ช่องทางในสายทางหลัก ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและภูมิภาคต่าง ๆ 

3. ทางน้ำ สัดส่วน 1.5 % ราว 2.2 หมื่นล้านบาท

        เตรียมสร้างท่าเรือเพิ่ม 3 แห่ง คือ ท่าเรือสงขลา, ท่าเรือชุมพร และท่าเรือปากบารา

 4. ทางอากาศ (ลงทุนโดยบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน)

 5. ส่วนอื่น ๆ สัดส่วน 1%

        เป็นตั้งงบไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด นอกจากนี้เงินจำนวนดังกล่าว ยังเตรียมสร้างศูนย์กระจายสินค้าเพิ่ม 15 แห่งทั่วประเทศ และด่านศุลกากร อีกด้วย