PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

นักเกรียน-จากเนติวิทย์ถึงฮอล์โมน

จากเนติวิทย์สู่ฮอร์โมนส์ การเดินทางของวัฒนธรรมเด็กเปรตในโรงเรียน

 

เมื่อครั้งแรกที่ได้ฟังเรื่องราวของนักศึกษาช่วงนั้นช่วงนี้ที่มีบทบาทในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ผ่านสารคดีชิ้่นหนึ่ง ผมรู้สึกเหมือนกำลังฟังนิทานหรือพงศาวดารอภินิหารอะไรสักอย่าง เพราะผมไม่ได้โตมากับเยาวชนที่ดูจะมีวี่แววไปทำอะไรแบบนั้น พวกเขาในสารคดีชิ้นนั้นดูเหมือนจะมาจากอีกมิติหนึ่ง

ผมโตมากับเด็กๆ ที่โดนจุกนมอุดปากเอาไว้ให้เป็นแต่เด็กมาแต่ไหนแต่ไร และไม่กระด้างกระเดื่องแม้กับโรงเรียน (ไม่นับที่อารมณ์ขึ้นแล้วจะต่อยกับครูเป็นคนคนไป แต่หมายถึงนักเรียนไม่กระด้างกระเดื่องต่อนโยบายการบริหาร ค่าเทอม  ความยุติธรรม ฯลฯ) ทำหน้าที่ดูด ดม อม เลียและเรียนตามสั่งไปเรื่อยมาแต่ไหนแต่ไร แต่มันเกิดอะไรขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เด็กบ้าพวกนี้ทยอยกัดพ่นจุกทิ้ง กระด้างกระเดื่องสารพัด และออกมาเรียกร้องจะเอาโน่นเอานี่จากผู้ใหญ่กันเต็มไปหมด โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา?

เริ่มที่ผมทรงนักเรียน

ปลายปี 2012 แฟนเพจ “ต่อต้านผมเกรียน" และกระแสการเรียกร้องให้ยกเลิกผมทรงนักเรียนเกิดขึ้นด้วยความโวยวายของ เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล กับสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย 

“ต่อต้านผมเกรียน” ได้รับความสนใจจากสื่อกระแสหลักต่อเนื่องจนทั้งปี 2013 ครั้งสำคัญที่สุดคือการปรากฏตัวของเนติวิทย์คู่กับสรยุทธ สุทัศนะจินดา1 ถัดมาในปีเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการสมัยพงศ์เทพ เทพกาญจนาอนุญาตให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรง ไม่จำเป็นต้องตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงให้ไว้ผมยาวหรือสั้นก็ได้ แต่ต้องรวบให้เรียบร้อย2

เป็นความจริงที่นโยบายที่ออกมาจะสอดคล้องกับข้อเรียกร้องอยู่บ้าง แต่ผมไม่เห็นว่าเป็นการสนองความต้องการของกลุ่มดังกล่าว เนื้อหาของการบังคับควบคุมทรงผมยังคงอยู่แบบเดิม แค่เพียงเปลี่ยนรูปแบบของทรงไปเท่านั้น ร้ายกว่านั้นคือการหลอกกันให้ตายใจ หลังจากนั้นก็ไม่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องทรงนักเรียนอีก ทั้งๆ ที่ก็ยังไม่มีใครได้หัวคืนเป็นของตน

แต่สถานการณ์ใดก็ตามที่ทำให้รัฐบาลต้องหันมาสนใจเสียงเคล้ากลิ่นน้ำนมของเด็กไม่กี่คน ไม่ว่าจะสนใจแบบใดก็เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองการศึกษาและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีนัยสำคัญ

ไม่นานแฟนเพจต่อต้านผมเกรียนและสมาพันธ์ที่ว่าก็ทยอยเงียบยุบลงไป แต่ภายในช่วง 2013-2015 เกิดการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นมากมาย จนดูเหมือนจะลงตัวอยู่ที่กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทซึ่งก็ยังคงอยู่ในแวดวงเครือข่ายเดิม กลุ่มการศึกษาความเป็นไทที่ว่านี้และสมาชิกในฐานะปัจเจกมีบทบาทต่อวัฒนธรรมเด็กเปรตมากในเวลาถัดมา

กลุ่มนี้เป็นตัวแสดงหลักที่สร้างความเคลื่อนไหวของเยาวชนโดยเฉพาะในระดับมัธยมให้สังคมไทยเห็นบนพื้นที่สื่อ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มได้ส่งผลต่อประเด็นสาธารณะเกี่ยวกับการศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะการดึงหัวข้อต่าง ๆ ที่อยู่ในที่มืดขึ้นมาอยู่บนสื่อที่แจ้ง และตั้งคำถาม เช่นเรื่อง เครื่องแบบ การกราบไหว้ ปัญหาจริยธรรมในโรงเรียน ฯลฯ ส่วนมากแล้วเป็นการถามและเสนอจากมุมของปรัชญาการศึกษาแบบเสรีนิยม (liberal education) ผมเรียกประเด็นเหล่านี้ร่วมกันว่า "คำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท"

เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล ณัฐนันท์ วรินทรเวช และพริษฐ์ ชิวารักษ์ เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทรุ่นแรกถึงรุ่นปัจจุบันตามลำดับ ทั้งสามมีอีกชีวิตหนึ่งเป็นตัวละครเยาวชนบนสื่อที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการศึกษาไทยในฐานะเดียวกับตัวละครผู้ใหญ่ หมายความว่า ไม่ได้ถูกเกณฑ์มาร้องเพลงประสานเสียง หรือรับคำสั่งมาให้แสดงกิริยาอย่างเด็กน่ารักบนโทรทัศน์ แต่พวกเขาพูดด้วยเสียงของพวกเขาเองเหมือนผู้ใหญ่ และทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดบางประเภทโดยสมบูรณ์ หากเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เป็นสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ทำลายมายาคติ ทั้งสามคนดังกล่าวก็แบกรับบทบาทตัวแทนของวัฒนธรรมเด็กเปรต ผู้ดื้อดึงต่อต้านต่อกฎระเบียบของผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่อิงขั้วการเมืองระดับชาติอย่างชัดเจน เช่น การชูป้ายถามนายกฯ หรือการปฏิเสธการเกณฑ์ทหาร ที่เกิดขึ้นในภายหลัง มีพื้นที่บนสื่อขึ้นมาได้อย่างไม่น่าประหลาดใจ เพราะเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ไม่ว่าเป็นเยาวชนหรือไม่ก็ต้องได้รับความสนใจ แต่ประเด็นเหล่านี้ก็เป็นแรงส่งที่ทำให้การนำเสนอคำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทส่งถึงความรับรู้ตระหนักของรัฐและสังคม

และเรื่องแค่นี้บนสื่อสำคัญอย่างไร? หากอธิบายด้วยกรอบของทฤษฎีสื่อสารมวลชน การปรากฏตัวของเยาวชนกลุ่มนี้และคำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้ทำลาย “ชายขอบเงียบ” หรือ Spiral of Silence (Noelle-Neumann, 1984) โดยการแสดงให้เยาวชนในรุ่นเดียวกันเห็นว่ามีคนตั้งคำถามคล้ายกันเกี่ยวกับประเด็นการศึกษาอยู่บนพื้นที่สื่อ กระทั่งส่งผลให้การแสดงความคิดเห็นของเยาวชนกลุ่มนี้และประเด็นเยาวชนอื่น ๆ สะเทือนได้ถึงระดับชาติ และมีความคิดเห็นในทำนองเดียวกันที่เคยเงียบและเชื่อว่าตนเป็นคนชายขอบกลับกล้าแสดงออกเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ

กล่าวคือรถที่อยู่ของมันอยู่แล้วตรงนั้น ได้ถูกสตาร์ทขึ้นแล้ว

จากการต่อต้านผมเกรียนบนโซเชียลเน็ตเวิร์คสู่สื่อโทรทัศน์กระแสหลัก รวมทั้งแรงส่งจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนกลุ่มดังกล่าว ทำให้การเดินทางของวัฒนธรรมเด็กเปรตเริ่มต้นขึ้น กระจัดกระจาย แต่ก็ได้เริ่มต้นขึ้นในแรงกระเพื่อมบนเครือข่ายเดียวกันที่สนับสนุนกันและกันในการเติบโต


นักเกรียน

สถาบันการศึกษาแต่ละสถาบันกำลังถูกก่อกวนด้วยแฟนเพจที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันนั้นๆ ด้วยลีลาล่อบาทา และยิ่งน่าหมั่นไส้มากขึ้นเมื่อไม่รู้ว่ามันเป็นใคร แต่รู้อีกทีก็มีคนไปเชื่อฟังมันเยอะเหลือเกิน

แฟนเพจลักษณะนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2011 “นักเกรียน สวนกุหลาบ”  เป็นแฟนเพจที่ผลิตเนื้อหาตลก (จะเรียกขบขันหรือชวนหัวก็ช่าง) ชวนตั้งคำถามกับคุณธรรมจริยธรรมความถูกต้องตามแบบแผนที่โรงเรียนต่าง ๆ กำหนด เสนอเนื้อหาในรูปแบบหยาบคาย แฟนเพจเหล่านี้เชื่อว่าคำสุภาพที่โรงเรียนยัดปากให้ใช้ แสดงถึงความไม่จริงใจ เพราะไม่ใช่ภาษาปกติที่นักเรียนใช้กัน4 ทั้งเสียดสี ประชดประชัน และดูจะไม่มีวันเชื่อง

ความเคลื่อนไหวของกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทกับกลุ่มนักเกรียน แม้จะเป็นเอกเทศจากกัน แต่ก็มีอิทธิพลต่อกัน ข้อเสนอในด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเกรียนมีหลากหลาย และยังมีความขัดแย้งในตัวเอง ไม่สามารถนับเป็นแบบใดแบบหนึ่งได้ทั้งหมด แต่ส่วนมากก็แล้วจะเป็นเสรีนิยม (liberalism) สัมพัทธนิยม (Relativism) มักแสดงตนว่าไม่เห็นด้วยกับอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม จารีตนิยม ระบบอาวุโส ฯลฯ และไม่เอาด้วยกับการตัดสินตามกฏเกณฑ์โดยไม่ดูบริบท ซึ่งมีความคล้ายคลึงสอดคล้องกับคือการตั้งคำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท จนเห็นชัดที่สุดเมื่อต้นปีนี้ที่เกิดโครงการ “นักเกรียนเปลี่ยนโลก”5 โดยสมัชชาปฏิรูปการศึกษาร่วมกับกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทและเครือข่ายอื่นๆ เพื่อคัดเลือกโครงการที่มีลักษณะ “เกรียน” และมีความต้องการจะเปลี่ยนโลกไปให้ความสนับสนุน แสดงให้เห็นชัดว่าวิธีคิดแบบนักเกรียนและกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทนั้นไปด้วยกันได้ สอดคล้องกันมาก

แฟนเพจแบบนักเกรียนทรงอิทธิพลในวัฒนธรรมเยาวชนมากที่สุดครั้งแรกภายในปี 2013 สื่อในเวลาดังกล่าวนำเสนอการตั้งคำถามกับระเบียบวินัยและจริยธรรมในโรงเรียนมากขึ้นดังที่กล่าวไปในบทก่อน โรงเรียนต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นจะต้องโฆษณาสรรพคุณของตนมากขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วงชิงคำตอบที่ถูกต้องกลับเป็นของตน นำมาซึ่งการต่อสู้กลับของกลุ่มนักเกรียน จากนักเกรียนสวนกุหลาบที่มีมาก่อนแล้วและตามด้วยโรงเรียนในเครือจตุรมิตร (สวนกุหลาบ, เทพศิรินทร์, กรุงเทพคริสเตียน, อัสสัมชัญ) การผลิตเนื้อหาตามแนวทางนี้ได้รับความนิยมจนเกิดเป็นตัวละครนักเกรียนประจำโรงเรียนต่าง ๆ อย่างแพร่หลายอยู่ช่วงหนึ่ง ปัจจุบันสถาบันการศึกษาก็แทบจะมีแฟนเพจทำนองนี้เป็นของตัวเองเป็นปกติ และแฟนเพจเหล่านั้นก็ส่งความเคลื่อนไหวจนถึงระดับนโยบายได้เป็นบางครั้ง

อาจเป็นเพราะกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับตัวละครนักเกรียนขาดแรงบันดาลใจในการสร้างตัวละครต่อต้านกลับ หรือมีครูและระเบียบวินัยของทางโรงเรียนร่วมต่อต้านอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลให้ต้องสร้างสื่อขึ้นมาอีก ทำให้เนื้อหาของตัวละครกลุ่มนักเกรียนเข้าถึงกระแสหลักของเยาวชนและผู้ชมบนโซเชียลเน็ตเวิร์คได้มากกว่าฝ่ายโรงเรียนและชนะในทางการเมืองพื้นที่สื่อ กรณีการกราบผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบที่เข้าสู่ความสนใจของสื่อกระแสหลัก ก็เริ่มขึ้นจากการนำเสนอของนักเกรียนสวนกุหลาบ6 และครองประเด็นไว้เองเป็นเวลานานจนกระทั่งเมื่อกลับไปสัมภาษณ์ ผอ. ก็แทบจะไม่มีผลอะไรอีกต่อไปไม่ว่าอะไรจะเป็นความจริง

แต่เพราะกลุ่มแฟนเพจดังกล่าวก็มีการโฆษณากิจกรรมของนักเรียนอยู่บ่อยครั้ง และมีการออกตัวในจุดประสงค์ของการวิจารณ์ว่าวิจารณ์เพื่อสถาบัน ผมจึงเห็นว่าภาพรวมของตัวละครจำพวกนักเกรียนก็ยังคงอยู่ในกรอบของความรักสถาบันการศึกษาของตน (หรือใช้ความรักในสถาบันการศึกษาเป็นฐานสร้างความชอบธรรมในการวิพากษ์วิจารณ์) ต้องการเห็นความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่มีการแสดงออกที่ขัดกับวัตรจรรยามารยาททั่วไปของโรงเรียนไทยเท่านั้น


ฮอร์โมนส์พลุ่งพล่าน

ตั้งแต่ 2013 ที่กระแสวัฒนธรรมเด็กเปรตเริ่มเดินทาง ข่าวความอยุติธรรมเกี่ยวกับครูและนักเรียนมีมิติมากขึ้นกว่าเพียงความรุนแรงทางกายที่ฉาบฉวย แต่เป็นการปะทะทางความคิดที่มีความต่อเนื่องด้วย เช่นกรณีรองผู้อำนวยการโรงเรียนเสิงสางทำร้ายร่างกายนักเรียนผู้นำประท้วงคนหนึ่ง7 ก็ไม่ได้เป็นประเด็นเพียงการทำร้ายร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่นำมาซึ่งคำถามถึงความถูกต้องในนโยบายของโรงเรียนและราชการในภายหลัง

พลวัตดังกล่าวของสื่อข่าวที่หันมาสนใจเยาวชนรวมทั้งคำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทมากขึ้น ทำให้ทุนสื่อบันเทิงเช่นกันที่เล็งเห็นโอกาสในการทำกำไรกับประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกของเยาวชน ดังที่แสดงในกราฟว่าตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมาจนถึงปี 2015 มีการก้าวกระโดดขึ้นของจำนวนสื่อบันเทิงที่มีเรื่องราวใด ๆ เกิดขึ้นในฉากหลังที่เป็นโรงเรียน นักเรียนเป็นตัวเอกในการดำเนินเรื่อง

ผมเรียกสื่อบันเทิงที่มีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ว่า “สื่อโลกเยาวชน” โดยสื่อโลกเยาวชนที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ไม่ใช่แบบเดียวกันกับภาพยนตร์ แฟนฉัน หรือตุ๊กแกรักแป้งมาก ที่ทำขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใหญ่รำลึกความหลังโดยนำเสนอวัฒนธรรมที่ผู้ใหญ่เข้าใจ แต่เป็นสื่อที่ทำขึ้นให้เยาวชนรุ่นปัจจุบันเข้าใจ

หมายเหตุ: บันทึกเมื่อ 16 ธันวาคม 2015

ในปี 2013 เกิดพลวัตที่น่าสนใจขึ้นในละครชุดเรื่องน้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ที่อยู่ในกรอบวัฒนธรรมความดีแบบไทยมายาวนาน ละครชุดดังกล่าวได้กล่าวถึงชื่อสมาพันธ์นักเรียนเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทยในช่วงเดียวกับที่เนติวิทย์ถูกเชิญไปออกรายการโทรทัศน์กับสรยุทธ สุทัศนะจินดา โดยตัวบทได้แสดงความคิดเห็นว่าข้อเสนอของสมาพันธ์ฯ มีนักเรียนเห็นด้วย แต่ครูไม่เห็นด้วย8

ถัดมาการใส่เนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การศึกษา จารีต และคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน ที่ไม่มีปรากฏอย่างชัดเจนในสื่อบันเทิงที่ทำการสำรวจตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปี 2012 กลับปรากฏอย่างชัดเจนขึ้นในปี 2013 ในละครชุดฮอร์โมนส์ที่เกี่ยวกับวัยเรียน และภาพยนตร์ตั้งวงที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย หลังจากนั้นโวหารวลีเด็ดต่าง ๆ ในฮอร์โมนส์ได้พัฒนาเป็นอินเทอร์เน็ตมีม (meme) รักษาความเป็นที่ถกเถียงได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสามปี (2013-2015) ตั้งแต่เปิดประเด็นช่วงแรก เช่นการตั้งคำถามกับการแต่งชุดนักเรียน ความรักระหว่างนักเรียนกับครู นโยบายในโรงเรียน มาจนถึงสถาบันครอบครัว

ฮอร์โมนส์มีการวางตัวละครให้ผู้ชมเลือกข้างคล้อยตามได้อย่างน่าสนใจ ประโยคหนึ่งจากฤดูกาลที่สาม ว่าด้วยนักเรียนหญิงคนหนึ่งที่คัดค้านการสอนของครูในคาบเรียน ความว่า “หนูไม่ได้บอกว่าตัวเองฉลาดค่ะ หนูแค่บอกว่าครูแปลผิด” โดยมีการกำกับและการผลิต (directing and production) แสดงให้เห็นว่าครูผิดและนักเรียนเป็นถูก ฉากนี้และโดยเฉพาะประโยคนี้ ได้รับความนิยมจนถูกทำเป็นมีมภาพและแฮชแท็ก (#) ในขณะที่ภาพของครูที่ถูกนำเสนอว่าเป็นครูที่ดี น่าคล้อยตามเอาใจช่วย คือครูรุ่นใหม่อย่างครูตาลในฤดูกาลที่สาม ผู้ไม่เว้นระยะห่างเชิงอำนาจกับนักเรียนมาก แต่ปฏิบัติตนเป็นเหมือนเพื่อนที่ปรึกษา

ในกระแสวัฒนธรรมเด็กเปรต ภาพยนตร์ ละคร และสื่อกระแสหลักเหมือนจะเห็นความเป็นมนุษย์และมิติของความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่มากขึ้น หลายครั้งแสดงให้เห็นว่าพ่อแม่ ครู คิดผิดทำผิดได้มากกว่าเป็นแค่ผู้ชี้ทาง แบบเก่า ละครชุดกลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ ให้พ่อสอนกระทั่งชื่อเรื่อง การปรากฏตัวของน้องพลับ ที่ร้องเพลง “คุณครูครับ” เที่ยวทำของเสียหายไปทั่วและขายความผิดที่น่ารักแบบเด็ก ๆ เป็นแค่เกร็ดความบันเทิงให้ผู้ใหญ่มาหัวเราะเอ็นดูเด็กเท่านั้น แต่ตัวละครอย่างส้มส้มและพ่อของเธอที่เป็นเกย์ในฮอร์โมนส์ฤดูกาลที่สาม เริ่มแสดงให้เห็นว่าไม่รู้ใครกันแน่ที่ผิด ระหว่างพ่อที่เป็นเกย์ หรือลูกที่รับไม่ได้และแสดงกิริยาก้าวร้าว หรือครูอ้อในฤดูกาลที่หนึ่งที่ดูจะมีวินัยมีหลักการและเหตุผลในช่วงแรก แต่ก็เผยให้เห็นความนอกลู่นอกทางเสียเองในช่วงหลัง


หมดฮอร์โมนส์

อาจดูเหมือนว่าการคิดเชิงวิพากษ์ของเยาวชนในสื่อและคำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทส่อแววว่ากำลังเกิดขึ้นโดยทั่วไปและมีพื้นที่สื่อจำนวนมาก กลายเป็นมีมและปรากฏบนสื่อกระแสหลักอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง (หรือตั้งแต่แรก) คำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทบนสื่อก็มีการเดินทางของมันเอง ไม่อาจควบคุมได้โดยผู้ประพันธ์ หรือใคร

สื่อไทยมักผลิตซ้ำแต่สิ่งที่ขายได้อยู่แล้ว ไม่นิยมพาคำถามใหม่เข้าสู่กลุ่มผู้ชม แต่จะพัฒนาสิ่งที่ผู้ชมนิยมเพียงด้านเดียวไปเรื่อย ๆ จนไม่สนใจประเด็นอื่นเลยอย่างน่าสิ้นหวังในบางครั้ง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าแนวทางของสื่อโลกเยาวชนพ่วงคำถามแบบกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทที่เกิดขึ้นมาบนข้อยกเว้นในช่วงแรก ๆ ทั้งหมดนั้น ก็กำลังจะพบชะตากรรมเดียวกันในอนาคต คือจะถูกผลิตซ้ำออกขายไม่มีที่สิ้นสุด แต่ประเด็นต่าง ๆ ในเนื้อหาของสื่อเหล่านั้นจะถูกลดทอนลงไปตามความนิยมของตลาด ซึ่งอาจให้ความสนใจกับการนำเสนอภาพลักษณ์ความน่ารักของนักแสดง และประเด็นความรัก มากกว่าการรักษาประเด็นเชิงวิพากษ์ในตัวบท ละทิ้งประเด็นที่อยากจะตั้งคำถามหรือทำอะไรกับสังคมออกไป ตัวอย่างเช่น ฝากไว้ในกายเธอ หรือ เมย์ไหนไฟ..แรงเฟร่อ ที่ผลิตออกมาจากค่ายเดียวกัน ชุดนักแสดงเดียวกันกับละครชุดฮอร์โมนส์ ก็เป็นการสืบทอดต่อยอดความสำเร็จจากละครชุดดังกล่าว แต่ไม่ได้มีประเด็นวิพากษ์สังคมแบบที่ฮอร์โมนส์มีอีกแล้ว ส่วนเลิฟซิคจากจากค่ายอื่นที่สร้างขึ้นมาในกระแสความสำเร็จของฮอร์โมนส์ ก็จำลองโลกคล้ายกันขึ้นมา แต่ตัวบทก็เลือกไปเพียงประเด็นคู่จิ้น หรือความรักของวัยรุ่นเควียร์ (queer) เท่านั้น

 


[1] ดู เจาะข่าวเด่นสรยุทธ ปิดฉากกฎเหล็กทรงผมนักเรียน ยกเลิกหัวเกรียนสั้นเสมอหู. (2015). สืบค้นเมื่อ 2015, จาก https://www.youtube.com/watch?v=E50y8TwTVdg
[2] ดู เลิกเกรียน! ศธ.ออกระเบียบ นร.ชายรองทรง หญิงยกเลิกสั้นเสมอหู. (2556). สืบค้นเมื่อ 2015, จาก http://news.sanook.com/1163310
[3] ชนะชัย มานุจำ. (11 พฤศจิกายน 2015). ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์การศึกษาเเห่งชาติโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ OSK 132. สัมภาษณ์.
[4] นักเกรียนอัสสัมชัญ. (17 พฤศจิกายน 2015). ผู้ดูแลหน้านักเกรียนอัสสัมชัญ. สัมภาษณ์
[5] ดู ผอ.โรงเรียนดังแจง ภาพเด็กกราบต้อนรับ แค่จัดฉากถ่ายรูป. (2558). สืบค้นเมื่อ 2015, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1447308453 และ [6] ต้นฉบับ ดู นักเกรียนสวนกุหลาบ. (2558). สืบค้นเมื่อ 2015, จาก https://www.facebook.com/GreanSUAN/photos/pb.
20700539335919.-2207520000.1450288606./1111877425519888/?type=3&theater

[7] ดู ไทยรัฐออนไลน์. (2558). วิจารณ์แซ่ด! รองผอ.โรงเรียนดังโคราช ตบหัวนักเรียน ปมเรียนฟรี 15 ปี. สืบค้นเมื่อ 2015, จาก http://www.thairath.co.th/content/519990
[8] เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล. (18 พฤศจิกายน 2015). ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติการศึกษาไทย และกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท. สัมภาษณ์.

ทฤษฎีที่อ้างถึง
Noelle-Neumann, E. (1984). The spiral of silence: Public opinion, our social skin. Chicago: University of Chicago Press.


***หากต้องการรายละเอียดและตารางของสื่อที่กล่าวถึง ติดต่อ varisli.mail@gmail.com***
 

คืนความเป็นธรรมให้ชาวเลราไวย์

"..ขณะนี้ที่ดินบางแปลงถูกขายไปแล้วหลายทอด แต่ทั้งหมดหากยืนบนหลักการว่าชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ควรคืนความเป็นธรรมให้พวกเขา ส่วนคนที่ซื้อที่ดินรายต่อๆมากรัฐก็ควรเยียวยากันไป.."
12654510 1038055409571077 1665235370964969222 n
"จากการศึกษาบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และผู้อาวุโสอายุกว่า 80 ปี มีข้อมูลที่รับฟังเกี่ยวกับการครอบครองเอกสารสิทธิ์ที่ได้นได้ว่า เดิมพื้นที่ชุมชนที่ศึกษามีขอบเขตจากสะพานราไวย์ยาวตามชายฝั่งถึงแหลม ระยะทางราว 2 กิโลเมตร ความกว้างลึกเข้าไป 1 กิโลเมตร
"มีเฉพาะชุมชนชาวเล เมื่อชาวเลจับสัตว์น้ำได้ก็จะนำไปแลกข้าวสารและของใช้ที่ร้านค้าซึ่งห่างออกไปราว 5 กิโลเมตร
"ต่อมาปี 2495 มีนายล.ซึ่งเป็นคนนครศรีธรรมราช มาตั้งบ้านเรือนระหว่างชุมชนกับร้านค้า เห็นชาวบ้านแลกของเป็นประจำ ในราวปี 2497 นายล.จึงมาตั้งร้านค้าใกล้ชุมชน
"ต่อมานายล.ได้เป็นกำนันและมีลูกชื่อนางลล. ซึ่งช่วงที่ทางราชการได้ให้แจ้งการเข้าครอบครองที่ดิน ก็ได้ไปขอออกสค.1 จำนวน 4 ไร่ และในปี 2505 นางลล.ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในชุมชน
"หลังจากนั้นนางลล.ได้นำที่ดินออกเป็นน.ส.3 เนื้อที่กว่า 7 ไร่ "
ผมคัดลอกบางตอน ซึ่งเป็นที่มาที่ไปของเรื่องราวความไม่เป็นธรรมในชุมชนชาวเลหาดราไวย์มาจากงานวิจัยที่สำคัญชิ้นหนึ่งเรื่อง "ความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมคดีที่ดินราษฏรยากจน" ซึ่งม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ เป็นหัวหน้าคณะวิจัย และมีดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์และดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ เป็นนักวิจัย (ดาวโหลดได้ที่http://transbordernews.in.th/home/?p=4814 โดยเรื่องชาวราไวย์อยู่หน้า 53-73)
ทั้งหมดเป็นรากเหง้าและปฐมเหตุของการเกิดเผชิญหน้าระหว่างผู้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาดราไวย์และชาวเลเจ้าของพื้นที่เดิม จนกระทั่งต้องเลือดตกยากออก
ขณะนี้ที่ดินบางแปลงถูกขายไปแล้วหลายทอด แต่ทั้งหมดหากยืนบนหลักการว่าชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ควรคืนความเป็นธรรมให้พวกเขา ส่วนคนที่ซื้อที่ดินรายต่อๆมากรัฐก็ควรเยียวยากันไป
ที่สำคัญคือต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่ากระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ครั้งนี้ใครมีส่วนร่วมบ้าง
ขณะนี้ที่ดินแปลงที่ชุมชนราไวย์อาศัยอยู่ ดีเอสไอได้ตรวจสอบเสร็จแล้วโดยหลักนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการขุดกระดูบรรพบุรุษชาวเลมาพิสูจน์ถึงความเป็นเจ้าของที่ดินและเห็นว่าที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินดั้งเดิมของชาวเลอยู่มาก่อนที่จะมีการออกเอกสารสิทธิ์
ดังนั้นกรมที่ดินจึงควรเพิกถอนโฉนด
แต่ขณะนี้กรมที่ดินยังไม่ทำหน้าที่ของตัวเองเพราะไม่ค่อยยอมรับความผิดพลาด ซึ่งเป็นพฤติกรรมเคยชินที่เป็นมานาน และชาวบ้านหลายที่ต้องเผชิญอยู่
วันนี้ทางการควรรีบเข้าไปแก้ปัญหาและคืนความเป็นธรรมให้ชาวลในชุมชนราไวย์ได้แล้วครับ
เพราะพยานหลักฐานและผลการตรวจสอบมีอยู่หลายสำนักและยืนยันตรงกันว่า
"ชาวเลคือเจ้าของที่ดินดั้งเดิม ณ หาดราไวย์"
---------------
หมายเหตุ-ภาพแผนที่จากมูลนิธิชุมชนไท

บิ๊กตู่ หยอกสื่อ เป็นหมาป่า ไล่ตระครุบ ลูกแกะตู่ ยกนิทานอีสป เข้ากับสถานการณ์ตัวเอง โดนสื่อไล่ล่า

บิ๊กตู่ หยอกสื่อ เป็นหมาป่า ไล่ตระครุบ ลูกแกะตู่ ยกนิทานอีสป เข้ากับสถานการณ์ตัวเอง โดนสื่อไล่ล่า ยัน ผมต้องแข็งแรง เพราะป่วยไม่ได้ อ้อน ถนอมผมไว้หน่อยซิ หรือไม่ชอบหน้าผมก็ให้ผมป่วยตายๆ ไปหรือไง โธ่ ! พลั้งปาก เปรียบสื่อ เป็นหมาขี้เรื้อน ก่อน ขอโทษ รับ เป็นหมาเฝ้าบ้าน เปรย มีประกวดหมาขี้เรื้อน แนะเมืองไทย ส่งประกวด
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อช่วงเย็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช ให้สัมภาษณ์ เริ่องร่างรธน.
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "วันนี้ผมอารมณ์ดี แต่ยอมรับว่าวันนี้ก็พูดมาก ปวดหัว เจ็บตา แต่ก็ดีไปอย่างที่มองสื่อแล้วสวยขึ้น
ระบุวันนี้อากาศหนาว ไม่อยากพูดมากสงสารสื่อ แต่ก็เห็นบางคนไม่ใส่เสื้อกันหนาว สงสัยจะไม่หนาว ใครที่ไม่ใส่เสื้อกันหนาวสงสัยต้องไปตรวจร่างกาย
เมื่อถามว่า นายกฯเองก็ไม่ใส่เสื้อกันหนาวเหมือนกัน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมต้องแข็งแรง เพราะป่วยไม่ได้ ถนอมผมไว้หน่อยซิ หรือไม่ชอบหน้าผมก็ให้ผมป่วยตายๆ ไปหรือไง โธ่ !
นายกฯถามว่า พวกคุณเคยอ่านนิทานอีสปบ้างหรือไม่ ผู้สื่อข่าวตอบว่า มีหลายเรื่องที่อ่าน หรือต้องการจะพูดถึงเรื่อง "กบเลือกนาย" ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ถึงกับหัวเราะชอบใจ
เมื่อถามว่า สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ควรอ่านนิทานอีสปเรื่องอะไรในความคิดของนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ ทำท่าคิดก่อนกล่าวว่า "หมาป่ากับลูกแกะ"
เมื่อถามว่าเหตุผลอะไรถึงควรอ่านเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ เลี่ยงที่จะตอบคำถาม
โดยกล่าวว่า "ก็เป็นเรื่องหมาป่ากับลูกแกะไง ผมไม่ต้องการจะสื่ออะไร เมื่อพวกคุณถามผมก็จำเรื่องนี้ได้ หมาป่ากับลูกแกะ แล้วทำไมจะต้องสื่อความหมายอะไรด้วย ที่ผ่านมาผมอ่านเกือบทุกเรื่อง ผมเรียนเก่ง วรรณคดีผมเก่ง แต่ผมไม่ตอบขี้เกียจตอบ
เมื่อถามว่า ใครเป็นหมาป่า ใครเป็นลูกแกะ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ฉันเป็นแกะ พวกเธอเป็นหมาป่า ฉันเคยไล่อะไรเธอได้ที่ไหน"
เมื่อผู้สื่อข่าวทำหน้าที่เป็นเพียงหมาเฝ้าบ้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวติดตลกว่า "อะไรนะ เป็นหมาขี้เรื้อนหรือ อ๋อ !! ขอโทษทีเป็นหมาเฝ้าบ้าน
แต่อย่าลืมว่าวันนี้หมาขี้เรื้อนมันมีราคา เคยมีการประกวดหมาที่น่าเกลียดที่สุดในโลก หมาขี้เรื้อนก็ได้รางวัลนะ ถ้าเมืองไทยส่งไปก็ชนะเลิศแน่นอนเป็นร้อยตัว"

"พลเอกประวิตร" ยัน ไม่เกี่ยว"ด๊อกเตอร์"อ้างชื่อ เรียกรับประโยชน์โครงการ

"พลเอกประวิตร" ยัน ไม่เกี่ยว"ด๊อกเตอร์"อ้างชื่อ เรียกรับประโยชน์โครงการ ยันงบประมาณ มีขั้นตอนชัดแจน ระบุบางพวกไม่อยากให้เกิดโครงการ ก็ปล่อยข่าวโจมตี
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผย ว่า มีด็อกเตอร์ แอบอ้างชื่อ พล.อ.ประวิตร และนายกฯ ไปเรียกรับผลประโยชน์ ว่า ตนไม่เกี่ยว เพราะโครงการทั้งหมดที่ดูแลอยู่คือโครงการของกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ
พร้อม ย้ำว่า การใช้จ่ายงบประมาณของกองทัพโปร่งใส มีขั้นตอนในการพิจารณาชัดเจน
แต่ที่ผ่านมามีกลุ่มบุคคล ทั้งด็อกเตอร์และคนอื่นๆแอบอ้างชื่อผม กับส่วนราชการต่างๆในการพิจารณาโครงการต่างๆ
รวมถึงไปโจมตีตนเองกับ นายกรัฐมนตรี ซึ่งทำให้ผมเสียหาย ดังนั้นอย่าไปหลงเชื่อ เนื่องจากโดยส่วนตัวได้รับมอบหมายจาก นารัฐมนตรีหลายโครงการ แต่มีบางพวกไม่อยากให้โครงการเกิดขึ้น จึงขัดขวางโดยการเขียนหรือพูดโจมตีหาว่าตนตั้งโครงการใหม่เพราะต้องการผลประโยชน์
ยืนยันว่าการทำงานตลอดเวลาที่ผ่านมาเป็นไปอย่างโปร่งใสเพราะทำงานมาถึง2 รัฐบาลและไม่เคยมีปัญหาทุจริต
พล.อ.ประวิตร ย้ำว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังวางรากฐานการทำงานเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทุกเรื่อง ปัญหาที่เกิดขึ้นรบกวนจิตใจมาก แต่ถ้าหากใครพบการทุจริตหรือแอบอ้างชื่อตนอีกก็ให้แจ้งมาที่ตน หรือที่นายกรัฐมนตรี หรือดำเนินการตามกฎหมายได้ทันที

นายทุน-ชาวเลและทหารกลุ่มนั้น

นายทุน-ชาวเลและทหารกลุ่มนั้น
----------
ผมหวั่นใจว่าเดี๋ยวผู้ใหญ่ในกองทัพจะรีบร้อนออกมาตีปลาหน้าไซปฎิเสธว่า "ไม่มี"ทหารเข้าไปเกี่ยวข้องกรณีที่กลุ่มชายฉกรรจ์รุมยำชาวเลเมื่อสายวันที่ 27 มกราคม
ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ปะทะกันจนเลือดตกยางออกนั้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม ได้มีทหาร 1 กองร้อย (ชาวบ้านเชื่อว่ามาจากมทบ.41 ่นครศรีธรรมราช) รวมทั้งตำรวจจากสน.ฉลอง เข้ามายังพื้นที่แปลงที่มีปัญหาโดยพยายามยืนกั้นปิดเส้นทางที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปลงเรือ
ในวันนั้นชาวเลได้นัดรวมตัวกัน และพยายามขวางไม่ให้มีการนำหินมาถมปิดกั้นทางเดิน จนเกิดการยื้อ แต่ในที่สุดทหารทั้งหมดยอมถอยไป
การเข้ามาของทหารมทบ.41 สร้างความประหลาดใจให้ชาวบ้านไม่น้อย เพราะเป็นหน่วยที่ไม่เคยทราบข้อเท็จจริงของชุมชนมาก่อน จู่ๆก็ไปยืนเป็นกำแพงให้นายทุน
ขณะที่ทหารเรือกองทัพภาคที่ 3 จังหวัดภูเก็ต ซึ่งดูแลพื้นที่อยู่กับไม่ทราบการมาเยือนของกองกำลังทหารมทบ.41 เลย และมีการออกมาปฎิเสธกันทางไลน์กันเอิกเกริก
วันที่ 26 สถานการณ์ว่างเว้นไป 1 วัน จนกระทั่งวันที่ 27 จึงมีการนำนักเลงหัวไม้ทั้งจากในภูเก็ตและนอกจังหวัดนับร้อยคนมารุมยำชาวบ้านพร้อมทั้งใช้ก้อนหินขนาดใหญ่ปิดกันเส้นทางสาธารณะของชุมชน
เห็นข่าวโฆษกรัฐบาลประกาศเอาจริงเอาจังไม่เว้นสีใดที่กระทำการอุกอาจเช่นนี้ ก็เลยแจ้งเพื่อทราบ
--------------
หมายเหตุ-ภาพถ่ายวันที่ 25 มกราคม 2559 โดยชาวเล

ส่งออกติดลบต่ำสุดในรอบ6ด.

ยอดส่งออกปี 58 ต่ำสุดรอบ 6 ปี ธันวาฯหนักสุดติดลบ 8.73%

เมื่อเทียบกับมาเลเซียเป็นรายเดือนพบว่าในเดือนตุลาคม 
มาเลเซียมีอัตราการส่งออกเป็นบวกถึง 16.7% ในขณะที่ไทยติดลบ 8.11% 
ในเดือนพฤศจิกายนมาเลเซียมีอัตราส่งออกเป็นบวกถึง 6.3% 
ในขณะที่ไทยติดลบ 7.42%

หากเปรียบเทียบกับประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ และกำลังประสบปัญหา
ทางเศรษฐกิจเช่นกันพบว่า ในเดือนตุลาคมจีนมีอัตราการส่งออกติดลบ 6.9% 
ในขณะที่ไทยติดลบถึง 8.11% 
เดือนพฤศจิกายนจีนติดลบ 6.8% ไทยติดลบ 7.42%
 และในเดือนธันวาคมจีนติดลบเพียง 1.4% แต่ไทยติดลบถึง 8.73%