PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ไม่ต้องสะพัดแล้ว! ดูชัด ๆ หนังสือรัฐสภายุโรป เชิญ “ยิ่งลักษณ์” เลือก 2 เมืองขย่มประเทศบ้านเกิดตามสะดวก

ไม่ต้องสะพัดแล้ว! ดูชัด ๆ หนังสือรัฐสภายุโรป ร่อนหนังสือเชิญเยือนกรุงบรัสเซลส์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นสถานการณ์การเมืองในไทย ระบุชัด “มีความกังวลต่อกรณีที่ “ยิ่งลักษณ์” ได้ถูกถอดถอนออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีย้อนหลัง และถูกดำเนินคดีในศาลฎีกา แถมระบุให้ผู้ไปเยือน สามารถเลือกเมืองบรัสเซลส์ หรือเมืองสตราสบูร์ก ตามความสะดวก เผย อดีตนายกฯหญิงเคยเยือนยุโรป - เบลเยี่ยม เมื่อปี 2556 
       
       วันนี้ (23 พ.ย.) มีรายงานว่า มีการเปิดเผยตัวหนังสือที่ รัฐสภายุโรปได้ส่งมาเชิญถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อขอให้ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ หรือเมืองสตราสบูร์ก ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ สะดวก โดยตัวหนังสือ ลงนาม โดย นายเอลมาร์ บรอก, ประธานคณะกรรมการด้านการต่างประเทศของสภายุโรป Elmar Brok, Chairman of the European Parliament Committee on Foreign Affairs และ นายเวินเนอร์ แลงเกิน ประธานคณะผู้แทนความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Werner Langen, Chair of Delegation for relations with the countries of Southeast Asia and the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)
       

       ขณะที่ตัวจดหมายเชิญดังกล่าว มีใจความสรุปได้ว่า ทางรัฐสภายุโรประลึกถึงการเยือนสหภาพยุโรปที่ประสบความสำเร็จของท่านในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ช่วงเดือนมีนาคม ปี 2556 ในระหว่างการเยือนประเทศไทย และสหภาพยุโรป สามารถสรุปการเจรจาความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน ระหว่างประเทศไทยกับประชาคมยุโรป (EU-Thailand Partnership and Cooperation Agreement)
       
       นอกจากนี้ เรายังรู้สึกประทับใจต่อการที่ท่านให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับรัฐสภายุโรปในการพบปะกับ มาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป ในวันที่ 6 มีนาคม 2556
       
       รัฐสภายุโรปได้มีการติดตามพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทย ด้วยความกังวลอย่างใกล้ชิด เหตุการณ์ตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมา น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง ประเทศของท่านในขณะนี้ก็ยังคงไม่มีฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง และคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึง กลางปี 2560 เป็นอย่างน้อย ดังนั้น เราเห็นว่าช่วงเวลาของความขาดเสถียรภาพ ก็คงมีจะอยู่ต่อไป แผนการดำเนินงานของรัฐบาลปัจจุบันในการร่างรัฐธรรมนูญก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งเป็นสภาที่ทางทหารได้เป็นผู้แต่งตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งนั่นหมายความว่า ประเทศไทยจะต้องมีการเริ่มกระบวนการการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ เราเห็นว่า กระบวนการการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ทุก ๆ ภาคส่วนจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เรายังมีความกังวลต่อกรณีที่ท่านได้ถูกถอดถอนออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีย้อนหลัง และการที่ท่านถูกดำเนินคดีในศาลฎีกา

       
       ทางรัฐสภายุโรปยืนหยัดอย่างหนักแน่นในระบอบประชาธิปไตย และการส่งเสริมคุณค่าของประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ เรามีความยินดีหากท่านจะรับคำเชิญของเราเพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ หรือ เมืองสตราสบูร์ก ตามที่ท่านสะดวก หากเป็นเช่นนั้น ทางเรามั่นใจว่า ผู้ดำเนินการของทั้งสองฝ่ายจะสามารถร่วมมือกันจัดการให้การพบปะหารือดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป
       
       มีรายงานว่า การเดินทางเยือนสหภาพยุโรปครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 5 - 6 มีนาคม 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เยือนเบลเยียม และสหภาพยุโรป ตามคำเชิญของ นาย Elio Di Rupo นายกรัฐมนตรีเบลเยียม และ นาย Jose Manuel Barroso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้พบปะกับ นายมาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป โดยการเยือนเบลเยียม และสหภาพยุโรป มีเป้าหมายยกระดับความสัมพันธ์ให้เป็นความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งในด้านความสัมพันธ์ทางการเมือง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังได้พบกับนายอองเดร ฟลาโอ (Andre’ Flahaut) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเบลเยียม ณ อาคารรัฐสภา นายกรัฐมนตรีและประธานสภา.

บิ๊กเซ็ง บุก ปอท. แจ้งความ หาตัว คนทำภาพและปล่อยภาพ พร้อมข่าวลือ หนีออกนอกประเทศ เชื่อมีความพยายามใส่ร้าย โยง"ผู้การโจ้"

บิ๊กเซ็ง บุก ปอท. แจ้งความ หาตัว คนทำภาพและปล่อยภาพ พร้อมข่าวลือ หนีออกนอกประเทศ เชื่อมีความพยายามใส่ร้าย โยง"ผู้การโจ้"และ นายทหารยศพลตรี คนดัง ทั่งที่ี
มีรายงานข่าวจาก ปอท.ว่า วันนี้ พลเอกสุรวัช บุตรวงศ์ นายทหารนอกราชการ ที่เพิ่งเกษียณจากตำแหน่ง ผอ.ททบ.5 เมื้อ ตค.ที่ผ่านมา ได้มาแจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ตรวจสอบหา บุคคลที่ทและเผยแพร่ภาพกราฟฟิค ตัดต่อ ภาพชองตนเอง และข้อตวาม ที่ทำให้เกืดความเสียหาย ต่อชื่อเสียง ทั้งๆที่ ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับ นายทหาร 2 คนดังกล่าวเพราะถือเป็นความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ พลเอกสุรวัช ได้ให้ข้อมูลต่างๆ ที่สันนิษฐานต่างๆ ว่า บุคคลใดหรือกลุ่มใด กระทำ โดยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นไว้กับตำรวจ เพิ้อเป็นเบาะแสด้วย ทั้งนึ้ พลเอกสุรวัช ยังต้องการให้ สังคมไทย ใส่ใจเริ่อง ข้อมูลและภาพในโซเชี่ยลฯ ที่มักสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น ได้โดยง่าย
ทั้งนี้ พลเอกสุรวัช เป็นเพื่อน ตท.14 ของ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รมช.กห.และพลเอกธีรชัย นาควานิช ผบทบ. ด้วย

สหรัฐผิดหวังไทย


ผิดหวัง ไทย....
Glyn Davies เอกอัครราชทูตอเมริกา พบ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กล่โหม ที่กลาโหม 1ชม.กว่า ทูตอเมริกา ออกมาเผยว่า ได้บอกกับพลเอกประวิตร ว่า ผิดหวังอย่างมาก deeply disappointed ที่ไทยส่ง2 activists ชาวจีน กลับจีน ทั้งๆที่มีสถานะผู้ลี้ภัย เตือนไทยรอบคอบเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะส่งกลับไปอาจไม่ปลอดภัย แต่ พลเอกประวิตร ทำยังไงนั้น ต้องถาม พลเอกประวิตร เอง
เผยยังคุย พลเอกประวิตร เรื่องความร่วมมือต้านก่อการร้าย ที่มากขึ้นหลัง ก่อการร้ายในปารีส และ ความเคลื่อนไหวของ IS ในภูมิภาคแถบนี้ เพราะ IS กำลังทำให้คนทั่วโลกหวาดกลัว โดยเฉพาะความร่วมมือทางการทหาร การข่าว ในด้านการต่อต้านก่อการร้าย เพราะไทยเองก็เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้
รวมทั้งยังได้คุย จุดยืนทะเลจีนใต้ ที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญมาก ไทยเข้มแข็งในอาเซี่ยน ก็ควรraise voice ข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาในทางสงบ Peaceful solution กับอาเซี่ยน บางประเทศและจีน เราหวังว่า จีนคงทำตาม ข้อปฏิบัติcommitment ตอนนี้กำลังหารือกันใน ขั้น senior level ของทุกฝ่าย จีนไม่ควรสร้างอะไรขึ้นมาอีก ในเกาะ
เผย"โอบามา"เชิญผู้นำอาเซี่ยนคุยที่DCต้นปีหน้า Asean+US
นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยเริ่อง การต่อต้านการค้ามนุษย์ และการกลับสู่ประชาธิปไตยของไทย
ยืนยันมีการฝึกCobra Gold ในเดือน กพ.2016 โดยจะเป็นการฝึก ในscale เหมือนปีที่แล้ว เป็น light year อีกปีหนึ่ง เน้นที่การฝึกบรรเทาภัยพิบัติ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยจะเป็น My first Cobra Gold
ทูตอเมริกา ยัง อวยพรคนไทย Happy LoyKratong Day.เผยตนเองก็จะลอยกระทงด้วย และHappy Holiday ส่วนตนเอง มีThanksgiving day วันพฤหัส ยันอยู่ไทยปลอดภัย I feel safe in Thailand. เชื่อจนท.ไทยดูแลได้ในช่วงเทศกาล

กองทัพตื่นตัวรับมือIS

กองทัพตื่นตัว รับมือก่อการร้าย...IS
บิ๊กป้อม พลเอกประวิตร สั่งผบ.เหล่าทัพ ในที่ประชุม สภากห. คุมเข้มการดูแล รปภ.สถานที่ พื้นเสี่ยงต่างๆและที่ตั้งหน่วย ทั่วประเทศ สั่งทุกหน่วยมั่นคง หน่วยข่าว ดูความเชื่อมโยง กลุ่มก่อการร้ายต่างๆ โดยเฉพาะหลังIS มาเคลื่อนไหวในมาเลเซีย ยึดแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างประเทศ เฝ้าระวัง เพิ่มมาตรการด้านการข่าว วอนประชาชน ร่วมมือ สร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน
พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม เผยว่า ในที่ประชุมสภากลาโหม ที่มี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ร่วมด้วย ปลัดกลาโหม ผบสส. ผบ.เหล่าทัพ ร่วม ได้มีการหารือเรื่องการดูแลความมั่นคง ปลอดภัย
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ความรุนแรง ณ กรุงปารีส ที่ผ่านมา พลเอกประวิตร ได้มอบหมายและกำชับให้ หน่วยขึ้นตรงกลาโหม (นขต.กห.)และเหล่าทัพ ร่วมกันติดตามสถานการณ์และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของกลุ่มต่างๆทั้งภายในและต่างประเทศ ต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกับให้ความสำคัญต่อมาตรการเชิงป้องกัน โดยเน้นความความเข้มแข็งของภาคประชาชน ด้วยการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อร่วมกันจัดตั้งและขยายเครือข่ายภาคประชาชนในการเฝ้าระวัง ต่อการกระทำของกลุ่มบุคคลที่อาจไม่หวังดี
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น และเป็นการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ขณะเดียวกัน ก็ขอให้ทุกหน่วยตั้งอยู่ในความไม่ประมาท โดยเข้มงวด กวดขันต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและพื้นที่รับผิดชอบ พร้อมทั้ง ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการปฏิบัติภารกิจดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยง ในความดูแลของหน่วยทั่วประเทศ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของสถานการณ์
ทั้งนี้ พลเอกประวิตร ได้สั่งการให้ทุกหน่วยมั่นคง หน่วยข่าว ดูความเชื่อมโยง กลุ่มก่อการร้ายต่างๆ โดยเฉพาะหลังIS มาเคลื่อนไหวในมาเลเซีย โดยยึดแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างประเทศ และเฝ้าระวัง เพิ่มมาตรการด้านการข่าว พรัอมวอนประชาชน ร่วมมือ ช่วยดูแลเป็นหูตาให้ด้วย เพื่อเป็น สร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน เพราะให้เป็นหน้าที่ของ จนท.ฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอ

"Safety Thailand........



"Safety Thailand........
"บิ๊กเจี๊ยบ" นั่งหัวโต๊ะ ถก สธ.คสช.-กกล.รส.คสช. เดินหน้าแคมเปญ วาระประเทศไทยปลอดภัย " Safety Thailand ”ช่วงเทศกาล ยาวไปถึงปีใหม่ เข้มแก้ปัญหา ผู้มีอิทธิพล
พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผช.ผบทบ.ในฐานะ รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีการสรุปการสกัดกั้นการกระทำผิดกฎหมาย
พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช. เผยว่า การประชุมวันนี้ พลเอกเฉลิมชัย ได้กำชับให้ทุกส่วนของ คสช. โดยเฉพาะ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย(กกล.รส.) ได้ดำเนินทุกมาตรการในการปฏิบัติตามวาระ “ประเทศไทยปลอดภัย" หรือ "Safety Thailand” ตามที่รัฐบาลกำหนด
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ประเพณี การเฉลิมฉลอง หรือการจัดกิจกรรมสำคัญ โดยให้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และสารวัตรทหาร ดูแลสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ลดและป้องกันอุบัติเหตุ สาธารณภัย และอำนวยความสะดวกให้ประชาชน นักท่องเที่ยว
รวมถึงเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในเทศกาลแห่งความสุข โดยให้ทุกหน่วยมีการเตรียมแผนเผชิญเหตุ ความพร้อมบุคคลากร เครื่องมือ
ขณะเดียวกันยังคงให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างความรับรู้ให้กับประชาชน ด้วยข้อมูลที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ พลเอกเฉลิมชัย รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เร่งรัดให้ทุกส่วนตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในทุกพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและขจัดปัญหาดังกล่าว โดยเร็วที่สุดด้วย
นอกจากนี้ ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย สามารถตรวจยึดยาบ้าได้ ๒,๕๐๔,๒๖๑ เม็ด, อาวุธปืน ๓๑ กระบอก, ไม้มีค่า ๑๖๗ ท่อน
ส่วนการดูแลช่วยเหลือประชาชนยังคงมีการจัดชุดแพทย์ ๕๗ ชุด ออกบริการประชาชน และเข้าช่วยซ่อมสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ๑๖ ครั้ง
ส่วน ศูนย์ดำรงธรรมสามารถแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ ๗๔๖ เรื่อง
การขุดลอกแหล่งน้ำโดยหน่วยทหารช่างของกองทัพบก ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คืบหน้าร้อยละ ๙๑
ส่วนการลงพื้นที่ดูแลประชาชนนั้นได้นำนักศึกษาวิชาทหารและ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๒๑,๔๒๖ คน ร่วมเป็นทีมงานด้วย
กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ยังได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่เข้าชี้แจงสถานการณ์ภัยแล้ง และขอความร่วมมือในการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ในพื้นที่ ๑๖ จังหวัด รวม ๖,๑๗๙ หมู่บ้าน รวมทั้งสำรวจและรวบรวมข้อมูลของเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
จากการลงพื้นที่พบว่าเกษตรกรมีความต้องการในเรื่องราคาพืชผล แหล่งน้ำ การพักชำระหนี้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังคงตรวจสอบซ้ำในปัญหาการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ และรถจักรยานยนต์รับจ้าง และสนับสนุนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการบังคับใช้กฎหมายต่อพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกปลูกยางพารา ซึ่งดำเนินการไปแล้วกว่า ๙๐,๐๐๐ ไร่ทั่วประเทศ

พลเอกประวิตร ยัน 2activists จีน มีคดีค้ามนุษย์-ต่อต้านรัฐบาลจีนติดตัว ส่งกลับตามกม.


พลเอกประวิตร ยัน 2activists จีน มีคดีค้ามนุษย์-ต่อต้านรัฐบาลจีนติดตัว ส่งกลับตามกม. เผยคุยUNHCRแล้วเมื่อวันศุกร์ เผยตกลงกันแล้ว คราวหน้าจะถามUNHCR ก่อนส่งกลับ เขาก็เข้าใจ เผย สตม.ไทย ไม่รู้ข้อมูล จึงออกบัตรลี้ภัยให้ ทั้งๆเพื่งจับแค่2 วัน
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม กล่าวถึงการส่งผู่ลี้ภัยทางการเมืองชาวจีน2 คนกลับจีน ว่า เราดำเนินการตามกม. เมื่อทางการจีน ประสานมา
เมื้อถามว่า สถานะเป็นผู้ลี้ภัย แล้วทำไมส่งกลับ พลเอกประวิตร กล่าวว่า ทางสตม.ก็บอกว่า ไม่รู้ เพราะจับตัวได้แค่2 วัน ก็มีการขอทำบัตร ผู้ลี้ภัย เขาไม่รู้ก็ออกให้ แต่สถานะคือ หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย เขาไม่รู้ว่า ทำความผิดเรื่อง ค้ามนุษย์ ในประเทศจีน นอกเหนือจากเรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมือง ต่อต้านรัฐบาลจีน
ซึ่งตนได้ชี้แจงUNHCR ไปแล้ว เมื่อวันศุกร์ เขาก็เข้าใจ ผมถามว่า ต่อไป มีแบบนึ้เราต้องถามเขาก่อนทุกครั้งมั้ย เขาบอกว่า ต้องถาม เราเลยบอกว่า จากนึ้ไป เราจะถามเขาก่อนทุกกรณี จะไม่มีส่งไปแบบนึ้ อีกแล้ว

"พลเอกประวิตร" สั่งคุมเข้ม ทั่วประเทศ จากBike for Dad ถึงปีใหม่



"พลเอกประวิตร" สั่งคุมเข้ม ทั่วประเทศ จากBike for Dad ถึงปีใหม่ ดูแลความปลอดภัย พบมีความเคลื่อนไหว เน้นงานการข่าว เผยจับกุมมือป่วนซ้อม"ปั่นเพื่อพ่อ"ขอนแก่น วานนี้ หลายคน กำลังนำตัวมาสอบ เผยพบแผนป่วนอีก สั่งหน่วยข่าว หาข่าวเพิ่ม ฝากสื่อช่วยกันตรวจสอบ ช่วยหาข่าวด้วย เพราะยังมี คิดกันแบบนี้ บ้านเมืองถึงไม่สงบเรียบร้อย ขัดแย้ง
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม กล่าวถึงดูแลความปลอดภัย ในเทศกาลต่างๆว่า นับจากนี้ ตั้งแต่ bike for dad เรื่อยไปจนปีใหม่ หน่วยความมั่นคงจะต้องดูแลความปลอดภัยให้ประชาชน ยันต้องทำให้ได้ ผมก็เป็นห่วงทั้งประเทศ
ทั้งนี้ยังพบมีข่าว ความเคลื่อนไหวต่างๆในโซเชี่ยล มีเดีย อยู่ เราก็ตามอยู่ ส่วนด้านการข่าวเราก็ลงไปลึกในทุกพื้นที่
นอกจากนี้ พลเอกประวิตร ยังยอมรับว่า จนท. จับกุม กลุ่มก่อกวน ในระหว่างการซ้อม"ปั่นเพื่อพ่อ"ที่ขอนแก่น วานนี้ หลายคน กำลังนำตัวมาสอบ
พลเอก ประวิตร เผยด้วยว่า พบแผนป่วนอีก สั่งหน่วยข่าว หาข่าวเพิ่ม ฝากสื่อช่วยกันตรวจสอบ ช่วยหาข่าวด้วย เพราะยังมี คิดกันแบบนี้ บ้านเมืองถึงไม่สงบเรียบร้อย ยังมีความ ขัดแย้ง

บิ๊กป้อม สั่ง ผบ.เหล่าทัพ สนับสนุน แม่น้ำ5สาย


บิ๊กป้อม สั่ง ผบ.เหล่าทัพ สนับสนุน แม่น้ำ5สาย ในการปฏิรูปและขับเคลื่อนประเทศ ไปทิศทางเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ เพื่อประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ/ เผย "บัญญัติ10ประการ"ที่ส่งให้กรธ. ร่างรธน. นั้นเป็นเจตนาดี คสช. ยัน คสช.อยากให้มีคปป.ในร่างรธน.จึงเสนอมาหวังไม่ให้การเมืองถึงทางตัน กลับมาที่เก่าอีก แต่แนวทางร่างรธน. จะอย่างไร ก็แล้วแต่"มีชัย-กรธ."
พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม กล่าวว่า จากความตั้งใจจริงของรัฐบาล ที่ต้องการทำให้ประเทศชาติสงบและเดินหน้าต่อได้อย่างมีเสถียรภาพ ในระยะเวลาอันจำกัดนี้ นั้น
ในการประชุมสภากลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ได้ มอบหมายให้ หน่วยขึ้นตรงกลาโหม(นขต.กห. )และเหล่าทัพ ให้การสนับสนุน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ไปทิศทางเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ เพื่อเป้าหมายหลักร่วมกัน ในการบูรณาการความร่วมมือจากทุกฝ่ายในสังคม เพื่อสร้างเสถียรภาพความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติ สู่อนาคตการพัฒนาที่ยั่งยืน และการมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
พลเอกประวิตร ให้สัมภาษณ์ด้วยว่า ทำยังไงเราไม่อยากให้กลับมาเหมือนเดิม ไม่อยากให้มีทางตัน แต่หาก อ.มีชัย สามารถ เขียนรธน.ออกมา แบบไม่ให้มีทางตันได้ ก็แล้วแต่ท่าน แต่เราไม่อยากให้มีทางตันในทางการเมือง ถ้าไม่อย่างนั้น ขัดแย้งกันอัก ก็ต้องมาแบบนึ้อีก ถ้าไม่มีทางตัน ก็เดินไปได้เรื่อยๆรอดูก่อนว่า อ.มีชัย จะเขียนออกมาแบบไหน เพราะต้องมีการทำประชามติ อีก
พลเอกประวิตร กล่าวว่า ผมไม่อยากพูดมาก เพราะ ข้อคิดเห็นจาก คสช. 10ขัอ ที่ส่งให้ กรธ. นั้น.เป็นของคสช. เสนอด้วยเจตนาดี เดี๋ยวหาว่าชี้นำ จะเป็นประเด็นอีก ก็แล้วแต่ประชาชนต้องการยังไงก็เขียนออกมาตามนั้น เอาให้บ้านเมืองมันเดินไปได้แล้วกัน

"บิ๊กหมู"ถก ผบ.ทบ.อาเซี่ยน ร่วมสู้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ภัยก่อการร้ายร่วมกัน


"บิ๊กหมู"ถก ผบ.ทบ.อาเซี่ยน ร่วมสู้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ภัยก่อการร้ายร่วมกัน พร้อมจับมือแน่นแฟ้น เป็นพลังสู้ภัยคุกคามใน5ปี ข้างหน้า
พลเอกธีรชัย ประชุมACAMM ผบ.ทบ.อาเซี่ยน 10ชาติ หารือทวิภาคี เพื่อนบ้าน ร่วมมือความมั่นคง พม่า ยันกับบิ๊กหมู ยันพม่า ไม่สนับสนุนกลุ่มหรือบุคคลใดที่ต่อต้านรัฐบาลไทย หากพบกลุ่มหรือบุคคลเหล่านั้นหลบซ่อนตัวในเมียนมา จะดำเนินการตามที่รัฐบาลไทยร้องขอทันที/จับมือ ฟิลิปปินส์ การข่าว ต้านก่อการร้าย
ที่ โรงแรมสยาม แคมปินสกี้ กรุงเทพฯ พลเอก ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.เป็นเจ้าภาพการประชุม ผบ.ทบ.กลุ่มประเทศอาเซียน (ACAMM) ครั้งที่ 16 ภายใต้ แนวคิดเริ่อง"ความพร้อมของทบ.อาเซี่ยนในการตอบสนองต่อความท้าทายในอีก5ปีข้างหน้า"
พลเอกธีรชัย กล่าวเปิดการประชุมว่า ทบ.ในอาเซี่ยน พร้อมคู่เจรจา ได้เห็นพ้องกันว่า จะต้องร่วมกันในการพร้อมรับมือภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ ฝีมือมนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ และการก่อการร้าย

พลเอกธีรชัย กล่าวด้วยว่า รวมทั้งความร่วมมือในด้าน การเมือง และความมั่นคง โดยใช้กลไกทางทหารที่มีอยู่ในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อม ให้มีความมั่นคงปลอดภัย และแข็งแกร่งยิ่งขึ้นใน5ปีข้างหน้า ให้ทันสมัย มีเสถียรภาพ พร้อมเผชิญความท้าทายและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ต่างๆเพื่อก้าวเดินไปด้วยกันอย่างสันติสุข และ ยั่งยืน กระชับมิตร ความร่วมมือจะเป็นพลังที่แข็งแกร่งในการเผชิญหน้ากับภัยคุกคามอย่างแน่นแฟ้น
โดยมีการหารือทวิภาคีระหว่าง ผบ.ทบ.กลุ่มประเทศอาเซียนนั้น เริ่มจาก พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ได้ต้อนรับและพบหารือกับ
๑) พล.จ. เปนกิรัน ซรี ปาห์ลาวัน อามินาน บิน เปนกิรัน ฮาจิ มาห์หมัด ผบ.ทบ.บรูไน
๒) พล.ท.เอดูอาโด มานาฮาน เอโน ผบ.ทบ.ฟิลิปปินส์
๓) พล.ท.เหงียน ก๊วก แค๋ง รองประธานเสนาธิการ กองทัพประชาชนเวียดนาม (เทียบเท่า ผบ.ทบ.)
๔) รอง พล.อ.อาวุโส โซ วิน ผบ.ทบ.เมียนมา และ
๕) พล.จ.เมลวิน ออง ซู เกียด ผบ.ทบ.สิงคโปร์
ทั้งนี้ ในระหว่างพบหารือกับ ผบ.ทบ.บรูไนนั้น พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ได้ชี้แจงความคืบหน้าของการดำเนินการตาม Roadmap
ทั้งนี้ รัฐบาล และ คสช.มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นประชาธิปไตยแบบไทยโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
นอกจากนี้ ผบ.ทบ.ได้กล่าว ขอบคุณที่ ทบ.บรูไน ส่งผู้แทนเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการฝึกร่วม/ผสม Cobra Gold 2015
ทั้งนี้ ทบ.คาดหวังว่า ทบ.บรูไน จะสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ACMM) โดย ทบ.จะมีการฝึกร่วม/ผสมด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (ASEAN Military Preparedness on HA/DR) ในห้วงปลายปี ๒๕๕๙
ด้าน ผบ.ทบ.บรูไน ขอบคุณ ทบ.ที่ให้การสนับสนุนการฝึก HA/DRของ ทบ.บรูไน
อนึ่ง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพบกของทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้นไป ผบ.ทบ. ได้เชิญชวนให้ ผบ.ทบ.บรูไน ส่งกำลังพลมาเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรทางทหารของ ทบ. อาทิ หลักสูตรหลักประจำ รร.สธ.ทบ. และหลักสูตร วทบ.ด้าน ทบ.บรูไน มีความต้องการจะเยือนไทยในห้วงต้นปี ๒๕๕๙ และ ขอเชิญ ผบ.ทบ.เยือนบรูไน เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม
สำหรับการหารือกับ พล.ท.เอดูอาโด มานาฮาน เอโน ผบ.ทบ.ฟิลิปปินส์ นั้น พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.และ ผบ.ทบ.ฟิลิปปินส์ ต่างรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่การจัดทำร่างขอบเขตการปฏิบัติงานของคณะทำงาน ทบ.-ทบ.ฟิลิปปินส์ (TOR) มีความก้าวหน้าอย่างมาก ซึ่งในอนาคต เอกสารฉบับนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการจัดทำโครงการและกิจกรรมทางทหารร่วมกัน ระหว่าง ทบ.-ทบ.ฟิลิปปินส์
ทั้งนี้ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ทบ. กับ ทบ.ฟิลิปปินส์ มีการพัฒนาโดยลำดับ ผ่านการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง การแลกเปลี่ยนที่นั่งศึกษาในหลักสูตรทางทหาร การฝึกร่วม/ผสม Cobra Gold ซึ่งกองทัพฟิลิปปินส์ส่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการเข้าร่วมการฝึกด้านเสนาธิการผสม
ส่วนนานาชาติ และการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR) นอกจากนี้ ทบ.ฟิลิปปินส์ เห็นว่า จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากทั้งสองกองทัพมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการข่าวและการต่อต้านก่อการร้าย
สำหรับการหารือกับ พล.ท.เหงียน ก๊วก แค๋ง รองประธานเสนาธิการ กองทัพประชาชนเวียดนาม (เทียบเท่า ผบ.ทบ.) นั้น พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.และ รองประธานเสนาธิการ กองทัพประชาชนเวียดนาม ต่างรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และระหว่างกองทัพ มีการพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยที่ผ่านมา กำลังพลของ ทบ. ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาภาษาเวียดนาม ซึ่ง ทบ.ขอให้กองทัพประชาชนเวียดนามสนับสนุนต่อไป
นอกจากนี้ รองประธานเสนาธิการ กองทัพประชาชนเวียดนาม ขอให้ ทบ.สนับสนุนการศึกษา/วิจัยในด้านการจัดโครงสร้างกองทัพบกเวียดนาม ซึ่งกองทัพประชาชนเวียดนามมีแผนจัดตั้งในอนาคต
ทั้งนี้ ผบ.ทบ. ได้ตอบรับพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้ว ผบ.ทบ. ยินดีที่ให้การสนับสนุนที่นั่งศึกษาในหลักสูตรทางทหารต่างๆ อย่างเต็มที่อีกด้วย
สำหรับการหารือกับ รอง พล.อ.อาวุโส โซ วิน ผบ.ทบ.เมียนมา นั้น ผบ.ทบ.เมียนมา ยินดีสนับสนุนประชาธิปไตยในเมียนมา และพร้อมให้การสนับสนุนรัฐบาล และ คสช.
นอกจากนี้ ได้ขอบคุณ ผบ.ทบ.ที่ให้การสนับสนุนที่นั่งศึกษาในหลักสูตรทางทหารต่างๆ รวมทั้งยืนยันไม่สนับสนุนกลุ่มหรือบุคคลใดที่ต่อต้านรัฐบาลไทย หากพบกลุ่มหรือบุคคลเหล่านั้นหลบซ่อนตัวในเมียนมา จะดำเนินการตามที่รัฐบาลไทยร้องขอทันที
ด้าน พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ขอบคุณกองทัพเมียนมาที่สนับสนุนที่นั่งศึกษาด้านภาษาเมียนมา และการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ทหารอาเซียน (ADMM)
สำหรับการหารือกับ พล.จ.เมลวิน ออง ซู เกียด ผบ.ทบ.สิงคโปร์ นั้น พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. และ ผบ.ทบ.สิงคโปร์ ต่างรู้สึกยินดีที่ความความสัมพันธ์ของทั้งสองกองทัพมีความแนบแน่นและมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการที่ ทบ.สิงคโปร์ แสดงความเข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองของไทยและพร้อมสนับสนุนรัฐบาล และ ทบ. มาโดยตลอด
นอกจากนี้ ทั้งสองกองทัพมีการฝึกร่วมใน รหัส คชสีห์ และ รหัส Flash Thunder เป็นประจำทุกปีในลักษณะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข่าวกรองและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้บัญชาการทางทหารระดับสูง อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ในห้วง มี.ค.๕๘ ทบ.สิงคโปร์ ได้ให้การสนับสนุน ฮ.ซีนุค ในการดับไฟป่าในไทย
ทั้งนี้ การหารือทวิภาคีใน ๒๒ พ.ย.๕๘ นอกจากจะเป็นการหารือระหว่าง ทบ. กับ ทบ.บรูไน ทบ.ฟิลิปปินส์ กองทัพประชาชนเวียดนาม ทบ.เมียนมา และ ทบ.สิงคโปร์ แล้ว ในห้วงเวลาเดียวกันยังมีการหารือทวิภาคีระหว่าง ทบ.บรูไน กับไทย

สหรัฐพบ"ประวิตร"กังวลไทยส่งผู้ลี้ภัยกลับจีน


โฆษกกลาโหม เผยทูต สหรัฐอเมริกาเข้าพบ พลเอกประวิตร แสดงความกังวลกับการที่ไทยส่งกลับผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายชาวจีนที่ได้รับการรับรองสถานภาพจาก UNHCR แล้ว แต่ชื่นขมบทบาทไทย ช่วยดูแลผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ต่อต้านก่อการร้าย
นาย Glyn T. Davies ออท.สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และคณะ ได้เข้าพบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯและ รมว.กลาโหม ที่ ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้กล่าวถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ ที่ได้รบร่วมกันในสงครามต่าง ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและภูมิภาคร่วมกัน
ขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาความร่วมมือในการฝึกทางทหารร่วมกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะการฝึก Cobra Gold ซึ่งแสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ร่วมกัน
ออท.สหรัฐฯ ชื่นชมบทบาทการมีส่วนร่วมรักษาสันติภาพของไทยในเวทีโลกและยินดีสนับสนุน เพิ่มพูนความร่วมมือในการเป็นผู้นำของไทยในภูมิภาค และได้หารือกับรองนรม.และรมว.กห.ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การส่งกลับผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย : สหรัฐ ฯ ชื่นชมไทยที่มีความเมตตากับผู้ลี้ภัยมาตลอด
แต่ก็มีความกังวลกับการที่ไทยส่งกลับผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ได้รับการรับรองสถานภาพจาก UNHCR แล้ว
โดย รมว.กห. ได้กล่าวยืนยันว่า ไทยเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายสากล รวมทั้งยึดหลักสิทธิมนุษยธรรมโดยตลอด
โดยที่ผ่านมาได้ประสานทำความเข้าใจกับผู้แทน UNHCR แล้ว พร้อมทั้งได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจง ให้ข้อมูลกับ ออท.สหรัฐ ฯ โดยขอให้มีการประสานข้อมูลระหว่างกันให้ใกล้ชิดมากขึ้นในอนาคต เพื่อลดความคลาดเคลื่อนและให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
• การต่อต้านการก่อการร้าย : ออท.สหรัฐ ฯ ได้กล่าวขอบคุณไทย ที่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามโจรสลัดและการต่อต้านการก่อการร้ายที่ผ่านมาตลอด โดยเฉพาะความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน
• ปัญหาทะเลจีนใต้ : ออท.สหรัฐ ฯ เชื่อมั่นในบทบาทผู้นำอาเซียนของไทย และหวังว่าความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียนและไทย จะช่วยประสานให้มีการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี โดยไม่ใช้กำลังทหารหรือความรุนแรงในการแก้ปัญหา
พล.อ.ประวิตรฯ รอง นรม, และ รมว.กห. ได้ใช้โอกาสนี้ สร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์ของประเทศไทยและการดำเนินงานตาม Road Map
โดย ออท.สหรัฐฯ ย้ำว่าปรารถนาที่จะเห็นไทยมีเสถียรภาพและสามารถแสดงบทบาทนำในภูมิภาค ซึ่งหากไทยสามารถพัฒนาไปสู่จุดนั้น ก็จะเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการบริหารกิจการภายในประเทศของตน

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ: คราวหน้าหากจะส่งตัวกลับจะถามยูเอ็นเอชซีอาร์ก่อน


พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ: คราวหน้าหากจะส่งตัวกลับจะถามยูเอ็นเอชซีอาร์ก่อน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม พล.อ.ประวิตรกล่าวถึงเรื่องของการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวจีนสองคนให้กับรัฐบาลจีนว่า เป็นเรื่องที่ไทยดำเนินการตามกฎหมาย และทางฝ่ายจีนขอมาเนื่องจากทั้งสองคนมีประวัติอาชญากรรม นอกจากนั้นยังระบุว่า เรื่องนี้ได้พูดคุยกับยูเอ็นเอชซีอาร์หรือสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติแล้ว และคราวต่อไปหากจะมีการส่งกลับอีก ไทยจะสอบถามทางยูเอ็นเอชซีอาร์ก่อน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในแถลงการณ์ของยูเอ็นเอชซีอาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วระบุว่า การส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวจีนสองคนกลับประเทศนั้น ได้มีหน่วยงานต่างประเทศรวมทั้งยูเอ็นเอชซีอาร์พยายามเข้าแทรกแซงหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล
อีกด้านหนึ่งนายกลิน เดวีส์ ทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยก็ได้เข้าพบพล.อ.ประวิตรด้วยในวันนี้เนื่องในโอกาสที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง สื่อมวลชนรายงานว่า หลังจากนั้นนายเดวีส์เปิดเผยว่าได้พูดคุยกันหลายเรื่อง และแสดงความผิดหวังในเรื่องที่ไทยส่งตัวผู้ลี้ภัยสองคนชาวจีนกลับประเทศด้วย
ก่อนหน้านั้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายจอห์น เคอร์บี้ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯกล่าวถึงกรณีนี้ว่า สหรัฐฯวิตกอย่างยิ่งเพราะการส่งตัวกลับอาจหมายถึงการถูกลงโทษ จำขังโดยไม่มีการพิจารณาความผิดและขาดกระบวนการที่เป็นธรรม
ภาพจากแฟ้มข่าว

องค์กรต้านคอรัปชั่นชี้กองทัพตอบทุจริตอุทยานราชภักดิ์ยังไม่เคลียร์

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ชี้กองทัพแถลงผลสอบปม ‘ราชภักดิ์’ ยังไม่เคลียร์

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมา นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวถึงผลการตรวจสอบการทุจริตสร้างอุทยานราชภักดิ์ว่า ปัญหามูลนิธิโครงการราชภักดิ์เป็นเรื่องใหญ่ อาจกล่าวได้ว่าเป็นกรณีอื้อฉาวที่ใหญ่ที่สุดสำหรับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับตั้งแต่เข้ามาทำงานในช่วงระยะเวลา 1 ปีครึ่ง แม้ผลการตรวจสอบจะออกมาว่าไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ควรที่จะปิดเรื่องราวดังกล่าวให้จบในลักษณะที่ทำอยู่เช่นนี้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นยังเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ เพราะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์ทั้งหมดได้อย่างชัดเจน
"ดังนั้นควรทำความชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจ แสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งผมเชื่อว่าประชาชนสามารถเข้าใจและแบ่งแยกได้ว่าอะไรเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ตกแก่ส่วนตน อะไรเป็นเรื่องที่ธุรกิจเข้ามาแทรกแซง" นายมานะกล่าว
นายมานะกล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีประเด็นปลีกย่อยหลายเรื่อง เช่น เรื่องต้นปาล์ม เรื่องโต๊ะจีน หรือเรื่องของค่าจัดสร้างพระบรมรูป เป็นต้น ก็ควรจะมาชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจเป็นรายประเด็น การจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องของราคา ซึ่งไม่ว่าจะถูกหรือแพง ต่างก็มีเงื่อนไขสำหรับการตัดสินใจในหลายประการ ทั้งในเรื่องของเวลาที่จำกัด คุณภาพ ดังนั้นหากทำการตรวจสอบเป็นรายประเด็นแล้ว เมื่อทำการชี้แจงก็เชื่อว่าประชาชนจะสามารถเข้าใจและยอมรับได้ ส่วนปัญหาเรื่องของเงิน โดยเฉพาะเป็นเงินบริจาค หากถูกบริหารจัดการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเกิดกรณีที่ผู้บริจาคเงินร้องเรียนว่ามีการนำเงินที่บริจาคไปใช้อย่างทุจริต ก็จะเป็นอำนาจที่ชัดเจนให้องค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.), คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) เข้าไปทำการตรวจสอบได้
นายมานะกล่าวอีกว่า ถึงแม้ว่าปัญหาจะพูดอยู่ในกรอบเงินระดับพันกว่าล้าน แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ ติดตามข่าวสาร และเป็นกระแสข่าวที่ถูกพูดถึงกันเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความระแวงสงสัย แต่ก็มีความรู้สึกเกรงกลัวที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่บุคคลซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต ก็อาจจะไม่กล้าเปิดเผยแสดงข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ ทำให้การดำเนินงานในการตรวจสอบเป็นปัญหา เมื่อไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและไม่สามารถที่จะตรวจสอบได้นั้น ประชาชนก็จะไม่เห็นถึงความโปร่งใส

คุณจะรู้สึกอย่างไรหากถูกตำรวจซ้อม ขู่ฆ่า และข่มขืน จนต้องรับสารภาพในความผิดที่ตัวเองยืนยันว่าไม่ได้ทำ ?

ลงชื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้คุณแม่ลูกสองที่ถูกตำรวจซ้อมและข่มขืนให้รับสารภาพ


คุณจะรู้สึกอย่างไรหากถูกตำรวจซ้อม ขู่ฆ่า และข่มขืน
จนต้องรับสารภาพในความผิดที่ตัวเองยืนยันว่าไม่ได้ทำ ?
  • เยซีเนีย อาร์เมนตา (Yecenia Armenta) เป็นผู้หญิงธรรมดาและคุณแม่ลูกสองชาวเม็กซิกัน แต่ในปี 2555 เธอถูกตำรวจนอกเครื่องแบบลักพาตัว และกล่าวหาว่าเธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมสามีของเธอเอง
  • เธอถูกตำรวจปิดตา ใส่กุญแจมือ ซ้อมทรมานอย่างทารุณ ทุบตี และข่มขื่น รวมแล้วนานถึง 15 ชั่วโมง เพื่อบังคับให้เธอรับสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมดังกล่าว 
  • ตำรวจกลุ่มดังกล่าวยังขู่ว่าจะจับตัวลูก 2 คนของเธอมาข่มขื่นและฆ่า เยซีเนีย อาร์เมนตาจึงยอมลงชื่อในเอกสารคำรับสารภาพทั้งๆ ที่ยังถูกปิดตาอยู่ และไม่ได้อ่านเนื้อหาในเอกสารแม้แต่คำเดียว 
  • เธอถูกขังอยู่ในเรือนจำมานาน 3 ปีแล้ว หลังถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม โดยมีหลักฐานสำคัญคือจากเอกสารคำรับสารภาพดังกล่าวซึ่งได้มาจากการทรมาน
  • เม็กซิโกเกิดกรณีการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐมากมาย ทั่วโลกจึงควรร่วมกันเรียกร้องความยุติธรรมให้กับเยซีเนีย อาร์เมนตา เพื่อแสดงพลังให้รัฐบาลเม็กซิโกทั้งระดับประเทศและท้องถิ่นเห็นว่านานาชาติกำลังจับตาดูพวกเขาอย่างใกล้ชิด และเพื่อนำไปสู่การยุติการทรมานอย่างสมบูรณ์ในอนาคต
ข้อเรียกร้องถึงอัยการสูงสุดรัฐซีนาลัวของเม็กซิโก
พวกเรามีความกังวลอย่างมากต่อกรณีของเยซีเนีย อาร์เมนตา (Yecenia Armenta) คุณแม่ลูก 2 ชาวเม็กซิกันที่ถูกตำรวจลักพาตัวไปทรมาน ข่มขืน และขู่ฆ่าเธอและครอบครัวของเธอ เพื่อให้เธอสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกัลเหตุฆาตกรรมสามีของตนเอง พวกเราจึงขอเรียกร้อง
  • ให้ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อเยซีเนีย อาร์เมนตา และให้ปล่อยตัวเธอจากเรือนจำ 
  • ให้ดำเนินการสอบสวนอย่างเต็มรูปแบบและเป็นกลางเกี่ยวกับการทรมานต่อเยซีเนีย อาร์เมนตาโดยทันที และให้นำตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทรมานดังกล่าวมาลงโทษ
ข้อมูลเพิ่มเติม
        เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 เยซีเนีย อาร์เมนตา (Yecenia Armenta) หญิงชาวเม็กซิกันและคุณแม่ลูกสองขับรถออกจากบ้านในรัฐซีนาลัวเพื่อไปส่งพี่สาวและพี่สะใภ้ที่สนามบิน ระหว่างทางมีตำรวจนอกเครื่องแบบเรียกให้จอดรถเพื่อหยุดตรวจ และบังคับให้ผู้หญิงทั้งหมดเข้าไปนั่งในรถตำรวจ จากนั้นมีการแยกตัวเยซีเนียออกจากคนอื่นๆ โดยตำรวจใช้ผ้าปิดตาและใส่กุญแจมือเธอไว้ ก่อนนำไปขึ้นรถอีกคัน พร้อมกับเริ่มกล่าวหาว่าเธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมสามีของเธอเอง ซึ่งถูกยิงในที่สาธารณะเพียงสัปดาห์เดียวก่อนหน้านั้น
        พวกเขาสอบปากคำและทรมานเธออย่างทารุณ เยซีเนีย อาร์เมนตา เล่าว่าเธอถูกทุบตี ข่มขื่น ถูกครอบศีรษะด้วยถุงพลาสติกเพื่อให้ขาดอากาศหายใจ และถูกบังคับให้อยู่ในสภาพที่เหมือนจมน้ำ ซ้ำเล่าซ้ำเล่าราว 15 ชั่วโมง เพื่อให้เธอรับสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมดังกล่าว
        ยิ่งไปกว่านั้น ตำรวจกลุ่มดังกล่าวยังขู่ว่าจะนำลูกทั้ง 2 คนของเธอมาข่มขืนและฆ่าทิ้งด้วย สุดท้าย หลังถูกทรมานและข่มขืนอย่างยาวนาน เยซีเนีย อาร์เมนตายอมลงชื่อในเอกสารคำรับสารภาพทั้งๆ ที่ถูกปิดตาอยู่ เธอบอกว่าไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเนื้อหาในเอกสารดังกล่าวเป็นอย่างไรเพราะไม่มีโอกาสได้อ่าน
        หลังจากนั้น เยซีเนีย อาร์เมนตา ได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ของหน่วยงานอัยการ แต่ผลการตรวจกลับระบุว่าเยซีเนียไม่มีอาการบาดเจ็บแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หลายเดือนต่อมา เมื่อมีการนำตัวเยซีเนีย อาร์เมนตาไปฝากขัง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ซึ่งเข้าเยี่ยมเธอพบร่องรอยบาดแผลและสภาพบวมช้ำทั่วร่างกาย จึงขอให้มีการตรวจสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอิสระอีก 2 ครั้ง โดยทั้ง 2 ครั้งได้ข้อสรุปตรกันว่าเธอถูกทรมาน
        จนถึงตอนนี้ เยซีเนีย อาร์เมนตา ถูกกักขังอยู่ในเรือนจำมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยถูกตั้งข้อกล่าวหาฆาตกรรมจากเอกสารคำรับสารภาพที่เธอถูกบังคับให้นั่นเอง
        เยซีเนีย อาร์เมนตาสมควรได้รับอิสรภาพและความยุติธรรม เธอเปิดเผยว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ในคุกต่อไปแม้แต่อีกวันเดียว จึงถึงเวลาแล้วที่ทั่วโลกจะร่วมกันเรียกร้องความยุติธรรมให้กับคุณแม่คนนี้ ด้วยการลงชื่อกดดันให้รัฐบาลเม็กซิโกทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่นปล่อยตัวเธอ ตลอดจนนำตัวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกบัการทรมานครั้งนี้มาลงโทษ

ลายเซ็นของคุณสำคัญอย่างไร?
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รณรงค์ช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในแคมเปญ “จดหมายรัก(ษ์)สิทธิ” (WRITE FOR RIGHTS-W4R) มากกว่า 200 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลกเป็นประจำทุกปี
  • ทุกครั้งที่คุณเข้าร่วมกิจกรรมของเรา ตั้งแต่การลงชื่อ เขียนจดหมาย ส่งอีเมล์ หรือแม้แต่ทวีตข้อความ ทั้งหมดจะได้รับรวบรวมอย่างปลอดภัยและเป็นระบบ ก่อนจะส่งไปยังรัฐบาลของประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • รายชื่อและข้อเรียกร้องจากนานาประเทศจะช่วยเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลในประเทศที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้นำความยุติธรรมมาสู่ผู้ที่ถูกละเมิด เช่น การไต่สวนคดีใหม่ การปล่อยตัว การอภัยโทษ การยุติโทษประหาร
  • ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในแคมเปญ W4R จะเปลี่ยนหน้าไปทุกปี ในแต่ละปีมีทั้งกรณีที่ยังต้องเรียกร้องต่อไปและกรณีที่ประสบความสำเร็จจากการลงชื่อของคนทั่วโลก อ่านเพิ่มเติมได้ที่ความสำเร็จของ W4R
  • ในปี 2558 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เลือกรณรงค์ทั้งหมด 3 กรณี ได้แก่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ มาเลเซีย และเม็กซิโก ครอบคลุมประเด็นการชุมนุมอย่างสงบ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการทรมาน

นักวิชาการไทย-เทศกว่า 300 ลงชื่อร้องคสช. หยุดคุกคามคณาจารย์-นักศึกษา-การสอน

นักวิชาการไทย-เทศกว่า 300 ลงชื่อร้องคสช. หยุดคุกคามคณาจารย์-นักศึกษา-การสอน

23 พ.ย. 2558 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ที่ผ่านมา ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล บริเวณสำนักงาน ก.พ. ตรงข้ามทำเนียบ  ตัวแทนนักวิชาการไทยและต่างประเทศ จากทั้งหมดที่กว่า 300 รายชื่อ ที่ร่วมเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยุติการคุกคามนักวิชาการ โดยมีนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน ศูนย์บริการประชาชน ออกรับจดหมายจาก เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง และเครือข่ายพลเมืองภาคใต้ ที่ยื่นต่อนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
โดยจดหมายดังกล่าวระบุถึงกรณีที่ “เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย” ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ที่ผ่านมา เรื่อง มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ยืนยันในเสรีภาพที่จะแสวงหาความรู้ในการเรียนการสอน แต่คณาจารย์ที่ร่วมกันแถลงกลับถูกออกหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในข้อหา “ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (รายละเอียดเพิ่มเติม)
ผู้ร่วมลงชื่อจึงเรียกร้องให้ คสช. หยุดข่มขู่คุกคามคณาจารย์ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยบริสุทธิ์ใจ หยุดสั่งห้ามและคุกคามนักศึกษารวมทั้งประชาชนที่จัดกิจกรรมทางการเมือง และ หยุดแทรกแซงการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยให้มีแนวทางหรือเนื้อหาวิชาที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติต้องการ
แถลงการณ์เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง
ฉบับที่ 6 เรื่องมหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ประเทศไทยไม่ใช่ค่ายกักกัน
จากกรณีที่ “เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย” ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558 เรื่อง มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ยืนยันในเสรีภาพที่จะแสวงหาความรู้ในการเรียนการสอน แต่คณาจารย์ที่ร่วมกันแถลงกลับถูกออกหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในข้อหา “ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง เห็นว่าการตั้งข้อหาจำคุกกับคณาจารย์กลุ่มดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เป็นการคุกคามให้ยุติการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ทั้งที่การแสดงความคิดเห็นของคณาจารย์เหล่านั้นเป็นไปโดยบริสุทธิ์ใจ ปรารถนาดี และเปิดเผย และถือเป็นหน้าที่อันพึงกระทำของคณาจารย์ที่ต้องแบ่งปันความคิดและความรู้กับสังคม ขณะเดียวกันคณาจารย์ที่เรียกร้องการปล่อยตัวนักศึกษาและแสดงความเห็นทางการเมืองที่ผ่านมาที่ยังถูกข่มขู่คุกคามอย่างต่อเนื่อง นิสิตนักศึกษายังคงถูกสั่งห้ามและตามกดดันในการจัดกิจกรรมทางการเมือง ขณะที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้สั่งให้บรรจุวิชายกย่องเชิดชูทหารในมหาวิทยาลัย ซึ่งขัดกับหลักสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาอย่างสิ้นเชิง 
 
เรายืนยันว่า “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” หากแต่เป็นสถานที่แสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนถกเถียงกันบนพื้นฐานของการใช้เหตุผลและข้อเท็จจริง นำมาซึ่งความรู้ใหม่ เพิ่มพูนสติปัญญาไปรับรู้โลกที่เปลี่ยนแปลงไปและแก้ไขปัญหาของประเทศ เสรีภาพในการแสวงหาความรู้และแสดงความคิดเห็นจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานของมหาวิทยาลัยและสังคม
 
เรายืนยันว่า “ประเทศไทยไม่ใช่ค่ายกักกัน” ประชาชนไทยมีความหลากหลายทางความเชื่อและความคิดทางการเมือง หนทางที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้คือเสรีภาพในความเชื่อและการแสดงความคิดเห็นด้วยหลักเหตุผลและข้อเท็จจริง การปฏิบัติต่อประชาชนไทยประดุจผู้ถูกกักกันด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์หรือความเชื่อหนึ่งๆ เพื่อครอบงำสังคมทั้งหมดภายใต้โครงสร้างอำนาจของคนบางกลุ่ม ด้วยวิธีการปิดหูปิดตา บังคับข่มขู่ คุกคามด้วยอำนาจกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมให้ผู้เห็นต่างยุติการแสดงความคิดเห็นมีแต่จะนำมาซึ่งความขัดแย้งมากขึ้น และไม่สามารถนำสังคมไทยไปสู่ความเสมอภาค เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรม และสันติสุขได้
 
เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขังดังมีรายชื่อแนบท้ายจึงขอให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
1. หยุดข่มขู่คุกคามคณาจารย์ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยบริสุทธิ์ใจ 
2. หยุดสั่งห้ามและคุกคามนักศึกษารวมทั้งประชาชนที่จัดกิจกรรมทางการเมือง และ
3. หยุดแทรกแซงการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยให้มีแนวทางหรือเนื้อหาวิชาที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติต้องการ
 
ทั้งนี้ หากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว เครือข่ายคณาจารย์จะพิจารณาการเคลื่อนไหวในระดับที่เข้มข้นขึ้นต่อไป
 
ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และเสมอภาค
เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง
23 พฤศจิกายน 2558
 
รายชื่อแนบท้าย
1. กรรณิกา วิทย์สุภากร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
2. กษมาพร แสงสุระธรรม 
3. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
4. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5. กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ
6. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
7. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
8. กิตติ วิสารกาญจน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
9. กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. กุสุมา กูใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
11. กฤษณ์พชร โสมณวัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
14. กัลย์วดี เรืองเดช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา 
15. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
16. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
18. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
20. โกสุมภ์ สายจันทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21. กำพล จำปาพันธ์  
22. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษาปริญญาเอก The University of Manchester    
23. ขนิษฐา บุญสนอง
24. คงกฤช ไตรยวงค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
25. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
26. คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
27. คอลิด มิดำ มหาวิทยาลัยบูรพา
28. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29. เคท ครั้งพิบูลย์
30. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
31. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
32. จันจิรา สมบัติพูนศิริ
33. จันจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี   
35. จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
36. จารุณี คงกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
37. จิระสิริ เกษมสินธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
38. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39. จิราภรณ์ สมิธ 
40. จุฑามณี สามัคคีนิตย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  
41. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ นักวิชาการอิสระ
42. เฉลิมชัย ทองสุข นักวิจัยอิสระ
43. ฆัสรา มุกดาวิจิตร 
44. ชล บุนนาค คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   
45. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 
46. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
47. ชวาลิน เศวตนันท์ มหาวิทยาลัย Mcquarie ประเทศออสเตรเลีย 
48. ชาตรี ประกิตนนทการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
49. ชานันท์ ยอดหงษ์ 
50. ชาญชัย สุขโกศล
51. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ชิงชัย เมธพัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
53. ชินทาโร ฮารา นักวิชาการอิสระ  
54. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
55. ชัชวาล ปุญปัน อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
56. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
57. ชุลีพร ทวีศรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
58. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ
59. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
60. โชคชัย สุธาเวศ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
61. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 
62. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
63. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
64. ณภัค เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
65. ณรงค์ อาจสมิติ มหาวิทยาลัยมหิดล  
66. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
67. ณัฐกร วิทิตานนท์ 
68. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
69. ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
70. ณีรนุช แมลงภู่
71. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
72. ดามร คำไตรย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย 
73. ดำรงพล อินทร์จันทร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
74. เดชรัต สุขกำเนิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
75. เดโชพล เหมนาไลย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
76. เดือนฉาย อรุณกิจ
77. ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
78. เติมพงศ์ วงศ์ตะวัน มหาวิทยาลัยมหิดล
79. ทองธัช เทพารักษ์ เครือข่ายเดือนตุลาคม
80. ทนุวงศ์ จักษุพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
81. ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร   
82. ทับทิม ทับทิม
83. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
84. ธนพร ศรียากูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
85. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
86. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
87. ธนศักดิ์ สายจำปา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
88. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
89. ธนิต โตอดิเทพย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
90. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
91. ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ 
92. ธวัชชัย ป้องศรี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
93. ธิกานต์ ศรีนารา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
94. ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
96. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
97. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
98. นพพร ขุนค้า มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
99. นวลน้อย ตรีรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
100. นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
101. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
102. นราสิทธิ์ เสนาจันทร์ นักวิชาการอิสระ
103. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
104. นาราวิทย์ ดาวเรือง นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
105. นรุตม์ เจริญศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     
106. นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
107. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
108. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
109. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
110. เนตรดาว เถาถวิล
111. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ นักวิจัยอาคันตุกะ Tokyo University of Foreign Studies
112. บัณฑิต ไกรวิจิตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
113. บารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน
114. บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
115. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
116. บุญส่ง ชัยสิงกานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
117. บุษรินทร์ เลิศชวลิตสกุล PhD candidate, University of Amsterdam 
118. เบญจมาศ บุญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen
119. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว มหาวิทยาลัยมหิดล
120. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
121. ปฐม ตาคะนานันท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
122. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
123. ปวลักขิ์ สุรัสวดี มหาวิทยาลัยมหิดล
124. ปิง วิชัยดิษฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
125. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
126. ปิยชาติ สึงตี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
127. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
128. ปรเมวร์ กาแก้ว มหาวิทยาลัยทักษิณ
129. ประกาศ สว่างโชติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
130. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
131. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
132. ประภัสสร ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
133. ประวิตร โรจนพฤกษ์  
134. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   
135. ปราโมทย์ ระวิน  
136. ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. ผาสุข แก้วตาเจริญ นักวิชาการอิสระ
138. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
139. พจนก กาญจนจันทร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   
140. พรชัย นาคศรีทอง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
141. พรใจ ลี่ทองอิน  
142. พรไทย ศิริสาธิตกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
143. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
144. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
145. พกุล แองเกอร์ 
146. พนิดา วสุธาพิทักษ์
147. พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
148. พศุตม์ ลาศุขะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
149. พฤหัส พหลกลบุตร นักวิชาการอิสระ 
150. พัชร์ นิยมศิลป์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
151. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
152. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
153. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
154. พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
155. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
156. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
157. ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา
158. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
159. ภมรี สุรเกียรติ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
160. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยมหิดล
161. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน/นักแปล
162. ภัทรนันท์ ทักขนนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   
163. ภัทรมน กาเหย็ม มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต 
164. มนฐิตา เฉื่อยทอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
165. มนตรา พงษ์นิล 
166. มรกตวงศ์ ภูมิพลับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
167. มาตยา อิงคนารถ ข้าราชการบำนาญ
168. มานะ ขุนวีช่วย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
169. มิเชล ตัน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
170. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
171. เมธีพัชญ์ จงวโรทัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
172. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
173. ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
174. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
175. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์           
176. รชฏ นุเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
177. รชฏ สาตราวุธ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  
178. รพีพรรณ เจริญวงศ์ ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
179. รามิล กาญจันดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
180. รัฐพงศ์ ภิญโญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
181. รัตนา โตสกุล
182. ลลิดา ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
183. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
184. วรยุทธ ศรีวรกุล 
185. วโรดม ตู้จินดา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
186. วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
187. วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
188. วัณณสาส์น นุ่นสุข มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
189. วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
190. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
191. วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระ
192. วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ 
193. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
194. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
195. วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
196. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
197. วีรชัย พุทธวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
198. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
199. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
200. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
201. ศราวุฒิ ปทุมราช 
202. ศรันย์ สมันตรัฐ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
203. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
204. ศาสตรินทร์ ตันสุน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
205. ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
206. ศักรินทร์ ณ น่าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
207. ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
208. ศิวนนท์ ไชยช่อฟ้า นักวิชาการอิสระ 
209. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล  
210. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 
211. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  
212. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   
213. โศภิต ชีวะพานิชย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
214. สมนึก จงมีวศิน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
215. สมฤทธิ์ ลือชัย
216. สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
217. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
218. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  
219. สมัคร์ กอเซ็ม ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
220. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
221. สายชล ปัญญชิต 
222. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
223. สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
224. สาวิตร ประเสริฐพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
225. สันติชัย ปรีชาบุญฤทธิ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
226. สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ นักวิชาการอิสระ
227. สิรีธร ถาวรวงศา นักศึกษาปริญญาเอก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
228. สิทธารถ ศรีโคตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
229. สิทธิพร บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
230. สิทธิพร ศรีผ่อง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
231. สุเจน กรรพฤทธิ์
232. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
233. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
234. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
235. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ
236. สุภัทรา ณ วรรณพิณ อดีตอาจารย์และอาจารย์พิเศษ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
237. สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน
238. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
239. สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
240. สุวิมล รุ่งเจริญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
241. เสกสรรค์ ทานะ นักวิชาการอิสระ 
242. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์  
243. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
244. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
245. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
246. อดิศร ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
247. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
248. อรอนงค์ ทิพย์พิมล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
249. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
250. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
251. อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ 
252. อภิชญา โออินทร์ นักศึกษา London School of Economics and Political Science 
253. อภิญญา เวชยชัย
254. อรุณี สัณฐิติวณิชย์
255. อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 
256. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์  
257. อนุสรณ์ ติปยานนท์ ภาควิชาสื่อศิลปะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
258. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
259. อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
260. อนิวรรณ อุปมัย
261. อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
262. อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
263. อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
264. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
265. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
266. อานันท์ กาญจนพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
267. อาทิตย์ ศรีจันทร์ 
268. อังกูร หงส์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
269. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
270. อัมพร จิรัฐติกร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
271. อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
272. อิทธิพล จึงวัฒนาวงค์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
273. อิสระ ชูศรี มหาวิทยาลัยมหิดล 
274. อิสราภรณ์ พิศสะอาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
275. อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
276. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล  
277. อุเชนทร์ เชียงเสน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
278. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระ
279. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธ์นันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
280. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
281. เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 
282. Aim Sinpeng, Department of Political Science, University of Sydney 
283. Alessio Fratticcioli, PhD student, Monash University  
284. Andrew Alan John, Yale-NUS College 
285. Andrew MacGregor Marshall, Edinburgh Napier University
286. Andrew Walker, The Australian National University 
287. Anne M. Blackburn, Department of Asian Studies, Cornell University 
288. Art Mitchells-Urwin, PhD candidate, SOAS, University of London 
289. Bridget Welsh, Ipek University
290. Carlo Bonura, Department of Politics and International Studies, SOAS, University of London 
291. Charles Keyes, Professor Emeritus, University of Washington
292. Chris Baker, independent scholar 
293. Craig J. Reynolds, The Australian National University     
294. Daungyewa Utarasint, PhD candidate, The Australian National University 
295. David Brown
296. Donald A. Johnson, Webster University of Thailand 
297. Duncan McCargo, University of Leeds, United Kingdom
298. Eric White, visiting fellow, Southeast Asia Program, Cornell University 
299. Erin Niehoff, Hatfield resident fellow, Portland State University and the University of Minnesota    
300. Hjorleifur Jonsson, School of Human Evolution and Social Change, Arizona State University
301. Ingrid Wijeyewardene, University of New England 
302. Janina Straif, MA student at RCSD
303. John Hartmann, Professor Emeritus, Northern Illinois University   
304. Jon Fernquest, Learning Section of Online Bangkok Post
305. James Giggacher, The Australian National University
306. Kalpalata Dutta, PhD candidate, Institute of Human Rights and Peace, Mahidol University
307. Kanishka Jayasuriya, Department of Politics and International Studies, The University of Adelaide 
308. Keith D. Barney, College of Asia and the Pacific, The Australian National University  
309. Kevin Hewison, Asia Research Center, Murdoch University, Australia 
310. Kullada Kesboonchoo Mead, former professor at Faculty of Political Science, Chulalongkorn University 
311. Lia Genovese, independent scholar 
312. Marja Schilstra, Rijks Universiteit Groningen, the Netherlands
313. Marlo Belschner, Monmouth College 
314. Marta Monti, academic researcher, The University of Minnesota 
315. Mary Beth Mills, Colby College, USA
316. Michael Connors, The University of Nottingham (Malaysia Campus)
317. Michael Montesano, ISEAS-Yosof Ishak Institute, National University of Singapore
318. Nancy Eberhardt, Department of Anthropology and Sociology, Knox College, USA
319. Nanchanok Wongsamuth, Bangkok Post 
320. Nerida M Cook, retired lecturer in sociology
321. Nicholas Farrelly, fellow, the Australian National University
322. Oscar Salemink, Faculty of Social Sciences, University of Copenhagen 
323. Pavin Chachavalpongpun, Kyoto University 
324. Peter J. Bolan, Department of English, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University
325. Peter Vandergeest, York University  
326. Ployjai Pintobtang 
327. Praphakorm Lippert
328. Pruksapan Bantawtook, Ubon Ratchathani University 
329. Ram Prasansak, Ubon Ratchathani University
330. Robert Dayley, Department of Political Economy, The College of Idaho
331. Ryan Wolfson-Ford, Western Connecticut State University 
332. Snea Thinsan Thai Alliance for Human Rights
333. Sorawit Siangjaeo, student, The Humphrey School of Public Affairs, University of Minnesota 
334. Sustarum Thammaboosadee, College of Interdisciplinary, Thammasat University
335. Tim Rackett, HELP University Kuala Lumpur   
336. Thomas Hoy, Department of English, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University
337. Tyrell Haberkorn, The Australian National University 
338. Verapat Pariyawong, visiting scholar, SOAS, University of London   
339. Vikash Yadav, Hobart & William Smith Colleges 
340. Wolfram Schaffer, Department of Development Studies, University of Vienna
341. Zachary Abuza, National War College (USA)