PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บิ๊กป้อม ส่ง" บิ๊กแป๊ะ "บินด่วนปัตตานี ร่วม แม่ทัพ4 เคลียร์ คาร์บอม ปัตตานี

บิ๊กป้อม ส่ง" บิ๊กแป๊ะ "บินด่วนปัตตานี ร่วม แม่ทัพ4 เคลียร์ คาร์บอม ปัตตานี ชี้ ต้องให้ สงบซะก่อน แล้วค่อยมากำหนดTOR กันได้ แนะBRN แสดงให้เห็นซะก่อนว่า เขาคุมพื้นที่ได้เสียก่อน
พลเอกประวิตร รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง หน้าเครียด เหตุคาร์บอมบ์ โรงแรมSouthern View ปัตตานึ ตาย1เจ็บ29 เผยส่ง"พล.ต.อ.จักรทิพย์ผบ.ตร"ลงพื้นที่เอง สั่งบินด่วนลงไป เช้านี้ ไปแกะรอย เริ่องคาร์บอมบ์. ชี้ ระเบิดลูกแรก เพื่อดึงความสนใจ แล้วจุดชนวน คาร์บอมบ์ ทำให้ เสียชีวิต และบาดเจ็บ
สั่ง พลโทวิวรรธน์ แม่ทัพ4ดูแลให้ได้ โทรสั่งการ แนะนำไปหลายอย่าง เรื่องคาร์บอมบ์
ตั้งคำถาม การพูดคุยสันติสุข ควรให้สงบก่อนหรือไม่ แล้วค่อยเจรจา. ไม่งั้นก็ระเบิดไป ยังงี้
"ต้องให้ สงบซะก่อน แล้วค่อยมากำหนดTOR กันได้ แนะBRN แสดงให้เห็นซะก่อนว่า เขาคุมพื้นที่ได้เสียก่อน"
เชื่อคาร์บอมบ์ปัตตานี ไม่เกี่ยวกับ ระเบิด 7 จ.ใต้ ขอเวลา จนท.ทำงาน ให้"ศรีวราห์"คุม เผยคืบหน้าเยอะ ข้อมูลจากวงจรปิด
บ่นสื่อ ถามทุกวันเรื่องระเบิด ถามเช้า กลางวัน เย็น วันๆไม่มีหน้าที่อะไร นอกจากถาม ถามมันง่ายนี่ ลองมาสลับกับผมบ้างมั้ย ผมไปถาม คุณมาตอบบ้าง

"รัฐบาลส่วนหน้า" ที่ชายแดนใต้

บิ๊กป้อม เผย เตรียมตั้ง "รัฐบาลส่วนหน้า" ที่ชายแดนใต้ ส่งรมต. ลงไปดูแล โดยตรง เพื่ออำนวยความสะดวก เร่งรัดการแก้ปัญหา แต่ ยังไม่กำหนดว่า จะส่งใครลงไป แต่ผมจะลงไปบ่อยขึ้น ตอยนี้ อยู่ระหว่างการทำแผนโครงสร้าง อยู่
เผย คุย พลเอกอักษรา เกิดผล หน.คณะพูดคุย สันติสุข แล้ว ให้ไป เจรจา BRN และMarapatani ก่อน ตัดสินใจว่า จะเลื่อนการพูดคุย การลงนาม ใน TOR ออกไปหรือไม่ เพราะเหตุยังเกิดอยู่
บิ๊กป้อม ยัน ไม่เปลี่ยน แผน ปรับกำลังทหาร ถอน ทหารกองทัพภาค 1-2-3 กลับ ตามเดิม. เชื่อ พล.ร.15 และ พล.ร.5 พร้อมดูแล เองได้ทั้งหมด
เผย ปลาย สค.นี้ จะไปมาเลเซีย พบรองนายกฯ มาเลเซีย คุยความร่วมมือ ความมั่นคง และเศรษฐกิจ. ยังไม่รู้มีประชุม ครม.ร่วมไทย-มาเลเซีย 9 กย. นี้

นายกฯบิ๊กตู่ อ้อน "ป๋าเปรม," ขอนำครม.-คสช. เข้าอวยพรวันเกิด. ป๋าให้แค่คณะเดียว พฤหัสฯนี้



เปลี่ยนใจ
นายกฯบิ๊กตู่ อ้อน "ป๋าเปรม," ขอนำครม.-คสช. เข้าอวยพรวันเกิด. ป๋าให้แค่คณะเดียว พฤหัสฯนี้ ส่วนวันเกิดจริง ไปทำบุญ ไม่รับใคร
พลโทพิศณุ. พุทธวงศ์ นายทหารคนสนิท ป๋าเปรม เผย พลเอกเปรม จะเปิดบ้านให้ เฉพะคณะนายกรัฐมนตรี ครม.และผบ.เหล่าทัพ เข้าอวยพรวันเกิดล่วงหน้า แค่คณะเดียว ในวันพรุ่งนี้ 25 สค. ทั้งนี้เพราะนายกฯขอมาที่จะมาอวยพร. เพราะเดิมป๋าจะไม่เปิดบ้าน
เพราะวันที่ 26 สค. วันเกิด 8รอบของพลเอกเปรม นั้น ป๋าจะไปทำบุญส่วนตัว ที่วัดราชบพิธ และอยู่ส่วนตัว มีทานข้าวกับลูกป๋า และคนใกล้ชิดเท่านั้น
พลโทพิศณุ กล่าวว่า. อย่าเอาเรื่อง ป๋าเปรม เปิดบ้านหรือปิดบ้าน ไปเกี่ยวโยงกับเรื่องการเมือง หรือโยกย้ายทหาร

ตรงๆ จาก"ไพบูลย์ นิติตะวัน"เสนอ"ประยุทธ์"เป็นนายกฯ

ไพบูลย์ นิติตะวัน
"ไพบูลย์" เสนอแนวทาง
ตรงไปตรงมา ให้ พล.อ ประยุทธ์เป็นนายกฯ อย่างสง่างามไม่บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชน อย่างที่บรรดา สปท.และสนช. พยายามอยู่.
ในสภาวะที่ สปท.และ สนช.บางส่วนกำลังแสดงพฤติกรรมได้คืบจะเอาศอก เนื่องมาจากกรณีการเรียกร้องให้ กรธ.ชุด อ.มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นแบบสุดซอย โดยให้ ส.ว. จากการสรรหาสามารถเสนอชื่อนายกฯ ได้เช่นเดียวกับ ส.ส. โดยอ้างว่าประชาชนให้ความเห็นชอบคำถามพ่วงผ่านการทำประชามตินั้น
หากไปถาม ไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ริเริ่มก่อตั้ง พรรคประชาชนปฏิรูป และถือเป็นคนกลุ่มเดียวกับคนในแม่น้ำ 5 สาย กลับมีทีท่าไม่เห็นด้วย เพราะเป็นแนวทางที่เกินขอบเขต (over action)
ไพบูลย์ บอกว่าหากต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ อย่างสง่างาม ต้องไม่ใช้วิธีเช่นนั้น เพราะแนวทางปัจจุบันตามร่าง รธน.และคำถามพ่วง หากใช้แนวทางตัวเองก็สามารถทำให้ บิ๊กตู่ เป็นนายกฯ ได้
เนื่องจากเขาประเมินว่า หากมีการเลือกตั้งขึ้นมามั่นใจได้ว่าไม่มีพรรคการเมืองใดเสนอชื่อนายกฯ ตามบัญชีรอบแรกได้ เพราะไม่มีเสียงสนับสนุนเกิน 376 คน จากสมาชิกรัฐสภาจำนวน 750 คน
เมื่อรอบแรกไม่สำเร็จเชื่อว่า ส.ส.จะยอมให้ใช้เสียงจำนวน 251 คนไปยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้ ส.ส.และ ส.ว.ใช้เสียงจำนวน 2 ใน 3 ยกเว้นข้อบังคับในการเลือกนายกฯ จากบัญชีพรรคการเมือง เพราะไม่ต้องการให้บ้านเมืองเกิดสุญญากาศและ คสช.อยู่ในอำนาจต่อไป
จากนั้นเมื่อยกเว้นบุคคลจากบัญชีพรรคการเมืองได้แล้ว พรรคประชาชนปฏิรูปที่มีเสียง ส.ส.อยู่ในสภาฯ ก็จะไปผลักดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นนายกฯ คนนอกภายหลังเลือกตั้งได้แบบ 100%
นี่คือแนวทางอันตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างที่บรรดา สปท.และ สนช.พยายามอยู่.

กลาโหมเล็งตั้ง “รัฐบาลส่วนหน้า” ที่ชายแดนใต้

กลาโหมเล็งตั้ง “รัฐบาลส่วนหน้า” ที่ชายแดนใต้ ขณะที่เครือข่ายชาวพุทธประณามเหตุคาร์บอมบ์ที่ปัตตานี
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผยว่ารัฐบาลเตรียมตั้งรัฐบาลส่วนหน้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเพิ่มความเข้มงวดการรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ หลังเกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ที่จังหวัดปัตตานีเมื่อคืนนี้ (23 ส.ค.) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และผู้บาดเจ็บ 30 ราย โดยขณะนี้ตนกำลังหารือกับนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการปรับโครงสร้างการดูแลความปลอดภัยในพื้นที่
สำนักข่าวแห่งชาติรายงานอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประวิตร ซึ่งระบุเพิ่มเติมว่าอาจต้องลงพื้นที่เพื่อวางมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น ทั้งยังได้มอบหมายให้ พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตรวจสอบว่าสาเหตุเกิดจากอะไร หากเหตุการณ์ยังไม่สงบคงไม่สามารถกำหนดข้อตกลงได้
ด้าน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.ซึ่งเดินทางลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี ให้สัมภาษณ์กลุ่มผู้สื่อข่าวว่าได้มีการตรวจสอบกับผู้ว่าราชการจังหวัด ยืนยันว่ากล้องวงจรปิดในพื้นที่ใช้งานได้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรวบรวมหลักฐานและดำเนินการสอบสวนต่อไป ส่วนกรณีรถที่นำมาใช้ก่อเหตุเป็นรถของหน่วยงานพยาบาล เชื่อว่าเป็นความต้องการของผู้ก่อเหตุที่จะอำพรางให้ประชาชนเชื่อว่ารถดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุ ซึ่งโดยหลักการเป็นเรื่องไม่ควรทำ และจะเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตราพื้นที่ แต่ยังไม่มีเบาะแสเชื่อมโยงว่าเหตุระเบิดที่จังหวัดปัตตานีจะเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุในพื้นที่ 7 จังหวัดใต้ก่อนหน้านี้
วันเดียวกัน เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ ออกแถลงการณ์ประณามการก่อเหตุระเบิดที่จังหวัดปัตตานีว่าเป็นความรุนแรง โหดร้าย ละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรม สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชน และทำลายความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางเครือข่ายจึงขอเรียกร้องให้ผู้ก่อเหตุออกมายอมรับหรือปฏิเสธการกระทำครั้งนี้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ต้องยุติการกระทำใดๆ ต่อเป้าหมายที่เป็นพลเรือน ซึ่งไม่ใช่คู่ขัดแย้ง และขอให้ดำเนินการพูดคุยสันติสุขต่อไป โดยที่ฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้เห็นต่างจะต้องปกป้องพลเรือนให้ห่างจากความขัดแย้งด้วย
ขณะที่แถลงการณ์ของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมระบุว่าเหตุระเบิดเป็นการส่งเสริมให้วงจรของความรุนแรงยังคงอยู่ และส่งผลลบต่อบรรยากาศการเจรจาสันติภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น มูลนิธิฯ เรียกร้องให้กลุ่มติดอาวุธ ไม่ว่าฝ่ายใด หลีกเลี่ยงการใช้อาวุธประหัตประหารและก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ เพราะอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ รัฐต้องนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ช่วยเหลือต่อผู้เสียหายทั้งทรัพย์สินและผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดในระยะยาว พร้อมย้ำว่าความอดทนอดกลั้นของทุกฝ่ายจะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ในขณะที่หลายฝ่ายกำลังหาทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้ด้วยแนวทางสันติวิธี

บิ๊กตู่” ขอร้องคณาจารย์-นักศึกษาว่าอย่าคิดแต่ประชาธิปไตยและประชามติ

บิ๊กตู่” ขอร้องคณาจารย์-นักศึกษาว่าอย่าคิดแต่ประชาธิปไตยและประชามติ ไล่ไปถามไอ้ลูกหมา ใครเอาปืนมายิงคน “ย้ำ” ไม่ปล่อยตัวนักศึกษาเพราะกฎหมายต้องเป็นกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงภารกิจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ว่าเมื่อเวลา 08.30 น. นายกรัฐมนตรีเดินทางถึงโรงแรมราชภัฏกรีนวิว มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เพื่อเป็นประธานการประชุมและติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลกับหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยก่อนการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ได้ทักทายและพูดคุยกับคณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดที่มารอต้อนรับ โดยกล่าวกับกลุ่มคณาจารย์ว่า “ที่ผ่านมาบ้านเมืองวิกฤต เพราะฉะนั้นไม่ใช่อะไรๆ ก็จะต้องประชาธิปไตยหรือประชามติอย่างเดียว และถ้ามันไม่เลวร้ายผมคงไม่เข้ามา อย่าคิดแต่เรื่องประชามติ ประชาธิปไตยอย่างเดียว มันกินได้หรือไม่ ประชาธิปไตยคือความเห็นต่างโดยไม่เอาปืนมาไล่ยิงคน ถามว่าใครยิงคน ทหารยิงหรือ ไปถามไอ้ลูกหมาโน่น ต้องขอโทษนะที่พูดไม่เพราะ”
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้ทักทายและพูดกับนักศึกษาว่า “วันนี้ให้ช่วยกันอย่าไปคิดเรื่องเดิมๆ โดยเฉพาะเรื่องของความขัดแย้ง บ้านเมืองต้องแก้ไขโดยพวกเรา เข้าใจกันนะ ผมไม่ได้คาดหวังอะไรซักอย่าง กฎหมายมันละเว้นไม่ได้ขอให้ไปบอกเพื่อนๆ ด้วย จะให้ปล่อยตัวมันจะปล่อยได้อย่างไร เพราะกฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมาย ทุกอย่างมีขั้นตอนและกระบวนการ”
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่ง ก่อนการประชุมว่า วันนี้ที่มาจังหวัดร้อยเอ็ด อยากเรียนว่า ความจริงตนพร้อมที่จะไปในทุกจังหวัดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใด จะชอบหรือไม่ชอบ ก็จะไป เพราะมีความตั้งใจและมีความปรารถนาดีกับทุกคน วันนี้เราพยายามที่จะร่วมมือกันทำอย่างไร ที่จะให้ร้อยเอ็ดมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ รวมทั้ง การสร้างความเข้าใจกับพวกเราทุกคนและประชาชนในทุกมิติว่า วันนี้เรากำลังเดินหน้าประเทศกันอย่างไรและร้อยเอ็ดจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร ผมไม่ต้องให้ประชาชนเข้าใจอะไรที่ผิดหรือถูกบิดเบือน เราต้องสร้างคนของเราให้รู้จักคิด เข้าใจเหตุผลและเข้าใจถึงหลักการของเรา ในการที่จะพัฒนาประเทศและการใช้จ่ายงบประมาณ จะต้องสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับทุกคนว่าประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่งเดียว มี 77 จังหวัด เพราะฉะนั้นจะต้องนึกถึงคนอื่นด้วย แล้วรัฐบาลเองก็ไม่สามารถที่จะหางบประมาณเพิ่มเติมได้เลยในช่วงที่ผ่านมา เพราะช่วงที่ผ่านมานั้น ไม่อยากจะใช้คำว่ามันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะแม้จะมีความเจริญอย่างไร แต่ก็เป็นความเจริญท่ามกลางภยันตรายระยะยาว ซึ่งเกิดจากความล้มเหลวทั้งหมด เพราะฉะนั้นการที่ต้องเข้ามาวันนี้ใช้เวลามา 2 ปี เพื่อแก้ปัญหา เพื่อที่จะเดินหน้าประเทศและสร้างความเข้าใจในทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ ภูมิภาคและท้องถิ่น ทุกคนก็ต้องร่วมมือกันและเข้าใจตรงกัน ไม่เช่นนั้นเราก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้
counter

ณรงค์ชัย อัครเศรณี โพสเฟนบุ๊ค กรณีการเสนอชื่อนายกฯคนนอก

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี โพสเฟนบุ๊ค ว่า 
- สวัสดีวันอังคารที่ 23 ส.ค. 2559 ครับ
- อย่างที่ผมได้อธิบายแล้วว่า ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ อยู่ที่ขบวนการที่นำไปสู่การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คือการแต่งตั้งนั้นต้องโดยพระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่แล้ว แต่ขบวนการที่จะให้ได้ชื่อมา เพื่อจะนำชื่อกราบบังคมทูล และรับสนองพระบรมราชโองการ เป็นประเด็นที่มีการดำเนินการต่างกันใน รธน. แต่ละฉบับ
- ที่ รธน. 2559 พยายามกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าขั้นตอนเป็นอย่างไร แล้วหลังจากการลงประชามติ 7 ส.ค. ยังมีข้อเห็นต่างอีก เรื่องนี้มีประวัติที่มา สนใจติดตามอ่านได้ครับ
- ร่างรธน. 2559 ที่ประชาชนมีมติรับไปเมื่อ 7 ส.ค. นั้น ขบวนการให้ ส.ส. เสนอชื่อ นรม. คือ จากชื่อที่ประกาศไปล่วงหน้า แล้วลงคะแนน เห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ กันในสภาผู้แทนราษฎร โดยมี ส.ส. เป็นประธานรัฐสภา แต่มีบทเฉพาะกาล มาตรา 272 เขียนไว้ว่า ถ้าทำไม่สำเร็จ จะด้วยเหตุใดก็ตาม แล้ว ส.ส.เกินครึ่งเห็นควรจะให้มีประชุมทั้งสภา เพื่อตัดสิน คือให้ ส.ว. มีส่วนด้วย แล้วจำนวนสมาชิกรัฐสภา 2 ใน 3 ลงคะแนนให้เสนอชื่อบุคคล ซึ่งอาจไม่ได้มีชื่ออยู่ในรายชื่อของ ส.ส. ก็ทำได้ จากนั้นสภาผู้แทนก็ดำเนินการต่อไป
- ขบวนการนี้ ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง มากกว่าการจัดตั้ง เพราะ ส.ส. มาจากการเลือกตั้ง ส.ว. มาจากการจัดตั้ง
- ทีนี้ เมื่อมีคำถามพ่วง ที่บอกว่าในห้าปีข้างหน้า นับจากวันที่มีรัฐสภาชุดแรก (คือ ส.ส. + ส.ว.) “ให้ที่ประชุมรัฐสภา เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี” ซึ่งก็คือให้ ส.ส. กับ ส.ว. ลงคะแนน คือ เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ด้วยกัน แต่ไม่ได้รวมเรื่องขบวนการเสนอชื่อ ผมเองเข้าใจอย่างนี้ ตีความอย่างนี้ ก็ได้มีการออกเสียงกันไป และฝ่ายเห็นด้วยก็มากกว่า
- จากการรับคำถามพ่วง ก็น่าจะแปลว่า ส.ส. และ ส.ว. ออกเสียงลงคะแนนในการเลือก นรม. พร้อมกัน จากชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อไว้ตามมาตรา 88 ถ้าไม่มีข้อยุติ ก็ไปมาตรา 272 ในบทเฉพาะกาล ที่ให้อำนาจ ส.ส. + ส.ว. จำนวน 2 ใน 3 อาจเสนอชื่อบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อของพรรคการเมืองก็ได้ คือมีการเสนอชื่อกันในที่ประชุมรัฐสภา ไม่ได้บอกว่าใครเสนอได้ ไม่ได้ เมื่อได้ชื่อแล้ว ก็เข้าขบวนการลงคะแนน เห็นชอบ / ไม่เห็นชอบ แปลว่าถ้ามีการเสนอชื่อคนนอก ก็ต้องมาทำในรอบนี้ คือรอบสอง
- ถ้าจะเปรียบเทียบเหตุการณ์ในอดีต ที่ผมเคยเขียนเล่าไปแล้ว มี รธน. 2521 ที่ให้น้ำหนักการจัดตั้งมากกว่าเลือกตั้ง คือตอนนั้น ส.ว. เป็นประธานรัฐสภา จึงเป็นผู้นำเสนอชื่อ นรม. ขึ้นทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ไม่ได้เขียนเรื่องขบวนการที่ให้ได้มาซึ่งชื่อ คือในทางปฏิบัติ ประธานรัฐสภาก็คงหารือที่ประชุม แล้วตอนนั้น ส.ว. ถือเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย หลังจากการเลือกตั้งตาม รธน. 2521 ท่านประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นประธานวุฒิสภา คือ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ท่านก็กราบบังคมทูลเสนอชื่อ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
- เรื่องการเสนอชื่อใครเป็น นรม. ด้วยขบวนการอย่างไร สำคัญมาก เพราะเคยเกิดเหตุการณ์เมื่อปี 2535 หลังจากพฤษภาทมิฬ ที่ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา จะต้องนำชื่อบุคคลขึ้นกราบบังคมทูล ให้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น นรม. แล้วเกิดการผิดคาดขึ้น คือ ดร.อาทิตย์ เป็นรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม มี นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นหัวหน้าพรรค พรรคสามัคคีธรรมมีคะแนนเสียงมาก เสนอชื่อ นรม.ได้ จะเสนอชื่อนายณรงค์ วงศ์วรรณ ก็คงจะมีปัญหา จึงมาเสนอชื่อ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมกับพรรคสามัคคีธรรม โดย พล.อ.อ.สมบุญ ก็จัดเตรียมการรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว แต่เหตุการณ์กลับพลิกอย่างไม่มีใครคาดถึง คือ ดร.อาทิตย์ กราบบังคมทูลเสนอชื่อคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็น นรม. ซึ่งพอประกาศชื่อตอนกลางคืน มีคนเฮกันจำนวนมาก ผมเองจำเหตุการณ์คืนนั้น คือวันที่ 10 มิ.ย. 2535 ได้อย่างดี ดร.อาทิตย์ได้รับการยกย่องจากสื่อว่า เป็นวีรบุรุษประชาธิปไตย ทั้งๆที่กราบบังคมทูลบุคคลที่ไม่ได้เป็น ส.ส.
- เรื่องการเสนอชื่อ และเห็นชอบ ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งบริหารทางการเมืองเป็นเรื่องใหญ่ คือ ส.ส.จะไม่ชอบให้คนนอกมามีตำแหน่งบริหาร ส.ส. เรียกคนนอก ว่าข้าวนอกนา ผมเองมีประสพการณ์ข้าวนอกนาหลายครั้ง ที่สำคัญคือ ครั้งรัฐบาลชวน 1 (2535 - 2538) พรรคความหวังใหม่เข้าร่วมรัฐบาล เชิญผมเป็น รมช.อุตสาหกรรม ถึงขั้นตัดชุดขาว เตรียมเข้าเฝ้าฯแล้ว เกิดการประท้วงโดย ส.ส. กลุ่มหนึ่งที่โรงแรมราชศุภมิตร ที่หลานหลวง (รร.ปริ๊นเซส ปัจจุบัน) พล.อ.ชวลิต ให้คนต่อสายพูดกับผม โดยบอกว่า “อาจารย์ เขาไม่ยอม” ผมก็เรียนตอบท่านว่า ผมขอถอนตัว
- อีกครั้ง ปี 2539 พรรคความหวังใหม่ โดย พล.อ.ชวลิต จัดตั้งรัฐบาล ท่านเชิญ ดร.อำนวยและคณะ เข้าเป็น ครม.เศรษฐกิจ 4 คน แต่ ส.ส. ยอมให้สามคน ผมจึงได้ไปว่าการกระทรวงพาณิชย์ แทนที่จะเป็น คุณวิโรจน์ ภู่ตระกูล ที่ขอถอนตัวไป จากกรณีที่ ส.ส. ยอมให้คนนอก 3 คน ซึ่งมีนอกจากผม คือ ดร.อำนวย วีรวรรณ และ คุณสมภพ อมาตยกุล
- จากปัญหาเรื่องเสนอชื่อและเห็นชอบตำแหน่งบริหารนี้ จึงทำให้ รธน. 2540 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ส.ส. เป็นผู้เสนอชื่อ นรม. และ นรม. เป็น ส.ส. ไม่ใช่คนนอก การเห็นชอบก็ดำเนินการกันในสภาผู้แทนราษฎร
- ร่าง รธน. 2559 เขียนเผื่อทางเลือก / ทางออก เอาไว้ด้วย โดยให้น้ำหนัก ส.ส. มากกว่า ส.ว. ในการเสนอชื่อและเห็นชอบ แต่เมื่อผลของการลงประชามติ รับคำถามพ่วง ว่าในห้าปีหลังจากมีการเลือกตั้งครั้งหน้านี้ ให้ ส.ว.ร่วมการเห็นชอบตั้งแต่ต้น ตามรายชื่อที่ประกาศ แต่มติต้องมีเกิน 375 เสียง (ส.ส. + ส.ว. 750 คน) แทนที่จะเป็น 250 เสียง แล้วถ้ายังไม่สำเร็จ เปิดช่องให้มีการเสนอชื่อคนนอกกันได้ ทั้งโดย ส.ส. และ ส.ว. แต่ตรงนี้ต้องมีเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา คือไม่ต่ำกว่า 500 เสียง ซึ่งจะให้ได้ 500 เสียง นรม.คนนอกก็ต้องมีทั้ง ส.ส. และ ส.ว. สนับสนุนอย่างเต็มที่
- สรุปคือ จากร่าง รธน. 2559 + คำถามพ่วงที่ผ่านประชามติแล้ว เราจะมีการเมืองที่ ส.ส. และ ส.ว. จะต้องพึ่งกันและกัน
- สวัสดีครับ