PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โปรดเกล้าฯ พรฎ.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557

ในหลวงโปรดเกล้าฯ ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 30 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/059/2.PDF


//////
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

หน้า ๒
เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา
ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔
“คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัด” หมายความรวมถึงคณะกรรมการสรรหาประจํากรุงเทพมหานครด้วย “จังหวัด” หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย
มาตรา ๔ ให้มีคณะกรรมการสรรหาทําหน้าที่สรรหาบุคคลด้านต่างๆ เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
(๑) คณะกรรมการสรรหาด้านการเมือง หน้า ๓ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
(๒) คณะกรรมการสรรหาด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
(๓) คณะกรรมการสรรหาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
(๔) คณะกรรมการสรรหาด้านการปกครองท้องถิ่น
(๕) คณะกรรมการสรรหาด้านการศึกษา
(๖) คณะกรรมการสรรหาด้านเศรษฐกิจ
(๗) คณะกรรมการสรรหาด้านพลังงาน
(๘) คณะกรรมการสรรหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๙) คณะกรรมการสรรหาด้านสื่อสารมวลชน
(๑๐) คณะกรรมการสรรหาด้านสังคม
(๑๑) คณะกรรมการสรรหาด้านอื่น ๆ
(๑๒) คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคณะ
มาตรา ๕ ให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑) แต่ละคณะ ประกอบด้วยกรรมการสรรหาจํานวนเจ็ดคนซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับในด้านที่ได้รับการแต่งตั้ง ทําหน้าที่สรรหาบุคคลเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติบุคคลใดจะเป็นกรรมการสรรหาเกินหนึ่งคณะมิได้

ให้กรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งประชุมเพื่อเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา
ให้ประธานกรรมการสรรหาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา

ให้นําความในวรรคห้าและวรรคแปดของมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๖ ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดแต่ละจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตําบลในระดับจังหวัดของจังหวัดนั้นครั้งล่าสุด และประธานกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด เป็นกรรมการสรรหา ในจังหวัดใดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดด้วย

ให้กรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดเลือกกันเองเพื่อให้ได้คนหนึ่งเป็นกรรมการสรรหาแทนประธานกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในจังหวัดใดมีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหลายคน ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งมีอาวุโสสูงสุดเป็นกรรมการสรรหา

ให้คณะกรรมการสรรหาประจํากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กร
ชุมชนเขตในระดับจังหวัดของกรุงเทพมหานครครั้งล่าสุด และประธานกรรมการการเลือกตั้งประจํา
กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการสรรหา หน้า ๔ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ กรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่จะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นทําการแทนมิได้
ผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่ให้หมายความรวมถึงผู้รักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่ง
ดังกล่าวด้วย

ให้กรรมการสรรหาประจําจังหวัดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสี่เลือกกรรมการสรรหาประจําจังหวัด
คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหาประจําจังหวัดของคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดนั้น
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาประจําจังหวัดในตําแหน่งใด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่า
ด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดประกอบด้วยกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเท่าที่มีอยู่
จนกว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรให้เป็นกรรมการสรรหาประจํา
จังหวัดแทน

ให้ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัด

มาตรา ๗ วิธีการประชุมและการลงมติของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามที่ที่ประชุม
คณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะกําหนด

มาตรา ๘ ให้สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งรับผิดชอบงานเลขานุการและงานธุรการ
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดําเนินการสรรหาและของคณะกรรมการสรรหา เพื่อการนี้ให้สํานักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ต้อง
ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้

ให้กรรมการสรรหาได้รับค่าตอบแทนการประชุมครั้งละสองพันบาท และให้กรรมการสรรหา
ซึ่งเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนได้รับค่าพาหนะเหมาจ่ายอีกคนละสามพันบาท

มาตรา ๙ ให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑) สรรหาบุคคลซึ่งสมควร
ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติคณะละไม่เกินห้าสิบคน แต่ต้อง
ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรายชื่อที่ได้รับมาตามมาตรา ๑๐ ในด้านนั้น ๆ

ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดตามมาตรา ๔ (๑๒) สรรหาบุคคลที่สมควรได้รับ
การเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบุคคลซึ่งมีภูมิลําเนาในจังหวัดนั้น จังหวัดละห้าคน

การสรรหาตามมาตรานี้ ให้คํานึงถึงบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านต่าง ๆ จากภาครัฐ  ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคอื่น ความเท่าเทียมกันทางเพศ และการให้โอกาสแก่
ผู้ด้อยโอกาส

มาตรา ๑๐ ในการสรรหาตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาบุคคล
จากชื่อที่เสนอโดยนิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากําไรมาแบ่งปันกันที่อยู่ในภาคต่าง ๆ
ตามมาตรา ๙ วรรคสาม โดยแต่ละนิติบุคคลเสนอได้ไม่เกินสองชื่อหน้า ๕ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ให้นิติบุคคลที่ประสงค์จะเสนอชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่ง เสนอชื่อต่อหน่วยงานที่สํานักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด ภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑)

มาตรา ๑๑ ในการเสนอชื่อบุคคลของนิติบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ส่วนราชการ ให้เสนอชื่อตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม แล้วแต่กรณี
(๒) รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน ให้เสนอชื่อตามมติของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
หรือองค์การมหาชน
(๓) หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้เสนอชื่อตามมติ
ของคณะกรรมการดังกล่าว ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้หัวหน้า
หน่วยงานเป็นผู้เสนอชื่อ
(๔) นิติบุคคลที่มีลักษณะเป็นสมาคม มูลนิธิ หรือสภา ให้เสนอชื่อตามมติของคณะกรรมการ
สมาคมหรือมูลนิธิ หรือคณะกรรมการของสภา
(๕) นิติบุคคลอื่นที่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้เสนอชื่อตามมติ
ของคณะกรรมการของนิติบุคคลนั้น
(๖) สถาบันการศึกษา ให้เสนอชื่อตามมติของสภาหรือคณะกรรมการสถาบัน
(๗) นิติบุคคลใดไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้ผู้มีอํานาจทําการแทน
นิติบุคคลนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ
มาตรา ๑๒ ให้นิติบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง เสนอชื่อตามแบบที่สํานักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด และต้องแนบเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) สําเนาทะเบียนบ้าน และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือสําเนาบัตรประจําตัวอื่น
ของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้
(๒) เอกสารที่บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อแสดงความประสงค์ว่าจะเข้ารับการสรรหาในด้านใด
ด้านหนึ่งตามมาตรา ๔
(๓) หนังสือยินยอมให้เสนอชื่อ ทั้งนี้ บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อจะทําหนังสือยินยอมให้มี
การเสนอชื่อเกินหนึ่งฉบับมิได้
(๔) คํารับรองของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่
รัฐธรรมนูญกําหนด
เอกสารและหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อลงลายมือชื่อเพื่อรับรอง
ความถูกต้องด้วยหน้า ๖
เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
แบบการเสนอชื่อที่สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมี
รายการที่กําหนดให้ผู้เสนอต้องระบุถึงความรู้ความสามารถอันเป็นที่ประจักษ์ของบุคคลซึ่งได้รับ
การเสนอชื่อด้วย
มาตรา ๑๓ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการ
การเลือกตั้งมอบหมาย ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ รวมทั้ง
ตรวจสอบว่าการเสนอชื่อเป็นไปโดยชอบด้วยพระราชกฤษฎีกานี้หรือไม่ แล้วส่งให้คณะกรรมการสรรหา
ภายในสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง เพื่อดําเนินการต่อไป
มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการสรรหาเสนอบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการคัดเลือก
ให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามจํานวนที่กําหนดในมาตรา ๙ ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ภายในสิบวันนับแต่วันที่พ้นระยะเวลาตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๑๕ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้รับบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับ
การคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจาก
บัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
(๒) พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชี
รายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑) เสนอ ตามจํานวนที่เห็นสมควร
แต่เม่อรวมก ื ับจํานวนตาม (๑) แล้ว ต้องไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน
ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินํารายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง
ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๑๔ เพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
เมื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว ให้ประกาศรายชื่อนั้นในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือมีเหตุ
อันสมควรที่จะแต่งตั้งเพิ่ม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะดําเนินการเพื่อให้มีการแต่งตั้งบุคคลจาก
บัญชีรายชื่อตามมาตรา ๑๔ เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแทนตําแหน่งที่ว่างนั้นหรือเพิ่มขึ้นก็ได้
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเสนอชื่อหรือการสรรหา หรือมีปัญหาอื่นใดเกี่ยวกับ
การดําเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติวินิจฉัย และเมื่อได้
ดําเนินการตามคําวินิจฉัยของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วย
พระราชกฤษฎีกานี้และกฎหมาย
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อให้การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจประกาศเปลี่ยนแปลงระยะเวลา กําหนดให้ดําเนินการหรืองดเว้นหน้า ๗
เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
การดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามที่กําหนดไว้ใน
พระราชกฤษฎีกานี้ได้
มาตรา ๑๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

หน้า ๘ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ บัญญัติว่า องค์ประกอบและจํานวน

กรรมการในคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ วิธีการสรรหา กําหนดเวลาในการสรรหา จํานวนบุคคลที่จะต้องสรรหา และการอื่นที่จําเป็น ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

โปรดเกล้าฯ 200 สนช.แล้ว ทหารพรึ่บ ตามคาด ห้าเสือ แม่ทัพ นายกอง อดีต ผบ.เหล่าทัพ

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ 200 สนช.แล้ว ทหารพรึ่บ ตามคาด ห้าเสือ แม่ทัพ นายกอง อดีต ผบ.เหล่าทัพ พร้อมโปรดเกล้าฯตราพระราชกฤษฏีกา เรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 7สค. 
2557

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จำนวน 200 คน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พร้อมโปรดเกล้าฯตราพระราชกฤษฏีกา เรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 7สค. 2557

ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ที่ได้รับการแต่งตั้ง ทั้ง 200 คน มีบุคคล ที่มีชื่อเสียง และมีบทบาททางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา อาทิ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก, นายกล้าณรงค์ จันทิก,นาย
สมชาย แสวงการ, นายณรงค์ชัย อัครเสนณี,พล.ท.ปรีชา จันทร์ โอชาน้องชายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  มีทั้งนายทหารตั้งแต่ละดับห้าเสือ ทบ. แม่ทัพ  และอดีตผบ.เหล่าทัพ และอดีตนายทหาร มากถึง 105 นาย ตำรวจ  11 นาย ที่เหลือเป็น อดีตรัฐมนตรี อดีตผู้บริหารระดับสูง อดีต สว. สรรหา กลุ่ม ๔๐ สว.  บุคคลในภาคธุรกิจ และองค์กรอิสระที่มีชื่อเสียงหลายท่านเข้าร่วมด้วย.

/////
ประกาศ
แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังต่อไปนี้

๑. นายกรรณภว์ ธนพรรคภวิน ๒. พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช ๓. พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์ ๔. นายกล้านรงค์ จันทิก๕. นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร ๖. พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์ ๗.นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ๘. พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ ๙. นายกิตติ วะสีนนท์ ๑๐. พลโท กิตติ อินทสร ๑๑. นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย ๑๒. พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ๑๓. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ๑๔. พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา ๑๕. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ๑๖. พลเอก คณิต สาพิทักษ์ ๑๗. พลอากาศโท จอม รุ่งสว่าง ๑๘. พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ๑๙. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ๒๐. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ ๒๑. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ ๒๒. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ ๒๓. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต ๒๔. นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ๒๕. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ๒๖. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ๒๗. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท ๒๘. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ๒๙. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล ๓๐. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ ๓๑. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ ๓๒. นายชัชวาล อภิบาลศรี ๓๓. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข ๓๔. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร ๓๕. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง ๓๖. นายชาญวิทย์ วสยางกูร ๓๗. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ ๓๘. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ๓๙. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ ๔๐. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน ๔๑. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๔๒. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ๔๓. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ๔๔. นายดิสทัต โหตระกิตย์

๔๕. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ๔๖. นายตวง อันทะไชย๔๗. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน ๔๘. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์ ๔๙. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ๕๐. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชค
คณาพิทักษ์๑๙. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ๒๐. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ ๒๑. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ ๒๒. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ ๒๓. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต ๒๔. นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ๒๕. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ๒๖. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ๒๗. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท ๒๘. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ๒๙. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล ๓๐. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ ๓๑. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ ๓๒. นายชัชวาล อภิบาลศรี ๓๓. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข ๓๔. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร ๓๕. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง ๓๖. นายชาญวิทย์ วสยางกูร ๓๗. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ ๓๘. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ๓๙. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ ๔๐. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน ๔๑. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๔๒. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ๔๓. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ๔๔. นายดิสทัต โหตระกิตย์๔๕. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ๔๖. นายตวง อันทะไชย

๔๗. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน ๔๘. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์ ๔๙. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ๕๐. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ ๕๑. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ๕๒. พลเอก ทวีป เนตรนิยม ๕๓. พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ ๕๔. นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ๕๕. พลอากาศเอก ธงชัย แฉล้มเขตร ๕๖. พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ ๕๗. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร ๕๘. นายธานี อ่อนละเอียด๕๙. พลโท ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ๖๐. นายธํารง ทัศนาญชลี ๖๑. พลโท ธีรชัย นาควานิช ๖๒. พลเอก ธีระวัฒน์ บุญยะประดับ ๖๓. พลเอก ธีรเดช มีเพียร ๖๔. พลเอก นพดล อินทปัญญา ๖๕. พลเรือเอก นพดล โชคระดา ๖๖. นายนรนิติ เศรษฐบุตร ๖๗. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ๖๘. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๖๙. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ๗๐. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ ๗๑.พลโท นิวัติ ศรีเพ็ญ ๗๒. นางนิสดารก์ เวชยานนท์ ๗๓. นายนิเวศน์ นันทจิต ๗๔. นายบุญชัย โชควัฒนา ๗๕. นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ๗๖. พลอากาศเอก บุญยฤทธิ์ เกิดสุข ๗๗. พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ๗๘. พลตํารวจโท บุญเรือง ผลพานิชย์ ๗๙. นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ ๘๐. นายประมุท สูตะบุตร ๘๑. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ๘๒. พลโท ปรีชา จันทร์โอชา

๘๓. นายปรีชา วัชราภัย ๘๔. พันตํารวจโท พงษ์ชัย วราชิต ๘๕. ร้อยตํารวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ๘๖. นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ๘๗. พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ๘๘. คุณพรทิพย์ จาละ๘๙. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ๙๐. นายพรศักดิ์ เจียรณัย ๙๑. พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม ๙๒. พลเรือเอก พิจารณ์ ธีรเนตร ๙๓. พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์ ๙๔. พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง ๙๕. พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร ๙๖. นายพีระศักดิ์ พอจิต ๙๗. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ๙๘. พลอากาศเอก เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์ ๙๙. พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ ๑๐๐. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร ๑๐๑. พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง ๑๐๒. พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย ๑๐๓. นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง ๑๐๔. นายภาณุ อุทัยรัตน์ ๑๐๕. พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์ ๑๐๖. นายภิรมย์ กมลรัตนกุล

๑๐๗. นายมณเฑียร บุญตัน ๑๐๘. นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ๑๐๙. นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ๑๑๐. พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์ ๑๑๑. พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ๑๑๒. นายยุทธนา ทัพเจริญ ๑๑๓. พลเรือเอก ยุทธนา ฟักผลงาม ๑๑๔. พลเอก ยุวนัฏ สุริยกุล ณ อยุธยา ๑๑๕. นายรัชตะ รัชตะนาวิน ๑๑๖. พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ ๑๑๗. พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ๑๑๘. พลโท วลิต โรจนภักดี ๑๑๙. พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ๑๒๐. นายวันชัย ศารทูลทัต

๑๒๑. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๑๒๒. พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล ๑๒๓. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๑๒๔. พลเอก วิชิต ศรีประเสริฐ ๑๒๕. นายวิทยา ฉายสุวรรณ ๑๒๖. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
๑๒๗. พลตํารวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ ๑๒๘. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ๑๒๙. พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน ๑๓๐. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ๑๓๑. พลโท วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ๑๓๒. นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ ๑๓๓. นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ๑๓๔. นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร ๑๓๕. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย ๑๓๖. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ๑๓๗. นายศิระชัย โชติรัตน์ ๑๓๘. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ๑๓๙.นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ๑๔๐. พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ๑๔๑. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ๑๔๒. พลโท ศุภกร สงวนชาติศรไกร ๑๔๓. พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ๑๔๔. พลเอก สกล ชื่นตระกูล ๑๔๕. นายสถิตย์ สวินทร ๑๔๖. พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา

๑๔๗. นายสนิท อักษรแก้ว ๑๔๘. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ๑๔๙. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ๑๕๐. นายสมชาย แสวงการ ๑๕๑. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ๑๕๒. นายสมพร เทพสิทธา ๑๕๓. นายสมพล
เกียรติไพบูลย์ ๑๕๔. นายสมพล พันธุ์มณี ๑๕๕. พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ๑๕๖. นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ๑๕๗. พลเอก สมหมาย เกาฏีระ ๑๕๘. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม ๑๕๙. พลตรี สมโภชน์ วังแก้ว ๑๖๐. นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ๑๖๑. พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ ๑๖๒. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ๑๖๓. นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล ๑๖๔. นายสีมา สีมานันท์ ๑๖๕. พลโท สุชาติ หนองบัว ๑๖๖. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ ๑๖๗. นายสุธรรม พันธุศักดิ์ ๑๖๘. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ๑๖๙. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ๑๗๐. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ๑๗๑. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ๑๗๒. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ๑๗๓. พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์ ๑๗๔. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ๑๗๕. นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ๑๗๖. พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล ๑๗๗.นางสุวิมล ภูมิสิงหราช ๑๗๘. นางเสาวณี สุวรรณชีพ

๑๗๙. พลเอก โสภณ ศีลพิพัฒน์ ๑๘๐. พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ๑๘๑. พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ ๑๘๒. พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ ๑๘๓. พลโท อดุลยเดช อินทะพงษ์ ๑๘๔. พลโท อนันตพร
กาญจนรัตน์ ๑๘๕. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ๑๘๖. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ๑๘๗. พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง ๑๘๘. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช ๑๘๙. พลเอก อักษรา เกิดผล ๑๙๐. พลอากาศ
เอก อาคม กาญจนหิรัญ ๑๙๑. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ๑๙๒. พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ ๑๙๓. นายอาศิส พิทักษ์คุมพล ๑๙๔. นายอําพน กิตติอําพน ๑๙๕. พลโท อําพล ชูประทุม ๑๙๖. พล
ตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๑๙๗. พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ๑๙๘. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ๑๙๙. พลเอก อู้ด เบื้องบน ๒๐๐. พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ทหาร พล.ม. 2 รอ. แจ้งความ "เสธ.เจมส์" และพวก ฐานกรรโชกทรัพย์

ทหาร พล.ม. 2 รอ. แจ้งความ "เสธ.เจมส์" และพวก ฐานกรรโชกทรัพย์ / ขณะที่ผู้ค้าพัฒน์พงศ์ บุกร้อง 'หน.คสช.' ขอความเป็นธรรม ป้อง 'เสธ.เจมส์'

พล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (ผบ.กกล.รส.) กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) และกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ (ม.พัน.3 รอ.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว พล.ต.เจนณรงค์ เดชวรรณ หรือ “เสธ.เจมส์” ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม กับพวกรวม 5 คนที่ถูกร้องเรียนว่ามีส่วนพัวพันกับการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการย่านซอยพัฒน์พงศ์ เขตบางรัก ว่าแม้จะเป็นนายทหารระดับสูงแต่ถ้าพบว่าทำความผิดจริงก็ต้องดำเนินการไปตามกฎหมายและดำเนินการเอาผิดทางวินัย กองทัพจะไม่ปกป้อง เพราะถ้าคิดจะช่วยเหลือกันก็คงไม่เข้าจับกุม
ขณะที่ผู้ค้าย่านพัฒน์พงศ์ จำนวนหนึ่งเดินทางไปกองบัญชาการกองทัพบก เพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้กับเสธเจมส์ โดยระบุว่ากลุ่มมาเฟียเรียกเก็บเงินจากผู้ค้า จึงได้ไปร้องขอให้เสธเจมส์ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับถูกกลุ่มมาเฟียกลั่นแกล้งโดยแจ้ง คสช. ให้วางแผนจับกุม โดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
นอกจากนี้ยังอ้างว่าพวกตนได้ส่งเงินให้กับนายตำรวจ สน.บางรัก บางนาย โดยจะนำรายชื่อนายตำรวจไปมอบให้กับ คสช. ที่กองบัญชาการกองทัพบกด้วย

รวบ“หาสัน สะแต” หัวหน้ากลุ่ม RKK พัวพันบึ้มตลาดบ่อนไก่ โคกโพธิ์

กองกำลัง 5 ฝ่าย สนธิกำลัง จับกุม “นายหาสัน สะแต” อายุ 36 ปี หัวหน้ากลุ่ม RKK ผู้ต้องสงสัย ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุลอบวางระเบิดบริเวณตลาดบ่อนไก่ บ้านห้วยเปรียะ ม.3 ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อ 23 ก.ค.
นอกจากนี้ยังเคยก่อเหตุ โจมตีฐานปฏิบัติการหน่วยพัฒนาสันติที่ 42-1 ในพื้นที่บ้านเกาะแลหนัง ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 24 ส.ค.54 และ ผู้ต้องหาหมายจับตาม ป.วิอาญา คดีความผิดฐานก่อการร้าย
อย่างไรก็ตามจากการสอบปากคำผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า เป็นสมาชิกกลุ่มก่อเหตุรุนแรง รับผิดชอบเขตพื้นที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งการข่าวเจ้าหน้าที่สืบทราบว่าแนวร่วมก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่หนองจิกมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุคาร์บอมที่ เบตง ด้วย / ยอมรับว่าเป็นมือระเบิดตลาดบ่อนไก่ชน โคกโพธิ์ ปัตตานี
cr.manageronline