PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อาถรรพ์โครงการ 'เรือดำน้ำ'เกาเหลา 'กองทัพเรือ-กลาโหม'


อาถรรพ์โครงการ 'เรือดำน้ำ'เกาเหลา 'กองทัพเรือ-กลาโหม'

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2554 00:00:39 น.
โครงการจัดหา "เรือดำน้ำ" กลายเป็นโครงการอาถรรพ์ของ "กองทัพเรือ" ที่ยังไม่มีผู้บัญชาการทหารเรือคนไหนสามารถ "ล้างอาถรรพ์" ได้ แม้กระทั่งในยุคของ "ครูติ๊ด" พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ครองอำนาจอยู่ ก็ยังไม่มีโอกาสได้พิจารณาโครงการใหญ่นี้ ที่ "ทัพน้ำ" เสนอขึ้นมาได้ จะมีเพียงการซ่อมเรือฟรีเกต และการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่อยู่ในแผนโครงการที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว

ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา เหล่าทัพภายใต้การนำของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ที่ถูกมองว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของ ผบ.เหล่าทัพ ได้รับการอนุมัติ "บิ๊กโปรเจ็กต์" จากคณะรัฐมนตรีได้ แบบ "ไฟเขียว" ผ่านตลอด ทั้งโครงการเครื่องบินขับไล่-กริฟเฟน ของกองทัพอากาศ ทั้ง บินขับไล่-กริฟเฟน ของกองทัพอากาศ ทั้ง 2 ระยะ รวม 12 ลำ รวม 3.5 หมื่นล้าน โครงการจัดซื้อรถเกราะล้อยาง  BRT-3E1 ของกองทัพบก ทั้ง 2 ระยะ รวม 317 คัน (ไม่นับรวมรถกู้ซ่อมและรถสนับสนุนอื่น) วงเงินรวมกว่า 9 พันล้านบาท ไม่นับรวมรถถังยูเครน T-84 oplot จำนวน 49 คัน วงเงิน 7.2 พันล้านบาท ฮ.  MI-17 จากรัสเซีย 3 เครื่อง วงเงิน 995 ล้านบาท อีกทั้งอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในภารกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรักษาความสงบเรียบร้อยจากการชุมนุมของกลุ่มมวลชน เป็นต้น ที่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ใช้การจัดหาแบบ "วิธีพิเศษ" เพื่อเลี่ยงมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ

ย้อนกลับไปที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ตามการชี้แจงของ ผบ.ทร. พบว่ากระบวนการในการศึกษาวิจัยของสถาบันการศึกษาของกองทัพเรือ เพื่อนำมาซึ่งความเหมาะสม และความเป็นไปได้ที่จะจัดหาเรือประเภทไหนนั้น ไม่ต่างจากกระบวนการจัดหาเครื่องบินรบของ "กองทัพอากาศ" เท่าไหร่ นัก

แต่คำถามที่เกิดขึ้นคือ ประเทศ ไทยยังมีความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำประจำการหรือไม่ อีกทั้งเรือดำน้ำเก่าจากเยอรมนีจะสามารถซื้อมาใช้งานได้คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่ หรือจะกลายเป็น "เศษเหล็ก" อีก 6 ลำ ในเวลาอันใกล้

ผบ.ทร. เคยให้คำตอบเรื่องนี้ไว้ว่า เป้าหมายของกองทัพเรือ อันดับแรก คือ การสร้างองค์ความรู้ และการปฏิบัติงานจริงให้นักเรียนนายเรือ ไม่ใช่เพียงการเรียนในตำรา   ดังนั้น การซื้อเรือดำ น้ำขนาดเล็ก และไม่ใช้งบประมาณหลัก หมื่นล้าน สามารถ "ตอบโจทย์" ในหมื่นล้าน สามารถ "ตอบโจทย์" ในการสร้างปฏิบัติการจริงของทหารเรือได้ ในส่วนของอายุการใช้งานเมื่อมีการ เปลี่ยนแบตเตอรี่จะสามารถใช้งาน 4 ลำ ภายในระยะ 10 ปี พร้อมกันนั้น การมีเรือดำน้ำประจำการยังเป็นยุทธศาสตร์ป้องปราม สร้างดุลอำนาจเปรียบเทียบ เนื่องจากประเทศรอบบ้านของไทยต่างมีเรือดำน้ำเข้าประจำการเกือบหมด  นั่นเป็นเหตุผลจากฟากของ "กองทัพเรือ" ที่มีความมุ่งหวังในการชี้แจงข้อมูลให้เข้าใจถึงความจำเป็นและอุปสรรค !!!

แม้จะเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของกองทัพเรือ ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์  ที่ผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการและไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ที่กองทัพเรือไทยได้ตั้งโครงการ

โดยครั้งแรกถูก "พับเก็บ" ลงลิ้นชัก ในยุคสมัยของนายบรรหาร ศิลป อาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เคยมีโครง การจะจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นก็อตแลนด์ (A-19 Gotland class dieselelectric  submarine) ผลิตโดย บริษัท ค็อกคูม (KOCKUM) จากสวีเดนมาประ จำการใน ทร.ไทย แต่ขณะนั้นได้ประสบปัญหาถูกสื่อของทั้งสวีเดนและไทย ออกข่าวโจมตีเรื่อง "ค่าคอมมิชชั่น" ในการจัดซื้อให้แก่คนในรัฐบาลไทยในสมัยนั้น จนเป็นเหตุให้ถูกระงับโครงการ

จากนั้นในยุคของ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ เป็น ผบ.ทร. มีการเสนอโครงการจัดซื้อในแพ็กเกจ โดยกองทัพเรือได้คัดเลือกแบบจากจีนและรัสเซีย แต่ "รัฐบาลทักษิณ" หมดอำนาจ และไม่ได้มีการพิจารณา "บิ๊กโปรเจ็กต์" ของเหล่าทัพใดแม้แต่โครงการเดียว

รัฐบาลยุคประชาธิปัตย์ที่ถูกมองว่ามี "กองทัพ" หนุนหลัง ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ว่า การอนุมัติโครงการจัดซื้ออาวุธของเหล่าทัพ ล้วนเป็นโครงการ "ต่างตอบแทน" และ มี พล.อ.ประวิตร คอยสนับสนุนทุกโครงการ จะมีก็แต่โครงการ "เรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือที่ "สะดุด"จะด้วยเหตุผลเรื่อง "เซฟ" ตัวเอง ของพล.อ.ประวิตร ที่เกรงว่าผลักดันโครงการไป จะติดร่างแหไปด้วย หาก โครงการมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสและ ความไม่ชอบมาพากล   ทว่าที่ผ่านมา หลายโครงการของกองทัพบก ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน แต่เหล่าทัพและกระทรวงกลาโหมต่างพยายามชี้แจง ทุกโครงการก็ผ่านมาได้จนมีการส่งมอบอาวุธเข้าประจำการแล้วจำนวนมาก

ปมประเด็นจะไม่เกิด หากก่อนหน้านี้  "กองทัพเรือ" เสนอเรื่องเข้ามาที่กระทรวงกลาโหม เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่รัฐบาลจะอนุมัติ  แต่พล.อ.ประวิตร ต่างมองหาตัวเลือกที่ดีกว่า ทั้งการไปดูเทคโนโลยีเรือดำน้ำของเกาหลี  หรือเรือ ดำน้ำของจีน ท่ามกลางข่าวลือที่ให้น้ำหนักไปที่เรือดำน้ำขนาดใหญ่มือ 1 ที่มูลค่าสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อลำ ที่แน่นอนว่าการจัดหาด้วยงบฯ ในส่วนของ ทร.เอง ไม่มีศักยภาพพอ

ยิ่งไปกว่านั้น ความใกล้ชิดระหว่าง พล.อ.ประวิตร กับ พล.ร.อ.กำธร และ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. จาก ตท.10  ที่ถูกมองว่าเป็น "ทหารแตงโม"นั้น คงไม่เท่ากับความใกล้ชิด ระหว่าง พล.อ.ประวิตร กับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่เป็นพี่น้องสาย จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่เป็นพี่น้องสาย "บูรพาพยัคฆ์"

ดังนั้น การที่ พล.อ.ประวิตร จะ "การันตี" แทน ในโครงการจัดหา "เรือดำน้ำ" จึงไม่มีความจำเป็น!!ส่งผลให้ความฝันที่ใกล้เคียงที่สุดของคน "กองทัพเรือ" ล่มกลางคัน และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่โอกาสนี้จะกลับมาอีก ที่สำคัญกองเรือดำน้ำที่จัดตั้งขึ้น การฝึกเรือดำน้ำของจริงของนักเรียนนายเรือที่วาดไว้ในแผน คงต้องชะลอไปอีกนาน

อย่างน้อยเพื่อคำนวณทิศทาง ลมทางการเมือง พร้อมสร้างสัมพันธ ภาพที่เหนียวแน่น และความเข้าใจระหว่างกลาโหม และกองทัพ ในเรื่องเนื้อหาของอาวุธยุทโธปกรณ์  มากกว่า "การแบ่งเค้ก" ให้ตามสภาพอำนาจของเหล่าทัพ.

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/1142485

ผบ.ทร.โอดคนต้านเรือดำน้ำจีน ขอให้เป็นหน้าที่ใครหน้าที่มัน อย่าก้าวก่าย

ผบ.ทร.โอดคนต้านเรือดำน้ำจีน ขอให้เป็นหน้าที่ใครหน้าที่มัน อย่าก้าวก่าย วอนเชื่อใจทหารเรือ เพราะ จ่ายภาษี เหมือนกัน
พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีที่มีการคัดค้านการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือว่า ขณะขั้นตอนของกองทัพเรือเสร็จแล้ว โดยเป็นเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่น เอส 26ที จำนวน 3 ลำ ซึ่ง ครม. ได้ให้กองทัพเรือไปศึกษา เราก็ศึกษาอย่างดีที่สุด ส่วนอย่างอื่นเป็นนโยบาย ตนไม่ยังไม่อยากให้สังคมมาวิจารณ์ในช่วงนี้ ต้องคิดว่าทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง ทหารเป็นรั้วของชาติ ตนเป็นทหารเรือก็รับผิดชอบในส่วนของทหารเรือ หน้าที่ของใครของมัน ไม่ควรก้าวก่าย ควรฟังกันบ้าง ไม่ใช่มาตำหนิอย่างเดียว เพราะโอกาสที่จะมีและจัดหาแต่ละครั้งไม่ง่าย กว่าจะได้เรือดำน้ำอย่างน้อยก็ 7 ปี จากนั้นส่งกำลังพลไปฝึก ทั้งนี้เรือดำน้ำเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องปรามและศักยภาพดีที่สุด ส่วนงบประมาณขึ้นอยู่กับ ครม. อนุมัติว่าจะเป็น 7 หรือ 10 ปี และถ้าไม่ซื้อเรือดำน้ำก็ต้องยุทโธปกรณ์อื่นทดแทน สรุปแล้วก็ไม่ได้อะไร งบกลางที่เป็นชิ้นเป็นอันต้องเข้าใจ หากเราไม่ได้เรือดำน้ำ ก็อาจจะไปได้เรือผิวน้ำ หรือเพิ่มเรือตรวจการลาดตระเวณมาทดแทน แต่ภาระกิจบางอย่างทดแทนไม่ได้
 พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์การป้องปรามในอนาคตหากเกิดสงคราม เรือผิวน้ำแทบจะไม่เหลือ สิ่งที่อยู่รอดคือเรือดำน้ำ ทั้งนี้กองทัพเรือไม่ได้มีแผนสำรองหากไม่ได้เรือดำน้ำตนเองคงหยุด แต่ขณะนี้เราดำเนินตาม ครม.อนุมัติให้ไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวเรือดำน้ำ ส่วนจะได้หรือไม่แล้วแต่นโยบาย ขณะนี้ขอให้ได้รับการอนุมัติก่อน ตนจะชี้แจงรายละเอียด แต่ขณะนี้ยังไม่เกิด ถ้า ครม. เห็นชอบเราจะมีการจัดหาตามงบประมาณที่กองทัพเรือได้รับในทุกปีอยู่แล้ว และเป็นงบผูกพันธ์ที่กองทัพเรือมีอยู่ ซึ่งการจ่ายงบประมาณผูกพันไม่ได้จ่ายครั้งเดียว 3 หมื่นล้าน แต่จะจ่าย 200 ล้าน และ 3,000 ล้าน ตามงบประมาณผูกพันตามลำดับที่กองทัพเรือมีอยู่ แต่ถ้าไม่ให้ซื้อเรือดำน้ำ ในปีต่อไปก็จะเอางบนี้ไปซื้อเครื่องบินแอมแบร์ หรือ เครื่องบินลาดตระเวณตรวจการ ขึ้นมาทดแทน กองทัพเรือรบ 3 มิติ ทั้งใต้น้ำ ผิวน้ำ และบนอากาศยาน
 “ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมพอเราจะจัดหาเรือดำน้ำแล้วไม่ได้ แต่ทำไมพอซื้ออย่างอื่นแล้วเฉย พอพูดถึงเรือดำน้ำ ก็ไปคิดกันอย่างโน้นอย่างนี้ อ่าวไทยไม่ได้ตื้นถึงขนาดใช้เรือดำน้ำไม่ได้ เพราะไปศึกษาในรายละเอียดมาแล้วที่เหมือนกับประเทศสวีเดน ”พล.ร.อ.ไกรสร กล่าว
 เมื่อถามว่า เรือดำน้ำจีนแบบเอส26ที ตอบโจทย์หรือไม่ พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่าเงินที่ตั้งไว้ไม่ได้เยอะ งบประมาณที่ตั้ง กองทัพเรือเน้นมากที่สุด ซึ่งภายใต้งบประมาณที่จำกัด เรือดำน้ำของจีนแบบเอส26ทีตอบโจทย์มากสุด เพราะเรือดำน้ำของยุโรป เสนอขายแค่เรือ ไม่มีอาวุธและการดูแลรักษา ตลอดจนถึงการซ่อมบำรุง มาแต่เรือเราก็ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีอาวุธ แต่ในส่วนของจีนมีทั้งหมดพร้อมอะหลั่ยอีก 8 ปี
 พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวว่า การจัดซื้อเป็นแบบซื้อขายรัฐบาลต่อรัฐบาล ไม่เหมือนเรือดำน้ำมือสองของเยอรมัน ที่ไม่มีการรับรองจากรัฐบาล เพราะไม่ส่งออก ถือเป็นเทคนิคของแต่ละประเทศ กองทัพเรือมีหน้าที่เสนอรายละเอียดและเสนอให้ผู้บัังคับบัญชาในเรื่องความเหมาะสมเท่านั้นเอง

“ตอนนี้อย่าพึ่งไปคิดว่าอะไรดีไม่ดี แต่ทุกคนต้องทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด ต้องเชื่อใจกัน ถ้าให้กองทัพเรือรับผิดชอบในทะเลทั้งหมด ควรเชื่อใจทหารเรือ แต่ถ้ามานั่งคิดว่า ตรงนั้น หรือตรงนี้ไม่ได้ ท่านก็มาเป็นทหารเรือก็แล้วกัน จะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร การเป็นทหารเรือไม่ง่าย ถ้าคนที่อยู่ในเรือและต้องดำน้ำ21วันโดยไม่โผล่มาเห็นเดือน เห็นตะวัน เขาเสียสละกันแค่ไหน พวกท่านมาบอกว่าซื้อแล้วจะใช้เงินมากมาย ก็เป็นเงินของผมเหมือนกัน ภาษีของทุกคนเหมือนกัน ผมก็เสียดายตังค์ ถ้าไม่ดี ผมก็ไม่อยากซื้อ ต้องเข้าใจคนอื่นบ้าง อย่าคิดคนเดียว”พล.ร.อ.ไกรสร กล่าว

15 ทริคคูลๆ ของ ‘นายกลุงตู่’ แนะให้ประชาชนดูแลตัวเอง ตั้งแต่เด็กแว๊นยันเรือดำน้ำ

15 ทริคคูลๆ ของ ‘นายกลุงตู่’ แนะให้ประชาชนดูแลตัวเอง ตั้งแต่เด็กแว๊นยันเรือดำน้ำ
(อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2015/07/60238 )
1. เมื่ออาหารทะเลแพง ก็หาอาหารอื่นแทนไปก่อน แต่ถ้าอยากกินก็ต้องทำงานหนัก
2. เมื่อมะนาวแพง ขอให้ทุกบ้านไปปลูกมะนาวในกระถางเอาไว้กินเอง
3. เมื่อภัยแล้ง ขอคนไทยช่วยกันขุดบ่อน้ำ
4. แก้ปัญหาภัยแล้ง ก็ช่วยกันปลูกป่าในพื้นที่ต้นน้ำ-อพยพออกมาจากพื้นที่ต้นน้ำ
5. เมื่อน้ำน้อย แนะเลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงไส้เดือนขายช่วยเพิ่มรายได้
6. เมื่อปลูกข้าวไม่ได้ ก็ปลูกพืชสมุนไพร เช่น หมามุ่ย แทน
7. เมื่ออยากยางราคาดี ก็คงต้องไปขายที่ดาวอังคาร
8. เมื่อยากแต่งบิกินีปลอดภัยในไทย ก็ต้องไม่สวย
9. เมื่ออยากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ก็ให้ไปประเมินความสามารถกับกระทรวงแรงงาน
10. เมื่อเตรียมแข่งขันการผลิตข้าวที่มีคุณภาพระดับโลก ก็ขอช่วยบริโภคข้าวกล้อง พืชอินทรีย์
11. เมื่อแก้ปัญหาหวยแพง ก็บังคับขายหวย 80 บาท หากทำไม่ได้ก็ต้องเลิกขาย
12. แก้ปัญหาเด็กแว๊น ประชาชนดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
13. เมื่ออยากให้เพื่อนบ้านเกรงใจ ก็ซื้อเรือดำน้ำ
14. เมื่อมีคนบอกว่าเศรษฐกิจตกต่ำ ก็อย่าไปเชื่อ
15. แนะหน้าที่สื่อต้องสร้างการรับรู้ สร้างจิตสำนึก ไม่ใช่ข้อเท็จจริงอย่างเดียว


ดับไฟทันก่อนเสียท่า “กลุ่มดาวดิน” พบกันใหม่ 6-14 ต.ค.!?


ในที่สุดศาลทหารก็ได้ยกคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ยื่นขอฝากขังผลัดที่สอง หลังครบกำหนดฝากขังผลัดแรกในวันที่ 7 กรกฎาคม กับกลุ่มนักศึกษาจำนวน 14 คน ที่เรียกว่า “กลุ่มดาวดิน” เนื่องจากเห็นว่าไม่มีเหตุที่ต้องควบคุมตัวต่อไป จึงให้ปล่อยตัวทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข
อย่างไรก็ดีตาม ขั้นตอนของกฎหมายก็ต้องรอดูว่าอัยการทหารจะพิจารณาสั่งฟ้องกลุ่มนักศึกษาดังกล่าวหรือไม่ หากสั่งฟ้องต่อศาลทหารก็จะต้องเดินไปตามขั้นตอนในการพิจารณาความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง 3/2558 ที่ออกโดยมาตรา 44 และมาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี
แต่เอาเป็นว่าเมื่อรูปการณ์เป็นแบบนี้แล้ว ทุกอย่างก็คงจะผ่อนคลายลงมาแล้ว และสำหรับเด็ก ๆ นักศึกษาเหล่านี้ก็ถือว่า “ไฟแรง” ได้ทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ยึดมั่นในหลักการความถูกต้อง ต่อไปในอนาคตก็คงจะใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปรับใช้สังคม รับใช้ประชาชน
แต่ปัญหาก็จะมีแต่กับพวกที่คอย “สุมไฟ” อยู่ข้างนอก ประเภท “หัวหงอกหัวดำ” ที่คอยแอบอยู่ข้างหลังเด็ก ๆ พวกนี้ต่างหากจะคิด “เกมใหม่” ออกมาเล่นกันต่ออย่างไรกันอีก เพราะถือว่าไฟที่อุตส่าห์ใช้ไม้ขีดก้านเล็ก ๆ จุดอยู่เป็นนาน ก็ถูกน้ำราดลงไปจนเกือบดับสนิทไปแล้ว อย่างน้อยก็คงไม่ลามในช่วงวันสองวันนี้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากสถานการณ์ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะก่อนที่จะมีการปล่อยตัวพวก 14 นักศึกษา บรรยากาศก็ถูกทำให้ตึงเครียด มีการปลุกระดมกันมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของการถูกควบคุมตัวแบบฝากขังผลัดแรกจำนวน 12 วัน มีการจัดกิจกรรมกันมาทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย โดยใช้สื่อในเครือข่ายช่วยประโคม อีกทั้งยังมีการใช้สื่อในสังคมโซเชียลฯเป็นอาวุธสำคัญในการกระพือ มิหนำซ้ำ ยังมีต่างประเทศ ตะวันตก องค์กรสิทธิมนุษยชน เข้ามากดดันผสมโรง ซึ่งแน่นอนว่าภาพของรัฐบาลทหาร เกิดขึ้นภายใต้การรัฐประหารของกองทัพ ฟังดูเผิน ๆ แล้วใช่เลย มันเข้าเงื่อนไขเป๊ะร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่สำหรับประเทศไทย การรัฐประหาร และรัฐบาลทหาร มันมีรายละเอียดที่ซับซ้อนมากกว่านั้น และคำว่าประชาธิปไตย และประชาชนมีสิทธิเสรีภาพที่แท้จริง ไม่ใช่ต้องมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เพราะภายใต้รัฐบาลเลือกตั้ง ภายใต้ “ระบอบทักษิณ” ทุกอย่างกลับเลวร้ายยิ่งกว่า เพียงเพราะข้ออ้างว่า “มาจากการเลือกตั้ง” แล้วมาตบตาใช้นโยบายและอำนาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้อง
ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันแม้ไม่อยากจะพูดว่าเบื้องหลังของการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้ ก็ย่อมมีเครือข่ายที่เป็นแนวร่วมช่วยเหลือในการ “ออกแบบ” ซึ่งคนที่ติดตามมาตลอดก็ย่อมมองออกได้ไม่ยาก ความหมายก็คือ “ใช้เด็กจุดไฟ” โดยอาศัยความเป็นเด็ก “ไฟแรง” มีเลือดลมพลุ่งพล่านที่ต้องต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ซึ่งในวัยนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพียงแต่ว่าคนที่แอบซ่อนอยู่ข้างหลังต่างหากที่ต้องกระชากออกมาประจานกลางแจ้ง เพราะความหมายไม่ได้ต่างจากการใช้ “เด็กและผู้หญิง” บังหน้า
หันมาพิจารณาในมุมของฝ่ายอำนาจรัฐกันบ้าง ก็ต้องบอกว่าทันเกม ที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ดับไฟ ผ่อนร้อนลงไปได้ แม้ว่านาทีนี้เป็นเพียงแต่ “ลดไฟ” ลงมาเท่านั้น ยังไม่มอดสนิท เพราะรู้กันอยู่ว่าไฟแบบนี้ไม่มีทางดับให้สนิทได้หรอก เพียงแต่ว่าต้องป้องกันไม่ให้มีการสุมไฟเข้าไปใหม่ เพราะผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็อาจลุกลามจนเอาไม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องระวัง โดยเฉพาะคำพูดที่อาจยั่วยุ และนำไปขยายผลแบบไฟลามทุ่ง ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก เลขา คสช. ซึ่งเป็นคนคุมเกมนี้อย่างใกล้ชิดทำได้ดี ไม่เสียรูปมวย มีทั้งเข้มข้นทางกฎหมาย และผ่อนปรนในบางสถานการณ์
อย่างไรก็ดี อย่างที่บอกนั่นแหละว่านี่เป็นแค่ไฟมอดลงชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีทางที่จะดับสนิทลงไปได้ วันนี้เมื่อเงื่อนไขเก่าลดลง ก็ต้องรอจังหวะสร้างเงื่อนไขใหม่ ซึ่งก็ต้องจับตารอดูวันที่ 6 - 14 ตุลาฯ นี้ ว่า จะมีกิจกรรมอะไรมานำเสนอกันอีก !!
ผ่าประเด็นร้อน: Astv ผู้จัดการออนไลน์

สุมมาตั้งนานดันมอดซะแหล่ว !!

สุมมาตั้งนานดันมอดซะแหล่ว !!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
เกาะกระแส
      
       00 ยังมีความพยายามที่จะให้ 14 นักศึกษา ไม่ยื่นขอประกันตัวกันต่อไป หลังจากครบกำหนดฝากขังผลัดแรกมาแล้ว 12 วัน โดยอ้างว่าไม่ยอมรับเผด็จการ ไม่ยอมรับอำนาจศาลทหาร ก็ว่ากันไป ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อไม่ขอประกันตัว ก็มีอยู่ทางเดียวคือ "ต้องนอนคุกต่อ" ส่วนจะเป็นอีกกี่วัน อีก 12 วัน หรือว่าเมื่อนอนคุกไปสักระยะหนึ่งแล้วเกิดไม่สนุก เพราะทำท่าจะนานเกินไป ก็อาจเปลี่ยนใจขอประกันตัว อาจจะแยกออกมาต่างหากแต่ละบุคคลก็ได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับพวกนักศึกษาทั้ง 14 คนเท่านั้น เพราะพวกเขาเป็นคนติดคุก บรรดาขายุแบบให้กำลังใจอยู่ข้างนอกไม่ได้เป็นคนอยู่ข้างใน
      
       00 แน่นอนว่า เงื่อนไขที่ให้"ปล่อยตัว"เวลานี้มันลดน้ำหนักลงมาแล้ว หลังจากฝากขังครบกำหนดผลัดแรก 12 วัน ก็ขอใช้สิทธิ์ขอประกันตัว แต่เมื่อไม่ขอประกันตัวออกมา นั่นก็เท่ากับว่าสมัครใจที่จะให้ถูกควบคุมตัวต่อไป ซึ่งไม่ว่าใครก็มองออกว่านี่คือ"แผนจุดไฟ"ให้ลุกลาม ก็อาจจะได้ผลบ้างกับการทำกิจกรรมชุดชมนุมของเพื่อนในมหาวิทยาลัย แต่ข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวมันก็ทำไม่ได้ หากไม่ยื่นขอประกันตัวออกมาก่อน มีทางเดียวก็คือต้องเลิกคำสั่ง คสช.ต้องมีการเลือกตั้ง ต้องมีรัฐธรรมนูญใหม่ทันที่ และที่สำคัญต้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากนายกฯและยุบคสช.งั้นเหรอ
      
       00 ก็ไม่อยากเหยียดหยามพวก"หัวหงอกหัวดำ"ที่แอบอยู่ข้างหลังเด็กๆพวกนี้ ก็ขอให้พยายามกันต่อไปแล้วกัน เพราะอาจจุดติดหรือไม่ติดก็ได้ หรือว่าจะถูกจับกุมเพิ่มอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่มั่นใจว่า"กระแส"มันยังไม่ได้ ตราบใดที่รัฐบาลและคสช.ยังไม่บ้าอำนาจ ยังไม่มีเรื่องอื้อฉาวให้เห็นชัด แม้ความศรัทธาอาจจะถดถอยลงไปบ้างเมื่อเทียบกับตอนเข้ามาใหม่ๆ แต่ถึงยังอย่างไรชาวบ้านเขาก็ยังรอดู รธน.ฉบับใหม่ รอการปฏิรูปว่าจะทำได้แค่ไหน ซึ่งทุกอย่างอย่างมากก็คงไม่เกิน 1 ปี ถ้าจะอยู่ต่อก็ต้อง"คุ้มค่า"และต้องมีเหตุผลพอที่จะอธิบายได้ นี่ต่างหาก !!
      
       00 ใจหนึ่งก็อยากชื่นชมกับการเคลื่อนไหวของพวกเด็กๆนักศึกษาพวกนี้นะ เพราะอาจมองว่านี่เป็นนิมิตหมายที่ดี ที่เด็กยุคใหม่หันมาสนใจการบ้านการเมืองกันมากขึ้น แทนที่จะบ้าแฟชั่น บ้าดารา มีรสนิยมหรูหรา ชื่นชมในความมุ่งมั่น ซึ่งเชื่อว่าหลายคนก็เคยมีอารมณ์แบบนี้มาแล้ว เพียงแต่ว่าอย่าให้ใครมาแอบอยู่ข้างหลังของเราก็แล้วกัน ล่าสุดศาลทหารก็ยกคำร้องของพนักงานสอบสวนในการขอฝากขังต่อผลัดที่สอง เนื่องจากไม่มีเหตุที่ต้องควบคุมตัวต่อไป ทำให้ในเย็นวันเดียวกันก็จะมีการปล่อยตัวแบบ"ไม่มีเงื่อนไข" แหมอย่างนี้"ไฟก็มอด"สินะ อย่างไรก็ต้องรอลุ้นกันอีกทีว่าอัยการจะสั่งฟ้องต่อหรือไม่ หากฟ้องคดีก็เดินหน้าตามกระบวนการ !!
      
       00 แต่รายนี้คงไม่ต้องลุ้นกันแล้วสำหรับการถอดยศ ทักษิณ ชินวัตร เพราะล่าสุด ผบ.ตร.พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วงประกาศให้เข้าใจชัดแล้วว่า การพิจารณาคงลากยาวไปหลังจากที่ตัวเองเกษียณฯในเดือน ก.ย.ไปแล้ว ส่วนจะยาวแบบชาติหน้าหรือชาติโน้นก็คงตอบไม่ได้อีก ส่วนจะรอ ผบ.ตร.คนใหม่มาสานต่อหรือเปล่า ก็อย่าไปสนใจกันเลยดีกว่า รู้แต่ว่าจากเรื่องดังกล่าวทำให้ชาวบ้านได้เข้าใจตำรวจมากขึ้นไปอีก และยิ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องปฏิรูปองค์กรตำรวจเป็นอันดับแรก !!
      
       00 เรื่องซื้อเรือดำน้ำจากจีน 3 ลำมูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาทของกองทัพเรือ ทำท่าจะลอยเท้งเต้งอีกสักพัก เพื่อรอจังหวะทอดสมอ เพราะกระแสเริ่มแรง และหากไม่ดูตาม้าตาเรืออาจเกยตื้นเอาได้ง่ายๆ และงานนี้ฝ่านตรงข้าม"จ้องเล่นงาน"อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าถามว่า "ซื้อหรือเปล่า"คำตอบตอนนี้คือ "น่าจะเอาแน่" เพียงแต่ต้องรอ"ช่วงชุลมุน" อาจดันเข้าไปแบบเงียบๆ แบบที่อนุมัติแล้วไม่มีการแถลงอะไรแบบนี้ อย่าทำเป็นเล่นไป เพราะที่ผ่านมาเคยทำมาแล้ว เรื่องแบบนี้ต้องลองใจ "พี่ใหญ่" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหมที่เวลานี้เรื่องถึงมือแล้ว อยู่ที่ว่าจะหาจังหวะ"เสียบ"เข้าไปตอนไหนเท่านั้นแหละ !! 

“อี๋ แทนคุณ” แจงภาพหลุด !สนิทสนม “บก.ลายจุด” ย้ำ จุดยืนเหมือนเดิม

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีภาพปรากฎว่าไปนวดหลังให้ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด อย่างสนิทสนมใกล้ชิด ว่า เป็นการทำกิจกรรมในช่วงที่ตนเข้าเรียนหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข ของสถาบันพระปกเกล้า (4ส.6) โดยตนได้เข้าเรียนหลักสูตรนี้มาประมาณหลายเดือนแล้ว
ภาพที่ปรากฏ ตนต้องขอชี้แจงว่าเป็นการทำกิจกรรมอบรมให้เกิดความเข้าใจของแต่ละฝ่ายมากขึ้น แต่จุดยื่นของแต่ละฝ่ายก็ยังชัดเจนเหมือนเดิม สิ่งที่ทำร่วมกันคือเพื่อต้องการให้สังคมดีขึ้น ไม่อยากให้มองว่าบุคคลที่มีความคิดเห็นต่างกันจะอยู่ร่วมกันในสังคมไม่ได้


ว่่าด้วยIMFกับไทย

คน/สื่อไทยจำนวนมากติดตามแต่ข่าวกระแสหลักที่มีทัศนคติ “ประณาม” ลูกหนี้ โดยไม่คำนึงเลยว่าเวลาเกิดวิกฤตขึ้นมา อย่างกรณีกรีซที่เป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ประเทศแรกที่ผิดนัดชำระหนี้ IMF นั้น ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียว IMF เองยอมรับตั้งแต่ปี 2013 แล้วว่า เป็นความผิดพลาดของตัวเอง โดยเฉพาะการประเมินหนี้สาธารณะของกรีซต่ำกว่าความเป็นจริง
แต่ขณะเดียวกัน IMF ก็วิจารณ์เจ้าหนี้ยุโรปเองที่มีความไม่แน่นอนด้านนโยบายความช่วยเหลือ (ตั้งแต่ปี 2010) ชักเข้าชักออก ทั้ง ๆ ที่ควรปรับโครงสร้างหนี้ (ปลดหนี้หรือเปลี่ยนเงื่อนไขหนี้) ตั้งแต่ตอนนั้น แต่ก็ไม่ได้ทำ เรียกว่าปล่อยให้รบ.กรีซตัดลดการขาดดุล (ด้วยการลดงบประมาณด้านสังคมลง) ฝ่ายเดียว แต่ยุโรปกลับไม่อัดฉีดเงินและปรับโครงสร้างหนี้ให้เพียงพอต่อการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลลัพธ์ก็คือการหดตัวของเศรษฐกิจกรีซอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จนต้องเบี้ยวหนี้ในที่สุด
สรุปว่ากรณี ‪#‎วิกตหนี้กรีซ‬ นั้น ต้องโทษทั้งฝ่ายที่ให้กู้และฝ่ายที่กู้ บกพร่องทั้งคู่ แต่ตอนนี้ฝ่ายที่ให้กู้ใช้มือบีบคอลูกหนี้ ตัดเงินเสริมสภาพคล่องธนาคาร ล่าสุดเห็นว่าเวชภัณฑ์ในกรีซขาดแคลน คนที่ได้รับผลกระทบเป็นคนอ่อนแอสุดของสังคม มันเป็นความทารุณของระบบทุนนิยมที่ไร้หัวใจ
รายงานประเมินของ IMF เมื่อปี 2013 ยอมรับว่า การประเมินที่ทำเมื่อปี 2010 (สมัย Dominique Strauss Kahn ที่กำลังกระสันจะลงชิงตำแหน่งปธน.ฝรั่งเศสเป็นผู้อำนวยการ) ตอนเริ่มปล่อยกู้ bailout งวดแรกให้กรีซ เป็นการประเมินที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องhttp://www.imf.org/external/pubs/ft/scr/2013/cr13156.pdf อ่านแบบย่อ ๆ แยกเป็นประเด็นที่นี่ http://ftalphaville.ft.com/…/1526142/ignored-many-flaws-th…/
IMF Greece Report Was Flawed. EU Did Even Worsehttp://bv.ms/1GCG7Us
IMF admits mistakes on Greece bailouthttp://www.bbc.com/news/business-22791248


มหามิตร มหาศัตรู

เขียนวันที่
วันอังคาร ที่ 07 กรกฎาคม 2558 เวลา 16:53 น.
เขียนโดย
วสิษฐ เดชกุญชร
หมวดหมู่
ผมเป็นนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา เคยได้รับทุนคาร์เนกี (Carnegie Fellowship) และมูลนิธิฟุลไบรท์ (Fullbright Foundation) ไปเรียนจนจบ ได้ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Public Administra- tion) จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก  นอกจากนั้นยังเรียนจบจากโรงเรียนตำรวจ นครนิวยอร์ก และวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติของเอฟบีไอ (FBI National Academy) ด้วย  ผมมีเพื่อนเป็นคนอเมริกันที่รักกันสนิทสนมยิ่งกว่าญาติหลายสิบคน  มีทั้งเพื่อนที่เป็นคนอเมริกันซึ่งกลายเป็นอาจารย์สอนสมาธิ หรือกรรมฐานให้ผม และมีพระภิกษุชาวอเมริกันที่ผมถือเป็นครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น ท่านพระอาจารย์เจ้าพระคุณพระราชสุเมธาจารย์และพระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ เป็นต้น  
07072015001
ทางด้านราชการนั้น พอเริ่มรับราชการเป็นตำรวจสันติบาลใน พ.ศ. 2499 ผมก็ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐที่รู้จักกันทั่วโลกในชื่อย่อซีไอเอ (C.I.A. คือ Central Intelligence Agency) และได้ไปเรียนจนจบหลักสูตรวิชาข่าวกรองของ ซีไอเอด้วย
ผมกลับไปเยือนอเมริกาอีกหลายครั้ง เพราะความผูกพัน กลับไปทีไร เพื่อนชาวอเมริกันของผมก็ต้อนรับอย่างอบอุ่นที่นั้น เหมือนเป็นญาติสนิท ทุกวันนี้ผมถือว่าผมรักคนอเมริกันและโปรอเมริกา
แต่ที่ผมรักไม่ลงนั้นคือรัฐบาลอเมริกันและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอเมริกันในประเทศไทย  ที่รักไม่ลงก็เพราะพฤติการณ์อันน่ารังเกียจของรัฐบาลนั้นและเจ้าหน้าที่เหล่านั้น
ก่อนรัฐประหารในประเทศไทยใน พ.ศ. 2557 สหรัฐสนับสนุนรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างออกหน้าออกตา และไม่แยแสกับการปกครอง แบบเผด็จการโดยรัฐสภาของรัฐบาลนั้น เจ้าหน้าที่ของสหรัฐไปเยือนหมู่บ้านคนเสื้อแดงและแสดงความชื่นชมอย่างเปิดเผย และในทันทีที่เกิด รัฐประหารในประเทศไทย มีการตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และตั้งรัฐบาลซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี สหรัฐก็แสดงความไม่พอใจและเป็นปฏิปักษ์อย่างออกนอกหน้า นายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเรียกร้องให้ตั้งรัฐ บาลพลเรือนทันที และให้ “กลับไปสู่ประชาธิปไตย” ทั้งยังคาดคั้นว่า “หนทางเบื้องหน้าของประเทศไทยจะต้องมีการเลือกตั้งโดยเร็ว ซึ่งการเลือกตั้งนั้นจะต้องสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน”  นายเคอร์รีกล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเมืองไทยนั้นมี “ผลกระทบที่เป็นลบ” ต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับไทย โดย เฉพาะความสัมพันธ์กับกองทัพไทย และนายเคอร์รียังขู่ด้วยว่ารัฐบาลสหรัฐกำลัง “ทบทวนความช่วยเหลือทางทหาร” และด้านอื่น ๆ ที่ให้แก่ประเทศไทยด้วย
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่เพิ่งจะผ่านไปนี้เอง รัฐบาลสหรัฐก็ยังแสดงความไร้เดียงสาเกี่ยวกับเมืองไทยอยู่ นายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูต รักษาการในตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการจับกุมนักศึกษา 14 คนว่า สหรัฐเป็นกังวลกับสถานการณ์ประชาธิปไตยและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเรือน
ผมเคยนึกว่าสหรัฐอเมริกาเป็นขุมของวิทยาการทุกแขนง และเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐมีคุณวุฒิ ความรู้ ประสบการณ์และความเข้าใจการเมือง สังคม และวัฒนธรรมของประเทศที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่อยู่  แต่พฤติการณ์ และการแสดงออกของเจ้า หน้าที่สหรัฐ ทั้งที่เป็นชั้นผู้ใหญ่ระดับรัฐมนตรี และระดับรองลงมาที่มาปฏิบัติหน้าที่ในเมืองไทย กลับแสดงว่าไม่รู้อะไรจริงเกี่ยวกับเมืองไทยเลย หรือมิฉะนั้นก็ถูกอคติบดบังจนมองไม่เห็น
นายรอน พอล (Ron Paul) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ซึ่งเคยสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “ในที่สุด เงิน อาวุธ และการดำเนินนโยบายแทรกแซงของเรา (สหรัฐ) จะซื้อเพื่อน ให้เราได้ไม่นาน และเราจะกลับติดอาวุธให้ศัตรูของเรามากครั้งขึ้น”
ขอขยายความว่า เพราะการดำเนินนโยบายของสหรัฐเองนั่นแหละ ที่ทำให้สหรัฐกลายเป็นมหาศัตรู แทนที่จะเป็นมหามิตรของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย.
ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.manager.co.th

"การจัดหาจัดซื้อเรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือ

หลายวันที่ผ่านมาก็ได้อ่านโพสต์เกี่ยวกับ "การจัดหาจัดซื้อเรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือ และเห็นบทวิจารณ์หลากหลายมาก

เรื่องนี้ละเอียดอ่อนและต้องใช้วิจารณญาณลึกซึ้งด้วยเหตุและผล ผมทราบดีว่าคงมีคนไม่เห็นด้วยกับผม ซึ่งผมเข้าใจแต่ก็เคยบรรยายเหตุผลว่า "กองทัพเรือต้องมีเรือดำน้ำประจำการ" ผมอาจจะ "เป็นนักวิชาการสงครามศึกษา- War Studies" และบรรยายวิชานี้ที่ "วิทยาลัยเสนาธิการทหาร" มาแล้ว 15 ปี ขอท่านทั้งหลายอย่ารีบด่วนสรุปและต่อต้านผมเลยครับ

เหตุผล
1.เชิงรัฐศาสตร์ "การจัดกำลังทัพเป็นหน้าที่ของรัฐ" ดังนั้นทุกรัฐชาติต้องบรรจุสาระนี้ในรัฐธรรมนูญของตนเอง
2. กองทัพเรือโดยสากล มีหน้าที่ปกป้องน่านน้ำและผลประโยชน์ทางทะเล รวมทั้งเป็นผู้รักษากฏหมายทางทะเลด้วย
3. เป็นหน้าที่กองทัพเรือเป็นสากลว่า "กองทัพเรือต้องพัฒนากำลังนาวีทุกมิติให้พร้อมรบและทันสมัย มีอำนาจป้องปรามเชิงเปรียบเทียบ
4. การจัดหาระบบอาวุธเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก โดยเฉพาะเรือดำน้ำ มิใช่จะด่วนสรุปง่ายๆ ต้องใช้เวลาพอควรในการศึกษาและเลือกยานสงคราม- platform และระบบอาวุธที่ติดตั้งต้องเหมาะสมกับภัยคุกคามและอำนาจทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและยาวว่าลงทุนได้หรือไม่
5. Platform เช่นเรือดำนั้นต้องแข็งแกร่งและปลอดภัย ภาวะความเสี่ยงต่อการถูกทำลายและอุบัติเหตุต่ำ อะไหล่หาง่ายและซ่อมบำรุงง่าย ไม่ยุ่งยากจนเกินไป
6. เรือดำน้ำเป็นอาวุธเชิงรุก ที่ต้องปฏิบัติการทางลึกและไกลในน่านน้ำสากล(Blue Water) ไกลจากน่านน้ำ ( 24 (12 จากแนวฝั่ง+12 เขตกันชนทางทะเล) ไมล์ทะเลจากฝั่งตัวเอง จึงจะประหลักการป้องปราม คงไม่สู้รบในอ่าวไทยเพราะมีกำลังรบทางอื่นป้องกันเพียงพอแล้ว
7. ปรัชญาว่า ด้วย Run Deep - Run Silence หรือ "ดำได้ลึก ไปได้เงียบ" และมีอาวุธเชิงยุทธ์ศาสตร์และยุทธวิธีที่ร้ายแรง อันเป็นหลักการการสงครามที่ประกันชัยชนะอยู่แล้ว
8. เรือดำน้ำมีระบบป้องกันตัวที่ดีที่สุด และง่ายที่สุด คือ การดับเครื่องยนต์ ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ศัตรูก็ค้นหาทำลายได้ยาก
9. การมีเรือดำน้ำของ ทร.ไทยนั้นก็เป็นไปตามตำรารัฐศาสตร์ที่ว่า "กำลังรบเปรียบเทียบสมดุล" เนื่องจากประเทศที่ติดทะเลและมีน่านน้ำติดกับทะเลไทยนั้น มีเรือดำน้ำกันทุกชาติ โดยเฉพาะอินเดีย มีหลายลำ เราคงไม่ต้องการให้ใครๆทั้งมิตรและศัตรูมาใช้น่านน้ำไทยเพื่อผลประโยชน์ทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการทหาร ของเขา
10. หากกองทัพเรือได้เลือกแบบที่เหมาะสมและราคาพอที่จะซื้อได้แต่คุณภาพสมรรถนะเหมาะสมกับประเทศไทยและไม่ต่างกับเพื่อนบ้าน ก็เป็นการดี
11. ภัยคุกคามที่สำคัญและประสบอยู่ทุกวัน คือกองเรือโจรสลัดติดอาวุธร้ายแรง ปล้นฆ่าเรือบรรทุกสิ้นค้าและน้ำมันในย่าน้ำทะเลจีนใต้ สุมาตรา และมหาสมุทรอินเดีย
12. น่านน้ำทะเลจีนใต้มีความตึงเคลียดมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เส้นทางเดินเรือผ่านและเข้าออกอ่าวไทยไม่ปลอดภัย เรือดำน้ำสามารถป้องปรามได้ในระดับหนึ่ง ป้องกันไม่ให้มีการล่วงล้ำน่านน้ำไทยเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของชาติใดชาติหนึ่ง
ข้อยุติที่นำเสนอ ในกรณีที่ทหารเรือทุกคนต้องการเรือดำน้ำ
1. กองทัพเรือต้องแสดงท่าที่ที่โปร่งใส ต้องโปร่งใสอย่างใสบริสุทธิ์ และเป็นประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ชาติอย่างแท้จริง
2. แสดงตัวเลขที่คนไทยยอมรับได้ว่า "ของดี ราคาถูก คุ้มค่าและสมราคา"
3. ยังไม่เร่งด่วนที่จะจัดซื้อในยามนี้ แต่รอเวลาที่จะซื้อรวม (Package) แต่ให้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง ด้วยการส่งเสริมการฝึกศึกษาล่วงหน้าไปก่อน เพื่อเตรียมการและประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้รับทราบอย่างต่อเนื่องและเห็นคล้อยตาม หรือจนกว่าเศรษฐกิจไทยจะดีกว่านี้
4. ทร.ต้องแสดงความจริงใจในการที่จะแสดงความโปร่งใส ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง
5. ไม่ผูกขาดกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ในฐานะลูกค้า จะทำให้มีบริษัทหลายประเทศติดต่อมา ทร.สามรารถต่อรองราคาได้แน่นอน


เคาะแล้ว! ‘เมียนมาร์’ จัดเลือกตั้ง 8 พฤศจิกายน

เคาะแล้ว! ‘เมียนมาร์’ จัดเลือกตั้ง 8 พฤศจิกายน

by Sathit M.8 กรกฎาคม 2558 เวลา 17:28 น.
เมียนมาร์กำหนด 8 พฤศจิกายน เป็นวันเลือกตั้งใหญ่ เปิดทางพรรคอองซาน ซูจี ลงสนามเป็นครั้งแรกในช่วงเวลา 25 ปี
 ในวันพุธ ธันต์ ซิน อ่อง ผู้ช่วยผู้อำนวยการคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำนครย่างกุ้ง กล่าวกับเอเอฟพีว่า เมียนมาร์จะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 8 พฤศจิกายน กกต.จะประกาศรายละเอียดต่อไป
 ประชาชนจะออกเสียงเลือกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเลือกตัวประธานาธิบดี อย่างไรก็ดี ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ขาดคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว
 พรรคเอ็นแอลดียังไม่ยืนยันว่าจะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในครั้งนี้หรือไม่ โฆษกพรรค ยาน วิน บอกกับเอเอฟพีว่า ทางพรรคจะต้องประชุมกันเพื่อตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมในการเลือกตั้งหรือไม่
 เอ็นแอลดีชนะเลือกตั้งทั่วประเทศเมื่อปี 2533 ในขณะที่นางซูจีถูกกักบริเวณในบ้านพัก แม้ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน แต่กองทัพไม่ยอมให้เอ็นแอลดีบริหารประเทศ.
 Source: AFP
Photo: AFP

คสช.เปิดรายการทีวี.ใหม่"เดินหน้าปฏิรูป"ทุกวันจันทร์3 ทุ่มช่อง5,11

คสช.เปิดรายการทีวี.ใหม่"เดินหน้าปฏิรูป"ทุกวันจันทร์3 ทุ่มช่อง5,11ศปป.เชิญ"ยิ่งลักษณ์-อภิสิทธิ์"แกนนำทุกพรรคทุกพวกพูด /โฆษก คสช. เผย เชิญ นักการเมือง ออกรายการ ทีวี.คสช.ให้ความรู้ แก้ปัญหาด้านต่างๆ เผยเชิญ "พิชัย นริพทะพันธ์" อดีต รมว.พลังงาน และ"จาตุรนต์"แล้ว

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. กล่าวว่า คสช.ได้เพิ่มช่องทางเพื่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กับผู้แทนของสปช.เพื่อประโยชน์ต่อการเดินหน้าประเทศในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของการปฏิรูป
โดยอาจจะมีการเชิญนักการเมือง หรืออดีตผู้บริหารหน่วยงาน ซึ่งยังไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นใคร. คงจะพิจารณาเลือกจากตัวประเด็นที่น่าสนใจไว้เป็นหลักก่อนที่ผ่านมาอยากแลกเปลี่ยนในเรื่องพลังงานจึงได้เชิญนายพิชัย นริพทะพันธ์ อดีต รมว.พลังงานมาร่วมพูดคุยในรายการ

สำหรับในวันที่ 8ก.ค.นี้ก็จะเป็นเรื่องของการศึกษาจึงได้เชิญนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสำหรับสัปดาห์ต่อไปจะต้องมีการประชุมหารือกำหนดประเด็นอีกครั้ง

“วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์” เล่าวิถีประมงทะเล ฟันธงรัฐบาลแก้โจทย์ผิด – กรมประมงทำเอง “IUU ตัวจริง”

“วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์” เล่าวิถีประมงทะเล ฟันธงรัฐบาลแก้โจทย์ผิด – กรมประมงทำเอง “IUU ตัวจริง” แนะกางมูลค่าส่งออก 35,000 ล้านให้ชัด แยกกุ้ง-ทูน่า-ปลาทะเล แล้วเจรจาอียูใหม่


ปีนี้นับเป็นปีของการรับผลจากกฏ “การกระทำ” และ “ไม่กระทำ” ของไทยในหลายๆ เรื่อง ในระดับมาตรฐานสากล ทำให้ประเทศไทยได้รับทั้งใบเตือนและติดธงเหลือง ธงแดง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานการค้างาช้าง มาตรฐานการบิน มาตรฐานการทำธุรกิจประมง นับเป็นสัญญาณการเตือนภัยครั้งสำคัญต่อความอยู่รอดและอนาคตของประเทศ
ล่าสุด ชาวประมงที่ผิดกฎหมายต้องจอดเรือไม่สามารถออกจับสัตว์น้ำได้ เพราะรัฐบาลโดยศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ออกคำสั่งมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ดำเนินการตามกฎหมายกับเรือประมงที่ผิดกฎหมายและไม่ผ่านการตรวจสอบเอกสาร 15 รายการ ซึ่งไม่สามารถออกทำการประมงได้ จึงมีเรือจอดเทียบท่าหลายพันลำทั่วประเทศ
ทั้งนี้เป็นผลมาจากสหภาพยุโรป (EU) ยื่นคำขาดให้ประเทศไทยปฏิรูปนโยบายเรื่องการประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ไม่มีการรายงาน และที่ไม่มีกฎข้อบังคับ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) มิฉะนั้นจะถูกห้ามส่งออกอาหารทะเลไปยัง EU ภายในสิ้นปีนี้ เพราะความวิตกกังวลสำคัญของ EU คือการที่ประเทศไทยไม่สามารถให้การรับรองได้อย่างถูกต้องถึงแหล่งที่มาและความถูกต้องตามกฎหมายของอาหารทะเลที่ส่งออก
ปัญหาและยุทธวิธีแก้ไขปัญหาประมงทะเลของไทยได้มีการพูดถึงและเสนอแนะต่อรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2538 ว่าจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมประมงทะเลของไทยอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมีทรัพยากรสัตว์ทะเลให้จับได้ตลอดไป
นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์
นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์
ต่อเรื่องนี้ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ผู้ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมประมงทะเลมาตลอดชีวิต เจ้าของกลุ่มบริษัทศิริชัยการประมง ได้เขียนยุทธศาสตร์การประมงทะเลของไทย พร้อมข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล เคยเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย ได้ให้ความเห็นต่อการแก้ปัญหาการทำประมงทะเลต่อกรณี IUU ว่า
“กว่า 30 ปีที่ผ่านมา ที่กรมประมงไม่มีคนรู้เรื่องทะเลมาเป็นผู้บริหารกรมประมงเลย ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประมงน้ำจืด ด้านสิ่งแวดล้อม หรือมีก็มีไม่ครบ นี่คือปัญหาของกรมประมง”

ความไม่เข้าใจและการปล่อยปละละเลย

ฉะนั้น ถามว่าวันนี้ปัญหาตรงนี้มันคืออะไร ถ้าย้อนไปก่อนปี 2504 ตอนนั้นเป็นประมงพื้นบ้าน ประมงชายฝั่ง เพราะมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ หากินใกล้ฝั่ง ใครที่อยู่ริมๆ ทะเลก็มีกิน
แต่วันดีคืนดีปี 2504 ประเทศไทยไปร่วมมือกับประเทศเยอรมัน นำเทคนิควิธีการจับปลาด้วยอวนลากมาใช้ อวนลากนี้ก็คือว่ามีเรือแล่นอยู่ข้างหน้าอวนอยู่ข้างหลัง ลากไปเรื่อยๆ ฉะนั้น ปลาที่มีอยู่ก็ติดขึ้นอวนมาเยอะแยะไหมด ก็จับปลาได้เยอะ
ในตอนนั้นเยอรมันได้บอกกับไทยอย่างชัดเจนหลังจากที่ได้มาทดลองแล้วว่า สิ่งที่คุณจะต้องทำคือการควบคุมจำนวนเรือประมง แต่ไทยก็ไม่ได้ทำ เพราะเห็นว่ามีทรัพยากรอยู่มากมาย และจำนวนเรือมีไม่มาก ก็ปล่อยให้ทำไป ใครอยากจะต่อเรือก็ต่อไป ใครมีเงินก็สามารถดัดแปลงเรือ ดัดแปลงเครื่องมือ ก็ไปจับปลา ซึ่งตอนนั้นก็มีการขอใบอนุญาตเรือ
จากนั้นไม่ถึง 10 ปี ปลาหมดทะเล ซึ่งถามว่าเราทำอะไรบ้างเพื่อแก้ปัญหา ก็ไม่ได้ทำอะไร
ไทยไม่ได้ทำอะไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น จนเกิดเครื่องมือใหม่ๆ เมื่อปลาหน้าดินหมดเพราะเครื่องมืออวนลาก ก็เปิดเครื่องมือใหม่ อาทิ อวนลอย อวนล้อม ที่ใช้จับปลาผิวน้ำ เช่น ปลาทู ปลาอินทรีย์
ต่อมาวันดีคืนดีในปี 2523 รัฐบาลโดยกรมประมง ได้ออกมาตรการจำกัดเรืออวนลาก ให้จำกัดจำนวนเท่าที่มีอยู่ ไม่ให้เพิ่ม ซึ่งขณะนั้นมีเรืออวนลากประมาณ 3,000-4,000 ลำ ที่มีอาชญาบัตร
ประเด็นก็คือ การกำกับดูแลของไทยคือการไปคุมเรือตามอาชญาบัตร แต่ไม่คุมจำนวนเรือ ก็มีเรือจำนวนหนึ่ง เมื่อรัฐไม่ให้ใบอาชญาบัตร ก็ไม่ขออนุญาต ก็ทำการจับปลาไป จำนวนเรือเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้น ประกอบกับเรือเหล่านี้ส่วนหนึ่งออกไปจับปลาในต่างประเทศ และถูกจับก็วิ่งกลับมาจับปลาในบ้านเรา มีการพัฒนามาใช้ตาอวนที่เล็กลง ไปจับในพื้นที่หวงห้ามบ้าง ในพื้นที่ตื้นบ้าง จนเกิดปัญหา
ถามว่าเครื่องมือประมงที่ใช้อยู่ผิดกฎหมายหรือไม่ มันไม่ผิดกฎหมาย แต่มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งมีใบอนุญาต (อาชญาบัตร) ที่ถูกกฎหมาย และอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำประมงโดยไม่มีใบอนุญาต อันนั้นผิดกฎหมาย
วันนี้สังคมยังเข้าใจอยู่ว่าอวนลากผิดกฎหมาย จริงๆ ไม่ใช่ มันเป็นเครื่องมือที่อนุญาตให้ใช้ได้และมีการผ่อนผันมา 2-3 รอบ คือนิรโทษกรรม อนุญาตให้จดทะเบียนใหม่ จนปี 2539 ที่มีการอนุญาตให้จดทะเบียน ซึ่งตัวเลขในปีนั้นมีเรืออวนลากอยู่ประมาณ 7,000-8,000 ลำ และเป็นปีสุดท้ายที่คุมทะเบียนเรือ
หลังจากปี 2539 จำนวนเรืออวนลากก็ลดลงมาเรื่อยๆ ก็มีทั้งเรือถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย บางคนไปขออนุญาตเครื่องมืออวนลากไม่ได้ เจ้าหน้าที่เองก็เป็นคนแนะนำให้ขอเครื่องมืออื่น บอกว่าถ้าอวนลากเขาไม่ให้ ก็ไปขอเป็นอวนลอยแล้วกัน มีใบอนุญาตอวนลอยแต่ทำอวนลาก และมีบางส่วนเมื่อไม่อนุญาตก็ไม่จดทะเบียนเลยสักอย่าง ทะเบียนเรือก็ไม่มี เพราะมาขออาชญาบัตรไม่ได้ จึงเป็นการทำประมงเถื่อน ก็ไม่มีใครไปดูแล ไม่มีใครไปจับ ไม่มีใครสนใจเขา ก็เหมือนกับพวกหาบเร่แผงลอย รถตู้ในกรุงเทพฯ ทั้งหลาย ที่วันดีคืนดีรัฐลุกขึ้นมาจัดระเบียบ และจับผู้ที่ทำผิดกติกา
เรือประมง-1
ขณะที่เจ้าหน้าที่กรมประมงเองรุ่นหลังๆ ก็ไม่ได้มีความรู้ ก็คิดว่าเครื่องมืออวนลากนั้นจำเป็นจะต้องยกเลิก เพราะทำลายทรัพยากรมหาศาล คือด้วยความไม่เข้าใจ จริงๆ แล้วเครื่องมืออวนลาก ถามว่าวันนี้เป็นเครื่องมือประมงที่ยังใช้ได้ไหม ต้องไปดูที่ข้อตกลงองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) วันนี้ก็ยังมีเครื่องมืออวนลากอยู่ในทะเบียน ประเทศทั้งหลายในโลกที่ทำประมงก็ยังใช้เครื่องมืออวนลากอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ทุกประเทศที่มีทะเลก็มีเครื่องมืออวนลากทั้งนั้น
“ถามว่าแล้วเรือเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการทำลายหรือไม่ ใช่ มีศักยภาพในการทำลาย แต่มันก็มีวิธีการที่จะจำกัดการทำลายของมัน คืออะไรบ้าง 1. พื้นที่ที่มีปะการัง ก็ห้ามเข้า 2. ขนาดตาอวน ห้ามใช้ตาอวนขนาดเล็ก 3. มีเครื่องมือที่จะทำให้สามารถยกอวนโดยไม่ครูดไปตามหน้าดิน คือมีลูกบอลไปอยู่ข้างหน้า ในรุ่นใหม่ๆ ก็มีการออกแบบมา เรียก “ว่าว” เป็นตัวยกอวนให้อยู่เหนือพื้นดิน ก็จะไม่ทำลายหน้าดิน ก็จะมีระบบวิธีการที่จะดูแลจัดการเพื่อลดปัญหาการทำลายทรัพยากร ซึ่งเครื่องมืออวนลากนั้นยังจำเป็น เพราะเป็นเครื่องมือเดียวที่มีประสิทธิภาพในการจับปลาหน้าดิน ซึ่งจะใช้เครื่องมืออื่นก็ไม่มี”

ขึ้นบกทำประมงน้ำจืด -หยุดสร้างคนประมงทะเล

ประเด็นคือความไม่เข้าใจของรัฐ รัฐบาลทิ้งในเรื่องวิชาการเกี่ยวกับประมงทะเลมาไม่น้อยกว่า 30 ปี ไม่มีการสร้างคนด้วย เพราะสมัยอธิบดีกรมประมงคนสุดท้ายที่รู้เรื่องทะเลคือ นาวาโท สว่าง เจริญผล ในสมัยนั้นเขาบอกว่าประเทศไทยคงไม่มีอนาคตเรื่องประมงทะเลแล้ว จึงขึ้นบก หันมาเริ่มทำประมงน้ำจืด พอหันมาทำประมงน้ำจืด การพัฒนาคนทางด้านทะเลจึงหยุด ทั้งที่เคยส่งคนไปเรียนต่างประเทศทางด้านการประมงทะเลทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป อังกฤษ อเมริกา ทั้งหลายก็หยุดหมด
“เรามาพัฒนาเรื่องการเพาะเลี้ยง เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องอะไรต่างๆ แทน ซึ่งอยู่ในช่วงปี 2524-2525 เพราะว่าสอดรับกับตอนนั้นที่มีกฎหมายทะเล 1982 เข้ามาพอดี คือกฎหมายอนุญาตให้ประเทศต่างๆ ขยายเขตทะเลออกไปจาก 12 ไมล์ทะเล เป็น 200 ไมล์ทะเล เป็นส่วนของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเรื่องการทำประมง IUU ที่จะกล่าวต่อไป” (อ่านเพิ่มเติม…ข้อเท็จจริง ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาของการประมงทะเลของไทยทั้งระบบ)
“เมื่อไม่มีการสร้างคน ถามว่ากรมประมงวันนี้มีองค์ความรู้ที่จะดูแลจัดการทะเลไหม ก็ไม่มี ผมเคยเสนอไปบอกว่าตราบใดที่ประเทศไทยยังมีทะเลอยู่ มีทรัพยากรมูลค่านับแสนล้านต่อปี ถามว่าทำไมเราไม่ตั้งกรมประมงทะเล แต่เรามีกรมหม่อนไหม ทั้งที่วันนี้มูลค่าไหมหลักแค่พันล้าน เรายังมีการตั้งกรมขึ้นมา 1 กรม เพื่อดูแลผลประโยชน์ตรงนั้น ถามว่าทะเลเรามีผลประโยชน์เป็นแสนล้านบาท ทำไมจึงไม่มีกรมทะเล แล้วตั้งแล้วดูแลจัดการเรียบร้อยแล้ว ไม่มีความจำเป็นแล้วก็สามารถยุบได้ เหมือนกับข้าวสมัยหนึ่งมีกรมการข้าว แล้ววันดีคืนดีรัฐบาลก็ยุบกรมการข้าว แล้วในวันนี้เห็นความสำคัญก็มีการตั้งกรมการข้าวขึ้นมาใหม่ การตั้งไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่รัฐก็ตอบไม่ได้ คือด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ คิดว่าช่างมัน ไม่สนใจมัน เราก็ปล่อยประมงทะเลทิ้ง”
เรือประมง-6

ความเข้าใจเรื่อง IUU-มาตรการ EU คนละเรื่องเดียวกัน

เรื่องของประมง IUU ถามคนไทยในวันนี้ว่าเขาใจ IUU ว่าอย่างไร สังคมและรัฐบาลเองก็เข้าใจว่า IUU คือกติกาที่ EU ตั้งขึ้นมา เพื่อจะบังคับให้ประเทศต่างๆ ที่ส่งอาหารทะเลเข้าไปขายใน EU นั้นต้องปฏิบัติตาม ไม่ผิดกฎหมาย มีการควบคุม มีการรายงาน จริงๆ แล้วมันไม่ใช่
IUU นั้นเป็นพัฒนามาจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เป็นกติกาสากลที่ UN เขียนขึ้นมา เพื่อเป็นการดูแลความสมดุลทางทะเล
อันนี้ได้มีการยกร่างเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 1982 คือปี 2525 ที่จริงแล้วไทยควรจะเป็นประเทศแรกๆ ที่ลงนามในสัตยาบัน เพราะในสมัยนั้นพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ นั่งเป็นประธานในที่ประชุมของสหประชาชาติเรื่องกฎหมายทะเล
เมื่อมีการยกร่างเสร็จ ประเทศไทยก็มีการเตรียมการลงนาม บินไปนิวยอร์ก แต่ถึงเวลา สหรัฐอเมริกาบอกไม่ลงนาม วันนี้ก็ยังไม่ลงนาม ถามว่าทำไม่เขาไม่ลงนาม เพราะสหรัฐอเมริกาเขาเห็นว่า 1. เขาเป็นมหาอำนาจ กำปั้นเขาใหญ่ใครจะไปวุ่นวายกับเขาก็ไม่ง่าย 2. เขามองว่าภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ มีกติกาที่ว่าด้วยเรื่อง พื้นดินใต้ทะเล (sea-bed) ซึ่งมีผลประโยชน์เรื่องแร่ธาตุ และอะไรต่างๆ อยู่จำนวนมาก และประเทศอื่นๆ ไม่สามารถแข่งขันด้านเทคโนโลยีที่จะทำการสำรวจพื้นดินใต้ท้องทะเลกับสหรัฐอเมริกาได้ ดังนั้น หากเข้าเป็นภาคี ส่วนนี้ก็จะเป็นการจำกัดสิทธิที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าไปใช้ประโยชน์หรือทำการสำรวจทั้งหลาย สหรัฐอเมริกาจึงไม่ลงนาม
แต่ไทยเองไม่เข้าใจ สมัยนั้นไทยเดินตามก้นอเมริกา เมื่ออเมริกาไม่ลงนามไทยก็ไม่ลงนามด้วย แต่ปัญหาคือไทยไม่ได้มีศักยภาพเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา เราไม่รู้ ไม่ลงนาม แต่ปัญหาคือ พอไม่ลงนาม ไทยก็ไม่ได้สนใจกฎหมายฉบับนี้
กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่แค่ออกกฎหมายมาแล้วจะหยุดอยู่แค่นั้น แต่กฎหมายฉบับนี้ให้สิทธิประเทศชายฝั่งทุกประเทศ สามารถที่จะขยายทะเลออกไปจาก 12 ไมล์ทะเล เป็น 200 ไมล์ทะเลได้ เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ เรียกว่าเขตเศรษฐกิจจำเพาะ แต่ก็มีสิทธิหน้าที่ คือเขาให้สิทธิทางเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ได้ให้สิทธิ์เด็ดขาด แล้วก็ไม่ใช่ว่าให้สิทธิ์เฉยๆ เขาให้รัฐมีหน้าที่ด้วย มีหน้าที่อะไร ยกตัวอย่าง กรมประมง ที่มีหน้าที่ต้องจัดการทรัพยากรประมงให้เกิดความยั่งยืน เป็นเงื่อนไขที่ต้องทำ แล้วทรัพยากรตรงนี้เป็นทรัพยากรของมนุษยชาติ ถ้าคุณไม่ใช้ ก็ต้องให้ประเทศอื่นเขามาใช้ ให้คนอื่นมีสิทธิ์ใช้ด้วย ซึ่งแม้แต่รัฐที่ไม่ติดทะเล ก็มีสิทธิที่เดินเรือออกทะเลได้
ไม่ใช่คุณบอกว่า นี่เป็นประเทศคุณ สมมุติว่า บนบกมีถนน ใครที่จะขับรถผ่านถนนของเรานั้นเราสามารถปฏิเสธได้ โดยต้องผ่านข้อจำกัดต่างๆ เช่น เป็นรถทะเบียนไทย อะไรต่างๆ แต่ทะเลนั้น ไม่ใช่ เขามีสิทธิของเขา ในเรื่องของประมงนั้น เขาก็ให้สิทธิเราในการครอบครอง แต่ขณะเดียวกันเขาก็ให้ภาระเราในการจัดการให้เกิดความยั่งยืน อันนี้คือหลักของกฎหมาย
เมื่อมาถึงจุดนี้ ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ก็มาพัฒนาต่อว่าทำอย่างไรจะจัดการให้เกิดความยั่งยืน FAO ก็มีการประชุมอย่างต่อเนื่องและได้มีข้อตกลงเกิดขึ้นมากมาย โดยประเทศต่างๆ ไปร่วมประชุมและพัฒนาออกมาเป็นจรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries: CCRF) เมื่อประมาณ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2538 และพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง จากการทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Fishing) มาสู่การทำประมงอย่างรับผิดชอบ (CCRF)
จากนั้นก็มาพัฒนาเครื่องมือที่จะกำกับการทำประมงอย่างรับผิดชอบ คือ การพัฒนาแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศเพื่อขัดขวาง ยับยั้ง และลดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม หรือ IUU ก็คือว่า หากทำประมงด้วยความรับผิดชอบจะต้องไม่เป็น IUU นี่คือมาตรการที่ FAO พัฒนาต่อจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่ากฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือเรียกง่ายๆ ว่า “กฎหมายทะเล 1982” (United Nations Convention on the Law of the sea 1982: UNCLOS) ขึ้นมา ไม่ใช่มาตรการของอียู
เมื่อมาถึงจุดนี้เขาก็มีการพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง คือ International Plans of Action (IPOAs) เพื่อเป็นมาตรการในการกำกับ IUU อีกทีหนึ่ง และ IPOA นี้ก็จะมีอยู่ 4 ตัว ที่เป็นตัวกำกับเรื่องประมง IUU และ FAO ก็หยุดอยู่แค่นี้ และให้ประเทศต่างๆ นำหลักการนี้ไปใช้
เรือประมง-3

อียูชดเชยแสนล้านบาทรับกฎ IUU

ประเทศไทยก็ไม่สนใจ และหลายๆ ประเทศก็ไม่สนใจ แต่มีอียูที่เป็นพระเอกนำไปพัฒนาในบ้านเขา นำไปใช้กับการทำประมงให้ไม่เป็น IUU
วิธีการที่อียูทำ ก็มีการสำรวจทรัพยากรทางทะเล สมัยก่อนแต่ละประเทศมีทะเลเป็นของตัวเอง เมื่ออียูตกลงรวมเป็นสหภาพยุโรปก็รวมพื้นที่ทางทะเลด้วย จากนั้นก็แบ่งสันปันส่วนในการจับสัตว์น้ำว่าใครสามารถจับได้เท่าไร ต้องมีเรือกี่ลำ เรือแต่ละลำมีโควตาจับได้กี่ตันต่อปี
เมื่อเขาพัฒนาเสร็จ ก็พบปัญหาว่ามีเรือเกินทรัพยากรที่มีอยู่ โดยอียูใช้เงินเกือบ 1 แสนล้านบาท ในการซื้อเรือ จ่ายชดเชยให้กับเรือ เพื่อให้ออกจากธุรกิจประมง เขาใช้เวลาเกือบ 10 ปี ในการที่จะจัดการให้เกิดความเรียบร้อย เมื่อเขาจัดการเสร็จ ก็ไปทำ National Plans of Action (NPOA) ขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องรับกับ IPOA เป็นมาตรการเฉพาะของกลุ่มประเทศอียูด้วยกัน ในการดูแลกำกับไม่ให้ประมงในกลุ่มประเทศของเขาเป็นประมง IUU
และมีอยู่ข้อหนึ่งในเรื่องของมาตรการในการกำกับ ในฐานะที่ตนเองเป็นรัฐที่ซื้ออาหารทะเล ฉะนั้น ใครที่ส่งของไปขายอียูก็ต้องไม่เป็น IUU ด้วย ตรงนี้เองที่เมื่อมีผลบังคับเขาก็จะไปบังคับประเทศที่ส่งออกสินค้าไปให้เขาว่า หากคุณต้องการส่งสินค้ามาให้ฉัน จะต้องไม่เป็น IUU

อียูส่งสัญญาณมา 10 ปี – กรมประมงทำเอง IUU ตัวจริง

อียูส่งสัญญาณมาประเทศไทย ประมาณ 10 ปีได้แล้ว แต่ประเทศไทยก็ไม่สนใจ จนวันหนึ่งเขาบอกว่าจะเอาจริง รัฐบาลไทยทำอย่างไร กรมประมงด้วยความที่ไม่เข้าใจว่าเรื่องเป็นมาอย่างไร จึงมองว่าอียูตั้งมาตรการนี้ขึ้นมา โดยมองว่าเป็นมาตรการของอียู แต่ไม่ได้มองว่าเป็นของมาตรฐาน UN มาตรฐาน FAO จึงไปตอบสนองอียู โดยการทำเอกสารหลอกอียู ก็คือ สมมุติว่า ผมเป็นคนส่งออกปลาไปอียู กรมประมงก็บอกว่าในฐานะผู้ส่งออกคุณต้องทำเอกสารว่าไปซื้อปลามาจากใคร ไปซื้อปลามาจากนาย ก. นาย ก. เป็นเจ้าของเรือก็ต้องกรอกเอกสารแบบฟอร์มว่าตนเองมีใบอนุญาตทำประมง ทำประมงไม่ผิดกฎหมาย มีการรายงานต่างๆ แล้วก็ส่งไปให้อียู
“แต่จริงๆ แล้วถูกกฎหมายหรือเปล่าไม่รู้ ก็ทำมาเช่นนี้ ทางอียูเขาก็รู้ว่านี่คือการหลอก ฉะนั้น เมื่ออียูเขาไม่เอาด้วย จึงให้ใบเหลืองมา เราก็เต้น ทีนี้พอเต้น ด้วยความเข้าใจของกรมประมง ของประเทศไทยทั้งหมด ก็มองว่านี่คือมาตรการอียู จึงพยายามตอบสนองอียูโดย IUU มีอยู่ 3 ข้อ คือ Illegal, Unreported และ Unregulated ซึ่ง Illegal คือ เรือประมงที่ไม่มีใบอนุญาต ไม่มีทะเบียนเรือ เรือผิดกฎหมายต่างๆ ก็มาจัดการ สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ คือมาตรการที่รัฐบาลจัดการ เพื่อตอบสนอง EU- IUU”
“จริงๆ แล้วถามว่าถูกไหม คำตอบคือผิด ผิดเพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้ไปดูถึงพัฒนาการว่าเขาต้องการตั้ง IUU ขึ้นมาโดย FAO เพื่อให้เกิดการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ทำประมงด้วยความยั่งยืน ประเด็นคือวันนี้เราไปจัดการสั่งให้เรือจอด เพราะไม่มีใบอนุญาตนั้นมันตอบรับกับการทำประมงด้วยรับผิดชอบ ด้วยความยั่งยืนหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่”
นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์
นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์

รัฐบาลแก้โจทย์ผิด-ต้องนับหนึ่งที่ข้อมูลเพื่อความยั่งยืนประมงทะเล

ถ้าจะทำประมงให้เกิดความยั่งยืน ต้องไปเริ่มที่กฎหมายทะเล 1982 เขาให้เราขยายทะเลจาก 12 ไมล์ทะเล เป็น 200 ไมล์ เราก็ต้องรับผิดชอบด้วย คือจัดการให้เกิดความยั่งยืน เราก็ต้องกลับไปดูว่า เขาให้เราขยายทะเล เราขยายแล้ว วันนี้มีเท่าไร เรามีน่านน้ำไทยประมาณ 350,000 ตามรางกิโลเมตร
เมื่อเรามีน่านน้ำ 350,000 ตารางกิโลเมตร เราต้องมีการสำรวจ มีการศึกษา มีการประเมินว่ามีปลาอยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไร อย่างไร อันดับแรกต้องไปตั้งหลักตรงนั้นก่อน ประเมินว่ามีทรัพยากรเท่าไร แค่ไหน แล้วตรงนั้นก็จะไปกำหนดจำนวนว่าเราจะให้จับเท่าไร มันจึงจะสามารถออกลูกออกหลานให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนได้ คือมีปลาให้จับตลอดไป
สมมุติว่าผลสำรวจออกมาแล้ว ไทยมีปลาประมาณ 3 ล้านตัน/ปี ในอาณาเขตทะเล 350,000 ตารางกิโลเมตรนั้น ใน 3 ล้านตันนั้นให้จับหมดไม่ได้ ให้จับเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.5 ล้านตัน ก็ต้องมาออกแบบว่าใน 1.5 ล้านตันนี้มีปลาอยู่ตรงไหนบ้าง จะใช้เครื่องมืออะไรจับ จำนวนเท่าไร แล้วถึงจะมาออกใบอนุญาต มันจึงจะสามารถแก้ตัว I (ผิดกฎหมาย) ใน IUU ได้ แต่ปัญหาคือเราไม่ได้แก้ทำในสิ่งเหล่านี้เลย มีการสำรวจไหม ก็มีการสำรวจ แต่เป็นในลักษณะการสำรวจเป็นครั้งคราว ที่จริงจะต้องมีการทำตลอดทั้งปี และทำทุกปี แล้วก็ทำทุกเครื่องมือ ทำทุกพื้นที่
แต่เราไม่ได้ทำ เราทำอยู่เครื่องมือเดียว คือ อวนลาก เป็นหลัก และก็ทำเป็นครั้งคราวอย่างที่บอก และตัวเลขที่ออกมาบอกว่าชาวประมงเคยจับปลาได้ 297 กิโลกรัม ในปี 2504 แต่มาวันนี้เหลือเพียง 15 กิโลกรัม 12 กิโลกรัม อะไรก็ว่าไป ซึ่งมันไม่ใช่ มันต้องทำข้อมูลใหม่ทั้งหมด แล้วจึงมาประเมิน มากำหนดโควตา แล้วจึงให้ใบอนุญาต พร้อมทั้งออกมาตรการกำกับดูแลว่าจะควบคุมอย่างไร จะให้รายงานอย่างไร

เรือทุกประเภททำลายทรัพยากรหมด

วันนี้เรามาทำเรื่องใบอนุญาต เรื่องการควบคุม ทำเรื่องการรายงาน แต่มันไม่ตอบสนองเรื่องความยั่งยืนของประมงเลย
ถามว่าวันนี้เราแก้ปัญหาถูกทางไหม ไม่มีทางหรอก มันก็ไปต่อไม่ได้ หากไม่เริ่มกลับไปนับหนึ่งที่การประเมินทรัพยากร นับสองที่การกำหนดโควตาการทำประมง และนับสาม คือต้องมีการจดทะเบียนเรือทุกลำ ทุกเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นเรือเล็กเรือน้อย เรือพายเรือแจวทุกอย่างที่ทำประมง
ไปดูเมืองนอกในบางประเทศ ชาวบ้านธรรมดา นักตกปลาสมัครเล่น วันนี้อยากจะไปตกปลาทะเลก็ต้องไปซื้อใบอนุญาตนะ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะเอาเบ็ดไปยืนริมตลิ่งแล้วก็ตกได้ เมืองนอกในหลายประเทศเขาบังคับว่า คุณจะต้องมาซื้อใบอนุญาต แล้วในใบอนุญาตก็จะกำหนดว่าวันนี้คุณจะตกกี่ตัว เราบอกว่าจะขอตกปลา 5 ตัว เราก็ซื้อใบอนุญาตขอตกปลา 5 ตัว พอตกครบแล้วก็ต้องเลิกกลับบ้าน จะจับเกิน 5 ตัวไม่ได้
ส่วนหนึ่งเป็นจิตสำนึกเขาเอง แล้วก็มีเงื่อนว่าห้ามจับปลาตัวเล็ก คุณก็ต้องปล่อย นี่คือการกำกับ เป็นกติกาในการควบคุม
“แต่ไทยไม่เคยทำเลย และในวันนี้เราก็พยายามควบคุมเฉพาะเรือพาณิชย์ที่มีขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป แต่ถามว่าแล้วเรือเล็กกว่านั้นล่ะ มันควรต้องคุมหมด เพื่ออะไร เพราะในวันนี้ถามว่าประมงพื้นบ้านถามว่าทำลายไหม ก็ทำลายไม่แพ้เรือประมงพาณิชย์หรอก เพราะประมงพื้นบ้านเรือลำหนึ่ง อย่างสมัยก่อนเรืออวนลอย มีอวนลอยยาวประมาณ 50-100 เมตร แต่วันนี้เรือประมงพื้นบ้านมีการขยายอวนยาวเป็นกิโลฯ และประมงพื้นบ้านบางส่วนก็ใช้อวนตาถี่ เขามีหมดทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้านก็ทำลายทรัพยากร ก็ทำลายเหมือนกันหมด แต่ด้วยความไม่เข้าใจ ตอนนี้เราจะมาเร่งจัดระเบียบกับเรือประมงทางพาณิชย์อย่างเดียว มันไม่ใช่”
เรือประมง-4

รัฐต้องกางมูลค่าส่งออก 35,000 ล้านให้ชัด แยกกุ้ง-ทูน่า-ปลาทะเล แล้วเจรจาใหม่

วันนี้วิธีการที่ถูกต้องที่รัฐบาลต้องทำ อันดับแรก ต้องไปคุยกับอียู เปิดโต๊ะเจรจา ต้องถามอียูว่าคุณต้องการจะจัดการเรื่อง IUU กับประมงทะเล หรือว่าต้องการกีดกันทางการค้า เอาให้ชัดเจนว่าเพราะอะไร วันนี้หากเราเอา “ปลา” ที่ส่งไปอียู มูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท เอามาแยกจะมี 3 ส่วน คือ กุ้ง ทูน่า และปลาทะเล
ในส่วนของ “ปลาทะเล” นี้มีมูลค่าไม่เกิน 5 พันล้าน ที่เหลืออีก 3 หมื่นล้าน มาจากกุ้งกับทูน่า ถามว่ากุ้งกับทูน่าเป็น IUU ตรงไหน เพราะกุ้งก็เพาะเลี้ยง และทูน่าก็นำเข้าจากต่างประเทศ
“ฉะนั้น ถามว่าทำไมรัฐบาลไม่เจรจา เพราะด้วยความที่ไม่รู้ เวลาไปเจรจากับเขา คุณก็รับมาหมด ทำไมคุณไม่บอกว่าคุณ (อียู) ต้องแยกสินค้าที่ส่งออก ไม่อย่างนั้นคุณ NTB (Non Tariff Barriers) เป็นการกีดกันทางการค้า คุณก็เอา 2 ส่วนนี้ (กุ้งกับทูน่า) ที่ไทยส่งออก แยกออกไปต่างหาก แล้วเหลือปัญหาปลาทะเล 5,000 ล้านบาท ที่ไทยต้องจัดการ ไม่ใช่ 30,000 ล้านบาท”
“วันนี้รัฐบาลตื่นเต้นเพราะอะไร เพราะ 35,000 ล้านบาท โอ้โห เศรษฐกิจกำลังแย่อยู่แล้ว รัฐบาลก็กลัวว่าจะแย่ไปอีก ซึ่งจริงๆ แล้วไม่เกี่ยวเลย”
เมื่อเจรจาแล้ว จากนั้นการเจรจาว่าในการแก้ปัญหา IUU ของคุณ (อียู) ใช้เวลาเท่าไร 10 ใช่ไหม ใช้เงิน 1 แสนล้านบาทใช่ไหม แล้วคุณให้เวลาไทยเพียง 6 เดือนในขณะที่ไทยไม่มีเงินเลย ถามว่าแฟร์ไหม
จริงอยู่ เขาเตือนและให้เวลาเรานานแล้ว ส่วนนี้เราก็ผิดจริง แต่เราก็จะแก้ไขใหม่ คุณจะต้องให้เวลาเราทำ ไม่ใช่ว่าให้ 6 เดือน เพราะ 6 เดือนทำไม่ได้ เพราะการสำรวจทรัพยากร 6 เดือนสำรวจได้ไหม ก็ไม่ได้ อย่างน้อยเป็นปี แล้วจึงมากำหนดเงื่อนไข คำนวณอะไรต่างๆ ว่าประเทศไทยในอาณาเขต 350,000 ตารางกิโลเมตรนั้น จะมีปลาเท่าไร แล้วให้จับได้เท่าไรจึงจะเกิดความยั่งยืน โจทย์ตัวนั้นต้องใช้เวลาในการทำวิจัย ในการศึกษาต่างๆ

สำรวจทรัพยากร-จัดสรรโควตา-ตั้งกองทุนชดเชย

“ฉะนั้น วันนี้เราก็ต้องขอเวลากับอียูแบบแฟร์ๆ กับเขาว่านี่คือข้อเท็จจริง หรือหากจะแบน ก็แบนเฉพาะส่วนส่งออกมูลค่า 5,000 ล้านบาท แต่ไม่ใช่ 30,000 ล้านบาท คุณอย่ามายุ่ง ซึ่งต้องเอาข้อมูลอย่างนี้ไปเจรจากับเขา แล้วจึงจะมาดูเรื่องการจัดการ ทำการสำรวจจำนวนเรือ สำรวจทรัพยากร สำรวจว่าใครอยู่ที่ไหนอย่างไรบ้าง แล้วก็มาจัดสรร สมมติถ้าเรามีเรือ 20 ลำ เกินมา 15 ลำ ทำอย่างไรจะจัดการเรือ 15 ลำออก เราก็ต้องไปตั้งกองทุนมารองรับ จะซื้อเรือ จะลดเรือ จะซื้อเครื่องมือ จะทำอะไรก็ว่ากันไป ประเทศไทยมี 350,000 ตารางกิโลเมตร บอกว่าให้เรือเท่าไร ผมเองก็เคยคำนวณมาในหนังสือ บอกว่าไม่ควรมีเรือประมงเกิน 30,000 ลำในประเทศไทย”
ตอนนี้ไทยมีเรือประมง 60,000 ลำ ต้องเอาออกไปครึ่งหนึ่ง ผมเคยคำนวณในปี 2544 บอกว่าใช้เงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งวันนี้อาจจะไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาทหรอก แค่ 1 หมื่นล้านบาท เราก็ทำได้แล้ว ถามว่า 1 หมื่นล้านบาท มากไหม ก็มาก แต่ถามว่ายุโรปเขาใช้เป็นแสนล้านบาท ก็บอกว่ายุโรปรวย ไทยจน ก็ไม่เป็นไร แต่เวียดนามจนกว่าเราไหม เขาทำมากว่า 10 ปีแล้ว เอาแนวคิดที่ผมเคยไปคุยกับเขาอยู่หลายปี จนกระทั่งเขาเห็นว่าเข้าท่า เขาเอาไปทำ โดยเขามีเรือประมงอยู่ 70,000 ลำ ใช้เงินไปประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดจาก 70,000 ลำ เหลือ 35,000 ลำ เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวันทุกประเทศทำหมดแล้ว
“ญี่ปุ่นเมื่อสมัย 20 ปีที่แล้ว มีเรืออวนลอย ทำการประมงในทะเลหลวง ใช้อวนยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ไปขึงขวางทะเล แล้วปลาก็ว่ายมาชน ว่ายมาติด ปลาทูน่า มีโลมา รวมไปถึงนกที่ติดเข้าไปในอวนเพราะนกลงไปโฉบกินปลา ไปเจออวนก็ติดอวน ยูเอ็นบอกว่าไม่ได้หรอกความยาว 100 กิโลเมตร คุณกู้อวนตอนเช้ากว่าจะกู้เสร็จตอนเย็น แล้วพวกโลมาและนกทั้งหลายติดอวนเข้าไปก็ตาย คุณไม่ได้จับปลาทูน่าอย่างเดียว คุณทำลายโลมา ทำลายนกด้วย ยูเอ็นตั้งข้อกำหนดให้ใช้อวนความยาวไม่เกิน 2.5 กิโลเมตร”
ญี่ปุ่นทำอย่างไร เมื่อเป็นกติกาสากล เขามีเรือทำประมงแบบนี้อยู่ 400 ลำ 1 ลำมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท เขาก็ตั้งกองทุนขึ้นมาซื้อเรือทั้งหมด 400 ลำ เอาไปตัดเศษเหล็ก เพราะว่ามันเป็นกติกาสากล นี่คือทุกประเทศเขาทำ เขาแก้ปัญหา
“แต่เราปล่อย เราไม่สนใจ เพราะรัฐบาลบอกว่ารัฐบาลไม่มีเงิน ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถกู้เงินมาได้ และทรัพยากรที่เรามีหากจัดการดีๆ ที่เพิ่มขึ้นมา ก็คุ้มกับเงินที่เรากู้มา มันเป็นผลประโยชน์ชาติแต่รัฐบาลบอกว่าไม่ทำ และบอกว่าชาวประมงคุณผิดกฎหมาย ชาวประมงคุณเอารัดเอาเปรียบสังคม หากรัฐคิดอย่างนั้นก็แก้ไม่ได้หรอก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น”
ฉะนั้นถ้าเราลองไปขอเวลาอียูมา 2 ปีได้ไหม เราจะจัดการเรือ 5,000 ลำ ที่เป็นประมง IUU ให้หมดไปเลย อย่างนั้นเราก็ทำได้ แต่ไม่ใช่ทำอย่างวันนี้
อย่าลืมว่าเรือประมงวันนี้ สำหรับเรืออวนลาก มีจำนวนน้อยกว่าปี 2539 อีก เมื่อปี 2539 ไทยเคยคุมว่าให้มีเพียง 8,000 ลำ วันนี้อาจจะมีเพียงแค่ 5,000 ลำเท่านั้น แล้วทำไมไม่ออกใบอนุญาตให้เขาล่ะ เพราะอะไรเพราะวันนี้กรมประมงเองก็ไม่มีตัวเลขอะไรสักอย่าง จะบอกว่ามีการใช้ทรัพยากรเกินไป 25% อย่างที่ออกข่าว ถามว่าคุณเอาตรงไหนมาคิด เพราะคุณยังไม่มีองค์ความรู้ว่าวันนี้มีปลาเท่าไรในทะเลไทย คุณมีแต่สถิติที่ไปสำรวจมาว่า ณ วันนี้ ถ้าลงแรง 1 ชั่วโมง จับปลาได้ 15 กิโลกรัม แต่ชาวประมงบอกว่า 15 กิโลกรัม เขาจะอยู่ได้อย่างไร
“เรือ 1 ลำ สมมติลงทุนลำละ 1 ล้านบาท ออกเรือต่อครั้งมีค่าน้ำมัน ค่าคนงาน ค่าอะไรเบ็ดเสร็จ ใช้เงินประมาณ 1 แสนบาท/เดือน แต่ถ้าข้อมูลของกรมประมงที่บอกว่าจับปลาได้ 15 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สมมติว่าออกเรือไป 24 ชั่วโมง ได้ไม่เกิน 500 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 30 บาท รวมๆ ได้ทั้งหมดไม่เกินวันละ 15,000 บาท เดือนหนึ่งประมาณ 300,000 บาท เพราะทำจริงๆ วันหนึ่งไม่ถึง 24 หรอก อย่างมากไม่เกิน 8 ชั่วโมง ดังนั้นที่บอกว่า 15 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มันไม่คุ้มหรอก …”
ฉะนั้น ชาวบ้านเขาก็ไม่ยอมรับข้อมูล เขาจับได้วันหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 400-500 กิโลกรัมต่อการลงอวน 1 ครั้ง นี่คือข้อมูลที่เราไม่มีพอ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือที่จะมาจัดการกับทะเล จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด
เรือประมง-5

คำถาม คุณรู้หรือไม่ว่าทะเลมีปลาเท่าไร อยู่ตรงไหนบ้าง

ปัญหาคือ วันนี้คุณรู้หรือเปล่าว่าทะเลมีปลาเท่าไร อยู่ตรงไหนบ้าง มันออกลูกออกหลานยังไง นี่คือสิ่งที่กรมประมงจะต้องรู้ แต่เขาก็ไม่มีข้อมูล ก่อนจะไปถึงจำนวนเรือ
ปัจจุบันเทคโนโลยีทันสมัยในการติดตาม ถึงแม้จะไม่มีเทคโนโลยี แต่ส่วนใหญ่เรือทุกลำจะอยู่ในแม่น้ำ สำนักงานประมงจังหวัดอย่างน้อยมี 5-6 คน ส่ง 2-3 คน ผลัดกันไปนั่งเฝ้าปากแม่น้ำ เพราะเรือต้องวิ่งเข้า–ออก ก็จะเห็น สามารถเช็คจำนวนได้
หรือกรณีกรมเจ้าท่า ประเด็นที่ว่าชาวประมงต่อเรือแล้วไม่มาขออนุญาต เจ้าหน้าที่บอกไม่รู้เรื่อง ผมบอกได้ว่าการต่อเรือประมงนั้นไม่ได้ต่อเสร็จในวันเดียว ลำหนึ่งใช้เวลา 6 เดือนเป็นอย่างน้อย แล้วอู่ต่อเรือในจังหวัดหนึ่งมีไม่ถึง 10 อู่หรอก ใน 6 เดือน ถ้าเจ้าหน้าที่เดินไป 10 อู่ ถ้าเห็นว่ามีเรือมาต่อใหม่ ไปถามได้เลยว่าคุณมีใบอนุญาตไหม มันคุมได้ แต่ปัญหาคือเจ้าหน้าที่ไม่สนใจ ปล่อยปละละเลย
จริงอยู่ชาวบ้านทำประมงผิดกฎหมาย แต่คุณมีหน้าที่กำกับ คุณต้องตรวจสอบดูแล ไม่ใช่ไม่สนใจ ต้องรอให้เขามาแจ้งแล้วค่อยไปจับ คุณต้องไปตรวจสอบเขา ป้องกันป้องปรามเขา ไม่ใช่มีหน้าที่จับอย่างเดียว แต่เจ้าหน้าที่ไม่ทำ แต่ไปโทษชาวบ้าน
“ทรัพยากรทางทะเลนั้นเป็นทรัพยากรที่ทดแทนได้เร็ว ปิดอ่าว 1-2 เดือน ปลาเกิดขึ้นมหาศาล หากหยุดสัก 2 เดือน ออกไปนี่ชาวประมงรวย เพราะมันเกิดเร็วมาก อย่างปลาทู ขนาดยาว 1 ฝ่ามือ ใช้เวลา 2 เดือนในการเติบโต แต่ปัญหาคือต้องการการจัดการ”
“อย่างที่มีการปิดอ่าวครั้งที่ผ่านมา เพิ่งจะเปิดอ่าวเมื่อ 15 พฤษภาคม 2558 ตอนนี้ไม่มีปลาแล้ว หมดแล้ว จับกันหมด”
“วันนี้เขาไม่มีองค์ความรู้ไง จริงๆ แล้วหากฤดูนี้เป็นฤดูวางไข่ เราบอกว่าปิดอ่าว 2 เดือน ให้ปลาวางไข่แล้วก็จะมีแม่ปลาที่วางไข่แล้ว ออกลูกแล้ว ฉะนั้น หากจะให้ทำประมงในระหว่างเปิดอ่าวก็ต้องมีการกำหนดให้ใช้อวนตาใหญ่เพื่อจับเฉพาะแม่ปลาไป ไม่ใช่เคยใช้อวนเท่าไรก็ยังใช้เท่านั้น ใช้อวนตาเดิมก็จับปลาเล็กไปด้วย เรื่องอย่างนี้ กรมประมงไม่ทำ”
หากย้อนกลับไปดู ปลาบางชนิดหายไปกับทะเลแล้ว เช่น ปลาญวน ปลาใบขนุน ปลาครก ตอนนี้หายไปแล้วต้องนำเข้าหมด ปลาเต๋าเต้ยก็เคยหายไปกว่า 10 ปี จับจนไม่เหลือพันธุ์ แต่บังเอิญปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 2540 ก็มีการพาปลาจากเวียดนามเข้ามา และโชคดีที่ช่วงนั้นไทยมีการสร้างปะการังเทียมต่างๆ ขั้นมา ปลาก็หลบซ่อนได้ก็กลับมาใหม่ รวมทั้งกุ้งบางประเภทที่เคยมีในอ่าวเยอะๆ ก็หายหมด คือเพราะเราจับจนไม่เหลือพันธุ์