PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สตช.ยุคยิ่งลักษณ์ เคยสั่งยกเลิกการถอดยศทักษิณ

PRASONG.COM เล่าข่าว...จากประสบการณ์ > กฎหมาย > สตช.ยุค”ยิ่งลักษณ์”ซุมเงียบสั่งยุติ”ถอดยศ”ทักษิณ หลังดองนานหลายปี

สตช.ยุค”ยิ่งลักษณ์”ซุมเงียบสั่งยุติ”ถอดยศ”ทักษิณ หลังดองนานหลายปี

เมื่อ: Tuesday, June 24th, 2014 ไม่มีความคิดเห็น »
 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วงรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” สั่งยุติเรื่องการ “ถอดยศ” ทักษิณ แล้ว ทั้งที่คณะกรรมการกฤษฎ๊กายืนยันถึง2 ครั้งว่ามีอำนาจทำได้ แต่ดองคดีไว้นานหลายปี

แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)เปิดเผย “สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org”ถึงความคืบหน้าในการเสนอให้มีการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเนื่องจากถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้จำคุกจำคุก 2 ปี(คดีการซื้อที่ดินถนนรัชดาภิเษกจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมูลค่า 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100 และ 122 ) มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2551และยังหลบหนีอยู่ต่างประเทศว่า เหตุผลที่การถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความคืบหน้าใดๆ เนื่องจากในช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กองวินัยซึ่งมีหน้าทีดดยตรงในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ได้นำเสนอต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)ให้ยุติเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยอ้างว่า การถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองซึ่งทาง ผบ.ตร.ได้ให้ความเห็นชอบตามที่กองวินัยเสนอ

แหล่งข่าวกล่าวว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและหลบหนีคดีเป็นเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศ 2547 ที่จะต้องถูกถอดยศเหมือนนายตำรวจอื่่นๆ แต่ สตช.กลับใช้เวลาหลายปีในเรื่องดังกล่าวและพยายามดึงเรื่องไว้ โดยจะเห็นได้ว่า มีการหารือเรื่องนี้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาถึง 2 ครั้่ง ในปี 2552และปี 2554 แต่คณะกรรมการกฤษฎีกายืนยันทั้งสองครั้งว่า การถอดยศเป็นอำนาจของ สตช.ที่สามารถดำเนินการ แต่กลับไม่มีการดำเนินการใด จนกระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในเดิอนสิงหาคม 2554 จึงมีการสั่งให้ยุติเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกล่าว

อนึ่ง สำหรับการถอดยศตำรวจมีการบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 28โดยระบุแต่เพียงว่า ” การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ”

ดังนั้นจึงมีการตราระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจและประกาศใช้ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2547

ระเบียบดังกล่าวเริ่มต้นด้วยคำปรารภเกี่ยวกับเหตุผลในการถอดยศว่า “เนื่องจาก ผู้ที่ดำรงอยู่ในยศตำรวจ สมควรจะประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ มิฉะนั้น ย่อมเป็นทางนำความเสื่อมเสียมาสู่หมู่คณะ โดยเหตุผลดังกล่าว หากผู้ใดประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ไม่ได้ ก็ไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศตำรวจต่อไป”

ระเบียบดังกล่าวมิได้จำกัดตำรวจที่จะถูกถอดยศไว้เฉพาะตำรวจที่รับราชการอยู่เท่านั้น โดยระเบียบข้อ 1 ระบุว่า “การเสนอขอถอดยศตำรวจทั้งแก่ผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว”

ระเบียบดังกล่าวได้กำหนดการกระทำหรือเหตุที่จะถูกถอดยศไว้ 7 ประการ แต่ที่เข้าข่ายกรณี พ.ต.ท.ทักษิณมีอยู่ 2 ประการคือ

ข้อ (2) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท

ข้อ(6) ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

จากระเบียบดังกล่าว เห็นชัดว่า กรณีพ.ต.ท.ทักษิณซึ่ง “ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก..เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท”หรือ “ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป “มีการกระทำหรือเข้าเหตุแห่งการถูกถอดยศอย่างชัดเจน ไม่เกี่ยวว่า ต้องเป็นการฆ่าคนตาย ค้ายาเสพติด ทุจริต เท่านั้น

เมื่อเข้าเหตุหรือมีการกระทำดังกล่าวแล้วระเบียบได้กำหนด “หน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาและดำเนินการถอดยศตำรวจ”ไว้ดังนี้

หนึ่ง ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้กองวินัย หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการทางวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาว่า ผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศ แล้วแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้กองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาถอดยศ …

สอง ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่รับทราบข้อมูลการต้องหาคดีอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา ….ทั้งในส่วนของผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว หรือยังคงรับราชการอยู่ในหน่วยงานอื่นของรัฐหาข้อมูลเบื้องต้นให้แน่ชัดแล้วส่งเรื่องให้กองวินัยพิจารณา หากเห็นว่าผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศก็ให้ส่งเรื่องไปยังกองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา ถอดยศต่อไป

อ่านประกอบ

กฤษฎีกายืนยัน สตช.มีอำนาจถอดยศ “ทักษิณ”หลังหารือซ้ำสอง

ไม่มีความคิดเห็น: