PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

20012560 • สันดาน 'นักเลือกตั้ง' โดย : ประชา บูรพาวิถี

ปี 2544-2547 เกิดการกินรวบจนก่อให้เกิดกระแสต้าน ตามด้วยรัฐประหารอีก 2 ครั้ง

ในรอบ 2 ทศวรรษ รัฐประหารกับนักเลือกตั้งไทย เป็นของคู่กัน เหมือนผีเน่ากับโลงผุ


รัฐประหาร 2534 กลุ่มขุนศึก จปร.5 อ้าง “นักเลือกตั้ง” โกงกิน และมีการกระทำหมิ่นเบื้องสูง จึงก่อการยึดอำนาจ “กลุ่มราชครู”


นักเลือกตั้งพักร้อนอยู่ปีเศษ ก็กลับเข้าสู่สภาฯ แม้จะเกิดอุบัติเหตุ “พฤษภาทมิฬ” มีเลือกตั้งรอบสอง นักเลือกตั้งหน้าเดิมๆ ก็กลับมา

ขนาด “ปัญญาชนคนชั้นกลาง” จะสร้างวาทกรรม “เทพ-มาร” ผ่านสื่อกระแสหลัก ก็หยุดยั้งฝ่ายมารไม่ได้
ขึ้นชื่อว่า “นักเลือกตั้ง” ไม่มีเทพ ไม่มีมาร เพราะการเลือกตั้งปี 2538 และปี 2539 ได้พิสูจน์ให้เห็นความเป็นนักเลือกตั้งโดยอาชีพของพวกเขา

ปี 2540 ปัญญาชนคนชั้นกลาง ที่เชื่อใน “ลัทธิคนดี” ตีกลองร้องส่ง ต้อนรับ “รัฐธรรมนูญ 2540” เพราะมีการออกแบบ “กลไกปราบโกง” ไว้เพียบ พวกเขาฝันถึงการเมืองสีขาว หรือยุคพระศรีอาริย์

ปี 2544-2547 ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างปรากฏการณ์“วัฒนธรรมอุปถัมภ์ใหม่” แทนที่การเมืองแบบเก่า ที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่าง “พรรคนักเลือกตั้ง” กับ “พรรคข้าราชการ”

พูดง่ายๆ ทักษิณ “กินรวบ” จนก่อให้เกิดกระแสต้าน และตามมาด้วยรัฐประหารอีก 2 ครั้ง

เลือกตั้งปี 2550 และปี 2554 พิสูจน์ให้เห็นอย่างหนึ่งว่า “ฆ่าทักษิณไม่ตาย”

เมื่อฝ่ายขุนศึกโยนโจทย์ปรองดองลงมา ฝ่ายทักษิณจึงอ้าแขนรับทันที เพราะกระสันเลือกตั้ง
แต่ฝ่ายตรงข้ามปฏิเสธ

จะเลือกตั้งได้ยังไง...เลือกกี่ครั้งก็แพ้ทักษิณ?
………………………………..

“ยุทธศาตร์ชาติ-การปฏิรูป-การสร้างปรองดองจะเดินไปด้วยกัน”

(ไทยรัฐ-23/1/60)
น้ำเสียงหนักแน่นของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ ทีมข่าวการเมือง สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จะนำพาบ้านเมืองไปให้ถึงจุดหมายดังกล่าวท่ามกลางบนถนนที่เต็มไปด้วยขวากหนามเพราะหลังจากใช้มาตรา 44 ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธาน นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเลขานุการ ป.ย.ป.

ก่อนแตกกิ่งก้านคณะกรรมการให้ระดับรองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแล ประกอบด้วยคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์

คณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง มี พล.อ.ประวิตร เป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมดึง พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เข้ามาเป็นหัวหน้าฝ่ายคณะอำนวยการสร้างความปรองดอง โดยจะมีการทาบทามนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วม และสร้างกระบวนรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆทั้งพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง

โดยมีสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่มีนายอำพน กิตติอำพน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้ามาเป็นหัวหน้าสำนักงาน เพราะมีฝีมือในการประสานสิบทิศ เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรอง ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะต่างๆนำเสนอให้ ป.ย.ป.

คณะกรรมการทุกชุดมีภารกิจสำคัญที่แตกต่างกันไป และจะเชื่อมโยงถักทอยุทธศาสตร์ชาติ-การปฏิรูปประเทศ-การสร้างความปรองดองให้ประเทศเดินหน้าไปได้เสียที ดีเดย์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.60 แต่ยังไม่ทันได้เริ่มทำงาน คณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดองกลับถูกสังคมจับตาและวิพากษ์วิจารณ์ถึงมากที่สุด

เพราะที่ผ่านมามีคณะกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองหลายชุดแล้ว เช่น สถาบันพระปกเกล้า คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานฯ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีนายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน

สุดท้ายก็ถูกเก็บเข้าลิ้นชัก เพราะในห้วงเวลานั้นตัวแปรเหนือการควบคุมและปัจจัยต่างๆยังไม่เอื้อให้ขั้วขัดแย้งหันหน้าเข้าหากัน ครั้งนี้จะซ้ำรอยเดิมหรือจะเดินไปถึงจุดหมายตามที่สังคมตั้งความหวังเอาไว้
พล.อ.ประวิตร บอกว่า ในฐานะที่เราเป็นหนึ่งใน ป.ย.ป.จะเริ่มนับจากปัจจุบันและปูทางไปสู่อนาคต โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านเข้ามาร่วมรับฟังทุกกลุ่มการเมือง ทุกพรรคการเมือง เพื่อให้คณะกรรมการฯได้พิจารณาในภาพรวม และวางรูปแบบการสร้างความปรองดองให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติต่อไปในอนาคต
ไม่เกี่ยวกับอดีตในด้านคดีความ การนิรโทษกรรม การอภัยโทษ เป็นเรื่องของรัฐบาลชุดต่อไปที่จะทำอะไรก็ไปทำหลังทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขแล้วฝ่ายการเมืองพยายามออกมาเรียกร้องเสนอการนิรโทษกรรมพ่วงท้ายเข้าไปด้วย พล.อ.ประวิตร บอกว่า ไม่มี ไม่เอา ขอบอกว่าไม่เอาอดีต ขอให้ยึดปัจจุบันและวางแผนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในอนาคต คดีความที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว สุดท้ายศาลจะพิพากษา

ทีมข่าวการเมือง ถามว่า ก่อนหน้านั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยคณะทำงานศึกษาประเด็นกฎหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการสร้างสังคมสันติสุข ในคณะกรรมาธิการการเมือง (กมธ.) ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.อำนวยความยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับมูลเหตุจูงใจทางการเมือง และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดย กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เสนอผลการศึกษาเรื่องการสร้างความปรองดอง หนึ่งในข้อเสนอขอให้พักโทษคดีการเมือง พล.อ.ประวิตร บอกว่า ขอย้ำว่าจะไม่มีการมองย้อนอดีต เพราะมันจะเดินไปไม่ได้

เรามีหน้าที่ทำอย่างไรให้บ้านเมืองเดินหน้าไปให้ได้ เริ่มจากการจะเชิญนักการเมืองมาเสนอแนะและลงสัตยาบันร่วมกัน มีข้อตกลงยาวเหยียดว่า ในอนาคตจะร่วมมือกันเดินหน้าปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านการเมือง

ถ้านัก การเมืองคนไหนไม่ลงสัตยาบันก็ไม่ว่าอะไร ถ้าคนไหนตกลงทำสัตยาบันก็ร่วมมือกันเดินหน้าได้ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล ดูภาพรวมแล้วมันไปได้ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง หนึ่งในนั้นที่จะต้องลงสัตยาบันคือ พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงข้างมากต้องสามารถจัดตั้งรัฐบาล พรรคที่ได้คะแนนรองจะต้องไม่ยกพวกออกมาเคลื่อนไหวที่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปด้วยดี สามารถมีรัฐบาลชุดต่อไปที่อยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง และบริหารประเทศโดยยึดเอาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นหลัก

ผมเชื่อว่า ประชาชนทุกคนเห็นประโยชน์ร่วมกันกับกระบวนการเริ่มต้นปรองดองกัน ทุกคนต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ต้องการเห็นประเทศชาติเดินไปข้างหน้า โดยทุกฝ่ายเคารพต่อกฎหมาย สิ่งเหล่านี้นักการเมืองจะต้องรับปากและลงสัตยาบัน ถ้าใครหักหลังก็ขอให้ประชาชนและสังคมรับรู้ว่าคนนี้หักหลัง
เมื่อเรามีข้อเสนอที่ดีต่อสังคมออกมาแล้ว อาจจะจำเป็นต้องออกกฎหมาย หรือแก้ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง หรือใช้มาตรา 44 ในบางเรื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ทีมข่าวการเมือง ถามย้ำว่า ข้อเสนอด้านการสร้างความปรองดองของรัฐบาลมาพร้อมข้อเสนอของ กมธ.ด้านการเมือง สปท.ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธานฯ เสนอทางออกต่อสังคม ถูกมองว่าเป็นข้อเสนอชุดความคิดเดียวกัน พล.อ.ประวิตร บอกว่า คุณเสรีมาเข้าพบก็ได้อธิบายได้เข้าใจว่า ถ้าทำตามที่คุณเสรีเสนอ 1 ปีก็ไม่สำเร็จ ต่างกับโมเดลที่รัฐบาลเสนอทางออกแบบไทยๆ จะทำให้
ประเทศเดินหน้าไปได้

ขอยืนยันอีกครั้งว่า ไม่เกี่ยวข้องกับคดีความ ต้องตัดทิ้ง ไม่เกี่ยวกับการพักโทษ การนิรโทษกรรม แต่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันให้ได้ ต่อให้ออกกฎหมายอย่างไรถ้าไม่ร่วมมือกันก็ตีกันอีก แต่ถ้าอยู่ในข้อตกลงว่าจะไม่ตีกัน ไม่พาคนออกมาประท้วง ถ้าใครออกมาจะกลายเป็นคนหักหลัง

ทีมข่าวการเมือง ถามว่า ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นผู้ที่มีคอนเนกชั่น สนิทกับสายนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะถูกมองว่าอาจจะมีข้อเสนอที่แฝงเข้ามา พล.อ.ประวิตร บอกว่า...
“...ผมสนิทกับทุกฝ่าย ผมทำงานโดยไม่มีผลประโยชน์ วางตัวเป็นกลาง มาถึงวันนี้ยังไม่ได้คุยกับใคร ผมจะไม่ให้เถียงกัน ไม่ให้พบหน้ากัน จะพบเจอกันในวันที่เราได้ข้อตกลงออกมาแล้วว่าจะแก้ในเรื่องอะไรบ้าง

ผมไม่กังวลอะไร เพราะมีเจตนาดีกับบ้านเมือง ไม่ได้ทำให้ใครเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ แต่จะทำอย่างไรให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์สูงสุด ประเทศเดินหน้าได้ตามทิศทางยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดการคิดและทำร่วมกันอยู่”

ขั้นตอนการรับฟังพิจารณาการสร้างความปรองดองจะทำภายใน 3 เดือน เมื่อเสร็จแล้วคณะกรรมการฯจะปรับให้เป็นข้อตกลงภายใต้กรอบที่กลุ่มการเมือง พรรคการเมืองเสนอทั้งหมด และนำข้อเสนอคณะกรรมการปรองดองชุดต่างๆมาดูด้วย แต่ขอย้ำว่าจะไม่เอาเรื่องในอดีตเข้ามา

ถูกมองว่าโครงสร้างของคณะอำนวยการสร้างความปรองดอง มีแต่นายทหารจะสร้างความปรองดองได้อย่างไร พล.อ.ประวิตร บอกว่า ไม่ใช่ปัญหา เพราะกองทัพมีความเป็นกลาง และนายทหารระดับผู้ใหญ่ก็ทำหน้าที่รับฟังประมวลข้อมูลก่อนเสนอต่อคณะกรรมการเตรียมการสร้างความปรองดอง
สุดท้ายการเลือกตั้งยังเป็นไปตามโรดแม็ปช่วงต้นปี 2561 พล.อ.ประวิตร บอกว่า ยังเป็นไปตามโรดแม็ป นายกรัฐมนตรีไม่เคยบอกให้เลื่อน เมื่อเป็นสัญญาประชาคมเราต้องทำให้ได้

ถึงได้บอกว่า ให้ทำข้อตกลงและลงสัตยาบันร่วมกันว่าจะให้เกิดความปรองดองให้เกิดขึ้น เพื่อในอนาคตจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

อย่าลืมว่าที่ผ่านๆมา พอเดินเข้าอุโมงค์มืดมนไปหมด ไม่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่โมเดลปรองดองแบบไทยๆ พอไม่พูดถึงคดีความในอดีต ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดต่อไป
เมื่ออยากให้มีการเลือกตั้งก็ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย

พอเข้าไปจะเห็นแสงสว่างในอุโมงค์ รู้ว่าจะเดินออกทางไหน.

ทีมการเมือง

โหมโรงปฏิรูปยุทธศาสตร์“สามัคคี”ทะลวงทางตัน

22/1/60
จาก 13 ตุลาคม 2559 ถึง 20 มกราคม 2560 ครบรอบ 100 วันแห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ในหลวงรัชกาลที่ 9”

เป็นอีกวาระสำคัญที่พสกนิกรชาวไทยร่วมกันจัดงานใหญ่

โดยสำนักพระราชวังจัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร ขณะที่รัฐบาลจัดงานทำบุญ ตักบาตร กองทัพ หน่วยงานราชการจัดอุปสมบทหมู่ พระสงฆ์ ประชาชนเข้าวัดสวดมนต์

ภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวบ้านทั่วไป พร้อมใจถวายเป็นพระราชกุศล

รำลึก คิดถึง “พ่อ” ไม่เสื่อมคลาย

ตามปรากฏการณ์ที่ “ไทยรัฐ” ได้จัดทำหนังสือพิมพ์ ฉบับพิเศษเนื่องในวาระ 100 วันแห่งความอาลัย ฉบับประจำวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2560 บันทึกประวัติศาสตร์ในรูปแบบแสง สี เสียง และสื่อประสมทั้งฉบับยอดพิมพ์เพิ่มมากกว่าปกติหลายเท่า ตามความ ต้องการของผู้อ่าน

ส่วนใหญ่ต้องการนำไปสะสมเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของชีวิตได้อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่

“ในหลวง รัชกาลที่ 9” ในความทรงจำ

และในขณะที่ความคืบหน้าตามกระบวนการทางพระราชพิธีผ่านพ้นกำหนด 100 วัน โดยสถาน-การณ์ด้านกระบวนการตามโรดแม็ปทางการเมืองก็เดินถึงจุดสำคัญ

กับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ปรองดอง”

ซึ่งรอบนี้ต้องยอมรับว่า “ออกตัวแรง” และมีแนวโน้มได้เนื้อได้หนังมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

ตามจังหวะการเทกแอ็กชั่นของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.ที่ร่างโมเดลด้วยตัวเอง ก่อนมอบธงให้ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นแม่ทัพใหญ่ในการดำเนินการงานช้าง

ด้วยสถานะของ “พี่ใหญ่” ผู้กว้างขวาง คุยได้ทุกวงการ
และความคืบหน้าล่าสุดราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง เรียกโดยย่อว่า “ป.ย.ป.”

ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรองนายกรัฐมนตรี รมต.ประจำสำนักนายกฯ รมว.คลัง รมว.มหาดไทย เป็นกรรมการ

โดยโครงสร้างอำนาจหน้าที่เป็นหน่วยหลักในกระบวนการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง

คุมภาพกว้างทั้งโหมดการปรองดองควบไปโหมดการปฏิรูป

ในขณะที่กลไกหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการปรองดองเป็นการเฉพาะ น่าจะอยู่ที่กรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดองที่ พล.อ.ประวิตรกำกับดูแล

และมีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อความปรองดองสมานฉันท์ มอบหมายให้ พล.อ.ชัยชาญ ช้าง-มงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน

คณะทำงานส่วนใหญ่เน้นเฉพาะทหาร

ตามรูปการณ์เห็นได้เลยว่า มีการเร่งความคืบหน้ากระบวนการกันอย่างรวดเร็ว

สะท้อนระดับความจริงจังและความตั้งใจของรัฐบาลทหาร คสช.

แต่แน่นอน ประเด็นการปรองดองไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นของเก่าค้างปีที่มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งคณะทำงานศึกษาปัญหาแล้วก็เก็บใส่ลิ้นชักไว้ไม่รู้กี่คณะต่อกี่คณะคว้าน้ำเหลวมาแล้วไม่รู้กี่รอบ

และครั้งนี้ก็เช่นกัน ยังไม่ทันไร ก็มีสัญญาณจากฝั่ง “ลุงกำนัน” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิ กปปส. ประกาศไม่รับมุก ไม่ขอร่วมวงที่ พล.อ.ประวิตรเสนอให้นักการเมือง แกนนำขั้วขัดแย้ง ลงนามใน “เอ็มโอยู” หรือข้อตกลงยุติความขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่ความปรองดอง

อ้างไม่ใช่ทางออก และตั้งท่าค้านการนิรโทษกรรมเหมือนเดิม

ขณะที่อีกด้านก็มีการอ้างแหล่งข่าวคนใกล้ชิดอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ที่ตั้งแง่กังขาในเรื่องความจริงใจของรัฐบาลทหาร คสช.ที่จะสร้างความปรองดอง ทำไมจึงเพิ่งจะมาดำเนินการในช่วงที่ใกล้จะถึงช่วงท้ายโรดแม็ป หรือเป็นเพราะหวังยื้อการเลือกตั้งให้ช้าออกไป

ตั้งแง่ไม่ไว้ใจทหาร โวยที่ผ่านมาโดนทุบอยู่ฝ่ายเดียวตามเคย

โจทย์สำคัญ “หัวโจก” ขั้วขัดแย้งยังยึกยัก

“ทักษิณ-เทพเทือก” ไม่รับมุก ปรองดองส่อเค้าล่มปากอ่าวตามฟอร์ม

ซึ่งนั่นก็ประเมินกันในมุมเก่า วิเคราะห์กันบนพื้นฐานเงื่อนไขสถานการณ์เดิมๆ

แต่เรื่องของเรื่อง ความพยายามเดินหมากปรองดองรอบนี้ มันมีปัจจัยใหม่ที่เพิ่มเข้ามา
และจัดเป็นปัจจัยที่ “เอื้อ” มากกว่า “ฉุด”

จุดสำคัญอันดับแรกเลยก็คือ บรรยากาศพระราชพิธีสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ตามปรากฏการณ์นับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้เป็นอะไรที่ทุกฝ่ายสัมผัสได้

ความสามัคคีฟื้นกลับมาสู่สังคมไทย ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อ “พ่อ”

ไม่มีการแบ่งสี แบ่งค่าย แยกฝั่ง แยกฝ่าย ก่อภาพความสวยงามในหัวใจของคนในชาติปรองดองกันเพื่อเทิดทูนสถาบันอันเป็นที่รัก

พวกที่จ้องจะหักดิบปรองดอง ก็ต้องเสี่ยงสวนกระแส

ประกอบกับสถานการณ์ต่อเนื่องในช่วงการเปลี่ยนผ่านสำคัญก็เห็นกันอยู่กับ “การจ่ายยาแรง”
นักการเมือง แกนนำขาใหญ่ม็อบ เข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำ

เดินคอตกเข้าคุกตามๆกัน

และแนวโน้ม “หัวโจก” ม็อบ นักการเมืองทุกขั้ว ทุกค่าย ต่างติดคดี มีชนักปักหลัง
ถ้ายังสนุกกับธุรกิจค้าความขัดแย้ง ใช้ความแตกแยกของคนในบ้านเมืองเป็นเครื่องมือในการต่อรองผล
ประโยชน์เกมอำนาจทางการเมืองและธุรกิจ
ปลายทางของชีวิตหนีไม่พ้นเข้าไปนั่งปรับความเข้าใจในเรือนจำ
ที่สำคัญเลย โดยโจทย์สถานการณ์ที่อยู่ในห้วงท้ายโรดแม็ป กำลังเข้าสู่โหมดของการเลือกตั้ง
ตามเงื่อนไขนี้ เดาทางพวกหัวโจกม็อบและนักการเมืองก็น่าจะประเมินเงื่อนสถานการณ์ปรองดองรอบนี้ในมุมที่เปลี่ยนไปจากมุกปรองดองลอยๆแบบที่ผ่านมา
ดูแล้วก็แค่ลีลา ทุกอย่างแปรผันตามการต่อรองผลประโยชน์
ทั้งหมดทั้งปวงเลย ปรองดองรอบนี้ไม่ได้อยู่ในวังวนเดิมแบบที่ผ่านมา
เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร ต่างยืนยัน ไม่มีการนิรโทษกรรม ไม่พูดเรื่องการอภัยโทษ
เพราะเป็นกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลไม่สามารถก้าวก่ายได้
นี่ก็เท่ากับตัดปมปัญหา “เรื้อรัง” ที่โดนต่อต้าน เลี่ยงปมอุดตัน
จุดไฮไลต์จริงๆมันอยู่ที่การเชิญให้นักการเมือง แกนนำขั้วขัดแย้งมาร่วมทำ “เอ็มโอยู” โดยรัฐบาล คสช.เป็นคนกลางเปิดวงให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพูดคุย แสดงความคิดเห็น
จะสร้างความปรองดองในสังคมไทยได้อย่างไร
เบื้องต้นเลยดูเหมือนจะเน้นไปที่เงื่อนไขในการเลือกตั้ง โดยทุกฝ่ายต้องสัญญาจะไม่ขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง และจะยอมรับผลเลือกตั้ง
ไม่ว่าพรรคไหน ขั้วไหนจะชนะเลือกตั้ง ใครจะได้เป็นรัฐบาล
เป็นการแสดง “สัจวาจา” ต่อสาธารณชน
และเมื่อสัญญาแล้วต้องทำตามเอ็มโอยูที่ลงนามไว้ ถ้าเบี้ยว กลืนน้ำลาย ตระบัดสัตย์ในภายหลัง ก็มีหวังโดนมาตรการทางสังคม “แบน” เอง
เหมือนมวยที่ต้องกำหนดกติกาก่อนชก
ไม่เช่นนั้นก็ซัดกันมั่วไปหมด ต่อยใต้เข็มขัด กัดหู คนแพ้ไม่ยอมคนชนะ
หนีไม่พ้นต้องฆ่ากันตายไปข้าง
เช่นกันถ้ายังไม่เคลียร์ให้ชัด ปล่อยเลือกตั้งไปก็ไม่มีหลักประกันจะกลับมาวุ่นวายไม่เลิก
สั้นๆเข้าใจง่ายๆ รอบนี้มันก็แค่ “ปลดล็อก” ทางตัน
เสมือนหนึ่ง “ปรองดองเฉพาะกิจ” เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้
ส่วนการปรองดองในระยะยาวก็ไปว่ากันต่อในรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง จะนิรโทษกรรม อภัยโทษ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล คสช.แต่อย่างใด
ทหารดึงตัวเองออกมาเป็นคนกลาง ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง
และถึงจะไม่สำเร็จก็ไม่ถือว่าเป็นความเสียหาย
ถ้านักการเมืองไม่เอา ม็อบไม่สน ทหารก็ไม่เดือดร้อนอะไร
คสช.ลากยาวอำนาจพิเศษอยู่ต่อไป ในเมื่อผู้คนส่วนใหญ่เลือกฝากผีฝากไข้กับทหารมากกว่า
ไม่มีทางปล่อยให้ประเทศวุ่นวาย
ไม่ปล่อยผีนักการเมืองทำรัฐล้มเหลวแน่.

“ทีมการเมือง”

ลอกคราบขบวนการงาบ “การบินไทย” สินบนโรลส์-รอยซ์ 1,300 ล้านบาท “นักการเมือง” คือตัวการใหญ่


โดย ผู้จัดการรายวัน   


21 มกราคม 2560 07:04 น.
 ลอกคราบขบวนการงาบ “การบินไทย” สินบนโรลส์-รอยซ์  1,300 ล้านบาท “นักการเมือง” คือตัวการใหญ่
        ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - นับเป็นข่าวใหญ่ที่มาถูกจังหวะเวลาในช่วงขณะที่ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำลังขอความร่วมมือร่วมใจทุกภาคส่วนโดยเฉพาะฟากฝั่งนักการเมือง เข้าสู่ถนนสายปรองดอง อย่าตุกติกมากเรื่อง 
       
        ไม่เช่นนั้น “สินบนโรลส์-รอยซ์” ที่ถูกปูดขึ้นมาพอดิบพอดี อาจถูกหยิบขึ้นมาเปิดแผลเน่า 
       
        เนื่องเพราะสินบนมาราธอนที่จ่ายกันเป็นลอตๆ ถึง 3 ครั้งนี้ เกี่ยวโยงไปถึงหมดทุกพรรค ทุกสำนัก โดยเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2534-2548 
       
        ที่สำคัญคือ คงไม่แต่ผู้ที่นั่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) หรือคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) การบินไทยในขณะนั้นเท่านั้นที่จะสะดุ้งเฮือก แต่ยังสั่นสะเทือนถึงรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่คุมงานการบริหารการบินไทย ในช่วงที่มีการจ่ายสินบนก้อนโตกันด้วย
       
        สำหรับเรื่องอื้อฉาวของการบินไทยคราวนี้ เกิดขึ้นเมื่อบริษัท โรลส์-รอยซ์ ผู้ผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์สำหรับอากาศยานรายใหญ่จากอังกฤษ ออกมายอมรับว่า ได้จ่ายสินบนให้นายหน้าการบินไทย เป็นเงินกว่า 36 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1,300 ล้านบาท ให้ช่วยจัดซื้อเครื่องยนต์เครื่องบิน รุ่น “เทรนท์” หรือ T800 ของทางบริษัท ให้กับการบินไทย ถึง 3 ลอต ในช่วงปี 2534-2548 
       
        การที่โรลส์-รอยซ์ ออกมายอมรับในเรื่องนี้ เนื่องมาจากศาลสหราชอาณาจักร ได้สั่งปรับ โรลส์-รอยซ์ เป็นเงิน 671 ล้านปอนด์ หรือ ราว 3 หมื่นล้านบาท หลังสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (Serious Fraud Office หรือ SFO)ของประเทศ พบว่า บริษัทสมรู้ร่วมคิดกับการทุจริต หรือ ละเลยต่อการป้องกันการติดสินบนใน ไทย จีน อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไนจีเรีย
       
        คำวินิจฉัยของ เอสเอฟโอ ชี้ว่า โรลส์-รอยซ์ ยอมจ่ายเงินราว 680 ล้านบาท ให้แก่นายหน้าในภูมิภาค โดยเงินบางส่วนจ่ายให้แก่ “ผู้แทนของประเทศไทย และพนักงานของการบินไทย” ซึ่งบุคคลเหล่านี้ “ถูกคาดหวังว่าจะให้ความความช่วยเหลือแก่โรลส์-รอยซ์ ในการจัดซื้อเครื่องเครื่องยนต์ T800 โดยการบินไทย” 
       
        โรลส์-รอยซ์ เป็นบริษัทเครื่องยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติอังกฤษ Image copyright ROLLS-ROYCE
       
        ผลการสอบสวนโดยเอสเอฟโอและเจ้าหน้าที่ต้านทุจริตของสหรัฐฯ และบราซิลที่ใช้เวลาราว 5 ปี พบการกระทำผิดถึง 12 ครั้งใน 7 ประเทศ ในรอบ 25 ปี เช่น ในอินโดนิเซีย พนักงานระดับสูงของโรลส์-รอยซ์จ่ายสินบนมูลค่าราว 80 ล้านบาท พร้อมรถโรลส์-รอยซ์ รุ่นซิลเวอร์สปิริต 1 คันให้แก่นายหน้าคนหนึ่ง เพื่อตบรางวัลให้ในฐานที่สนับสนุนโรลส์-รอยซ์ในกระบวนการจัดซื้อเครื่องยนต์ Trent 700 เพื่อใช้ในอากาศยานของสายการบินแห่งชาติการูด้า
       
        ใน จีน เจ้าหน้าที่ของโรลส์-รอยซ์ ตกลงจ่ายเงินราว 180 ล้านบาท ให้แก่ ไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลนส์ ของรัฐบาลจีน ขณะเจรจาเครื่องยนต์ T700 ในปี 2013 ในวงเงินนี้ เงินบางส่วนถูกใช้ไปเพื่อการส่งพนักงานของสายการบินไปเรียน หลักสูตรเอ็มบีเอสองสัปดาห์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเพลิดเพลินกับ "ที่พัก 4 ดาว พร้อมกิจกรรมนอกหลักสูตรสุดหรู"
       
        ใน อินเดีย โรลส์-รอยซ์ ถูกพบว่าจ้างตัวแทนให้เข้ามาดำเนินการกับสัญญาจัดหาอาวุธของรัฐบาลอินเดีย ในขณะที่กฎหมายของอินเดียในช่วงนั้น ห้ามใช้ตัวแทน แต่บริษัทฯ ก็ใช้ผู้แทนแล้วเลี่ยงจ่ายค่าตอบแทนในรูป "บริการคำปรึกษาทั่วไป" แทนจ่ายค่านายหน้า
       
        ใน ไนจีเรีย โรลส์-รอยซ์ มีความผิดฐาน จ้างนายหน้าในการเข้าประมูลจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา และบริษัทฯ ล้มเหลวในการสกัดกั้นการจ่ายสินบนโดยนายหน้า แม้ภายหลัง โรลส์-รอยซ์ ได้ถอนตัวจากการประมูลทั้ง 2 ครั้ง
       
        ใน รัสเซีย โรลส์-รอยซ์ ชนะการประมูลจัดหาอุปกรณ์ให้แก่ ก๊าซพรอม (Gazprom) รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศ โดยการติดสินบนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐวิสาหกิจนี้
       
        สำหรับกรณีของ ไทย เกิดขึ้นระหว่างปี 2534-2548 ไม่มีการยื่นเรื่องร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวและไม่มีรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวออกมา
       
        อย่างไรก็ตาม โรลส์-รอยซ์ ยินดีที่จะจ่ายเงินรวมกว่า 800 ล้านดอลลาร์ เพื่อยุติคดีใน 3 ประเทศคือ อังกฤษ สหรัฐ และบราซิล โดยจะจ่ายเงินให้แก่เอสเอฟโอ เป็นเงิน 617 ล้านดอลลาร์ รวมกับดอกเบี้ยตลอดช่วงระหว่าง 5 ปีที่ผ่านมา โรลส์-รอยซ์ ยังตกลงยอมความกับสหรัฐฯ โดยจะจ่ายเงินให้แก่กระทรวงยุติธรรม ของสหรัฐฯ เป็นเงิน 170 ล้านดอลลาร์ ส่วนบราซิล จะเป็นการจ่ายเงินให้แก่สำนักงานคดีอาญาแห่งรัฐ เป็นเงินทั้งสิ้น 25.6 ล้านดอลลาร์ 
       
        หลังจากบรรลุข้อตกลงยอมความแล้ว นายวอร์เรน อีสต์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของโรลส์-รอยซ์ ได้ออกแถลงการณ์ ขอโทษเรื่องการติดสินบนของบริษัท ซึ่งเป็นเรื่องที่ถือว่ารับไม่ได้ พร้อมทั้งระบุว่า หลังเกิดเหตุ บริษัทได้ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ และได้ยกเลิกการใช้ตัวแทนจำหน่ายที่เกี่ยวข้องกับคดี ทั้งนี้ การประนีประนอมยอมความกันได้ทำให้จะไม่มีการฟ้องร้องคดีอาญาต่อโรลส์-รอยซ์ และทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ 
       
        ในส่วนของต่างประเทศนั้น โรลส์-รอยซ์ ยอมจ่ายเพื่อจบคดี ขณะที่ในประเทศไทย การสะสางกำลังเริ่มต้น เพราะทันทีที่มีข่าวเผยแพร่ออกมา นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ออกมาแถลงหลังการประชุมบอร์ด ทันทีว่า ที่ประชุมมีมติให้ฝ่ายบริหารตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อมูลเรื่องดังกล่าวโดยเร็วที่สุด โดยต้องการทราบรายละเอียดว่าเกี่ยวข้องกับบุคลใดบ้าง ทั้งอดีตพนักงาน อดีตผู้บริหาร และคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในช่วงปี 2534-2556 ตามที่โรลส์-รอยซ์ อ้างถึง 
       
        นอกจากนี้ ยังจะตรวจสอบข้อมูลการซื้อขายเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ จากเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนใด เพราะมีรายละเอียดช่วงเวลาการซื้อขายที่ชัดเจน หากพบว่าอดีตพนักงาน อดีตผู้บริหารหรืออดีตกรรมการคนใดมีส่วนเกี่ยวข้องแม้ว่าจะเกษียณอายุการทำงานไปแล้วก็สามารถที่จะนำตัวมาลงโทษได้ โดยเบื้องต้นจะใช้เวลาสอบสวน 30 วัน และสามารถขยายได้ถึง 60 วันหรือ 90 วัน และหากพบว่าประเด็นดังกล่าวมีมูล จะเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ตรวจสอบต่อไป 
       

       

       
        “การบินไทยจะพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมในการจัดการเรื่องทุจริตครั้งนี้โดยเร็ว เพื่อดำรงเจตนารมณ์ในด้านความโปร่งใสไว้ตลอดไป” 
       
        จะว่าไป ไม่ใช่เรื่องยากที่จะตามเส้นทางสินบนโรลส์-รอยซ์ ที่ระบุเอาไว้ชัด แต่ว่าการให้ฝ่ายบริหารการบินไทย ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบคนกันเองนั้น มันใช่เรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ สังคมจะกังขาขึ้นไปอีกว่าจะมีรายการลูบหน้าปะจมูก นั่นลูกพี่นี่ลูกน้อง นายเก่า กันทั้งนั้น หรือไม่ 
       
        อันที่จริงเรื่องใหญ่ขนาดนี้ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธาน สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาลงมือจัดการตรวจสอบเอง
       
        เพราะเมื่อสาวลึกลงไปก็เห็นๆ แล้วว่า สินบนโรลส์-รอยซ์ เกี่ยวข้องกับนักการเมืองหลายรัฐบาล หลายก๊ก หลายกลุ่ม ขณะที่ดีดีและประธานบอร์ด ก็ล้วนแต่บิ๊กเบิ้มทั้งนั้น และไม่ใช่แค่เครื่องบนโรลส์-รอยซ์เท่านั้น หากแต่ยังรวมไปทุกชิ้นส่วนประกอบของเครื่องบิน ตั้งแต่ลำตัวเครื่องบิน เก้าอี้ที่อยู่ในเครื่องบิน ระบบเอนเตอร์เทนเมนต์ ตลอดจนการซ่อมบำรุงและรวมถึงการขายเครื่องเบินเก่าออกไปและซื้อเครื่องบินใหม่เข้ามา
       
        แล้วก็ซื้อกันทุกยุค ไม่ว่ายุคพลเรือน ยุคทหาร แม้กระทั่งยุคที่ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤต IMF ก็ซื้อ เรียกว่าซื้อกันทุกยุคทุกสมัยจนกล่าวได้ว่า ไม่เคยมีครั้งไหนที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้วไม่มีการซื้อเครื่องบิน
       
        “ใน 7 ปีที่ผ่านมา 2 ยุค ทุกยุคเราซื้อเครื่องบินไป 55 ลำ ภายใน 7 ปี วงเงิน 2 แสนล้านบาท ถ้าตัด 3 เปอร์เซ็นต์ ออกมาก็คือค่าคอมมิชชั่นที่ได้แน่นอน 6 พันล้านบาท” นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้เคยพูดถึงปัญหาการบินไทยไว้ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2553 
       
        และประเด็นที่น่าสนใจและจำต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ก็คือ ผลการสอบสวนของสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (Serious Fraud Office หรือ SFO) ระบุเอาไว้ชัดว่า ในการจ่ายสินบนครั้งที่ 3 คือระหว่างปี 2547-2548 นั้น โรลส์-รอยซ์จ่ายเงิน เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานการบินไทย 7.2ล้าน เหรียญ เพื่อซื้อเครื่องยนต์ T800 ล็อต 3 โดยได้ไปคุยและกินข้าวกับรัฐมนตรีเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติสัญญา 
       
        ทั้งนี้ ในช่วงปี 2547 -2548 เป็นยุคของรัฐบาลนักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ใครคือรัฐมนตรีที่ไปกินข้าวกับโรลส์-รอยซ์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงไหน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังหรือกระทรวงอื่น เพียงแต่ทราบว่า ในช่วงเวลานั้น มี 2 นักการเมืองดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในเวลาคาบเกี่ยวกันคือ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ หรือ นายพงษ์ศักดิ์ รักตตพงษ์ไพศาล ขณะที่กระทรวงการคลังมีนายทะนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการ
       
        กล่าวสำหรับสัมพันธ์ธุรกิจระหว่างการบินไทยกับโรลส์-รอยซ์ นั้นต้องบอกว่า แน่นปึ๊กมายาวนาน โดยเมื่อปลายปี 2558 ทั้งสองได้ร่วมกันจัดงานฉลองใหญ่ครึ่งศตรวรรษ “50 Years A Celebration of Partnership into the Future” นับตั้งแต่การบินไทยเริ่มทำการบินด้วยเครื่องบินแบบคาราแวล 3 (Caravelle III) ด้วยเครื่องยนต์แบบเอวอน (Avon) ของบริษัท โรลส์-รอยซ์ เมื่อปี 2507 โดยการบินไทยเลือกใช้เครื่องยนต์เทรนท์ (Trent) ของโรลส์-รอยซ์ ในเครื่องบินประเภทต่างๆ 
       
        ทั้งนี้ เคยมีความพยายามที่จะทลายการผูกขาดของโรลส์-รอยซ์ โดยเปิดโอกาสให้ “แพรต แอนด์ วิทนีย์” จากสหรัฐอเมริกาบ้าง (เครื่องยนต์เครื่องบินชั้นนำระดับโลกมีมาจาก 3 บริษัทคือ โรลส์-รอยซ์ แพรต แอนด์ วิทนีย์และจีอี)โดยเฉพาะในยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ( ระหว่าง พศ. 2531-2534 ) ซึ่งคณะที่ปรึกษานโยบาย บ้านพิษณุโลก พยายามดำเนินการ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
       
        ล่าสุด การบินไทย ได้เลือกเครื่องยนต์รุ่น เทรนท์ เอ็กซ์ ดับบลิว บี (Trent XWB) ของโรลส์-รอยซ์ เพื่อใช้ในการติดตั้งในเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ350 ที่การบินไทยอยู่ระหว่างการรอรับมอบ ซึ่งโรลส์-รอยซ์ เป็นเจ้าเดียวที่ผลิตเครื่องยนต์สำหรับแอร์บัส เอ 350
       
       ปัจจุบัน เครื่องบินของการบินไทย ได้ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ ทั้งหมด 47ลำประกอบด้วย แอร์บัสเอ 330-300 จำนวน 15ลำ แอร์บัสเอ 380-800 จำนวน 6ลำ โบอิ้ง 777-200 จำนวน 8 ลำ โบอิ้ง 777-200ER จำนวน 6 ลำ โบอิ้ง 777-300 จำนวน 6 ลำ และโบอิ้ง 787-8 จำนวน 6 ลำ 
       
       นอกจากนั้น ฝ่ายช่างของการบินไทย ได้พัฒนาศักยภาพจนสามารถซ่อมเครื่องยนต์แบบเทรนท์ 800 และเทรนท์ 700 จนเป็นที่ยอมรับของสายการบินลูกค้าที่ใช้เครื่องยนต์ประเภทเดียวกัน 
       
       สัมพันธ์ธุรกิจการบินไทยกับโรลส์-รอยซ์ แน่นแฟ้นเพียงไหน ดูได้จากคำโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่อสังคมในโอกาสฉลองครบ 50 ปี ว่า “จากความสัมพันธ์อันดีมาตลอด 50 ปีได้แสดงให้เห็นว่า บริษัทโรลส์-รอยซ์ มีความเข้าใจในธุรกิจการบินและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการเพิ่มสมรรถนะนวัตกรรมเครื่องยนต์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการบินและคุ้มค่าต่อการลงทุนให้แก่การบินไทย”
       
        และแน่นอน เครื่องบินใหม่ที่จะจัดซื้อก็ยังเป็นเจ้าเดิม โดยยุทธศาสตร์องค์กรในปี 2560 การบินไทยจะดำเนินแผนฟื้นฟูระยะที่ 2 ต่อเนื่องอีก 6 เดือน และจะเข้าสู่แผนฟื้นฟูระยะที่ 3 โดยปีนี้มีแผนจะรับเครื่องบินใหม่จำนวน 7 ลำ แบ่งเป็น จัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 350 จำนวน 2 ลำ และเช่าอีก 3 ลำ นอกจากนี้ จะเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 จำนวน 2 ลำ โดยจะทดแทนเครื่องบินเก่า 7 ลำ ที่จะปลดระวางและส่งผลให้ฝูงเครื่องบินของการบินไทยอยู่ที่ 94 ลำ เท่าเดิม 
       
       ไม่ใช่เป็นเพียงเสียงลือเสียงเล่าอ้างอีกต่อไปแล้วว่า ซื้อเครื่องบินใหม่แต่ละครั้งมักมีรายการติดปลายนวม แต่เป็นความจริงแท้แน่นอนที่โรลส์-รอยซ์ ออกมายอมรับว่ามีรายการจ่ายสินบนข้ามชาติต่อชาวโลกอย่างชัดแจ้ง 
       

บีฮายเดอะซีน-อีโม่งหลังฉาก!!!“สมชาย”แฉสุดลึก เบื้องหลังสินบนโรลส์รอยซ์ ผู้หญิงบงการ ย้อนเที่ยวบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก ผลาญหมื่นล้านยุค“ทักษิณ"??

จากกรณีบริษัทโรลลส์รอยซ์ บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ยักษ์ใหญ่อังกฤษ รับสารภาพกับศาลสูงอังกฤษว่าได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง และพนักงานบริษัทใน7ประเทศ เพื่อขายเครื่องยนต์ ซึ่งมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดยมีชื่อของบริษัทการบินไทย และปตท. เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ล่าสุดวันนี้นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ได้ออกมาให้ข้อมูลถึงบริษัทการบินไทย ซึ่งมีมูลค่าการรับสินบน ประมาณ 1270ล้านว่า
       “  การมีชื่อของรัฐมนตรีว่าการฯ(คมนาคม) และรัฐมนตรีช่วยฯนั้น มันเป็นบีฮายเดอะซีน (Behind-the-scene)ลำพังรัฐมนตรี สั่งการดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้หรอก มันต้องมีตัวใหญ่กว่านั้น จำได้ไหมเที่ยวบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก ที่เปิดกันขึ้นมา แล้วก็ยุติกันไป ไม่บอกว่ากระทรวงไหน แต่มีผู้หญิงอยู่เบื้องหลัง ” นายสมชาย กล่าว
       ทั้งนี้เมื่อย้อนเรื่องราวไปถึงกรณีเที่ยวบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก ของการบินไทย จะพบข้อมูล ว่าเป็นเที่ยวบินตรง TG 972 กรุงเทพ-นิวยอร์ก ซึ่งเรื่องนี้ว่ากันว่าเป็นบทเรียนทำให้ บริษัทการบินแห่งนี้ขาดทุนมหาศาล โดยจุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ที่สนามบินนานาชาติ JFK มหานครนิวยอร์ก เที่ยวบินปฐมฤกษ์ มีทั้งแขกวีไอพีและสื่อมวลชนบนเครื่องบินแอร์บัส A340-500 ของการบินไทย ที่ว่าจะเป็นเส้นทางใหม่ที่เป็นจุดขายของการสายการบินแห่งชาติในการบินตรงแบบ นอนสต็อป ไม่แวะพักระหว่างทาง ในเวลาเพียง 17 ชั่วโมง และที่สำคัญเที่ยวบินนี้เป็นเครื่องบินใหม่เอี่ยม มีเพียง 26 ลำในโลกที่ให้บริการเท่านั้น

       กระนั้นเมื่อ 3 ปีผ่านไป การลงทุนนับหมื่นล้านบาท ทั้งการฝึกนักบิน ลูกเรือสำหรับเครื่องบินใหม่ ขณะที่ค่าเครื่องบินที่สั่งซื้อมากกว่า 16,000 ล้านบาทยังไม่ได้ทุนคืน ตรงกันข้ามแต่ละวันที่บิน มีแต่ตัวเลขขาดทุน กระทั่งกลางเดือนมิถุนายน 2551 บอร์ดมีมติให้วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 หยุดบิน หลังพบตัวเลขขาดทุนสูงกว่าปีละ 1,000-3,000 ล้านบาท รวมประมาณ 3 ปีขาดทุนจากบริการเกือบ 7,000 ล้านบาท และหากบินต่อไปจะถึงหลักหมื่นล้านอย่างรวดเร็ว



       มีการพบข้อมูลจากบันทึกการประชุมบอร์ดการบินไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 โดย วรเนติ หล้าพระบาง ผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและประเมินผลกลยุทธ์ รายงานว่า เส้นทางบินตรงทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ประสบการขาดทุนมาโดยตลอด  หากต้องการมีรายได้คุ้มค่าใช้จ่าย (Break Even) ต้องมีผู้โดยสาร (Cabin Factor) สูงกว่า 100% นั่นหมายถึงการมีผู้โดยสารเกินจำนวนเก้าอี้ที่มีไว้บริการ

       สาเหตุการขาดทุนมี 5 ข้อคือ 1.ราคาน้ำมันที่สูงกว่า 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งแพงขึ้นจากที่เคยทำแผนวิสาหกิจ 2545 ไว้ 82 USC/USG (US Cents a gallon) เมื่อบินจริงในปี 2548 ราคาน้ำมันปรับตัวเป็น 162 USC/USG และในเดือนพฤษภาคม 2551 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 349 USC/USG หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า 2.ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เงินบาทแข็ง เงินเหรียญสหรัฐอ่อน ทำให้รายได้ลดลง เพราะรายได้ส่วนใหญ่จากเส้นทางนี้เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อแปลงเป็นเงินบาททำให้ได้ลดลง 3.ปัญหาแบบเครื่องบินที่เป็น A340-500 มี 4 เครื่องยนต์ เพื่อบินพิสัยไกลพิเศษ แบบบินข้ามทวีป (Super หรือ Ultra Long Range) มีจำนวนที่นั่งบนเครื่องบินเพียง 215 ที่นั่ง เพื่อไม่ให้แออัดจนเกินไป เพราะต้องบินแบบนอนสต็อป ในเวลา 16-17 ชั่วโมง แบ่งที่นั่งเป็น 3 คลาส คือ รอยัลซิลค์ 60 ที่นั่ง พรีเมียร์อีโคโนมี 42 ที่นั่ง และอีโคโนมี 113 ที่นั่ง
       แม้การบินไทยจะขายตั๋วได้ 79.0% จากจำนวนที่นั่งโดยสารทั้งหมด ซึ่งในระดับนี้ในเส้นทางปกติก็ถึงจุดคุ้มทุน แต่สำหรับกรุงเทพ-นิวยอร์ก ยังไม่เพียงพอ และต้องขายตั๋วถึง 100.9% เมื่อเจอปัจจัยราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้แลกได้เงินบาทลดลง จุดคุ้มทุนต้องถึง 120% และแม้การบินไทยจะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มที่นั่งเป็น 229 ที่แล้วก็ยังมีรายได้ไม่เพียงพอ 4.ความนิยมการใช้เครื่องบิน A340-500 ที่ใช้สำหรับบินพิสัยไกลพิเศษ เหมาะกับตลาด เฉพาะเจาะจง (Niche Market) ปัจจุบันจึงมีเครื่องนี้ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมการบินเพียง 26 ลำ ทำให้โอกาสที่จะขาย “ค่อนข้างยากมาก”

       5.ราคาขาย และสภาวะการแข่งขันในเส้นทางอเมริกาเหนือที่มีสายการบินคู่แข่งบินผ่านจุดบินต่างๆ โดยเฉพาะการบินตรงไปยังนิวยอร์ก มีจุดแวะเปลี่ยนเครื่อง ทำให้การบินไทยไม่สามารถปรับราคาค่าโดยสารบินตรงได้สูงนัก เพราะการใช้บริการสายการบินที่แวะเปลี่ยนเครื่อง จะเสียเวลาในการต่อเที่ยวบินอีกประมาณ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น หากการบินไทยเพิ่มค่าโดยสาร ผู้โดยสารอาจยอมเสียเวลาเลือกสายการบินที่แวะพักมากกว่า

       จากตัวเลขที่ฝ่ายบริหารรายงานต่อบอร์ดนั้น ชัดเจนว่าการขาดทุนของ “กรุงเทพ-นิวยอร์ก” ไม่ใช่เกิดจากน้ำมันเป็นจุดเริ่มต้น เพราะปี 2548 เส้นทางบินในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และกรุงเทพ-นิวยอร์ก ก็ขาดทุนถึง 1,592.7 ล้านบาท แต่จากเหตุผลในข้อ 3 แล้วสะท้อนให้เห็นถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจซื้อเครื่องบิน A340-500 ที่เป็นรุ่นที่ต้องใช้น้ำมันจำนวนมาก และแบบเครื่องบินที่ไม่สามารถเพิ่มจำนวนที่นั่งให้มากพอที่จะคุ้มทุน เพียงแต่ว่าเมื่อมาเจอวิกฤตราคาน้ำมันแพงขึ้น จึงทำให้แผลของกรุงเทพ-นิวยอร์กยิ่งสาหัสมากยิ่งขึ้น โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 ระหว่างมกราคม-มีนาคม การบินไทยขาดทุนไปแล้วถึง 980.4 ล้านบาท


       การตัดสินใจหยุดบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก นอกจากสะท้อนถึงความผิดพลาดในการเปิดเส้นทางบิน และเลือกซื้อเครื่องบินแล้ว ยังทำให้ปัจจุบันการบินไทยต้องสูญเสียจากการขายเครื่องบิน A340-500 ทั้ง 4 ลำ เป็นการเสีย “ค่าโง่” ถึง 4,237.4 ล้านบาท เพราะต้องขายทิ้งแบบขาดทุน ได้มูลค่าตลาดรวม 4 ลำ เพียง 12,553.2 ล้านบาท ขณะที่การบินไทยซื้อเครื่องบินมา บันทึกตามมูลค่าทางบัญชีอยู่ที่ 16,796.6 ล้านบาท ทั้งที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปี และลำสุดท้ายเพียง 1 ปีเศษ

       จากรายงานการประชุมคณะกรรมการ ได้ระบุชัดเจนว่าเมื่อหยุดบินกรุงเทพ-นิวยอร์ก ตามมาด้วยปลดระวางและจำหน่ายเครื่องบิน A340-500 จะทำให้ขาดทุนในปี 2551 จำนวน 1,963.8 ล้านบาท และปี 2552 อีก 2,279.6 ล้านบาท แต่เมื่อชดเชยจากที่ไม่ต้องบินกรุงเทพ-นิวยอร์กแล้ว มีผลทำให้การบินไทยมีกำไรลดลง โดยปี 2551 กำไรสุทธิลด 726.1 ล้านบาท และปี 2552 จะกำไรสุทธิลด 698.3 ล้านบาท ปี 2553-2555 จะไม่ได้รับผลกระทบจาการขายเครื่องบิน แต่จะมีกำไรในปี 2553-2555 รวมกว่า 10,000 ล้านบาท

       นี่อาจเป็นบทเรียน ของคนในการบินไทย ที่มีเสียงลือดังกระหึ่มว่ามีใบสั่งทางการเมือง ที่ทำให้การบินไทยต้องสูญเสียเกือบ 20,000 ล้านบาท เพราะเส้นทางกรุงเทพ-นิวยอร์ก สะท้อนให้เห็นความต้องการซื้อเครื่องบินมากกว่าการพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ โดยเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่รัฐบาลจนมาถึงบอร์ด และดีดีการบินไทย ที่เป็น พรรคพวก เดียวกัน ทำให้การจัดซื้อแอร์บัส A340-500 มูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท สำหรับเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก เกิดขึ้นอย่างราบรื่น
       อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีการรายงานว่าเริ่มจากเดือนเมษายน 2546 ช่วงที่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร กำลังผุดนโยบายรายวัน มี สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เลขาธิการพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งกำกับดูแลการบินไทย มี ทนง พิทยะ เป็นประธานบอร์ดการบินไทย และมี กนก อภิรดี เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี

       ทั้งนี้ช่วงต้นเดือนเมษายน 2546 บอร์ดอนุมัติซื้อเครื่องบินทั้งหมด 8 ลำ คือมีทั้ง A 340-500 และ A340-600 สำหรับบินพิสัยไกลพิเศษ กรุงเทพ-นิวยอร์ก และกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส ท่ามกลางโลกที่กำลังเจอวิกฤตการณ์ภาวะเศรษฐกิจ และการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน หลังจากสหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู เปิดฉากสงครามถล่มอิรัก และไข้หวัดนกกำลังระบาด ซึ่งในเวลาเดียวกันนี้แม้กระทั่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ยังลดเที่ยวบินในช่วงนั้นถึง 125 เที่ยวบิน รวมทั้งปลายทางนิวยอร์ก

       และปลายปี 2547 ก่อนที่รัฐบาลทักษิณจะหมดวาระการเป็นรัฐบาล ได้อนุมัติทิ้งทวนซื้อเครื่องบินล็อตใหญ่ มูลค่ารวม 96,355 ล้านบาท ซึ่งรวม A340-500 ในฝูงบิน 2 ปีสำหรับการเตรียมการ และสานต่อนโยบายด้านอื่นๆ ของรัฐบาลสมเหตุสมผลและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่กี่เดือนรัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” กลับมาอีกครั้ง ช่วงต้นปี 2548 กระทรวงพาณิชย์ ได้เช่าอาคาร ในย่าน Fifth Avenue เพื่อเปิด “ไทยแลนด์พลาซ่า” นำสินค้าโอท็อปจากเมืองไทยมาจำหน่าย เพื่อเพิ่มความคึกคักให้กับกรุงเทพ-นิวยอร์ก ที่จะมีทั้งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ และสินค้าโอท็อปโดยสาร ดังนั้น1 พฤษภาคม 2548 จึงเป็นวันเริ่มต้นของการสูญเสียของการบินไทย หลังเทกออฟบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก ก่อนที่คณะกรรมการบริษัทการบินไทยตัดสินใจยกเลิกเที่ยวบินกรุงเทพ -นิวยอร์ก ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 โดยอ้างว่าเพื่อลดค่าใช้จ่าย เพราะน้ำมันแพง




เรียบเรียงโดย : ศิริพงศ์ สำนักข่าวทีนิวส์

หลักฐานเด็ด!มติ ครม.ปี 47 คดีสินบนโรลส์รอยส์-'สุริยะ'ชงเปลี่ยนซื้อ'B777' 6 ลำ

เปิดมติ ครม. 23 พ.ย.47  ในสำนวนสอบคดีสินบน'โรลส์-รอยซ์' จ่ายเงินก้อน 3 เผยชื่อ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' ในฐานะ รมว.คมนาคม ชงอนุมัติเปลี่ยนแผนซื้อเครื่องบิน 14 ลำ 9.6 หมื่นล.
pichnhdddddddd88.jp
จากกรณีสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้แปลเนื้อหาผลสอบสวนกรณีบริษัทโรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3 จำนวน 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ช่วงปี 2547-2548 ของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ประเทศอังกฤษ พบว่า มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 พ.ย.2547 เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 และส่วนแบ่งจำนวน 4 % จากการอนุมัติของของรัฐบาลด้วย 
โดยมีการระบุว่า " จดหมายภายในบริษัทRR ฉบับลงวันที่ 19 พฤจิกายน 2547 บันทึกการประชุมซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง นายหน้า 3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค และคนในรัฐบาลไทย (the Thai Government) ซึ่งระบุบรรยากาศการประชุมครั้งนั้นว่า
“ช่างเป็นการประชุมที่ดีเหลือเกิน การจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 กำลังอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤจิกายนนี้ (2547)”
118. อีเมล์ฉบับเดียวกันยังพูดถึงเรื่องข้อตกลงค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่น โดยที่นายหน้า3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค ได้ปฏิเสธข้อเสนอของบริษัท RR โดยทั้งสองยื่นข้อเสนอใหม่ว่า
“ต้องการส่วนแบ่งเป็น 4% จากการอนุมัติของรัฐบาลในครั้งนี้ ลงวันที่ ธันวาคม 2547” ("4% on Government approval, i.e. Dec 04".)

(อ่านประกอบ : แกะรอย บ.โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 3 ช่วงปี 47-48 "ดินเนอร์กับคนในรัฐบาล" (จบ))

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา สืบค้นมติการประชุม ครม.ย้อนหลัง ในวันที่ 23 พ.ย.2547 พบว่า มีวาระการพิจารณาโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 ของบริษัทการบินไทย ของกระทรวงคมนาคม ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามในเอกสารเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2547/2548 จำนวน 7,818 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการนำเสนอครม.ขออนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดจากมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ที่ให้ การบินไทย ดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2545/2546-2549/2550 เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม จำนวน 15 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินใช้แล้ว แบบ B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ จำนวน 7 ลำ เครื่องบิน แบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินแบบA340-600 จำนวน 5 ลำ แต่การบินไทยไม่สามารถรับมอบเครื่องบินใช้แล้วแบบ B747-400 จำนวน 7 ลำ ทำให้การบินไทย ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตในปี 2546/2547 -2547/2548 การบินไทย จึงได้เลื่อนการรับมอบเครื่องบิน แบบ A340-500/600 ให้เร็วขึ้น และปรับปรุงแผนวิสาหกิจฉบับเดิม (ปี 2545/46-2549/50)เป็นแผนวิสาหกิจฉบับใหม่ ปี 2548/49 -2552/53  ตามที่นำเสนอครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547  
จึงเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท ดังกล่าว
picnhbggggg1333
picbhhdnjuiiiiiii
ขณะที่ผลการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547 มีมติอนุมัติหลักการให้การบินไทย ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี พ.ศ. 2548/49-2552/53 ของการบินไทย จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ของการบินไทย ส่วนการจัดทำข้อตกลง หรือลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบิน ให้การบินไทยรายงานความคืบหน้าการดำเนินการดังกล่าวและนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการด้วย
picnjhgg23 1 17
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ ในผลการสอบสอนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ระบุว่า การจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B777 ครั้งที่สามของสายการบินไทย ได้เริ่มหารือตั้งแต่ต้นปี 2539 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจนกระทั่งปลายปี 2547 ซึ่งในขณะนั้น บริษัท โรลส์-รอยซ์ ยืนยันว่า มีงบประมาณเพียงพอสำหรับจ่ายให้นายหน้าในภูมิภาคและนายหน้า 3 ทั้งนี้ บริษัทได้ติดสินบนเงินจำนวนหนึ่งเพื่อจูงใจให้สายการบินไทยซื้อเครื่องบินพร้อมเครื่องยนต์รุ่นT-800 เพิ่มเติมจากเดิม ส่วนแบ่งของเงินจำนวนนี้ได้ส่งต่อไปยัง คนในรัฐบาลไทย และมีการระบุถึงการนำเรื่องเข้าเสนอที่ประชุมครม. ในวันที่ 23 พ.ย.2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่นายสุริยะ ดำรงตำแหน่งรมว.คมนาคม และเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุม ส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว  คือ  นายกนก อภิรดี (2545-2549)  นายทนง พิทยะ เป็น ประธานบอร์ด ตั้งแต่ช่วงมิ.ย. 2545 - มี.ค. 2548
อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนมิได้มีการระบุชื่อ ของนายสุริยะ นายกนก และนายทนง ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่ นายสุริยะ นายกนก และนายทนง  จึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ 

‪"บิ๊กเจี๊ยบ" ผบ.ทบ.พร้อม "คุณนายเบิร์ด"ออกเดินทางเยือนเมียนมาแล้ว กลับ-25มค



‪"บิ๊กเจี๊ยบ" ผบ.ทบ.พร้อม "คุณนายเบิร์ด"ออกเดินทางเยือนเมียนมาแล้ว กลับ-25มค./พบ "พล.อ.มิน อ่อง ไหล่" /พร้อมไหว้ชเวดากอง และ "เทพทันใจ" ด้วย /ก่อนไป งดให้สัมภาษณ์

พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมคุณเบญจวรรณ สิทธิสาท ภริยา และคณะ เดินทางด้วยเครื่องบินทบ.ไปเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ ทบ.เมียนมา ตามคำเชิญของ รอง พล.อ.อาวุโส โซ วิน ผู้บัญชาการทหารบกเมียนมา 23-25ม.ค. 2560เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งหารือข้อราชการที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่าง ทบ. และ ทบ.เมียนมา

โดยในวันนี้ จันทร์ที่ 23ม.ค.60​พล.อ. เฉลิมชัย และคณะ เดินทางถึงกรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในช่วงเช้า โดยเครื่องบินกองทัพบก

โดยมี พล.ต. มยิ้น มอ ผบ.ภูมิภาคทหารบกเนปิดอว์ พร้อมคณะ นาย ชัยณรงค์ กีรติยุตวงศ์ อัครราชทูตไทย/ย่างกุ้ง ต้อนรับ ที่ ท่าอากาศยานเนปิดอว์

จากนั้น ไปหารือข้อราชการกับ รอง พล.อ.อาวุโส โซ วิน รอง ผบ.ทหารสูงสุด/ผบ.ทบ.เมียนมา
ที่สำคัญคือ จะเข้าพบและหารือกับ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผบ.ทหารสูฃสุด เมียนมา
ช่วงบ่าย ผบ.ทบ. เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึก รบพิเศษ (รพศ. ) ทบ.เมียนมา

จากนั้น ผบ.ทบ. พร้อมภริยา นำคณะนมัสการมหาเจดีย์อุปปาตะสันติ และเยี่ยมชมช้างเผือก ณ มหาเจดีย์อุปปาตะสันติ

จากนั้นในตอนค่ำผู้บัญชาการทหารบกเมียนมาร์เลี้ยงรับรองต้อนรับคณะของพลเอกเฉลิมชัย
วันอังคารที่ 24ม.ค.60 ​พล.อ.เฉลิมชัย และคณะ เดินทางต่อไปยังกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวง
โดยมี พล.ต. มโย ซอ เตง ผบ.ภูมิภาคทหารบกย่างกุ้ง พร้อมคณะ นาย พิษณุ สุวรรณะชฎ ออท.ไทย/ย่างกุ้ง พร้อมภริยา ผชท.ทร.ไทย/ย่างกุ้ง และ ผชท.ทอ.ไทย/ย่างกุ้ง ให้การต้อนรับ ณ ฐานทัพอากาศ Mingalardon

จากนั้น เข้ารับฟังการบรรยายสรุป โดย นาย พิษณุ สุวรรณะชฎ ออท.ไทย/ย่างกุ้ง พร้อมภริยา ณ สอท.ไทย/ย่างกุ้ง
ช่วงบ่าย ผบ.ทบ. พร้อมภริยา นำคณะสักการะ "เทพทันใจ" ณ พระเจดีย์โบตะตาว เยี่ยมชม พระมหาเจดีย์ชเวดากองและเดินทางกลับ ในช่วงเช้าวันพุธที่25ม.ค.60

"บิ๊กป้อม" ยิ้ม.. มั่นใจปรองดองสำเร็จ ชี้ทุกพรรคขานรับ "ยิ่งลักษณ์-อภิสิทธิ์"แม้แต่"สุเทพ"

"บิ๊กป้อม" ยิ้ม.. มั่นใจปรองดองสำเร็จ ชี้ทุกพรรคขานรับ "ยิ่งลักษณ์-อภิสิทธิ์"แม้แต่"สุเทพ" ชี้ขอแค่มาคุย หาข้อตกลงร่วม ไม่ใช่ให้มากอดคอ จูบปาก ชี้ไม่ต้องลง MOU ก็ได้ เป็นเสมือน สัญญาประชาคม ที่มีกับประชาชน ยันกก.ทหาร ไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ ฟังอย่างเดียง ขอแค่ อย่าพูดนอกกรอบ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เผยรายชื่อ กก.ปรองดอง ใกล้เสร็จแล้ว คาดอีก 1-2วันนี้ ยันกห.ไม่ได้เป็นคนทาบทาม "ประเวศ-อานันท์-คณิต"แต่อาจเป็นในส่วนของปยป.แต่มั่นใจปรองดองสำเร็จ แค่มาพูดคุย ไม่ใช่ให้มากอดคอ จูบปาก ขอแค่มาพูดคุยว่าต้องการอะไร จะลงนามในMOU หรือไม่ก็ได้ เพราะถ้าไม่ทำตามที่ได้มาพูดคุยไว้ ประชาชนก็จะเป็นคนตัดสินเองว่าเป็นอย่างไร ก็คล้ายๆเป็นสัญญาประชาคม
เผย ตอนนี้แกนนำพรรคต่างๆก็ออกมาขานรับกระบวนการสร้างสามัคคีปรองดองทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ทั้ง อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และ นายอภิสิทธิ์ 

ส่วนนายสุเทพนั้น ก็ไม่ได้คัดค้าน เพราะบอกจะร่วมพูดคุย แต่เพียงแต่ไม่ลงนามใน MOU เท่านั้น ซึ่งจะลงหรือไม่ลงก็ได้
โดยยืนยันว่าคณะกรรมการอำนวยการฯของกห. ที่มีพลเอกชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานร่วมด้วย ผบ.เหล่าทัพ และ คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น จะมานั่งฟังตัวแทนพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆพูดนั้นจะรับฟังอย่างเดียว โดยไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ แค่ขอเพียงว่าอย่าพูดนอกกรอบ หรือนอกประเด็นใน 10 หัวข้อที่เรากำหนดไว้. เพราะทหารเราถือเป็นคนกลางไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งอย่างที่ว่ากันเพราะทหารในที่สุดก็ต้องมาเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนักการเมืองที่จะมาเป็นรัฐบาลในอนาคตหลังการเลือกตั้ง
"เราเชิญมาพูดคุย มาบอกว่าตัองการอะไร ฟังความเห็นของแต่ละพรรค เพื่อกลั่นกรองมาเป็นความเห็นร่วม ไม่ใช่ให้มากอดคอ จูบปากกันซะเมื่อไหร่ เพื่อให้มีกติการ่วมกันในการอยู่อย่างสงบสุข
อย่าห่วงว่าเราจะทำอะไรนอกลู่นอกทางเพราะเราได้คิดแล้วว่าเป็นไปได้ คนมีกติกาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ผมเชื่อว่าทุกอย่างเดินไปได้
"ผมจึงต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชน มีความสำคัญมาก ในการสร้าง สร้างการรับรู้ให้ประชาชนว่านายกรัฐมนตรีและผมกระทรวงกลาโหมต้องการให้เกิดความปรองดองกันจริงๆภายในประเทศ"
ส่วนเหล่าทัพมีความตั้งใจจริงที่ต้องการจะให้เกิดความสงบและเดินไปข้างหน้า ให้เกิดความมั่นคงในประเทศ
ทั้งนี้ เพราะนายกฯมอบให้กห.ดำเนินการเรื่องความปรองดอง หลังจากที่ผมคิดแล้วนำไปปรึกษานายกฯ ท่านเห็นว่า เป็นไปได้สูง จึงมอบหมาบให้ผมดำเนินการ ซึ่งนอกจากรับฟังความเห็นจากนักการเมือง กลุ่มการเมือง แล้ว เราก็จะเชิญ นักธุรกิจ และนักวิชาการมาให้ข้อคิดเห็น ด้วย เพราะกองทัพเราตัองการให้เกิดความมั่นคงจริงๆ

กลาโหม Open House...



กลาโหม Open House...
บิ๊กป้อม แอ่นอก โปร่งใส ถามได้ทุกคน แม้แต่ซื้ออาวุธ ขอสื่ออย่ามโน และร่วมหนุน ปรองดอง โอด สู้กับนักข่าวตลอด หากพลาด ก็โดนรุม
บิ๊กป้อม พลเอกประวิตร Open House เปิดกลาโหม ให้สื่อ ระดับ บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว และนักข่าว คุยกับ บิ๊กทหาร ปลัดกห.ผบ.สส. ผบ.เหล่าทัพ 5เสือ ยันระดับเจ้ากรมฯ เผยให้ถามได้ทุกเรื่อง แม้แต่จัดซื้ออาวุธ ยันโปร่งใส ไม่มีปิดบัง เพราะเราดำเนินการแบบโปร่งใส มีคณะกรรมการ และเป็นการเสนอจากข้างล่างขึ้นมา ไม่ใช่Top down.และต้องไม่มีความขัดแย้ง ถ้าอยู่ในอำนาจผม ผมเซ็นให้เลย ขอแต่โปร่งใส
วันนี้ให้นักข่าวมารู้จัก นายทหารชั่นผู้ใหญ่ ถามได้เลย ไม่ใช่มาไล่ถาม แต่ผม เพราะตลอด2ปีที่ผ่านมา ก็สู้แต่กับนักข่าว ที่ตามสัมภาษณ์ทุกวัน ก็ต้องมีพลาด เข้าสักวัน พอพลาด ก็โดนรุม
แต่ขอนักข่าว อย่ามโน ถามเรื่อง "ถ้า-สมมุติ"ผมตอบเรื่องจริง ทั้งนั้น ไม่มีปิดบัง
ขอบคุณสื่อมางาน ขอสื่อร่วมสนับสนุน กระบวนการสร้างสามัคคีปรองดอง เพราะสื่อมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความรับรู้ให้ประชาชน

ข่าว23/1/60

สถานการณ์ข่าว

ทำเนียบรัฐบาล ปรับภูมิทัศน์ใหม่เสริมอ่างบัว สวนหย่อม ข้างตึกไทยคู่ฟ้า และหน้าตึกบัญชาการ 10 กระถาง

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาลเช้าวันนี้ มีการปรับภูมิทัศน์ใหม่ โดยมีการนำอ่างบัวสีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 60 เซนติเมตร จำนวน 10 ใบ ปลูกบัวสีม่วงและสีเหลือง ไว้ที่สวนหย่อม ด้านข้างตึกไทยคู่ฟ้า สวนหย่อม ด้านหน้าตึกบัญชาการ 1 สวนหย่อมบริเวณศาลพระภูมิและศาลตายาย ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล เพราะดอกบัวถือเป็นดอกไม้มงคลประจำพุทธศาสนา ทำให้มีความร่มเย็นเป็นสุข

ทั้งนี้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า เป็นการตกแต่งสถานที่ให้มีความสวยงาม ขณะที่ นายภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล ซินแสชื่อดัง กล่าวว่า วิธีปลูกบัวสีที่ทำเนียบรัฐบาล
ไม่น่าจะเกี่ยวกับการปรับฮวงจุ้ย หรือเสริมดวง เพราะด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า มีคลองเปรมประชากร และด้านหลังตึกไทยคู่ฟ้า ก็มีคลองน้ำไหลผ่านอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเสริมฮวงจุ้ยด้วยกระถางบัว
-------
อนุฯ พิจารณาศึกษาสร้างความปรองดองทางการเมืองนัดประชุมครั้งแรก หารือหลักการสร้างปรองดอง

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา เช้านี้ ร้อยเอกทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มีคำสั่งงดการประชุม สปท. ในวันจันทร์ที่ 23 และวันอังคารที่ 24 มกราคม 2560 เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติงานด้านการปฏิรูปในชั้นกรรมาธิการสามัญชุดต่างๆ โดยในเวลา 10.00 น. คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา รวบรวมความคิดเห็น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ประเด็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ซึ่งวันนี้ เป็นการประชุมนัดแรก

ที่อาคารรัฐสภา 2 ห้อง 215-216 ชุดที่มีนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นประธาน เพื่อพิจารณาเรื่องการกำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการ รวมถึงการกำหนดวัน เวลาการประชุมคณะกรรมาธิการ ทั้งนี้ การตั้งคณะอนุกรรมการชุดนี้ สืบเนื่องสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการคลี่คลายประเด็นปัญหาและป้องกันปัญหาความขัดแย้งไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก จึงต้องมีการพิจารณาศึกษาให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูป
--------------
"สังศิต" นำถกอนุฯ กมธ. ศึกษาปรองดองนัดแรก คาดจบใน 1 เดือน - พท. ปชป. กปปส. นปช. ส่งคนร่วม

การประชุมนัดแรกของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา รวบรวมความคิดเห็น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ประเด็นการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างความปรองดองทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เพื่อวางหลักการ ขอบเขต และระยะเวลาการทำงาน โดย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ทำหน้าที่ประธาน คาดว่า การวางกรอบการทำงานจะแล้วเสร็จภาย 1 เดือน ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ทำหนังสือไปยังพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองเพื่อขอความเห็น และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างความปรองดองทางการเมือง เป็นเอกสาร โดยขอรับขอมูลภายในวันที่  31 มกราคมนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมาธิการต่อไป

สำหรับการประชุมในวันนี้ จะมีสมาชิก สปท. ซึ่งเป็นตัวแทนจากฝ่ายการเมืองต่าง ๆ มาร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมาธิการ อาทิ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ จากพรรคเพื่อไทย, นายสมพงษ์ สักวี จาก นปช., นายกษิต ภิรมย์ จากพรรคประชาธิปัตย์, นายนิกร จำนง จากพรรคชาติไทยพัฒนา, นายวิทยา แก้วภารดัย จาก กปปส., พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ตัวแทนคนนอกจากสถาบันพระปกเกล้า
----------------
รองเลขาฯ คสช. กำชับทุกหน่วยเตรียมความพร้อมงานพระราชพิธีพระบรมศพ ศึกษาโบราณราชประเพณี จัดเตรียมองค์ประกอบต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ที่สุด 

พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า วันนี้ พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยได้เน้นย้ำภารกิจสำคัญเตรียมงานพระราชพิธีพระบรมศพ โดยให้ทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมงานพระราชพิธีในด้านต่าง ๆ ศึกษาโบราณราชประเพณี จัดเตรียมองค์ประกอบต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มดำเนินการในบางส่วนแล้ว อาทิ การปรับสถานที่ การบวงสรวงขอขมา "ราชรถ-ราชยาน" ก่อนการบูรณะ และการจัดเตรียมบุคลากรเป็นต้น
--------------
คสช. พร้อมสนับสนุน รบ. เดินหน้าสร้างความปรองดอง เร่งรัดจัดระเบียบสังคมให้เข้มข้นเพื่อประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด

พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำชับให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ยังคงกำกับดูแลและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในการจัดระเบียบสังคม เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และมีความปลอดภัย โดยเฉพาะงานเร่งด่วน อาทิ การจัดระเบียบรถตู้สาธารณะ, วินจักรยานยนต์รับจ้าง, ป้องปรามการแข่งรถจักรยานยนต์ในทางสาธารณะ, ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้ปล่อยของเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะ ตรวจสอบรถบรรทุกไม่ให้มีการบรรทุกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น

นอกจากนี้ รองเลขา คสช. ยังได้ กล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดอง ซึ่งมี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ การรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง การรวบรวมข้อคิดเห็น การหาข้อยุติร่วมกันและทำสัญญาประชาคม โดยยืนยันรัฐบาลมีความตั้งใจจริงต่อการขับเคลื่อนตามแนวทางดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้สังคมไทยมีความสงบสุขและร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

ทั้งนี้ คสช. จะใช้กลไกของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ในการช่วยสร้างการรับรู้และเผยแพร่แนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองให้ประชาชนและส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้รับทราบ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนตามแนวทางของแต่ละฝ่ายต่อไป
-------------
พล.อ.ประวิตร พร้อม ผบ.เหล่าทัพ ให้การต้อนรับสื่อมวลชน เพื่อสานสัมพันธ์พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน  

ความเคลื่อนไหวที่กระทรวงกลาโหมในวันนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมผู้บัญชาการเหล่าทัพ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ให้การต้อนรับสื่อมวลชน ทั้งบรรณาธิการข่าว ผู้สื่อข่าวสายทหารจากทุกสำนัก ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน เพื่อสานสัมพันธ์และพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งกิจกรรมกลาโหมพบสื่อนั้น ได้จัดขึ้นในทุกปี ซึ่งปีนี้มีความพิเศษ เพราะได้เชิญผู้บัญชาการเหล่าทัพ มาร่วมด้วย แต่ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก และ พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ ที่ติดภารกิจต่างประเทศไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานได้
-----------
พล.อ.ประวิตร มั่นใจแนวทางสร้างความปรองดอง จะประสบความสำเร็จเร็จ ยืนยันจัดซื้ออาวุธโปร่งใส 

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนานกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ โดยยืนยันว่า ทุกอย่างอย่างโปร่งใสเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด และเมื่อจัดซื้อแล้วจะมีขั้นตอนในการตรวจรับ โดยเน้นว่าการจัดซื้อของทุกเหล่าทัพต้องไม่มีปัญหาความขัดแย้ง

พร้อมกันนี้พลเอกประวิตร กล่าวถึงสร้างความปรองดองว่า ได้พูดคุยกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีโดยตลอด และจะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายทั้งพรรคการเมือง ประชาชน นักธุรกิจ นักวิชาการ มาร่วมให้ข้อมูลว่าอยากให้ประเทศนี้เป็นอย่างไร ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้จริงปละประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมมีความตั้งใจที่อยากทำงานความมั่นคงให้ดีที่สุด หากประเทศมีความมั่นคง จะสามารถเดินหน้าทุกอย่างได้อย่างสร้างสรรค์อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข จึงอยากขอความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้
--------------
"มีชัย" ยืนยัน ได้รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติคืนมาแล้ว อุบแจงข้อสังเกต รอปรับแก้ไขกรอบ 30 วัน

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลได้รับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญ และข้อสังเกตกลับคืนมาแล้ว ส่วนรับพระราชทานกลับคืนมาวันไหน และจะเริ่มนับกรอบ 30 วัน ในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้แจงด้วยตัวเอง ขณะเดียวกัน ยอมรับว่า ได้เห็นข้อสังเกตบางส่วนแล้วเช่นกัน แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยรัฐบาล และคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดพิเศษ จะช่วยการแก้ไข

อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดพิเศษ ในเย็นวันนี้ จะมีความชัดเจนเรื่องกรอบเวลา และกรอบการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญตามข้อสังเกตที่ได้รับพระราชทานมา
-----------
"วิษณุ" แจงโครงสร้าง คกก.บริหารราชการแผ่นดินตามกรอบปฏิรูป มี นายกฯ เป็นประธาน ไม่จำเป็นต้องตั้งอนุฯ เหมือนชุดอื่น ๆ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงส่วนงานรับผิดชอบในคณะกรรมการย่อย ของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ และสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า เบื้องต้นรับผิดชอบในส่วนของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ชุด โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการเหมือนชุดอื่น ๆ เนื่องจากคณะกรรมการชุดดังกล่าว เป็นรัฐมนตรีทั้งหมด โดยจะมีการกลั่นกรองงานที่เป็นปัญหา มีข้อขัดแย้งไม่อาจบูรณาการได้ระหว่างหลายกระทรวง ไม่ว่าจะติดขัดในเรื่องทางกฎหมาย บุคลากร งบประมาณ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ลดขั้นตอนในการทำงาน ก่อนที่จะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมามีคณะทำงานอยู่แล้ว แต่เนื่องจากไม่เป็นระบบจึงต้องตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาพิจารณา
-------
"วิษณุ" เผย ร.10 พระราชทาน ร่าง รธน. ฉบับประชามติคืนมาให้แก้ไขแล้ว เร่งทำตามกรอบ 30 วัน ครบกำหนด 18 ก.พ.

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เปิดเผยว่า ได้รับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญคืนมาเพื่อแก้ไขตั้งแต่วันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะมีการนัดประชุมคณะกรรมการที่จะปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกรอบเวลาในการแก้ไข จนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ในเวลา 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นี้
-------------
"สังศิต" เผย ผลถกอนุกรรมาธิการปรองดอง วางกรอบงาน 2 เดือน ยึดโมเดลป๋าเปรม ขณะมั่นใจลดขัดแย้งได้

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา รวบรวมความคิดเห็น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ประเด็นการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างความปรองดองทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) แถลงผลการประชุมนัดแรกวันนี้ว่า ได้กำหนดเป้าหมายการทำงาน ที่จะทำให้ความขัดแย้งระหว่างพรรคและกลุ่มการเมืองยุติลง ทำให้เลิกอคติ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเบื้องต้นอนุกรรมาธิการ จะนำนโยบายและมาตรการ 66/23 และ 66/25 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ สมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาเป็นหลักการการทำงานพร้อมเชื่อว่า การประกาศนโยบายปรองดองของรัฐบาล จะลดความตึงเครียดสถานการณ์ทางการเมืองลงได้

อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำงานของอนุกรรมาธิการฯ จะใช้เอกสารจาก 9 คณะ ที่เคยศึกษาเรื่องความปรองดองมาก่อน มาต่อยอด รวมไปถึงได้ส่งจดหมายไปยังพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย กลุ่ม นปช. และ กปปส. ขอให้ทำเอกสารความเห็นที่เป็นทางการส่งกลับมาภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งกรอบการทำงานของอนุกรรมาธิการฯ จะใช้เวลาไม่เกิน 60 วัน ก่อนเสนอสู่ที่ประชุม สปท.
/////////
"วิษณุ" รอผลสอบทุจริตซื้ออะไหล่การบินไทย ยัน นายกฯ ไม่ได้สั่งการเร่งรัดตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงการตรวจสอบบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ติดสินบนการบินไทย จัดซื้อจัดจ้างอะไหล่เครื่องยนต์การบินไทย ปี 2534 - 2548 สมัยที่เป็นรองนายก
รัฐมนตรี ในรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร ว่า ส่วนตัวจำรายละเอียดไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องรอให้การบินไทยรวบรวมข้อเท็จจริงว่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง โดยไม่ใช่การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเอาผิดและเรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลมาให้ตนเอง แต่ต้องส่งข้อมูลไปยังรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมและรายงานให้รัฐบาลรับทราบ

ขณะเดียวกัน การบินไทย ไม่มีอำนาจในการขอข้อมูล จากสำนักงานต่อต้านการทุจริตของประเทศอังกฤษ แต่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ของ
ไทย ที่จะประสานขอข้อมูล ซึ่งรัฐบาลจะรอข้อมูล จาก ป.ป.ช. และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อดูความเชื่อมโยง ว่ามีการจ่ายสินบนให้ใคร

อย่างไรก็ตาม นายวิษณุ กล่าวยืนยันว่า เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีไม่ได้สั่งการใด ๆ เป็นเรื่องของหน่วยงานที่จะตรวจสอบ อีกทั้งการขอเอกสารจาก โรลส์-รอยซ์ ถือว่าทำได้ยาก เพราะเป็นเรื่องลับ ที่ต้องขอจากสำนักงานต่อต้านการทุจริตของประเทศอังกฤษ
-----------------