PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ศาลพิพากษาคุก2ปีสนธิ-จำลองรวม6พันธมิตร บุกทำเนียบ′51 ไม่รอลงอาญา-จ่อประกัน

ศาลพิพากษาคุก2ปีสนธิ-จำลองรวม6พันธมิตร บุกทำเนียบ′51 ไม่รอลงอาญา-จ่อประกัน
Cr:มติชน
ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 2 ปี สนธิ ลิ้มทองกุล - จำลอง ศรีเมือง กับพวกแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รวม 6 คน คดีบุกทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551
28 พ.ค.-พลตรีจำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายสมศักดิ์ โกศัยสุขและนายสุริยะใส กตะศิลา 6 แกนนำ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายังศาลอาญา เพื่อฟังคำพิพากษา คดีที่อัยการยื่นฟ้องทั้ง 6 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและร่วมกันทำให้ให้เสียทรัพย์ กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์มีตำรวจ เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบรัฐบาล เบิกความยืนยันว่าจำเลยทั้ง 6 เป็นแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร ชักชวนให้ผู้ชุมนุม กดดันให้นายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการวางแผน ดาวกระจาย ให้ผู้ชุมนุมบุกรุกไปยังสถานที่ราชการต่างๆ รวมถึงทำเนียบรัฐบาล ซึ่งผู้ชุมนุมได้ปีนรั้ว ตัดโซ่คล้องประตู ผลักดันแผงเหล็ก บุกเข้าไปตั้งเวทีปราศรัย และชุมนุม ด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนออกจากทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551
ซึ่งพยานโจทก์เบิกความอีกว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ส่งผลให้ทรัพย์สินภายในทำเนียบรัฐบาล อาทิ สนามหญ้าระบบสปริงเกอร์ ระบบกล้องวงจรปิด และทรัพย์สินอื่นๆ ได้รับความเสียหาย ซึ่งพยานโจทก์ เป็นเจ้าพนักงาน เชื่อว่าไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน เชื่อว่าเบิกความตามความจริง
และแม้จำเลยทั้ง 6 จะต่อสู้ ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นการบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลของกลุ่มผู้ชุมนุม และได้เข้าไปห้ามปรามไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมก่อความเสียหายภายในทำเนียบรัฐบาล ศาลเห็นว่า เป็นเพียงคำกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีเหตุรับฟัง ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ศาลเห็นว่า การบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ
แม้จำเลยจะมีเจตนาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ก็มีความผิดตามฟ้อง พิพากษา จำคุกจำเลยทั้ง 6 คนละ 3 ปี แต่การนำสืบเป็นประโยชน์ ต่อการพิจารณาคดี ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกจำเลยทั้ง 6 คนละ 2 ปี
ภายหลังนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความเปิดเผยว่า จะใช้หลักทรัพย์ เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ วงเงินคนละ 2 แสนบาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราว และเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดี
สำหรับคดีกลุ่มพันธมิตรฯ บุกทำเนียบรัฐบาล ปี 2551 พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และนายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำพันธมิตร ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและร่วมกันทำให้ให้เสียทรัพย์กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2551 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 , 91 , 358 , 362 และ 365 คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ


นายกฯ ชี้ “แม้ว” สู้คดีก็ไม่เละแบบนี้ ย้อน “ปู” ฝืนทำไปแล้วช่วยไม่ได้ ให้ถาม ปชช.เอาไง

นายกฯ ชี้ “แม้ว” สู้คดีก็ไม่เละแบบนี้ ย้อน “ปู” ฝืนทำไปแล้วช่วยไม่ได้ ให้ถาม ปชช.เอาไง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 พฤษภาคม 2558 17:04 น. (แก้ไขล่าสุด 28 พฤษภาคม 2558 17:38 น.)
นายกฯ ชี้ “แม้ว” สู้คดีก็ไม่เละแบบนี้ ย้อน “ปู” ฝืนทำไปแล้วช่วยไม่ได้ ให้ถาม ปชช.เอาไง
        “บิ๊กตู่” แจงคู่ขัดแย้งไม่ยอมมาเจรจากัน ตอนนี้รวมหัวเล่นรัฐ ย้ำว่าตามกฎหมายไม่รังแกใคร รับโทษถึงล้างผิด ปล่อย “ทักษิณ” ป่วนไป รับประชาชน-กองทัพ แจ้งความผิด ม.112 เผยถอดยศมีหน่วยงานดูแล ขู่ไม่ลดระดับเดียวโดนจนได้ รับทำเองเลยได้แต่ยังไม่ถึงเวลา เมินคุยด้วย ย้ำผิดกฎหมาย ถ้ามาสู้ก็ไม่เละแบบนี้ ชี้ “ปู” ฝืนทำไปแล้วช่วยไม่ได้ ไล่ถาม ปชช.เลิกหนุนนักการเมืองไม่ดีหรือไม่ชี้ รบ.อนาคตทำตามตน ชาติเป็นมหาอำนาจ
      
       วันนี้ (28 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ โดยให้แกนนำคู่ขัดแย้งที่เป็นต้นเหตุมาเจรจาว่า เขาไม่มา เรื่องนี้ทำไปแล้ว ทางศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปเรียกมาคุยกันแล้ว
      
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมนายกฯ ไม่ทำเอง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “ทำไมต้องเป็นผม ถ้าเขามาบอกว่าให้ผมยกโทษทั้งหมด ผมจะให้เขาได้ไหม ซึ่งเขาจะเอาแบบนั้น ทางหน้าสื่อเขาก็แสดงออกมาอย่างนั้น ยกโทษปรองดอง ซึ่งผมเห็นว่ากฎหมายว่าอย่างไรก็ต้องว่าตามนั้น รับโทษกันหรือยัง ถ้ารับโทษมีเหตุอันควรปราณีหรือไม่ ถ้าจะปรองดองมีพิเศษหรือเปล่า ต้องคุยอย่างนั้น ถ้ามาคุยแล้วบอกให้ยกโทษทั้งหมด แล้วคนที่ตายเจ็บไปเท่าไหร่จะทำอย่างไร ไม่นึกถึงเขาบ้างหรือ เขาลำบากเดือดร้อน หรือเอาเงินฟาดหัวไปแล้วเลิก มันก็ไม่ได้ คนทำความผิดต้องถูกลงโทษก่อน โดยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม วันนี้ คสช.ไม่ได้รังแกใคร ถ้าใครผิดก็ว่าไปตามผิด คดีก่อนวันที่ 22 พ.ค. 57 อะไรที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็นำเข้าสู่คดีให้หมด จะเป็นพวกไหนก็เอาเข้าหมด แต่มีบางพวกที่ไม่ยอมเข้า เพราะอะไร ถ้าถูกก็ต้องเข้ามา แสดงว่าเขาไม่ถูกใช่หรือไม่ ถึงไม่กล้ามา และกลายเป็นว่ารัฐรังแก แต่กฎหมายก็คือกฎหมาย”
      
       เมื่อถามว่าในทางกฎหมายเป็นไปได้หรือไม่ ในการที่ยอมรับผิดแล้วจำคุก 1 เดือนก่อนจึงจะมีการพูดคุย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เรื่องนี้ตนไม่รู้ แต่การจะได้รับการอภัยโทษต้องได้รับโทษมาแล้ว เพียงพอกับอะไรแล้วจนได้รับความเมตตาก็จะเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ทุกวันนี้ทางรัฐบาลได้ทำเรื่องขออภัยโทษทุกปี ดังนั้นต้องถามเขาว่ามารับโทษหรือยัง
      
       เมื่อถามว่าจำเป็นหรือไม่ในเรื่องการรับโทษต้องเป็นไปตามที่กฎหมายระบุไว้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็ไปหารือ ไปคุยกันมา โดยกระบวนการยุติธรรม แต่ข้อสำคัญคือประชาชนทั้งประเทศยอมหรือไม่ อีกพวกยอมไหม ถ้าอีกพวกยอมก็โอเคว่ามา แล้วตอนนี้ก็จะเอาเป็นเอาตายทั้งคู่
      
       เมื่อถามย้ำว่าจะต้องให้คู่ขัดแย้งมานั่งคุยกันอีกหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เขาทำมาตั้งหลายทีแล้ว ตอนนี้เขาก็นั่งคุยกัน แล้วรวมหัวมาเล่นงานรัฐบาลอยู่นี่ไง
      
       เมื่อถามว่ามีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้เขียนเรื่องนิรโทษกรรมไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้นักโทษทางการเมืองไม่มีแล้วในคุก มีแต่นักโทษดำเนินคดีอาญา พูดกันอยู่ได้นักโทษการเมือง มันใช้อาวุธยิงในการประท้วง นี่หรือการเมือง มีการใช้อาวุธปืน ระเบิด ในการประท้วงแล้วบอกว่าเป็นคดีการเมืองเอามาพันกันหมด มันใช่หรือไม่ คิดให้เป็นบ้าง
      
       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระทรวงการต่างประเทศถอนพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเป็นการกดดันให้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า แล้วแต่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเคลื่อนไหวก็ทำไป กฎหมายก็มีอยู่ เคลื่อนไหวอีกก็มีอีก
      
       เมื่อถามว่าผลจากการให้สัมภาษณ์ ที่ประเทศเกาหลีของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้นจะถูกดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 เพิ่มอีกหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตนไม่ได้เป็นคนทำ ประชาชนเขาแจ้งความกันมากับทางตำรวจเยอะ ทางกองทัพบกก็แจ้งมา เพราะหมิ่นประมาท สร้างความเกลียดชัง พูดจาให้ร้ายกองทัพ ซึ่งมีกฎหมายดำเนินการ ส่วนกรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บอกว่าจะคืนพาสปอร์ตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หากได้กลับมาเป็นรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับประชาชน และกระบวนการยุติธรรมจะให้เขากลับมาอีกหรือเปล่า
      
       เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จริงๆ เรื่องนี้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ในส่วนของเราทุกคนมองว่าไม่อยากให้รุนแรงเกินไป เดี๋ยวจะเข้าทางและถูกกล่าวหาว่ารังแก ซึ่งอยากให้เขาเข้าใจและลดระดับลงไปบ้าง แต่เขาไม่เปลี่ยนแปลงเลย เดี๋ยวมันก็ถึงขั้นนั้นจนได้ โดยทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งตนก็ไม่ได้ไปห้าม ถ้าผิดมีปัญหาก็ว่ามา ทางเจ้าหน้าที่ก็ต้องกล้าทำ ทุกอย่างจะให้ตนตัดสินใจหมด มันก็จะลงมาที่ตนคนเดียว แต่ถึงอย่างไรมันก็ลงอยู่แล้ว แต่ก็ควรจะช่วยตนบ้าง ถ้ามันผิดจริงก็ทำมา แต่ถามว่าทำไมไม่ทำในสมัยรัฐบาลก่อน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แล้ววันนี้กลับมาไล่ให้ตนทำ รัฐบาลที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มมาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลตนไม่ใช่ ในเรื่องนี้ต้องให้หน่วยงานพิจารณามา เช่นเดียวกับเรื่องการถอนพาสปอร์ต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ส่งเรื่องมาถอนทั้งสองเล่มทั้งพาสปอร์ตพลเรือน และพาสปอร์ตทางการทูต ก่อนหน้านี้เคยถูกถอนแล้ว แต่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์มาคืนให้ เมื่อทำผิดก็ต้องถอนมันคือกติกาของกระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้
      
       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า เรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องที่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ แล้วทำไมต้องนำพระองค์ท่านลงมาอีก ตอนนี้พระองค์ท่านก็ถูกอ้างอิงเยอะ สถาบันฯ เสียหายพออยู่แล้ว เมื่อถามว่ามีแนวทางในการถอดยศ โดยใช้อำนาจจากการทำรัฐประหารหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ได้ ถ้าถึงเวลาแล้วจะทำ ไม่ต้องมาเร่ง ต้องเก็บไว้บ้าง แต่ถ้าทำตนก็ถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นธรรม อำนาจ คสช.ที่มีตนทำได้ทุกอย่าง แต่ยังไม่ทำและจะทำเมื่อถึงเวลา ไม่ใช่ไม่ทำ การจะทำอะไรก็ตามต้องมีเหตุผล มันต้องชัดเจนและมีกฎหมาย ถ้าอย่างนั้นจะเรียกว่าเป็นรัฐประหารแบบที่ฆ่ากันทั้งประเทศ แบบที่เกิดขึ้นในบางประเทศ
      
       เมื่อถามว่าตั้งแต่เข้ามาควบคุมอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณได้มีการติดต่อนายกฯ โดยตรงหรือผ่านใครมาหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่เคย แต่ตนจะไปพูดด้วยทำไม พูดไม่ได้ ถ้าติดต่อมาก็ไม่พูด เพราะวันนี้เราเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ติดต่อผ่านใครมาก็ไม่ฟัง ถามว่าจะติดต่อเรื่องอะไร หากจะปรับความเข้าใจอะไรกับตนก็คงไม่มี เพราะตนไม่ได้เข้าใจผิดอะไรกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ท่านทำผิดกฎหมาย วันนี้ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการยุติธรรม
      
       เมื่อถามว่าได้มีการพูดคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่มี จะพูดเรื่องอะไร มันอยู่ในกระบวนการยุติธรรมหมดแล้ว และตนกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ไม่ได้มีความบาดหมางอะไรกันทั้งสิ้น ตนก็ทำงานกับรัฐบาลมา สิ่งไหนที่สามารถยุติได้ตนก็บอกว่าไม่ควร แต่ในเมื่อฝืนทำไปแล้วตนก็ช่วยไม่ได้ ตรงนี้เป็นเรื่องของกฎหมาย และบอกว่าตนรับผิดชอบร่วมด้วยไม่ได้ เมื่อถามว่าจะมีเรื่องของการปรองดองหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถ้าปรองดองคือการยกโทษนั้นทำไม่ได้ เพราะจะไม่มีผลอะไรทั้งนั้น
      
       เมื่อถามว่าหลังจากที่นายกฯ ส่งแผนปฏิรูปให้รัฐบาลใหม่ในขณะที่สีเสื้อยังไม่สลาย ปัญหาจะจบหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จะมาถามตนได้อย่างไร ต้องไปถามใจคนทั้งประเทศ 67 ล้านคน อยากจะปรองดองหรือไม่ และจะเลิกสนับสนุนนักการเมืองที่ไม่ดีหรือไม่ แต่เรื่องสีเสื้อทางศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป ได้มีการสำรวจแล้วพบว่ามีน้อยลงหากไม่มีใครไปปลุกระดม ก็จะไม่มี และยังบอกด้วยว่าสบายหูด้วยซ้ำไม่มีใครมาปลุกระดม แต่ความยากจนถ้าใครไปชักจูงมันก็อาจจะมีบ้าง ซึ่งเราก็ต้องลดความเหลื่อมล้ำ แก้ความยากจน ให้พวกเขา ซึ่งก็ต้องบอกว่าให้รอหน่อย ต้องอดทนเรากำลังทำอยู่ ซึ่งเราจะปล่อยให้บ้านเมืองไม่มีระเบียบต่อไปไม่ได้ ซึ่งการดำเนินการจะต้องไม่ให้ประชาชนเกิดความแตกแยก
      
       “เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ผมไปเคลียร์เรื่องกฎหมายไม่ได้ เขาเป็นใคร ผมเป็นเจ้าหน้าที่ใครทำผิดกฎหมายก็มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มาต่อสู้คดีก็จบแล้ว มันจบตั้งนานแล้ว ถ้ามาล่ะก็มันไม่เละขนาดนี้หรอก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
      
       เมื่อถามว่า มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่กล้าเดินทางกลับประเทศไทย เพราะกลัวตาย กลัวถูกรอบทำร้าย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ศัตรูของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีหรือเปล่า ตนไม่รู้ เมื่อถามว่าจะดูแลความปลอดภัยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ถ้าเดินทางกลับมาสู้คดี พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเขามี
      
       เมื่อถามย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับในช่วงรัฐบาลนี้ การันตีได้หรือไม่ว่าจะปลอดภัย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “ผมไม่การันตี ผมไม่รู้ท่านไปสร้างรอยแค้นกับใครไว้บ้างหรือเปล่า ผมจะรู้หรือไม่ ไปเป็นศัตรูกับใครแค่ไหน แค่ตัวผมเองยังต้องระวังเลย ผมจะไประวังคนอื่นอะไรได้มากมายนัก กลไกก็ดูแลไปสิ มันอยู่ที่ว่าทำให้คนเกลียดแค่ไหน ใช่ไหม ขณะเดียวกันผมอาจทำให้คนเกลียดก็ได้
      
       เมื่อถามว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมเครื่องบินส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณจึงสามารถบินเข้ามาในประเทศไทยได้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถ้ามีจริงก็ปลดให้หมดทั้งสนามบิน กฎหมายมีอยู่แล้วจะมาได้อย่างไร แต่ถ้าถูกกฎหมายก็มาได้หมด
      
       เมื่อถามว่าถ้ารัฐบาลหน้ารัฐมนตรีทั้งหมดมีความคิดและความตั้งใจแบบนายกฯในปัจจุบัน ประเทศจะเป็นอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ประเทศไทยก็เป็นประเทศมหาอำนาจ แต่ประเทศจะเดินได้หรือไม่ อยู่ที่ประชาชนเพราะประชาชนทุกคนเป็นใหญ่โดยใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้ง การทำประชามติแต่ถ้าจะให้ประชาชนเข้ามาทุกขั้นตอนในมาบริหารจัดการเองทั้งหมด ก็ไม่ต้องมีรัฐบาล สุดท้ายก็ตีกันทั้งปี 

นายกฯ ไม่รับประกัน "ทักษิณ"กลับมาจะปลอดภัยหรือไม่ เพราะไม่รู้ใครเป็นศัตรูบ้าง

ศัตรู เพียบ....
นายกฯ ไม่รับประกัน "ทักษิณ"กลับมาจะปลอดภัยหรือไม่ เพราะไม่รู้ใครเป็นศัตรูท่านบ้าง ขนาดผมเองยังตัองระวังเลย ชีวิตผมฝากไว้กับทีมรปภ.ทหารเสือฯ ปัดข่าว"ทักษิณ"ส่งเครื่องบินส่วนตัวมารับลูกสาว หลานสาว ยันไม่มี มีมามั้ย ใครมา ถ้ามีมาแล้วไม่ดำเนินก็ต้องเอาออกทั้งหมด แถวสนามบินน่ะ เผย ทบ.ประขาขน แจ้งความทักษิณ หมิ่น 112- หมิ่นประมาท ด้วย พร้อมใช้อำนาจ คสช.ถอดยศ เพราะไม่อยากให้กระทบสถาบัน เพราะถอดยศต้อง โปรดเกล้าฯ

พลเอก ประยุทธ์ นายกฯ และหน.คสช.!ปฏิเสธว่า ที่ผ่านมา ระหว่าง ตนเอง หรือ รัฐบาล และพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยติดต่อพูดคุยกัน
"ไม่มี ไม่เคยติดต่อ จะพูดทำไม พูดเรื่องอะไร แต่ผมไม่เคยมีเรื่องบาดหมางอะไรทั้งสิ้น ไม่ได้เข้าใจอะไรผิด ผมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จะคุยได้หรือ หากทำผิดก็ต่อสู้ตามกระบวนการก็จบ ไปนานแล้ว ถ้ากลับมาต่อสู้คดี ก็ไม่เละขนาดนี

เมื่อถามว่า นายกฯ ยืนยันหรือไม่ว่าถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ กลับมาเมืองไทยจะปลอดภัย นายกฯ กล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่แล้ว 
"แต่ผมไม่รู้ว่าท่านเคยไปมีเรื่อง ไปสร้างรอยแค้น เป็นศัตรูกับใครไว้บ้าง เหมือนกับตัวตนเอง ที่อาจจะทำให้คนเกลียดเหมือนกัน" ผมเองชีวิตก็ฝากไว้กับทีม รปภ.ทหารเสือฯของผม 
ส่วนกระแสข่าวระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ นำเครื่องบินส่วนตัวรับลูกสาว พร้อมด้วยสามีและหลานสาวนั้น ได้รับรายงานหรือไม่ นายกฯ ย้อนถามสื่อว่า แล้วมาไหม มีมาไหม มีมาหรือเปล่า ใครมา ถ้ามีมาแล้วไม่ดำเนินก็ต้องเอาออกทั้งหมด แถวสนามบิน นั่น

ส่วนการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถทำได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือว่าหนักนะ เพราะต้องมีการโปรดเกล้าฯ ทำไมต้องเอาท่านลงมา ตอนนี้สถาบันถูกพาดพิงจนเสียหายมากพอแล้ว

ถามว่า จะใช้อำนาจ หัวหน้า คสช.ถอดยศ ได้หรือไม่ พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า มี ทำได้ทุกอย่าง แต่ไม่ทำ จะทำเมื่อถึงเวลา บางเรื่องต้องเก็บไว้บ้าง ทำทุกอย่างต้องมีเหตุผล ต้องชัดเจน มีกฎหมายรองรับ

ส่วนกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณว่า ไม่เกี่ยวกับผม เป็นเรื่องของหน่วยงานพิจารณา เพราะมีประชาชนจำนวนมากไปแจ้งความ รวมถึงกองทัพบก เจ้าหน้าที่ต่างๆด้วย เพราะเป็นการ หมิ่นประมาท ให้ร้าย สร้างความเกลียดชัง จึงถือว่าผิดกฎหมาย เรื่องนี้แล้วแต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่จะพิจารณาดำเนินการกันเอง ผมไม่ได้สั่ง

ถามว่า จะดำเนินการเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ถ้าผิดจริงก็ดำเนินการ แล้วแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกันเอง เพราะมีร้องเรียนมาเยอะจำนวนมาก ทำอะไรลงเป็นแล้วก็เป็นเรื่องของกฎหมาย

ส่วนกรณีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ถ้าได้เป็นรัฐบาลอีก ก็จะดำเนินการคืนพาสปอร์ตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่นเดิมนั้น ต้องถามว่าจะให้เขากลับมาอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประชาชนและกระบวนการยุติธรรม


ประยุทธถามปชป.จี้ถอดยศทักษิณตอนอยู่ทำไมไม่ทำล่ะ..


Siriwanna Jill

ลุงตู่ปล่อยหมัดเด็ด ตั้งคำถาม พรรคสีฟ้า ว่ากดดัน คสช. ให้ถอดยศ และ ยึดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนเป็นรัฐบาลทำไมไม่ทำ ...... 

นั่นซินะ พี่มาร์ค ใจปลาซิว ไม่กล้าทำ ขนาดว่า สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา มีหนังสือยืนยัน ตรงกันถึง 2 รอบ ชุดแรก แจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางการขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ถอดยศตำรวจ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สืบเนื่องมาจาก ทักษิณ ถูก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาเมื่อ 21 ต.ค. 51 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่า เมื่อ ทักษิณ ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษา ของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ให้ถอดยศ พ.ต.ท. ของ ทักษิณได้ รวมไปถึงการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548

ต่อมา คณะกรรมการกฤษฎีกา ชุดที่ 2 ความเห็นเหมือนเดิมว่า การกำหนดเหตุแห่งการถอดยศ มุ่งหมายถึงผล ที่ผู้นั้นได้รับจากคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น โดยไม่ได้มุ่งหมายถึงสถานะของบุคคล กระบวนการพิจารณา พิพากษาคดี หรือฐานความผิดว่า จะต้องเป็นไปตามกฎหมายใด ดังนั้น ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใด มีกรณีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 1(2) แห่งระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547
ส่วนกรณีที่มีการคัดค้านว่า ทักษิณมิได้รับราชการใน สตช.แล้วนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งยศตำรวจ ข้าราชการตำรวจ แม้ว่าจะพ้นจากราชการไปแล้ว ก็ยังสามารถ ใช้ยศตำรวจต่อไปได้ จนกว่าจะถูกถอดออกจากยศ ซึ่งการถอดยศตำรวจนั้น ส่วนมาตรา 28 บัญญัติให้การถอด หรือการออกจากยศตำรวจ ชั้นสัญญาบัตรเป็นไปตามระเบียบ สตช. และให้ทำโดยประกาศ พระบรมราชโองการ จึงเห็นได้ว่าการถอด หรือการออกจากยศตำรวจ เป็นการดำเนินการ ให้ผู้ที่ยังใช้ยศตำรวจอยู่ ไม่มีสิทธิใช้ยศตำรวจอีกต่อไป ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นข้าราชการตำรวจ หรือไม่ก็ตาม
การออกระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 เป็นการกำหนดขั้นตอน วิธีการให้ข้าราชการของ สตช.ที่มีหน้าที่ปฏิบัติ เช่น กองวินัยหรือกองกำลังพล ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งถือเป็นการกำหนดกระบวนการ ที่ใช้ภายใน สตช. สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเดิม ที่เคยดำเนินการตามข้อบังคับที่ 4/2499 เรื่อง วางระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ตามพระราชบัญญัติยศตำรวจ พ.ศ.2480 ต่อมา เมื่อได้ยกเลิกกฎหมายว่า ด้วยยศตำรวจ และใช้พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 แทน จึงมีการออกระเบียบ สตช. ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ขึ้นใช้แทน ดังนั้น การดำเนินการของ สตช. จึงไม่ถือเป็นการใช้อำนาจเกิน ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด


ผบ.ทบ.จะแจ้งความทักษิณผิดม.112

นายกฯ เผย ทบ. และ ประชาชน จะแจ้งความฟ้อง "ทักษิณ"หมิ่นสถาบัน ผิดม.112 และ หมิ่นประมาท ทำ ทบ.เสียหาย ให้สัมภาษณ์พาดพิง ไฟเขียวทุกหน่วยจัดการตามความผิด รวมถึง ถอดยศ ที่ผมไม่ได้ห้าม ใครมีหน้าที่อะไร ก็ทำไป
แต่ที่ผ่านมา ที่ไม่อยากถอดยศ"ทักษิณ" เพราะต้องโปรดเกล้าฯหวั่นจะมีการดึงสถาบันฯลงมาเกี่ยวข้องอีก ไม่อยากให้กระทบท่าน เผยอาจใช้อำนาจหน.คสช.ได้ แต่ยังไม่ถึงเวลา เก็บอำนาจไว้บ้างซิ ถามทำไมในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ทำเริ่องถอดถอน ต้องมาให้ผมทำทุกอย่าง ยันไม่เคยติดต่อพูดคุยกับ พตท.ทักษิณ ไม่ว่า ทางตรง หรือทางอ้อม เพราะผมเป็นเจ้าหน้าที่ จะไปคุยได้หรือ คุยไม่ได้ เผยที่ผ่านมา อาจไม่ได้ทำ เพราะไม่อยากให้ถูกมองว่า รังแกกลั่นแกล้ง แต่จะเห็นว่า ท่านไม่หยุด เริ่มจาก ยกเลิก พาสปอร์ต


กฤษฎีกายืนยันสตช.มีอำนาจถอดยศ ทักษิณ

 กฤษฎีกายืนยันสตช.มีอำนาจถอดยศทักษิณ

หมายเหตุ เป็นความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2 ที่ยืนยันว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอำนาจตามกฎหมายที่จะออกระเบียบถอดยศตำรวจที่ต้อง “คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ที่ให้จำคุก หลังจากที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยหารือเรื่องนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว แต่มี ส.ส.บางกลุ่มทักท้วงว่า เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต(เรื่องเสร็จที่ 575/2554)

อนึ่ง สำหรับบุคคลผู้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติหยิบยกมาหารือคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  เรื่อง อำนาจในการออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗

สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ ตช ๐๐๐๙.๒๕๔/๑๕๘๘ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า ตามที่เคยหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์มายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาครั้งหนึ่งแล้ว

โดยในส่วนของการถอดยศ ขอหารือว่า “คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่พิพากษาให้ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความผิดตามมาตรา ๑๐๐ (๑) วรรคสาม และพิพากษาให้รับโทษจำคุกตามมาตรา ๑๒๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒” ถือเป็นเหตุในการพิจารณาถอดยศตำรวจ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า ด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) ได้มีความเห็นว่า การกำหนดเหตุแห่งการถอดยศมุ่งหมายถึงผลที่ผู้นั้นได้รับจากคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น โดยไม่ได้มุ่งหมายถึงสถานะของบุคคล กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดี หรือฐานความผิดว่า จะต้องเป็นไปตามกฎหมายใด

ดังนั้น ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๑ (๒) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗

ต่อมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและข้าราชการบำนาญกับพวกรวม ๖ คน มีหนังสือ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติร้องขอให้ยกเลิกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจฯ ในส่วนที่ใช้บังคับกับอดีตข้าราชการตำรวจหรือบุคคลภายนอก โดยมีประเด็นสรุปได้ ดังนี้

การออกระเบียบโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๑ (๔) จะใช้บังคับกับข้าราชการตำรวจเท่านั้น การที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยครอบคลุมไปถึงบุคคลภายนอก เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดและเป็นการออกระเบียบโดยมิชอบ เนื่องจาก มาตรา ๑๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ บัญญัติให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจ วางระเบียบหรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น เท่านั้น

ดังนั้น จึงขอให้ยกเลิกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจฯ ข้อ ๑ วรรคหนึ่ง เฉพาะข้อความว่า และที่พ้นจากข้าราชการตำรวจไปแล้ว และข้อ ๑ (๖) ทั้งข้อ คือ ต้องหาคดีอาญาแล้วหลบหนีไปสำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

นอกจากนี้ การออกระเบียบดังกล่าวถือเป็นการออกกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องตามนัย มาตรา ๗ (๔) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

จะต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมิได้นำระเบียบฉบับนี้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

ดังนั้น จึงไม่สามารถนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่บุคคลใดได้ตามนัย มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา ๗ (๔) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาจะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งแตกต่างไปจากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) ได้พิจารณาและมีความเห็นไว้แล้ว จึงนำเรื่องเสนอคณะอนุกรรมการ ก.ตร. ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วที่ประชุมมีความเห็นเป็นสองฝ่าย ดังนี้

ฝ่ายที่หนึ่ง เห็นว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจฯ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ (๔) มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ โดยมีเจตนารมณ์ให้ผู้ที่ดำรงอยู่ในยศตำรวจต้องประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมกับเกียรติศักดิ์ เพื่อมิให้นำความเสื่อมเสียมาสู่หมู่คณะของข้าราชการตำรวจ หากผู้ใดประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมกับเกียรติศักดิ์ไม่ได้ก็ไม่สมควรที่จะดำรงอยู่ในยศตำรวจต่อไป

และเมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ บทบัญญัติของกฎหมายได้ใช้คำว่า “ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร” หรือ “ยศตำรวจชั้นประทวน” โดยมิได้ใช้คำว่า “ยศข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร” และ “ยศข้าราชการตำรวจชั้นประทวน” ทั้งยังบัญญัติเรื่อง “การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ” ไว้ด้วย

กรณีนี้จะเห็นได้ว่ายศตำรวจสามารถให้ได้ทั้งผู้ที่เป็นข้าราชการตำรวจและผู้ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการตำรวจ สำหรับการถอดยศก็เช่นกันกฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีดังกล่าวเพื่อคุ้มครอง

ในการใช้ยศตำรวจไม่ว่าจะเป็นข้าราชการตำรวจ หรือข้าราชการตำรวจที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งยศก็ตาม โดยการแต่งตั้งยศ การถอดหรือการออกจากยศตำรวจ ถือเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ มาตรา ๖ (๕) และในการนี้มีผลใช้บังคับแก่ผู้มียศตำรวจเท่านั้น ซึ่งไม่ใช้กับบุคคลทั่วไป แต่เป็นไปเฉพาะกลุ่มผู้ดำรงยศตำรวจ จึงไม่จำเป็นต้องนำลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบก็มีผลใช้บังคับได้

ฝ่ายที่สอง เห็นว่า พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ โดยมิได้มีบทบัญญัติในการถอดยศหรือการออกจากยศตำรวจสำหรับบุคคลภายนอกที่มียศตำรวจอย่างชัดเจนแต่อย่างใด

ทั้งนี้ หากกฎหมายประสงค์จะให้มีผลใช้บังคับกับข้าราชการตำรวจที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว หรือประสงค์ให้มีผลใช้บังคับกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องก็ควรจะต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน และหากพิจารณาจากระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจฯ ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจออกระเบียบหรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติเท่านั้นไม่ได้รวมถึงบุคคลภายนอกที่มิได้มีสถานภาพของการเป็นข้าราชการตำรวจแล้ว

ดังนั้น ในส่วนที่ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจฯ กำหนดไว้น่าจะเกินจากขอบเขตอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ย่อมไม่มีผลใช้บังคับกับผู้ที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้วและบุคคลภายนอก

สำหรับระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจฯ กรณีเกี่ยวกับการนำพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ฝ่ายที่สองเห็นพ้องด้วยกับความเห็นฝ่ายที่หนึ่ง

ในเรื่องนี้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ มีมติรับทราบตามที่คณะอนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบเสนอและให้หารือมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๑ (๔) มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ ซึ่งครอบคลุมไปถึงบุคคลภายนอก ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว และบุคคลภายนอกที่ไม่อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นการใช้อำนาจออกระเบียบเกินขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจหรือไม่ อย่างไร

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว มีความเห็นว่า พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗[๒] ได้บัญญัติให้การแต่งตั้งยศตำรวจเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. โดยการแต่งตั้งยศตำรวจมีสองกรณี

กล่าวคือ กรณีแรก เป็นการแต่งตั้งผู้ที่เป็นข้าราชการตำรวจซึ่งการแต่งตั้งจะต้องสอดคล้องกับชั้นและตำแหน่งที่บรรจุไว้และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ส่วนกรณีที่สอง เป็นการแต่งตั้งยศตำรวจเป็นกรณีพิเศษให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ข้าราชการตำรวจให้มียศตำรวจ และหากเป็นกรณีการแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ

ดังนั้น ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งยศตำรวจจึงอาจเป็นได้ทั้งข้าราชการตำรวจหรือบุคคลอื่น โดยผู้ได้รับแต่งตั้งยศตำรวจทุกนายแม้ว่าจะพ้นจากราชการไปแล้วก็ยังสามารถใช้ยศตำรวจต่อไปได้ จนกว่าจะถูกถอดออกจากยศ ซึ่งการถอดยศตำรวจนั้น มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ บัญญัติให้การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ จึงเห็นได้ว่าการถอดหรือการออกจากยศตำรวจเป็นการดำเนินการให้ผู้ที่ยังใช้ยศตำรวจอยู่ไม่มีสิทธิใช้ยศตำรวจอีกต่อไป ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นข้าราชการตำรวจหรือไม่ก็ตาม

สำหรับปัญหาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติหารือมาว่า กรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๑ (๔)  มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ ให้ครอบคลุมไปถึงบุคคลภายนอก ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว และบุคคลภายนอกที่ไม่อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นการใช้อำนาจออกระเบียบเกินขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจหรือไม่ อย่างไร นั้น

เห็นว่า การออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นการกำหนดขั้นตอน วิธีการให้ข้าราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีหน้าที่ปฏิบัติ เช่น กองวินัยหรือกองกำลังพล ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งถือเป็นการกำหนดกระบวนการที่ใช้ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนที่จะส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติดังกล่าวก็สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเดิมที่เคยดำเนินการตามข้อบังคับที่ ๔/๒๔๙๙ เรื่อง วางระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ตามพระราชบัญญัติยศตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๘๐

ต่อมาเมื่อได้ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยยศตำรวจ และใช้พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ แทน จึงมีการออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ ขึ้นใช้แทน

ดังนั้น การดำเนินการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงไม่ถือเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด

สตช.ยุคยิ่งลักษณ์ เคยสั่งยกเลิกการถอดยศทักษิณ

PRASONG.COM เล่าข่าว...จากประสบการณ์ > กฎหมาย > สตช.ยุค”ยิ่งลักษณ์”ซุมเงียบสั่งยุติ”ถอดยศ”ทักษิณ หลังดองนานหลายปี

สตช.ยุค”ยิ่งลักษณ์”ซุมเงียบสั่งยุติ”ถอดยศ”ทักษิณ หลังดองนานหลายปี

เมื่อ: Tuesday, June 24th, 2014 ไม่มีความคิดเห็น »
 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วงรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” สั่งยุติเรื่องการ “ถอดยศ” ทักษิณ แล้ว ทั้งที่คณะกรรมการกฤษฎ๊กายืนยันถึง2 ครั้งว่ามีอำนาจทำได้ แต่ดองคดีไว้นานหลายปี

แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)เปิดเผย “สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org”ถึงความคืบหน้าในการเสนอให้มีการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเนื่องจากถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้จำคุกจำคุก 2 ปี(คดีการซื้อที่ดินถนนรัชดาภิเษกจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมูลค่า 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 และ 122 ) มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2551และยังหลบหนีอยู่ต่างประเทศว่า เหตุผลที่การถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความคืบหน้าใดๆ เนื่องจากในช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กองวินัยซึ่งมีหน้าทีดดยตรงในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ได้นำเสนอต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)ให้ยุติเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยอ้างว่า การถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองซึ่งทาง ผบ.ตร.ได้ให้ความเห็นชอบตามที่กองวินัยเสนอ

แหล่งข่าวกล่าวว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและหลบหนีคดีเป็นเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศ 2547 ที่จะต้องถูกถอดยศเหมือนนายตำรวจอื่่นๆ แต่ สตช.กลับใช้เวลาหลายปีในเรื่องดังกล่าวและพยายามดึงเรื่องไว้ โดยจะเห็นได้ว่า มีการหารือเรื่องนี้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาถึง 2 ครั้่ง ในปี 2552และปี 2554 แต่คณะกรรมการกฤษฎีกายืนยันทั้งสองครั้งว่า การถอดยศเป็นอำนาจของ สตช.ที่สามารถดำเนินการ แต่กลับไม่มีการดำเนินการใด จนกระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในเดิอนสิงหาคม 2554 จึงมีการสั่งให้ยุติเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกล่าว

อนึ่ง สำหรับการถอดยศตำรวจมีการบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 28โดยระบุแต่เพียงว่า ” การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ”

ดังนั้นจึงมีการตราระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจและประกาศใช้ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2547

ระเบียบดังกล่าวเริ่มต้นด้วยคำปรารภเกี่ยวกับเหตุผลในการถอดยศว่า “เนื่องจาก ผู้ที่ดำรงอยู่ในยศตำรวจ สมควรจะประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ มิฉะนั้น ย่อมเป็นทางนำความเสื่อมเสียมาสู่หมู่คณะ โดยเหตุผลดังกล่าว หากผู้ใดประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ไม่ได้ ก็ไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศตำรวจต่อไป”

ระเบียบดังกล่าวมิได้จำกัดตำรวจที่จะถูกถอดยศไว้เฉพาะตำรวจที่รับราชการอยู่เท่านั้น โดยระเบียบข้อ 1 ระบุว่า “การเสนอขอถอดยศตำรวจทั้งแก่ผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว”

ระเบียบดังกล่าวได้กำหนดการกระทำหรือเหตุที่จะถูกถอดยศไว้ 7 ประการ แต่ที่เข้าข่ายกรณี พ.ต.ท.ทักษิณมีอยู่ 2 ประการคือ

ข้อ (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท

ข้อ(6) ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

จากระเบียบดังกล่าว เห็นชัดว่า กรณีพ.ต.ท.ทักษิณซึ่ง “ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก..เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท”หรือ “ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป “มีการกระทำหรือเข้าเหตุแห่งการถูกถอดยศอย่างชัดเจน ไม่เกี่ยวว่า ต้องเป็นการฆ่าคนตาย ค้ายาเสพติด ทุจริต เท่านั้น

เมื่อเข้าเหตุหรือมีการกระทำดังกล่าวแล้วระเบียบได้กำหนด “หน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาและดำเนินการถอดยศตำรวจ”ไว้ดังนี้

หนึ่ง ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้กองวินัย หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการทางวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาว่า ผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศ แล้วแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้กองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาถอดยศ …

สอง ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่รับทราบข้อมูลการต้องหาคดีอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา ….ทั้งในส่วนของผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว หรือยังคงรับราชการอยู่ในหน่วยงานอื่นของรัฐหาข้อมูลเบื้องต้นให้แน่ชัดแล้วส่งเรื่องให้กองวินัยพิจารณา หากเห็นว่าผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศก็ให้ส่งเรื่องไปยังกองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา ถอดยศต่อไป

อ่านประกอบ

กฤษฎีกายืนยัน สตช.มีอำนาจถอดยศ “ทักษิณ”หลังหารือซ้ำสอง

การโจมตีเยเมน

เบื้องหลังสงครามกลางเมืองในเยเมน

8 เมษายน 2558 - 16:49:23

(VOVworld) – ในหลายวันมานี้ สงครามกลางเมืองในเยเมนได้กลายเป็นข่าวร้อนของภูมิภาคตะวันออกกลางหลังจากที่ซาอุดิอาระเบียและบรรดาประเทศพันธมิตรทำการโจมตีเยเมน ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์มีความร้อนระอุมากขึ้นและะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของภูมิภาคเหมือนระเบิดเวลาที่พร้อมระเบิดได้ทุกเมื่อ


กลุ่มกบฎฮูธิในภาคใต้เยเมน (Photo AP)
จนถึงวันที่ 8 เมษายน การโจมตีทางอากาศของพันธมิตรอาหรับ นำโดยซาอุดิอาระเบียใส่กลุ่มกบฎฮูธิในภาคใต้เยเมนได้ย่างเข้าสู่วันที่ 14 ซึ่งการสู้รบที่ดุเดือดนี้ได้ส่งผลให้สถานการณ์มนุษยธรรมในเยเมนนับวันเลวร้ายมากขึ้น โดยประเทศต่างๆต้องอพยพพลเมืองออกจากเยเมน ตั้งแต่ที่พันธมิตรอาหรับเปิดการโจมตีใส่กลุ่มกบฎฮูธิในภาคใต้เยเมน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 500 คนและได้รับบาดเจ็บกว่า 1,000 คน
การปะทะทางชาติพันธุ์ที่ยังไม่มีท่าที่ที่จะยุติ
สถานการณ์ในเยเมนนับวันตึงเครียดมากขึ้นตั้งแต่ที่กลุ่มฮูธิโจมตียึดกรุงซานาเมื่อเดือนกันยายนปี 2014 และการปะทะภายในประเทศใกล้ที่จะกลายเป็นสงครามกลางเมืองเมื่อกลุ่มฮูธิขยายกองกำลังไปยังเมืองเอเดนในภาคใต้ของเยเมน ซึ่งประธานาธิบดีอับดราบูห์ มานเซอร์ ฮาดีของเยเมนได้หลบมาอยู่ที่นี่ ดังนั้นเพื่อปกป้อง “รัฐบาลที่ชอบธรรม”ของประธานาธิบดีเยเมน พันธมิตรอาหรับ นำโดยซาอุดิอาระเบียได้เปิดการโจมตีทางอากาศขนาดใหญ่ใส่ท้องถิ่นดังกล่าว การแทรกแซงทางทหารอย่างหนักของพันธมิตรได้ส่งผลให้ประชาคมมีความกังวลว่าอาจเกิดสงครามระหว่างกลุ่มสุหนี่กับกลุ่มชีอะห์
ถ้าย้อนมองดูประวัติศาสตร์ของภูมิภาคตะวันออกกลางจะพบว่า การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มชีอะห์กับกลุ่มสุหนี่ที่ต่างนับถือศาสนามุสลิมนั้นได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้มีการก่อตั้งประเทศใหม่ๆจากพื้นฐานเดิมคือการถูกแบ่งแยกส่วนกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มนับถือศาสนาหลายศาสนาได้กระจายไปอยู่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะการก่อตั้งประเทศอิสราเอลของชาวยิวในชุมชนชาวอาหรับหลายร้อยล้านคน ซึ่งรัฐของชาวยิวนี้ถือเป็นศูนย์กลางของชาวยิวจากทั่วโลกและได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและยุโรป นี่คือสาเหตุของการแบ่งแยกและการปะทะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ แต่ภายในโลกอาหรับนั้น ยังมีเส้นแบ่งระหว่างสองกลุ่มที่นับถืออิสลาม นั่นคือระหว่างกลุ่มสุหนี่ที่มีจำนวนมากกว่ากับกลุ่มชีอะห์โดยได้มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปี ส่วนประเทศอิหร่านที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชีอะห์ก็เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งครั้งนี้ เพราะสงครามกลางเมืองในเยเมนคือการเผชิญหน้าระหว่างอิหร่านกับบรรดาประเทศอาหรับที่นำโดยซาอุดิอาระเบียที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ

สงครามแย่งชิงอิทธิพลในภูมิภาค (Photo Reuters)
สงครามแย่งชิงอิทธิพลในภูมิภาค
แม้วัตถุประสงค์ในการทำสงครามในเยเมนที่ซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำและได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐจะเป็นไปเพื่อปกป้องทางการของนาย อับดราบูห์ มานเซอร์ ฮาดี ประธานาธิบดีที่ชอบธรรมของเยเมน แต่แท้จริงแล้ว สงครามนี้มีเป้าหมายเพื่อตักตวงผลประโยชน์ที่ซับซ้อนในตะวันออกกลาง
ถ้าหากมองดูสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภูมิภาคนี้ในเวลาที่ผ่านมาจะพบว่า ที่ซีเรีย รัฐบาลของนาย บาซา อัล อัสซาดสามารถสร้างฐานอำนาจของตนและที่ประเทศอิรัก กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสกำลังถูกกดดันให้ออกจากภูมิภาคนี้โดยความช่วยเหลือที่เข้มแข็งของอิหร่านและกองกำลังท้องถิ่นที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอิหร่าน  ในขณะเดียวกัน อิหร่านก็แสดงความทะเยอทะยานที่จะขยายอิทธิพลในเขตนี้  กรอบข้อตกลงด้านปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านที่เพิ่งบรรลุกับกลุ่มพี 5+1จะเป็นพื้นฐานให้แก่การเพิ่มบทบาทและอิทธิพลของอิหร่านในภูมิภาค ส่วนการที่กลุ่มกบฎฮูธิสามารถยึดกรุงซานาในช่วงเวลาสั้นๆนั้นอาจถือได้ว่าเป็นชัยชนะภายในภูมิภาคของอิหร่าน กลุ่มฮิซบอลเลาะห์และซีเรีย ซึ่งถูกสหรัฐและฝ่ายตะวันตกระบุว่าเป็นปีศาจในตะวันออกกลาง ดังนั้น ซาอุดิอาระเบียจึงไม่สามารถทนดูอิหร่านขยายอิทธิพลในภูมิภาคได้และมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารในเยเมนเพื่อปกป้องทางการปกครองชุดปัจจุบัน
สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่สร้างความกังวลต่อซาอุดิอาระเบียและสหรัฐในขณะที่กลุ่มฮูธิสามารถยึดสถานที่ยุทธศาสตร์สำคัญในเยเมนคือ เยเมนมีความสำคัญทางภูมิศาสตร์ เพราะเรือบรรทุกน้ำมันส่วนใหญ่จากซาอุดิ อาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวตและอิรักต้องผ่านเขตน่านน้ำของเยเมนและอ่าวเอเดนก่อนที่จะแล่นเข้าสู่ทะเลแดงแล้วเข้าสู่คลองสุเอสเพื่อไปยังยุโรป ดังนั้นสหรัฐและบรรดาประเทศอาหรับจึงไม่สามารถนั่งดูรัฐบาลของฝ่ายชีอะห์บริหารเส้นทางดังกล่าวได้ โดยเฉพาะสหรัฐ การที่รัฐบาลที่ชอบธรรมของเยเมนล่มสลายจะเป็นการกีดกั้นนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐ จนทำให้สหรัฐต้องยุติกิจกรรมต่างๆของเพนตากอนและสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐหรือซีไอเอในเยเมน แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ สหรัฐก็ไม่อยากทำลายความสัมพันธ์กับอิหร่านหลังจากที่ได้พยายามสร้างสรรค์มาเป็นเวลานาน ยิ่งไปกว่านั้น ในสงครามต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส สหรัฐยังคงต้องการบทบาทของอิหร่าน ดังนั้นการแทรกแซงของวอชิงตันในสงครามกลางเมืองเยเมนดำเนินไปอย่างจำกัดเพื่อไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ของพันธมิตร
ทั้งนี้อาจยืนยันได้ว่า สงครามกลางเมืองในเยเมนกำลังถูกแทรกแซงโดยบรรดาประเทศมหาอำนาจเพื่อขยายอิทธิพลและอาจส่งผลให้เกิดสงครามทางชาติพันธุ์ในทั่วภูมิภาค./.