PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บิ๊กป้อม ชี้"ราชฑัณฑ์" ใส่ตรวน นศ.มาขึ้นศาล แม้เป็นระเบียบ แต่มองแล้วไม่เหมาะสม



บิ๊กป้อม ชี้"ราชฑัณฑ์" ใส่ตรวน นศ.มาขึ้นศาล แม้เป็นระเบียบ แต่มองแล้วไม่เหมาะสม เพราะผมก็เห็น เมื่อวานนี้ เพราะในบางกรณีควรต้องปรับ แม้เป็นระเบียบ ที่ทำมาทุกยุคสมัย ไม่ใช่ทำเฉพาะในยุค คสช. แต่แค่มองว่า ในกรณีนศ. อาจต้องปรับให้เหมาสม และคงต้องคุยกัน
"แต่ก็ไม่ใช่ว่า ผมไปว่า ใครนะ เพราะเขา ทำตามระเบียบ เพียงแต่ผมเห็นว่า เป็นนศ. ก็ควรปรับให้เหมาะสม" พลเอกประวิตร กล่าว

ลุงป้อม ฝากถึง หลานๆ นักศึกษา....

ลุงป้อม ฝากถึง หลานๆ นักศึกษา....
บิ๊กป้อม ไม่เชื่อว่า จะเกิด Domino ขบวนการ นักศึกษาเคลื่อนไหว จากเริ่องประชามติ และการเมืองต้านคสช. จากที่มี จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มาตอนนี้ ม.เกษตรฯ ม.ราม. ชี้ มีแค่นิดหน่อย ทำความเข้าใจกันไป แต่ก็ให้แสดงออกได้ ในมหาวิทยาลัย ก็ไม่เป็นไร เดี้ยวก็ มีประชามติ แล้ว ก็ไปตามโรดแมพแล้ว
แต่ ยังไม่มีแนวคิดเชิญ หลานๆนศ.มาคุยกับลุงป้อม แต่ขอฝากผ่านสื่อถึง น้องๆ หลานๆนศ. ว่า ให้ดูแลประเทศต่อ ต่อไปประเทศนี้ ไม่ได้อยู่ที่ผมแล้ว ตอนนี้ผมมาดูแลให้สงบให้ก่อน เท่านั้น อีกหน่อย พวกนศ.ก็เติบโตมาดูแลต่อไป. ตอนนี้เราก็ดูแลให้ประเทศมั่นคง พยายามทำทุกอย่าง ให้เกิดความสงบ

บิ๊กป้อม ยังไม่ปิดประตู เลิกซิ้อ ยุทโธปกรณ์ ยูเครน แม้ส่งรถถังล่าช้า

บิ๊กป้อม ยังไม่ปิดประตู เลิกซิ้อ ยุทโธปกรณ์ ยูเครน แม้ส่งรถถังล่าช้า/ เผย กห.เห็นแก่ประชาชน ไม่ใช่งบฯกลางรัฐบาล เพื่อให้ไปใช้ด้าน สาธารณสุข ช่วยเหลือประชาชน ชาวไร่ชาวนา/ทเผย ทวงถาม ทูตยูเครน Andriy Beshta การส่งมอบรถถังOplot ที่ล่าช้า มาแค่ปีละ5คัน จนตอนนี้แค่10คันเท่านั้น เพราะสถานการณ์ในประเทศ เขาก็ต้องผลิตของเขาเอง เพื่อเอาไปใช้ก่อน แต่ไม่รู้ทบ.เรียกค่าปรับมั้ย เผยยูเครนจะมาตั้งโรงงานผลิตรถและอะไหล่ รถเกราะล้อยางBTR-31Eในไทย เพราะทบ.ซื้อกว่า100คัน
ที่กลาโหม เอกอัครราชทูตยูเครน ประจำประเทศไทว นาย Andriy Beshta พร้อมทีมตัวแทนอาวุธ ยูเครน มาพบ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม
พลเอกประวิตร เผยก่อการพบว่า จะถาม เรื่องการส่งมอบรถถังOplot ให้ ทบ.ที่ล่าช้า มาแค่ปีละ5คัน จนตอนนี้. มาแค่10คันเท่านั้น เพราะสถานการณ์ในประเทศ เขาก็ต้องผลิตของเขาเอง เพื่อเอาไปใช้ก่อน ซึ่งเราก็เข้าใจ แต่ก็คงต้องถามเขา
ส่วนจะต้องเรียกค่าปรับ จากยูเครน ที่ส่วรถถังข้า หรือไม่ พลเอกประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องของ ทบ. เพราะต้องไปดูในสัญญา และระเบียบ
พลเอกประวิตร เผยด้วยว่า ยูเครนสนใจจะมาตั้งโรงงานผลิตรถเกราะ และอะไหล่ รถเกราะล้อยางBTR-31Eในไทย เพราะทบ.ซื้อกว่า100คัน
"เขามาขอพบผม แสดงว่า เขาก็มีเรื่องจะคุย แล้วเขาอยู่เมืองไทย อยู่แล้ว ใครมาพบ ผมก็ให้พบ"
เมื่อถามว่า ในเมื่อยูเครน มีปัญหาในประเทศ และส่งสินค้าล่าช้า มาตลอด กองทัพไทย จะเลิกซื้อ ยุทโธปกรณ์ จากยูเครน หรือไม่. พลเอกประวิตี กล่าวว่า คงทำยังงั้นไม่ได้ เราต้องเข้าใจสถานการณ์ภายในของเขา
พร้อมยอมรับว่า การที่กองทัพบก จัดซื้อ รถถังจีน VT4 มาจำนวน28 คัน และจะซื้ออักในอนาคต นั้น เพราะการที่ ยูเครน ไม่สามารถส่งมอบ รถถัง Oplot ให้เราได้
เพราะสถานการณ์ภายในประเทศ อีกทั้ง เป็นรถที่สมรรถนะดี เพราะ พลเอกธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.เดืนทางไปดูมาด้วยตนเอง
ส่วนเรื่องการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของ กองทัพ ที่มักถูกโจมตี และเปรียบเทียบกับงบการศึกษาและสาธารณสุข นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า งบฯกลาโหม ปกติได้น้อยกว่า ด้านการศึกษาและสาธารณสุข อยู่แล้ว และที่ผ่านมา กลาโหม ก็ไม่ได้ใช้งบฯกลางของรัฐบาลเลย เพราะต้องการให้เอางบฯกลาง ไปช่วยประชาชน พี่น้องเกษตรกร และด้านสาธารณสุข
"งบประมาณต่างๆ ก็เป็นภาษีราษฎร ก็ต้องกลับไปสู่ราษฎร เพราะในส่วนของกองทัพ ที่เราซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เราทำให้ประเทศ มั่นคง เราทำเพื่อใครล่ะ ก็เพิ้อประชาชน การทียุทโธปกรณ์ดี ก็สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน มั่นใจในการดูแลอธิปไตย ของประเทศ"

"โฆษก ทบ." ยัน การดูแลชายแดนใต้ของทบ. มีมาตรฐาน



"โฆษก ทบ." ยัน การดูแลชายแดนใต้ของทบ. มีมาตรฐาน ยันยังไม่มีเรื่องผิดปกติ ไม่ข้อมูลเชื่อมโยงกับกลุ่มนอกปท.หรือโยงIS เผย ผบทบ.สั่งปรับแผนคุมใต้เข้มหลังคาร์บอมบ์เตรียมลงใต้เร็วๆนี้รับทราบการปรับแผน-วางกำลังหลังพล.ร.5-พล.ร.15เข้าคุมพื้นที่
"พ.อ.วินธัย สุวารี" โฆษก ทบ. ยืนยันว่า การดูแลความสงบ ที่ชายแดนใต้ของทบ.มีมาตรฐาน แม้จะเกิดเหตุคาร์บอมบ์ ที่ปัตตานี งานนี้. และยืนยันว่า ไม่มีเรื่องผิดปกติ ใดๆ
"ไม่ข้อมูลเชื่อมโยงกับกลุ่มนอกประเทศ หรือโยง กลุ่ม IS ที่กำลังเคลื่อนไหว ในมาเลเซีย ขอให้มั่นใจ การดูแลความมั่นคง ที่มีมาตรฐาน และยังไม่มีข้อมูลใดๆ ที่ ชึ้ให้เห็นว่า เชื่อมโยงกับกลุ่มอื่นๆ" พันเอกวินธัย กล่าว
พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก ทบ. กล่าวว่า ในการประชุมสถานการณ์ประจำวัน วันนี้ ที่ บก.ทบ. พลเอกธีรชัย นาควานิช. ผบ.ทบ. ได้แสดงความ มั่นใจในการ ทำหน้าที่ของ จนท.ว่า จะดูแลสถานการณ์ ได้เป็นอย่างดี
โดยสั่งการเพิ่มเติม ให้จัดการ สิ่งผิดกม. ผู้มีอิทธิพล สินค้าหนีภาษี เพราะเป็นภัยแทรกซ้อน
ทั้งนี้ ผบ.ทบ. ได้สั่งการให้ ปรับแผนคุมใต้เข้ม และ เตรียมลงพื้นที่เร็วๆนี้ เพื่อรับทราบการปรับแผน และการจัดวางกำลัง ใหม่ หลังจากที่ พล.ร.5 และ พล.ร.15เข้าคุมพื้นที่แทน กำลังจากกองทัพภาค1-ภาค2และภาค3 ที่ ทะยอยถอนกำลัง มาตั้งแต่ เมย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ พล.ร.5 และ พล.ร.15 ซึ่งเป็นหน่วยในพื้นที่ของ กองทัพภาค4

นักกิจกรรมรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้รับการปล่อยตัวครบ 7 คนแล้ว


นักกิจกรรมรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้รับการปล่อยตัวครบ 7 คนแล้ว
นายกรกช แสงเย็นพันธุ์ ซึ่งถูกอายัดตัวเพราะติดข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จากการทำกิจกรรมนั่งรถไฟไปราชภักดิ์ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อเวลา 16.10 น. ที่ผ่านมา โดยใช้หลักทรัพย์ประกัน 10,000 บาท และมีเงื่อนไขห้ามมั่วสุมชุมนุมทางการเมือง
ก่อนหน้านี้ ในช่วงเช้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพปล่อยตัว 6 นักศึกษาที่ทำกิจกรรมรณรงค์ประชามติ หลังศาลทหารมีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังผัด 2 วานนี้ ขณะที่นักศึกษาอีกหนึ่งรายคือ กรกช แสงเย็นพันธ์ ถูกอายัดตัวโดยสถานีตำรวจรถไฟธนบุรี เนื่องจากเป็นผู้ต้องหาคดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์
นักกิจกรรมทั้ง 6 รายที่ได้รับการปล่อยตัวประกอบด้วย นายรังสิมันต์ โรม นายยุทธนา ดาศรี นายธีรยุทธ นาขนานรำ นายอนันต์ โลเกตุ นายสมสกุล ทองสุกใส และนายนันทพงศ์ ปานมาศ ทั้งหมดถูกควบคุมตัวเนื่องจากรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. และเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้ง 4 ข้อหาได้แก่ กระทำการผิด มาตรา 61 วรรค 2 และ 3 ของ พ.ร.บ. ลงประชามติ ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ผิดคำสั่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช. เนื่องจากไม่ยอมพิมพ์ลายมือ ไม่แสดงบัตรประชาชน และผิดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน
อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ยันไม่จริง เพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำ 10 ลำ ชี้พูดแบบนี้ส่งผลความไว้ใจ
.
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 4 กรกฎาคม ที่หอประชุมกองทัพเรือ โรงเรียนเสนาธิการสามเหล่าทัพ ได้จัดเสวนาทางวิชาการหัวข้อ บทบาทของมหาอำนาจที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทย โดยมีนายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ พล.ร.อ.อมรเทพ ณ บางช้าง อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนาสงสาวศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเสวนา
.
โดยนายสุรชาติ กล่าวว่า การปรับทิศทางของมหาอำนาจในภูมิภาคเริ่มต้นเมื่อปี 2554 จากภาพถ่ายระหว่าง นางฮิลลารี่ คลินตัน รมต.ต่างประเทศสหรัฐฯ ในขณะนั้นพบกับ นางอองซาน ซูจี ที่ประเทศเมียนมาร์ เป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์อินทรีย์ขยับปีก มังกรขยับตัว แสดงถึงภูมิรัฐศาสตร์ของมหาอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่กลับมาในภูมิภาคนี้ ส่งผลให้เห็นถึงการขยับตัวของจีนมากขึ้น ในส่วนของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าหลังจากรัฐประหารปี 2557 รัฐบาลมอสโคว์ และ ปักกิ่ง ไม่ได้พูดถึงเหตุการณ์ในไทย ส่งผลให้โลกจัดสถานะของไทยไปอยู่กับฝ่ายจีน เช่นเดียวกับลาวและกัมพูชา ขณะที่พม่ามีความใกล้ชิดกับตะวันตกมากขึ้น และในรัฐบาลนี้ก็เริ่มมีการจัดหายุทโธปกรณ์จากจีนเช่น รถถัง และเรือดำน้ำ
.
นายสุรชาติ กล่าวต่อว่า คำถามคือประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะทำอย่างไร และ จะรับมือต่อการเข้ามาร่วมมือของมหาอำนาจได้หรือไม่ โดยเฉพาะการวางบทบาทต่อปัญหาใหญ่ในภูมิภาคอย่างกรณีของทะเลจีนใต้ อีกทั้งยังมีตัวบวกจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เพิ่มขึ้น เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด เป็นต้น บทบาทของกองทัพไทยที่คงไม่เจอกับภัยคุกคามตามแบบซึ่งเป็นการรบขนาดใหญ่ แต่ต้องเจอกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ถือเป็นโจทย์ว่ากองทัพจะปรับตัวอย่างไร “ ดร.สุรชาติ ระบุ
.
นายสุรชาติ กล่าวต่อว่า ในส่วนของอาเซียนเองต้องดูว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้น ซึ่งทุนนิยมก็เป็นทิศทางหลักในอาเซียน และภายใต้การขยายตัวของทุนนิยมก็นำปัญหาอื่นเข้ามา เช่น กรณีของไฟไหม้ป่าในชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ผูกโยงกับบริษัทที่เข้าไปทำป่าไม้เป็นต้น ในบริบทเหล่านี้เราต้องพยายามลดความหวาดระแวง แต่ก็พบว่าการจัดหาอาวุธในโครงการใหญ่ของไทย มีการให้ข้อมูลผิดพลาด เช่นบอกว่าประเทศเพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำ 10ลำ ทั้งที่ภูมิภาคนี้ไม่มีเรือดำน้ำถึง 10 ลำ ซึ่งการพูดลักษณะนี้จะส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้านไว้ใจได้อย่างไร
.

สนช.เตรียมพิจารณาถอดถอน “พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต” ออกจากตำแหน่ง

6 ก.ค. 59 - โฆษกวิป สนช.เผย ที่ประชุม สนช. เตรียมพิจารณาการดำเนินกระบวนการถอดถอนพลอากาศเอก สุกำพล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกจากตำแหน่ง พร้อมพิจารณากระทู้ถามและร่าง พ.ร.บ.กิจการฮัจย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          นายแพทย์ เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) แถลงข่าวถึงการประชุมสภานิติบัญญัติ (สนช.) ในสัปดาห์นี้ว่า ในวันที่ 7 กรกฎาคม จะพิจารณาการดำเนินกระบวนการถอดถอนพลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และกำหนดวันแถลงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้กล่าวหา และ พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต ผู้ถูกกล่าวหา พร้อมพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงข้อกฎหมายและพยานหลักฐานอันจำเป็นของคู่กรณี และการพิจารณา ร่างระเบียบว่าด้วยการยื่นคำร้อง การรับคำร้อง การนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ....

          ส่วนในวันที่ 8 กรกฎาคม จะมีการพิจารณากระทู้ถาม 3 เรื่อง คือ 1. การดำเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นผู้ตั้งถาม 2.นโยบายเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ นานวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นผู้ตั้งถาม และ 3.เรื่องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุที่เข้าใช้บริการสวนลุมพินี พลตำรวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์ เป็นผู้ตั้งถาม นอกจากนี้มีวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกิจการฮัจย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ด้วย

'ขวัญชัย' น้ำตาร่วง! กลัวถูกเก็บในเรือนจำ

"ขวัญชัย" เข้ามอบตัวกับทหาร ส่งต่อศาลเข้าเรือนจำทันที ระบุหนีตอนแรกเพราะกลัวถูกเก็บในเรือนจำ แต่ผบ.มทบ.24ยันปลอดภัย จึงรับโทษตามกฏหมาย

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 6 กรกฎาคม ที่กองบัญชาการ มทบ.24 นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ไพรพนา อดีตประธานชมรมคนรักอุดร เดินทางเข้าพบ พล.ต.อำนวย จุลโนนยาง ผบ.มทบ.24 พล.ต.ต.พีระพงษ์ วงศ์สมาน ผบก.ภ.จว.อุดรานี เพื่อขอมอบตัว หลังจากที่ได้หลบหนีฟังคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา ในคดีร่วมทำร้ายร่างกายกลุ่ม พธม.อุดรธานี ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 โดยศาลฎีกาตัดสินจำคุก 2 ปี ปรับ 350,000 บาท 

โดยการเข้ามอบตัวมี นางอาภรณ์ สาราคำ นายกรวีย์ สาราคำ ภรรยาและบุตรชายนายขวัญชัยฯ พร้อม นายปิ่น ทักษิณ ทนายความ และ นางมยุเรศ โคตรชมภู อดีตแกนนำคนเสื้อแดง จ.หนองคาย ร่วมเดินทางมาด้วย 

หลังจากเดินทางมาถึง นายขวัญชัย ที่มีสภาพอิดโรด สวมเสื้อโปโลลายขวางสีแดงคาดขาว กางเกงขาสั้น สวมรองเท้าแตะ ทาง พล.ต.อำนวย พล.ต.ต.พีระพงษ์ ได้ลงมาเชิญนายขวัญชัย และคณะ เข้าไปยังห้องรับรอง มทบ.24 พร้อมสอบถามสาเหตุที่หลบหนี ซึ่งทางนายขวัญชัย ชี้แจงว่า ช่วงที่หลบหนีไปครั้งแรก เพราะกลัวว่าศาลจะตัดสินเพิ่มโทษจากเดิมที่ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี 8 เดือน แต่ขอไม่บอกว่าหลบหนีไปอยู่ที่ใด เพราะกลัวว่าคนที่พาไปจะเดือดร้อน อีกทั้งกลัวว่า หากถูกจำคุกไปแล้ว จะไม่ปลอดภัย ซึ่งทาง พล.ต.อำนวยฯ รับปากที่จะดูแลเรื่องความปลอดภัยให้เป็นพิเศษ โดยมีการพูดคุยกันประมาณ 5 นาที 

นายขวัญชัยฯ ให้สัมภาษณ์ว่า ขออนุญาตไม่ตอบว่าหลบไปอยู่ที่ใด เพราะไม่อยากให้พรรคพวกเพื่อนฝูงเดือดร้อน แต่ไปหลบอยู่ในที่ที่สงบ นั่งทำสมาธิ ตั้งจิตใจให้สงบ คิดทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ในการที่ต่อสู้ทางการเมืองตั้งแต่ปี 49 และทบทวนบทบาทตัวเอง เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็ต้องยอมรับ เมื่อสถานการณ์มันเป็นอย่างนี้ ก็ต้องยอมรับความจริง เมื่อศาลฎีกาพิพาษศาลงโทษจำคุก 2 ปี จึงคิดว่ากลับมารับโทษดีกว่า เพราะตอนแรกที่ไม่ได้มาฟับงคำพิพากษา ตนได้ข้อมูลมาคลาดเคลื่อน เกรงว่าจะมีการเพิ่มโทษ เกรงว่าจะมีการทำร้ายตนเองในเรือนจำ เพราะข่าวเรื่องติดเชื้อในกระแสเลือดกับคนต่าง ๆ มันแรงเหลือเกิน จึงทำให้ตนหลบหนีไปไม่กล้ามาฟังคำพิพากษา 
“เมื่อไปตั้งสติมาแล้ว จึงคิดว่าวันนี้ได้รับคำยืนยันจากทาง พล.ต.อำนวย จุลโนนยาง ผบ.มทบ.24 ที่เป็นคนที่ผมเคารพนับถืออยู่ ตั้งแต่สมัยการต่อสู้มาตั้งแต่ปี 49 ที่รู้จักตั้งแต่มีการรัฐประหารครั้งแรก ที่ผมไว้วางใจมาโดยตลอด เมื่อท่านให้ความมั่นใจถึงขนาดนี้แล้ว ผมจึงเดินทางกลับมาเข้าสู่กระบวนการรับโทษ พร้อมที่จะเข้าไปต้องโทษ 2 ปี ซึ่งตอนนี้ผมทำใจได้แล้ว และห่วงใยความรู้สึกของสมาชิกชมรมคนรักอุดร ที่พ่อ ๆ แม่ ๆ ที่มาพบคุณอาภรณ์ฯ ภรรยาผม และกับบุตรชาย ที่อยากให้ผมกลับมามอบตัว” 
จากนั้น พล.ต.อำนวยฯ ผบ.มทบ.24 พล.ต.ต.พีระพงศ์ฯ ผบก.ภ.จว.อุดรธานี ได้นำตัวนายขวัญชัยฯ ขึ้นรถ เพื่อนำตัวส่งยังศาล จ.อุดรธานี โญมีทนายความ พร้อมภรรยา บุตร และผู้ติดตาม เข้าไปภายในศาล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของศาล ก่อนที่จะควบคุมตัวนายขวัญชัยฯ ไปยังเรือนจำกลางอุดรธานี
พล.ต.อำนวย จุลโนนยาง ผบ.มทบ.24 เปิดเผยว่า หลังจากที่นายขวัญชัย ไม่มารับฟังความพิพากษา ทางกองทัพบกในฐานะดูแลหน่วยงานความมั่นคง และทางตำรวจ ก็พยายามติดตามตัวกลับมา เพราะกลัวว่าอาจจะมีความเข้าใจผิด หรือมีอะไรที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดคิดหรือไม่ เนื่องจากส่งผลในความเชื่อมั่น เชื่อถือ ในระบบความมั่นคง ตนจึงพยายามติดต่อหาข้อมูลกับทางครอบครัวนายขวัญชัยฯ และฝากบอกว่าขอให้นายขวัญชัยฯ กลับมาเข้าสู่ระบบเสีย เพราะอย่างไรในประเทศไทยก็ยังดำรงเรื่องของความยุติธรรม และความมีน้ำใจอยู่ 

“จนถึงเมื่อวานนี้ ทางบุตรชายนายขวัญชัย โทรมาบอกผมว่า นายขวัญชัย ติดต่อกลับมา และบอกให้ลูกชายมาพบผม เมื่ออธิบายให้ทราบว่า ทั้งหมดมันหนีความจริงไม่ได้ ให้กลับมา เพราะสุดท้ายก็จะได้รับความเมตตาจากระบบ เพราะถ้าหนีก็ต้องหนีไปตลอดชีวิต จนเมื่อเช้าวันนี้ภรรยาและบุตรชายนายขวัญชัยฯ มาพบผม ยืนยันว่านายขวัญชัยฯ จะกลับมามอบตัวเข้าสู่ระบบ ผมจึงรายงานไปยังทางแม่ทัพภาค 2 และปรึกษาทางผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และทาง ผก.ภ.จว.อุดรธานี เพื่อทราบถึงวิธีปฏิบัติตามขั้นตอน เพราะทางนายขวัญชัยฯ ค่อนข้างไม่สบายใจเรื่องความปลอดภัย จนนายขวัญชัยฯ จึงมาพบผม เพื่อให้นำตัวส่งเข้าสู่ระบบต่อไป”

"ขวัญชัย" โผล่มอบตัวแล้ว!! หลังศาลฎีกาสั่งจำคุก 2 ปี ไม่รออาญา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ศาลจังหวัดอุดรธานี ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎกีกาลับหลัง โดยตัดสินจำคุก นายขวัญชัย สารคำ หรือ ไพรพนา อดีตประธานชมรมคนรักอุดร  เป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และปรับเป็นเงิน 350,000 บาท  ข้อหา "ร่วมกันพยายามฆ่า , ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ร่วมกันทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และร่วมกันทำลายทรัพย์สิน หลังก่อเหตุนำกลุ่มคนเสื้อแดงทำร้ายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อุดรธานี ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม เขตเทศบาลนครอุดรธานี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551  โดยศาลได้นัดคำฟังพิพากษา โดยที่ออกหมายจับจำเลยไว้ เป็นการอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยตามขบวนการพิจารณา โดยไม่มีจำเลยมาฟังคำพิพากษา


ล่าสุด เมื่อเวลา 13.05 น. วันนี้ (6 ก.ค.2559) นายขวัญชัย สารคำ หรือ ไพรพนา อดีตประธานชมรมคนรักอุดร ได้เข้ามอบตัวกับ พล.ต.อำนวย จุลโนนยาง ผบ.มทบ.24 อุดรธานี ในสภาพสีหน้าเคร่งเครียด สภาพร่างกายดูไม่สดใส หลังพูดคุยประมาณ 10 นาที ผบ.มทบ.24 อุดรธานี ได้นำตัวส่งมอบศาลจังหวัดอุดรธานี ทำการควบคุมตัวต่อไป


โตโยต้าปลดลดพนักงานกว่าพันในรอบ 50 ปี เหตุลดกำลังการผลิต ศก.ชะลอตัว

กรณีของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ค่ายยักษ์จากประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อโครงการว่า จากกันด้วยใจ รายงานข่าวระบุว่าโครงการดังกล่าวเปิดให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงซึ่งมีอยู่ในกระบวนการผลิตประมาณร้อยละ 40 ของลูกจ้างทั้งหมดหรือราว 800-900 คน สมัครใจลาออก โดยกำหนดจำนวนแต่ละไลน์การผลิต และได้เปิดรับสมัครเข้าโครงการเป็นเวลา 1 อาทิตย์ โดยผู้บริหารลงชี้แจงลูกจ้างเหมาค่าแรงพร้อมทั้งสัญญากับลูกจ้างเหมาค่าแรงว่า หากผลประกอบการดีขึ้นจะรับลูกจ้างเหมาค่าแรงกลับเข้ามาทำงานในอัตราค่าจ้างเดิม สวัสดิการเดิม และนับอายุงานต่อเนื่องด้วย ทางบริษัทจะจ่ายเงินพิเศษและค่าชดเชยให้ตามอายุงาน พร้อมค่าจ้างและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า โดยบริษัทเปิดรับสมัครใจลาออกในส่วนของลูกจ้างเหมาค่าแรงที่มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งหลังจากครบกำหนดตามที่บริษัทเปิดโครงการ ทางบริษัทจะมีการใช้การประเมินดูเรื่องประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องการที่จะใช้การลาออกโดยสมัครใจก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ชี้แจงรายละเอียดดังต่อไปนี้ จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัว ประกอบกับความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการส่งออก ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องปรับลดกำลังการผลิตลง และมีพนักงานเกินความจำเป็นในการผลิต รวมทั้งต้องปรับลดจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา ทำให้รายได้รวมต่อเดือนของพนักงานลดลง
ดังนั้น เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีทางเลือก บริษัทจึงเปิดโครงการ “จากด้วยใจ” ให้แก่พนักงานรับเหมาช่วงเข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออก ซึ่งพนักงานที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินชดเชยครบถ้วนตามกฎหมายแรงงาน และบริษัทยังพิจารณาจ่ายเงินเพิ่มเติมพิเศษให้กับพนักงานที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ดีขึ้น ทางบริษัทยินดีที่จะรับพนักงานที่สมัครใจร่วมโครงการนี้กลับเข้าทำงานเป็นลำดับแรก โดยคงอัตราค่าจ้างพร้อมสวัสดิการตามเดิม รวมทั้งจะนับอายุงานต่อเนื่อง บริษัทขอยืนยันว่าตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมาในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทไม่มีนโยบายปลดพนักงานออกแต่อย่างใด รวมทั้งโตโยต้า ยังมีความมั่นใจว่าประเทศไทยยังคงมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้ต่อไป

แอร์โดกันประกาศร่วมมือกับรัสเซียปราบไอสิส!:

แอร์โดกันประกาศร่วมมือกับรัสเซียปราบไอสิส!:
เกิดอะไรขึ้นครับกับแอร์โดกัน? 
๑.หันมาสวามิภักดิ์กับรัสเซีย ยอมทำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่รัสเซียกำหนด แม้กระทั่งหันไปคืนดีกับอัสสาดของซีเรีย 
๒.โทรศัพท์เพื่อนัดพบกับประธานาธิบดีอัสสาดของซีเรีย อ้างว่า 'สองเรามีปัญหาเดียวกัน' ถึงขั้นเรียกอัสสาดว่า *น้องชาย* (Brother) 
๓.ติดต่อให้รัสเซียใช้ฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคของตนเองอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งๆ ที่มีเครื่องบินรบประเทศเครือนาโต้จอดอยู่ ไม่ว่าของอเมริกา ซาอุฯ ฯลฯ เพื่อหาทางไล่มะกันและพันธมิตรออก
จากฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคของตนเองทางอ้อม หลังจากมะกันทราบเรื่อง ก็แจ้งให้แอร์โดกันทราบว่าฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคนี้ สร้างขึ้นมาโดยเงินดอลล่าห์ของมะกัน ไม่ควรให้รัสเซียใช้ รัฐบาลแอร์โดกันถึงออกมาปฏิเสธอย่างจ้าละหวั่น และรัสเซียก็ออกมาให้ข่าวว่าไม่ได้ต้องการใช้ฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคแต่อย่างใด
๔.วันนี้ แอร์โดกันออกมาประกาศร่วมมือกับรัสเซียเพื่อกวาดล้างไอสิสเต็มที่
ทั้งหลายทั้งปวงนี้มีทางเป็นไปได้ว่าแอร์โดกันคงได้ข่าวว่ามหาอำนาจบางชาติไม่เอาตนแล้วและกำลังหาทางสร้างแรงกดดันเพื่อไล่เขาออกจากตำแหน่ง ถึงยอมเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือแบบนี้
6 กรกฎาคม 2559
*ถ้าจะแชร์ โปรดอ้างที่มาให้ชัดเจนและหากจะวิจารณ์ โปรดใช้คำสุภาพเพื่อป้องกันการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ โปรดใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษาไทยด้วยครับ ผมพยายามลบข้อความวิจารณ์ที่หยาบและสะกดผิดออกทุกครั้งที่เห็น ในกรณีที่วิจารณ์ไม่เข้าเรื่องหรือหยาบเกินไปบ่อยๆ ผมอาจจะบล็อคไม่ให้วิจารณ์อีกนะครับ
http://www.reuters.com/…/us-mideast-crisis-turkey-russia-id…
Turkey has proposed cooperating with Moscow to combat Islamic State in Syria, suggesting it could open its Incirlik Air Base to Russia -…
REUTERS.COM|โดย REUTERS EDITORIAL

พล.อ.ประยุทธ์ใช้ ม.44 แก้ครอบครองที่ดิน สปก.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

วันนี้ (5 ก.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 36/2559 เรื่อง มาตรการในการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดิน ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบกฎหมาย

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ให้มีการส่งมอบพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมเพื่อนําพื้นที่ไปดําเนินการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่จนถึงปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่ายังมีแปลงที่ดินที่ยังมิได้ทําการสํารวจรังวัดอยู่อีกเป็นจํานวนมากเนื่องจากมีผู้ถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวต่างไม่ให้ความร่วมมือหรือความยินยอมเพื่อเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือแม้กระทั่งในบางรายที่ได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แต่การส่งมอบพื้นที่คืนเพื่อให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนําไปดําเนินการจัดที่ดินตามกฎหมายก็ยังไม่ได้รับการปฏิบัติตามคําพิพากษา นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเข้าใช้ประโยชน์โดยอ้างสิทธิในที่ดินจากการซื้อขายต่อจากเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินหรือมีการเปลี่ยนมือที่ดินที่จัดให้แก่เกษตรกรเพื่อถือครองที่ดินเป็นแปลงขนาดใหญ่และได้นําพื้นที่ดังกล่าวไปประกอบเกษตรกรรมในรูปแบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรงในระยะยาวหรือในบางกรณีปรากฏพื้นที่ข้างเคียงเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังคงเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งหากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม อาจมีปัญหาการบุกรุกพื้นที่เพิ่มเติมซึ่งกระทบต่อความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้ ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ที่ดินดังต่อไปนี้

(๑) ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ ๕๐๐ ไร่ ขึ้นไป

(๒) ที่ดินที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีมติให้เกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินสิ้นสิทธิเข้าทําประโยชน์แล้วและครอบครองโดยบุคคลที่มิใช่ผู้ได้รับการจัดที่ดินมีเนื้อที่ตั้งแต่๑๐๐ ไร่ ขึ้นไป

(๓) ที่ดินที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ส่งมอบแก่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้วและมีเนื้อที่ตั้งแต่๕๐๐ ไร่ ขึ้นไป
การกําหนดพื้นที่เป้าหมายตาม (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกาศกําหนด

ข้อ ๒ เมื่อสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกาศกําหนดพื้นที่เป้าหมายตามข้อ ๑ (๑) ให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดปิดประกาศพื้นที่เป้าหมายไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ว่าการอําเภอ ที่ทําการกํานันที่ทําการผู้ใหญ่บ้าน และที่ทําการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แห่งท้องที่ซึ่งพื้นที่เป้าหมายตั้งอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้นายอําเภอ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปิดประกาศนั้น มีหน้าที่รักษาความมีอยู่หรือความสมบูรณ์ของประกาศด้วย

ข้อ ๓ ให้ผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่เป้าหมายตามข้อ ๑ (๑) ยื่นคําร้องเพื่อแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่น ต่อสํานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดภายในสิบห้าวัน นับแต่วันปิดประกาศตามข้อ ๒ และให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดตรวจสอบหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่เป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กําหนดการยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) โฉนดที่ดิน โฉนดตราจอง หรือตราจองที่ตราว่า “ได้ทําประโยชน์แล้ว”

(๒) หนังสือรับรองการทําประโยชน์ในที่ดิน (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข. หรือแบบหมายเลข ๓)

(๓) หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑)

(๔) ใบแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน (ส.ค. ๒)

(๕) ใบจอง

(๖) ใบเหยียบย่ำ

(๗) หนังสือแสดงการทําประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ (น.ค. ๓ กสน. ๓ หรือ กสน. ๕)

(๘) หนังสือแสดงสิทธิอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ ๔ ในพื้นที่เป้าหมายตามข้อ ๑ (๑) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามข้อ ๓ หากผู้ครอบครองที่ดินไม่มายื่นคําร้องแสดงสิทธิในที่ดิน หรือสํานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาแล้วไม่เห็นชอบกับคําร้องตามข้อ ๓ หรือไม่ปรากฏว่ามีผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่เป้าหมาย ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่งตั้งมีอํานาจดําเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) สั่งให้ผู้ครอบครองที่ดินออกจากพื้นที่เป้าหมายภายในเวลาที่กําหนด และงดเว้นกระทําการใดๆในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย

(๒) สั่งให้ผู้ครอบครองที่ดินรื้อถอน ทําลาย หรือกระทําการอื่นใด แก่สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งอื่นใดในพื้นที่เป้าหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่ง

(๓)เข้าไปทําการอันจําเป็นเพื่อการสํารวจและรังวัดพื้นที่เป้าหมาย หรือตรวจสอบการครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ ในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย

(๔) ออกคําสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคําหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เป้าหมาย

(๕)ยึด รื้อถอน ทําลาย หรือกระทําการอื่นใด กับสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอุปสรรคกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในกรณีที่ผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตาม (๒) หรือไม่ปรากฏว่ามีผู้ครอบครองที่ดินในพื้นที่เป้าหมาย

ข้อ ๕ ในพื้นที่เป้าหมายตามข้อ ๑ (๒) ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่งตั้งมีอํานาจดําเนินการตามข้อ ๔ เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีมติให้สิ้นสิทธิเข้าทําประโยชน์

ข้อ ๖ ในพื้นที่เป้าหมายตามข้อ ๑ (๓) ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่งตั้งนําเจ้าพนักงานบังคับคดีเข้าไปดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและให้เจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจดําเนินการตามข้อ ๔

ข้อ ๗ ให้กองทัพภาค กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกําลังป้องกันชายแดนของกองทัพบก หรือกองบัญชาการตํารวจภูธรภาค มอบหมายเจ้าหน้าที่ในสังกัดของตน เข้าร่วมปฏิบัติการตามข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๖ ตามที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร้องขอโดยให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนั้นมีอํานาจตามข้อ๔ ด้วย

ข้อ ๘ ให้บรรดาสิ่งปลูกสร้างในบริเวณพื้นที่เป้าหมายที่ไม่เป็นอุปสรรคกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป

ข้อ๙ เมื่อได้ครอบครองพื้นที่เป้าหมายแล้ว ให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเร่งดําเนินการให้มีการนําที่ดินมาจัดให้แก่เกษตรกร ดังต่อไปนี้

(๑) เกษตรกรตามนโยบายจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนของรัฐบาล

(๒) เกษตรกรที่ถือครองที่ดินเดิมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดิน จากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยให้รวมถึงบุคคลในครอบครัวเดียวกัน หรือผู้สืบสันดานของผู้ถือครองที่ดินเดิมที่ได้ร่วมทําประโยชน์ในที่ดินนั้น 

การจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรตาม (๒) ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล

ข้อ ๑๐ ให้ผู้ครอบครองที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายชดใช้หรือออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ๔ (๕)

ข้อ ๑๑ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ที่ได้กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ข้อ๑๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อ ๑๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ