PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พุทธอิสระ:ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ความสงบ และความมั่นคง หากจำเป็นจะเลือก คนไทยจะเลือกอะไร

มีคำถามอยู่ ๔ ประโยค คือ ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ความสงบ และความมั่นคง หากจำเป็นจะเลือก คนไทยจะเลือกอะไร
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

เห็นพวกประชาธิปไตยฟีเวอร์ เริ่มออกมาโหมโรงชิมราง แสดงสัญลักษณ์ต่อต้านเผด็จการรัฐประหาร ด้วยการโปรยใบปลิว ใส่เสื้อมีอักษรพิมพ์ข้อความต่อต้านเผด็จการรัฐประหาร ขึ้นป้ายโปสเตอร์ไม่เอารัฐบาลทหาร ชู ๓ นิ้ว แสดงสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหาร ชวนกันไปดูหนังนั่งเคี้ยวเอื้องป๊อปคอร์น นัดกินข้าวข้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยชู ๓ นิ้ว

หรือว่าคนพวกนี้จะต้องการประชาธิปไตย จนไม่ต้องการชาติไทย หรือว่าความสงบสุขมั่นคงของชาติไทย มันสำคัญน้อยกว่าคำว่า ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ

ฉันไม่รู้หรอกว่า คนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย มีพ่อแม่เป็นคนไทยหรือเปล่า เขาไม่รู้เลยหรือว่า เสรีภาพและประชาธิปไตยที่มีในช่วงเวลาที่ผ่านมา มันทำให้บ้านเมืองแตกแยก สูญเสียเสรีภาพความมั่นคง ความสงบสุขมวลชนลดลง การทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเลือกปฏิบัติ นักการเมืองบ้าอำนาจ คอรัปชั่น เอาเปรียบประชาชน สังคมแตกแยก ศีลธรรมเสื่อมทราม สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมเข้าขั้นวิกฤต จิตใจคนไทยตกต่ำ ข่มขืนฆ่าได้แม้กระทั่งคนในครอบครัวตัวเอง

เหล่านี้หรือ เสรีภาพและประชาธิปไตยที่พวกคุณต้องการ ประชาธิปไตย เสรีภาพที่ไม่มีขอบเขต ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่มีแม้แต่ความเคารพนอบน้อมต่อผู้มีคุณและบรรพบุรุษไทย ประชาธิปไตยและเสรีภาพที่กูอยากจะโกง อยากจะปล้น อยากจะฆ่า อยากจะเผา อยากจะโกหกหลอกลวง อยากจะเอาเปรียบ กูก็จะทำ เป็นสิทธิเสรีภาพของกู ประชาธิปไตยเสรีภาพที่กูต้องการ จะนินทาให้ร้าย ทำลายใครกูก็ทำได้ 
ประชาธิปไตยเสรีภาพที่กูต้องการทำให้บ้านเมืองแตกแยก แล้วทำร้ายทำลายกันโดยไม่สนใจถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้โดนกระทำ แม้มีการเลือกตั้งก็มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้านไปจนถึง สส. สว. และรับจ้างยกมือในสภา เช่นนี้หรือประชาธิปไตยเสรีภาพที่คนพวกนี้ต้องการ

อย่าเลย หยุดเสียที พอได้แล้ว คนไทยส่วนใหญ่เขาต้องการการเปลี่ยนแปลง ต้องการปฏิรูป ต้องการประชาธิปไตยที่ไม่ใช่มีแต่เสรีภาพ แต่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สำนึกในหน้าที่ของตนดี พร้อมทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง ด้วยประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ยกอำนาจให้ตระกูลใด พรรคการเมืองไหน แล้วมันจะปู้ยี่ปู้ยำ คดโกง ทำร้ายบ้านเมือง ทำลายประชาชนนี้อย่างไรก็ช่างหัวมัน คุณต้องไม่ลืมว่าแผ่นดินบรรพบุรุษไทยมิได้ก่อสร้างมาให้พรรคไหน ตระกูลใด มาคดโกงทำร้ายบ้านเมืองอย่างที่ผ่านมา

หากคนพวกนี้ต้องการประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ มากกว่าความสงบสุขมั่นคงของแผ่นดินไทย คนไทย ลูกไทย หลานไทย ควรจะรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อเผ่าไทย ขับไล่ไอ้พวกรักประชาธิปไตย จนลืมความสงบสุขของแผ่นดินไทย ให้ออกไปหาไปสร้างแผ่นดินประชาธิปไตยที่พวกเขาต้องการใหม่ อย่ามาถวิลหาประชาธิปไตยจนทำลายความมั่นคง

แผ่นดินนี้ต้องมีความสงบสุขมั่นคงให้ได้ก่อน แล้วจึงนำมาซึ่งประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เหล่านี้คือคนไทย ลูกไทย หลานไทย เผ่าไทย ชาติเชื้อไทยต้องการ หากใครไม่ใช่ เผ่าไทย ไป ไปหาแผ่นดินอยู่ใหม่ได้เลย เคยฟังไหม เพลงหนักแผ่นดินน่ะ

คนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกัน
ได้อาศัยโพธิ์ทองแผ่นดินของราชันย์ แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลาย
คนใดเห็นไทยเป็นทาส ดูถูกชาติเชื้อชนถิ่นไทย
แต่ยังฝังทำกิน กอบโกยสินไทยไป เหยียดคนไทยเป็นทาสของมัน
หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
คนใดยุยงปลุกปั่น ไทยด้วยกันหวังให้แตกกระจาย
ปลุกระดมมวลชนให้สับสนวุ่นวาย เพื่อคนไทยแบ่งฝ่ายรบกันเอง
คนใดหลงชมชาติอื่น ชาติเดียวกันเขายืนข่มเหง
ได้สินทรัพย์เจือจานก็ประหารไทยกันเอง ทีชาติอื่นเกรงดังญาติของมัน
หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
คนใดขายตนขายชาติ ได้โอกาสชี้ทางให้ศัตรู
เข้าทลายพลังไทยให้สลายทางสู้ เมื่อศัตรูโจมจู่เสียทีมัน
คนใดคิดร้ายราวี ประเพณีของไทยไม่ต้องการ
เกื้อหนุนอคติ เชื่อลัทธิอันธพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา
หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน (หนักแผ่นดิน!)
พุทธะอิสระ

ปฏิทินปฏิรูปประเทศไทย รธน.58

ปฏิทินปฏิรูปประเทศไทย รธน.58


คาใจกับตัวเลขงบประมาณแผ่นดินเกือบๆ80%ที่ต้องหมดไปกับค่าใช้จ่ายภาครัฐทั้งระบบ..

ไม่รู้มันเป็นไง คาใจกับตัวเลขงบประมาณแผ่นดินเกือบๆ80%ที่ต้องหมดไปกับค่าใช้จ่ายภาครัฐทั้งระบบ..

มันแปลกๆเวลานึกถึงภาพที่ เงินทองทั้งหมดที่ภาครัฐจัดเก็บจากภาคเอกชน และภาคประชาชนมาได้จากมาตรการการคลังทุกประเภท เพื่อเอาอุ้ม มาจ่าย มาใช้สำหรับภาครัฐทั้งระบบแต่ฝ่ายเดียวเลยถึงเกือบ 80%เนี่ย ดูแล้วมันโคตรจะผิดเพี้ยนไปหมดจนหาสูตรแก้ไม่ได้เลยนะผมว่า ถึงว่าประเทศเราถึงได้เป็นแต่เพียง "รัฐสวัสดิการสำหรับภาครัฐ"ตลอดหลายๆสิบปีที่ผ่านมานี้

ที่เราเอาเงินทั้งประเทศที่หามาได้และแบ่งจ่ายเข้ารัฐ มาเลี้ยงภาครัฐ หรือเหล่าข้าราชการทั้งระบบกันนี่.. ทำไปแล้วมันได้อะไรมาบ้าง? บ้านเมืองเจริญงอกงามจากฝีมือภาครัฐเหรอ? ภาครัฐได้ทำให้กลไกการปกครองทั้งระบบ เดินหน้ามาได้อย่างคุ้มค่าคุ้มเงินเหรอ? ภาครัฐสามารถควบคุมดูแลฝ่ายปกครองอื่นๆให้อยู่ใน..ปกติวิสัยที่ควรจะเป็นกันตลอดมาหรือ? ..ที่อยู่ในเครื่องหมาย?นั่น ผมว่าไม่ได้เรื่องมันสักอันเดียวเลย.. เพราะที่ผ่านๆมา ก็มักจะแค่ได้ยินแต่คำว่า.."เจ้าหน้าที่ไม่พอ งบประมาณไม่มี" ที่ท้ายสุด เวลาเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ๆ ก้ไม่แคล้วมาลงที่ประชาชนต้องช่วยกันเองอีกทุกครั้งไป

นี่ชาติเราหมดไปแต่ละปีมากมายถึงขนาดนี้ ยังไม่พออีกเหรอ??? ไร้สาระ ไร้ผลสัมฤทธิ์ (คุ้มเงินที่จ่ายไป) สิ้นดีมากกว่านะผมว่า ปฏิรูปตนเองก่อนอื่นใดจะเหมาะกว่าไหมครับภาครัฐ!!! ช่วยคิด ช่วยหาทาง ช่วยทำกันเอง ว่าจะทำไงให้อัตราส่วนมันลดลงเหลือสักไม่เกิน 60%ของงบประมาณแผ่นดินรายปี เผื่อภาคประชาชนจะได้ลืมตาอ้าปาก มีช่องว่างเหลือพอที่จะไปจุนเจือพวกเขาบ้าง.. นี่แหละปัญหา priority no.1 ของชาติบ้านเมืองเลย ไอ้เรื่องการเมือง(ที่ก้เป็นส่วนหนึ่ง ที่อยู่ส่วนบนของภาครัฐ)นั่นมันแค่เป็นสิ่งที่ตามมานะขอรับ

วันที่ 21 พ.ย.57 จีน..ประกาศห้ามฉายหนังเรื่องเดอะฮังเกอร์เกมส์

วันที่ 21 พ.ย.57 จีน..ประกาศห้ามฉายหนังเรื่องเดอะฮังเกอร์เกมส์
ประเทศจีน ได้ประกาศยกเลิกการฉายภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Game : Mockingjay รอบปฐมทัศน์แล้ว เพื่อป้องกันการเป็นเงื่อนไข ให้ม็อบฮ่องกงสายชาติตะวันตก นำมาเป็นประเด็นยุยงประชาชน
แต่จีนได้เลื่อนการฉายหนังนี้ ออกไปอีกราวครึ่งปี คือ จะสามารถฉายได้อีกครั้งในปีหน้า 2558
ประเทศจีนมีประชากรในแผ่นดินใหญ่ และแผ่นดินในการปกครอง เช่น ฮ่องกง ฯลฯ กว่า 1,400 คน แสดงว่าเขาพิจารณาแล้วว่าหนังตะวันตกเรื่องนี้ควรเลืิ่อนการฉายไปก่อน เพื่อให้สังคมเขาสงบสุข
หนัง ก็คือการถ่ายทอดวัฒนธรรมความคิดรูปแบบหนึ่ง เพื่อเป้าประสงค์ของชาติเจ้าของหนัง เช่น เกาหลีก็ส่งออกวัฒนธรรมในรูปแบบหนัง จนคนไทยจำนวนมากคลั่งไคล้สินค้าเกาหลี และเดินทางเอาเงินไปท่องเที่ยวเกาหลี
หนังจึงไม่ใช่ความบันเทิงอย่างเดียว แต่ควรต้องควบคุมให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม และ ความมั่นคงของชาติ ในเวลานั้นๆ ด้วย ไม่งั้นเราอาจสูญเสียและถูกกลืนวัฒนธรรมความเป็นไทยหายไปด้วย เหมือนช่วงสมัยทุนนิยม รัฐบาลเลือกตั้งที่ผ่านมา
เยาวชนของไทย จึงถูกกระแสวัฒนธรรมตะวันตกโจมตีจนกลายเป็นนิยมวัตถุ มากกว่าคุณธรรม อย่างทีเห็นๆ กัน
@ เสธ น้ำเงิน3
http://www.facebook.com/thailandcoup

ศาลออกหมายจับ “อิสสระ สมชัย” ซ้อมยามพกบัตร นปช.ก่อนโยนทิ้งแม่น้ำ นายยืม นิลหล้า

ศาลออกหมายจับ “อิสสระ สมชัย” ซ้อมยามพกบัตร นปช.ก่อนโยนทิ้งแม่น้ำ นายยืม นิลหล้า

ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราอนุมัติหมายจับ “อิสสระ สมชัย” พร้อมพวก ข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนสาหัส หลังถูกซัดทอดเป็นผู้สั่งการให้ซ้อม รปภ.พกบัตร นปช. ก่อนโยนทิ้งแม่น้ำ

พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เปิดเผยความคืบหน้ากรณี นายยืม นิลหล้า อายุ 33 ปี อาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อยู่บ้านเลขที่ 96 หมู่ 4 ต.ท่าแฝก อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ ถูกคนร้ายไม่ทราบจำนวนรุมซ้อมจนได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส แล้วมัดแขนมัดขาปิดตา นำมาโยนทิ้งแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากพกบัตรประจำตัว นปช.บริเวณถนนบางนา-ตราด กิโลเมตร 50 เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา แต่โชคดีมีชาวบ้านช่วยชีวิตเอาไว้ได้ว่า ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราได้อนุมัติหมายจับกลุ่มคนร้ายในกรณีดังกล่าวแล้วคือ นายอิสสระ สมชัย แกนนำ กปปส.และพวกอีก 6 คน ข้อหาร่วมกันทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพจนได้รับอันตรายสาหัส ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายสาหัส และร่วมกันลักทรัพย์ร่วมกันเอาเอกสารของผู้อื่น โดยประการที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน ซึ่งจะได้ติดตามตัวกลุ่มคนร้ายมาสอบสวน เพื่อดำเนินคดีต่อไป

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 4 มี.ค. พ.ต.ต.สถาพร สอนเต็ม พนักงานสอบสวน สภ.บางปะกง ได้เดินทางไปสอบปากคำ นายยืม นิลหล้า ที่โรงพยาบาลบางปะกง โดยนายยืมให้การว่า เมื่อวันที่ 24 ก.พ.เวลาประมาณ 09.00 น.ขณะเดินอยู่ที่บริเวณสวนลุมพินี ปรากฏว่ามีชายจำนวน 2 คน อ้างว่าเป็นการ์ด กปปส.ขอตรวจค้น เมื่อพบบัตรประจำตัว นปช.จึงได้นำตัวไปกักขังไว้ที่ชุมนุมโดยทำการมัดมือมัดเท้า จนกระทั่งวันที่ 1 มี.ค.ได้ถูกชายฉกรรจ์ซึ่งอ้างว่าเป็นการ์ด กปปส.บอกว่าจะพาไปส่งบ้าน โดยใช้ผ้าปิดตา แล้วนำตัวขึ้นรถกระบะ โดยมีชาย 2 คน นั่งประกบซ้าย-ขวา ส่วนด้านหน้าได้ยินเสียคนคุยกัน 2 คน เมื่อมาถึงที่แม่น้ำบางปะกงได้โยนนายยืม ลงน้ำ แต่นายยืม สามารถแก้มัดจนหลุด แล้วพยายามว่ายน้ำไปที่ตอม่อสะพาน จากนั้นมีคนพายเรือมาพบเห็น จึงได้เข้าช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลบางปะกง ต่อไป

อีกทั้ง นายยินดี ยังได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวด้วยว่า ถูก นายอิสสระ สมชัย แกนนำ กปปส.สั่งให้โยนลงแม่น้ำเจ้าพระยา หรือไม่ก็โยนให้จระเข้กิน โดยตนได้ร้องขอชีวิตครั้งสุดท้าย แต่ นายอิสสระ ปฏิเสธและบอกว่าต้องโยนลงแม่น้ำหรือไม่ก็ไอ้เข้กิน

แ ถ ล ง ก า ร ณ์ ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน(ข้อมูล)

แ ถ ล ง ก า ร ณ์
ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน


การยึดอำนาจของคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)นั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจับกุมคุมขังผู้แสดงออกทางการเมืองที่ไม่ยอมรับต่อการรัฐประหาร การลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่ง คสช. เชื่อว่าเป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม จนมีบุคคลถูกประกาศเรียกเข้ารายงานตัวกว่า 600 ราย และมีการจับกุมอีกกว่า 200 คน อันประกอบด้วย นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมหรือเสวนาทางวิชาการที่ถูกแทรกแซงไม่ให้จัดหรือควบคุมเนื้อหาอีกจำนวน 33 กิจกรรม ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องตกอยู่ภายใต้บรรยากาศหวาดผวาและอำนาจอันไม่เป็นธรรมตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา โดยไม่อาจแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ได้

ยังไม่พูดถึงว่าในช่วงต่อมาได้มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกไปดำเนินการจับกุมรังแกชาวบ้านผู้ยากจนให้ออกจากพื้นที่ทำกิน (แต่กลับไม่ดำเนินการอันใดต่อนายทุนที่เข้าไปบุกรุกจับจองพื้นที่ป่า) อาทิ ไล่รื้อบ้านเรือนชาวบ้านโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบ้านคอนสาร จ.ชัยภูมิ ชาวบ้านคลองไทรพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานีและอีกหลาย ๆ ชุมชนแทบทุกภาคของประเทศ รวมทั้งจับกุมกลุ่ม ‘ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน’ในกรณีเดินเรียกร้องเพื่อปฏิรูปพลังงาน ควบคุมตัวผู้ร่วมลงชื่อร่วมกับ 12 องค์กรภาคอีสานที่ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูป จับกุมชาวบ้านและนักวิชาการที่เดินรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้หยุดแผนแม่บทฯป่าไม้ แทรกแซงคุกคามและปิดกั้นสื่อมวลชนไม่ให้นำเสนอข่าวด้านลบของรัฐบาล คสช. ไม่อนุมัติการจัดงานทอล์คโชว์เรื่อง ‘ที่ดิน’ ตลอดจนปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประเด็นปัญหาของประชาชนมาเนิ่นนานเป็นปัญหาปากท้องที่มิอาจปล่อยให้มีการปฏิรูปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

กระทั่งล่าสุดได้มีการจับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 5 คน ภายหลังจากการแสดงออก ‘ไม่เอารัฐประหาร’ ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ต่อหน้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรีที่มาจากผลพวงของการรัฐประหาร ทั้งที่กลุ่มนักศึกษาดังกล่าวเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ลงพื้นที่เรียนรู้ปัญหากับชาวบ้านภาคอีสาน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ทั้งหมดนี้ เราในนามของบุคคล นักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรมทางสังคม และตัวแทนองค์กรทางสังคมต่าง ๆ ที่ปรากฏนามข้างล่าง ขอประกาศแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องดังนี้

1. ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยเร็วที่สุด เพื่อปลดปล่อยสิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวประเด็นปัญหาของประชาชน

2. เราเชื่อมั่นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อำนาจอื่นใดที่เข้ามาแย่งชิงอำนาจของประชาชนเราไม่ขอยอมรับอำนาจนั้น

3. ขอให้กำลังใจต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่าง ๆ ของ คสช. การดำเนินคดีต่อนักศึกษาและประชาชนด้วยกฎอัยการศึก เป็นเรื่องที่เราไม่อาจยอมรับได้
ป ร ะ ช า ช น คื อ เ จ้ า ข อ ง อํ า น า จ อ ธิ ป ไ ต ย

รายชื่อคณะบุคคล 102 คน แนบท้ายแถลงการณ์

1.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล รัฐศาสตร์ จุฬา
2.กฤช เหลือลมัย กวี
3.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
4.เกษม สุวรรณะ ชมรมคนงานสูงวัย
5.ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์
6.ขวัญระวี วังอุดม 
7.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร
8.คมสันติ์ จันทร์อ่อน
9.งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
10.จักรชัย โฉมทองดี
11.จักรพงษ์ บุริพา
12.จิรธร สกุลวัฒนะ นักศึกษาระดับปริญญาเอก SOAS University of London
13.จุติอร รัตนอมรเวช
14.เฉลิมศักดิ์ กิติตระกูล
15.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมาุนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
16.ชวศรี โรจนวิภาต
17.ชุมาพร แต่งเกลี้ยง นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ
18.ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
19.ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ
20.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
21.ตะวัน พงศ์แพทย์
22.ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
23.ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง 
24.ทองธัช เทพารักษ์ การ์ตูนนิสต์
25.เทวฤทธิ์ มณีฉาย
26.ธนศักดิ์ สายจำปา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
27.ธนาพล ลิ่มอภิชาติ
28.ธนาวิ โชติประดิษฐ นักศึกษาระดับปริญญาเอก Birkbeck College, University of London
29.ธัช ธาดา กวี
30.ธิวัชร์ ดำแก้ว
31.ธีรวรรณ บุญญวรรณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
32.นพพรรณ พรหมศรี
33.นพพล ผลอำนวย
34.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
35.นันทชาติ หนูศรีแก้ว
36.นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
37.นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
38.นิวัต พุทธประสาท นักเขียน
39.นิอับดุลฆอร์ฟาร โตะมิง
40.บารมี ชัยรัตน์
41.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร
42.บุณฑริก วงศ์โชติรัตน์
43.ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ มธ.
44.ประทับจิต นีละไพจิตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
45.ประทีป มีคติธรรม ประชาชน
46.ประภาส ปิ่นตบแต่ง รัฐศาสตร์ จุฬาฯ 
47.ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
48.ปรีดา ข้าวบ่อ นักเขียน
49.ปาริชาติ วงศ์เสนา
50.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
51.ปิยนุช ยอแสงรัตน์ เกตุจรูญ
52.พนิดา อนันตนาคม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
53.พรพนา ก๊วยเจริญ
54.พรพรรณ ภู่ขำ
55.พฤหัส พหลกุลบุตร
56.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
57.พัชราภา ตันตราจิน นักศึกษาปริญญาเอก มธ.
58.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
59.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
60.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
61.ไพบูลย์ แก้วเพทาย ผู้นำแรงงานอาวุโส
62.ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน
63.ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น
64.ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
65.ยงค์ ยโสธร นักเขียน
66.ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
67.เยาวภา ดอนเส กลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ (กสภ.)
68.วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเชียน นักทำสารคดี
69.วันรัก สุวรรณวัฒนา. นักศึกษาปริญญาเอก Oxford university
70.วิจักขณ์ พานิช
71.วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
72.วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
73.วีระพงษ์ ประภา นักพัฒนาสังคม
74.เวียงรัฐ เนติโพธิ์
75.เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน
76.ศรีไพร นนทรี
77.ศักดิ์ ไชยดวงสิงห์ (แสงดาว ศรัทธามั่น) นักเขียน
78.ศิริพร ฉายเพ็ชร (มอส)
79.ศิริวัฒน์ คันธารส
80.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร
81.สนั่น ชูสกุล นักกิจกรรมทางสังคม
82.สนานจิตต์ บางสพาน (นักเขียน)
83.สมบูรณ์ คำแหง องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
84.สฤณี อาชวานันทกุล - นักเขียน นักวิชาการอิสระ
85.สาคร สงมา องค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือล่าง
86.สุขุมพจน์ คำสุขุม นักเขียน
87.สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการช่อการะเกด
88.สุธิดา วิมุตติโกศล 
89.สุธิลา ลืนคำ
90.สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง องค์กรพัฒนาเอกชน
91.อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร WAY
92.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
93.อรรถพล อนันตวรสกุล ครุศาสตร์ จุฬาฯ
94.อรัญญา ศิริผล คณะสังคม วิทยา มช.
95.อากร ภูวสุนทร ชมรมคนงานสูงวัย
96.อานนท์ นำภา
97.อุเชนทร์ เชียงเสน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
98.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
99.เอกรินทร์ ต่วนศิริ
100.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา
101.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์คณะรัฐศาสตร์
102.ปกรณ์ อารีกุล

วาะทะเด็ด"บิ๊กตู่"

“ผมอาจจะไม่ใช่ประชาธิปไตย100% แต่ผมถามว่าการที่เป็นประชาธิปไตย100% ทำอะไรให้กับประเทศไทยได้บ้าง”
ประยุทธ์ จันทร์โอชา 21พ.ย.57

“วัชระ” สับข่าวสด-มติชนเขียนข่าวล่วงหน้า จี้สอบคำพิพากษารั่ว ยันฎีกาหมิ่น “ตู๊ดตู่

“วัชระ” สับข่าวสด-มติชนเขียนข่าวล่วงหน้า จี้สอบคำพิพากษารั่ว ยันฎีกาหมิ่น “ตู๊ดตู่”
Cr:ผู้จัดการ
อดีต ส.ส.ปชป.โวย “ข่าวสด-มติชน” เขียนข่าวล่วงหน้าศาลอุทธรณ์ยืนคุก 2 เดือนคดีหมิ่น “จตุพร” แถมมโนต่อว่าอุทธรณ์ทั้งที่ไม่ได้จ้อสื่อใด ฉะสะท้อนถึงจริยธรรม-ความน่าสงสัยกระบวนการยุติธรรม เล็งชงสอบสื่อ จี้โฆษกศาลเคลียร์ วันจันทร์ร้องผู้พิพากษาเรียก บก.หนังสือพิมพ์สอบละเมิดอำนาจศาล และให้ตั้ง กก.สอบคำตัดสินรั่ว ยันฎีกาต่อ เชื่อคำว่า “ท่อน้ำเลี้ยง” ไม่หมิ่น
วันนี้ (21 พ.ย.) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ แถลงกรณีศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาจำคุกตนเอง 2 เดือนรอลงอาญา 2 ปี ในคดีหมิ่นประมาทระหว่างนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่ม นปช.กับตนเอง โดยได้นำหนังสือพิมพ์มติชน และหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับลงวันที่ 21 พ.ย.มาแสดงพร้อมกับระบุว่า ในหนังสือฉบับเช้าของทั้งสองฉบับวันนี้ โดยหน้า 6 หนังสือพิมพ์มติชน และหน้า 10 ของหนังสือพิมพ์ข่าวสด มีการนำเสนอข่าวว่าศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาจำคุกตนเอง 2 เดือน พร้อมกับข้อความระบุว่าตนเองให้สัมภาษณ์เตรียมที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาต่อไป ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้วศาลได้นัดคู่ความฟังคำพิพากษาในวันนี้ซึ่งตนได้เดินทางไปศาลและผู้พิพากษาออกนั่งบัลลังก์ตัดซองคำพิพากษาในเวลา 10.00 น. และอ่านเสร็จสิ้นในเวลา 10.15 น. จากนั้นตนได้เดินทางกลับมาที่พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเปิดหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดูกลับพบว่ามีการรายงานข่าวดังกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว และมีเนื้อหาสาระเหมือนกับที่ศาลได้อ่านให้ตนฟังในวันนี้
นายวัชระกล่าวว่า ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดสื่อทั้งสองฉบับจึงล่วงรู้คำพิพากษา ก่อนที่จะมีการอ่านให้กับตนซึ่งเป็นจำเลยในคดีได้รับทราบ อีกทั้งยังมีการระบุว่าตนให้สัมภาษณ์ว่าจะอุทธรณ์ทั้งที่เมื่อวาน (20 พ.ย.) ตนอยู่บ้านล้างจานและไม่ได้พบปะพูดคุยกับสื่อมวลชนสำนักไหนเลย กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงจริยธรรมของสื่อและความน่าสงสัยในกระบวนการยุติธรรม เพราะไม่ทราบว่าผู้สื่อข่าว บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับรู้คำพาพิพากษาล่วงหน้าได้อย่างไร โดยจะทำหนังสือถึงสมาคมสื่อให้ตรวจสอบจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับ และขอเรียกร้องให้โฆษกศาลยุติธรรมออกมาชี้แจงเรื่องนี้ให้ตนในฐานะผู้เสียหายให้ทราบด้วย
อย่างไรก็ตาม ในวันจันทร์ที่ 24 พ.ย. ตนจะนำหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับไปยื่นร้องต่อองค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้เพื่อให้เรียกบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับมาสักถามว่าเหตุใดจึงมีการตีพิมพ์คำพิพากษาไปก่อนล่วงหน้า ไม่รู้ว่าจะเข้าข่ายล่วงละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ พร้อมกับจะขอให้ศาลตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าเหตุใดคำพิพากษาจึงหลุดรั่วออกมาก่อนทีจะอ่านให้คู่ความฟัง
ทั้งนี้ ในส่วนของคดีก็จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาต่อไป เพราะยังติดใจคำว่า “ท่อน้ำเลี้ยง” ไม่ได้เข้าข่ายหมิ่นประมาทแต่อย่างใด

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ –สุณัย ผาสุข -หมอสุภัทร-สุดแดน-ศรีประภา สมทบเข้าชื่อ102นักวิชาการร่วมแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึก

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ –สุณัย ผาสุข -หมอสุภัทร-สุดแดน-ศรีประภา สมทบเข้าชื่อร่วมแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึก

ภายหลังจากแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึกจากกลุ่มนักวิชาการ นักเขียน และนักกิจกรรม 102 คน ได้ถูกเผยแพร่เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. ของ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา โดยมีบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการนักเขียนร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ, อธิคม คุณาวุฒิ บก.นิตยสาร WAY,  ภัควดี วีระภาสพงษ์, วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล, วิจักขณ์ พานิช, สนานจิตต์ บางสพาน, สฤณี อาชวานันทกุล, เวียง-วชิระ บัวสนธ์, ปรีดา ข้าวบ่อ
ในด้านวิชาการมีก็นักวิชาการจากหลายมหาวิทบาลัยร่วมลงชื่อ เช่น ประภาส ปิ่นตบแต่ง,  เดชรัต สุขกำเนิด, คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) ประจักษ์ ก้องกีรติ, ประทับจิต นีละไพจิตร, กนกรัตน์ เลิศชูสกุล, นฤมล ทับจุมพล, โอฬาร ถิ่นบางเตียว นอกจากนี้ยังนักพัฒนาเอกชน หรือ NGO ร่วมลงชื่อ เช่น วิโชคศักดิ์ รณรงค์ นพพรรณ พรหมศรี และ สนั่น ชูสกุล เป็นต้น
ทั้งนี้ได้มีการเชิญชวนให้ประชาชนร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ ยกเลิกกฎอัยการศึก ใน Change.org โดยล่าสุดเมื่อเวลา 12.40 น. (21 พฤศจิกายน 2557 ) ได้มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 2,300 คน 
และยังมีการอัพเดตรายชื่อเพิ่มเติม อีก 50 ชื่อ โดยมีนายชื่อที่น่าสนใจ เช่น วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ นักพัฒนาเอกชน, นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ/กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน, อ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ ม.ธรรมศาสตร์ร, ศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ม.มหิดล, อ. ศรีประภา เพชรมีศรี  สถาบันสิทธมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิวแมนไรท์วอทช์, นิมิตร เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, ผศ.ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ไชยันต์ รัชชกูล, เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์, ผศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ. ดร. สุธี ประศาสน์เศรษฐ 
โดยมีการอธิบายในหน้ากิจกรรม change.org ว่า “ขอเน้นยำว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นการแสดงเจตนารมณ์การมีอยู่ของกลุ่มบุคคล ที่มีจุดยืนตามแถลงการณ์ หากท่านต้องการณ์แสดงเจตนารมณ์เช่นเดียวกับเราสามารถร่วมลงชื่อได้โดยที่รายชื่อที่กดเข้าร่วม ใน Change.org จะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ หากไม่ได้รับอนุญาต”
ทั้งนี้รายชื่อที่มีการอัพเดตบนหน้าเว็บทั้งหมด เป็นรายชื่อที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่แล้ว สำหรับรายชื่อที่ถูกอัพเดตเพิ่มเติมได้แก่

1.    วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ         นักพัฒนาเอกชน
2.    นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ        ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ/กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน
3.    สุดแดน วิสุทธิลักษณ์     คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.    รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล    มหาวิทยาลัยมหิดล
5.    สุณัย ผาสุข         ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิวแมนไรท์วอทช์
6.    อ. ศรีประภา เพชรมีศรี     สถาบันสิทธมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
7.    นิมิตร เทียนอุดม         มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
8.    ผศ.ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร     ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
9.    ไชยันต์ รัชชกูล             นักวิชาการ
10.    เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์     นักวิชาการ
11.    ผศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ         คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.    วนิดา วินิจจะกูล
13.    วิไลพร จิตรประสาน         กลุ่มเพื่อนประชาชน
14.    กฤตยา อาชวนิจกุล
15.    ชาญชัย ชัยสุขโกศล
16.    ประกาศ เรืองดิษฐ์             องค์กรพัฒนาเอกชน
17.    สุภา ใยเมือง            นักพัฒนาเอกชน
18.    ฝ้ายคำ หาญณรงค์            นักพัฒนาเอกชน
19.    กิตติกาญจน์ หาญกุล
20.    ทวีศักดิ์ เผือกสม
21.    เบญจพร อินทร์งาม
22.    วิภาวดี พันธ์ยางน้อย
23.    ภัทรพร ภู่ทอง              Rotary Peace Center at Chulalongkorn University
24.    ศิรินันต์ สุวรรณโมลี          NIDA
25.    ปรีชาญา ชาวกัณหา 
26.    ปัญญา พราหมณ์แก้ว 
27.    ดวงพร มากศิริ         ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
28.    ฒาลัศมา จุลเพชร         ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
29.    สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล     สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
30.    ธงชัย ร่มเย็นเป็นสุข 
31.    เอี่ยวเร่ง ตะวันทัศนัย
32.    ณรงค์ วัจรินทร์   สหภาพแรงงานไทยซูซูกิ
33.    ทวีศักดิ์ เกิดโภคา 
34.    อนุพงษ์ จันทะแจ่ม   สภากาแฟ มหาวิทยาธรรมศาสตร์
35.    บุญญฤทธิ์ ร่องบอน 
36.    ศศิประภา ไร่สงวน 
37.    จุฑามาส. ศรีหัตถผดุงกิจ 
38.    ธีระยุทธ สิมหลวง
39.    อิสระพงศ์ เวียงวงษ์ 
40.    สมานฉันท์ พุทธจักร 
41.    วศินี บุญที
42.    รัฐศาสตร์ บาทชารี
43.    ปฏัก หนุนชู
44.    อภิวัฒน์ สุนทรารักษ์
45.    จิรวิชญ์ ฉิมมานุกูล
46.    จิรัชญา หาญณรงค์
47.    ธนัชชนม์ ธนาธิป - ปริพัฒน์ (นักเขียน)
48.    วัฒนชัย วินิจจะกูล
49.    พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
50.    ธีรธรรม  วงศ์ษา