PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อย่าถามเรื่องราชภักดิ์อีก

อย่าถามเรื่องราชภักดิ์อีก.....

นายกฯบิ๊กตู่ ลั่นเรื่องทุจริต ให้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามกระบวนการ พิสูจน์ทราบ ยก ตัวอย่าง นายสิบทหารบก ทำผิด ผู้บังคับบัญชาตามสายบังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ตนเองมารับผิดชอบ วอนอย่าถามเรื่องราชภักดิ์อีก ติง สิทธิ เสรีภาพ พลเมือง แนะ กรธ.เน้น “หน้าที่พลเมือง” รู้จักเคารพกฎหมาย อย่าตีรวน ให้ทุกอย่างล้ม ส่ง “สุวพันธุ์” หารือร่วม 

ทีทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า วันนั้นตนมีโอกาสดุในโทรทัศน์ไม่ว่าจะคณะโฆษกใดๆก็ตาม แถลงเรื่องรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องพูดถึง “พลเมือง” “ประชาชน” ต้องเป็นเจ้าของต่างๆและต้องมีสิทธิเสรีภาพ ซึ่งตนคิดว่ามันหายไปหนึ่งคำคือคำว่า “หน้าที่” หน้าที่พลเมือง สำคัญ ไม่อย่างนั้นจะเรียนหนังสือวิชาหน้าที่พลเมืองมาทำไม ตกลงพลเมืองไม่ต้องมีหน้าที่หรือ จะมีแต่สิทธิเสรีภาพหรือ 

หน้าที่ที่สำคัญที่สุดคือการเคารพกฎหมาย แล้วมันก็จะไม่ยุ่งเหยิงไม่วุ่นวาย รู้ขั้นตอนการบริหารราชการบ้าง ว่าแต่ละเรื่องเป็นอย่างไร ไม่ใช่ตีรวนทุกเรื่องก็ไม่ได้ ต้องดูความตั้งใจดูเจตนารมณ์ แล้วมาเสนอแนวคิดต่างๆ ว่าจะเป็นแบบนี้ เพิ่มตรงนี้ อย่างไร ไม่ใช่ล้มมันทุกเรื่อง ไม่ได้ ใครทุจริตไปว่ามา ไปร้องทุกข์กล่าวโทษมา
 “อย่างนายกฯเอง ผมถือว่าผมลงละเอียดมาก มากเยอะ มากเกินที่จะเป็นนายกฯ โน้นผมลงไปถึงข้างล่างถึงคนทำแล้ว แต่มันก็ไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ มันอยู่ที่กระบวนการข้างล่างไปกำกับดูแล ขับเคลื่อนเร่งรัดกันอย่างไร นี่แหละ ทหารที่จะต่างกัน เพราะทหารมีวินัย มีการปกครอง บังคับบัญชาที่ชัดเจน

 สมมติเมื่อนักการเมืองเข้ามา วันนี้รัฐมนตรีก็เหมือนนักการเมือง ที่ลงไปทำงานคนเดียวแต่ทำงานกับคนข้าราชการทั้งกระทรวง เยอะแยะไปหมด ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานจึงอาจจะช้าไปสักหน่อย ผมต้องกวดขันลงไป ใช้การสั่งการว่าต้องเสร็จ เมื่อนั่น เมื่อนี่ ต้องทำให้ได้ ไปหารือในแนวคิดใหม่ให้ได้ ต้องคิดใหม่”

นายกฯ กล่าวอีกว่า การจะเป็นผู้นำหรือการจะทำอะไรต่างๆต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้นำทางความคิด ส่วนจะผิดหรือถูกต้องไปไตร่ตรองกันมา บางครั้งอาจจะคิดผิดก็ได้ วันนี้ตนริเริ่มให้ งบประมาณ กฎหมาย ให้กฤษฎีกาไปดูมา ไม่ใช่อยู่ดีๆตนสั่งโครมๆแล้วไปทำมาเลยไม่ได้ ที่มาของโครงการต้องผ่านกฤษฎีกา ว่าถูกต้องตามกฎหมายงบประมาณ ให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปดูว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ ถ้าไม่ตรงเข้าครม.ไม่ได้ ต้องผ่านครม.เห็นชอบ และเรื่องใดที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงต้องให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยเช่นกัน และต้องไปดูว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดขึ้น ดุว่าอนาคตการบริหารราชการแผ่นดินจะเป็นอย่างไร
“ผมว่าอย่าไปยุ่งนักเลยเรื่องที่มา เรื่องการลงโทษว่ากันไปตามกฎหมาย  อย่าให้ผิดเพี้ยนไปจากสากลมากนักเท่านั้น 

แต่ที่สำคัญคือต้นตอของปัญหา ใครจะทำอย่างไร คือเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ การแต่งตั้งคน กระบวนการลงโทษที่เป็นขั้นตอน สร้างความเป็นธรรม ไม่อย่างนั้นจะตีกันอยู่อย่างนี้ เพราะคนไม่เข้าใจว่าแต่ละส่วนเขาทำงานกันอย่างไร บางคนไปโทษองค์กรอิสระบ้าง บางคนไปโทษศาล โทษกระบวนการยุติธรรม บางคนโทษรัฐบาล บางคนโทษทหาร สรุปว่าไม่มีใครดีเลย ต้องไปสร้างความเข้มแข็งให้ได้ สร้างบูรณาการให้ได้งบประมาณทุกปีจะทำอย่างไร การใช้จ่ายงบประมาณ การนำเข้าครม. ต้องทำอย่างไร อาจจะต้องมีกฎกระทรวง หรือมีอะไรออกมา เพื่อปกป้องข้าราชการด้วย ไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่กล้าทำหมด เพราะอยู่ภายใต้อำนาจการบริหาร ถ้าเราได้คนดีมีธรรมาภิบาลก็โอเค แต่ถ้าไม่ได้มาจะทำอย่างไร 

"ไม่มีใครดี 100 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญอย่าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น อย่าทำให้งบประมาณเสียหาย หรือนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ต้องไปพิสูจน์ทราบกันมา กฎหมายก็มีแค่นั้น ความรับผิดชอบก็มีชัดเจนอยู่แล้วว่าระดับไหน ต้องรับผิดชอบกันอย่างไร เพราะถ้าย้อนกลับไปกลับมาว่า ผิดตรงนี้ เพราะคนนี้ตั้งมา มันยาวมันจะมีตั้งขั้น 

ผมเป็นทหารบก ถ้านายสิบสักคนไปทำผมก็คงไม่เกี่ยว ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ เพราะเขาปกครองสายบังคับบัญชาเป็นแบบนั้น แต่การเมืองอีกแบบ ผมก็เข้าใจ เดี๋ยวไปสอบมา อย่ามาถามผมอีกเรื่องนั้น พอได้แล้ว” นายกฯ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องหน้าที่พลเมืองจะสั่งการไปยัง กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ได้สั่งการไปแต่ให้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ทำหน้าที่เป็นวิปประสานงาน นำข้อหารือจากครม.ไปประสานงานร่วมกับกรธ.อีกทีหนึ่ง เราได้หารือกันแล้วในเรื่องดังกล่าวว่าควรจะมีเรื่องหน้าที่พลเมืองด้วย เพราะปัญหาหนึ่งคือปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาเรื่องความร่วมมือ ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ส่งผลให้ทำอะไรไม่ได้ จะทำทางทั้งทีติดอยู่ 3-4 ปี กว่าจะทำได้เพราะไม่ยอมกัน  บางทีก็ติดอยู่บ้านหลัวเดียว บางทีก็ติดบ้าน 20 หลัง แต่คนอีก 2,000คนไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน ตนยังไม่ไปฝืนเลย

น้องผมผมรักทั้งนั้น

นายกฯ โยนถาม ป.ป.ช.หลังตั้ง “วัชรพล” นั่งประธาน ถามใกล้ชิดใคร ทำไม เกิดตามกันมารึไง ครอบครัวเดียวกับพลเอกประวิตรหรือผม คนละนามสกุลอยู่แล้ว จะใกล้ชิดยังไง เขาเป็นข้าราชการ รู้จักทุกคน จะไปใกล้ชิดยังไง เทียบ ไก่อู-วีรชน ไม่ใช่ใกล้ชิดใคร มากกว่า แล้วรักคนนั้นมากกว่า ยันก็ต้องรักทุกคน ทุกคนทำเพื่อประเทศชาติ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงกรณีที่ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) คนใหม่ว่า ใครเลือก ป.ป.ช.เลือกก็ต้องไปถามป.ป.ช.
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ถูกมองว่าเป็นคนใกล้ชิด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง นายกฯ กล่าวว่า ใกล้ชิดใคร ทำไม เกิดตามกันมาหรือไง ครอบครัวเดียวกับท่านรองนายกฯ หรือผม คนละนามสกุลอยู่แล้ว จะใกล้ชิดยังไง เขาเป็นข้าราชการ รู้จักทุกคน จะไปใกล้ชิดยังไง 

"หรือผมใกล้ชิดกับ ไก่อู (พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) มากกว่า โหน่ง (พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) ก็ต้องรักทุกคน ทุกคนทำเพื่อประเทศชาติ ทำให้เขาเป็นอย่างนั้น อย่าให้เขาทะเลาะกัน ใครจะเป็นก็ทั้งหมดก็รักกัน มาทำให้ประเทศ 

“อย่าให้เกิดปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมขึ้นอีก และเรื่องความเป็นธรรมไม่เป็นธรรมอย่าไปฟังกระแสมากนัก เพราะบางคนด้วยความหวังดี ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยอารมณ์บริสุทธิ์ แต่บางคนไม่ใช่ พอตีกันไปตีกันมา กลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกแบบนั้น และมันก็แก้อะไรไม่ได้ แล้วก็ทะเลาะกันไปอยู่แบบนี้ไม่เลิก แก้ที่ผมพูดไม่ได้เลยสักอย่าง เพราะทะเลาะกันอยู่” พล.อประยุทธ์ กล่าว

ศาลฎีกากลับคำพิพากาษาสั่งจำคุกดีเจต้อยเผาศาลากลางอุบลตลอดชีวิต



15 ธ.ค.2558 ศาลจังหวัดอุบลราชธานีอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลฯ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 วัฒนา จันทศิลป์ ทนายความของ 13 จำเลยในคดีนี้เปิดเผยข้อมูลว่า ศาลฎีกากลับคำพิพากษาในส่วนของจำเลยหลายคน บางคนจากที่เคยยกฟ้องในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็กลับถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตในชั้นศาลฏีกา หลายรายได้รับโทษจำคุก 1-2 ปีก่อนหน้านี้ก็ถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต แต่ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลย 4 รายเดิมที่ถูกคุมขังมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2553 ด้วยโทษ 33 ปี 12 เดือนนั้นศาลฏีกาพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน
โดยเฉพาะ ดีเจต้อย พิเชษฐ์ ทาบุดา ดีเจและแกนนำกลุ่มชักธงรบ ซึ่งเป็นกลุ่มมวลชนขนาดใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี จากเดิมที่ถูกตัดสินจำคุก 1 ปีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นั้น ในชั้นศาลฎีกาถูกพิพากษาให้ได้รับโทษจำคุกหนักที่สุดในบรรดาจำเลยทั้งหมด 13 ราย คือ ประหารชีวิต แต่ได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต