PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

"ซีไอเอสงค์"เตือนทูตสหรัฐคนใหม่อย่าจุ้นจ้านภายในไทย




วันนี้( 24 ก.ย.58) น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า หน้าที่ของเอกอัครราชทูตทุกคน ไม่ว่าจะเข้าไปประจำประเทศไหน จะต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศของตนเองและประเทศที่ตัวเองไปประจำการ เพราะมีกฎเกณฑ์ ขนบธรรมเนียม และมารยาททางการทูตอยู่ว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร นักการทูตไม่ว่าระดับไหนก็ตามเขาจะไม่ก้าวล่วงและแทรกแซงกิจการภายในประเทศที่ตัวเองไปประจำการอยู่ แต่หน้าที่สำคัญคือการแสดงความต้องการในเรื่องของการเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง การค้า การลงทุน ยิ่งหากเป็นเอกอัครราชทูตจากชาติมหาอำนาจที่ไปประจำการอยู่ในประเทศที่เป็นมิตรประเทศของตัวเองมายาวนานจะต้องระมัดระวังเรื่องการประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี ต่อให้การเมืองภายในประเทศนั้นๆ มีจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างไร เอกอัครราชทูตจะเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศนั้นๆ ไม่ได้เลย ตรงนี้เป็นมารยาททางการทูตที่สำคัญ
น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า สำหรับนายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่ มีประสบการณ์เข้าไปอยู่ในประเทศที่มีความขัดแย้งมาแล้ว เคยเป็นนักการทูตสหรัฐฯผู้เชี่ยวชาญนโยบายเกาหลีเหนือ ทว่าความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี เป็นความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ซึ่งแตกต่างจากความขัดแย้งในประเทศไทย เพราะความขัดแย้งของไทยเป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชนบางส่วนภายในประเทศเท่านั้น จึงหวังว่าเอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่จะระมัดระวัง
“เอกอัครทูตคนใหม่คงเห็นวิธีการปฏิบัติตัวของทูตคนเก่าที่หมดวาระไป ที่เข้ามายุ่งเหยิงแทรกแซงการเมืองภายในของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา จนสร้างความไม่พอใจให้กับคนไทยบางส่วน ก็หวังว่าจะไม่ปฏิบัติตัวแบบนั้น จะเป็นนักการทูตที่ดี ไม่วุ่นวายเหมือนกับคนเก่า”น.ต.ประสงค์ กล่าว
อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า และต้องเข้าใจบริบทของสังคมไทย ซึ่งจะว่าไปคล้ายกับของสหรัฐฯ แม้สหรัฐฯ จะเป็นระบบประธานาธิบดี ของไทยจะเป็นระบบพระมหากษัตริย์ แต่โดยเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน มีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นความขัดแย้งภายใน ต้องรู้ว่าความไม่พอใจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นอย่างไร ก็เหมือนกับสหรัฐฯที่มีประชาชนบางส่วนก็ไม่ได้ชอบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปทั้งหมด ต้องรับรู้สถานการณ์ของประเทศไทยในช่วง 1 – 2 ปีนี้ ต้องรู้ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดระเบียบต่างๆ จึงจะต้องระมัดระวัง ไม่มีการเข้าไปแทรกแซงกิจการภายใน ส่วนจะไปทำหน้าที่ศึกษาเรื่องราวๆ ต่างๆ ในบทบาทฐานะทูตที่มีกฎเกณฑ์กำหนดอยู่แล้วเหมือนกันทุกประเทศก็ไม่มีใครว่าอะไร สมัยที่ตนเป็นรมว.ต่างประเทศเคยกำชับทูตทุกคนให้ปฏิบัติตามกติกามารยาททางการทูตอย่างเคร่งครัด.

การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติของไทย


ข่าวสารนิเทศ : การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติของไทย วาระปี ค.ศ. 2017-2018 (พ.ศ. 2560-2561)
          เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเรื่องการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council : UNSC) ของไทยตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ โดยการสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศตามกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการมีบทบาทร่วมกับประชาคมโลกในด้านการปกป้อง รักษาและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง  โดยจะเป็นการสมัครในที่นั่งของกลุ่มเอเชียสำหรับวาระปี ค.ศ. 2017-2018 (1 มกราคม 2560- 31 ธันวาคม 2561) หรืออีก 8 ปีข้างหน้า  ซึ่งมีตำแหน่งว่าง 1 ที่และยังไม่มีประเทศเอเชียอื่นประกาศลงสมัคร  ทั้งนี้ ไทยเคยเป็นสมาชิกไม่ถาวร UNSC มาแล้ว 1 สมัย คือ  วาระปี ค.ศ. 1985-1986

          UNSC มีหน้าที่ในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รวมทั้งกำหนดภารกิจของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ มีสมาชิก 15 ประเทศ โดยเป็นสมาชิกถาวร 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ ซึ่งมีวาระ 2 ปี มาจากการเลือกตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ และแบ่งสัดส่วนตามภูมิภาค คือ เอเชีย 2 ที่นั่ง แอฟริกา 3 ที่นั่ง ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 2 ที่นั่ง ยุโรป-ตะวันตกและอื่นๆ 2 ที่นั่ง และยุโรปตะวันออก 1 ที่นั่ง ประเทศที่ได้รับการเลือกตั้งจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม  ประเด็นที่ UNSC ให้ความสำคัญในปัจจุบันคือ ปัญหาความขัดแย้งหรือสถานการณ์ที่มีผลกระทบหรือเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ เช่น ภูมิภาคตะวันออกกลาง ภูมิภาคแอฟริกา สถานการณ์ในอัฟกานิสถาน ปัญหาการพัฒนานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือและอิหร่าน  การก่อการร้าย รวมทั้งประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่มีผลกระทบหรือเชื่อมโยงต่อความมั่นคงและมนุษยธรรม เช่น สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
   
          ผลประโยชน์ที่ไทยคาดหวังว่าจะได้รับหากได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC ที่สำคัญคือ การส่งเสริมและยกระดับภาพลักษณ์ไทยด้านการทูตในเวทีพหุภาคี เป็นโอกาสในการผลักดันวาระที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศหรือปกป้องรักษาผลประโชน์ของไทยในขณะนั้น  รวมทั้งชูบทบาทไทยในเรื่องการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสร้างสันติภาพที่ถาวร หลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในการทำหน้าที่สมาชิก UNSC ไทยอาจมีบทบาทเป็นตัวกลางเชื่อมโยง (bridge builder) ระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้ว และประสานความร่วมมือที่สร้างสรรค์ในการพิจารณาส่งเสริมและแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งความมั่นคงของมนุษย์แบบครอบคลุมทุกด้าน  สนับสนุนการสร้างสันติภาพที่ถาวรโดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาและการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และเน้นความสำคัญของการทูตเชิงป้องกัน และการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อป้องกันความขัดแย้ง รวมทั้งสะท้อนและเชื่อมโยงบทบาทอาเซียนและสหประชาชาติในฐานะที่อาเซียนจะมีสถานภาพเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคง

สยบทุกข่าวลือ.....ฟังคลิป บิ๊กป้อม พลเอกประวิตร เฉลย "น้องตั๊น จิตภัสร์" เป็นหลานผม

สยบทุกข่าวลือ.....ฟังคลิป บิ๊กป้อม พลเอกประวิตร เฉลย "น้องตั๊น จิตภัสร์" เป็นหลานผม โวยพวกไปเขียนในโซเชี่ยลฯกันมั่วไปหมด ภาพเป่าเค้กHBD นานมากแล้ว เพราะเป็นหลาน ผมสนิทสนมกับพ่อแม่-ปู่ของเขา แต่ไม่ได้เป็นญาติ ยันไม่เกี่ยว"ตั้น"สมัครตำรวจ เพราะเพิ่งรู้ตอนเป็นข่าว ส่วนจะมาสมัครเป็นทหาร แทน หรือไม่ ยังไม่รู้ หลังถอนตัว ไม่เป็นตำรวจ บอกยังไม้รู้ว่าเขาจะมาสมัครมั้ย ยึดตามระบบไม่ว่าตร.-ทหาร เมื้อถอนตัวแล้ว ก็ขอให้จบ อย่าไปพูดอีก ให้ถามเรื่องที่มีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองดีกว่า ยัน ไม่ต้องแก้ไขระเบียบ ห้ามรับ บุคคลที่เกี่ยวกับการเมือง เป็น ตำรวจ เผย มันเป็นระเบียบเดิม จะไปปิดกั้นได้ยังไง
โยน สตช.ดูรายละเอียดเอง ปัดตอบ หาก"ตั๊น"สอบเข้าทหารจะรับหรือไม่ ชี้เป็นเรื่องส่วนตัว
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่นางสาวจิตภัสร์ กฤดากร แกนนำ กปปส. ออกแถลงข่าวถอนตัวจากการสมัครตำรวจ ว่า ขอให้ยุติเพียงเท่านี้ เพราะจริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจและถือว่ากระบวนการในขณะนี้ได้จบลงแล้ว อีกทั้งผลการคัดเลือกยังไม่มีข้อสรุปว่าจะได้เป็นตำรวจหรือไม่ด้วยเพราะอยู่ในบวนการรอสอบสัมภาษณ์
เมื่อถามว่าจะออกกฏระเบียบในการกำหนดคุณสมบัติบุคคลที่จะเข้ามาเป็นข้าราชการตำรวจต้องไม่เป็นกลุ่มการเมืองหรือไม่ พลเอกประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพราะตนมีหน้าที่ในการกำกับนโยบายเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติ
เมื่อถามว่าหากไม่สมัครเป็นตำรวจแล้วจะไปสมัครเป็นทหารได้หรือไม่ พลเอกประวิตร กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบเพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของนางสาวจิตภัสร์ ว่าต้องการจะมาสมัครเข้าเป็นทหารหรือไม่
เมื่อถามว่า ลำบากใจหรือไม่ ที่ถูกจับตามอง ว่า น้องตั้น สนิทสนมกับท่าน นั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ไม่ลำบากใจอะไร เพราะตนไม่ได้ไปเกี่ยวข้องใดๆ กับการที่มาสมัครตำรวจ แต่สื่อชอบเอามาเป็นประเด็น แล้วเอาไปโยง โดยเฉพาะในโซเชี่ยลฯ
ส่วนที่มีการแขร์ภาพ ถ่ายคู่กับ น้องตั๊น เป่าเค้ก วันเกิดนั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า มันนานมากแล้ว และเขาก็เป็นหลานผม นับถือกันเป็นลุงหลาน เพราะผมสนิทกับพ่อแม่ โดยเฉพาะกับ คุณจำนงค์ คุณปู่ ของ น้องตั๊น แต่ยืนยันว่าทางพ่อแม่ไม่มีใครฝากฝังให้ดูแลเป็นพิเศษ
"ตั๊น เป็นหลานผม ผมสนิทกีบ พ่อแม่ กับคุณปู่เขา แหม! ผมว่า จะไม่พูดแล้ว เชียว เลยต้องพูด" บิ๊กปัอม กล่าว และชี้แจงว่า ไม่ได้เป็นญาติ แต่นับถือกันเฉยๆ เพราะสนิทกับครอบครัว

"บิ๊กป้อม" เผย ตำรวจรายงาน "อาเด็ม คาราดัก" สารภาพ เป็น"เสื้อเหลืองมือระเบิด" แต่ให้ดูที่หลักฐาน มากกว่าคำสารภาพ



"บิ๊กป้อม" เผย ตำรวจรายงาน "อาเด็ม คาราดัก" สารภาพ เป็น"เสื้อเหลืองมือระเบิด" แต่ให้ดูที่หลักฐาน มากกว่าคำสารภาพ ยันมาถูกทางแล้ว ส่วน ที่มาเลเซีย จับได้ น่าจะโยง"ค้ามนุษย์"
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวว่า ตอนนี้ ยังไม่ยืนยันว่า นายอาเด็ม ตาราดัก ผู้ต้องหา เหตุลอบวางระเบิดแยกราชประสงค์ ซึ่งถูกจับกุมได้คนแรก ที่อพาทเม้นท์ ย่านหนองจอก รับสารภาพ เป็นเสื้อเหลืองมือวางระเบิด นั่นต้องรอการสืบสวนสอบสวน ของตำรวจก่อน แต่เบื้องต้นตำรวจ ก็รายงานมาแบบนั้น
เพราะนายอาเด็ม สามารถที่จะรับสารภาพได้ แต่ต้องมีพยานหลักฐาน ว่าตรงกับการก่อเหตุหรือไม่ ทุกอย่างต้องมีความชัดเจน และคงมีการชี้แจง แต่น่าจะเป็นสัญญานดีที่จะจับเสื้อเหลืองได้
"ไม่ต้องห่วงว่า ตำรวจ จะเร่งปิดคดี จนต้องให้ ผู้ต้องหา รับสารภาพ พนักงานสอบสวนเขาไม่ทำแบบนั้นหรอก แต่เพราะมีหลักฐานต่างๆ มัดตัว เขาจึงสารภาพ แต่ก็ต้องตรวจสอบ เพราะแค่คำพูดอย่างเดียวคงยืนยันไม่ได้ แต่เชื่อว่า เรามาถูกทางแล้ว" พลเอกประวิตร กล่าว
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ยังไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงจากคำพูดของบุคคลเพียงคนเดียว เพราะใครก็สามารถรับสารภาพได้ ต้องมีพยานหลักฐานมาชี้แจงถึงที่มา สาเหตุการก่อเหตุ รวมถึงความเชื่อมโยงกับเครือข่าย เพื่อไม่ให้เกิดการไขว้เขว
ส่วนผู้ต้องสงสัยที่ทางการมาเลเซีย ช่วยจับกุม นั้น รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ทางการมาเลเซียไม่น่ามีอะไรมาก ซึ่งน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์มากกว่า หากสอบสวนแล้วพบว่ามีทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์จะดำเนินการเอาผิดทันที แต่ไม่มีการคาดโทษเป็นพิเศษ เพราะมีระเบียบกฎเกณฑ์เอาผิดอยู่แล้ว
ส่วนจะเกี่ยวข้องกับเหตุวางระเบิดหรือไม่ ต้องสอบสวนก่อนเพราะเหตุจูงใจการก่อเหตุวางระเบิด มีหลายประเด็น พร้อมมั่นใจว่าการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้มาถูกทางแล้ว ส่วนสาเหตุการก่อเหตุวางระเบิดครั้งนี้ ยังไม่สรุปว่ามาจากสาเหตุใด
//

"พลเอกประวิตร" เผย พรรคเพื่อไทย ส่งชื่อตัวแทน ร่วมเป็นสภาขับเคลื่อนฯแล้ว มีทุกพรรค


"พลเอกประวิตร" เผย พรรคเพื่อไทย ส่งชื่อตัวแทน ร่วมเป็นสภาขับเคลื่อนฯแล้ว มีทุกพรรค แต่จำไม่ได้ โควต้าแต่ละพรรค ส่วนต่างๆกี่คน รอนายกฯมาเลือก
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวถึงการเลือกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ขณะนี้มีรายชื่อแล้ว แต่ต้องรอให้นายกรัฐมนตรีเป็นคนตัดสินใจ
ส่วนตัวแทนพรรคการเมือง ส่งชื่อมาเป็นสภาขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีจากพรรคเพื่อไทย หรือไม่ พลเอกประวิตร กล่าวว่า เท่าที่ทราบขณะนี้มีรายชื่อของสมาชิกพรรคเพื่อไทย ก็เห็นอยู่บ้าง แต่ไม่ขอเปิดเผยรายรายชื่อดังกล่าว
สวนการที่พรรคเพื้อไทย บอกว่า จะไม่ส่งตัวแทน ร่วมสปท. นั้น พบเอกประวิตร กล่าวว่า ผมเห็นชื่อมาแล้ว มีทุกพรรค แต่ไม่เปิดเผยว่า ใคร
"ผมเชื่อมั่นว่า รายชื่อ ประธาน กรธ. แบะ สปท. ที่ออกมา นายกฯเป็นคนเลือก จะไม่ทำให้ผิดหวัง ต้องยอมรับได้แน่นอน" พลเอกประวิตร กล่าว

ทูตเยอรมัน เข้าพบ "พลเอกประวิตร" ไม่โทษไทย ปัญหาIUU Fishing


ทูตเยอรมัน เข้าพบ "พลเอกประวิตร" ไม่โทษไทย ปัญหาIUU Fishing แต่ความรับผิดชอบร่วมกันของทุกประเทศ ที่ต้องร่วมกันคุ้มครองทรัพยากรทางทะเล โดยจำเป็นต้องปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ยันเข้าใจไทย ยึดRoadmap สู่ ปชต.

นาย Peter Prugel ออท.สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย และคณะ เข้าเยี่ยมคำนับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯและ รมว.กห. ที่ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ใหม่
พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกัน ถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมา
ออท.เยอรมนี กล่าวว่า ในห้วงเวลาการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของประเทศไทยนี้ เยอรมนี ยืนยันความเป็นมิตรที่ดีและยินดีที่จะสานสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศไทยในทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการเมือง การเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้านพลังงาน และอื่น ๆ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษากับสถาบันการศึกษาไทย
พร้อมกับได้กล่าวแสดงถึงความเข้าใจและความจริงใจ ต่อความพยายามในการแก้ไขปัญหาต่างๆของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะการแก้ปัญหา การทำประมงผิดกฎหมายโดยไร้การควบคุม (IUU) ของไทยที่ผ่านมา
โดยกล่าวว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ สืบเนื่องจากการขาดแคลนทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเกิดจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย จึงถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกประเทศ ที่ต้องร่วมกันคุ้มครองทรัพยากรทางทะเล โดยจำเป็นต้องปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ขณะเดียวกันเยอรมนีก็ให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าต่อพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยตาม Road Map ที่กำหนด โดยเยอรมนีพร้อมให้การสนับสนุนประเทศไทย เพื่อให้เกิดกระบวนการทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่โปร่งใส
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้กล่าวแสดงความยินดีกับ ออท.เยอรมนี ในโอกาสรับตำแหน่งใหม่และแสดงความขอบคุณเจ้าหน้าที่สถานทูตเยอรมนี ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีต่อการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายฯของไทยที่ผ่านมา ส่งผลให้การแก้ไขปัญหามีความคืบหน้าไปมาก
พร้อมกับได้ใช้โอกาสนี้ กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการตาม Road Map ของ คสช.และรัฐบาล ซึ่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องปฏิรูปประเทศให้มีความพร้อม และยืนยันถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้มีความสมบูรณ์ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและมีความเป็นสากล โดยความร่วมมือกับภาคประชาชน

ประชุมยูเอ็น...ทำไมไทยจึงดัง?


    ประชุมยูเอ็น...ทำไมไทยจึงดัง?

  • Thursday, September 24, 2015 - 00:01
    นายกฯ ลุงตู่ "งอมด้วยไข้หวัด" เดินทางไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่นิวยอร์กแต่เมื่อคืน (๒๓ ก.ย.๕๘)
    เห็นว่าพวกสิทธิมนุษยชน เตรียม "จัดหนัก" ที่นั่น ด้วยสภาพร่างกายไม่ค่อยพร้อม แต่ต้องสู้สิบทิศ
    ก็หนักหน่อยนะ...ท่านนายกฯ!
    ดูตารางก่อนดีกว่า จาก ๒๔ กันยา-๑ ตุลา ว่ามีอะไรบ้าง แต่ผมว่า ทุกอย่างจะไปได้สวย ไม่มีอะไรน่าห่วง
    ด้านงานพื้นที่ "กระทรวงต่างประเทศ" ทำการบ้านเรียบร้อย ไว้ใจได้
    ด้านสุขภาพ ถึงแม้เป็นไข้หวัด วงจรเปลี่ยนกลางวันเป็นกลางคืน-กลางคืนเป็นกลางวัน
    แต่ด้วยกลั่นและกรำมาในทุกสถานการณ์ของชีวิตทหาร กว่าจะขึ้นมายืนในจุดนี้ได้
    ป่วยแค่นี้...สิวๆ!
    คณะนายกฯ บินจากไทย ไปเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินนาริตะ ญี่ปุ่น และบินต่อเข้านิวยอร์ก
    บ่ายๆ พฤหัสฯ ๒๔ ก.ย.ถึงนิวยอร์ก เข้าโรงแรมที่พัก ล้างหน้า-ล้างตาฟังสรุปสถานการณ์ ประชุม "ทีมไทยแลนด์" ทันที
    ศุกร์ ๒๕ ก.ย.ร่วมประชุม "ระดับผู้นำ" เพื่อรับรองวาระการพัฒนาหลังปี ค.ศ.2015 (Post-2015 Summit)
    กล่าวถ้อยแถลงใน Interactive dialogue 1: "Ending poverty and hunger"
    ร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ จัดโดยสภานักธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน (US-ASEAN Business Council-USABC)
    เสาร์ ๒๖ ก.ย.ร่วมประชุม Post-2015 Summit และหารือทวิภาคีกับผู้นำประเทศ
    ช่วงเย็น ร่วมงานเลี้ยง Celebratory Gala Dinner 150 ปี ITU
    รับมอบรางวัล ITU Global Sustainable Digital Development Award
    อาทิตย์ ๒๗ ก.ย.ประชุม High-level special event "Catalysing Implementation and Achievement of the Water Related SDGs"
    และประชุม Global Leaders’ Meeting on Gender Equality and Women’s Empowerment: A Commitment to Action
    ช่วงบ่าย กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม เต็มคณะ Post-2015 Summit
    จันทร์ ๒๘ ก.ย.ช่วงเช้า ร่วมงานเลี้ยงรับรอง โดยเลขาฯ ยูเอ็น ก่อนเข้าร่วมพิธีเปิดการอภิปรายทั่วไป (UNGA 70)
    ช่วงบ่าย เลขาฯ ยูเอ็น เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน (State Luncheon) แก่หัวหน้าคณะผู้แทน
    ช่วงค่ำ ประธานาธิบดีโอบามาและภริยา เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงรับรอง เพื่อเป็นเกียรติแก่หัวหน้าคณะผู้แทน
    อังคาร ๒๙ ก.ย.พบหารือทวิภาคีกับผู้นำประเทศ กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไป (UNGA)
    เดินทางไปไว้อาลัยผู้เสียชีวิตเหตุการณ์ 9/11 ที่ Ground Zero
    พุธ ๓๐ ก.ย.เดินทางออกจากนิวยอร์ก ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ค่ำของวันพฤหัสฯ ๑ ต.ค.๕๘
    ก็อยากให้ข้อสังเกต เพื่อ "คนไทยทั้งชาติ" นำไปคิดคำนึงกันเล็กน้อย
    คณะนายกฯ มีแค่ ๑๕ คน ซื้อตั๋วนั่งเครื่องบินโดยสาร "การบินไทย" ไปลงที่ญี่ปุ่น
    เครื่องถึงนาริตะ ๖-๘ โมงเช้า จะแกร่วกันอยู่สนามบินเกือบเที่ยง รอต่อเครื่องญี่ปุ่น บินไปสนามบิน JFK นิวยอร์ก วันที่ ๒๔ ก.ย.ของสหรัฐฯ
    สะดุดตา-สะดุดใจอะไร จากนายกฯ ที่ "ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง" บ้าง?
    ไปทำงาน ๑๐๐%.........
    นายกฯ ประยุทธ์เอาเฉพาะคนที่ต้องทำงาน ๑๕ คนเท่านั้นไป
    อยากให้......."ดูไว้เป็นตัวอย่าง"!
    ก็คิดดู ๑๕ คน เดินทางแบบ "หวานเย็น" ประหยัดเงินภาษีประชาชนได้เป็นสิบ-เป็นร้อยล้าน!
    เมื่อเทียบกับ ใช้เครื่องบินทั้งลำ "บินตรง" ไปเอง อย่างที่นายกฯ "มาจากการเลือกตั้ง" บางคนทำ
    ขนคนไปเป็นร้อย กระเป๋าเฉพาะนายกฯ ต้องเรียกว่า "ลำเลียง" ไม่รู้เอาอะไรออกไปบ้าง คนเดียว เป็นสิบ-เป็นร้อยใบ!
    ใช้ "ของหลวง-เงินหลวง" ทั้งสิ้น เฉพาะค่าห้องพักโรงแรมที่ยกโขยงกันไป ก็ไม่รู้ผลาญไปกี่สิบล้านแล้ว
    ยังไม่นับค่า "สูญเปล่า" และค่าจอดเครื่องบินทิ้งไว้ที่สนามบินอีกหลายๆ วัน
    ไปแต่ละครั้ง ผลาญเงินแผ่นดินเป็นร้อยๆ ล้าน........!
    แต่ไม่เคยมีเนื้องานอะไรเลย นอกจากใช้ชาติบังหน้าทำธุรกรรม-ธุรกิจลับ กับสร้างริยำ ทำขายหน้า ให้ฮากันทั้งโลก
    คนไทยต้องใช้ปี๊บคลุมหัว ด้วยอับอายนโยบายดอกๆ Woman's Touch เพื่อชาติ
    นายกฯ เลือกตั้งบางคน แค่ ๒ ปีกว่า แต่ผลาญค่า "ไปต่างประเทศ" เป็นพันล้าน!
    นายกฯ เผด็จการทหาร กินอาหารจานเดียวมื้อเที่ยง ๔๐-๕๐ บาท
    นายกฯ จากเลือกตั้ง แดกเที่ยงมื้อเดียว มื้อละกว่า ๒ แสน!
    ก็ตรองตามเป็นจริงละกัน.........
    ในภาวะบ้านเมืองจมเหวจากนักการเมือง "กินเมือง" และสังคมโลกกำลังเข้าสู่วิกฤติ
    "ไม่มีประชาธิปไตย-ไม่มีเผด็จการ"..........!
    โลกวันนี้ มีแต่ระบบอะไรก็ได้ ที่ใช้แล้ว รักษาสภาพ "บ้านใคร-บ้านมัน" ได้รอด
    รอวัน "สังคมโลกใหม่" กลับคืน........
    เมื่อเศรษฐกิจและการเมืองโลก ปรับสู่อำนาจสมดุลของมันแล้ว ตามกลไกสภาวะโลกกลม
    แบบนี้...เรายังจะหลับหู-หลับตาตะบันเรียกหา "เลือกตั้งมาไวๆ" เพื่อให้พวกเลื้อยคลานทางการเมืองเข้ามาเขมือบหัว-เขมือบประเทศอยู่อีกหรือ?
    ทุกวันนี้ พวกอยากเลือกตั้ง มีไม่มาก แต่อาศัยพูดผ่านสื่อเป็นเครื่องมือขยายเสียง เลยเหมือนดัง
    ส่วนคนที่อยากเห็นรัฐบาลทหาร กวาดบ้าน-กวาดเมืองให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเลือกตั้ง...ไม่ต้องรีบ มีมาก
    แต่ส่วนนี้ เหมือนคนกินอิ่ม นอนหลับ...มักไม่พูด ถึงพูด มันไม่ใช่แนวขัดแย้ง ฟังแล้วไม่สะใจ ขายยาก...สื่อก็เลยไม่อยากขยายต่อ
    พอดีกับคนรัฐบาลก็บ้าจี้............
    นิยมเดินเกมสไตล์ "หมากัด-ต้องกัดตอบ"
    ก็เลยเหมือนสถานการณ์ไม่นิ่ง ไม่แน่ใจ จะร่างรัฐธรรมนูญแนวไหน จะฟังใคร จะรีบเลือกตั้ง ทั้งที่ยังเลอะๆ หรือล้างประเทศก่อน แล้วค่อยเลือกตั้ง?
    กลับไปที่นายกฯ ประยุทธ์ ณ ยุทธภูมิ ยูเอ็น บ้าง!
    ดูตามพิธีกรรมแล้ว ประชุมเที่ยวนี้ เหมือนประชุม "รัฐบาลโลก" ๑๙๓ ประเทศในโลก มาหมด
    นายกฯ ลุงตู่ จากไทย เปรียบก็ทรายเม็ดหนึ่งในความเป็นทะเลทราย!
    แต่ทำไมล่ะ.....
    ทรายเม็ดนี้ แถมเป็นทรายนอกตะแกรงประชาธิปไตยร่อน กลับเป็นที่สนใจ "จับจ้อง" จากใครต่อใคร เอิกเกริกล่วงหน้าเป็นเดือน-ค่อนเดือน?
    สื่อระดับโลก อย่างวอชิงตัน โพสต์ ถึงขั้นเขียน "บทบรรณาธิการ" ว่าด้วยเรื่อง ม.๔๔ กับสิทธิมนุษยชน เป็นการยกมะเหงกต้อนรับ
    ใช้ "สังคมทฤษฎี" จ้องเขียนบทบรรณาธิการคร่ำครึ ประจานความแคบทาง "โลกทัศน์" ในยุคสังคมโลกเป็นจริงปัจจุบัน ที่กำลังแตกมวลสาร ขยำตัว ก่อนรวมสู่ความเป็น "สังคมโลกใหม่"!
    ถ้าจะจิก-จาบจ้วง-ประจาน ด้านใช้อำนาจขัดหลักสิทธิมนุษยชนละก็ วอชิงตัน โพสต์ นิวยอร์ก ไทม์ ซีเอ็นเอ็น บีบีซี และ ฯลฯ
    จับโอบามา ผู้นำสหรัฐอเมริกา นั่นแหละ ขึงประจานกลางจอ หรือบทบรรณาธิการในหน้ากระดาษ จะ "ตรงตัว" ที่สุด
    โลกโกลาหลวันนี้ บ้านแตก-สาแหรกขาด ผู้คนนับแสน-นับล้าน ต้องอพยพหนีตายจากภัยสงครามเป็นที่ทุเรศ-ทุรัง ดังที่เห็น
    ใครเป็นผู้ก่อ เกิดจากน้ำมือใคร?
    สหรัฐอเมริกา โดยนายโอบามาใช่มั้ย........
    อ้างประชาธิปไตย แล้วใช้เผด็จการโจร "ก่อสงคราม" ปล้นบ้าน-ชิงเมือง-ชิงน้ำมัน ประเทศนั้น-ประเทศนี้
    จนโลกหนี "สงคราม" ไม่พ้นแล้ว!?
    นี่คือบทสรุป แค่ทรายเม็ดหนึ่ง ทำไมกลไกสหรัฐฯ จึงโฟกัส "ซัดไม่ยั้ง"
    ไม่ใช่เงื่อนไขประชาธิปไตย-เผด็จการหรอก
    เพราะ "ไม่ยอมอยู่ใต้คำสั่งเขา"...........
    นั่นแหละ ทำให้รัฐบาลทหารวันนี้ ไม่เป็นประชาธิปไตย ใต้ใบรับรองไอ้กัน.

“ฮิวแมนไรต์วอตช์” จัดหนัก! รัฐบาล คสช.ยื่นรายงานกดดัน “บิ๊กตู่”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
23 กันยายน 2558 18:06 น.

“ฮิวแมนไรต์วอตช์” จ่อจัดหนัก! รัฐบาล คสช. ยื่นรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย กดดันนายกฯ ประยุทธ์ ระหว่างเดินทางร่วมประชุมเวทียูเอ็น จี้ยกเลิกใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ด้านแพทย์เข้าตรวจอาการไข้นายกฯ ย้ำไม่มีผลเดินทางคืนนี้
      
       วันนี้ (23 ก.ย.) มีรายงานว่า นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของฮิวแมนไรต์วอตช์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กดดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและคืนอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนโดยเร็วที่สุด และขอให้ผู้นำประเทศต่างๆ พูดอย่างตรงไปตรงมา ในโอกาสที่ พล.อ.ประยุทธ์จะขึ้นกล่าวต่อที่ประชุมที่มหานครนิวยอร์ก ในวันที่ 29 ก.ย.นี้
      
       เมื่อวานนี้ (22 ก.ย.) เว็บไซต์ฮิวแมนไรต์วอตช์ ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทย เพื่อนำเสนอเป็นรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council - HRC) ภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR)
      
       รายงานฉบับนี้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1. อำนาจที่กว้างขวางและไร้การตรวจสอบของรัฐบาล คสช. 2. การเซ็นเซอร์และห้ามใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การรวมตัวและชุมนุมอย่างสันติ 3. การกักกันในที่ลับและโดยพลการ และการใช้ศาลทหาร 3. การปราศจากความรับผิดต่อเหตุความรุนแรงที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง 4. ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. บังคับให้บุคคลสูญหาย(อุ้มหาย) 6. ผู้ลี้ภัยและแรงงานอพยพ 7.นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนถูกคุกคาม และ 8. การละเมิดสิทธิในสงครามปราบปรามยาเสพติด
      
       รายงานดังกล่าวไม่เพียงรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังเสนอแนวทางให้กับประเทศไทย เช่น ยกเลิกใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว, รัฐบาลต้องกำหนดเวลาที่ชัดเจนเพื่อคืนประชาธิปไตยกลับสู่ประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรม, ยุติการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมอย่างสันติด้วยการใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และมาตรา 112 และ 116 ในประมวลกฎหมายอาญา, การสร้างความมั่นใจว่ายุทธวิธีที่จัดการปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นไปตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรม, ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายโดยทันที โดยทีต้องปรับกฎหมายที่จำเป็นและมาตรการอื่นเพื่อสอดคล้องกับเงื่อนไขทั้งหมดก่อนให้สัตยาบัน เป็นต้น
      
       การยื่นรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ ภายใต้กลไก Universal Periodic Review จะจัดทำทุก 5 ปี โดยล่าสุดคือเมื่อปี 2554 และจะครบกำหนดในปี 2559 โดยรัฐบาลไทยจะต้องจัดทำรายงานเพื่อเสนอไปยังคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯภายในปีนี้เช่นเดียวกัน กลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่จัดทำรายงานสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อขึ้นเป็นแนวทางให้สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯตั้งคำถามต่อคณะผู้แทนประเทศไทยและพร้อมกันนั้นก็เป็นแนวทางให้ประเทศไทยปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับพันธะด้านสิทธิมนุษยชนตามกติการะหว่างประเทศด้วย
      
       ประเทศไทยได้เข้าสู่การทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนมาแล้วหนึ่งครั้งในปี พ.ศ. 2553 (2010) และมีประเทศต่างๆ ทั่วโลก 193 ประเทศก็เข้าสู่กระบวนการ UPR แล้ว ทาง HRC จะจัดประชุม 3 ครั้งต่อปี ดังนั้นประเทศต่างๆ จะต้องเข้าสู่กระบวนการ UPR โดยเฉลี่ยทุก 4 ปี ในครั้งหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่กระบวนการ UPR อีกครั้งในการประชุมครั้งที่ 25 เดือนเมษายน- พฤษภาคม 2559 (2016)
      
       ด้าน พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกฯ ตั้งใจที่จะไปเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้เพื่อย้ำถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองของไทย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ไทยยังคงเป็นเพื่อนสมาชิกที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะร่วมมือกับสหประชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และทุกประเทศจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาร่วมกัน
      
       วันเดียวกัน มีรายงานว่า จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีอาการป่วยด้วยไข้หวัด เจ็บคอ จนแพทย์ต้องมาฉีดยาและให้ยาเพื่อบรรเทาอาการไปเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น ทั้งนี้ เมื่อเวลาประมาณ 13.10 น.วันนี้ แพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้เดินทางเข้าตรวจอาการของนายกฯ อีกครั้ง โดยเปิดเผยเพียงสั้นๆ ว่าอาการของนายกฯ ดีขึ้น วันนี้แค่มาตรวจอาการเฉยๆ เมื่อถามว่า ไม่มีผลต่อการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ใช่หรือไม่ แพทย์ตอบเพียงว่าไม่มีอะไร

‘ยูเอ็นล้อมไทย’ ก่อน ‘ประยุทธ์’ เยือนนิวยอร์ก


ทบทวนปฏิกิริยาต่อประเทศไทย ก่อนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เยือนสหประชาชาติ พบยูเอ็นแสดงท่าทีครอบคลุมตั้งแต่รธน.มาตรา 44 กรณีจับน.ศ. กรณีส่งกลับอุยกูร์ จนถึงเรื่องกม. 112
 หัวหน้าคณะรัฐประหารและหัวหน้ารัฐบาลของไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีกำหนดเดินทางไปปรากฏตัว ณ ที่ทำการสหประชาชาติ ในนิวยอร์ก ช่วงต้นสัปดาห์หน้า นับแต่อดีตผู้บัญชาการทหารบกเข้า “ควบคุมอำนาจ” เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557  ยูเอ็นแสดงปฏิกิริยาต่อประเทศไทยหลายครั้ง
 ท่าทีของนานาชาติอยู่ในความรับรู้ของผู้นำไทยมาโดยตลอด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีพูดกับผู้สื่อข่าวว่า การรัฐประหารคงไม่มีอีก เพราะ “โลกล้อมประเทศ” (โพสต์ทูเดย์, 16 กันยายน 2558) การเมืองไทยจะเป็นอย่างที่พล.อ.ประยุทธ์คาดการณ์หรือไม่ นั่นเป็นเรื่องของอนาคต แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ก็คือ ยูเอ็นล้อมไทย
 ‘หวนสู่รัฐบาลพลเรือน’
 ทันทีที่กองทัพประกาศใช้กฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 หลังจากการเมืองไทยประสบความปั่นป่วนนานหลายเดือน เลขาธิการสหประชาชาติ บัน คีมูน เรียกร้องให้ทุกฝ่ายแก้ปัญหาด้วยการเจรจา และเคารพหลักการประชาธิปไตย (UN News Centre, 20 May 2014) 
@  ทหารสกัดกั้นการชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ที่หน้าห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง บริเวณแยกอโศก-สุขุมวิท ในกรุงเทพฯ เมื่อ 1 มิถุนายน 2557
 สองวันต่อมา กองทัพประกาศ “ควบคุมอำนาจการปกครอง” (Reuters ; New York Times, 22 May 2014) เลขาธิการยูเอ็นเรียกร้องประเทศไทยให้หวนคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่เป็นประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญในทันที (UN Secretary-General, 22 May 2014)  
 ‘เสรีภาพสื่อมวลชน’
ผ่านไปราว 3 เดือน เมื่อการณ์ปรากฏว่า คณะรัฐประหารปิดกั้นการเสนอข่าว จำกัดการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชน และยับยั้งการแสดงออกที่ต่อต้านการรัฐประหาร สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดง “ความวิตกกังวลอย่างยิ่ง” พร้อมกับเรียกร้องให้ไทยยึดมั่นในพันธกรณีระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน (OHCHR, 3 Sepember 2014)
 การลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออก เป็นประเด็นที่ยูเอ็นยังคงแสดงท่าทีต่อระบอบทหารของไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งแสดงการต่อต้านรัฐประหาร ด้วยการชูสามนิ้วที่หน้าโรงภาพยนตร์ซึ่งมีกำหนดฉายเรื่อง Hunger Games แล้วถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว มาทิลดา บ็อกเนอร์ ผู้แทนของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวกับเอเอฟพี วิจารณ์รัฐบาลทหารของไทยว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน (AFP, 21 November 2014)
 สหประชาชาติแสดงท่าทีต่อไทยอีกครั้ง หลังจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวกับบรรดานักข่าวว่า จะเล่นงานสื่อที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล หรือเสนอข่าวที่ “สร้างความแตกแยก” (มติชน, 25 มีนาคม 2558) เดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออกของสหประชาชาติ เรียกร้องนายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดพูดจาข่มขู่สื่อมวลชน (UN News Centre, 1 April 2015)
 ‘อำนาจล้นพ้น ภายใต้มาตรา 44’
 เมื่อรัฐบาลทหารของไทยยกเลิกกฎอัยการศึกในวันที่ 1 เมษายน 2558 ทว่านำบทบัญญัติมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาใช้แทน ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซาอิด อัลฮุสเซน แถลงวิจารณ์ว่า กฎหมายดังกล่าวมอบอำนาจอย่างกว้างขวางให้แก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 “ผมรู้สึกตกใจที่มีการนำกฎหมายซึ่งให้อำนาจอย่างไม่จำกัดแก่นายกรัฐมนตรีมาใช้แทนกฎอัยการศึก โดยปราศจากการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการ นี่เป็นการเปิดประตูไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน”  ข้าหลวงใหญ่ฯ กล่าว  (UN News Centre, 2 April 2015)
 ‘ปล่อยนักศึกษา’
 หลังจากตำรวจจับกุมกลุ่มนักศึกษาที่รวมตัวทำกิจกรรมในวาระครบรอบ 1 ปีของการรัฐประหาร ที่บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน (ไทยรัฐ, 23 พฤษภาคม 2558) และต่อมาทางการไทยดำเนินคดีแกนนำนักศึกษา 14 คน
 สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีอาญา และขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาโดยทันที พร้อมกันนั้น ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนการใช้กฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุม (OHCHR, 30 June 2015)

‘หยุดส่งกลับชาวอุยกูร์’
 การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทหารของไทย ไม่เพียงถูกวิจารณ์ด้วยประเด็นภายในประเทศ หากยังรวมถึงประเด็นระหว่างประเทศอย่างกรณีการส่งผู้แสวงหาที่พักพิงชาวอุยกูร์กลับไปให้รัฐบาลจีนด้วย
 หลังมีข่าวว่า ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์จำนวน 109 คนให้แก่จีนเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 ในวันต่อมา โฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รูเพิร์ต โคลวิลล์ แถลงที่กรุงเจนีวา แสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อการดำเนินการดังกล่าวของไทย พร้อมกับขอให้ไทยให้ความคุ้มครอง และยุติการส่งกลับชาวอุยกูร์ที่ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศไทย (UN News Centre, 10 July 2015
 ‘แก้ไข ม.112’
 ปฏิกิริยาจากสหประชาชาติครั้งหลังสุด มีขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 หลังจากองค์กรตุลาการของไทยใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ รวมถึงกฎหมายคอมพิวเตอร์ สั่งจำคุกผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายราย เป็นเวลานานคนละหลายสิบปี
 ในวันที่ 11 สิงหาคม โฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ราวินา ชัมดาซานี แถลงที่กรุงเจนีวา ระบุว่า ข้าหลวงใหญ่ฯรู้สึก “ตระหนก” ต่อการลงโทษตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย พร้อมกับเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
 ถ้อยแถลงของข้าหลวงใหญ่ฯ อ้างถึงการพิพากษาลงโทษของศาลทหารและศาลยุติธรรมของไทยใน 5 คดี คือ
 ๏ 7 ส.ค. 2558 ศาลทหารกรุงเทพฯ ตัดสินจำคุกนายพงษ์ศักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) ชาวจังหวัดกาญจนบุรี อายุ 48 ปี อาชีพตัวแทนบริษัทนำเที่ยว เป็นเวลา 60 ปี ด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เนื่องจากแชร์ข้อความ 6 ข้อความทางเฟซบุ๊ค จำเลยรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 30 ปี
 ๏ 7 ส.ค. 2558 ศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่ ตัดสินจำคุกน.ส.ศศิวิมล (ขอสงวนนามสกุล) ชาวจังหวัดเชียงใหม่ อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานโรงแรม เป็นเวลา 58 ปี ด้วยข้อหาเดียวกัน เนื่องจากโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค จำนวน 8 ข้อความ จำเลยรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 28 ปี
 ๏ 6 ส.ค. 2558 ศาลทหารจังหวัดเชียงราย ตัดสินจำคุกนายสมัคร (ขอสงวนนามสกุล) เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ แพทย์วินิจฉัยว่านายสมัครป่วยทางจิต และกำลังรักษาอาการประสาทหลอน
 ๏ 25 มิ.ย. 2558 ศาลอาญากรุงเทพฯ ตัดสินจำคุกนายทะเนช (ขอสงวนนามสกุล) เป็นเวลา 3 ปีกับ 4 เดือน จากการส่งลิงค์ (URLs) ที่เชื่อมโยงไปยังเพจที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันฯ
 ๏ 31 มี.ค. 2558 2558 ศาลทหารกรุงเทพฯ ตัดสินจำคุกนายเธียรสุธรรม (ขอสงวนนามสกุล) เป็นเวลา 50 ปี จากการโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ค จำเลยรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 25 ปี
 แถลงการณ์ของข้าหลวงใหญ่ฯ กล่าวว่า คำตัดสินลงโทษเหล่านี้นับว่าหนักที่สุดนับแต่เราเริ่มบันทึกคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ปี 2549 และว่า การดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหารนั้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล จำเลยไม่มีโอกาสร้องอุทธรณ์
 ข้าหลวงใหญ่ฯกล่าวด้วยว่า ขอเรียกร้องให้ทางการไทยปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังระหว่างการไต่สวนในคดีเช่นนี้ และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน (UN OHCHR, 11 August 2015)
 Photos: AFP

“จำเป็นและได้ส่วน”: บทเรียนข้ามโลกจากเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน

 โดย สฤณี อาชวานันทกุล (โพสต์ 15 ก.พ.2558)

“ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” (cyber security) เป็นเรื่องของเสถียรภาพและความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องทางเทคนิค ไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับ “ความมั่นคงของชาติ” (national security) ซึ่งบ่อยครั้งไม่ชัดเจนว่าหมายถึงอะไรกันแน่

------

สฤณี อาชวานันทกุล
ตอนที่แล้วผู้เขียนเสนอว่า ในสังคมยุคดิจิทัล การสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security) กับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (privacy) มีความสำคัญทั้งคู่ เพราะเป็นกุญแจสำคัญของการสร้าง “ความไว้วางใจ” อันเป็นหัวใจของเศรษฐกิจดิจิทัล
“ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” (cyber security) เป็นเรื่องของเสถียรภาพและความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องทางเทคนิค ไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับ “ความมั่นคงของชาติ” (national security) ซึ่งบ่อยครั้งไม่ชัดเจนว่าหมายถึงอะไรกันแน่
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวไปด้วยกันได้ แต่การรักษาความมั่นคงของชาติกับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวอาจไปด้วยกันไม่ได้ โดยเฉพาะในสังคมที่ “ความมั่นคงของชาติ” ถูกผู้มีอำนาจตีความอย่างคลุมเครือและกว้างขวาง
ดังที่บทเรียนข้ามโลกจากอเมริกาชี้ให้เราเห็น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องใหญ่ เพราะการโจมตีเจาะระบบสมัยนี้หลายครั้งไม่ใช่แฮ็กเกอร์ไร้สังกัดที่อยากโชว์กึ๋นหรือเจาะเอาข้อมูลไปขาย แต่เป็นทหารยุคใหม่ที่ถูกฝึกมาอย่างดีให้ทำ “สงครามไซเบอร์” กับประเทศศัตรูอย่างเป็นระบบ ดังเช่นกรณีการเจาะระบบของบริษัทโซนี่ เดือนพฤศจิกายน 2014 ซึ่งเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอเมริกันหลายคนสรุปผลการวิเคราะห์ซอฟต์แวร์และเทคนิคการแฮ็กออกมาว่า เกาหลีเหนือน่าจะอยู่เบื้องหลัง
รายงานภัยคุกคามไซเบอร์ประจำปี 2014 ของ Verizon ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำ (อ่านสรุปภาษาไทยได้จากเว็บ ACIS Online) ชี้ว่าการจารกรรมไซเบอร์จะทวีความรุนแรง ที่น่าสนใจคือในบรรดาเหตุที่ระบบถูกรุกล้ำ (data breach) ทั้งหมดนั้น กว่าร้อยละ 97 สามารถป้องกันได้ด้วยมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับพื้นฐานหรือปานกลางเท่านั้น และร้อยละ 92 ก็เป็นเหตุที่ถูกค้นพบโดยบุคคลที่สาม ไม่ใช่คนในองค์กรเอง (สถิติปี 2012)
สถิติการเจาะระบบประจำปี 2014 โดย Verizon ที่มาภาพ: http://www.privatewifi.com/wp-content/uploads/2014/05/2014-04-22_14-06-09.jpeg
สถิติการเจาะระบบประจำปี 2014 โดย Verizon ที่มาภาพ: http://www.privatewifi.com/wp-content/uploads/2014/05/2014-04-22_14-06-09.jpeg
สถิติเหล่านี้บ่งชี้ว่า วิธีรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่ตรงจุด คือ การปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของระบบ ยกระดับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านนี้ ตลอดจนพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมทั้งโปรโตคอลต่างๆ ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
ภายในเดือนธันวาคม ปี 2014 เดือนเดียว สภาคองเกรสอนุมัติกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ถึง 5 ฉบับ
กฎหมาย National Cybersecurity and Critical Infrastructure Protection Act of 2014 (NCCIPA) ยกระดับศูนย์บูรณาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการสื่อสารแห่งชาติ (National Cybersecurity and Communications Integration Center: NCCIC) ซึ่งอยู่ใต้สังกัดของกระทรวงความมั่นคงในประเทศ (Homeland Security) ให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
กฎหมายอีกฉบับคือ Cybersecurity Enhancement Act of 2014 มอบอำนาจให้สถาบันหลักของประเทศซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานด้านเทคโนโลยี คือ National Institute of Standards and Technology’s (NIST) สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน ในการพัฒนามาตรฐานไซเบอร์และธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นเลิศ (best practices) สำหรับ “โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ” (critical infrastructure) อย่างเช่นระบบธนาคาร ขนส่ง และพลังงาน ซึ่งหากถูกโจมตีทางไซเบอร์ย่อมเกิดความเสียหายใหญ่หลวง
กฎหมายฉบับนี้ยกระดับกระบวนการซึ่ง NIST ดำเนินการตาม Cybersecurity Framework มาก่อนหน้านี้แล้วให้เป็นกฎหมาย แต่กระบวนการพัฒนามาตรฐานและธรรมเนียมปฏิบัติที่ว่านี้ยังมีภาคเอกชนเป็นหัวหอก เป็นกระบวนการโดยสมัครใจ รัฐคือ NIST ทำหน้าที่เพียงสนับสนุน กฎหมายไม่ให้บังคับว่าเอกชนต้องใช้มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาอย่างเป็นอิสระ และไม่เปิดช่องให้มีการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะ
นอกจากนี้กฎหมายยังมอบอำนาจให้รัฐบาลกลางสามารถสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา สร้างเสริมความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ และยกระดับบุคลากรด้านนี้ของประเทศ เพื่อจะได้มีทรัพยากรและความรู้ความสามารถอย่างเพียงพอ
กฎหมายใหม่ที่เหลืออีกสามฉบับเน้นไปที่การปรับปรุงระดับความปลอดภัยของระบบของรัฐ และจัดทัพบุคลากร ฉบับแรกมอบหมายให้กระทรวงความมั่นคงในประเทศทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ “ระดับความปลอดภัยของข้อมูล” (information security) ของหน่วยงานราชการต่างๆ และช่วยติดตั้งเครื่องมือเพื่อติดตามตรวจสอบระบบและบรรเทาความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์และจุดเปราะบางอื่นๆ ส่วนกฎหมายสองฉบับสุดท้ายให้กระทรวงความมั่นคงในประเทศประเมินศักยภาพของบุคลากรด้านไซเบอร์ และสามารถว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วยค่าจ้างที่แข่งขันได้กับภาคเอกชน
จากเนื้อหากฎหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งหมดนี้ ชัดเจนว่ารัฐบาลอเมริกันพยายามรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์อย่างตรงจุด คือเน้นปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของระบบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ และศักยภาพของเจ้าหน้าที่ โดยที่ทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลทุกขั้นตอน รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานประจำปีต่อกรรมาธิการในสภา
ไม่มีข้อไหนมอบอำนาจแบบ “เซ็นเช็คเปล่า” ให้รัฐดักฟัง สอดแนม หรือเจาะระบบ เพียงเพราะคิดว่ามีเหตุการณ์ที่ “อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง” อย่างในร่างกฎหมายรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย ฉบับที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในเดือนมกราคม 2558
ร่างกฎหมายนี้นอกจากจะเซ็นเช็คเปล่าแล้ว ยังไม่มีข้อไหนวางมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จริงๆ ดังตัวอย่างของกฎหมายอเมริกัน
คณะกรรมการอิสระที่ประธานาธิบดีโอบามาแต่งตั้งมาประเมินโครงการสอดแนมต่างๆ ของ National Security Agency หน่วยงานข่าวกรองอเมริกัน หลังจากที่โดน เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ออกมาแฉในปี 2013 สรุปอย่างชัดเจนว่า การดักข้อมูลโทรศัพท์ของประชาชนทั้งประเทศนั้น “มีประโยชน์น้อยมาก” ต่อการรับมือกับการก่อการร้าย
วันนี้ร่างกฎหมายที่ยังถกเถียงกันในสภาอเมริกัน คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับการ “ส่งข้อมูล” ภัยคุกคามไซเบอร์จากเอกชนไปให้รัฐ ซึ่งร่างกฎหมายบางฉบับถูกประณามว่าอาจทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เกี่ยวกับการโจมตีไซเบอร์ตกเป็นของรัฐ เพราะไม่บังคับให้เอกชน “ถอด” ข้อมูลที่ระบุตัวตนได้ (personally identifiable information) ออกก่อนส่งให้รัฐ หรือมีนิยามคลุมเครือ (ดูตารางประกอบ – คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
เปรียบเทียบบางมาตราในร่างกฎหมายมั่นคงไซเบอร์ไทย กับร่างกฎหมายอเมริกัน 2 ฉบับ
เปรียบเทียบบางมาตราในร่างกฎหมายมั่นคงไซเบอร์ไทย กับร่างกฎหมายอเมริกัน 2 ฉบับ
บทเรียนจากประเทศบ้านเกิดของ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ยังมีให้เราเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด
เริ่มตั้งแต่อันตรายของการนำ “ความมั่นคงของชาติ” มาปนกับ “ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”

EU ขอไทยร่างรธน.ใหม่ โดยเคารพเสรีภาพในการพูด-ชุมนุม ฟังเสียงวิพากษ์

EU ขอไทยร่างรธน.ใหม่ โดยเคารพเสรีภาพในการพูด-ชุมนุม ฟังเสียงวิพากษ์

เฟซบุ๊กแฟนเพจ European Union in Thailand เผยแพร่แถลงการณ์จากสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย โดยระบุว่า สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์ฉบับนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยขอยืนยันในความมุ่งมั่นของสหภาพยุโรปต่อประชาชนชาวไทย ผู้ซึ่งสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและยาวนานทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และการติดต่อเชื่อมโยงระดับประชาชน (people to people contacts) ในฐานะมิตรและหุ้นส่วนของประเทศไทยสหภาพยุโรปได้เรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้มีการกลับเข้าสู่กระบวนการทางประชาธิปไตย

ในช่วงเวลาที่ได้เริ่มมีกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทางสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพเสรีภาพในการพูดและการชุมนุมอีกครั้ง การอภิปรายสาธารณะที่ทำได้อย่างเต็มรูปแบบและเสรีเท่านั้น ที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะสามารถได้ยินได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิรูปและความสมานฉันท์ที่แท้จริง

สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเชื่อว่าหลักนิติธรรม การปกป้องและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญแก่ความมั่นคงและความก้าวหน้า และขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทางการไทยปฏิบัติตามข้อผูกพันของประเทศไทยภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง
////////////////
แถลงการณ์จากสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย
สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์ฉบับนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

Local EU Statement
The European Union Delegation issues the following statement in agreement with the EU Heads of Mission in Thailand

กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2558 – สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยขอยืนยันในความมุ่งมั่นของสหภาพยุโรปต่อประชาชนชาวไทย ผู้ซึ่งสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและยาวนานทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และการติดต่อเชื่อมโยงระดับประชาชน (people to people contacts) ในฐานะมิตรและหุ้นส่วนของประเทศไทยสหภาพยุโรปได้เรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้มีการกลับเข้าสู่กระบวนการทางประชาธิปไตย

ในช่วงเวลาที่ได้เริ่มมีกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทางสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพเสรีภาพในการพูดและการชุมนุมอีกครั้ง การอภิปรายสาธารณะที่ทำได้อย่างเต็มรูปแบบและเสรีเท่านั้น ที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะสามารถได้ยินได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิรูปและความสมานฉันท์ที่แท้จริง

สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเชื่อว่าหลักนิติธรรม การปกป้องและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญแก่ความมั่นคงและความก้าวหน้า และขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทางการไทยปฏิบัติตามข้อผูกพันของประเทศไทยภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง

Single Gateway: ประตูสู่ศูนย์กลางดิจิตอล หรือการบีบช่องทางเชื่อมต่อโลกภายนอก

ที่มา :บีบีซีไทย

Single Gateway: ประตูสู่ศูนย์กลางดิจิตอล หรือการบีบช่องทางเชื่อมต่อโลกภายนอกของชาวเน็ตเมืองไทย
การจัดตั้ง Single Gateway กำลังเป็นประเด็นความเคลื่อนไหวที่ถูกเอ่ยถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ของไทย หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งดำเนินโครงการสำคัญต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณนี้ ซึ่ง Single Gateway ก็เป็นหนึ่งในนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม นายกรัฐมนตรีเคยมีข้อสั่งการให้ ก.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้ง Single Gateway เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยหากจำเป็นต้องออกกฎหมายมารองรับก็ให้เร่งดำเนินการ
Single Gateway ดูจะเป็นคำที่ก่อให้เกิดความระแวง แม้แต่ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ เอง ยังเห็นว่าควรใช้ชื่อเรียกว่าเป็น “ฮับ” หรือศูนย์กลางดิจิตัล น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะแท้จริงแล้วเป้าหมายของรัฐบาลคือต้องการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจดิจิตัลในภูมิภาค สร้างแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาใช้ช่องทางเชื่อมต่อของไทยแทนที่จะเป็นเพื่อนบ้าน อย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย อย่างไรก็ดี พ.อ.เศรษฐพงศ์ ยอมรับว่าไทยยังมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านนี้ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
ในเวลาเดียวกัน พ.อ.เศรษฐพงศ์ ไม่ได้ปฏิเสธเป้าหมายเรื่องความมั่นคงของรัฐในโลกไซเบอร์ ที่การสร้างศูนย์กลางช่องทางจราจรดิจิตัลจะทำให้ง่ายต่อการรับมือแล้ว ยังต้องอาศัยกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงไซเบอร์มารองรับการทำงานของรัฐ ป้องกันการโจมตีและอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ กับทำให้มีความเป็นสากลสอดคล้องกับหลายประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้แล้ว เช่น สหรัฐฯ (ฟังคลิปเสียง)
พ.อ.เศรษฐพงศ์ ระบุด้วยว่า บริษัท กสท โทรคมนาคม (จำกัด) หรือ CAT จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ “ฮับ” และเมื่อมีความพร้อมก็จะเชื้อเชิญผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในไทยที่มีอยู่ราว 9 รายให้หันมาเลือกช่องทางนี้เปิดประตู่สู่โลกไซเบอร์ภายนอกประเทศ
อย่างไรก็ดี ในเวลาเดียวกัน ได้เริ่มมีการรณรงค์ทางออนไลน์ “ต่อต้านการตั้งซิงเกิลเกตเวย์” ผ่านเว็บไซต์ Change.org ผู้รณรงค์ระบุสิ่งที่เป็นข้อกังวลหลายอย่างรวมทั้งเกรงว่าการตั้ง Single Gateway จะทำให้ผู้ใช้ถูกรัฐบาลบล็อก แบน สแกน และตรวจสอบทุกการใช้งานในอินเทอร์เน็ตและป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้เข้าได้
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเชื่อว่าสิ่งนี้จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติเกี่ยวกับระบบความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้หากช่องทางเชื่อมต่อเหลือเพียงจุดเดียวยังน่ากังวลในเรื่องความล่าช้าของอินเทอร์เน็ต และหากระบบล่มก็จะเกิดปัญหากับผู้ใช้ทั้งหมด ‪#‎SingleGateway‬

“อาเดม” รับสารภาพเป็นชายเสื้อเหลืองบึ้มพระพรหม เผยใส่วิก - แว่นอำพรางตัว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
23 กันยายน 2558 21:40 น
สำนักข่าวอิศราอ้างรายงานจากหน่วยงานความมั่นคง ระบุภาพจากกล้องวงจรปิดชี้ชัด “อาเดม” ผู้ต้องหาที่ถูกจับได้รายแรก เข้าไปเปลี่ยนเสื้อในห้องน้ำสวนลุมฯ หลังก่อเหตุบึ้มศาลท้าวมหาพรหม โดยใส่วิก - แว่นอำพรางตัว เผยเจ้าตัวยอมรับสารภาพแล้ว
       
       วันนี้ (23 ก.ย.) สำนักข่าวอิศรา เผยแพร่ข่าวผ่านทางเว็บไซต์ www.isranews.org ระบุว่า นายอาเดม คาราดัก ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมรายแรก ที่พูลอนันต์อพาร์ทเม้นท์ ย่านหนองจอก ยอมรับสารภาพว่า เป็นชายเสื้อเหลืองที่ก่อเหตุวางระเบิดศาลท้าวมหาพรหม โดยอำพรางตัวด้วยการใส่วิกและแว่น
       
       “มีรายงานตรงกันของหน่วยงานความมั่นคง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า เจ้าหน้าที่พบหลักฐานสำคัญซึ่งส่วนหนึ่งเป็นภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ได้มาใหม่ ว่า “ชายเสื้อเหลือง” ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาที่นำระเบิดไปวางบริเวณศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ เมื่อค่ำวันที่ 17 สิงหาคม 2558 จนมีผู้เสียชีวิต 20 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่าร้อยรายนั้น อาจเป็น นายอาเดม คาราดัก หรือ นายบิลาล เติร์ก มูฮัมหมัด ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมได้เป็นคนแรก
       
       นายอาเดม ถูกจับกุมได้ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2558 คาห้องพักบนชั้น 4 ของพูลอนันต์อพาร์ทเม้นท์ ย่านหนองจอก โดยเจ้าหน้าที่สามารถยึดของกลางเป็นอุปกรณ์และสารเคมีตั้งต้นที่สามารถนำไปประกอบเป็นระเบิดแสวงเครื่องได้จำนวนมาก รวมทั้งหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ตอีกนับร้อยเล่ม ซึ่งทางการไทยกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่
       
       หลักฐานสำคัญที่เจ้าหน้าที่ได้มาและยืนยันว่า นายอาเดม คือ “ชายเสื้อเหลือง” ก็คือ ภาพจากกล้องวงจรปิดบริเวณสวนลุมพินี และละแวกใกล้เคียง ซึ่งจับภาพได้ว่า ชายเสื้อเหลืองหลังก่อเหตุระเบิด ได้เรียกรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งที่สวนลุมพินี จากนั้นได้เข้าไปในห้องน้ำของสวนสาธารณะ ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่มีภาพยืนยันเพียงแค่นี้ แต่ต่อมาได้ภาพจากกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม พบว่า นายอาเดม ไปปรากฏตัวอยู่ใกล้กับห้องน้ำในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย โดยในมือถือถุงพลาสติกใส่ของบางอย่าง ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่ใช้เทคนิคขยายภาพจนทราบว่าภายในถุงเป็นเสื้อสีเหลือง
       
       จากหลักฐานดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงสันนิษฐาน ว่า ชายเสื้อเหลืองอาจเป็นนายอาเดม โดยหลังจากก่อเหตุระเบิดได้เข้าไปเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องน้ำในสวนลุมพินี จากนั้นได้ขึ้นรถกลับไปยังที่พักย่านหนองจอก โดยไม่ได้หลบหนีไปไหนเลย เพราะมั่นใจว่าไม่มีใครจำตนเองได้ เนื่องจากเขาได้พรางตัวด้วยการสวมวิกกับแว่นตาขนาดใหญ่
       
       ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้นำหลักฐานที่ได้มาใหม่ไปยืนยันกับนายอาเดม ซึ่งถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษ มณฑลทหารบกที่ 11 และมีรายงานว่า นายอาเดม ได้ยอมรับสารภาพในเบื้องต้นแล้วว่าเป็นชายเสื้อเหลืองจริง แต่อำพรางตัวด้วยการปลอมตัว สวมวิก และใส่แว่นตา
       
       จากนั้นนายอาเดมได้ยอมไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ รวมทั้งทดลองใส่วิกและแว่นตา พบว่า มีลักษณะคล้ายชายเสื้อเหลืองมาก โดยที่แขนของนายอาเดมยังมีแผลเป็น ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ชายเสื้อเหลืองสวมปลอกแขนปกปิดเอาไว้ด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่มเติมฐานทำให้เกิดระเบิดจนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ
       
       มีรายงานด้วยว่า แม้นายอาเดมจะเป็นผู้ต้องหารายแรกที่ถูกจับกุมได้ แต่ตลอดมาเขาไม่ได้ให้การเป็นประโยชน์มากนัก ส่วนใหญ่มักจะนิ่ง ไม่ยอมตอบคำถาม คำให้การของเขาส่วนมากเป็นการให้การเมื่อจำนนต่อหลักฐานของเจ้าหน้าที่
       
       สำหรับวัตถุระเบิดที่ใช้ คาดว่า ไม่ใช่ระเบิดแบบตั้งเวลา แต่มีระบบจุดระเบิดด้วยวิธีอื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่เชื่อว่า นายเมอไรลี่ ยูซูฟู ผู้ต้องหาอีกคนหนึ่งที่จับกุมได้ขณะหลบหนีข้ามแดนไปยังกัมพูชา บริเวณชายแดนด้านอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 เป็นผู้กดจุดชนวนระเบิด” สำนักข่าวอิศรา ระบุ 

ก.ศป. มีมติไล่ออก “หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล” จาก ปธ.ศาลปกครองสูงสุด ชี้รู้เห็นจดหมายน้อยฝากตำรวจ

580924หัสวุฒิ1
นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล อดีตประธานศาลปกครอง ที่มาภาพ : http://www.posttoday.com/politic/387151
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 สำนักงานศาลปกครอง ได้ส่งเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ หัวข้อ มติคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เรื่อง ผลการสอบสวนประธานศาลปกครองสูงสุด กรณีที่ปรากฎเป็นข่าวทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองและประธานศาลปกครองสูงสุด กรณีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (คดีจดหมายน้อย) มีสาระสำคัญ ดังนี้
ตามที่ ก.ศป. เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ได้พิจารณาเรื่อง รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองและประธานศาลปกครองสูงสุด กรณีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ โดยที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฝ่ายข้างมาก โดยเห็นว่า กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองและประธานศาลปกครองสูงสุด กรณีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ เป็นกรณีมีมูลที่อาจเข้าข่ายตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) แห่งระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ.2544 และถึงขั้นที่จะให้ตุลาการ
ศาลปกครองผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง และให้ดำเนินการตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ประกอบข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 6 วรรคหนึ่ง (1) แห่งระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ.2544 โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนกรณีดังกล่าว
“ซึ่ง ก.ศป. ได้มีคำสั่ง ก.ศป. ลับ ที่ 7/2558 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2558 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าว ซึ่งระหว่างการสอบสวน ก.ศป.  ได้เห็นชอบและอนุมัติให้คณะกรรมการสอบสวนขยายระยะเวลาการสอบสวนตามระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ.2544”
ก.ศป. ในการประชุม วันที่ 23 กันยายน 2558 ได้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่ง ก.ศป. ลับ ที่ 7/2558 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2558 กรณีนายหัสวุฒิ  วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ถูกกล่าวหาว่า มีกรณีตามข้อ 3 ของระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ.2554 แล้ว มีมติว่า
“แม้ไม่ปรากฏชัดว่า นายหัสวุฒิ  วิฑิตวิริยกุล ได้มีการมอบหมายให้นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง มีหนังสือสองฉบับแจ้งความประสงค์ของนายหัสวุฒิ  วิฑิตวิริยกุล ว่าจะสนับสนุน พ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงกุล รอง ผกก.ป.สน.หัวหมาก ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้กำกับการต่อรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ ผบ.ตร. ตามลำดับ ปรากฏตามหนังสือของนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2556 และวันที่ 7 มกราคม 2557
“แต่พยานหลักฐานก็รับฟังได้ว่า นายหัสวุฒิ  วิฑิตวิริยกุล มีส่วนรู้เห็นเป็นใจและรับทราบในกรณีที่นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม กระทำการดังกล่าว อันเป็นการกระทำผิดวินัย ฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตน และไม่รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ซึ่งถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่สมควร ตามข้อ 5 และข้อ 11 วรรคหนึ่ง ของประกาศ ก.ศป. เรื่อง วินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2544
“ก.ศป. จึงมีมติโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ประกอบกับข้อ 20 ของประกาศ ก.ศป. เรื่อง วินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2544 และข้อ 24 วรรคหนึ่ง (1) ของระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ.2544 ให้นายหัสวุฒิ  วิฑิตวิริยกุล ออกจากราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ก.ศป. มีมติ”เอกสารข่าวดังกล่าวระบุ

ถ้าตั้ง Single Gateway จริง ท่านจะพบเจอกับอะไร?



ถ้าตั้ง Single Gateway จริง ท่านจะพบเจอกับอะไร?
  • การถูกบล็อก แบน สแกน และตรวจสอบทุกการใช้งานในอินเตอร์เนตจากรัฐบาล
  • รัฐบาลสามารถป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้เข้าได้ เหมือนประเทศจีน ที่ไม่อนุญาตให้เข้า Facebook หรือสื่อ Social Network ที่รัฐไม่ต้องการให้เข้าถึง
  • การติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เนตทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับระบบเดียว และถ้าระบบนั้น "ถูกโจมตีจนล้มเหลว" นั่นหมายถึงระบบอินเตอร์เนตที่ต้องพินาศทั้งประเทศ
  • ความเชื่อมั่นของต่างชาติเกี่ยวกับระบบความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เนตต่ำถึงขีดสุด เพราะหน่วยงานเอกชนสามารถถูกล้วงลูกโดยรัฐบาลได้ตลอดเวลา
Single Gateway คืออะไร?
เริ่มจากคำว่าเกตเวย์ก่อน เกตเวย์ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็คือประตูทางผ่าน ศัพท์ในวงการไอทีหมายถึงจุดที่เป็นเสมือนประตูเชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง และเป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน 

สมมุติว่าเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเซิฟเวอร์ ปัจจุบันจะต้องผ่าน International internet gateway (IIG) ในประเทศเล็กๆ หรือประเทศที่ต้องการควบคุมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น จีน หรือลาว ผู้ให้บริการ IIG จะมีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยก็เคยใช้ระบบนี้ตอนที่อินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก คือเวลาต่ออินเตอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมที่ กสท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ IIG แต่ในปัจจุบัน หลังวิกฤติปี 40 ไอเอ็มเอฟก็ได้สั่งให้เราเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้เกตเวย์ในไทยเพิ่มมากขึ้นจนตอนนี้มีถึงสิบกว่าเกตเวย์แล้ว
เพราะฉะนั้น Single Gateway ก็คือการใช้เกตเวย์เดียว เหมือนจีนและลาว เปรียบเสมือนการใช้ประตูเพียงบานเดียว เข้าออก ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตง่ายต่อการควบคุมโดยภาครัฐ
ทำไมรัฐจะกลับมาใช้ Single Gateway?
อย่างที่กล่าวไปแล้ว Single Gateway คือประตูเพียงบานเดียว คือไม่ว่าอินเตอร์เน็ตภายในประเทศจะเชื่อมกันกี่หมื่นกี่พันเส้น แต่ทางออกเพื่อไปเชื่อมกับเครือข่ายในต่างประเทศนั้นจะเหลือแค่จุดเดียวเท่านั้น การดูแลการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การตรวจสอบข้อมูล การดักจับข้อมูล ฯลฯ จึงทำได้ง่ายกว่าเยอะ ในรัฐที่มีการปกครองแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จเช่นประเทศไทย จึงอาจเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเท่าไร ที่รัฐบาลจะพยายามควบคุมการใช้งานและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก โดยอ้าง ‘ความมั่นคง’
ปัญหาและสิ่งที่จะตามมาของการใช้ Single Gateway?
แน่นอนว่าการมีประตูทางออกเดียวจะทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน และอีกอย่างคือหากว่าเกตเวย์ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มีเกตเวย์ตัวอื่นรองรับเลย
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการที่ผู้ให้บริการ gateway (ซึ่งมีอยู่เจ้าเดียว) สามารถดักจับข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เราค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพด้วย
ถ้าหากมีการใช้ Single Gateway จริง ก็จะยิ่งทำให้บริษัทต่างประเทศลังเลมากยิ่งขึ้นในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และผู้ให้บริการที่มีพาร์ทเน่อร์กับบริษัทต่างประเทศก็อาจจะสูญเสียรายได้ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติจะเกิดความไม่แน่ใจด้านความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา หากล่มปุ๊ป แน่นอนว่าจบเห่แน่ทั้งประเทศ รวมถึงข้อมูลความลับทางการค้าก็อาจจะถูกล้วงได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปก็จะถูกจำกัดการเข้าใช้งานกับเครือข่ายต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกับการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน
--------------------------------------------------------------
The proposal to unify all Thai Internet Links is still ongoing
https://www.blognone.com/node/72777
The proposal to unify all Internet gateways into a single entity was proposed back in May. There's nothing new regarding the proposal since then, but it was traveling in the process in the cabinet during these timr.
The prime minister's command dated August 27th, (PDF, Thai Lanaguage) assigned the Ministry of Information and Communication Technology (MICT) to take responsibilities for establishing the entity and report the progress within September.
Another document dated July 14th, said that the reasons to establish such entity and merge all international links are "To control the inappropriate websites and control the inflow of information". The document also said if there is any law that prohibits the establishment of the entity, that law should be quickly amended.
Source: PRD.go.th, this news was translated from https://www.blognone.com/node/72775