PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อาถรรพ์โครงการ 'เรือดำน้ำ'เกาเหลา 'กองทัพเรือ-กลาโหม'


อาถรรพ์โครงการ 'เรือดำน้ำ'เกาเหลา 'กองทัพเรือ-กลาโหม'

ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2554 00:00:39 น.
โครงการจัดหา "เรือดำน้ำ" กลายเป็นโครงการอาถรรพ์ของ "กองทัพเรือ" ที่ยังไม่มีผู้บัญชาการทหารเรือคนไหนสามารถ "ล้างอาถรรพ์" ได้ แม้กระทั่งในยุคของ "ครูติ๊ด" พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ครองอำนาจอยู่ ก็ยังไม่มีโอกาสได้พิจารณาโครงการใหญ่นี้ ที่ "ทัพน้ำ" เสนอขึ้นมาได้ จะมีเพียงการซ่อมเรือฟรีเกต และการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่อยู่ในแผนโครงการที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว

ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา เหล่าทัพภายใต้การนำของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ที่ถูกมองว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของ ผบ.เหล่าทัพ ได้รับการอนุมัติ "บิ๊กโปรเจ็กต์" จากคณะรัฐมนตรีได้ แบบ "ไฟเขียว" ผ่านตลอด ทั้งโครงการเครื่องบินขับไล่-กริฟเฟน ของกองทัพอากาศ ทั้ง บินขับไล่-กริฟเฟน ของกองทัพอากาศ ทั้ง 2 ระยะ รวม 12 ลำ รวม 3.5 หมื่นล้าน โครงการจัดซื้อรถเกราะล้อยาง  BRT-3E1 ของกองทัพบก ทั้ง 2 ระยะ รวม 317 คัน (ไม่นับรวมรถกู้ซ่อมและรถสนับสนุนอื่น) วงเงินรวมกว่า 9 พันล้านบาท ไม่นับรวมรถถังยูเครน T-84 oplot จำนวน 49 คัน วงเงิน 7.2 พันล้านบาท ฮ.  MI-17 จากรัสเซีย 3 เครื่อง วงเงิน 995 ล้านบาท อีกทั้งอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในภารกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรักษาความสงบเรียบร้อยจากการชุมนุมของกลุ่มมวลชน เป็นต้น ที่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ใช้การจัดหาแบบ "วิธีพิเศษ" เพื่อเลี่ยงมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ

ย้อนกลับไปที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ ตามการชี้แจงของ ผบ.ทร. พบว่ากระบวนการในการศึกษาวิจัยของสถาบันการศึกษาของกองทัพเรือ เพื่อนำมาซึ่งความเหมาะสม และความเป็นไปได้ที่จะจัดหาเรือประเภทไหนนั้น ไม่ต่างจากกระบวนการจัดหาเครื่องบินรบของ "กองทัพอากาศ" เท่าไหร่ นัก

แต่คำถามที่เกิดขึ้นคือ ประเทศ ไทยยังมีความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำประจำการหรือไม่ อีกทั้งเรือดำน้ำเก่าจากเยอรมนีจะสามารถซื้อมาใช้งานได้คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปหรือไม่ หรือจะกลายเป็น "เศษเหล็ก" อีก 6 ลำ ในเวลาอันใกล้

ผบ.ทร. เคยให้คำตอบเรื่องนี้ไว้ว่า เป้าหมายของกองทัพเรือ อันดับแรก คือ การสร้างองค์ความรู้ และการปฏิบัติงานจริงให้นักเรียนนายเรือ ไม่ใช่เพียงการเรียนในตำรา   ดังนั้น การซื้อเรือดำ น้ำขนาดเล็ก และไม่ใช้งบประมาณหลัก หมื่นล้าน สามารถ "ตอบโจทย์" ในหมื่นล้าน สามารถ "ตอบโจทย์" ในการสร้างปฏิบัติการจริงของทหารเรือได้ ในส่วนของอายุการใช้งานเมื่อมีการ เปลี่ยนแบตเตอรี่จะสามารถใช้งาน 4 ลำ ภายในระยะ 10 ปี พร้อมกันนั้น การมีเรือดำน้ำประจำการยังเป็นยุทธศาสตร์ป้องปราม สร้างดุลอำนาจเปรียบเทียบ เนื่องจากประเทศรอบบ้านของไทยต่างมีเรือดำน้ำเข้าประจำการเกือบหมด  นั่นเป็นเหตุผลจากฟากของ "กองทัพเรือ" ที่มีความมุ่งหวังในการชี้แจงข้อมูลให้เข้าใจถึงความจำเป็นและอุปสรรค !!!

แม้จะเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของกองทัพเรือ ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์  ที่ผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการและไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ที่กองทัพเรือไทยได้ตั้งโครงการ

โดยครั้งแรกถูก "พับเก็บ" ลงลิ้นชัก ในยุคสมัยของนายบรรหาร ศิลป อาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เคยมีโครง การจะจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นก็อตแลนด์ (A-19 Gotland class dieselelectric  submarine) ผลิตโดย บริษัท ค็อกคูม (KOCKUM) จากสวีเดนมาประ จำการใน ทร.ไทย แต่ขณะนั้นได้ประสบปัญหาถูกสื่อของทั้งสวีเดนและไทย ออกข่าวโจมตีเรื่อง "ค่าคอมมิชชั่น" ในการจัดซื้อให้แก่คนในรัฐบาลไทยในสมัยนั้น จนเป็นเหตุให้ถูกระงับโครงการ

จากนั้นในยุคของ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ เป็น ผบ.ทร. มีการเสนอโครงการจัดซื้อในแพ็กเกจ โดยกองทัพเรือได้คัดเลือกแบบจากจีนและรัสเซีย แต่ "รัฐบาลทักษิณ" หมดอำนาจ และไม่ได้มีการพิจารณา "บิ๊กโปรเจ็กต์" ของเหล่าทัพใดแม้แต่โครงการเดียว

รัฐบาลยุคประชาธิปัตย์ที่ถูกมองว่ามี "กองทัพ" หนุนหลัง ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ว่า การอนุมัติโครงการจัดซื้ออาวุธของเหล่าทัพ ล้วนเป็นโครงการ "ต่างตอบแทน" และ มี พล.อ.ประวิตร คอยสนับสนุนทุกโครงการ จะมีก็แต่โครงการ "เรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือที่ "สะดุด"จะด้วยเหตุผลเรื่อง "เซฟ" ตัวเอง ของพล.อ.ประวิตร ที่เกรงว่าผลักดันโครงการไป จะติดร่างแหไปด้วย หาก โครงการมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสและ ความไม่ชอบมาพากล   ทว่าที่ผ่านมา หลายโครงการของกองทัพบก ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน แต่เหล่าทัพและกระทรวงกลาโหมต่างพยายามชี้แจง ทุกโครงการก็ผ่านมาได้จนมีการส่งมอบอาวุธเข้าประจำการแล้วจำนวนมาก

ปมประเด็นจะไม่เกิด หากก่อนหน้านี้  "กองทัพเรือ" เสนอเรื่องเข้ามาที่กระทรวงกลาโหม เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่รัฐบาลจะอนุมัติ  แต่พล.อ.ประวิตร ต่างมองหาตัวเลือกที่ดีกว่า ทั้งการไปดูเทคโนโลยีเรือดำน้ำของเกาหลี  หรือเรือ ดำน้ำของจีน ท่ามกลางข่าวลือที่ให้น้ำหนักไปที่เรือดำน้ำขนาดใหญ่มือ 1 ที่มูลค่าสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อลำ ที่แน่นอนว่าการจัดหาด้วยงบฯ ในส่วนของ ทร.เอง ไม่มีศักยภาพพอ

ยิ่งไปกว่านั้น ความใกล้ชิดระหว่าง พล.อ.ประวิตร กับ พล.ร.อ.กำธร และ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. จาก ตท.10  ที่ถูกมองว่าเป็น "ทหารแตงโม"นั้น คงไม่เท่ากับความใกล้ชิด ระหว่าง พล.อ.ประวิตร กับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่เป็นพี่น้องสาย จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่เป็นพี่น้องสาย "บูรพาพยัคฆ์"

ดังนั้น การที่ พล.อ.ประวิตร จะ "การันตี" แทน ในโครงการจัดหา "เรือดำน้ำ" จึงไม่มีความจำเป็น!!ส่งผลให้ความฝันที่ใกล้เคียงที่สุดของคน "กองทัพเรือ" ล่มกลางคัน และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่โอกาสนี้จะกลับมาอีก ที่สำคัญกองเรือดำน้ำที่จัดตั้งขึ้น การฝึกเรือดำน้ำของจริงของนักเรียนนายเรือที่วาดไว้ในแผน คงต้องชะลอไปอีกนาน

อย่างน้อยเพื่อคำนวณทิศทาง ลมทางการเมือง พร้อมสร้างสัมพันธ ภาพที่เหนียวแน่น และความเข้าใจระหว่างกลาโหม และกองทัพ ในเรื่องเนื้อหาของอาวุธยุทโธปกรณ์  มากกว่า "การแบ่งเค้ก" ให้ตามสภาพอำนาจของเหล่าทัพ.

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/1142485

ไม่มีความคิดเห็น: