PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

วีระ จี้ต่อลูกชายน้องนายกฯ

ายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ได้โพสต์ความเห็นลงเฟซบุ๊ก “Veera Somkwamkid” เมื่อวันที่ 21 ก.ย. กรณีกระแสอื้อฉาวการรับงานของกองทัพภาคที่สามของลูกชายปลัดกระทรวงกลาโหม โดยนายวีระ ระบุว่า ข้อมูลฉาวถูกเปิดโปงทุกวัน จะไม่ให้เกิดความกังขา สงสัย พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา กรณีอาจจะมีการที่ใช้อำนาจหน้าที่ เอื้อประโยชน์โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ช่วยให้หจก.ของบุตรชายได้รับเหมางานก่อสร้างของกองทัพภาคที่ 3

ถ้าทำทุกต้องโปร่งใส ก็เปิดแถลงข่าว เอาหลักฐานออกมายืนยัน มีผู้รับเหมากี่รายที่เข้าประมูลงาน บริษัทอะไรบ้าง ชนะประมูลงานด้วยเงินหลักพันบาทจริงหรือไม่ งานรับเหมาเกือบทั้งหมดกับกองทัพภาคที่ 3 เกิดขึ้นระหว่าง เดือนธันวาคม 2557 ถึงเดือนสิงหาคม 2559 ช่วงที่พล.อ.ปรีชา เรืองอำนาจในกองทัพบก จะมีคำตอบอย่างไร คุณเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องถูกตรวจสอบได้ ไม่มีใครไปกลั่นแกล้ง หรือไปสร้างเรื่องทั้งหมดแทนคุณและครอบครัวได้ คุณและครอบครัวทำเรื่องขึ้นเองทั้งสิ้น

“วีระ สมความคิด เป็นเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน(คปต.) มีหน้าที่ช่วยเหลือราชการต้านภัยคอร์รัปชัน ไม่ได้รู้จักหรือเกลียดชังคนในตระกูลใดทั้งสิ้น ผู้ใดเข้ามาใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐ เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง วีระจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่วีระจะไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้ามาใช้อำนาจหน้าที่กอบโกยทุจริตคอร์รัปชัน การทำงานจะยึดหลักช่วยปกป้องรักษาผลประโยชน์ให้กับรัฐ(ราชการ) ไม่ปกป้องคนชั่ว คนเลว คนโกง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่สุจริตจะไม่เดือดร้อนเสียหายจากการทำหน้าที่ของวีระทั้งสิ้น” นายวีระ ระบุ

ทูตสหรัฐฯ Gyn Davies พอใจ ประชามติร่างรธน. ระบุ" Free and Fair " ชื่นชม บิ๊กตู่

ทูตสหรัฐฯ Gyn Davies พอใจ ประชามติร่างรธน. ระบุ" Free and Fair " ชื่นชม บิ๊กตู่ ที่UNGA
Gyn Davies เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา พบ พลเอกประวิตร ที่กลาโหม พร้อมเผยว่า ได้หารือ ประเด็น ที่จะประชุม รมว.กลาโหม US-Asean ,ADMM ที่ Honolulu ,Hawaii ของสหรัฐฯ จะคุยเรื่องความมั่นคงในภูมิภาค และการต่อต้าน ก่อการร้าย พวกExtremist และ อาจพบหารือ กับ รมว.กลาโหม สหรัฐ แบบส่วนตัว หากมีโอกาส
และคุยความร่วมมือ ด้านการฝึกร่วม ด้านต่างๆ การแพทย์ทหาร การค้ามนุษย ที่ต้องพยายามกันต่อไป อย่างจริงจัง เพราะเป็น Global issue พอใจการทำงานหนักของ จนท.ไทย ในการปราบปรามการค้ามนุษย์ แต่อยากให้เน้น เรื่องการคุ้มครองพยาน และการ นำตัวคนผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม
และ พอใจการลงประชามติที่ผ่านมา ระบุ free and fair ยันจุดยืนUSไม่เปลี่ยนหวังไทย Strong and free เดินตามroad mapสู่เลือกตั้ง สู่ปชต. เขื่อมั่นว่า ไทยจะมีเลือกตี้ง ในปลายปี2560 ตามที่กำหนด
รวมทั้ง ชื่นชม ที่นายกฯ พลเอกประยุทธ์ ไปกล่าวถ้อยแถลง ที่UNGA ในเรื่องผู้ลี้ภัย เพราะเป็นบทบาทสำคัญของไทย

บิ๊กป้อม ชี้ ส่ง"รมช." ลงใต้ เป็น "ครม.ส่วนหน้า" แต่ไม่ปฏิเสธข่าวจะส่ง บิ๊กโด่ง พล.อ.อุดมเดช ลงไป

บิ๊กป้อม ชี้ ส่ง"รมช." ลงใต้ เป็น "ครม.ส่วนหน้า" แต่ไม่ปฏิเสธข่าวจะส่ง บิ๊กโด่ง พล.อ.อุดมเดช ลงไป แต่บอกจำไม่ได้ แต่ส่ง"รมช."ลงไป /ส่วนการปรับครม.และบิ๊กหมู พลเอกธีรชัย ผบทบ. ที่จะเกษียณ จะได้เป็นอะไรมั้ย นั้น ต้องถามนายกฯ/ประชุมสภากห. ขอบคุณ ผบ.เหล่าทัพ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนหน้าทำหน้าที่ประสานงานการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า มีการคาดเดาชื่อกันไปซึ่งยังไม่มีอะไร เพราะสื่อก็คาดเดาและแต่งตั้งให้ทุกวัน
โดย หัวหน้าทีม ก็มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วย แต่จะมีใครบ้าง จำไม่ได
เมื่อถามย้ำว่า พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม เหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าทีม ครม.ส่วนหน้าหรือไม่ เพราะเป็นอดีตผบ.ทบ. พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่ทราบ และจำไม่ได้เพราะความจำ ผมไม่ค่อยดี
ส่วนผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่เกษียณอายุราชการ เช่น พลเอกธีรชัย ผบ.ทบ.จะร่วม ครม.หรือไม่ นั่น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ยังมีหน้าที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อยู่ ต้องดูว่ามีตำแหน่งอะไรที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะไม่ใช่แต่งตั้งได้เรื่อยเปื่อย
สำหรับเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรีนั้นต้องถาม พล.อ.ประยุทธ์
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมสภากลาโหม โดยมีผู้บัญชาการเหล่าทัพเข้าร่วมประชุมว่า ถือเป็นการประชุมนัดสุดท้ายก่อนที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพจะเกษียณอายุราชการ ทั้ง ปลัดกห. ผบ.สส.ผบ.ทบ.และ ผบ.ทอ.
พลเอกประวิตร กล่าวว่า ต้องขอบคุณผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ช่วยดูแลกำลังพลให้มีความเรียบร้อย และช่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล โดยการทำงาน 1 ปีที่ผ่านมากับผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผมมีความประทับใจทุกอย่าง เพราะสั่งการอะไรลงไปทางผู้บัญชาการเหล่าทัพก็ดำเนินการให้เป็นอย่างดีและไม่มีปัญหา

สถานะ 11 คดี‘ยิ่งลักษณ์’ในชั้น ป.ป.ช. วิบากกรรมหลังสู้คดีข้าว-ชดใช้ 3.5 หมื่นล.

เปิดสถานะ 11 คดี ‘ยิ่งลักษณ์’ ในชั้นการไต่สวน ป.ป.ช. สารพัดข้อกล่าวหา ไม่ปฏิบัติตามมติ ป.ป.ช. เปิดเผยราคากลาง-พิรุธโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน-ปล่อย ‘ทักษิณ’ จ้อสด ‘มวยมาเก๊า’-ไม่สอบข้อเท็จจริง ‘จารุพงศ์’ ปราศรัยแยกประเทศ ตีตก 2 คดี ย้าย 'พล.อ.เสถียร' พ้นปลัด กห.-ใช้งบกลางประกันผู้ชุมนุมทางการเมือง ก่อนล่าสุดระบายน้ำทำท่วมใหญ่ปี’54
PIC yingluck 23 9 59 1
ยังคงเหลือวิบากกรรมอีกเยอะ !
สำหรับ ‘นารีขี่ม้าขาว’ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ส่งทนายความมายื่นขอคัดค้านการแต่งตั้ง น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และนายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ที่เข้าไปนั่งเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง ในคดีต่าง ๆ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลายคดี โดยเห็นว่า ทั้งสองรายเป็นคู่ขัดแย้ง
ซึ่งการมายื่นคราวนี้นับเป็นครั้งที่ 8 แล้ว เพราะ 7 ครั้งแรก คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติตีตกคำคัดค้านดังกล่าวทั้งหมด
ขณะเดียวกันทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังเปิดเผยด้วยว่า ปัจจุบันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รวมแล้วถึง 15 คดี 
คำถามสำคัญคือ มีคดีอะไรบ้างที่ถือเป็น ‘ชนัก’ ติดหลัง ‘นารีขี่ม้าขาว’ อยู่ นอกเหนือจากคดีละเว้นไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ที่ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบฐานข้อมูลจากสำนักงาน ป.ป.ช. พบว่ามีอย่างน้อย 11 คดี (เท่าที่ตรวจสอบพบ) ปรากฏชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ถูกกล่าวหา ดังนี้
หนึ่ง คดีละเลยเพิกเฉยไม่สั่งการหน่วยงานรัฐให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ที่ให้เปิดเผยรายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อกล่าวหา มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติ ของกฎหมาย คือ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 103/7 โดยเมื่อคณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างฯ มีผลในวันที่ 11 ส.ค. 2556 ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน ละเลยเพิกเฉยยังไม่ดำเนินการ โดยผู้ถูกกล่าวหาทราบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว แต่ละเว้นไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้สรุปข้อเท็จจริง และเตรียมส่งที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาลงมติ
สอง คดี พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำฯ ที่ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 3.2 แสนล้านบาท ทั้งที่ใกล้หมดเวลากู้เงิน
ข้อกล่าวหา ขอให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญฯ ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาออกจากตำแหน่ง เนื่องจาก มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 ขัดต่อพระราชกำหนดให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 มาตรา 3 โดยเมื่อ วันที่ 27 มิ.ย. 56 กระทรวงการคลัง โดยอนุมัติของ คณะรัฐมนตรี ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารออมสิน, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม 324,606 ล้านบาท หรือจำนวนวงเงินกว่าร้อยละเก้าสิบ ของวงเงินทั้งหมดภายในวันเดียวกัน และเป็นการดำเนินการ ในห้วงเวลาที่ใกล้สิ้นกำหนดระยะเวลากู้เงินตามพระราชกำหนดฯ เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและเลี่ยงกำหนดระยะเวลากู้เงินที่ พระราชกำหนดฯ บังคับไว้ อีกทั้งปรากฏว่ามีการกู้เงิน หลังจากวันที่ 30 มิ.ย. 2556 จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2556 อีก 2 ครั้ง วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจงใจ ใช้อำนาจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดฯ
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน แจ้งเรื่องเกี่ยวกับปรับเปลี่ยนคณะอนุกรรมการไต่สวนฯชุดใหม่
สาม คดีไม่ยอมรับข้อเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ให้หน่วยงานรัฐเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ขัด พ.ร.บ.ป.ป.ช.
ข้อกล่าวหา ขอให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญฯ ถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย โดยในวันที่ 1 ส.ค. 2554 ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ได้ทำหนังสือ ถึง นายกรัฐมนตรี เรื่อง การให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลาง และการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม พร้อมแนบรายงานซึ่งเป็นรูปแบบดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดฯ ไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าตรวจดูได้ และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2554 มาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง 
โดยผู้ถูกกล่าวหารวมทั้งคณะรัฐมนตรี มีมติไม่รับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และไม่สั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง แต่ประการใด จนเป็นมูลเหตุให้มีการทุจริตกันหลายโครงการ และเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนเป็นอย่างมาก
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน และสอบปากคำพยานบุคคล
สี่ คดีละเว้นไม่ลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา กรณี รมว.มหาดไทย กับพวกปราศรัยรุนแรง-แบ่งแยกประเทศ
ข้อกล่าวหา นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย (ขณะนั้น) กับแกนนำ นปช. ได้ร่วมกันจัดเวทีปราศรัยที่อาคารลิปตพัลลภฮอลล์ ในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ชื่อว่า “นปช. ลั่นกลองรบ” ได้กล่าวปราศรัยในลักษณะยุยงให้ใช้ความรุนแรง ให้จัดตั้งกองกำลังของกลุ่มคนเสื้อแดง ข่มขู่องค์กรอิสระ ศาล ยุยงให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้มีการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทยออกเป็นสองส่วน จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติ ประชาชน และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจสั่งยับยั้งและสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการได้ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามสื่อมวลชนว่ามีการกระทำการดังกล่าวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายเกิดขึ้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี กลับไม่ดำเนินการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงใด ๆ
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้สรุปข้อเท็จจริง และเตรียมส่งที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาลงมติ
ห้า คดีประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ช่วงม็อบ กปปส. โดยมิชอบ
ข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร่วมกับคณะรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยออกประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ฉบับ ลว. 31 ก.ค. 2556 ในพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพฯ (ช่วงม็อบ กปปส.) โดยอาศัย อำนาจตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 15 โดยมีพฤติการณ์การกระทำที่ น่าเชื่อว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่สอดคล้องกับเหตุผล ท้ายพระราชบัญญัติ รวมทั้งยังเป็นประกาศที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 63 และผลของการประกาศดังกล่าวยังทำให้รัฐ เสียหายจากงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 175 ล้านบาท 
และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยออกประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ฉบับ ลว. 9 ต.ค. 2556 และฉบับ ลว. 18 ต.ค. 2556 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 15 โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย โดยมีพฤติการณ์ส่อว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจหรือดุลพินิจ ในลักษณะบิดเบือนและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของกฎหมาย กระทำการเกินกว่าเหตุ เกินความจำเป็น และความสมควรแก่กรณี ทั้งยังเป็นการโต้แย้งสิทธิ และละเมิดสิทธิและเสรีภาพฯ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 63
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน
หก คดีไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กรณีออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท
ข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับพวกรวม 4 ราย ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะ การไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง ในโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้าง ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนฯ ภายใต้ พรก. ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อการวางระบบ บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท โดยได้ให้กลุ่มบริษัทเอกชนต่าง ๆ มายื่นข้อเสนอฯ ตามแผนงาน จำนวน 10 โมดูล (Module) และได้ประกาศผลผู้ชนะในวันที่ 10 มิ.ย. 56 และได้นำเรื่องเข้าสู่ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 56 ปรากฏตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 940/2556 คดีหมายเลขแดงที่ 1025/2556 ลว. 27 มิ.ย. 56
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน แจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ
เจ็ด คดีลงมติเห็นชอบ พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำฯ 3.5 แสนล้านบาท ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ
ข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี และ ส.ส. ที่ลงมติเห็นชอบ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในการตราพระราชกำหนด เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 55 และลงมติเห็นชอบพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 จำนวน 350,000 ล้านบาท โดยไม่มีการชี้แจงรายละเอียดการใช้จ่ายเงิน และบทบัญญัติมาตรา 3 และมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว บัญญัติให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้ยืมเงิน จำนวน 350,000 ล้านบาท และสามารถนำไป ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง ตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง อันเป็นการฝ่าฝืน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน แจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ
แปด คดีไม่ได้ศึกษารายละเอียดการก่อสร้างตามแผนบริหารจัดการน้ำ เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง
ข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับพวกรวม 14 ราย ขอให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญฯ ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 - 15 ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติการณ์กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กระทำการโดยทุจริต และใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย
โดย 1. ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์ เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2554 ลว. 10 พ.ย. 54 และกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการฯ โดยมิได้มีการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์สอดคล้องระหว่าง โครงการลงทุนต่าง ๆ และความเป็นไปได้ ทางเทคนิค ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วนเพียงพอ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในเขต พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างรุนแรง ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 57 และมาตรา 67 และ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 40 มาตรา 47 และมาตรา 48 ปรากฏตาม คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 940/2556 ลว. 27 มิ.ย. 56 
2. ไม่ได้กระทำการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103/7 ในการดำเนินโครงการ จ้างออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารทรัพยากรน้ำฯ 3. ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อมิให้มีการแข่งขันราคากัน อย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอราคารายใด รายหนึ่งให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาฯ พ.ศ.2542 มาตรา 12
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน แจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ
เก้า คดีปล่อยให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน ‘มวยมาเก๊า’ โดยมิชอบ
ข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับพวกรวม 3 ราย ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อนุญาตให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยแพร่ภาพและเสียง รายการ "œมวยไทยวอริเออร์ส" ซึ่งจัดที่เขตปกครองพิเศษมาเก๊า โดยมีเจตนาแพร่ภาพการกล่าวเปิดงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่มีลักษณะที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน อยู่ระหว่างสอบปากคำพยานบุคคล
สิบ คดีจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองโดยมิชอบ
ข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี กับพวก ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง (ตั้งแต่ปลายปี 48 - เดือน พ.ค.53) รอบแรก จำนวน 524 ราย วงเงินรวม 577 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 55 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 55 และวันที่ 6 มี.ค. 55 อันเป็นการออกระเบียบและกฎเกณฑ์ ขึ้นใหม่ เพื่อที่จะใช้บังคับกับกรณีนี้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งการออกมติดังกล่าวยังไม่มีกฎหมาย กฎกระทรวง หรือหลักเกณฑ์มาตรฐานรองรับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนผลประโยชน์แก่พวกพ้อง เป็นหลัก
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน แจ้งข้อกล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหามาให้ถ้อยคำเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณาสรุปคดีของคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ
สิบเอ็ด คดีรับผิดชอบการระบายน้ำเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554
ข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับพวก มีพฤติการณ์ร่วมกันกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น กรณีมีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบในการเก็บกัก ควบคุม ระบาย หรือบริหารจัดการน้ำ เป็นเหตุให้เกิดมหาอุถกภัยในปี 2554 
ขั้นตอนการดำเนินการปัจจุบัน แจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ
นี่ยังไม่นับอีก 2 คดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติตีตกข้อกล่าวหาของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ได้แก่
หนึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี กรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติต่อหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตกรณีจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีอาญา โดยใช้งบกลาง 120 ล้านบาท มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่าง เพื่อใช้เป็นหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราว
สอง น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เพิกไม่ดำเนินการไต่สวน กรณีมีหนังสือร้องทุกข์ของปลัดกระทรวงกลาโหมและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ขณะนั้น) ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งที่ทราบดีว่า พล.อ.อ.สุกำพล เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม 
ทั้งหมดคือคดีความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เท่าที่สืบค้นเจอในชั้นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งหมด 13 คดี อยู่ระหว่างการไต่สวน 11 คดี ตีตกไปแล้ว 2 คดี 
หากพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินการของ ป.ป.ช. จะเห็นได้ว่า มีหลายคดีที่ ‘งวด’ ใกล้เสร็จสิ้น หรือบางคดีได้สรุปสำนวนรอส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาลงมติแล้ว ดังนั้นต้องรอดูว่าจะมีมติออกมาในรูปแบบใด
นี่ยังไม่นับคดีละเว้นไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการไต่สวนพยานฝ่ายจำเลย และกรณีต้องชดใช้ความเสียหาย ตามความรับผิดทางละเมิด ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง กระทรวงการคลัง พิจารณา โดยมีการเปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท
นับว่ายังเหลืออีกหลาย ‘วิบากกรรม’ ของ ‘นารีขี่ม้าขาว’ ที่ต้องเผชิญ ไม่แพ้ช่วงที่ ‘พี่ชาย’ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี !

ผิดคาด ศาลร่นไต่สวนถอนประกัน 5 เกลอ 3 ต.ค.ลุ้นจนปรี๊ดขึ้นสมอง !!

ผิดคาด ศาลร่นไต่สวนถอนประกัน 5 เกลอ 3 ต.ค.ลุ้นจนปรี๊ดขึ้นสมอง !!
        เมืองไทย 360 องศา 
       
       อาจเรียกว่าผิดคาดได้เหมือนกันสำหรับกรณีที่ศาลอาญาร่นเวลานัดไต่สวนเพื่อพิจารณาคำร้องขอถอนการประกันตัวชั่วคราวของ 5 แกนนำ นปช. อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เหวง โตจิราการ และ นิสิต สินธุไพร โดยศาลนัดวันที่ 3 ตุลาคม 2559 จากเดิมเคยกำหนดเอาไว้ในวันที่ 18 มกราคม 2560 โดยพวกเขาถูกดำเนินคดีในข้อหาก่อการร้าย 
       
       สำหรับสาเหตุการยื่นคำร้องขอเพิกถอนประกันในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากมีการระบุว่า บรรดาคนพวกนี้กระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) และทางอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาว่า 5 แกนนำ นปช. มีพฤติกรรมและการกระทำผิดเงื่อนไขการให้ประกันตัวชั่วคราวหลายกรรมหลายวาระ มีการเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ จนเป็นเหตุให้ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าว
       
       จตุพร พรหมพันธุ์ เปิดเผยว่า ในคำร้องอ้างเหตุการณ์กระทำที่ผิดเงื่อนไขการประกันตัวใน 3 กรณี ประกอบด้วย มีการพูดประชดประชันรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการคุกคามกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น และดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นให้เสื่อมเสีย หรือหวั่นเกรงให้เกิดอันตราย โดยพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นการปลุกปั่น ยั่วยุ ปลุกระดมก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง
       
       โดยข้ออ้างการพูดประชดประชันรัฐบาล คสช. ในคำร้องระบุว่า เขาพูดเสียดสี ไม่พอใจ ประชดประชัน เบี่ยงเบน บิดเบือน การปฏิบัติหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในกรณีก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ที่ส่อให้เกิดความคลางแคลงใจกับการเรียกจ่ายค่าหัวคิวจากเงินบริจาค รัฐบาลเพิกเฉย ถ่วงรั้งมติของมหาเถรสมาคมในการแต่งตั้งสังฆราชองค์ใหม่
       
       นอกจากนี้ คำร้องยังอ้างคำพูดดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นมายื่นถอนประกันด้วย โดยอ้างว่า ดูหมิ่นพุทธะอิสระ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ที่รับผิดชอบการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ดูหมิ่น พล.ต.จุลเจิม ยุคล ที่เสนอให้ใช้ผู้หญิงโคโยตี้เข้าสลายม็อบพระ และยังดูหมิ่น พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคณะสงฆ์ปี 2535 กรณีไม่เสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช
       
       “ในคำร้องขอให้เพิกถอนการประกันตัวชั่วคราว กล่าวโดยรวมว่า แกนนำ นปช. ทั้ง 5 คน ได้กล่าวใส่ความ ให้ร้ายผู้อื่น ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และได้เผยแพร่ต่อสาธารณะ แสดงเพื่อก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร เป็นการละเมิด กระทบสิทธิ์ หรือหน้าที่ของบุคคลหรือหน่วยงานรัฐ จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการให้ประกันตัวชั่วคราวของศาล”
       
       นั่นเป็นคำร้องของอัยการที่ระบุถึงพฤติกรรมและคำพูดของ จตุพร พรหมพันธุ์ กับพวกที่ถูกระบุว่า กระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล ซึ่ง จตุพร นำมาเปิดเผยให้ทราบ และยืนยันว่า คำพูดแบบนี้ หรือพฤติกรรมที่ผ่านมาไม่ได้ผิดเงื่อนไข โดยเขาอ้างว่าเป็นแค่เพียง “วิพากษ์วิจารณ์” รัฐบาล และผู้นำรัฐบาลและผู้นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติเท่านั้น
       
       ความหมายก็คือคนพวกนี้ซึ่งอ้างตัวเองว่าเป็น “นักประชาธิปไตย” อ้างว่า จะต่อสู้และพิทักษ์รักษาประชาธิปไตยด้วยชีวิต ยืนยันว่า ไม่กลัวติดคุก และพร้อมที่จะพิสูจน์ความจริง ไม่หลบหนีไปไหน แม้ว่าการยื่นคำร้องขอถอนประกันพวกเขาในครั้งนี้จะทำ “เป็นกระบวนการ” มีเจตนาเพื่อทำลายปิดปากด้วยการจับขังคุก
       
       แน่นอนว่า พวกเขาไม่ยอมรับว่าพฤติกรรมการที่ผ่าน ๆ มา ไม่ใช่เป็นก่อกวนยุยง ปลุกระดมดูหมิ่นผู้อื่น ไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขของศาลในการให้ปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ที่พวกเขาจะเชื่อแบบนั้น เหมือนกับที่พวกเขาเชื่อว่าพฤติกรรมในอดีตเป็นพฤติกรรมแบบ “ประชาธิปไตย” เหมือนกับการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรม ว่า “สองมาตรฐาน” จ้องเล่นงานแต่พวกเขา แต่ที่ผ่านมามีหลายคดีที่ฝ่ายตรงข้ามถูกศาลตัดสินจำคุก คนพวกนี้ก็เงียบไม่ยอมกล่าวถึง
       
       ดังนั้น กรณีที่เกิดขึ้นแบบนี้มองอีกมุมหนึ่งมันก็ดีเหมือนกันว่าทุกอย่างปล่อยให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามพยานหลักฐานว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ จะได้ไม่ต้องถกเถียงกันให้วุ่นวาย เพราะไม่ว่าฝ่ายไหน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) อัยการยื่นคำร้องกล่าวหาอย่างไรก็ตาม แต่ฝ่ายที่ชี้ขาด คือ ศาลที่จะต้องมีการไต่สวนพยานหลักฐานทั้งหมดว่าจริงหรือไม่จริง ถือว่าเป็นข้อยุติที่ดีที่สุด
       
       อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องพิจารณากันในตอนนี้ ก็คือ พวกนักประชาธิไตยพวกนี้ “กลัวติดคุก” จนเก็บอาการไม่อยู่ เพราะขนาดถึงใกล้ถึงวันไต่สวนพิสูจน์ความจริงในศาลว่าได้กระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ พวกเขาโดยเฉพาะ จตุพร พรหมพันธุ์ ยังไม่วายกล่าวหาคนอื่นในทำนองว่ามีขบวนการกลั่นแกล้งให้เขาต้องติดคุก หรือหลบหนีคดี โดยไม่ยอมมองความผิดตัวเองว่าที่ผ่สนมาได้มีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง
       
        ขณะเดียวกัน ยังเชื่อว่า ไม่มีใครกลั่นแกล้งใครได้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่การพิจารณาตัดสินของศาลยุติธรรม เพื่อหาข้อยุติที่ดีที่สุด และคราวนี้จะเป็นการพิสูจน์กันอีกครั้งหนึ่งว่ามาตรฐานของพวกที่อ้างว่า “เป็นนักประชาธิปไตย” ตลอดเวลาจะมีการบิดพลิ้วไปอีกทางหรือไม่ 
       
        แต่งานนี้บอกได้คำเดียวว่าเสียวแปล๊บจนขึ้นสมองก็แล้วกัน !! 

คนร้ายลอบวางระเบิดตำรวจสภ.กรงปินัง จ.ยะลา ดับ 3 เจ็บ 2



คนร้ายลอบวางระเบิดตำรวจสภ.กรงปินัง จ.ยะลา ดับ 3 เจ็บ 2
วันที่ 23 ก.ย.59 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.
เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจชุด สืบสวนสถานีตำรวจภูธรกรงปินัง จ.ยะลา บริเวณบ้านลูโบ๊ะกาโล ม.4 ต.ห้วยกระทิง อ.อกรงปินัง ขณะออกปฏิบัติภารกิจสืบสวนขบวนการยาเสพติด
ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 3 นาย ทราบชื่อคือ ส.ต.ต.อรรถพล เหลือเทพ , ส.ต.ต.สุริยา หนูนื่ม และ ส.ต.ต.ณัฐพงศ์ ชาติดำ ส่วนผู้บาดเจ็บอีก 2 นายคือ ส.ต.ต.ศิริวัฒน์ โยธา และ ส.ต.ต.นฤเบศ เหมือนน้อย
จากการสอบสวน ทราบว่า เจ้าหน้าที่ทั้งหมดเดินทางด้วยรถยนต์ทางราชการ เพื่อลาดตระเวณเส้นทางดูแลความปลอดภัยให้กับครูและประชาชน เมื่อผ่านที่เกิดเหตุ ซึ่งสองข้างทางเป็นสวนยางพารา ปลอดบ้านอาศัยชาวบ้าน คนร้ายได้ลอบวางระบิดกลางถนน ก่อนขึ้นสะพาน ด้วยระเบิดแสวงเครื่องบรรจุถังดับเพลิงน้ำหนักประมาณ 80 กก.จุดชนวนด้วยแบตเตอรี่ ลากสายยาวเข้าไปในสวนยาง พร้อมกับซุ่มยิงเป็นชุด ๆ จนแน่ใจว่ามีการสูญเสีย คนร้ายได้ล่าถอยไป ล่าสุดได้ปิดล้อมพื้นที่ เพื่อตรวจสอบหาตัวคนร้ายแล้ว
อย่างำรก็ตาม เจ้าหน้าที่คากว่าเป็นการก่อเหตุของกลุมอุไบดีละห์ รอมลี แกนนำระดับ ผบ.ร้อย รัยผิดชอบ อ.กรงปินัง อ.ยะหา และบางส่วน อ.บันนังสตา เพื่อตอบโต้ จนท.ทหารพราน ที่ควบคุมตัวลูกน้องคนสนิทจนสามารถตรวจยึดอาวุธปืนจำนวน 6 กระบอกและอุปกรณ์ผลิตระเบิดจำนวนหนึ่งใรพื้นที่ ต.ยาโร๊ะ อ.ยะหา เมื่อวันก่อน
""""""""""""
s.news

“หมอวรงค์”ชี้รู้ทัน“ยิ่งลักษณ์” ชอบอ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม


  
  
 
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2559 นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่าการใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ให้กรมบังคับคดีเก็บค่าเสียหายจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เป็นการชี้นำคดี ซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมว่า เรื่องนี้เป็นไปตามคาดหมาย ทั้งน.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์ ก็ออกมาตามแบบฉบับเดียวกัน เนื้อหาสาระเหมือนกัน ขนาดมีหลายฝ่ายชี้แจงแล้ว ก็ไม่ยอมเข้าใจ ขอให้ได้สื่อในสิ่งที่ตนเองต้องการ โดยประเด็นที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกมาตอกย้ำต่อจากนายบุญทรง ก็คงหนีไม่พ้น เรื่องการออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อสื่อว่าตนเอง ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำไมไม่ผ่านกระบวนการศาล ทั้งๆ ที่บอกว่าจะใช้สิทธิ์ขอความเป็นธรรมจากศาลปกครอง รวมทั้งอ้างว่าการมอบอำนาจให้กรมบังคับคดี ก็เหมือนเป็นการชี้นำคดี ตนก็ยังงงอยู่เหมือนกันว่า คดีความรับผิดทางละเมิด ซึ่งมีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รองรับนั้น ก็มีกระบวนการ ระยะเวลา หรือเป็นเพราะว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการถ่วงเวลาเพื่อให้หมดอายุความ

 
“ที่สำคัญสังคมต้องตามให้ทัน เล่ห์กลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่ง ใกล้จะเผยตัวเลข ความรับผิดชอบที่เขาจะต้องชดใช้ต่อแผ่นดิน เมื่อผ่านคณะกรรมชุดนี้ ก็จะไปสู่ขั้นตอนลงนาม คำสั่งทางปกครองให้ชดใช้ค่าเสียหายตามมา จึงทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องออกมาตีกันไว้ก่อน เพื่อให้สังคมเข้าใจว่าถูกกลั่นแกล้ง นอกจากนี้สิ่งที่ต้องรู้ให้ทันน.ส.ยิ่งลักษณ์คือ เขาจะมีรูปแบบการนำเสนอ ที่ออกแบบมาเหมือนๆ กันตลอดนั่นคือ พูดซ้ำๆ เปลี่ยนหน้าคนออกมาพูด ย้ำในเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรม ย้ำในเรื่องเร่งรีบรวบรัด ย้ำในเรื่องถูกกลั่นแกล้ง เอาเรื่องแต่ฝ่ายตนเอง ฝ่ายอื่นไม่โดน ลดความน่าเชื่อถือบุคคล โดยอ้างว่าเป็นคู่ขัดแย้ง ขยันร้องและฟ้อง ด้วยข้อมูลอันน้อยนิด เพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิดและเกิดความสงสาร โดยที่ไม่ยอมมองการกระทำของตนเองเลย” นพ.วรงค์ กล่าว 

ประยุทธ์ให้ถ้อยแถลง UN ย้ำทุกคนต้องเคารพ-ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด


เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในการเปิดอภิปรายทั่วไป ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 71 ในหัวข้อ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: แรงผลักดันสากลเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเรา” (The Sustainable Development Goals: a universal push to transform our world) 
โดย พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ไว้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเมื่อปีที่แล้วประชาคมโลกได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030  ร่วมกันเพื่อผลักดันให้การพัฒนาของโลกดำเนินไปอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ “คน” ทุกกลุ่ม เพิ่มการเข้าถึงโอกาสและความเจริญอย่างเท่าเทียม โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง อันเป็นการปรับกระบวนทัศน์ด้านการพัฒนาครั้งสำคัญของสหประชาชาติให้ครอบคลุมและสามารถรับมือกับปัญหาและความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับปีนี้เป็นปีที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติครบ 70 ปี และเป็นปีแรกที่เริ่มต้นนำวาระสำคัญของโลกสู่การปฏิบัติ กรอบเซนไดเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ความตกลงปารีสเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  แผนปฏิบัติการระดมทุนเพื่อการพัฒนา และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน  รัฐบาลไทยเชื่อว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากสันติภาพและความมั่นคง หรือหากสิทธิของประชาชนถูกละเมิดและไม่ได้รับการยอมรับ ทางกลับกันสันติภาพและความมั่นคงก็จะไม่ยั่งยืนหากขาดการพัฒนาที่เหมาะสม หรือสิทธิของประชาชนถูกลิดรอน ทั้ง 3 เสาหลักของสหประชาชาติดังกล่าวมีความเชื่อมโยง และเกื้อกูลกันอย่างแยกออกจากกันมิได้  กรณีผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้พลัดถิ่นในช่วงที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างความเชื่อมโยงดังกล่าวที่แสดงให้เห็นด้วยว่า ไม่มีประเทศใดหลุดพ้นจากผลกระทบของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอีกมุมหนึ่งของโลกได้ และเราต้องร่วมกันรับผิดชอบหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน

ย้ำทุกคนต้องเคารพ-ปฏิบัติตามพันธกรณีของกฏหมายระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวด้วยว่า ยุคปัจจุบันที่เราต้องเผชิญกับความท้าทายในหลากมิติที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ความหลากหลายของประชากรกว่า 7,000 ล้านคน ในเกือบ 200  ประเทศ เพิ่มความท้าทายในการรับมือกับปัญหา และการแสวงหาทางออกที่เป็นสากล เนื่องจากแต่ละประเทศมีแนวคิด ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น ประชาคมระหว่างประเทศต้องหาแนวทางและวิธีการที่จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ มีความเข้าใจ รับผิดชอบ และเคารพซึ่งกันและกัน ตลอดจนสามารถเข้าถึงโอกาส และสิทธิพื้นฐานต่าง ๆ อย่างทัดเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในประเด็นที่ส่งผลกระทบด้านมนุษยธรรมอย่างรุนแรง เช่น พันธกรณีเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการแบ่งปันความรับผิดชอบ พร้อมกำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาร่วมกันของประเทศสมาชิก ตลอดจน บทบาทของกลุ่มภูมิภาค กลุ่มการเมือง กลุ่มเศรษฐกิจ และกลไกความร่วมมือต่าง ๆ ว่า  เป็นหัวใจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะประเทศหนึ่งประเทศใดย่อมไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกได้โดยลำพัง การบรรลุเป้าหมายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเหนือ-ใต้  ใต้-ใต้ และไตรภาคี เพื่อสร้างแรงผลักดันสากลเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเรา

บทบาทไทยในฐานะประธานกลุ่ม 77 

พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า ไทยได้รับเกียรติและโอกาสให้ทำหน้าที่ประธานกลุ่ม 77 ในปีนี้ และได้วางเป้าหมายที่จะนำวิสัยทัศน์ระดับโลกข้างต้นมาปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ โดยมีบทบาทประสาน ผลักดัน เชื่อมโยงผลประโยชน์ของกลุ่มฯ ในเวทีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การได้รับเกียรติในฐานะประธานกลุ่ม  77  ให้เข้าร่วมการประชุมของกลุ่ม 20  เป็นครั้งแรก ที่นครหางโจว โดยไทยร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลักดันและขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะความสำคัญของการร่วมมือระหว่างกลุ่ม 20 ในฐานะกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจการเงินกับกลุ่ม 77  ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยลดความหวาดระแวง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและผลประโยชน์ร่วมกัน
ทั้งนี้ ไทย ได้นำเสนอตัวอย่างประสบการณ์และบทเรียนของไทยในการก้าวผ่านอุปสรรคด้านการพัฒนาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เน้นการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมบนแนวคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน พร้อมกับปลูกฝังคุณธรรม และพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้สังคมพัฒนาได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน  โดยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำหลัก SEP ไปประยุกต์ใช้ในประเทศกำลังพัฒนาในบริบทต่าง ๆ กันแล้วกว่า 20  ประเทศ
ตั้งแต่รับตำแหน่งประธานกลุ่ม 77 เมื่อต้นปี ไทยได้ดำเนินโครงการ SEP for SDGs Partnership การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนา ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเหมาะกับบริบทของแต่ละประเทศผ่านความร่วมมือทวิภาคี และไตรภาคีในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนการพัฒนา และไทยยังพร้อมเชื่อมโยงความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม BRICS อาเซียน ฯลฯ ที่หันมาให้ความสำคัญกับวาระเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพื่อสร้างแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้น โดยในเดือนตุลาคมนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด Asia Cooperation Dialogue (ACD) ครั้งที่อ2 ซึ่งสามารถหารือเพื่อส่งเสริมประเด็น SDGs ในระดับภูมิภาคต่อไปด้วย
การประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อต้นเดือนนี้ที่เวียงจันทน์ เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวถึงความสำคัญของกลไกระดับภูมิภาคที่จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งผู้นำอาเซียนและไทยเชื่อว่า การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปในทางที่ดีขึ้น
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีนี้ นอกจากเรื่องเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมที่ทำให้ประชาชนอาเซียนใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นแล้ว การพัฒนาความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันยังนำไปสู่การลดความขัดแย้งและสร้างสันติภาพในภูมิภาคด้วย

ย้ำไทยได้ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ในระดับชาติ ไทยได้ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ตั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่  12 และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20  ปี พร้อมนำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาดังกล่าวแปลงไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการระดับชาติ ได้แก่ การยกระดับการบริการดูแลด้านสุขภาพ และส่งเสริมการศึกษาของประชาชนทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องและเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นคนไทย ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน หรือแรงงานต่างชาติในประเทศ โดยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การรณรงค์ด้านสาธารณสุข เช่น การดื้อยาต้านจุลชีพ และส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะช่วยพัฒนาโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนทุกคนในประเทศ
รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เสรีภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมการเข้าถึงบริการพื้นฐานแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยได้วางโครงสร้างและปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน ออกกฎหมายเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ส่งเสริมสิทธิสตรี และให้ความคุ้มครองกับกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ  ตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ ดูแลสวัสดิการเด็กแรกเกิด คนพิการและผู้สูงอายุ จัดที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย จัดสรรที่ดินทำกินแก่ผู้ยากไร้ เนื่องจากรัฐบาลตระหนักว่า กลุ่มคนเหล่านี้สามารถมีส่วนร่วมที่สำคัญในการผลักดัน เปลี่ยนแปลงสังคม และโลกของเราอย่างยั่งยืนได้
การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยได้ให้สัตยาบันข้อตกลงปารีสแล้ว และขอเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ เร่งให้สัตยาบันความตกลงฯ โดยเร็ว เพื่อแสดงออกซึ่งความมุ่งมั่น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความรับผิดชอบร่วมกันต่อปัญหาโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กระทบกับมวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก

โชว์แนวคิด “ประเทศไทย 4.0” 

ด้านเศรษฐกิจ ไทยได้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีทิศทางและยั่งยืน ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเน้นส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและพัฒนา ปรับปรุงกฎระเบียบให้เป็นสากล พร้อมขจัดปัญหาคอรัปชั่น เพื่อให้เอื้อต่อการทำธุรกิจและสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชน เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตประเทศ
ประเด็นสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ไทยได้สนับสนุนภารกิจรักษาและสร้างสันติภาพของสหประชาชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของไทยได้เข้าร่วมภารกิจต่าง ๆ ราว  20 ภารกิจ ซึ่งได้ใช้โอกาสดังกล่าวพัฒนาคนไปพร้อมกันด้วย โดยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุข สร้างสังคมที่เข้มแข็ง และพัฒนาประเทศต่อไปได้ในระยะยาว  ซึ่งสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 16 เรื่องสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม ในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติทั้ง 17  ข้อมาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ไทยเห็นว่า ไม่มีสูตรตายตัวในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่เป็นไปตามศักยภาพและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศและความเป็นหุ้นส่วนด้านการพัฒนาเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างเอกภาพบนความแตกต่าง ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน

ลั่น 7 ส.ค. ปชช.ไทยลงประชามติรับรองร่าง รธน.ตามวิถีทางประชาธิปไตยแล้ว

โอกาสนี้  นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงสถานการณ์ภายในประเทศว่า รัฐบาลได้วางรากฐานเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา ประชาชนได้ใช้สิทธิลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญตามวิถีทางประชาธิปไตยแล้ว และกำลังพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จ นำไปสู่ การเลือกตั้งทั่วไปตาม Roadmap ได้ในปลายปี  2560
การออกเสียงลงประชามตินี้สะท้อนถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่จะส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย โดยตระหนักถึงเสียงสะท้อนจากประชาคมระหว่างประเทศ รัฐบาลเข้ามาเพื่อดูแลสถานการณ์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและความมั่นคง และเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองดำเนินไปสู่สภาวะปกติสุขแล้ว รัฐบาลก็ผ่อนคลายมาตรการชั่วคราวที่ไม่จำเป็น เช่น การประกาศยกเลิกการนำพลเรือนขึ้น ศาลทหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลได้เน้นการแก้ไขปัญหาความมั่นคง การทุจริต การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังและรอการแก้ไข เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอซึ่งเป็นการวางรากฐานเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืนและส่งเสริมธรรมาภิบาล โดยหวังให้ประเทศไทยและประชาชนไทยเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคมโลกอย่างยั่งยืนต่อไป
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการสหประชาชาติตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ที่ได้ริเริ่มและผลักดันประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นข้อริเริ่มการบูรณาการเรื่อง สิทธิมนุษยชนในงานของสหประชาชาติ หรือวาระเพื่อมนุษยธรรม และขออวยพรให้เลขาธิการสหประชาชาติประสบความสำเร็จในภารกิจสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบในอนาคต

ถ้อยแถลงประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ

นอกจากนี้ ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ  พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ร่วมพิธีเปิดการประชุมและกล่าวถ้อยแถลง ในฐานะกลุ่ม 77 และจีน ในการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (High-Level Meeting on Anti-Microbial Resistance (AMR)  นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีประธานสมัชชาสหประชาชาติเลขาธิการสหประชาชาติ  และผู้บริหารระดับสูงขององค์การสหประชาชาติเข้าร่วมด้วย อาทิ  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ เป็นต้น 
โดย พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติเป็นตัวแทนกล่าวถ้อยแถลงในนามกลุ่ม 77 และจีน สำหรับการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพในครั้งนี้ เป็นโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพทั่วโลก และยังเป็นโอกาสกระตุ้นเจตจำนงทางการเมืองในระดับสูงเพื่อสนับสนุนความพยายามเร่งด่วนต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับโลกในเรื่องนี้ และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 5 ประการที่สนับสนุนการทำงานของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคการสาธารณสุข และภาคสังคม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพบนพื้นฐานของแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว
ทั้งนี้ การดื้อยาต้านจุลชีพเป็นความท้าทายของมวลมนุษยชาติ และส่งผลกระทบต่อผู้คนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ในขณะที่ขีดความสามารถของประเทศต่างๆ ในการจัดการกับปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแตกต่างกันอย่างมาก ตามระดับการพัฒนาประเทศและศักยภาพของระบบสุขภาพ ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบอย่างมากหากไม่แก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพ  กลุ่ม 77 และจีน เน้นประเด็นทั้งหมดนี้ โดยการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพต้องไม่กระทบการซื้อและเข้าถึงยาต้านจุลชีพทั้งชนิดเดิมและที่ค้นพบใหม่ รวมทั้งวัคซีน และเครื่องมือตรวจวินิจฉัยการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพต้องสนับสนุนเป้าหมายต่างๆ ที่ครอบคลุม ดังนี้ 1. ส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้กรณีการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ คน และการเกษตรอย่างเหมาะสม 2. เสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการสร้างหลักประกันการเข้าถึงน้ำสะอาด สุขลักษณะและสุขอนามัย การสร้างภูมิคุ้มกัน และการควบคุมการติดเชื้อทั้งในและนอกสถานพยาบาล 3. สร้างความเข้มแข็งให้ระบบสุขภาพและส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
4. สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนายาต้านจุลชีพ โดยเฉพาะ ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ วัคซีน เครื่องมือตรวจวินิจฉัย และนวัตกรรม ซึ่งรวมถึง ยาแผนดั้งเดิมและยาสมุนไพร อย่างเร่งด่วน โดยมีหลักประกันว่าต้องเป็นไปตามความจำเป็น มีหลักฐานเชิงประจักษ์ และรับผิดชอบร่วมกัน โดยยึดหลักราคาสมเหตุสมผล มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความเท่าเทียม โดยตัดความเชื่อมโยงระหว่างต้นทุนการวิจัยและพัฒนาจากราคาและปริมาณในการขาย กลุ่ม 77 และจีน ยินดีที่หลักการการตัดความเชื่อมโยงนี้ได้รับการเน้นความสำคัญในปฏิญญาทางการเมือง  5. สร้างหลักประกันให้ราคายาไม่สูงเกินไปและสามารถเข้าถึงยาปฏิชีวนะ วัคซีน เครื่องมือตรวจวินิจฉัย และเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ ทั้งที่มีอยู่และแบบใหม่ ซึ่งยินดีต่อผลลัพธ์ของการอภิปรายระดับสูงเรื่องการเข้าถึงยา ซึ่งจัดโดยเลขาธิการสหประชาชาติ 6. เสริมสร้างศักยภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ  ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ และการติดตามดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพ เราต้องสนับสนุนการวิจัยระบบสาธารณสุข และการวิจัยและพัฒนา ทั้งประเด็นการใช้ยาปฏิชีวะอย่างสมเหตุสมผล ตลอดจนการคุ้มครองและสร้างหลักประกันในการเข้าถึงยา ทั้งหมดนี้ จะต้องทำโดยคำนึงถึงการมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม โดยไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ หรือก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้าถึงการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง 
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังยืนยันการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับโลกอีกครั้งผ่านปฏิญญาทางการเมือง โดยให้คำมั่นที่จะลงมือปฏิบัติในเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ การระดมกำลังคนและแหล่งเงินทุน การสนับสนุนด้านเทคนิคและด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ  โดยเฉพาะให้ความสำคัญในมิติด้านสาธารณสุขในความพยายามประสานงาน และ ความร่วมมือของเราจะต้องก่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่สำคัญสำหรับคนรุ่นเราและคนรุ่นลูก ทั้งนี้ กลุ่ม 77 และจีน จะรอคอยรายงานที่อ้างถึงในปฏิญญาทางการเมืองเพื่อสานต่อการพิจารณาและการดำเนินงานที่สำคัญในเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ

ในส่วนของประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของไทยได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพฉบับแรกของประเทศ ทั้งนี้ ไทยเน้นการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล การเข้าถึงยาต้านจุลชีพที่จำเป็นในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี 2545 เป็นหลัก เพื่อให้บรรลุปณิธานทั้งสอง เราได้ริเริ่มสิ่งจูงใจเพื่อให้เกิดหนทางในการลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาบาดแผลถลอก การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และอาการท้องร่วง อนึ่ง การบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน ข้อ 3.8 และความพยายามในการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ เป็นการรวมสรรพกำลังในบริบทของประเทศไทย และอาจเป็นโอกาสเพิ่มเติมให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างความพยายามด้านการพัฒนาสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจเพื่อต่อสู้กับการดื้อยาต้านจุลชีพ เรายินดีที่จะสานต่อความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและมีส่วนร่วมในความพยายามระดับโลกอย่างสร้างสรรค์ 

เบื้องหลังข่าวเจาะ“ประยุทธ์”ขายที่ดิน 600 ล. โยงใย 22 บ.ลับ 7 หมื่นล.“เสี่ยเจริญ”

เบื้องหลังข่าวเจาะ“พล.อ.ประยุทธ์”ขายที่ดิน 9 แปลง 50 ไร่ 600 ล้านผ่านบริษัทหุ้นใหญ่ ตู้ ปณ.บนเกาะบริติชเวอร์จิ้น โยงใย 22 บริษัทลับ 7 หมื่นล้าน "เจ้าสัวเจริญ" บ่งชี้สัมพันธ์ บิ๊กทหาร-นักธุรกิจใหญ่
piccpayuuu1-1-15
ในรอบปี 2557 มีข่าวเจาะชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวพันกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยตรงคือ กรณีการขายที่ดิน 9 แปลงเนื้อที่ 50-3-08 ไร่ วงเงิน 600 ล้านบาทของ พ.อ.ประพัฒน์ จันทร์โอชา บิดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
ข่าวชิ้นนี้ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายทหารใหญ่ในกองทัพกับนักธุรกิจแสนล้านที่หยั่งรากลึกมานาน “ชัดเจน”ขึ้นเมื่อพบว่า ผู้รับซื้อที่ดินแปลงนี้ตัวจริงคือนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มชื่อดังและเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของประเทศนั่นเอง 
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org เรียบเรียงความเป็นมาดังนี้
ภายหลังเข้ารับตำแหน่งนายกฯ วันที่ 4 ก.ย.57 พล.อ.ประยุทธ์ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า พ.อ.ประ พัฒน์ จันทร์โอชา อายุ 89 ปี (บิดา) ได้มอบเงินจำนวน 540 ล้านบาทกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เนื่องจากเป็นบุตรชาย มีสิทธิอย่างสมบูรณ์ในการดูแลเงินจำนวนนี้ ให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องของผู้รับ
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้แจ้งต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีสัมพันธ์ รับรองว่าได้มีการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 056-2-471xx-x ชื่อบัญชี พล.อ.ประยุทธ์ โดยโอนมาจากบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 134-2-329xx-x ชื่อบัญชี พ.อ.ประพัฒน์ จำนวนเงิน 540 ล้านบาท ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 จริง
พล.อ.ประยุทธ์ได้แนบหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง พ.อ.ประพัฒน์ กับ บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จำนวนเงิน 600 ล้านบาท ต่อ ป.ป.ช.ด้วย
PIC-ทรพยสนบกต-4
PIC-ทรพยสนบกต-6
@ บ.69 พร็อพเพอร์ตี้ ถือหุ้นไขว้ซับซ้อน
จากกรณีดังกล่าว สำนักข่าวอิศรา ได้ตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 2 พ.ค.56 ทุน 1 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 20/164 หมู่บ้านอิ่มอัมพร 2 หมู่ที่ 11 แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ หุ้นใหญ่ 4 รายคือ
1.บริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด จำนวน 49,000 หุ้น 
2.นายไพโรจน์ จาตุรแสงไพโรจน์ จำนวน 30,000 หุ้น 
3.นายประมวล ศรีรัตนา 11,000 หุ้น และ 
4.นายศราวุธ เทียนสุวรรณ 10,000 หุ้น
รวมทั้งสิ้น 100,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท นายศราวุธ เทียนสุวรรณ นายประมวล ศรีรัตนา และนายไพโรจน์ จาตุรแสงไพโรจน์ เป็นกรรมการผู้ขอจดทะเบียน
หลังจดทะเบียนราว 2 สัปดาห์ 16 พ.ค.56 บริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด (นายศราวุธ เทียนสุวรรณ ถือหุ้นใหญ่) ได้โอนหุ้นจำนวน 49,000 หุ้น ไปให้ วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ ทรัส (บี.วี.ไอ.) ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ แซมเบอร์ ซึ่งมีที่อยู่เป็นตู้ ป.ณ. เลขที่ 146 ,โรดทาวน์,ทอร์โทล่า , บริติชเวอร์จิน ไอร์แลนด์
21 มิ.ย.56 บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เพิ่มทุนเป็น 200 ล้านบาท วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด ได้เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นเป็น 9,800,000 หุ้น จากทั้งหมด 10 ล้านหุ้น
2 ธ.ค.56 บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 628 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้น 3 ราย
บริษัท นครชื่น จำกัด ถือหุ้นใหญ่ 62,799,998 หุ้น บริษัท ยอดกิจธุรกิจ จำกัด และ บริษัท พรนวภัณฑ์ จำกัด ถือรายละ 1 หุ้น รวมทั้งหมด 62,800,000 หุ้น
จากการตรวจสอบพบว่า นายประมวล ศรีรัตนา นายศราวุธ เทียนสุวรรณ บริษัท นครชื่น จำกัด กรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด นั้น เป็นกรรมการบริษัทเครือข่ายของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าผู้รับซื้อที่ดินดังกล่าวจากบิดา พล.อ.ประยุทธ์คือนายเจริญ สิริวัฒนภักดี
กระนั้น ประเด็นที่สำนักข่าวอิศราสงสัยก็คือ วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงและเกี่ยวพันกับนายเจริญอย่างไร?
@สาวลึก บ.วินเทค ฯ ตู้ ปณ.เกาะบริติชเวอร์จิ้น
จากการตรวจสอบธุรกิจในเครือของนายเจริญที่มีนับร้อยบริษัทโดยเริ่มจากตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่ 28 มี.ค.49 มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 14 ราย ต่างด้าว 2 ราย รวม 16 ราย พบ วิน แอลไลต์ อินเตอรเนชั่นแนล อิงค์ สัญชาติ บี.วี.ไอ. (บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์) ที่อยู่ ทรีเด้นท์แชมเบอร์ส,ตู้ ปณ. 146 ,โรดทาวน์,ทอร์โทลา ,บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ถือจำนวน 97 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นที่อยู่เดียวกับบริษัท วินเทค โปรฟิทฯ ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
นอกจากนี้ยังพบบริษัทที่จดทะเบียนในบริติชเวอร์จินไอร์แลนด์ อีกบริษัทหนึ่งคือ บลูสกาย โฮลดิ้ง กรุ๊ป อิงค์ ที่ตั้งอาคารเดอะเคร็ค ,ตู้ ปณ.116 โรดทาวน์,ทอร์โทลา ,บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ร่วมถือหุ้น บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด 94.9 ล้านหุ้น จากจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 1650,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท
ต่อมา เม.ย.52 วิน แอลไลต์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ และ บลูสกาย โฮลดิ้ง กรุ๊ป อิงค์ หายไป ปรากฏว่ามี ทีซีซี แอ็ทเส็ทส์ ลิมิเต็ด บี.วี.ไอ. ซึ่งใช้ที่อยู่เดียวกัน คือ ทรีเด้นท์แชมเบอร์ส,ตู้ ปณ. 146 ,โรดทาวน์,ทอร์โทลา ,บริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เข้ามาแทนที่ โดยมีนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ร่วมถือหุ้นด้วย
@ลงพื้นที่พิสูจน์:ชาวบ้านบอกของ“เบียร์ช้าง”
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าว ได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบสภาพที่ดิน 9 แปลงดังกล่าวพบว่าเป็น พื้นที่โล่ง ติดถนนบางบอน 3 ซึ่งมีขนาดฝั่งละ 2 เลน พื้นถนนเป็นปูนซิเมนต์ ถ้าหันหน้าเข้าพื้นที่จะพบว่าบริเวณด้านซ้ายติดกับคลองหนามแดง ภายในพื้นที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมอยู่โดยทั่วบริเวณ และมีการนำป้ายประกาศซึ่งมีสภาพใหม่ มาติดไว้ทั่วบริเวณหน้าที่ดิน ระบุข้อความว่า
"ประกาศ ...ที่ดินบริเวณนี้ เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล ห้ามบุกรุก ตกปลา หรือกระทำการใดๆ หากฝ่าฝืนมีความผิดทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง บริษัทฯ จำเป็นต้องดำเนินคดีจนถึงที่สุด"
และจากการสอบถามคนในพื้นที่บอกว่า ที่ดินทั้ง 9 แปลงเป็นของเบียร์ช้าง
ty6
@ตู้ ปณ.ใบเดียว ที่ตั้ง 5 บริษัท
จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ตู้ ปณ. 146 ,โรดทาวน์,ทอร์โทล่า , บริติชเวอร์จิน ไอซ์แลนด์ ใช้เป็นที่ตั้งถึง 5 บริษัท
1.ไชนิ เทร็ชเชอ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้น บริษัท สิริวนา จำกัด จำนวน 710,500,000 หุ้น (710.5 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือเท่ากับ 7,105 ล้านบาท) ตั้งเดือน เม.ย.54 จนถึงปัจจุบัน
2.ไรเซน มาร์ค เอ็นเตอร์ไพรส (Risen Mark Enterprise Ltd.,) ผู้ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจน์ จำนวน 6,549,600,000 หุ้น (6,549.6 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 1 บาท หรือเท่ากับ 6,549.6 ล้านบาท (ผู้ถือหุ้น ณ 30 ธ.ค.47-11 ก.ค.48)และลดลงเหลือ 5,537,600,000 หุ้น (5,537.6 ล้านหุ้น) ในช่วง27 มี.ค.49 เหลือ 2,359,815,000 หุ้น เมื่อ 3 ก.ค.49 กระทั่งหายไปหลังปี 51
3. วิน แอลไลต์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ สัญชาติ บี.วี.ไอ. ถือหุ้น บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด จำนวน 97,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ในปี 2549 (มูลค่า 970 ล้านบาท) ต่อมาเพิ่มเป็น 797,000,000 หุ้น ณ 30 เม.ย.50 (มูลค่า 7,970 ล้านบาท)
4. ทีซีซี แอ็ทเส็ทส์ ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ช่วงปี 2550-2552 จำนวน 1,151,500,000 หุ้น (1,151.5 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือ มูลค่า 11,515 ล้านบาท
5. บริษัท แพลนทิออน อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (บี.วี.ไอ.) จำนวน 489,999,994 หุ้น มูลหุ้นละ 10 บาท (มูลค่า 4,899,999,940 บาท หรือประมาณ 4,899.9 ล้านบาท)
รวมมูลค่าหุ้นทั้ง 5 บริษัท ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท
@ พบบริษัทลับ 22 แห่ง 7 หมื่นล้าน
ต่อมาพบว่าธุรกิจของเจริญอย่างน้อย 9 บริษัท คือ บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด บริษัท สิริวนา จำกัด .บริษัท พรรณธิอร จำกัด ทีซีซีแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท แผ่นดินธรรม พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท คริสตอลลา จำกัด และ บริษัท เครือ อาคเนย์ จำกัด (ชื่อเดิมบริษัท ที.ซี.ซี.แคปปิตอล จำกัด)
มีบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งบนเกาะ บริติชเวอร์จิน บี.วี.ไอ. อย่างน้อย 22 บริษัท รวมมูลค่าหุ้นตามทุนจดทะเบียน 70,807.2 ล้านบาท ได้แก่
1.วิน แอลไลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ทรีเด้นท์แชมเบอร์ (WIN ALLIED INTERNATION INC) ถือหุ้น 2 แห่งคือ บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 5,243,000,000 หุ้น (29 พ.ค.47) มูลค่าหุ้นละ 1 บาท และ บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด 97,000,000 หุ้น (ปี 2549 ) เพิ่มเป็น 797,000,000 หุ้น (30 เม.ย.50) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 7,970 ล้านบาท รวมมูลค่า 2 บริษัท 13,213 ล้านบาท
2.STRONG TREND VENTURE LTD. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
3.LANCENT ASSOCIATES LTD ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47)หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
4.FORTUNE SCENE INVESTMENTS LTD. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
5.SOLID GAIN DEVELOPMENT LTD 1บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47)หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
6. CONTINENTAL CONNECTION INC. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
7.ไรเซน มาร์ค เอ็นเตอร์ไพรส ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 6,549,600,000 หุ้น (30 ธ.ค.57) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 6,549.6 ล้านบาท ต่อมาเหลือ 5,537,600,000 หุ้น ( 27 มี.ค.49) และ 2,359,815,000 หุ้น (3 ก.ค.49) กระทั่งหายไปหลังปี 51
8.Trinity Fortune Investment Ltd. ถือ บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 524,000,000 หุ้น (524 ล้านหุ้น) ณ 29 เม.ย.53 หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 524 ล้านบาท
9. MAXTOP MANAGEMENT CORP. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 3,694,675,000 หุ้น ณ 29 เม.ย.53- 25 เมษายน 2556 หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 3,694,675,000 บาท
10. SPARKLE VIEW DEVELOPMENT LIMITED ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,042,543,572 หุ้น (29 เม.ย.54) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,042,543,572 บาท
11. Kindest Place Groupa Limited ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 19,000,000 หุ้น (19 ล้านหุ้น) ณ 25 เม.ย.56 หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 19 ล้านบาท
12.Nexus Power Investment Limited ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 420,514,080 หุ้น ณ 25 เม.ย.57 มูลค่าหุ้นละ 1 บาท มูลค่า 420,514,080 บาท
13. ไชนิ เทร็ชเชอ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ถือหุ้น บริษัท สิริวนา จำกัด (บริษัทส่วนตัวนายเจริญ) จำนวน 710,500,000 หุ้น (710.5 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือเท่ากับ 7,105 ล้านบาท) ตั้งเดือน เม.ย.54 จนถึงปัจจุบัน
14. ทีซีซี แอ็ทเส็ทส์ ลิมิเต็ด ถือหุ้น บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด จำนวน 1,151,500,000 หุ้น (1,151.5 ล้านหุ้น) ช่วงปี 2550-2553 มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือ มูลค่า 11,515 ล้านบาท
15.บริษัท แพลนทิออน อินเตอร์เนชันแนล ถือหุ้น บริษัท พรรณธิอร จำกัด 489,999,994 หุ้น (ณ 29 เม.ย.52) มูลหุ้นละ 10 บาท (มูลค่า 4,899,999,940 บาท หรือประมาณ 4,899.9 ล้านบาท) มูลค่า 4,899,999,940 บาท
16.บลูสกาย โฮลดิ้ง กรุ๊ป อิงค์ ( บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด จำนวน 94,900,000 หุ้น (94.9 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมมูลค่า 949 ล้านบาท
17.บริษัท ทีซีซี กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด ถือหุ้น บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด จำนวน 1,151,499,000 หุ้น มูลค่าละ 10 บาท (ณ 29 เม.ย.56-30 เม.ย.57) หรือ มูลค่า 11,514,990,000 บาท
และ บริษัท ทีซีซีแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ณ 26 เม.ย.56 จำนวน 97,999,800 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท มูลค่า 979,998,000 บาท รวมมูลค่า 12,494,988,000
18.วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จำนวน 49,000 หุ้น ณ 16 พ.ค.56 ต่อมา เพิ่มเป็น 9,800,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือ 98 ล้านบาท
19.สปริง คริสตัล แอสเซ็ทส์ จำกัด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท แผ่นดินธรรม พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 9,900,001 หุ้น (9.9 ล้านหุ้น) มูลค่า หุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 99 ล้านบาท (29 เม.ย.57)
20.คริสตอลลา อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมเต็ด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท คริสตอลลา จำกัด 5,880,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมมูลค่า 588,000,000 บาท (30 ม.ค.56-30 ม.ค.57)
21.บริษัท เพลนดิไวซ อินเวสต์เม้นต์ จำกัด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท เครือ อาคเนย์ จำกัด (ชื่อเดิมบริษัท ที.ซี.ซี.แคปปิตอล จำกัด) จำนวน 117,600,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 1,176 ล้านบาท (30 ธ.ค.51-30 เม.ย.52)
22.เดอะ เซาท์อีสท์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท เครือ อาคเนย์ จำกัด จำนวน 117,600,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 1,176 ล้านบาท (26 มี.ค.53-30 เม.ย.57)
ในจำนวนนี้พบว่า 8 บริษัทใช้ที่อยู่เดียวกันคือตู้ ปณ. 146 โรดทาวน์ เทอโทลา บริติชเวอร์จิน ไอสแลนด์ คือ วิน แอลไลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ,ไรเซน มาร์ค เอ็นเตอร์ไพรส ,MAXTOP MANAGEMENT CORP. ,ไชนิ เทร็ชเชอ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ดม ทีซีซี แอ็ทเส็ทส์ ลิมิเต็ด ,บริษัท แพลนทิออน อินเตอร์เนชันแนล ,บลูสกาย โฮลดิ้ง กรุ๊ป อิงค์ ( บี.วี.ไอ.) และ วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด

@ สื่อซัก นายกฯไม่แจง บอกไม่ใช่เรื่องนักข่าว
ภายหลังจากตรวจสอบจนพบข้อเท็จจริง  วันที่ 18 พ.ย. 57 ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนายกรัฐมนตรี ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล  กรณีขายที่ดิน 600 ล้าน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องของคุณเลยนะ เอ้า คนอื่นถามมา ไม่มีเรื่องอื่นที่ประเทืองปัญญากว่านี้หรือไง”
เมื่อผู้สื่อข่าวกล่าวว่าเนื่องจากพบว่า บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ ก่อตั้งบริษัทได้เพียง 7 วัน ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ไปถามบริษัทเขาสิ”
และเมื่อผู้สื่อข่าวตรวจสอบงบการเงิน บริษัท  69 พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด ในรอบปี 2556 ระบุสินทรัพย์รวมประมาณ 625 ลัานบาท ซึ่งใกล้เคียงกับวงเงินซื้อขายที่ดินระหว่าง บิดานายกฯ กับบริษัทฯ จำนวน  600 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในหมายเหตุประกอบงบการเงินระบุว่า 15  ส.ค.56 บริษัทฯได้ซื้อสิทธิสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจำนวน 403.87 ล้านบาท จากบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อขายสิทธิให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน จำนวน 407 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 ส.ค.56 ซึ่งเกิดกำไรจากการจำหน่าย 3.13 ล้านบาท เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามผู้สอบบัญชีบริษัทดังกล่าวแต่ไม่มีคำอธิบาย
prrr18-11-14
ทั้งหมดคือความเป็นมาของการทำหน้าที่ปกติในการตรวจสอบบุคคลสาธารณะ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำชี้แจงต่อสาธารณะอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมีเงื่อนปมที่ยังไม่กระจ่างหลายประการ โดยเฉพาะการเสียภาษีเงินได้จากตัวเลขรายได้ 600 ล้านบาท ซึ่งเกี่ยวพันกับผลประโยชน์สาธารณะ
มิใช่เรื่องส่วนตัว?