PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

คนยื่นยุบอนค.เคยพัวพันคดีสหกรณ์เครดิตคลองจั่น

เปิดโพรไฟล์ ‘ณฐพร โตประยูร’ คนยื่นยุบพรรคอนาคตใหม่ ล้มล้างการปกครองฯ ศาล รธน.รับคำร้องไว้วินิจฉัย ตกเป็น 1 ใน 14 ผู้ถูกกล่าวหาคดีฟอกเงินขายที่ดินของ ‘ศุภชัย ศรีศุภอักษร’ วงเงิน 477 ล้าน โดนสอบร่วม ‘ธาริต-สีหนาท’ ปี’60 นั่งเก้าอี้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายในบอร์ด ชพค. 

PIC nataponnnd 20 7 62 1 

ข่าวใหญ่เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2562 ที่ผ่านมา หนีไม่พ้นเรื่องในศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้อง 2 คดีสำคัญ ได้แก่ กรณีคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐอื่น และกรณีพรรคอนาคตใหม่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ (อ่านประกอบ : ศาล รธน.รับคำร้องไว้วินิจฉัย ปม'บิ๊กตู่'ขาดคุณสมบัติ-'ธนาธร-อนค.'ล้มล้างการปกครองฯ)

สำหรับกรณีของพรรคอนาคตใหม่นั้น เป็นข้อกล่าวหาร้ายแรงถึงขั้น ‘ยุบพรรค’ โดยปรากฎชื่อของ นายณฐพร โตประยูร เป็นผู้ยื่นคำร้องแก่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย 

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2562 ไทยโพสต์ออนไลน์ รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายณฐพร โตประยูร ถึงกรณีนี้ตอนหนึ่งว่า ตนไปยื่นร้องเรื่องนี้เงียบ ๆ ประเด็นที่ร้องมีหลายประเด็นทั้งพฤติกรรมการกระทำของหัวหน้าและแกนนำพรรคอนาคตใหม่ รวมถึงข้อบังคับพรรคอนาคตใหม่ ที่มีการเขียนในลักษณะไม่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยก่อนหน้านี้ได้ยื่นร้องต่ออัยการสูงสุด และทราบว่ามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบโดยเตรียมที่จะยื่นเรื่องมายังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการดำเนินการเรื่องดังกล่าวไม่ได้มีเบื้องหลังหรือไปรับงานใครมา รวมทั้งตนก็ไม่ได้ทำเพราะโกรธแค้นหรือมีปัญหาอะไรกับนายธนาธร นายปิยบุตรมาก่อนเพราะไม่เคยรู้จัก เพียงแต่เห็นว่าการกระทำของแกนนำและพรรคอนาคตใหม่ มีลักษณะเอาระบอบประชาธิปไตยมาอ้าง แต่แท้จริงแล้วมีเจตนาที่ไม่มีดีกับสถาบันเบื้องสูง

หลายคนอาจไม่ทราบ หรือไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนว่านายณฐพร โตประยูร คือใคร ?

นายณฐพร โตประยูร คืออดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และเป็น 1 ใน 14 ผู้ถูกกล่าวหาคดีฟอกเงิน กรณีการขายที่ดินนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์คลองจั่นฯ 477 ล้านบาท

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org เรียบเรียงข้อเท็จจริงให้ทราบ ดังนี้

ภายหลังมีการสอบสวนคดีทุจริตยักยอกเงินกว่าหมื่นล้านบาทภายในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จนมีการขยายผลไปถึงคดีฟอกเงิน มี 2 หน่วยงานเป็นผู้ตรวจสอบ ได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) หลังจากนั้นมีการทยอยนำทรัพย์สินที่ถูกยักยอกไปอยู่ในชื่อของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์คลองจั่นฯ กับพวก เพื่อขายทอดตลาดชดใช้เงินคืนแก่สหกรณ์คลองจั่นฯ

สำหรับกรณีการขายที่ดินของนายศุภชัย มูลค่ากว่า 477 ล้านบาท เกิดขึ้นในช่วงปี 2556 นายศุภชัย ได้ทำหนังสือถึงดีเอสไอขอให้รับรองการดำเนินงานของสหกรณ์คลองจั่นฯ ต่อมานายธาริต เพ็งดิษฐ์ (อธิบดีดีเอสไอ ขณะนั้น) ได้ลงนามรับรองความโปร่งใสในการบริหารงาน ต่อมานายกิตติก้อง คุณาจันทร์ ผอ.ศูนย์ปราบปรามการฟอกเงินความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ทำหนังสือถึงนายธาริต ขอให้อายัดทรัพย์สินของนายศุภชัย เป็นที่ดินใน จ.นครราชสีมา และ จ.ปทุมธานี ในคดียักยอกทรัพย์สินสหกรณ์ฯ และนายธาริตมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินดังกล่าว

ต่อมาช่วงเดือน ต.ค. 2556 คณะกรรมการธุรกรรม สำนักงาน ปปง. มีมติให้คุ้มครองผู้เสียหาย ในคดีที่นายศุภชัย กับพวก ยักยอกทรัพย์สินสหกรณ์คลองจั่น โดยคณะกรรมการธุรกรรม แนะนำให้เลขาธิการ ปปง. (ขณะนั้นคือ พ.ต.อ.สีหนาท) ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอ ดำเนินการคุ้มครองผู้เสียหาย และนัดประชุมแสดงความยินยอมขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินจากการขายให้แก่สหกรณ์คลองจั่น โดยปฏิบัติตามระเบียบ ปปง. ว่าด้วยการนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด พ.ศ.2544 โดยอนุโลม ซึ่งในการประชุมดังกล่าวมีตัวแทนของสำนักงาน ปปง. และดีเอสไอ เข้าร่วมด้วย โดยตัวแทนสำนักงาน ปปง. คือ นายนพดล อุเทน ส่วนตัวแทนฝ่ายดีเอสไอคือ นายทรงพล บัวรอด เป็นผู้ลงนาม

สำหรับทรัพย์สินที่นำมาขายทอดตลาดคือ ที่ดินจำนวน 1,838 ไร่ (ที่ก่อนหน้านี้ถูกดีเอสไออายัดไว้) มีนายศุภชัยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด ขายให้กับบริษัท พิษณุโลก เอทานอล จำกัด รวมเป็นเงิน 477,880,000 บาท สั่งจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค

จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า มีการสั่งจ่ายคืนสหกรณ์คลองจั่นแค่ 100 ล้านบาท แต่จ่ายคืนนายศุภชัยเป็นเงิน 249,784,489 บาท จากแคชเชียร์เช็คอย่างน้อย 6 ฉบับ ได้แก่ 

1.แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย กระทรวงการคลังผ่านสำนักงานการคลังจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 19,877,327 บาท

2.แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำนวน 100 ล้านบาท

3.แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นายธรรมนูญ โชติจุฬางกูร จำนวน 55,650,684 บาท

4.แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย น.ส.พัชรา สงวนไชยกฤษณ์ จำนวน 27,344,500 บาท

5.แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นายสุรินทร์ ศีลพิพัฒน์ จำนวน 25,223,000 บาท

6.แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นายศุภชัย ศรีศุภอักษร จำนวน 249,784,489 บาท

โดยในส่วนแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายคืนนายศุภชัยกว่า 249 ล้านบาทนั้น พบว่า มีการโอนแคชเชียร์เช็คให้กับนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (นายศรีราชา วงศารยางกูร) 60 ล้านบาท รวมถึงนิติบุคคลต่าง ๆ ในเครือข่ายนายศุภชัยอีกจำนวนหลายสิบล้านบาท ทั้งที่ไม่ปรากฏชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ?

นายณฐพร เคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราถึงกรณีนี้ว่า เงินที่โอนให้ 60 ล้านบาท เพื่อเป็นค่านายหน้าดำเนินการในการขายที่ดิน (บริษัท อินเตอร์อลาย แอนด์ กฎหมาย) แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า การทำสัญญาค่านายหน้าขายทิ่ดินดังกล่าว ทำขึ้นภายหลังมีการขายที่ดินไปแล้ว ?

ที่น่าสนใจคือ เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2557 ซึ่งเป็นวันที่บริษัท พิษณุโลก เอทานอลฯ สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คให้กับสหกรณ์คลองจั่นฯ นายศุภชัย และบุคคลต่าง ๆ รวมกว่า 477 ล้านบาทนั้น คือวันเดียวกับที่นายธาริต ทำหนังสือถึง เจ้าพนักงานที่ดิน จ.นครราชสีมา สาขาสีคิ้ว ให้ถอนการอายัดที่ดินดังกล่าว

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2557 พบว่า มีแคชเชียร์เช็คถูกโอนให้กับนายณฐพร และนิติบุคคล, สหกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายนายศุภชัย รวมวงเงินหลายสิบล้านบาท (อ่านประกอบ : ขมวดเงื่อนปมซับซ้อน! การขายที่ดิน‘ศุภชัย’ 477 ล.ชดใช้หนี้คดีคลองจั่นขมวดปมพิรุธค่านายหน้าขายที่‘ศุภชัย’ 60 ล.ก่อน‘กุนซือ’ปธ.ผู้ตรวจฯ ไขก๊อกย้อนคดีขายที่ดิน‘ศุภชัย’477 ล. ช่วง ‘สีหนาท’นั่งเลขาฯ ปปง.-ผอ.กองคดี1เซ็น?)

ภายหลังสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำเสนอซีรีย์ข่าวชิ้นนี้ นำไปสู่การสอบสวนอย่างเข้มข้นของดีเอสไอ และ ปปง. มีข้าราชการระดับสูงในดีเอสไอ และ ปปง. ถูกสอบสวน และถูกคำสั่งมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 โยกย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และมีข้าราชการในดีเอสไอถูกสอบสวนทางวินัย และลงโทษไล่ออกจากราชการไปแล้วอย่างน้อย 2 รายด้วย เนื่องจากพบว่ามีเส้นทางการเงินไหลไปถึงวงเงินหลายสิบล้านบาท

สำหรับรายชื่อผู้ถูกกล่าวหาอย่างเป็นทางการจากดีเอสไอในกรณีนี้มีทั้งหมด 14 ราย ได้แก่ 1.นายศุภชัย (ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่เรือนจำ) 2.นายณฐพร โตประยูร (อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน) 3. พันตรีหญิงนาฏยา มุตตามระ 4.พันโทอมร มุตตามระ 5.น.ส.อุมาดาห์ จำนงค์เขตต์ 6.นายรัฐสิทธิ์ โตประยูร (กรรมการบริษัท อินเตอร์อลายซ์ฯ ของนายณฐพร) 7.นายโชคอนันต์ ช้อยสุชาติ 8.นายสถาพร วัฒนาศิรินุกุล 9.บริษัท เอส ดับบลิว โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (นายสถาพรเป็นกรรมการ) 10.น.ส.พรพิมล คัทธมารถ 11.บริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีนายศุภชัยเป็นอดีตกรรมการ 12.นาย Kumar Latchman Sigh 13.นายสุลสิด ทะนะโสด 14.นางโบนาลิน ตระกูลทอง (อ่านประกอบ : เปิดตัว2ขรก.ดีเอสไอถูกแจ้งข้อหาคดีฟอกเงินขายที่ดินส.คลองจั่น 477ล.)

ขณะเดียวกัน กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง แบ่งเป็น ข้าราชการดีเอสไอ 4 ราย ได้แก่ นายธาริต นายกิตติก้อง พ.ท.อมร มุตตามระ และ พ.ต.หญิง นาฏยา มุตตามระ เจ้าหน้าที่ระดับสูงในสำนักงาน ปปง. 2 ราย ได้แก่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ อดีตเลขาธิการ ปปง. และนายนพดล อุเทน อดีต ผอ.กองคดี 3 สำนักงาน ปปง. โดยถูกกล่าวหาว่า มีส่วนร่วมกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่มีการติดตามดูแล ปล่อยให้ผู้ต้องหาดำเนินการทำธุรกรรมด้วยตนเอง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย (อ่านประกอบ : ก่อนคุก 1 ปี! ย้อนวิบากกรรม‘ธาริต’ ถูกฟันยื่นบัญชีเท็จ-สอบวินัยขายที่ดินคลองจั่นฯ)

ความเคลื่อนไหวของนายณฐพร โตประยูร ภายหลังตกเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาคดีฟอกเงินการขายที่ดินของนายศุภชัย ในชั้นการสอบสวนของดีเอสไอ ต่อมาในปี 2560 สำนักข่าวอิศราพบว่า นายณฐพร ปรากฏชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย ในคณะกรรมการบริหารกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคง ตามโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ด้วย 

ขณะที่นายณัฐพร เคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราเมื่อปี 2560 ว่า ในช่วงที่เข้ารับการคัดเลือกดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย บริหารเงินกองทุน ชพค. ยังไม่ได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาอย่างเป็นทางการจากดีเอสไอ แต่ช่วงนั้นได้เข้าไปให้ถ้อยคำในฐานะพยานเนื่องจากมีบุคคลมาร้องเรียนกล่าวหาเท่านั้น แต่เพิ่งมาเป็นผู้ถูกกล่าวหาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา ดังนั้นในช่วงเข้ารับการคัดเลือกจึงถือว่าไม่มีมลทิน และถือว่ายังเป็นแค่ผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ 

ต่อมาแหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยสำนักข่าวอิศราถึงกรณีนี้ว่า นายณฐพร เตรียมลาออกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายดังกล่าว (อ่านประกอบ : ‘ณฐพร’ยังไม่ไขก๊อกผู้ทรงฯเงินกู้ ช.พ.ค.! ก.ศึกษาฯบี้ถ้าดึงเรื่องชงบอร์ด สกสค.ปลด)

ปัจจุบันไม่มีข้อมูลว่า นายณฐพร ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย ในบอร์ด ชพค. แล้วหรือไม่ ขณะที่คดีฟอกเงินดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการสอบสวนของดีเอสไอ

# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/


คำแถลงนโยบายประยุทธ์

ท่านประธานฯ ที่เคารพ!!

อ่าน นโยบาย รัฐบาล “ประยุทธ์2” 12 ด้าน 12 เร่งด่วน ,..ที่จะแถลงต่อรัฐสภา 25 กค.2562 นี้  โดย”นายกฯบิ๊กตู่”

คําแถลงนโยบาย
ของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้กระผมดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ และแต่งตั้งรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กําหนดนโยบายการบริหารราชการ แผ่นดินที่ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมี ความสอดคล้องกับหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ และหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑-๒๕๘๐ เรียบร้อยแล้ว คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ทราบถึงแนวทางการบริหารราชการ แผ่นดินที่รัฐบาลจะดําเนินการ เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง สังคมไทยมีความสงบสุข สามัคคี และเอ้ืออาทร คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความพร้อม ท่ีจะดําเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งและมีความสามารถในการแข่งขัน สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
แม้ว่าประเทศไทยจะมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากขณะนี้ ปัจจัย ทั้งภายนอกและภายในประเทศเปลี่ยนไปมาก ประเทศไทยในขณะน้ีต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ท่ีมีความซับซ้อนสูงท้ังจากภายในและภายนอกประเทศ การเข้าบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ในคร้ังนี้ จึงเป็นการบริหารราชการแผ่นดินในช่วงที่สถานการณ์ต่าง ๆ มีความไม่แน่นอนในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะการค้าระหว่าง ประเทศที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปัจจัย ด้านการเปล่ียนแปลงของเทคโนโลยี และการเข้าสู่สังคมสูงวัย รวมทั้งปัจจัยด้านส่ิงแวดล้อมที่ประเทศไทย ต้องดําเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้มีข้อผูกพันไว้ในเวทีโลก
 ๑
ประเทศไทยในขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงระยะของการเปลี่ยนผ่านและต้องต่อสู้กับ ปัญหาใหม่ ๆ หลายประการ อาทิ จากการต่อสู้กับความยากจนในอดีต ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็น การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ําในหลากรูปแบบ เช่น ความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ํา ของโอกาส และความเหล่ือมล้ําของรายได้และทรัพย์สิน หรือแม้แต่การต่อสู้กับความไม่สงบ ภายในประเทศในอดีต มาสู่การต่อสู้กับภัยคุกคามที่ไม่มีแบบแผนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายยาเสพติดข้ามชาติ เครือข่ายการก่อการร้ายข้ามชาติ โรคระบาด และสงครามไซเบอร์ ประเด็นท้าทายข้างต้นเหล่าน้ีสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเส่ียงของการบริหารประเทศท่ีรัฐบาล จะต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น รัฐบาลนี้จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดัก ประเทศรายได้ปานกลาง มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง แก้ไขปัญหาปากท้องและสร้างรายได้ให้ ประชาชนให้เพียงพอต่อการดํารงชีวิตเพื่อลดความเหล่ือมล้ํา คนไทยในทุกช่วงวัยจะมีความพร้อม ทั้งในด้านหลักคิด คุณธรรม และจริยธรรม และมีศักยภาพที่จะดําเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เราจะ ร่วมกันสร้าง “การเติบโตเชิงคุณภาพ” ไม่ใช่ “การเติบโตเชิงปริมาณ” ทั้งนี้ การบริหารราชการ แผ่นดินของรัฐบาลนี้ จะมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ให้ทันการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างความเข้มแข็งและแก้ไขปัญหาท่ียังดํารงอยู่ของภาคส่วนต่าง ๆ ภายในประเทศ เพ่ือให้ ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันและมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอน จากปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีความเข้มแข็ง ในระยะยาว นอกจากน้ี จะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทมากข้ึนในประชาคมโลกและมีบทบาท นําในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในประชาคมโลกผ่านการพัฒนาบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเพื่อเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืน อันจะทําให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งค่ัง ยั่งยืน และเป็นประเทศท่ีพัฒนาแล้ว โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ โดยการบริหารราชการแผ่นดินในช่วง ๔ ปีของรัฐบาลจะยึดหลักการ สําคัญสี่ประการ ได้แก่
๑. น้อมนําพระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหลักในการบริหารประเทศ
๒. ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข
๓. พัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
๔. บูรณาการการทํางานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคี การพัฒนาต่าง ๆ ในลักษณะประชารัฐเพื่อพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และ ทําให้ประชาชนคนไทยมีความมั่นคง อยู่ดีมีสุข

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านวิสัยทัศน์และการขับเคลื่อนการพัฒนา ของผู้นําประเทศในอดีต และในวันนี้วิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาลชุดนี้ คือ “มุ่งมั่นให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในศตวรรษที่ ๒๑” โดยรัฐบาลได้กําหนด นโยบายในการบริหารราชการแผน่ดินดังนี้
นโยบายหลัก ๑๒ ด้าน
๑. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสําคัญยิ่งต่อประเทศและประชาชนชาวไทย รัฐบาลถือเป็นหน้าที่สําคัญที่จะเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์และปกป้องรักษาพระบรมเดชานุภาพ ด้วยความจงรักภักดี ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายดําเนินการ ดังนี้
๑.๑ สืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาและโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักสําคัญในการบําบัดทุกข์ และบํารุงสุขให้ประชาชน และพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้ง ส่งเสริมการเรียนรู้หลักการทรงงาน การนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการและการพัฒนา ประเทศ เพ่ือประโยชน์ในวงกว้าง รวมทั้งเผยแพร่ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปสู่เวทีโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างย่ังยืน
๑.๒ ต่อยอดการดําเนินการของหน่วยพระราชทานและประชาชน จิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ ให้เป็นแบบอย่างการบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน และพัฒนาความเป็นอยู่ ของประชาชน โดยระดมพลังความรัก ความสามัคคี ทั้งของหน่วยงานในพระองค์ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และชุมชน
๑.๓ สร้างความตระหนักรู้ เผยแพร่ และปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจ เพื่อประชาชน ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ เพื่อก่อให้เกิด การมีส่วนร่วมอย่างถูกต้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในบริบทของไทย

๒. การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ และความสงบสุข ของประเทศ
๒.๑ รักษาและป้องกันอธิปไตยและความมั่นคงภายในของประเทศ
ทั้งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ รวมทั้งป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามต่าง ๆ และภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ โดยมุ่งเน้นการสร้างอํานาจกําลังรบที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนให้เข้มแข็ง การพัฒนา ระบบเตรียมความพร้อมแห่งชาติ ระบบงานข่าวกรอง การจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทางสื่อออนไลน์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านความมั่นคง รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวมให้มีความพร้อมในการรักษาอธิปไตย ผลประโยชน์ของชาติ และร่วมพัฒนาประเทศ ในด้านต่าง ๆ
๒.๒ ปลูกจิตสํานึก เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีความเป็นชาติไทย การมี จิตสาธารณะและการมีส่วนร่วมทําประโยชน์ให้ประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ ความสามัคคีปรองดองและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกันของประชาชน โดยสถาบันการศึกษาสอดแทรกการปลูกฝังวินัยของคนในชาติ หลักคิดที่ถูกต้อง สร้างค่านิยม “ประเทศไทยสําคัญท่ีสุด” การเคารพกฎหมายและกติกาของสังคม ปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ
๒.๓ พัฒนาและเสริมสร้างการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีธรรมาภิบาล ความรักชาติ และความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นักการเมืองมีคุณภาพ เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าส่วนตน เพื่อให้การบริหาร ราชการแผ่นดินเอื้ออํานวยต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง
๒.๔ สร้างความสงบและความปลอดภัยตั้งแต่ระดับชุมชน
โดยกําหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง ดูแล และรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ความสงบสุขของประชาชน และปัญหายาเสพติดในระดับชุมชนและหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่
๒.๕ แก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังทั้งระบบ ด้วยการบังคับใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปราบปรามแหล่งผลิตและเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด โดยเฉพาะผู้มีอิทธิพล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ป้องกันเส้นทางการนําเข้าส่งออกโดยร่วมมือกับ ประเทศเพื่อนบ้าน การลดจํานวนผู้ค้าและผู้เสพรายใหม่ และให้ความรู้เยาวชนถึงภัยยาเสพติด อย่างต่อเนื่องรวมท้ังฟื้นฟูดูแลรักษาผ้เูสพผ่านกระบวนการทางสาธารณสุข

๓. การทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
รัฐบาลให้ความสําคัญกับการส่งเสริมให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดี รวมทั้งการทํานุบํารุงศาสนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมไทย และการยอมรับ ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างสังคมให้มีคุณภาพ คุณธรรม และอยู่ร่วมกัน ได้อย่างมีความสุข ดังนี้
๓.๑ ส่งเสริมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ โดยอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญา ภาษาไทย และภาษาถิ่นที่มีอัตลักษณ์และความหลากหลายผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ในเอกลักษณ์ของชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เพื่อกระตุ้นกระแสนิยมวัฒนธรรมไทย พัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม
๓.๒ ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีท้ังด้านคุณธรรม จริยธรรม กตัญญู ความซ่ือสัตย์ การมีวินัย เคารพกฎหมาย มีจิตสาธารณะและการมีส่วนร่วม ทําประโยชน์ให้ประเทศ และเป็นพลเมืองท่ีดี โดยส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชนเป็นฐานในการบ่มเพาะ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนดําเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ให้ส่ือ มีบทบาทกระตุ้นและสร้างความตระหนักในค่านิยมที่ดี รวมถึงผลิตสื่อที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ และเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
๓.๓ ทํานุบํารุงศาสนาให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมสถาบันศาสนา ทุกศาสนาให้มีบทบาทในการเผยแผ่หลักคําสอนที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และ เสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน และให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงแก่นแท้คําสอนของพระพุทธเจ้าและสามารถ นํามาปฏิบัติในชีวิตประจําวันได้
๓.๔ สร้างความรู้ ความเข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ของประเทศเพื่อนบ้าน ยอมรับและเคารพในประเพณี วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และ ชาวต่างชาติที่มีความหลากหลาย ในลักษณะพหุสังคมที่อยู่ร่วมกัน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศควบคู่กับการส่งเสริม สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อการเป็น ส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
๔. การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
ในโอกาสที่ประเทศไทยดํารงตําแหน่งประธานอาเซียนในปี ๒๕๖๒ รัฐบาล จะใช้โอกาสนี้ในการสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก เพื่อให้ประเทศไทยมีบทบาทนํา ในการพัฒนาและสร้างความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาท่ียั่งยืน โดยจะ ดําเนินการ ดังน้ี

๔.๑ สร้างบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในภูมิภาคและเวทีโลก ดําเนิน ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ และในเวทีโลกอย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ บนพื้นฐานของหลักการการไว้เนื้อเชื่อใจกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และการสร้างผลประโยชน์ ร่วมกัน เน้นย้ําความสําคัญของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมบทบาท ที่สร้างสรรค์ของไทยในประชาคมโลก รวมทั้งมีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาภายใต้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ
๔.๒ เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของไทย ผลักดันให้เกิด ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับประเทศ คู่เจรจา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” และเป็น แกนกลางของอาเซียนในการสนับสนุนให้เกิดสันติสุขและความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืนในภูมิภาค
๔.๓ ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ภายใต้กรอบ ความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่การแสวงหาโอกาสทางการค้า การลงทุน องค์ความรู้และ นวัตกรรมกับประเทศที่มีศักยภาพในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อาทิ ยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และสนับสนุนการขยายธุรกิจในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมความร่วมมือ ทางวัฒนธรรมของไทยด้วยการส่งเสริมเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม เพ่ือสร้างการรับรู้ ท่ีกว้างขวางมากขึ้นในเวทีโลก
๔.๔ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความมั่นคง เพื่อรับมือ กับภัยความม่ันคงในรูปแบบใหม่ อาทิ ความม่ันคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล การโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และปัญหาข้ามชาติที่ส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิตของคนไทยและความม่ันคงของมนุษย์
๔.๕ ขับเคล่ือนงานการทูตเชิงรุกเพื่อประชาชน เพื่อคุ้มครอง ผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทของ ชุมชนไทยในการร่วมเชิดชูผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายยังคงเป็นปัญหาที่สะสมมาต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีความจําเป็นต้องลงทุนเพื่อการพัฒนา และวางรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ขณะที่รัฐบาลจะมีภาระด้านการสาธารณสุข และสวัสดิการสังคมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งความไม่สมดุลดังกล่าวอาจสะสมเป็นความเส่ียงทางการคลัง ในอนาคตได้ ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ รัฐบาลจําเป็นจะต้องเพ่ิม

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายภาครัฐ ในขณะเดียวกันจําเป็นจะต้องรักษา เสถียรภาพในระบบการเงินเพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจและการจับจ่าย ใช้สอยของภาคครัวเรือน โดยมีนโยบายที่สําคัญ ดังนี้
๕. การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย ๕.๑ เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง
๕.๑.๑ ดําเนินนโยบายการเงินการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจไทย สามารถตอบสนองต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยการบริหารเศรษฐกิจมหภาคให้มี เสถียรภาพ เอื้ออํานวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมและการเจริญเติบโตของธุรกิจ ทุกระดับ สนับสนุนการนําเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาให้บริการและพัฒนาขีดความสามารถสถาบัน การเงินไทย เพื่อรองรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาสากล เร่งขยายการเข้าถึงบริการ ทางการเงินควบคู่ไปกับการให้ความรู้ทางการเงิน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพ่ือเพิ่มโอกาสในการได้รับสินเชื่อและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินเชื่อสําหรับผู้มีรายได้น้อย
และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
๕.๑.๒ กํากับดูแลวินัยการเงินการคลัง โดยติดตามกํากับดูแล ให้หน่วยงานภาครัฐดําเนินการตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการ ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต โดยจัดทําประมาณการรายจ่ายแหล่งเงินท่ีใช้ตลอดระยะเวลาดําเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ การรายงานทางการเงินประจําปี เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน รวมถึงการกําหนดระยะเวลาส้ินสุดที่ชัดเจนในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนในพ้ืนท่ี
และอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
๕.๑.๓ ปฏิรูปโครงสร้างรายได้ภาครัฐ เร่งปรับโครงสร้างการจัดเก็บ รายได้ภาครัฐ ท้ังในส่วนของรายได้ภาษีและรายได้จากทรัพย์สินของรัฐ ผ่านการขยายฐานภาษี การปรับปรุงอัตราภาษี การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยงานจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ การทบทวน ค่าลดหย่อนหรือมาตรการภาษีที่ไม่จําเป็นและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ การปราบปรามผู้หลบเลี่ยงภาษี และการพัฒนาภาษีประเภทใหม่ ๆ ให้สอดรับกับเทคโนโลยี และการค้าในยุคดิจิทัล รวมถึงการเร่งบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ เพื่อให้ระบบการจัดเก็บรายได้ของรัฐช่วยสรา้ งความเท่าเทียม ความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมลา้ํ ตลอดจนสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีความสามารถในการแข่งขัน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
รักษาความสมดุลและความยั่งยืนทางการคลัง

๕.๑.๔ ปฏิรูประบบการออม โดยจัดให้มีระบบการออม เพื่อการเกษียณอายุอย่างทั่วถึง พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนให้เป็นแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ และเป็นช่องทางการออมของประชาชน พร้อมทั้งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่จะส่งเสริม ให้คนไทยทุกคนเข้าสู่ระบบการออมและการลงทุนระยะยาวให้สามารถรองรับพฤติกรรม และวัฏจักรชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพและลดต้นทุน พัฒนาขีดความสามารถในการดําเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนและสหกรณ์ทุกระดับ และพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน ตลอดจนการกํากับดูแลระบบสถาบันการเงิน
ให้มีความมั่นคง
๕.๑.๕ สร้างแพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการออกแบบนวัตกรรม เชิงนโยบายที่มีเครื่องมือและเทคนิคสมัยใหม่ต่าง ๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบนโยบายและมาตรการ เพื่อให้สามารถกําหนดนโยบายที่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้
อย่างทันท่วงที
๕.๒ พัฒนาภาคอุตสาหกรรม
๕.๒.๑ พัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] โดยนําความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบริการของท้องถิ่น ปรับระบบการบริหารจัดการการผลิตและระบบโลจิสติกส์ ส่งเสริมการใช้พลังงาน ทดแทน การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า การบริหารจัดการของเสีย อุตสาหกรรมและขยะแบบคลัสเตอร์ระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด กลุ่มจังหวัด เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมท้ังให้ความสําคัญกับกฎระเบียบ
ทางด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
๕.๒.๒ พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้สามารถตอบสนอง การเปล่ียนแปลงเทคโนโลยีหรือแนวโน้มการค้าโลก โดยคํานึงถึงศักยภาพ ความสามารถในการแข่งขัน แนวโน้มความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยมีระดับ ผลิตภาพที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก สร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมที่มี ศักยภาพ และอุตสาหกรรมอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการพัฒนาระบบคมนาคมของ ประเทศ อุตสาหกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ อุตสาหกรรมอวกาศ พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพ่ือยกระดับ
ความสามารถในการแข่งขัน

๕.๒.๓ สร้างกลไกสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของ ผู้ประกอบการรายใหม่ โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม การปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประกอบการ การเข้าถึงแหล่งเงิน การพัฒนาศูนย์ทดสอบหรือวิจัยและออกแบบที่ได้มาตรฐานสากล และการใช้สถาบันการศึกษาที่มีอยู่
ในพื้นที่มาสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ
๕.๒.๔ พัฒนาระบบและกลไกภาครัฐและสภาพแวดล้อมให้มี ประสิทธิภาพในการสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยการจัดทําแพลตฟอร์มท่ีเหมาะสมสําหรับ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้นในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ของผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้นวัตกรรม การพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การตลาด และการบัญชี เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบ่มเพาะผู้ประกอบการและสถาบันเฉพาะทางต่าง ๆ ให้สามารถ เป็นกลไกหลักที่เข้มแข็งในการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาและบ่มเพาะศักยภาพ
ผู้ประกอบการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
๕.๓ พัฒนาภาคเกษตร
๕.๓.๑ รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและรายได้ให้กับ เกษตรกรในสินค้าเกษตรสําคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา มันสําปะหลัง ปาล์ม อ้อย และข้าวโพด โดยผ่านเครื่องมือและมาตรการที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นภาระกับงบประมาณแผ่นดิน เกินสมควร จัดให้มีระบบประกันภัยสินค้าเกษตร การพัฒนาระบบตลาดท่ีเช่ือมโยงผลผลิต ของเกษตรกรถึงผู้ประกอบการแปรรูปและผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม การใช้เทคโนโลยีและเคร่ืองมือ ในการขยายและเข้าถึงตลาดในรูปแบบต่าง ๆ การอํานวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนา
ระบบโลจิสติกส์การเกษตรที่มีประสิทธิภาพ
๕.๓.๒ ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังของภาครัฐ โดยจัดให้มีมาตรการที่เก่ียวข้องกับ การเพ่ิมรายได้และลดต้นทุนการเกษตรครบวงจร ตั้งแต่การปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์ พ้ืนที่เพาะปลูก ปุ๋ย เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตร แหล่งน้ํา และระบบไฟฟ้า เพื่อการเกษตร การลดภาระหนี้สินโดยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบท่ีมีต้นทุนต่ํา การลดความเส่ียงจากราคาพืชผลทางการเกษตร การพัฒนาทักษะอาชีพเสริมรายได้ รวมทั้ง การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และการปรับเปล่ียนการผลิตให้เหมาะสม กับฐานทรัพยากรในพื้นที่และความต้องการของตลาด นําระบบข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ระบบ แผนที่เกษตรเพื่อการจัดเขตพ้ืนที่เกษตรกรรม (zoning) และส่งเสริมกลไกอาสาสมัครเกษตร หมู่บ้าน รวมท้ังระบบการบริหารจัดการเชิงรุกมาใช้ในการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตร
ให้เหมาะสมกับพื้นท่ี

๕.๓.๓ พัฒนาองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยเพ่ิม ทักษะการประกอบการและพัฒนาความเชื่อมโยงของกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ ในทุกระดับ โดยเฉพาะด้านการตลาด การค้าออนไลน์ ระบบบัญชี เพื่อขยายฐานการผลิตและ ฐานการตลาดของสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขัน รวมท้ังการพัฒนา
เกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรอัจฉริยะ เพ่ือการพัฒนาภาคเกษตรไดอ้ ย่างม่ันคงต่อไปในอนาคต
๕.๓.๔ ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร
เพ่ือยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร โดยใช้ประโยชน์จากฐานความหลากหลาย ทางชีวภาพ การลด ละ เลิกใช้ยาปราบศัตรูพืชโดยเร็ว โดยต้องจัดหาสารทดแทนท่ีมีประสิทธิภาพ เพียงพอและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรท่ีมีมูลค่าเพ่ิมและโอกาส ทางเศรษฐกิจ อาทิ เกษตรอินทรีย์ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถ่ิน เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ และ เกษตรแปรรูป เพื่อต่อยอดไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการพัฒนาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย
๕.๓.๕ ดูแลเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเข้าถึงและ ใช้ประโยชน์ในที่ดินทํากิน แหล่งเงินทุน โครงสร้างพ้ืนฐาน และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ รวมทั้ง ดูแลและลดความเสียหายจากการทําการเกษตรในพ้ืนที่ประสบภัยทางธรรมชาติซ้ําซาก
โดยกําหนดเขตพื้นท่ีเกษตรกรรม (zoning)
๕.๓.๖ ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุน พันธ์ุกล้าไม้ และให้ความรู้ในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการปลูก บํารุงรักษา ดูแล และการแปรรูปเพ่ือสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะช่วยเพ่ิมรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหน่ึง
๕.๓.๗ ส่งเสริมการทําปศุสัตว์ให้เกษตรกรมีรายได้เพ่ิมขึ้น
โดยส่งเสริมการตลาด วิจัยและพัฒนาพันธ์ุสัตว์เศรษฐกิจ และสัตว์พ้ืนบ้าน อาทิ โคเน้ือ แพะ และแกะ เพ่ือสร้างมูลค่าเพ่ิม พัฒนามาตรฐานการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นท่ียอมรับ ในระดับสากลและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคท้ังภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่ตลาดโลก
๕.๓.๘ ฟ้ืนฟูและสนับสนุนอาชีพการทําประมงให้เกิดความยั่งยืน บนพ้ืนฐานของการรักษาทรัพยากรทางการประมงและทรัพยากรทางทะเลให้มีความสมบูรณ์ อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขีดความสามารถการทําประมงอย่างถูกต้องในกลุ่มประมงพ้ืนบ้าน และเชิงพาณิชย์ การเข้าถึงแหล่งทุนเพ่ือเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้และลดต้นทุนการทําประมง ลดอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ส่งเสริมการรวมกลุ่มประมงชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน เพื่อสร้างพลังในการประกอบอาชีพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ในพื้นท่ี และเร่งพัฒนาการเพาะเลี้ยง ในทะเลท่ีสอดคล้องกับแผนการใช้ประโยชน์เชิงพ้ืนท่ี รวมถึงการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรม
จากภูมิปัญญาในการแปรรูปมาเพ่ิมมูลค่าผลิตภัณฑ์และสินค้าประมง
๑๐

๕.๔ พัฒนาภาคการท่องเที่ยว
๕.๔.๑ พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของแหล่งท่องเท่ียว
โดยส่งเสริมพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเท่ียวคุณภาพระดับโลกท่ีมีเอกลักษณ์โดดเด่น บนพ้ืนฐานของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดการ ขยะและของเสียเพื่อให้เกิดความย่ังยืนของระบบนิเวศ ส่ิงแวดล้อมและชุมชนท้องถ่ิน รวมท้ัง พัฒนาการท่องเท่ียวในรูปแบบหลายประเทศจุดมุ่งหมายเดียวกัน การพัฒนาแหล่งท่องเท่ียว ในเชิงกลุ่มพื้นท่ีเมืองหลักและเมืองรองท่ีมีศักยภาพ การท่องเท่ียวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม การท่องเท่ียวเชิงธุรกิจ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและนันทนาการ การท่องเที่ยวเรือสําราญ และการท่องเท่ียวเช่ือมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
๕.๔.๒ ดึงดูดนักท่องเท่ียวท่ีมีคุณภาพ รายได้สูง โดยมุ่งเน้น ขยายตลาดคุณภาพพร้อมกับรักษาตลาดเดิม รวมทั้งนําระบบดิจิทัลมาใช้ในการส่งเสริม การท่องเท่ียว เพ่ือให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นท่ีต่าง ๆ ของประเทศ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๔.๓ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานธุรกิจบริการท่ีเกี่ยวเน่ือง กับการท่องเท่ียว อาทิ ธุรกิจสปาและแพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์ยาและสมุนไพรไทย เพื่อสร้าง ความหลากหลายของสินค้า และสร้างโอกาสการขยายฐานการผลิตและการตลาดในระดับภูมิภาค
ตลอดจนส่งเสริมธุรกิจบริการท่ีมีศักยภาพสู่ระดับสากล
๕.๔.๔ ดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด
โดยเพ่ิมมาตรฐานการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเท่ียวจากอาชญากรรม การฉ้อฉล และอุบัติเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของผู้ประกอบการ เพ่ิมความเข้มงวดในการดูแลรักษา ความปลอดภัยและให้บริการนักท่องเท่ียว โดยเฉพาะบริเวณแหล่งท่องเท่ียวทางน้ําหรือทางทะเล เกาะ หมู่เกาะ ถํ้า และน้ําตก อํานวยการและบูรณาการความช่วยเหลือนักท่องเท่ียวให้มีประสิทธิภาพ
๕.๔.๕ ส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้จากธุรกิจท่องเท่ียว สู่ชุมชน โดยพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเช่ือมโยงระหว่างธุรกิจหลัก ธุรกิจรอง ธุรกิจสนับสนุน และการพัฒนาเชื่อมโยงในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ รวมท้ังพัฒนา ทักษะและองค์ความรู้ของท้องถ่ิน ชุมชน และสถาบันการศึกษา เพ่ือสนับสนุนให้มีส่วนร่วม
ในการพัฒนาและทําธุรกิจการท่องเที่ยวในพ้ืนที่ให้มากขึ้น อาทิ การพัฒนายุวมัคคุเทศก์
๕.๕ พัฒนาการค้าการลงทุนเพ่ือมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาค
๕.๕.๑ ส่งเสริมการค้าชายแดนและแก้ไขปัญหาสินค้าชายแดน
เพ่ือให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงโครงสร้างพ้ืนฐาน และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนท่ีได้พัฒนาไว้แล้ว และให้บริการการดําเนินธุรกิจแก่นักลงทุนและผู้ประกอบการขนาดกลาง
๑๑

และขนาดย่อมแบบเบ็ดเสร็จให้เข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยระยะแรกจะมุ่งเน้น สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยแสวงหาโอกาสทางการค้า การลงทุน หรือขยายฐานการผลิต และการตลาดในกลุ่มประเทศเพ่ือนบ้าน ในรูปแบบฐานการผลิตและตลาดร่วม เพ่ือใช้ประโยชน์ จากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ีดีอย่างต่อเน่ืองและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติท่ีอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนความได้เปรียบของค่าจ้างแรงงาน
๕.๕.๒ ส่งเสริมธุรกิจการค้าปลีกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ข้ามพรมแดน โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ ของผู้ประกอบการรายย่อยให้เหมาะสมสําหรับการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน เพ่ือเพ่ิมช่องทาง การตลาดให้ผู้บริโภคในประเทศเพ่ือนบ้านสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้โดยตรง พร้อมทั้ง พัฒนาแพลตฟอร์มท่ีเกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลท้ังทางการตลาด การเงิน
และระบบโลจิสติกส์
๕.๕.๓ ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการนําเข้าส่งออกสินค้า บริเวณด่านชายแดน เร่งรัดการจัดรูปแบบการพัฒนาและบูรณาการการบริหารจัดการพื้นท่ี ด่านชายแดนสําคัญ เช่น ด่านศุลกากร ด่านปศุสัตว์ คลังสินค้า และพ้ืนที่ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถ สนับสนุนการค้า การลงทุน และการอํานวยความสะดวกทางการค้า โดยลดการใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่รัฐให้น้อยที่สุด รวมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการในพ้ืนที่ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม
จากกิจกรรมนําเข้าส่งออกสินค้าบริเวณด่านชายแดน
๕.๖ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน
๕.๖.๑ พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมพ้ืนที่ ทั่วประเทศและสามารถรองรับการขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่าง ไร้รอยต่อ สานต่อการพัฒนารถไฟความเร็วสูง และเร่ิมต้นการปรับปรุงระบบรถไฟขนาดราง ๑ เมตร ให้เป็นระบบไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้าของประเทศ และให้ความสําคัญกับการบูรณาการการพัฒนาระบบขนส่งกับการพัฒนาพ้ืนท่ีและเมือง การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ให้บริการภาคขนส่งและอุตสาหกรรมท่ีเกี่ยวเนื่อง การเช่ือมโยง แหล่งท่องเที่ยว การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค รวมท้ังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยทางถนนท่ีสอดประสานกันระหว่างระบบการเตือนภัย การช่วยเหลือกู้ภัย
และการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยที่มีประสิทธิภาพ
๕.๖.๒ แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในพื้นท่ีเขตเมือง โดยการพัฒนา ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะท่ีมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะเมืองหลักในภูมิภาค การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุม ส่ังการจราจรและวางแผนการเดินทาง การกวดขันวินัยจราจร และการจัดระเบียบท่ีจอดรถ โดยเฉพาะการจัดให้มีท่ีจอดรถใต้ดินและบนดินเพ่ิมเติม ท้ังของภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมท้ัง พัฒนาทางเท้า ทางจักรยาน และส่ิงอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้สามารถรองรับความต้องการเดินทาง
เพื่อคนท้ังมวล (Universal Design) เพ่ือให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
๑๒

๕.๖.๓ เสริมสร้างความม่ันคงทางด้านพลังงานให้สามารถพ่ึงพา ตนเองได้ โดยกระจายชนิดของเชื้อเพลิงทั้งจากฟอสซิลและจากพลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนตามศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิงในพ้ืนท่ี เปิดโอกาส ให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตและบริหารจัดการพลังงาน ส่งเสริมให้มีการใช้น้ํามัน ดีเซลหมุนเร็ว B20 และ B100 เพ่ือเพิ่มการใช้นํ้ามันปาล์มดิบ และจัดทําแนวทางการใช้มาตรฐาน นํ้ามัน EURO5 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน อาทิ เทคโนโลยีระบบไฟฟ้า อัจฉริยะ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน รวมท้ังสนับสนุนให้เกิดโครงสร้าง ตลาดไฟฟ้ารูปแบบใหม่ อาทิ แพลตฟอร์มตลาดกลางซ้ือขายพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนโครงสร้าง อัตราค่าไฟฟ้ารูปแบบใหม่ อาทิ ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้าสุทธิ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบการกํากับ ดูแลกิจการด้านพลังงานให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุน ท่ีแท้จริง ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจด้านพลังงานในอนาคต ดําเนินการให้มีการสํารวจและค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ และร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
ในการพัฒนาพลังงาน
๕.๖.๔ ยกระดับโครงข่ายระบบไฟฟ้าและพลังงานให้มี ความทันสมัย ทั่วถึง เพียงพอ มั่นคง และมีเสถียรภาพ โดยจัดทําแผนการพัฒนาระบบโครงข่าย ไฟฟ้าอัจฉริยะทั้งระบบให้สามารถรองรับเทคโนโลยีด้านพลังงานสมัยใหม่ในอนาคต มุ่งเน้น การพัฒนาโครงข่ายภายในประเทศให้เชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก ตะวันออก เหนือ และใต้ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบไฟฟ้าและพลังงานระหว่างพ้ืนท่ีต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง
และมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในภาคการผลิต
๕.๖.๕ พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ําประปา โดยพัฒนาแหล่งนํ้าดิบ และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตและการบริหารจัดการระบบประปาเพื่อลดนํ้าสูญเสีย พัฒนาคุณภาพนํ้าประปา ขยายเขตการจ่ายนํ้าประปาให้ครอบคลุมพ้ืนที่ภูมิภาคและแหล่งท่องเท่ียว
รวมทั้งพ้ืนที่เศรษฐกิจพิเศษ และสร้างจิตสํานึกของประชาชนในการใช้น้ําอย่างประหยัด
๕.๖.๖ แก้ปัญหาระบบระบายน้ําและระบบบําบัดน้ําเสีย
โดยพัฒนาระบบระบายน้ํา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและเคร่ืองจักรอุปกรณ์ท่ีเกี่ยวข้อง ให้สามารถระบายน้ําออกจากพ้ืนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมท้ังรณรงค์ให้ประชาชน ไม่ทิ้งขยะหรือของเหลือใช้ลงในท่อระบายน้ํา แม่นํ้า และทะเล รวมท้ังพัฒนาระบบรวบรวมและ บําบัดนํ้าเสียในเขตเมือง โดยใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายในการบริหารจัดการน้ําเสีย
๑๓

อัจฉริยะ
๕.๗ พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านดิจิทัลและการมุ่งสู่การเป็นประเทศ
๕.๗.๑ รักษาคล่ืนความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม อันเป็นสมบัติของชาติให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน และลงทุนในอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ และเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในระบบ 5G เพื่อให้การติดต่อส่ือสารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นไปอย่างต่อเน่ือง รองรับการเชื่อมต่อจํานวนมากและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้อย่างมีเสถียรภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สนับสนุนนโยบายด้านสังคม อาทิ การบริการด้านการศึกษา และการบริการด้านสาธารณสุข
ตลอดจนสร้างโอกาสการพัฒนาอาชีพของประชาชน
๕.๗.๒ พัฒนาการอํานวยความสะดวกเพ่ือสนับสนุนธุรกิจ การค้า การนําเข้าส่งออก และโลจิสติกส์ในรูปแบบดิจิทัล โดยพัฒนาการค้าสู่รูปแบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถเช่ือมโยงการค้า การชําระเงิน และการขนส่งสู่ระบบออนไลน์ และให้ ความสําคัญกับการใช้ประโยชน์จากการแบ่งปันทรัพยากรหรือพ้ืนที่ในการขนส่งสินค้า พร้อมทั้ง นําเทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการดําเนินงาน อาทิ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรม ออนไลน์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบอินเทอร์เน็ตในทุกส่ิง (Internet of Things: IoT) และระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนเร่งรัดการพัฒนาระบบเช่ือมโยงระบบเครือข่ายข้อมูล ในกระบวนการนําเข้าส่งออกและโลจิสติกส์ในลักษณะเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวให้สมบูรณ์
และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
๕.๗.๓ ส่งเสริมการค้าในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพ่ือเพิ่ม โอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยทั้งในภาคการผลิตและบริการในการเข้าถึงตลาด โดยการสร้าง ความเชื่อม่ันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย และจูงใจให้เกิดการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการทบทวน กฎหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้ง การแก้ไขปัญหาการดําเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริม ความสามารถของผู้ประกอบการไทยที่ให้บริการแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ พัฒนาอุตสาหกรรม และบริการที่เกี่ยวข้อง อาทิ โลจิสติกส์ และระบบการชําระเงิน ให้ได้มาตรฐานสากล เช่ือมโยง และบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐเพ่ืออํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมการกํากับดูแลที่มีมาตรฐานและเอื้อต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการทุกขนาด ตลอดจนช่วยเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจของกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทย รวมท้ังยกระดับมาตรฐานร้านค้าปลีกให้เข้าสู่การค้าออนไลน์ เพ่ือลดผลกระทบจากพฤติกรรม
ของผู้บริโภคท่ีเปลี่ยนแปลงไป
๑๔

๕.๘ พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
๕.๘.๑ พัฒนาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศท่ีเอื้อต่อ การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ท่ีสามารถเช่ือมโยงกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาต่อยอดจากผลการวิจัยให้นําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานที่จําเป็น และมีกลไกดําเนินการท่ีบูรณาการท้ังระบบ เพื่อสนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการตลอดห่วงโซ่มูลค่าให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมท้ังพัฒนาระบบข้อมูลและตัวช้ีวัดภายใต้กรอบขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวทิ ยาศาสตร์
เทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
๕.๘.๒ สร้างระบบจัดการข้อมูลเพ่ือรองรับการบริหารจัดการ งานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการบูรณาการและเช่ือมโยงระบบงานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการส่งเสริมการดําเนินงานด้านการวิจัยที่ต่อยอด ไปสู่การสร้างนวัตกรรมของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการต่อยอดงานวิจัย
สู่การเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์
๕.๘.๓ เสริมสร้างการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ คุณภาพและมาตรฐานท่ีเป็นปัจจัยนําไปสู่การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง
และสามารถนําไปใช้ได้จริง และใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศให้มากท่ีสุด
๕.๘.๔ สนับสนุนการพัฒนาโรงงาน ห้องปฏิบัติการต้นแบบ ที่เป็นโครงสร้างพ้ืนฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมในระดับต้นนํ้า โดยเฉพาะโรงงานและห้องปฏิบัติการนําร่อง ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนา เศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชน
ไปพร้อมกัน

๕.๙ ขับเคล่ือนเศรษฐกิจยุคใหม่
๕.๙.๑ พัฒนาระบบนิเวศเพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยุคใหม่ อาทิ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจวัฒนธรรม พร้อมท้ัง ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบท่ีเก่ียวข้องเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการยุคใหม่สามารถพัฒนา แอปพลิเคชัน นวัตกรรม สินค้าและบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้บริโภคและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีท่ีเปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพ่ือสร้างคุณค่าเพ่ิม
ให้แก่ผลิตภัณฑ์และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
๑๕

๕.๙.๒ เร่งรัดพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและ ขนาดย่อมทั้งในภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ โดยการพัฒนาทักษะความเป็น ผู้ประกอบการให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการเพ่ิมประสิทธิภาพ การดําเนินธุรกิจ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและตลาด รวมท้ังสนับสนุนการเติบโตของ วิสาหกิจเริ่มต้น โดยพัฒนาระบบนิเวศท่ีเอื้ออํานวยต่อการดําเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านสิทธิประโยชน์ แหล่งเงินทุน แรงงานคุณภาพ กฎหมายและกฎระเบียบท่ีเก่ียวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการมี ความสามารถในการแข่งขันและขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้ และเป็นแรงขับเคล่ือนทางเศรษฐกิจใหม่
ของประเทศไทยในระยะต่อไป
๕.๙.๓ ส่งเสริมเยาวชนและบทบาทสตรีในการเป็น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ โดยการสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม ผ่านการศึกษา และการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเทคโนโลยี แหล่งเงินและการระดมทุน เพ่ือกระตุ้นและเปิดโอกาสให้เยาวชนสามารถนําเสนอแนวคิด พัฒนาแอปพลิเคชัน นวัตกรรม
และดําเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง
๕.๙.๔ ดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะสูงเข้ามาช่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ของไทย โดยเฉพาะที่เก่ียวกับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมขั้นสูง และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ของไทยสามารถทํางานร่วมกับ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยและพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมอ่ืน ๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนา
เทคโนโลยีขั้นสูง
๖. การพัฒนาพ้ืนที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
การใช้ประโยชน์จากศักยภาพและโอกาสของพ้ืนท่ีจะช่วยกระจายความเจริญ ไปสู่ภูมิภาคและสร้างโอกาสการพัฒนาท้ังด้านเศรษฐกิจและสังคม ลดความเหล่ือมลํ้าของ การพัฒนา ลดการกระจุกตัวของการพัฒนาและประชากรของเมืองใหญ่ในปัจจุบัน โดยการสร้าง สังคมชนบทเป็นสังคมเมืองที่สงบสุขเพียงพอและแก้ปญั หาการย้ายถิ่นฐานโดยมีนโยบายดังน้ี
ของเอเชีย
๖.๑ ส่งเสริมพ้ืนท่ีเศรษฐกิจพิเศษเพ่ือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
๖.๑.๑ พัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง
โดยพัฒนาระบบโครงสร้างพ้ืนฐานที่ทันสมัยให้เป็นไปตามเป้าหมาย พัฒนาพ้ืนที่โดยรอบให้เป็น เมืองมหานครการบิน ศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชีย และเมืองอัจฉริยะที่มีความน่าอยู่ และทันสมัยระดับนานาชาติ ยกระดับภาคการเกษตรให้เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คมนาคม ดิจิทัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งพัฒนาบุคลากร รวมท้ังทบทวนกฎระเบียบ เพื่อรองรับและส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายท่ีใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
๑๖

๖.๑.๒ ส่งเสริมการพัฒนาพื้นท่ีระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพ่ือเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าทางทะเลของประเทศและของภาคใต้ โดยเฉพาะการส่งออก ไปยังเอเชียใต้ พัฒนาการเช่ือมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นท่ีฝ่ังอันดามันกับฝ่ังอ่าวไทย และพัฒนา อุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรจากทรัพยากรในพื้นที่และประเทศเพ่ือนบ้าน รวมท้ังให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม และการพัฒนาเมืองน่าอยู่
๖.๑.๓ เพ่ิมพ้ืนท่ีขับเคล่ือนเศรษฐกิจแห่งใหม่ในภูมิภาค อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจหลักเชิงพื้นท่ีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นท่ีเศรษฐกิจฐานชีวภาพ และพ้ืนท่ีท่ีมีความได้เปรียบเชิงท่ีตั้งท่ีสามารถพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมในอนาคต โดยพัฒนา ให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นท่ี สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี การพัฒนาท่ีเก่ียวข้องในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้ง
การจัดการผลกระทบท่ีอาจมีต่อทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
๖.๑.๔ เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนและยกระดับการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ เทคโนโลยีสูงข้ึน สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทบทวนการให้ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนให้เหมาะสมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามศักยภาพพ้ืนท่ี พัฒนา เมืองชายแดนให้มีความน่าอยู่ รวมท้ังใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการดูแลด้านความมั่นคงและรักษา ความปลอดภัยในพ้ืนที่ และส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคีการพัฒนาท่ีเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม
ในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
๖.๒ ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ท่ัวประเทศ
โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น เมืองในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สงขลา และภูเก็ต ภายใต้แนวคิดการขับเคล่ือนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองน่าอยู่ที่มีระบบ เศรษฐกิจดิจิทัล โครงสร้างพ้ืนฐานทางสังคม และพ้ืนท่ีสีเขียวท่ีเพียงพอ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา อุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ พร้อมท้ังส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในพ้ืนท่ี
๗. การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก
รัฐบาลให้ความสําคัญกับชุมชนในการนําความรู้และทรัพยากรในพื้นท่ี มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อเพ่ิมศักยภาพของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถสร้างรายได้ กระจายรายได้สู่ชุมชน สนับสนุนสินค้าชุมชนและยกระดับวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาช่องทางการตลาดเชื่อมโยงกับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสร้างพลังสังคม พลังชุมชน รวมท้ังสร้างการเรียนรู้ ฝึกอาชีพกลุ่มอิสระในการร่วมขับเคล่ือนและพัฒนาประเทศ รัฐบาล จึงมีนโยบายดําเนินการ ดังนี้
๑๗

๗.๑ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ชุมชน
๗.๑.๑ สร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจชุมชนผ่านอัตลักษณ์ของพื้นท่ี
โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ของไทย ผู้ประกอบการหนึ่งตําบล หน่ึงผลิตภัณฑ์ และสหกรณ์ในชุมชนให้สามารถใช้ประโยชน์และต่อยอดจากส่ิงบ่งช้ีทางภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และทรัพยากรในพ้ืนที่ รวมท้ังเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์คุณค่า ผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชนท่ีมีอัตลักษณ์และมีมาตรฐานการผลิตตามหลักสากล ซ่ึงจะช่วย สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึง นําไปสู่การสร้างเศรษฐกิจชุมชนท่ีสามารถพ่ึงพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืนและมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัดมากขึ้น
๗.๑.๒ สนับสนุนความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนผ่าน เทคโนโลยี โดยพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่มี ความสามารถทั้งในการบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่ การสร้างสรรค์นวัตกรรมท้ังในเชิง กระบวนการผลิต การนําเสนอสินค้าหรือบริการ และการตลาด มีความสามารถในการนํา เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับการดําเนินธุรกิจได้มากข้ึน โดยเฉพาะการเข้าถึงตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมแนวคิดการทําธุรกิจภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) โดยเริ่มต้นจากการใช้ประโยชน์โครงสร้างพ้ืนฐานและบริการของภาครัฐ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่
๗.๑.๓ สร้างโอกาสและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ที่ทันสมัยและบริการทางการเงินของวิสาหกิจชุมชน โดยจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุน ให้มีช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนท่ีหลากหลาย และเพ่ิมความสามารถในการเข้าถึงตลาดทั้งใน และต่างประเทศผ่านช่องทางการตลาดและการชําระเงินรูปแบบใหม่ด้วยระบบออนไลน์หรือ ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมท้ังสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
เพื่อประสาน แลกเปลี่ยนความรู้ ใช้ประโยชน์จากข้อมูล และเชื่อมต่อกิจกรรมร่วมกัน
๗.๑.๔ ส่งเสริมการลงทุนในชุมชนเพ่ือสร้างงานในชุมชน
โดยพัฒนาระบบและกลไก รวมท้ังพัฒนากลุ่มอาชีพตามศักยภาพของประชาชนในพ้ืนที่ เพ่ือกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนในชุมชนและท้องถิ่น แบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ลดความเหล่ือมล้ําทางเศรษฐกิจ และลดอัตราการย้ายถ่ินเพ่ือทํางานในเมือง สนับสนุนการจัดตั้ง วิสาหกิจชุมชนตามความพร้อมและศักยภาพในแต่ละพื้นท่ี ใช้เศรษฐกิจดิจิทัลต่อยอดการพัฒนา ควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้วยการส่งเสริมการเช่ือมโยงภาคเศรษฐกิจหลัก กับเศรษฐกิจชุมชนในทุกภาคการผลิต ท้ังในภาคอุตสาหกรรม บริการ และการท่องเที่ยว
๗.๑.๕ สร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของ วิสาหกิจชุมชน โดยพัฒนาและบูรณาการฐานข้อมูลท่ีสนับสนุนการประกอบธุรกิจให้เข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ง่าย อาทิ องค์ความรู้ ผลการวิจัยและพัฒนาการตลาดและนวัตกรรม สร้างระบบจูงใจให้เกิดความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจชุมชนในการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งสนับสนุนการยกระดับสินค้าและบริการของวิสาหกิจชุมชนทั้งในด้านการกําหนดมาตรฐาน
การตรวจสอบและรับรองให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
๑๘

๗.๒ สร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๗.๒.๑ สร้างผู้นําชุมชน ยกย่องปราชญ์ชาวบ้าน เพ่ือเป็นผู้นํา การเปลี่ยนแปลง เป็นวิทยากรในการขับเคลื่อนและสร้างกลไกการทํางานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณประโยชน์ท่ีส่งผลต่อการสร้างสังคม ท่ีเข้มแข็ง การปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้เสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เอ้ือเฟ้ือแบ่งปันผู้อื่น และเป็นพลังสําคัญในการจัดการปัญหาความเหล่ือมลํ้า การพัฒนาตนเองและการจัดการของ
ชุมชนท้องถ่ิน
๗.๒.๒ ยกระดับคุณภาพตลาดชุมชน สถาบันการเงินของชุมชน สวัสดิการชุมชน สาธารณสุขชุมชน ป่าชุมชน ไม้มีค่า ท่องเท่ียวชุมชน และส่งเสริมการขยาย ตลาดออกสู่ต่างประเทศ เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งด้านการผลิต แหล่งเงินทุน โลจิสติกส์ ข้อมูล การแลกเปลี่ยนความรู้และความเช่ียวชาญเพื่อต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ในการเพ่ิมมูลค่าธุรกิจ พัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มให้สามารถเช่ือมโยงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ การผลิตของภาค รวมถึงกํากับดูแลมาตรฐานสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลและสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด เพ่ือสร้างความเชื่อม่ันให้กับผู้บริโภคท้ังในและต่างประเทศ รวมท้ัง
ส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนจัดสวัสดิการท่ีจําเป็นภายในชุมชน
๗.๒.๓ แก้ไขปัญหาท่ีอยู่อาศัย ที่ดินทํากิน สร้างชุมชนท่ีน่าอยู่
มุ่งเน้นการจัดการท่ีอยู่อาศัย การพัฒนาทักษะอาชีพ และการพัฒนาพ้ืนที่เมืองแบบองค์รวม เพ่ือพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สังคมท่ีเอื้ออาทร มีความสะดวกสบาย ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณท่ีเป็นเอกลักษณ์ของเมืองและชุมชน และมีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง เพื่อให้ชุมชนสามารถพ่ึงพาตนเองได้ และเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างย่ังยืน
๗.๒.๔ สร้างพลังในชุมชน โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างพลังทางสังคม ภาคีเครือข่าย การรวมตัวของภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชนมาเป็นกําลังในการพัฒนาเพ่ือส่วนรวม โดยให้ความสําคัญกับการสร้างพลังจิตอาสา สร้างพลังแผ่นดินเพ่ือพัฒนาศักยภาพและสร้าง เอกภาพแก่กลุ่มอาสาสมัครรูปแบบต่าง ๆ การสร้างพลังสร้างสรรค์เพ่ือส่งเสริมกิจกรรม ทางสังคมของคนทุกวัยผ่านการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ และการสร้างพลังภูมิคุ้มกัน
เพ่ือการใช้ส่ือออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและเตือนภัย
๗.๒.๕ สร้างเครือข่ายชุมชนท่ีเข้มแข็ง เน้นส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจกําหนดนโยบายและมาตรการของภาครัฐ โดยเริ่มจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนําเสนอแนวคิดท่ีเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และสวัสดิการในระดับชุมชน เพ่ือเป็นรากฐานของการพัฒนาระบอบ
ประชาธิปไตยในบริบทสังคมไทย
๑๙

๗.๓ ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการช่วยพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ฐานราก โดยการสร้าง “คุณค่าร่วม” ระหว่างภาคธุรกิจ สังคม และผู้บริโภค ที่ครอบคลุม ตลอดท้ังห่วงโซ่การผลิต พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคมในด้านต่าง ๆ ท่ีเป็นประโยชน์แก่ คนในชุมชน เพ่ือผลิตสินค้าและบริการท่ีจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในท้องถ่ินหรือช่วยแก้ไข ปัญหาสังคมและพัฒนาชุมชน อาทิ การจ้างงานผู้พิการ หรือผู้ผ่านการต้องขัง เพ่ือช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตและความสุขของคนในชุมชน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมในการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เพ่ือให้คนไทย ในอนาคตเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีแบบแผนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รัฐบาลได้กําหนดนโยบายในการพัฒนาที่มุ่งพัฒนาคนในทุกมิติตามความเหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยให้มีความสมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งการพัฒนา ระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคมที่เหมาะสมแก่ประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ โดยมีนโยบาย การพัฒนาที่สําคัญ ดังน้ี
๘. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ๘.๑ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
๘.๑.๑ จัดให้มีระบบพัฒนาเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่องจนถึง เด็กวัยเรียนให้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ เพื่อสร้างคนไทยที่มีพัฒนาการเต็ม ตามศักยภาพผ่านครอบครัวท่ีอบอุ่นในทุกรูปแบบครอบครัว เพ่ือส่งต่อการพัฒนาเด็กไทย ให้มีคุณภาพสู่การพัฒนาในระยะถัดไปบนฐานการให้ความช่วยเหลือท่ีคํานึงถึงศักยภาพ ของครอบครัวและพื้นที่ เตรียมความพร้อมการเป็นพ่อแม่ ความรู้เร่ืองโภชนาการและสุขภาพ การอบรมเล้ียงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยผ่านการให้บริการสาธารณะที่เก่ียวข้อง โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศให้ได้มาตรฐาน และพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่าง
มีคุณภาพ
๘.๑.๒ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยคํานึงถึงพหุปัญญา ที่หลากหลายของเด็กแต่ละคนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ผ่านการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ท่ีเช่ือมโยงกับระบบโรงเรียนปกติท่ีเป็นระบบและมีทิศทางท่ีชัดเจน
๘.๒ พัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่
๘.๒.๑ ปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพ่ือพัฒนาทักษะ และอาชีพของคนทุกช่วงวัยสําหรับศตวรรษที่ ๒๑ โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษา ให้ทันสมัย มีการนําเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียน
๒๐

การสอน และปรับระบบดึงดูด การคัดเลือก การผลิตและพัฒนาครู ท่ีนําไปสู่การมีครูสมรรถนะสูง เป็นครูยุคใหม่ท่ีสามารถออกแบบและจัดระบบการสร้างความรู้ สร้างวินัย กระตุ้น และสร้าง แรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์มุมมองของเด็กและครูด้วยการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นให้มากข้ึน ควบคู่กับหลักการทางวิชาการ
๘.๒.๒ จัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางานเพ่ือพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียนท้ังในส่วนฐานความรู้และระบบความคิดในลักษณะสหวิทยาการ และตรงกับ ความต้องการของประเทศในอนาคต และเป็นผู้เรียนที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสามารถกํากับ การเรียนรู้ของตนเองได้ รวมถึงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาที่สามที่สามารถสื่อสาร และแสวงหาความรู้ได้ มีความพร้อมท้ังทักษะความรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเข้าสู่
ตลาดแรงงาน
๘.๓ พัฒนาอาชีวะ พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ และพัฒนาแรงงานรองรับ อุตสาหกรรม ๔.๐ โดยการจัดระบบและกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ชัดเจนเป็นระบบในการพัฒนากําลังคนที่มีทักษะข้ันสูงให้สามารถนําความรู้และทักษะมาใช้ ในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ซ่ึงต้องครอบคลุมการพัฒนากําลังคน ที่อยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว กําลังคนท่ีกําลังจะเข้าสู่อุตสาหกรรม และเตรียมการสําหรับผลิต กําลังคนในสาขาท่ีขาดแคลน เพ่ือรองรับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต รวมท้ังเร่งรัด และขยายผลระบบคุณวุฒิวิชาชีพ การยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมท่ีมีศักยภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
๘.๔ ดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกเข้ามาร่วมทํางานกับคนไทย และส่งเสริม ผู้มีความสามารถสูง สนับสนุนให้ธุรกิจช้ันนําในประเทศดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถระดับสูง จากทั่วโลกโดยเฉพาะคนไทย เพ่ือกลับมาเป็นผู้นําการเปล่ียนแปลงและถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญให้แก่บุคลากรในองค์กร ซ่ึงจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ โดยในระยะแรกให้ความสําคัญกับการดึงดูดนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีช้ันแนวหน้าในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งมีพ้ืนที่ให้กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษที่มีศักยภาพสูงได้ทํางานร่วมกัน หรือร่วมกับ เครือข่ายอ่ืน ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ
๘.๕ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมท่ีตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ
๘.๕.๑ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขจัด ความเหลื่อมลํ้าและความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนา นวัตกรรมเชิงสังคมและนวัตกรรมในเชิงพ้ืนที่ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความเหล่ือมล้ํา สร้างโอกาส สําหรับผู้ด้อยโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยควบคู่ไปกับการพัฒนาทุนมนุษย์ให้พร้อม สําหรับโลกยุคดิจิทัลและอุตสาหกรรม ๔.๐ ตามความเหมาะสมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยระยะแรกจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพของประชาชน
อย่างครบวงจร ท้ังระบบยา วัคซีน เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีท่ีทันสมัย
๒๑

๘.๕.๒ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถตอบสนองต่อ ความเปลี่ยนแปลง และสร้างความเป็นเลิศของประเทศในอนาคต โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเพ่ือนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ กําหนดวาระการวิจัยแห่งชาติ ส่งเสริม ความร่วมมือและการเป็นหุ้นส่วนของทุกฝ่ายท้ังภาครัฐ ภาคการศึกษา ชุมชน และภาคเอกชน ในทุกสาขาการผลิตและบริการ สร้างสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบของระบบวิจัยและ การพัฒนานวัตกรรมให้เข้มแข็ง รวมท้ังบูรณาการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกับการนําไปใช้
ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
๘.๕.๓ สร้างเครือข่ายการทําวิจัยระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ปฏิรูป และบูรณาการระบบการเรียนการสอนกับระบบงานวิจัยและพัฒนา ให้เอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพ ด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจไทยทุกระดับในเวที การค้าโลก ส่งเสริมกระบวนการการทํางานของภาครัฐและภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมให้เป็นระบบเปิด และมีการบูรณาการการทํางานกันอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมท้ังเช่ือมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างย่ิง การสร้างนักวิจัยมืออาชีพและนวัตกรท่ีสามารถสร้างมูลค่าเพ่ิมและยกระดับงานวิจัย สู่การเพิ่ม
ศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ
๘.๖ ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย
๘.๖.๑ มุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนควบคู่กับการพัฒนาครู
เพ่ิมประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับบนพ้ืนฐานการสนับสนุนที่คํานึงถึง ความจําเป็นและศักยภาพของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง พร้อมท้ังจัดให้มีมาตรฐานข้ันตํ่าของ โรงเรียนในทุกระดับ และสร้างระบบวัดผลโรงเรียนและครูท่ีสะท้อนความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ ที่เกิดกับผู้เรียน คืนครูให้นักเรียนโดยลดภาระงานท่ีไม่จําเป็น รวมถึงจัดให้มีระบบฐานข้อมูล เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการเชื่อมโยงหรือส่งต่อข้อมูลครอบครัวและผู้เรียนระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงการพัฒนาตลอดช่วงชีวิต ตลอดจนพัฒนาช่องทาง ให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๘.๖.๒ พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัล พร้อมท้ัง ส่งเสริมให้มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสร้างสรรค์ท่ีเหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอน ออนไลน์แบบเปิดที่หลากหลาย เพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจและเหมาะสม กับช่วงวัย ตลอดจนพัฒนาแหล่งเรียนรู้และอุทยานการเรียนรู้สําหรับเยาวชนท่ีเชื่อมโยงเทคโนโลยี
กับวิถีชีวิต และส่งเสริมการเรียนการสอนท่ีเหมาะสมสําหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย
๘.๖.๓ ลดความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษา โดยบูรณาการ การดําเนินงานระหว่างหน่วยจัดการศึกษากับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มุ่งเน้น กลุ่มเด็กด้อยโอกาสและกลุ่มเด็กนอกระบบการศึกษา ปรับเปล่ียนการจัดสรรงบประมาณ
๒๒

ให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพ้ืนที่ของสถานศึกษา จัดระบบโรงเรียนพ่ีเล้ียง จับคู่ระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพการศึกษาดีกับโรงเรียนขนาดเล็กเพ่ือยกระดับคุณภาพ การศึกษา และการส่งเสริมให้ภาคเอกชน ชุมชนในพ้ืนท่ีเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการศึกษา ในพื้นที่ สนับสนุนเด็กท่ีมีความสามารถแต่ไม่มีทุนทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ ตลอดจนแก้ไขปัญหา หน้ีสินทางการศึกษา โดยการปรับโครงสร้างหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพ่ือการศึกษา และทบทวน รูปแบบการให้กู้ยืมเพ่ือการศึกษาที่เหมาะสม

๘.๖.๔ พัฒนาทักษะอาชีพทุกช่วงวัย โดยกําหนดระบบที่เอ้ือต่อ การพัฒนาทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพของทุกช่วงวัย อาทิ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ให้เช่ือมโยงกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีกลไกการวัดและประเมินผลเพ่ือเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์หน่วยการเรียนที่ชัดเจน ส่งเสริมเยาวชนที่มีศักยภาพด้านกีฬาให้สามารถพัฒนา ไปสู่นักกีฬาอาชีพ การกําหนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน การจัดให้มีระบบท่ีสามารถรองรับ ความต้องการพัฒนาปรับปรุงทักษะอาชีพของทุกช่วงวัย เพ่ือรองรับการเปลี่ยนสายอาชีพ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานท่ีอาจจะเปลี่ยนไปตามแนวโน้มความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีในอนาคต
๘.๖.๕ ส่งเสริมหลักคิดท่ีถูกต้อง โดยสอดแทรกการปลูกฝังวินัย และอุดมการณ์ท่ีถูกต้องของคนในชาติ หลักคิดท่ีถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม การมีจิตสาธารณะ การเคารพกฎหมาย และกติกาของสังคมเข้าไปในทุกสาระวิชาและในทุกกิจกรรม ควบคู่ไปกับ การส่งเสริมกลไกสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวในทุกมิติอย่างเป็นระบบและ มีประสิทธิภาพ ปรับสภาพแวดล้อมท้ังภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ รวมทั้งลงโทษผู้ละเมิดบรรทัดฐานท่ีดีทางสังคม ตลอดจนส่งเสริม
ให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนประเทศ
๘.๗ จัดทําระบบปริญญาชุมชนและการจัดอบรมหลักสูตรระยะส้ัน
เน้นออกแบบหลักสูตรระยะส้ันตามความสนใจ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ท่ีใช้ในการดํารงชีวิตประจําวัน และทักษะอาชีพของคนทุกช่วงวัยในพ้ืนที่และชุมชนเป็นหลัก พร้อมท้ังศึกษาแนวทางการพัฒนา เป็นรูปแบบธนาคารหน่วยกิต ซ่ึงเป็นการเรียนเก็บหน่วยกิตของวิชาเรียนเพ่ือให้ผู้เรียนสามารถ เรียนข้ามสาขาวิชาและข้ามสถาบันการศึกษา หรือทํางานไปพร้อมกัน หรือเลือกเรียนเฉพาะหลักสูตร ท่ีสนใจ เพื่อสร้างโอกาสของคนไทยทุกช่วงวัยและทุกระดับสามารถพัฒนาตนเองทั้งในด้าน การศึกษาและการดํารงชีวิต
๙. การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม
มุ่งเน้นการจัดบริการสาธารณสุขและระบบความคุ้มครองทางสังคม ที่ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มอย่างเหมาะสมนําไปสู่ความเสมอภาค ประกอบด้วย
๙.๑ พัฒนาระบบบริการสาธารณสขุ แพทย์สมัยใหม่ และแพทย์แผนไทย
ให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เป็นท่ียอมรับในระดับสากล และมีคุณภาพทัดเทียมกันท่ัวทุกพื้นท่ี รวมถึงการยกระดับไปสู่ความเช่ียวชาญในด้านการแพทย์แม่นยํา และยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพ
๒๓

ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ โดยอยู่บนพื้นฐานหลักประสิทธิภาพและความย่ังยืนทางการคลัง ของประเทศ ส่งเสริมให้มีมาตรการสร้างเสริมสุขภาวะและอนามัยให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพ แข็งแรงและลดอัตราการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง พร้อมท้ังจัดให้มีส่ิงแวดล้อมต่าง ๆ ท่ีเอ้ือต่อสุขภาพ ของประชาชนอย่างเหมาะสมและพอเพียง
๙.๒ ส่งเสริมการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
โดยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาวะท่ีถูกต้องของคนทุกกลุ่มวัย ส่งเสริมการเล่นกีฬาและ ออกกําลังกายเพ่ือเสริมสร้างสุขภาวะ สร้างระบบรับมือต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ํา ทั้งระบบ ติดตาม เฝ้าระวัง และการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอย่างครบวงจรและบูรณาการ จัดระบบ การแพทย์ปฐมภูมิท่ีมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลอย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐาน ในการสร้างสุขภาวะท่ีดีในทุกพ้ืนท่ี
๙.๓ พัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นหมอประจําบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการส่ือสารทางการแพทย์ เร่งพัฒนา ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพให้ท่ัวถึงและครอบคลุมประชากรทุกภาคส่วน ลดความเหล่ือมลํ้า ของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ พร้อมท้ังเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการสาธารณสุข ในชุมชนผ่านการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลควบคู่ไปกับการเพ่ิมบทบาทของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และการยกระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบล เพ่ือให้ประชาชนในทุกครัวเรือนทุกพื้นท่ีโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึง หน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างท่ัวถึงและรวดเร็ว
๙.๔ สร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมด้านการศึกษา สุขภาพ การมีงานทําที่เหมาะสมกับประชากรทุกกลุ่ม มีการลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าหมาย เพ่ือช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยตรง จัดให้มีระบบบําเหน็จบํานาญ หลังพ้นวัยทํางาน ปฏิรูประบบภาษีให้ส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม สร้างความเสมอภาค ทางการศึกษาผ่านกลไกกองทุนเพ่ือความเสมอภาคทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพการศึกษา ผ่านการใช้เทคโนโลยีท่ีทันสมัย รวมถึงคุ้มครองแรงงานท้ังในระบบและนอกระบบให้ได้รับ ความปลอดภัยและมีสุขอนามัยท่ีดีในการทํางาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ ที่เหมาะสมแก่การดํารงชีพ
ท่านประธานรัฐสภาท่ีเคารพ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะต่อไป จําเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้อง มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ และการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว นอกจากน้ี การบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป จําเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องคํานึงถึงผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการเปล่ียนแปลง
๒๔

สภาพภูมิอากาศ ซ่ึงเป็นประเด็นท่ีประเทศไทยซ่ึงเป็นส่วนหน่ึงในสังคมโลกต้องมุ่งมั่นดําเนินการ เพ่ือลดผลกระทบด้านส่ิงแวดล้อมท่ีเกิดจากการพัฒนา รัฐบาลจึงได้กําหนดนโยบายการพัฒนา ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ดังนี้
๑๐. การฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโต อย่างย่ังยืน
๑๐.๑ ปกป้อง รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสําคัญ กับการเพ่ิมพื้นท่ีป่าไม้ของประเทศ เพ่ือสร้างสมดุลทางธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและย่ังยืน ท้ังพื้นท่ีป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าชายเลน และป่าชุมชน รวมทั้งเพิ่มพ้ืนที่สีเขียวในเขตเมือง หยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า อย่างจริงจัง รวมถึงเร่งฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม แก้ไขกฎหมายป่าไม้ท่ีซํ้าซ้อน เร่งคืนพื้นท่ีป่า โดยการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าและสามารถทํากิน ได้อย่างเหมาะสม นําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการพ้ืนท่ีเส่ียงต่อการถูกบุกรุกและ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมบทบาทของทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม หมู่บ้าน (ทสม.) พร้อมท้ังรณรงค์สร้างจิตสํานึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับเยาวชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
๑๐.๒ ปรับปรุงระบบที่ดินทํากินและลดความเหล่ือมล้ําด้านการถือครองท่ีดิน
โดยจัดสรรที่ดินทํากินและท่ีอยู่อาศัยให้แก่ราษฎรท่ียากไร้และเกษตรกรตามหลักการของ คณะกรรมการนโยบายท่ีดินแห่งชาติ การกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพ้ืนที่ที่ไม่ได้รุกล้ํา และมีมาตรการป้องกันการเปล่ียนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกรและผู้ยากจน จัดทําระบบฐานข้อมูลเพ่ือการบริหารจัดการท่ีดิน จัดทําหลักฐานการถือครองที่ดินของรัฐ ทุกประเภท จัดทําแผนท่ีแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน และเร่งแก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อน และแนวเขตพื้นที่ป่าท่ีไม่ชัดเจนเพื่อลดข้อขัดแย้งระหวา่งประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ
๑๐.๓ ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ําท้ังระบบ แหล่งนํ้าชุมชน และทะเล
โดยเชื่อมโยงกับแผนบริหารจัดการนํ้า ๒๐ ปีของประเทศ เพิ่มผลิตผลในการจัดการและการใช้น้ํา ทุกภาคส่วน จัดให้มีน้ําสะอาดใช้ทุกครัวเรือนในชุมชนชนบท ในปริมาณ คุณภาพ และราคา ท่ีเข้าถึงได้ มีระบบการจัดการน้ําชุมชนที่เหมาะสม พร้อมท้ังส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ พ้ืนที่ต้นนํ้า พื้นที่ชุ่มนํ้า พ้ืนที่พักน้ํา แหล่งนํ้าธรรมชาติ แอ่งนํ้าบาดาล การระบายนํ้าชายฝั่ง เพ่ิมผลิตภาพของนํ้า ท้ังระบบ และสร้างมูลค่าเพ่ิมจากการใช้นํ้าให้ทัดเทียมระดับสากล ดูแลภัยพิบัติจากนํ้า พัฒนา การจัดการนํ้าเชิงลุ่มนํ้าทั้งระบบ และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เพ่ือลดความเหล่ือมล้ําและสร้างระบบ จัดสรรนํ้าที่เป็นธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการนํ้าในชุมชนตามแนว พระราชดําริ
๒๕