PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ยันไม่จริง เพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำ 10 ลำ ชี้พูดแบบนี้ส่งผลความไว้ใจ
.
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 4 กรกฎาคม ที่หอประชุมกองทัพเรือ โรงเรียนเสนาธิการสามเหล่าทัพ ได้จัดเสวนาทางวิชาการหัวข้อ บทบาทของมหาอำนาจที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทย โดยมีนายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ พล.ร.อ.อมรเทพ ณ บางช้าง อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนาสงสาวศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเสวนา
.
โดยนายสุรชาติ กล่าวว่า การปรับทิศทางของมหาอำนาจในภูมิภาคเริ่มต้นเมื่อปี 2554 จากภาพถ่ายระหว่าง นางฮิลลารี่ คลินตัน รมต.ต่างประเทศสหรัฐฯ ในขณะนั้นพบกับ นางอองซาน ซูจี ที่ประเทศเมียนมาร์ เป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์อินทรีย์ขยับปีก มังกรขยับตัว แสดงถึงภูมิรัฐศาสตร์ของมหาอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่กลับมาในภูมิภาคนี้ ส่งผลให้เห็นถึงการขยับตัวของจีนมากขึ้น ในส่วนของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าหลังจากรัฐประหารปี 2557 รัฐบาลมอสโคว์ และ ปักกิ่ง ไม่ได้พูดถึงเหตุการณ์ในไทย ส่งผลให้โลกจัดสถานะของไทยไปอยู่กับฝ่ายจีน เช่นเดียวกับลาวและกัมพูชา ขณะที่พม่ามีความใกล้ชิดกับตะวันตกมากขึ้น และในรัฐบาลนี้ก็เริ่มมีการจัดหายุทโธปกรณ์จากจีนเช่น รถถัง และเรือดำน้ำ
.
นายสุรชาติ กล่าวต่อว่า คำถามคือประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะทำอย่างไร และ จะรับมือต่อการเข้ามาร่วมมือของมหาอำนาจได้หรือไม่ โดยเฉพาะการวางบทบาทต่อปัญหาใหญ่ในภูมิภาคอย่างกรณีของทะเลจีนใต้ อีกทั้งยังมีตัวบวกจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เพิ่มขึ้น เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด เป็นต้น บทบาทของกองทัพไทยที่คงไม่เจอกับภัยคุกคามตามแบบซึ่งเป็นการรบขนาดใหญ่ แต่ต้องเจอกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ถือเป็นโจทย์ว่ากองทัพจะปรับตัวอย่างไร “ ดร.สุรชาติ ระบุ
.
นายสุรชาติ กล่าวต่อว่า ในส่วนของอาเซียนเองต้องดูว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้น ซึ่งทุนนิยมก็เป็นทิศทางหลักในอาเซียน และภายใต้การขยายตัวของทุนนิยมก็นำปัญหาอื่นเข้ามา เช่น กรณีของไฟไหม้ป่าในชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ผูกโยงกับบริษัทที่เข้าไปทำป่าไม้เป็นต้น ในบริบทเหล่านี้เราต้องพยายามลดความหวาดระแวง แต่ก็พบว่าการจัดหาอาวุธในโครงการใหญ่ของไทย มีการให้ข้อมูลผิดพลาด เช่นบอกว่าประเทศเพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำ 10ลำ ทั้งที่ภูมิภาคนี้ไม่มีเรือดำน้ำถึง 10 ลำ ซึ่งการพูดลักษณะนี้จะส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้านไว้ใจได้อย่างไร
.

ไม่มีความคิดเห็น: