PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว15ม.ค.58

ถอดถอน

"สุรชัย" พูดชัดขั้นตอนซักถาม เหมือนการเบิกความในศาล ผู้ร้อง-ถูกร้อง ไม่รู้คำถามล่วงหน้า ยัน ส่วนตัวไม่เคยพูดคุยกับ "นิคม" เรื่องถอดถอน

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการประชุมวันนี้ จะเป็นการพิจารณา เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร จากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในขั้นตอนของการซักถาม โดยคณะกรรมาธิการซักถาม เบื้องต้น จะใช้หลักการเดียวกันกับซักถามของศาล ที่ผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง จะไม่รู้คำถามล่วงหน้า เพราะถือว่า การพูดความจริง สามารถพูดได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าแต่อย่างใด โดยที่จะเริ่มจากการซักถามผู้ร้องก่อน และตามด้วยผู้ถูกร้องจนครบถ้วน ตามที่กรรมาธิการได้จัดเรียงลำดับไว้

ทั้งนี้ นายสุรชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการตั้งคำถามว่า สนช. มีอำนาจหรือไม่ว่า เป็นการยึดตามติของสมาชิก ก่อนที่จะมีการรับเรื่องมาพิจารณา รวมถึงยืนยันว่า ส่วนตัวไม่เคยพบปะ หรือพูดคุยกับ นายนิคม ในเรื่องดังกล่าว
---------
พล.อ.มารุต เผย กรรมาธิการซักถามชุด "นิคม-สมศักดิ์" คัดกรองคำถามทั้ง 2 คดี เหลือเพียง 30 คำถาม

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด ประธานการประชุมกดสัญญาณเรียกสมาชิกเข้าห้องประชุมแล้ว ขณะที่ พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ สมาชิก สนช. ในฐานะประธานคณะ

กรรมาธิการซักถามคดี นายนิคม ไวยรัชพานิช และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เปิดเผยว่า กรรมาธิการคัดกรองข้อซักถามของสมาชิก สนช. ที่ต้องถามคู่ความทั้ง 2 คดี สรุปแล้วเหลือเพียง 30 คำถาม

จากทั้งหมด 61 คำถาม โดยคำถามทั้งหมดจะแบ่งเป็นคดีละ 15 คำถาม ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯ จะซักถามคดีของ นายนิคม โดยเป็นคำถามถึง นายนิคม จำนวน 7 คำถาม คณะกรรมการ ป.ป.ช.
จำนวน 8 คำถาม ส่วนคดีของ นายสมศักดิ์ มีคำถามถึง นายสมศักดิ์ จำนวน 6 คำถาม และคณะกรรมการ ป.ป.ช. 9 คำถาม โดยได้แบ่งแนวทางคำถามเป็น 3 ส่วน คือ ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และ

ความเห็น ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับสำนวนคดีเท่านั้น
-----------
"นิคม" ถึงสภา ยันพร้อม ตอบข้อซักถาม ย้ำไม่รู้สึกกังวล มอง ไม่แจ้งข้อซักถามก่อน ถือว่าผิดขั้นตอนไปจากเดิม

นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เดินทางเข้าตอบข้อซักถามต่อคณะกรรมาธิการซักถาม ในกรณีแก้ไขที่มา ส.ว. พร้อมให้สัมภาษณ์ ว่า มีความพร้อมและไม่รู้สึกกังวล ในการตอบข้อซัก

ถามในวันนี้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับคำถามที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยื่นเป็นญัตติต่อคณะกรรมาธิการซักถาม ทำให้ไม่ทราบว่า คำถามมีอะไรบ้าง จึงมองว่าขั้นตอนผิดไป

จากกระบวนการถอดถอนเดิมจากที่เคยผ่านมา อย่างไรก็ตาม พร้อมจะชี้แจงทุกสิ่งเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการหักล้างข้อกล่าวหา และเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรมจาก สนช.

นายนิคม กล่าวอีกว่า ตนเองไม่ได้เป็นฝ่ายนัดกลุ่ม 38 ส.ว. เพียงได้รับการเชิญจากกลุ่ม 38 ส.ว. ให้ไปพูดคุยในส่วนของการถอดถอนเท่านั้น
------------------
"พรเพชร" ยัน สนช. ลงมติถอดถอน "ยิ่งลักษณ์-สมศักดิ์-นิคม" 23 ม.ค. ย้ำยึดตามข้อกฎหมาย 

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด เข้าสู่การพิจารณาวาระถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดย นายพรเพชร ได้แจ้งต่อที่ประชุมและนัดแถลงปิดสำนวน
คดีของ นายนิคม และ นายสมศักดิ์ ในวันที่ 21 มกราคม ขณะที่คดีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว นัดแถลง

ปิดสำนวนคดี ในวันที่ 22 มกราคม ส่วนการนัดลงมติถอดถอนทั้ง 3 คดี ทั้ง นายนิคม นายสมศักดิ์ และ นางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นวันที่ 23 มกราคม นี้ พร้อมกันนี้ ยังกล่าวย้ำอีกว่า
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินกระบวนการถอดถอนที่ยึดหลักกฎหมาย
--------------------
กมธ. เริ่มซักถาม ป.ป.ช. "วิชา" ยัน แม้ รธน.50 จะถูกยกเลิก แต่ พ.ร.บ.ป.ป.ช. ยังมีผลบังคับใช้ จึงมีสิทธิ์ ส่งเรื่องถอดถอน 

ความเคลื่อนไหวในการตอบข้อซักถามคณะกรรมาธิการต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในกรณีแก้ไขที่มา

ส.ว. โดยคณะกรรมาธิการซักถาม ได้ตั้งข้อซักถามไปของ นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า เหตุใด ป.ป.ช. จึงได้ให้ สนช. ดำเนินการถอดถอน นายนิคม เพราะขณะรัฐธรรมนูญปี 2550

ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่ง นายวิชา กล่าวว่า แม้รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ นายนิคม ยังกระทำผิดต่อรัฐโดยใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการป้องกัน

แะปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ม.58 คงมีผลบังคับใช้อยู่

นอกจากนี้ ทางคณะกรรมาธิการยังซักถามต่อการกระทำของ นายนิคม เป็นการกระทำความผิดอาญาด้วยหรือไม่ และการดำเนินการถอดถอนจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความปรองดองหรือไม่

อย่างไร

โดย นายวิชา ตอบว่า สำหรับมีความผิดตามอาญาด้วยหรือไม่ ตามสำนวนที่ได้ส่งมายัง ป.ป.ช. เป็นเรื่องกระบวนการถอดถอนไม่ใช่กระบวนการอาญาแต่อย่างใด ส่วนจะมีผลกระทบต่อการ

ปรองดองหรือไม่นั้น ในการดำเนินคดี ป.ช.ช. เห็นความสำคัญต่อการปรองดองเป็นหลัก แต่ขณะนี้ ในความปรองดอง ประชาชนทั้งหลายยังต้องคำนึงถึงหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมอีกด้วย เพราะ

กระบวนการทางกฎหมายจะยุติลงตามใจชอบไม่ได้ ส่วนมติ สนช. จะถอดถอนหรือไม่ ก็อยู่กับดุลพินิจและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สนช. จะพิจารณา โดยแยกหลักนิติรัฐและนิติธรรมออกจากความ

ปรองดอง
---------------------

 การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีพิจารณาวาระถอดถอนนายนิคม ไวรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา 

และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งนายพรเพชร ได้แจ้งต่อที่ประชุมและนัดแถลงปิด

สำนวนคดีของนายนิคมและนายสมศักดิ์ ในวันที่ 21 มกราคม ขณะที่คดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ระงับยับยั้งปล่อยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว นัด

แถลงปิดสำนวนคดีในวันที่ 22 มกราคม ส่วนการนัดลงมติถอดถอนทั้ง 3 คดี ทั้งนายนิคม นายสมศักดิ์และนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นวันที่ 23 มกราคม นี้ พร้อมกันนี้ ยังกล่าวย้ำอีกว่า สภานิติบัญญัติ

แห่งชาติ ดำเนินกระบวนการถอดถอนที่ยึดหลักกฎหมาย

ทั้งนี้ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เดินทางเข้าตอบข้อซักถามต่อคณะกรรมาธิการซักถาม ในกรณีแก้ไขที่มา ส.ว. พร้อมให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมประชุมว่า มีความพร้อมและไม่รู้สึก

กังวล ในการตอบข้อซักถามในวันนี้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับคำถามที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยื่นเป็นญัตติต่อคณะกรรมาธิการซักถาม ทำให้ไม่ทราบว่า คำถามมีอะไรบ้าง จึงมอง

ว่าขั้นตอนผิดไปจากกระบวนการถอดถอนเดิมจากที่เคยผ่านมา อย่างไรก็ตาม พร้อมจะชี้แจงทุกสิ่งเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการหักล้างข้อกล่าวหา และเชื่อว่าจะได้รับความเป็น

ธรรมจาก สนช.

นายนิคม กล่าวอีกว่า ตนเองไม่ได้เป็นฝ่ายนัดกลุ่ม 38 ส.ว. เพียงได้รับการเชิญจากกลุ่ม 38 ส.ว. ให้ไปพูดคุยในส่วนของการถอดถอนเท่านั้น
--------------------
"สมศักดิ์" เดินทางถึงสภา ตอบซักถามด้วยตนเอง ยืนยัน ไม่กังวล เชื่อ สนช.เป็นธรรม

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางเข้าตอบข้อซักถามต่อกรรมาธิการซักถามในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้มาในวันแถลงเปิดคดี

เพราะได้ส่งคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ครบถ้วนมาแล้ว และที่ไม่ได้มา ไม่ได้ปัญหาสุขภาพแต่อย่างใด ทั้งนี้ หลังจากฟังแถลงเปิดคดีจาก ป.ป.ช. พบว่า ยังมีหลายประเด็นที่ยังเข้าใจไม่ตรงกัน

อาจทำให้สังคมเข้าใจผิด วันนี้ จึงต้องเข้าตอบข้อซักถามด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความชัดเจนอย่างไรก็ตาม มั่นใจจะตอบข้อซักถามได้ทุกประเด็น โดยผ่านมา ได้ทำหน้าที่ประธานตามข้อบังคับการ

ประชุม จึงไม่มีเหตุผลใดต้องกังวล และเชื่อว่า สนช. จะพิจารณาอย่างเป็นธรรม ส่วนในวันแถลงปิดสำนวนต้องรอดูข้อสรุปในการซักถามอีกครั้งว่า ในแต่ละประเด็นมีความชัดเจนแล้วหรือไม่ จึง

ค่อยตัดสินใจอีกครั้ง
---------------------
"นิคม" ตอบข้อสงสัย กมธ.ซักถาม ยันจำเป็นต้องทำหน้าที่ หลังมีสมาชิกทักท้วง ย้ำไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่เคยใช้อำนาจตัดสิทธิ์ผู้อภิปราย

บรรยากาศการประชุมสภานิติแห่งชาติ เพื่อพิจารณากระบวนการถอดถอน นายนิคม ไวรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ออกจาก

ตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. ล่าสุด คณะกรรมาธิการซักถาม ได้ซักถาม นายนิคม ในประเด็นข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง ซึ่ง นายนิคม ยืนยันว่า ต้องปฏิบัติหน้าที่ประธานการ

ประชุมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้มีสมาชิกทักท้วงว่า อาจไม่เป็นกลาง เพราะเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม อีกทั้งไม่เคยลงชื่อในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว. ด้วย

พร้อมย้ำว่า ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่ได้เร่งรีบพิจารณา เนื่องจาก ไม่เคยคิดจะกลับมาเป็น ส.ว. อีก ยกเว้นแต่ประชาชนเรียกร้อง นอกจากนี้ ยังยืนยันอีกว่า ไม่เคยใช้อำนาจตัดสิทธิ์การ

อภิปรายสมาชิกแต่อย่างใด
---------------------
วิชา ตอบกรณี รธน. 50 ยกเลิก แต่ พ.ร.บ.ประกอบ รธน. 54 ยังบังคับใช้ สามารถถอดถอนได้

ความเคลื่อนไหวในการตอบข้อซักถามคณะกรรมาธิการซักถาม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(ป.ป.ช.) ในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นแก้ไขที่มา ส.ว. โดย คณะกรรมาธิการซักถามได้ ตั้งข้อซักถามไปยัง คณะกรรมาการ ป.ป.ช. ว่า เพราะขณะนี้รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
เหตุใด ป.ป.ช. จึงได้ ส่งเรื่องมายัง สนช. ให้ดำเนินการถอดถอน นายสมศักดิ์

นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า แม้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ได้สิ้นสุดลงแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ปี 2554 ยังคงมีผลบังคับใช้ ซึ่งได้เขียนเรื่องกระบวนการถอดถอน

อย่างครบถ้วนชัดเจน โดยสามารถนำมาประกอบใช้ในกระบวนการถอดถอนครั้งนี้ได้

โดยเฉพาะในเรื่องหลักนิติธรรมทุกที่องค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญต้องปฏิบัติ รวมถึงผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นกลาง ดังนั้น การที่แสดงให้เห็นว่าได้ดำเนินงานโดยเข้าข้าง

ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
---------------------
สมศักดิ์ แจงกรรมาธิการซักถาม ปฏิเสธข้อกล่าวหาบรรจุร่างปลอม ยันไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังอยู่ระหว่างคณะกรรมาธิการซักถามสำนวนถอดถอนของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่

มา ส.ว. ซึ่งกรรมาธิการซักถามมีคำถามถึงนายสมศักดิ์ 6 คำถาม

โดยนายสมศักดิ์ตอบข้อซักถามพร้อมปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงในกรณีที่บรรจุร่างปลอมแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มา ส.ว. เพราะมีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วน ก่อนบรรจุระเบียบวาระการประชุม ซึ่ง

ในขั้นตอนนี้อยู่ในขั้นงานธุรการที่สามารถกระทำการแก้ไขได้ และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา และเมื่อร่างถึงมือประธานรัฐสภาแล้ว ได้มีการเชิญประธานสำนักการประชุม เข้าชี้แจงเหตุผล
ในการแก้ไขร่างดังกล่าว ได้รับการยืนยันว่าไม่ผิดข้อบังคับการประชุมหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ระบุว่าต้องบรรจุระเบียบวาระภายใน 15 วัน
------------------
สมศักดิ์ ย้ำไม่ผิดปมแก้ รธน. โต้จงใจใช้อำนาจขัดกฎหมาย พร้อมขอความเป็นธรรมจาก สนช.

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงต่อกรรมาธิการซักถามว่าไม่ทราบกรณีการเสียบบัตรแทนกัน มาทราบภายหลังจากข่าว จึงได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงทันที โดย

หากเกิดขึ้นจริง ก็ถือเป็นความผิดเฉพาะตัวบุคคล ไม่เกี่ยวกับตนและนำมาซึ่งการถอดถอนได้ นอกจากนี้ยังอธิบายข้อซักถามในการตัดสิทธิ์การอภิปรายของสมาชิกว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์

ซึ่งหากเกินเวลา ประธานจะต้องขอมติจากที่ประชุมว่าจะปิดการอภิปรายหรือไม่ และถือเป็นอำนาจโดยชอบของประธานที่จะวินิจฉัยได้ทันที จึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม

ไม่ได้จงใจใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย

ทั้งนี้ ช่วงท้ายก่อนตอบข้อซักถาม นายสมศักดิ์ ยืนยัน ตนเองไม่มีอะไรผิด ไม่เคยแม้แต่วินิจฉัยผิดพลาด และต่อให้ผิดจริง ก็ไม่มีเจตนา ซึ่งไม่เข้าข่ายกระบวนการถอดถอน ตามมาตรา 270 และการ

ที่มาชี้แจงวันนี้ เพื่อหาความเป็นธรรม หากไม่ได้จากสภาแห่งนี้ ก็ไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหน ซึ่งก็เชื่อมั่นจะได้รับความเป็นธรรม
-----------------------
"วิษณุ" ยันรัฐบาลลุยสร้างความปรองดองไม่จำกัดแค่นิรโทษ ขอทุกคนช่วยแก้ปัญหา

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงการสร้างความปรองดอง ว่า การสร้างความปรองดองถึงแม้ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ต้องดำเนินการต่อไป แต่ไม่ใช่การมอบหมาย

เฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในการสร้างความปรองดอง แต่ทุกหน่วยงานต้องช่วยกัน ขณะเดียวกันมองว่าศูนย์ดำรงธรรมเป็นการสร้างความปรองดองแบบหนึ่ง เนื่องจากช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ

ให้กับประชาชน ส่วนมาตรการหรือยาเม็ดใหญ่ที่รัฐบาลจะทำเพื่อสร้างความปรองดองนั้น ขณะนี้ก็มีการคิดทั้งในส่วนของรัฐบาล และในส่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่ต้อง
ฟังทางสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่อาจมีแนวทางที่ดีและรอบคอบรัดกุมกว่า ซึ่งแผนปรองดองไม่จำเป็นต้องเป็นการนิรโทษกรรมเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีหลายวิธี
////////////
กมธ.ยกร่าง

พล.อ.เลิศรัตน์ มั่นใจ สามารถพิจารณาเนื้อหา ได้ทันตามกรอบ ของสัปดาห์นี้แน่นอน ถกสิทธิเสรีภาพ สื่อมวลชน แล้ว 3 มาตรา

บรรยากาศก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีวาระเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

เปิดเผยถึงภาพรวมการประชุมวานนี้ ว่า สมาชิกได้เตรียมเนื้อการอภิปรายมาอย่างครบถ้วน และได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ซึ่งขณะนี้ได้อภิปรายใน ภาค 1 พระมหากษัตริย์และประชาชน หมวด 2

ประชาชน ในส่วนสิทธิและเสรีภาพสื่อมวลชนจบไปแล้วทั้ง 3 มาตรา

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จะเริ่มอภิปรายในมาตราที่ 27 ซึ่งคาดว่า ภายในวันศุกร์นี้ จะอภิปรายเสร็จตามกรอบที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน
---------------------
กมธ.ยกร่าง รธน.พิจารณา ถึง ม.28 หมวด สิทธิเสรีภาพพลเมือง คาดวันนี้ ผ่านหมวด 2 เข้าสู่หมวด 3

บรรยากาศการประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณายกร่างเป็นรายมาตรา โดยเริ่มพิจารณาในภาค 1 พระมหากษัตริย์และ

ประชาชน ในส่วนของมาตราที่ 27 ที่ว่าด้วยเรื่องการรับรองการวมตัวจัดตั้งพรรคการเมืองที่ไม่ได้มุ่งหวังทางการเมือง เพื่อดำเนินการทางการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยสมาชิกได้ให้บันทึกเจตนารมณ์เรื่องดังกล่าวไว้ และขณะนี้ได้อภิปรายมาตราที่ 28

อย่างไรก็ตาม สำหรับการพิจารณาขณะนี้ ยังอยู่ในภาค 1 หมวด 2 ประชาชน ซึ่งมีทั้งหมด 36 มาตรา และคาดว่าจะพิจารณาให้แล้วเสร็จที่ 2 และเริ่มหมวด 3 ภายในวันนี้
--------------------
กมธ.ยกร่าง รธน. พิจารณารายมาตราผ่าน ม.30 หมวด สิทธิเสรีภาพ ว่าด้วยเรื่องบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอภาคกันในการรับบริการทางสาธารณสุขแล้ว

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ทีมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาราย

มาตรา หมวด 2 ประชาชน มาตรา 30 ว่าด้วยเรื่องบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอภาคกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่ม

เติมข้อความ เพื่อให้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมชัดเจนยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน จะต้องมุ่งเน้นการเท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้นำข้อเสนอแนะของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูป

แห่งชาติ และพรรคการเมือง
------------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณาถึง ม.33 หมวดสิทธิเสรีภาพ เสนอเพิ่มเติมข้อความ "ได้รับข้อมูลข่าวสารโดยเร็ว" และเรื่องความมั่นคงของรัฐให้ใช้กับหน่วยงานทหาร 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา

รายมาตราในส่วนสิทธิเสรีภาพพลเมือง มาตรา 33 บุคคลย่อมมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะในหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นกระทบต่อควมมั่นคงของรัฐ ความ

ปลอดภัยประชาชนได้รับความเสียหายและควรได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ได้อภิปรายว่ามาตราดังกล่าวเป็นปัญหามาเป็นระยะเวลายาวนาน ควรมีปรับปรุงกฎหมายให้เกิดประโยชน์ต่อรัฐและประชาชน พร้อมขอให้เพิ่มในข้อความ "ได้รับข้อมูลข่าว

สารโดยเร็ว" และเรื่องความมั่นคงของรัฐให้ใช้กับหน่วยงานทหาร หากไม่ต้องการเปิดเผยต้องระบุไว้ให้ชัดเจน
----------------------
กมธ.ยกร่าง พักการพิจารณาชั่วคราว "บวรศักดิ์" พร้อมตัวแทน ร่วมอัดรายการเดินหน้าประเทศไทย 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ได้พักการประชุมชั่วคราวเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทานอาหารกลางวัน โดยพร้อมกันนี้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ พร้อมตัวแทนคณะ

กรรมาธิการยกร่างฯ ในแต่ละด้านจะร่วมอัดรายการเดินหน้าประเทศไทย เพื่อผู้ชี้แจงผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อความครบถ้วน ถูกต้องของข้อมูล

อย่างไรก็ตาม สำหรับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 3 วัน พิจารณาไปแล้วทั้งหมด 53 มาตรา โดยมี 2 มาตรา 3 วรรค ที่ยังมีข้อถกเถียงไม่ยุติ และคงเหลือพิจารณาอีก 34 มาตรา ซึ่งในวันนี้ ต้อง

พิจารณาให้ได้ 16 มาตรา และในวันพรุ่งนี้จะเป็นการพิจารณาเรื่องแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 18 มาตรา
----------
กมธ.ยกร่าง รธน. กลับมาพิจารณาต่อ ผ่าน ม.34 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ-รัฐวิสาหกิจฯ โดยไม่การแก้ไข

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม ในช่วงบ่าย เริ่มพิจารณาราย

มาตราในส่วนสิทธิ เสรีภาพของพลเมือง มาตรา 34 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ รวมถึงส่วนท้องถิ่น ก่อนดำเนินโครงการที่อาจกระทบต่อ

คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตหรือชุมชน และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณา จากนั้นต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น

ก่อนดำเนินการ

ขณะที่ สมาชิกส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขข้อความ และให้คงไว้ตามเดิม พร้อมให้เจ้าหน้าที่บันทึกเจตนารมณ์ไว้ เพราะมีความหมายที่ครอบคลุมอยู่แล้ว
---------------
กมธ.ยกร่าง เร่งพิจารณามาตรา ม.35 ม.36 หวังบรรจุสิทธิพลเมือง กระจายอำนาจสูชุมชน

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด อยู่ในระหว่างการพิจารณามาตราที่ 36 เรื่อง สิทธิพลเมืองที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐ ชุมชุน หรือท้องถิ่น ในการคุ้มครอง ส่งเสริม และ

รักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่อย่างปกติ ซึ่งในมาตรานี้มีข้อคิดเห็นจาก สปช. พรรคการเมือง และประชาชน มาประกอบการพิจารณาด้วย

ส่วนในการพิจารณา ม.35 เรื่อง บุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชนย่อมมีสิทธิ์อนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดย สปช. เสนอให้บัญญัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับชุมชนจัดการตนเอง โดยควรเขียนนโยบายของรัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เน้นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น ขณะภาคประชาชน

เสนอให้ผู้มีที่อยู่ดั่งเดิมแต่ไม่มีทะเบียนบ้านสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนได้
---------------------------
กมธ.ยกร่างฯ ถึงส่วนที่ 4 การมีส่วนร่วมทางการเมือง ปชช. เข้าชื่อร้องรัฐสภาให้พิจารณาเสนอกฎหมายได้

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายสุจิต บุญบงการ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณารายมาตรา ส่วนที่ 4 การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

มาตราที่ว่าด้วยประชาชนผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน มีสิทธิ์เข้าชื่อร้องขอต่อรัฐสภาเพื่อให้พิจารณาการเสนอกฎหมายได้ โดยสมาชิกกรรมาธิการได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ซึ่งเสนอ

ให้คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนและให้กำหนดระยะเวลาในการบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมหลังจากได้รับเรื่อง พร้อมชี้แจงจนจบกระบวนการเสนอกฎหมายภาคประชาชน ทั้งนี้ จะ

ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุม

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องพิจารณา ภาค 1 พระมหากษัตริย์และประชาชนให้จบทุกมาตรา และในวันพรุ่งนี้จะเริ่มพิจารณาภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง

หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพื่อให้ทันตามกรอบระยะเวลา
//////////
ปิโตเลียม

"สุวพันธุ์" ระบุ คุย สปช.วันนี้ มีเรื่องมติไม่ให้เปิดสัมปทานปิโตรเลียม เชื่อได้แนวทางที่ชัดเจน ยังตอบไม่ได้ รบ. ตัดสินใจอย่างไร

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า ในช่วงเย็นวันนี้ ตนและ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย จะเข้าหารือกับ

สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ถึงความเห็นของรัฐบาลที่มีต่อการทำงานของ สปช. รวมถึงการประสานงานในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานทั้งสองส่วนราบรื่น เกิดผลสำเร็จ
ตามแผนการปฏิรูปประเทศไทย ขณะเดียวกัน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ จะเข้าร่วมบรรยายความเห็นของส่วน

ราชการต่าง ๆ ที่มีต่อการปฏิรูปทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ให้ สปช. ได้รับฟังด้วย

ส่วนกรณีการส่งรายงานมติของ สปช. เรื่องการไม่เห็นด้วยกับการสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้น เห็นว่า เรื่องนี้ จะต้องนำไปคุยกับ สปช. ว่ารัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งวันนี้น่าจะเห็น

แนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ อยากให้คนไทยช่วยกันให้ข้อคิดเเละกำลังใจ โดยความเห็นของ สปช. นั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นคำสั่ง แต่เป็นเพียงความเห็น ซึ่งรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรก็ยังไม่สามารถ

ตอบได้ ซึ่งต้องเลือกทางที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
////////////
นายกฯ

///////////
คดีตำรวจ

ฟิตเนส
/////////////////
เศรษฐกิจ

ธปท. ห่วง NPL ปี 57 พุ่งแตะ 2.4% เหตุเศรษฐกิจชะลอ มั่นใจพื้นฐานธนาคารพาณิชย์แกร่ง รับมือได้

นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้สินเชื่อชะลอลง

โดยโตเพียงร้อยละ 5 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2557 และคุณภาพสินเชื่อด้อยลงบ้าง โดยระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ขยับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.15 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 2.34 ในปี 2557

โดยเฉพาะ NPL สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.20 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.65 ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอลง โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่ม

การกันสำรองให้มากขึ้นโดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 1.35 เท่าต่อ NPL ดังนั้น จึงมีเพียงพอสำหรับการดูแลคุณภาพ NPL ในอนาคต
--------------
ณรงค์ชัย ยันเดินหน้าเปิดสัมปทานรอบ 21 แม้ สปช. คัดค้าน ชี้ระบบดังกล่าวเหมาะสม

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบ 21 หลังสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ

กรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมาก ที่เสนอให้รัฐบาลเดินหน้าเปิดสัมปทาน ว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังรอเอกสารอย่างเป็นทางการจาก สปช. เกี่ยวกับมติเรื่องข้อเสนอปิโตรเลียมของไทย

อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของ สปช. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 27 คือทำหน้าที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหาร ดังนั้น จึงสามารถนำเสนอความเห็นต่อรัฐบาลเพื่อประกอบการตัดสินใจ

อย่างไรก็ตาม ในหลักการของกระทรวงพลังงานยังคงเดินหน้าเปิดสำรวจระบบสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ตามเงื่อนไขเดิมที่ประกาศไว้ โดยจะเปิดให้เอกชนยื่นขอสำรวจปิโตรเลียมยังคงกำหนด

เดิมคือภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเป็นระบบที่ผ่านการศึกษาและเห็นควรว่ามีความเหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด เพราะไทยเป็นประเทศที่มีปิโตรเลียม คือ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน

ค่อนข้างน้อย นักลงทุนมีความเสี่ยงมาก ระบบดังกล่าวจึงเป็นระบบที่เหมาะสม โดยหากใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์นักลงทุนจะมีความเสี่ยงมาก และอาจไม่สนใจเข้าลงทุนในไทย ขณะที่ข้อ

เสนอเรื่องระบบแบ่งปันผลประโยชน์ หรือพีเอสซีนั้น เนื่องจากมีขั้นตอนการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์ที่ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นหากมีการเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบใหม่ หรือ รอบ 22 ก็อาจใช้ระบบ

พีเอสซี เนื่องจากเมื่อถึงเวลาดังกล่าวระบบนี้อาจจะเหมาะสมกับไทยได้
----------------------
อารีพงศ์ ยืนยันระบบสัมปทานมาตรฐานสากล โปร่งใส ตรวจสอบได้ เดินหน้าเปิดสัมปทานรอบ 21 โดยจะคัดเลือกองค์ประกอบให้เข้มข้นขึ้น

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวชี้แจงว่า ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ประชุมเพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 โดยเฉพาะความเหมาะสม

ระหว่างการใช้ระบบสัมปทาน และระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น ขอยืนยันว่า ระบบสัมปทานของไทยเป็นระบบมาตรฐานสากล โปร่งใส สามารถตรวจสอบความถูกต้อง (Cross Check) ภายใต้หลัก

เกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์ ระหว่างรัฐกับผู้รับสัมปทาน และหลักเกณฑ์ด้านการตรวจสอบควบคุมการดำเนินงานของผู้รับสัมปทานที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 นี้ กระทรวงพลังงานจะพิจารณาองค์ประกอบของคณะกรรมการปิโตรเลียมให้มีความเข้มข้นขึ้นเพื่อสร้างความโปร่งใสให้กับสังคมและรักษาผล

กระโยชน์ของประเทศ โดยจะดำเนินการ 2 ส่วน คือ การคัดเลือกกรรมการในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิจะคัดจากผู้มีประสบการณ์ด้านภาษี กฎหมาย อุตสาหกรรม และมีตัวแทนจาก
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นร่วมด้วย รวมถึงจะมีการปรับรูปแบบการทำบัญชี การตรวจสอบ เพื่อให้ประโยชน์ตกกับไทยมากขึ้น โดยจะมีการว่าจ้างบริษัทด้านการทำบัญชี 1 ใน 4 ของโลกเข้ามาทำ

ดำเนินการ เพื่อพิจารณาด้านค่าใช้จ่าย หรือกระบวนการใดต้องปรับปรุงบ้าง โดยเริ่มเปิดคัดเลือกแล้วในเดือนมกราคมนี้
//////////////////////////
คดีตำรวจ

"เด่น ดอกประดู่" พบตำรวจยันเอบิ ฟิตเนส จ้างเป็นพิธีกร ภาพโอบกอดเป็นเพียงการแสดงตลก

นายบรรพต วีระรัฐ หรือ เด่น ดอกประดู่ ตลกรุ่นใหญ่ พร้องภรรยาเดินทางมาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.วังทองหลาง เพื่อให้ปากคำหลังพบว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในคลิป เอบิ ฟิตเนส ซึ่งมีหญิงสวมใส่ชุด

อนาจาร ออกมาเผยแพร่ โดยได้ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ในวันเกิดเหตุได้ทำซาวหน้าอยู่ที่ฟิตเนสดังกล่าว ซึ่งก็เป็นลูกค้าประจำที่นั้นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันได้มีผู้มาติดต่อให้ไปเป็น
พิธีกรช่วงเย็น เนื่องในวันปีใหม่ แต่ตนก็ไม่ทราบว่าใครมาติดต่อ เพราะขณะนั้นได้ยินแค่เสียงเท่านั้น

ด้านภาพ และคลิปที่ออกมานั้นยืนยันเป็นเพียงการแสดง และไม่คิดว่าจะเจอกับเหตุการณ์ลักษณะนี้ เพราะก่อนเข้างานผู้หญิงที่เห็นในคลิปก็ได้สวมใส่ชุดปกติ พองานเริ่มสักพักก็ได้มีการถอดเสื้อ

ผ้าออก ตนก็ตกใจแต่ก็ยังทำหน้าที่ของตนต่อ ตนก็ได้เล่นตลกตามสถานการณ์ แต่ไม่นานก็ได้ขอตัวกลับ

โดย นายบรรพต ยังกล่าวอีกว่า รู้สึกเสียใจและขอโทษประชาชนกับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งปกติแล้วที่ฟิตเนสดังกล่าวก็ไม่เคยมีงานเลี้ยงในลักษณะนี้

โดยหลังจากให้สัมภาษณ์ก็ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้ปากคำเพิ่มเติม ซึ่งทางพนักงานสอบสวน สน.วังทองหลาง ก็เปิดเผยเพียงว่า ต้องรอให้สอบปากคำให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถบอกได้ว่า นาย

บรรพต เป็นผู้ต้องหา หรือเป็นพยาน
-------------------
ปปง. เตรียมเชิญ "บอย ปกรณ์" แจง ทรัพย์สิน และรถยนต์หรู สัปดาห์หน้า

พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เปิดเผยความคืบหน้าคดียักยอกเงินสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ

สจล. ว่า ในสัปดาห์หน้า จะเชิญ นายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ หรือ บอย ปกรณ์ นักแสดงชื่อดัง เข้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน และรถยนต์หรู ซึ่งต้องส่งมอบให้ ปปง. ภายในสัปดาห์หน้าเช่นกัน โดยระบุ

ว่า เป็นหน้าที่ของ นายปกรณ์ ที่ต้องชี้แจงที่มาของทรัพย์สินดังกล่าวให้ได้

ส่วนการตรวจสอบเส้นทางการเงินในคดีนี้ เลขาธิการ ปปง. กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบมีกลุ่มเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการกระทำผิด และมีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นศูนย์

กลางในการยักย้ายถ่ายโอนเงินทั้งหมดในคดีแต่ขณะนี้ ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ โดย ปปง. อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐาน
----------------------------
ปปง. อายัดทรัพย์สิน อดีต ผบช.ก.เพิ่มเติมอีก 105 รายการ มูลค่ากว่า 25 ล้านบาท 

พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เปิดเผยความคืบหน้าการยึดทรัพย์สินของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ผู้ต้องหาในคดีฟอกเงินเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบและความผิดอื่นๆ ว่า ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางการเงิน หรือ ปปง. ได้อายัดเพิ่มเติมอีก 105 รายการ มูลค่ากว่า 25 ล้านบาท โดยทรัพย์ในส่วนนี้ มีทั้งเงินสด ทั้งสกุลไทยและสุกลต่างประเทศ ทองรูปพรรณ รวมทั้งวัตถุโบราณอีกหลายรายการ ซึ่งการอายัดครั้งนี้ เป็นการตรวจสอบทรัพย์สินเฉพาะในส่วนของ
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เพียงบุคคลเดียวเท่านั้น ส่วนกลุ่มผู้ต้องหาคนอื่น ยังไม่พบความผิดปกติ ที่ ปปง. จำเป็นต้องเข้าไปอายัด

นอกจากนี้ เลขาธิการ ปปง. ยังแถลงผลการตรวจสอบและอายัดทรัพย์สินของ นายสหชัย เจียรเสริมสิน หรือ เสี่ยโจ้ ผู้ต้องหาหลบหนีคดีศาลจังหวัดปัตตานี โดยเป็นโฉนดที่ดิน จำนวน 33 แปลง ในจังหวัดสงขลา และปัตตานี มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท โดยมีชื่อภรรยานอกสมรสของ นายสหชัย เป็นผู้ถือครอง ซึ่งกรณี ปปง. ได้ข้อมูลจากฝ่ายมั่นคงใน
จังหวัดปัตตานี ให้ตรวจสอบธุรกิจ และเส้นทางการเงินทั้งหมดของ นายสหชัย ที่เชื่อว่า น่าจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำธุรกิจค้าน้ำมันเถื่อน