PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กรมชลประทานเตือน 7-12 ต.ค. แม่น้ำเจ้าพระยาอาจล้นตลิ่ง จากน้ำเหนือ-ทะเลหนุน

วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 20:46:09 น.
 
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาว่า ในช่วงวันที่ 7 – 12 ต.ค. นี้ จะเป็นช่วงที่เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ในขณะที่ยังคงมีปริมาณน้ำเหนือไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง ส่งผลให้บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำเอ่อล้นตลิ่งได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่นอกเขตคันกั้นน้ำ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในระยะนี้อย่างใกล้ชิดด้วย

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายกังวลว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ดั่งเช่นปี 2554 ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พบว่าปริมาณน้ำในปีนี้ ยังน้อยกว่าเมื่อปี 2554 ค่อนข้างมาก โดยล่าสุด(7 ต.ค. 56) มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 1,771 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 2,032 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีปริมาณน้ำไหลผ่านที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็นจุดวัดปริมาณน้ำทั้งหมดก่อนไหลลงสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในเกณฑ์ประมาณ 2,276 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (รับน้ำได้สูงสุด 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)

ทั้งนี้กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยการใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วยเร่งระบายน้ำในช่วงที่น้ำทะเลลง ทำให้การระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยได้เร็วมากยิ่งขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 7 ต.ค. แม่น้ำเจ้าพระยานอกเขตคันกั้นน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องได้เอ่อท่วมชุมชนตลาดบางเตย หรือ ตลาดสามโคก บ้านเรือนประชาชน โรงเรียน วัด และโรงพยาบาล ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เฉลี่ยระดับน้ำสูง 30-60 ซม. สร้างความเดือดร้อนอย่างหนักให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว

นายชาญ พวงเพ็ชร์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า จากการรายงานข้อมูลการระบายน้ำของชลประทานจ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจ.พระนครศรีอยุธยาเพิ่มสูงขึ้นและไล่ลงมาถึงจ.ปทุมธานี ทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาย่านพื้นที่ อ.สามโคก มีระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งจากลงพื้นที่ชุมชนตลาดบางเตยพบถึงความลำบากของประชาชนที่ต้องลุยน้ำไปทำกิจวัตรประจำวันจึงได้สั่งการให้กองช่างของ อบจ.ปทุมธานี มาจัดสร้างสะพานไม้ชั่วคราวให้ชาวบ้านในชุมชนได้เดินทางเข้าออกได้สะดวก


นายชาญ กล่าวอีกว่า ทางอบจ.ปทุมธานี ไม่ได้นิ่งนอนใจได้ส่งทีมงานออกสังเกตุการณ์ พื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและให้จัดทำรายงานความคืบหน้าทุกวัน นอกจากนี้ยังเตรียมความพร้อมและเฝ้าดูคอยสังเกตุสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันยังได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน แก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อวิเคราะห์และติดตามประเมินสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิด

รองผบช.น.ฟิต จัด 16 โครงการเร่งด่วนด้านจราจร – เล็งห้ามรถเก่าเกิน 7 ปีวิ่งในกทม.แก้รถติด


 วันที่ 7 ตุลาคม 2556

พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กำกับดูแลงานด้านการจราจร กล่าวถึงแผนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาระบบการจราจร ในกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2557 โดยระบุว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้วางยุทธศาสตร์ 11 ยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรอย่างเร่งด่วนอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจัดทำโครงการเร่งด่วนไว้ทั้งหมด 16 โครงการ ดังนี้

1. โครงการถวายความปลอดภัยและการดำเนินการตามโครงการพระราชดำริ

2. โครงการหมอจราจร

3. โครงการสัมมนาแก้ไขปัญหารถติด

4. โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในถนนสายหลัก

5. โครงการแก้ไขปัญหาจราจรกรณีน้ำท่วมขังและอุทกภัย

6. โครงการบังคับใช้กฎหมายโดยการเคลื่อนย้ายรถที่จอดผิดกฎหมายออกจากผิวจราจร

7. โครงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายจราจร และการออกระเบียบเปรียบเทียบปรับอิเล็คทรอนิกส์

8. โครงการจัดตั้งศาลจราจร

9. โครงการปรับปรุงกายภาพและพัฒนาเทคโนโลยีศูนย์ควบคุมและการสั่งการจราจร

10. โครงการลดอุบัติเหตุ

11. โครงการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการจราจร

12. โครงการประชาสัมพันธ์งานจราจร

13. โครงการจัดระบบการบริหารสั่งงานจราจรและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล

14. โครงการผู้พิทักษ์ถนน

15. โครงการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนในงานจราจร

16. โครงการเหลื่อมเวลาการทำงานและสถานศึกษา


ซึ่งหลังจากนี้จะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเสนอให้ผู้บังคับบัญชาอนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ พล.ต.ต.อดุลย์ ระบุถึงกรณีการเตรียมนำรถยกมาใช้นั้นจะเป็นการใช้ข้อกฎหมายเดิมคือความผิดพ.ร.บ.จราจรมาตรา 57และ 59 ห้ามจอดในที่ห้ามฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมทั้งเสียค่าเคลื่อนย้าย 500 บาท และค่าดูแลอีกวันละ 200 บาท โดยเปลี่ยนวิธีการบังคับใช้จากการบังคับล้อเป็นการใช้รถยก และจะบังคับใช้เฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น

นอกจากนี้เตรียมการเสนอโครงการจำกัดอายุการใช้งานรถยนต์ต่อรัฐบาล อาทิ รถอายุเกิน 7-10 ปี ห้ามนำเข้ามาวิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งหากนำเข้ามาวิ่งจะต้องเสียภาษีเทียบเท่ารถใหม่ โดยโครงการนี้ได้นำแนวคิดมาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร

 ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร อาทิ การเสียค่าปรับกรณีทำการจราจรติดขัดนาทีละ 100 บาท พล.ต.ต.อดุลย์ เปิดเผยว่า สำหรับแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งคาดว่าในอนาคตอาจจะมีการนำมาหารือและบังคับใช้ได้ในอนาคต

ข่าวจับยาบ้า?5 ข้อ ที่ไม่อยากให้สื่อนำเสนอ และตำรวจก็ช่วยเปลี่ยนแปลงด้วย!

Time Chuastapanasiri
ข่าวจับยาบ้า?
5 ข้อ ที่ไม่อยากให้สื่อนำเสนอ และตำรวจก็ช่วยเปลี่ยนแปลงด้วย!

1. มูลค่ายาบ้า - กี่ล้านบาท ไม่ต้องนำเสนอ
มันยิ่งทำให้คนอยากค้ายาเพราะโลภ/หวังรวยทางลัด
ยิ่งมีมูลค่ามากเท่าไร ตำรวจยิ่งคดว่าได้หน้า ได้ผลงาน
แต่ในผลกลับกัน คนก็ยิ่งดูว่าเงินยิ่งมาก ยิงไปสร้างความโลก

ยาเสพติดไม่ควรมีมูลค่า มันคือขยะทางสังคม อย่าแปลงเป็นเงินให้คนยิ่งโลภ

2. วิธีการซื้อขาย - วิธีการจับกุม
ไม่ต้องไปชี้โพรงให้กระรอก หรือทำให้ตำรวจภาคสนามทำงานยากยิ่งขึ้น
คิดบ้างว่าต่อไป โจรยิ่งรู้วิธีการทำงานของตำรวจ ว่าตรวจค้นตรวจจับอย่างไร
ไม่ต้องให้คนดูรู้ทุกเรื่องหรอกนะ


3. ไม่ต้องเอาเม็ดยามาเรียงคำว่า “ยาบ้า”
เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่าไหม? หรือ บอกว่าโทษติดคุกอย่างไรดีกว่า
ของกลาง ไม่ต้องเอามาตั้งโชว์ว่าจำได้มา
บอกแค่จำนวนเม็ด จำนวนกิโล ไม่ต้องเอามาโชว์ในการแถลงข่าวเพื่อเอาผลงานเอาหน้าหรอก

4. อย่านำผู้ต้องหามานั่งแถลงข่าว
ระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำลายกระบวนการยุติธรรม
ถ้าคิดว่าจะให้ผู้ต้องหาได้อับอาย ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนอื่น ก็แล้้วทำไมยังมีข่าวจับยาบ้าทุกๆ วันผ่านหน้าสื่อล่ะ?

5. สื่อนำเสนอ ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย
อย่าคิดว่าตำรวจแถลงข่าวแล้วจบ - อาจมีเงื่อนงำอื่นด้วยก็ได้!
หลายๆ ครั้งอาจมีผู้บริสุทธิ์ปะปนอยู่ในนั้นด้วย ข่าวตำรวจยัดยาผู้ต้องหาเยอะแยะไป
ตรวจสอบข้อเท็จจริง อย่าคิดว่าข่าวจบแล้ว เพราะรายงานแค่นั้น ผู้ชม ผู้อ่านก็จะคิดว่า กระบวนการยุติธรรมจบไปแล้วด้วย


ที่ประชุม กก.บห.ปชป.อัด "จ้อน" ปมทวิต หลังถกนานกว่า 4 ชม.มีมติเพิ่มอำนาจ "มาร์ค" เด็ดขาดขึ้น

วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 20:45:06 น.

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 7 ตุลาคม ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อพิจารณาการปฏิรูปโครงสร้างพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรค เป็นประธาน มีกรรมการบริหารเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ขาดเพียงนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง และนายนราพัฒน์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร โดยใช้เวลาในการประชุมนาน 4
ชั่วโมงกว่า

จากนั้นเวลา 18.45 น. นายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานคณะทำงานปรับโครงสร้างการปฏิรูปพรรค แถลงว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนการปฏิรูปปรับโครงสร้างพรรค โดยมีการปรับแก้บางอย่าง เช่นจากเดิมคณะทำงานเสนอให้เปลี่ยนสภาที่ปรึกษาพรรค มาเป็นคณะกรรมการพรรคเป็นประธานพรรค มีอดีตเลขาธิการพรรค อดีตหัวหน้าพรรค และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นคณะกรรมการ แต่ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคครั้งนี้ มีมติกลับไปให้มีสภาที่ปรึกษาพรรคเหมือนเดิม เพราะกลัวจะเกิดการซ้ำซ้อน และทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าพรรคมีคณะกรรมการบริหาร 2 ชุด

นอกจากนี้ ยังมีการปรับจำนวนคณะกรรมการบริหารพรรค จากเดิมที่มี 19 คน แต่คณะทำงานเสนอให้มี 15 คน
              
เมื่อถามว่าสิ่งที่เสนอไปมีการพิจารณาเทียบกับพิมพ์เขียวของนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคดูแลพื้นที่ภาคกลางหรือไม่ นายอัศวิน กล่าวว่า ตอนที่นายอลงกรณ์ เสนอมานั้น ได้เสนอมายังคณะทำงานจัดทำโครงสร้างอยู่แล้ว ซึ่งเราพิจารณาไปตั้งแต่ต้น และวันนี้นายอลงกรณ์ ก็เห็นด้วยกับการปรับเปลี่ยนเกือบทั้งหมด ส่วนรองหัวหน้าพรรค ที่เป็นโควต้าให้หัวหน้าพรรคแต่งตั้งนั้น ได้เพิ่มจากเดิม 3 คน เป็น 5 คน ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรค ยังคงให้หัวหน้าพรรคเป็นนคนเสนอ ข้อสรุปครั้งนี้ถือว่าที่ประชุมอนุมัติให้แก้ข้อบังคับพรรค โดยจะนำข้อสรุปเหล่านี้แจ้งให้ที่ประชุมส.ส.รับทราบในสัปดาห์หน้า และคณะกรรมการบริหารพรรคจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญอีกครั้งเพื่ออนุมัติข้อบังคับพรรคใหม่

ส่วนปัญหาที่นายอลงกรณ์ มักทวิตเตอร์ในเรื่องนี้นั้น นายอัศวิน กล่าวว่า มีการคุยกัน โดยกรรมการบริหารพรรคบางคนตำหนิว่านายอลงกรณ์ ไม่ควรไปโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ ทุกคนต่างพูดว่ามีอะไรก็ให้พูดกันภายในพรรค แต่ไม่ถือว่าเป็นปัญหาอะไรกัน เพราะนายอลงกรณ์ ชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าไม่มีเจตนาตำหนิใคร ซึ่งไม่มีใครติดใจสามารถปรับความเข้าใจกันได้ โดยเชื่อว่าต่อไป

นายอลงกรณ์ คงไม่ทวิตข้อความในเรื่องนี้อีกแล้ว เพราะวันนี้นายอลงกรณ์ ก็มีความสุข และรับที่จะนำไปปฏิบัติ ในการประชุมครั้งนี้ยืนยันไม่มีใครลาออกจากพรรค เพราะเข้าใจไปในทางเดียวกันหมดแล้ว และรับรองได้ว่าการเสนอปฏิรูปพรรคไม่ใช่เกมเปลี่ยนหัวหน้าพรรค ตอนนี้ทุกคนแฮปปี้ พอใจที่จะให้นายอภิสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค
               
เมื่อถามว่าข้อสรุปที่ออกมาดูเหมือนไม่แตกต่างไปจากเดิมจะทำให้ชนะการเลือกตั้งได้อย่างไร นายอัศวิน กล่าวว่า ที่แตกต่างคือเรามีประธานเขตพื้นที่ในการเข้าไปรับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ ส่วนนโยบายจะอยู่ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ คณะกรรมการกฎหมายและสำนักงานด้านต่างๆที่จะทำงานเป็นสต๊าฟของพรรค ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ชัดเจน ต่อไปนี้ก็จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น
               
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ปรับเปลี่ยนข้อเสนอบางประการที่คณะทำงานเสนอมา แต่ก็เป็นไปตามข้อเสนอในการออกแบบให้หัวหน้าพรรคและผู้นำพรรคมีบทบาทในการติดตามและนำพรรคอย่างเด็ดขาดมากขึ้น มั่นใจว่าจะทำให้พื้นที่ที่พรรคไม่มีส.ส.หรือในพื้นที่ที่ไม่เข้มแข็งสามารถทำงานในแบบรวมศูนย์มากขึ้น ตอบโจทย์การชนะการเลือกตั้ง สามารถเพิ่มจำนวนส.ส.ในภาคอีสานและภาคกลางได้มากขึ้น เพราะเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมากขึ้น จึงถือว่าผลการประชุมครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจ และจะมีการประชุมกรรมการบริหารพรรคอีกครั้งในสัปดาห์หน้าเพื่อพิจารณาการปฏิรูปการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร ทั้งนี้ในช่วงแรกของการประชุมได้มีการปรับความเข่าใจสนทนาธรรม ในประเด็นที่ตนโพสต์ข้อความทวิตเตอร์ ซึ่งตนก็ยืนยันไปว่าการทวิตเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดพรรคให้กว้างขึ้น

เปิดประวัติ “เปเล่ดำ” แกนนำโจรใต้ โชกโชนคร่าชีวิตบริสุทธิ์กว่า 10 ชีวิต

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์6 ตุลาคม 2556 12:41 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น




ยะลา - เผยประวัติ “อับดุรอฮิง ดาอีซอ” หรือ “เปเล่ดำ” แกนนำระดับปฏิบัติการที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มีประวัติก่อเหตุอย่างโชกโชน คร่าชีวิตบริสุทธิ์แล้วหลายราย 
      
       จากกรณีเจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลังปิดล้อมตรวจค้นบ้านเป้าหมายในพื้นที่ ม.1 บ้านสะแนะ ต.เรียง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ทำให้มีการปะทะกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ผลทำให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย ได้รับบาดเจ็บ 3 นาย และฝ่ายกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 4 ราย 1 ใน 4 ที่เสียชีวิตคือนายอับดุลรอฮิง ดาอีซอ หรืออุสตาซรอฮิง อาซ่อง หรือฉายาเปเล่ดำ เป็นที่ต้องการตัวของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากมีประวัติก่อเหตุอย่างโชกโชน นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยอีก 7 คน
      
       ความคืบหน้าวันนี้ (6 ต.ค.) สำหรับประวัติ นายอับดุลรอฮิง ดาอีซอ อยู่บ้านเลขที่ 58/1 บ้านแย๊ะ ม.2 ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา มีพฤติกรรมเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงระดับแกนนำปฏิบัติการ มีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองกำลังติดอาวุธระดับปฏิบัติการ มีฉายาว่า เปเล่ดำ อยู่ในกลุ่มของ นายซอพวัน สามะ มือประกอบระเบิดในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา เคยเป็นอุสตาซ โรงเรียนตาดีกา ที่บ้านพอแม็ง เป็นครูฝึกทางทหารให้แก่สมาชิกแนวร่วมในเครือข่าย เป็นมือปืนร่วมกับนายอับดุลเลาะ ดาอีซอ น้องชาย ซึ่งเสียชีวิตแล้ว
      
       หน่วยงานด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รายงานพฤติกรรมของนายอับดุรอฮิง ดาอีซอ หรือเปเล่ดำ ระบุว่า ที่ผ่านมา นายอับดูลรอฮิง ดาอีซอ ก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 สังกัด ตชด.ที่ 44 ค่ายพระเจ้าตากสิน เสียชีวิต 2 นาย ที่ตลาดนัดบ้านบาลอ ม.2 ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา เมื่อ 12 ธันวาคม 2551 ซุ่มยิงเข้าไปในบ้านเลขที่ 94 ม.1 ต.อาซ่อง อ.รามัน ทำให้ราษฎรเสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 3 คน เนื่องจากเป็นการแก้แค้นให้แก่สมาชิกกลุ่มที่ถูกนายยะโก๊ะ ยาโง๊ะ ลูกจ้างโครงการ 4,500 ชุดรักษาความปลอดภัยครูโรงเรียนบ้านอูเปาะ ยิงตอบโต้ขณะถูกลอบยิงของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ทำให้กลุ่มสมาชิกได้รับบาดเจ็บสาหัส จำนวน 3 คน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551
      
       นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่า นายอับดุลรอฮิง ยังเคยลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิต 5 นาย บนถนนวังพญา-ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา เคยลอบยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รือเสาะ เสียชีวิต 4 นาย เหตุเกิดบนถนนสายรือเสาะ-ศรีสาคร บริเวณหน้าโรงเรียนอนุบาลรือเสาะ และล่าสุด นายอับดุลรอฮิง ดาอีซอ พร้อมพวก ได้ร่วมกันก่อเหตุซุ่มยิงโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจชุด EOD ขณะกลับจากปฏิบัติหน้าที่เก็บกู้ระเบิดในเขตเทศบาลตำบลรือเสาะ เหตุเกิดบนเขาบ้านยือลาแป ต.สุวารี อ.รือเสาะ รอยต่อจ๊ะกว๊ะ-บ้านปาลูกาสือนอ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ทำให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 3 นาย ชาวบ้านถูกลูกหลงเสียชีวิต 1 ราย ซึ่งเหตุการณ์ล่าสุด มีการบันทึกภาพแล้วเปิดเผยผ่านยูทิวบ์ประกาศจะทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ
      
       สำหรับ นายอุสมาน เด็งสาแม หน่วยงานด้านความมั่นคงระบุว่า เป็นผู้ใช้อาวุธปืนร่วมกับพวกยิง ด.ต.อับดุลการิม ปะตะลู เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.จ๊ะกว๊ะ อ.รามัน เสียชีวิตภายในมัสยิด ที่ ต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา ขณะทำพิธีละหมาดในเดือนรอมฎอน

7-8-9ต.ค.ดวงเมืองแตก ตามคำทำนาย"ฟองสนาน"

ปูมโหร......7-8-9ตุลาคม2556 วันตัดสินใครจะอยู่จะไปในบ้านเมือง หลังจากนั้นจะตามมาด้วยประกาศผลสรุปตามชะตากรรมให้ทราบตามมาเป็นระยะๆ...อย่างตื่นเต้นเร้าใจ

อธิบาย......เพราะเป็นระยะที่พระเสาร์กาลกิณีชาติดวงเมืองเข้าใกล้ชิดเป็นดวงเดียวกันมีอิทธิพลสูงสุดระรานสร้างการเปลี่ยนแปลงและโทษทุกข์ให้ดวงเมืองก่อนที่จะคอนเวร์สต่างคนต่างแยกกัน

ลดอิทธิพลลง ระยะนี้จึงเป็นวันตัดสินสถานการณ์สำคัญในบ้านเมืองแล้ว รอดูผลสรุปเป็นระยะๆที่จะตามมา

เปรียบเทียบคือ

1...ตั้งแต่ 16 กันยายน 2556 เป็นต้นมา เสาร์-ราหูเริ่มเข้าใกล้กันสามองศา(แต่คนละราศีกับครั้งนี้)เปรียบเหมือนช่วงกองทัพไทยยกไปตั้งรับข้าศึกที่ลาดหญ้า/เปรียบเหมือนความขัดแย้งของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณกับจปร.5ขึ้นสู่กระแสสูงหลังจากกรณีรถโมบาย-ตั้งคุณเสรีพิศุทธิ์เป็นผู้การกองปราบ

2.ระยะวันที่7-8-9 ตุลา 2556 พระเสาร์-ราหูมีอิทธิพลสูงสุดก่อนแยกจากกัน เหมือนคราวสงครามเก้าทัพ ที่ไทยมีกำลังน้อยกว่ามากแถมยังขยาดพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีฯอยู่ไม่อยากสู้แล้ว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงทำครก-ใหญ่ตั้งหน้าค่ายขู่เพื่อตำพวกทหารไทยหนีทัพพม่า -เอาไม้ทำลูกปืนใหญ่ยิงใส่ค่ายพม่า -ทำสงครามกองโจรโดยขุนเณร -ให้ทหารแอบออกจากค่ายกลางคืนกลับเข้ากลางวันให้ข้าศึกเห็นว่าไทยมีกำลังคนเสริมมากฯลฯ ....

ช่วงนี้จึงเป็นช่วงตัดสินสถานการณ์แล้วด้วยฝีมือรอแตกหักหรือประกาศผลเท่านั้น

ดวงเมืองตอนนี้และดวงดาวทำมุมคล้ายกันเหมือนกันเหมือนสงครามเก้าทัพคือจะมีเหตุการณ์พลิกผัน...พวกกำลังน้อยอย่างกองทัพไทยต้องสู้เพื่อเอาตัวและบ้านเมืองรอด เพราะพระอังคารตัวแทน

ดวงเมืองจร ถึงพระราหูเดิม ....ตำราบอกมีอาการราชสีห์จะแพ้หมู ....คือฝูงหมูไปเจอฝูงราชสีห์ รู้ว่าจะถูกจับกินแน่เลยท้าราชสีห์รบ ในอีก3วัน7วัน ราชสีห์ย่ามใจและขำเลยรับคำท้า พวกฝูงหมูรอดตายชั่วคราวแล้วพากันไปคลุกปลักขี้3-7วัน .....พอได้เวลานัดกันที่ชายป่าฝูงหมูชาร์ทเข้าใส่ ฝูงราชสีห์วิ่งหนีกระเจิง

ช่วงนี้ที่ลาดหญ้าสถานการณ์ศึกไม่น่าไว้วางใจถึงขนาดล้นเกล้าฯรัชกาลที่1ทรงนำทัพจากกรุงเทพฯไปที่ลาดหญ้าเองเลยเมื่อ 8มกราคม 2328 กรมพระราชวังบวรฯขอให้ทรงมั่นใจและเสด็จกลับไปช่วยศึกด้านอื่น

ถ้าเป็นช่วงน้าชาติ เป็นช่วงที่ผลสรุปของรุ่น5 ออกมาแล้วว่าจะยึดอำนาจ โดยฟางเส้นสุดท้ายคือการแต่งตั้งพลเอกอาทิตย์กำลังเอก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ20 กุมภาพันธ์ 2534

3..ระยะหลัง7-8-9 ตุลาคม 2556-25ตุลาคม 2556-สิ้นปี2556 เป็นช่วงประกาศผล

เปรียบเทียบคือ

หลังจากนั้นข้าศึกอ่อนแอเสียขวัญเรื่อยๆ วันที่17 กุมภาพันธ์ 2328 ค่ายพม่าที่ลาดหญ้าถูกตีแตก กระเจิง

ถ้าเทียบกับช่วงนี้จะเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนหลังจาก7-8-9ตุลา ก็ตกประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน2556

ตามด้วยไทยชนะศึกถลางมีวีรสตรีเกิดขึ้นสองคน-ชนะศึกที่ใต้นครศรีฯ

ตามด้วยพม่าแพ้ทางดวงเมือง.......... เกรงวุ่นวายภายในยกทัพกลับ

เห็นไหมเสาร์-ราหูมากวนเมืองชั่วครั้งชั่วคราว ดวงเมืองเดิมเราเข้มแข็งเสียอย่างยังไงก็รอด55555......เมื่อถึงเวลา เก้าทัพยงยับย่อย

เปรียบเทียบสมัยนายกฯชาติชายหลังจปร.5วีนรัฐบาลมานาน วันที่23 กุมภาพันธ์2534ก็ยึดอำนาจ

แต่คนยึดก็รักษาอำนาจไม่ได้ เกิดพฤษภาทมิฬ 2535

แล้วไทยก็เข้าสู่ยุคใหม่ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง (เข้าสู่ยุคใหม่ทางการเมือง ) ได้ไอทีวี.

ลงทุนทำเป็นตารางเลยน่ะเนี่ย แต่ไม่คิดจะออกพ๊อตเก็ตบุ๊คอีกหรอกน่ะ..แค่ช่วยๆอ่านและคิดตามเท่านั้นก็ดีใจมักๆๆๆ

และช่วยๆแชร์กันให้คนไทยอ่านมีกำลังใจรวมเป็นหนึ่งเพื่อเอาชนะดวงเมืองแตกคราวนี้ด้วย....ขอบพระคุณ

ที่มา : เฟสบุ๊ค ฟองสนาน จามรจันทร์

อาชีพแปลก! จ้างมานั่งตบ ชั่วโมงละ 250 บาท

http://www.emaginfo.com/wp-content/uploads/2013/10/Screen-shot-2013-10-29-at-9.19.02-AM.pngนายมานีช เซติ โปรแกรมเมอร์หนุ่มในนครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกาเป็นคนจ้าง และคาร่าเป็นมือตบที่ได้ค่าจ้างตบชั่วโมงละ 5 ปอนด์ (ราว 250 บาท)!!!

ทั้งนี้ นายเซติเล่าว่า ด้วยลักษณะงานของเขาที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ สามารถทำงาน
ตามลำพัง โดยไม่ต้องมีใครมาคอยคุม ทำให้เขาทำงานอย่างอิสระ จนเริ่มรู้สึกว่า ที่ผ่านมาเขาทำงานช้า
และไม่ค่อยได้งานแต่ละสัปดาห์เขาปล่อยเวลางานเสียไปถึง 19 ชั่วโมง เพราะมัวแต่ไปเสียเวลาเข้า facebook
ดังนั้น เซติ จึงตัดสินใจลงประกาศในเว็บ Craigslist หาคนที่จะมาคอยนั่งจับตาดูพฤติกรรมของเขา และคอยตบเตือน
เมื่อเขาเข้าเฟซบุ๊ก หรือมัวแต่แชตในเวลางานแล้วก็ได้ คาร่า สมัครมาทำงานนี้ ที่ต้องตามประกบติดกับเซติ ราวกับเลขาฯส่วนตัว
ซึ่งโปรแกรมเมอร์หนุ่ม บอกว่า ตั้งแต่จ้างคาร่ามาเขาทำงานได้มากขึ้นถึง 4 เท่าแน่ะ!!! แต่โดนตบไปกี่แปะไม่รู้นะ?
หายากเนอะ ลูกน้องที่มีสำนึกดี อย่างนี้ต้องลุ้นว่า จะมีเจ้านายอยากตบ(รางวัล)ให้บ้างมั้ยเนี่ย!!!
- See more at: http://www.emaginfo.com/?p=54406#sthash.PhWmNtk6.dpuf

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออก ภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา

"ฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออก ภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย" 
ฉบับที่ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 07 ตุลาคม 2556


หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประจวบคีรีขันธ์ คาดว่าจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามันตอนบนในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนยังมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก
ในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย

สำหรับ คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กที่มีขนาดความยาวน้อยกว่า 10 เมตร หรือ 5 วา ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 7-9 ตุลาคม 2556

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 7-10 ตุลาคม 2556 ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลงและมีอากาศเย็นในตอนเช้



ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 11.00 น.

(ลงชื่อ) วรพัฒน์ ทิวถนอม

(นายวรพัฒน์ ทิวถนอม)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

เพจสายตรงตีข่าว "อลงกรณ์" เปลือยธาตุแท้ ปฏิรูปพรรค

เพจสายตรงตีข่าวอลงกรณ์ เปลือยธาตุแท้ ปฏิรูปพรรค นำไปสู่การเปลี่ยนผู้บริหาร ไม่การันตี อภิสิทธิ์ เหมาะสมเป็นหัวหน้าต่อหรือไม่ อ้างที่ประชุมใหญ่ตัดสินใจ ไม่ยึดตัวบุคคล ขู่ กก.บห.ไม่เห็นตาม เดินเกมรณรงค์สู้ต่อ ยันพรรคไม่แตก ซ้ำร้อย 10 มกรา ปัด ตอบ ลาออกพร้อมเลขาพรรค

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ภาคกลาง กล่าวถึงกรณีที่ทวิตเตอร์เกี่ยวกับการปฏิรูปพรรคว่าจะเป็นการต่อสู้ยกสุดท้ายของตนเองและนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ว่า หลังจากกรรมการบริหารพรรครับหลักการแล้ว ก็จะประชุมครั้งที่สองเพราะถึงเวลาปฏิรูปพรรคไม่มีเวลาซื้ออีกต่อไป จะเอาปฏิรูปหรือไม่ก็ให้ชัดเจนออกมา ทั้งนี้ข้อตกลงที่หารือกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ตามขั้นตอนที่หารือตามระบบจนเมื่อมีความเห็นชอบข้อบังคับใหม่เข้าที่ประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี ซึ่งกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบันต้องลาออกและมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

เมื่อถามว่า การปฏิรูปที่ต้องการคือการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคหรือไม่ นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ไม่เคยพูดถึงการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคแต่ว่าไม่อยากให้ยึดติดกับบุคคล แต่ต้องปฏิรูปพรรคเพื่อให้ได้รับชัยชนะ และไม่ขอตอบว่านายอภิสิทธิ์ ยังมีความเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่ เพราะไปไกลเกินไป เราไม่เคยพูดถึงตัวบุคคล หากสร้างองค์กรให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพก้าวหน้า ได้ใครไปใครมาไม่สำคัญ อย่าติดยึดเรื่องตัวบุคคล โดยทั้งหมดอยู่ที่ที่ประชุมใหญ่ของพรรคจะตัดสินใจ ที่ผ่านมาการปฏิรูปไม่พูดถึงตัวบุคคลไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า หรือเลขาให้เป็นการตัดสินของสมาชิกพรรคทั้งหมด

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า การปฏิรูปจะทำให้พรรคกลับมาเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ทั้งด้านโครงสร้าง ข้อบังคับพรรค วันนี้เป็นการประชุมกรรมการบริหารพรรคที่ไม่ใช่พิจารณาแค่ร่างข้อบังคับกับโครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องหาข้อสรุปแนวทางการบริหารจัดการพรรคเพื่อให้เป็นไปตามกรอบที่ตกลงกันไว้ คือ ปฏิรูปโดยองค์รวมทั้งหมด

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้เคยบอกว่าจะยอมรับมติกรรมการบริหารพรรค เหตุใดจึงมีการข่มขู่ว่าจะต่อสู้เป็นยกสุดท้ายหมายความว่าจะลาออกหรือไม่ นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ตนไม่ได้ข่มขู่ เพียงแต่ว่าได้อธิบายย้อนหลังว่าเคยมีเหตุการณ์ความเห็นต่างที่ทำให้นายเฉลิมชัย คิดจะลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค ไม่ใช่ความขัดแย้งเรื่องการปฏิรูป และตนจะไม่เอาความต้องการของตัวเองเป็นที่ตั้ง แต่ต้องบริหารความเห็นที่แตกต่างโดยไม่แตกแยก

อย่างไรก็ตามนายอลงกรณ์ไม่ยอมพูดให้ชัดเจนว่าจะลาออกจากกรรมการบริหารพรรคหรือ ส.ส.พรรคพร้อมกับนายเฉลิมชัย ตามที่มีการทวิตขู่หรือไม่ โดยอ้างว่า ไม่เคยพูดถึงเรื่องลาออกสื่อตีความกันไปเอง ถ้าผลการประชุมไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูปกลุ่มส.ส.ปฏิรูปจะดำเนินการให้สมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยนำเสนอแนวทางปฏิรูปผ่านสาขา ส.ส. อย่าคิดว่าถ้าไม่เห็นด้วยแล้วจะลาออกอยู่มา 22 ปี มีหน้าที่ทำให้พรรคกลับมาชนะ เพราะการบริหารที่มาไม่ประสบความสำเร็จ แม้รัฐบาลผิดพลาดเราก็ไม่กระเตื้องขึ้น ตนในฐานะรองหัวหน้าพรรคจึงคิดว่าต้องปฏิรูปให้ดีขึ้นไม่ใช่เพื่อให้เกิดความแตกแยก เราต้องอดทนในฐานะสถาบันการเมืองความแตกต่างไม่ใช่แตกแยก เพราะการเสนอความเห็นแตกต่างหากกรรมการบริหารพรรคไม่เห็นด้วยพวกตนก็จะประชุมกลุ่มส.ส.ปฏิรูปซึ่งมีทุกภาคไม่ใช่แค่ภาคกลางเท่านั้น และตนเห็นว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูปพรรคเพื่อดุลอำนาจกับรัฐบาล ในระบบสองพรรคการเมือง แต่ถ้าอ่อนแอจนเสียงในสภาต่างกันมากขึ้นจะเป็นผลเสียมากกว่า

“ไม่อยากให้นำเรื่องนี้ไปเทียบกับกรณี 10 มกรา เพราะเรามีบทเรียนมาแล้ว พรรคจะต้องเข้มแข็งไปสู่ความเป็นเอกภาพบริหารความแตกต่างให้ได้อย่าเอามาเปรียบเทียบกัน และการทวิตเตอร์ของผมอย่าใช้คำว่าขู่ เพราะเราเป็นระบบปิดมานานแล้วจึงต้องเปิดให้กว้างเพื่อให้ประชาชนรับทราบ มีแค่คนบางกลุ่มไม่เห็นด้วยเท่านั้น ส่วนถ้าการปฏิรูปไม่ได้เป็นไปตามที่ต้องการจะลาออกหรือไม่นั้นยังไม่ขอตอบอย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้” นายอลงกรณ์ กล่าว

ข้อมูลจาก : เพจสายตรงภาคสนาม

ระพี สาคริก:ไทยรัฐ

ไทยรัฐ

เมื่อพูดถึงไทยรัฐ ใครๆก็รู้จัก แต่จะรู้จักจริงหรือเปล่าก็ต้องมองกันให้ลึก

คุณติ๊กครับ ผมขอบคุณที่ติดต่อมา ผมคิดว่าตัวเองจำได้ทุกคน

ในวิถีทางของไทยรัฐมีหลายคนที่เคยสัมพันธ์กันกับชีวิตผม ท่านเหล่านั้นได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว

ผมพูดถึงท่านมาจนถึงทุกวันนี้

ท่านแรกก็คือคุณประยูร จรรณยาวงศ์ ท่านเป็นนักเขียนที่ได้รับรางวัลแม็กไซไซ

ช่วงนั้นผมเริ่มทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ก่อนหน้านั้นผมเป็นคนแรกของนักวิชาการที่ถูกชวนให้ไปออกโทรทัศน์ช่อง 4 ที่บางขุนพรหม

ปีนั้นเป็นปีแรกที่เมืองไทยมีโทรทัศน์ คือปี พ.ศ.2498

แต่ก่อนเราก็ไม่เคยมีโทรทัศน์ดู ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2495 กรมประชาสัมพันธ์ได้จัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดขึ้นมาก่อน แต่ยังไม่มีสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ คงเริ่มต้นจากการจัดตั้งสถานีวิทยุ

กระจายสียงซึ่งใช้ชื่อว่าบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด

บริษัทที่ตั้งขึ้นมาก่อนนี้ มีคุณประสงค์ หงส์สนัน ซึ่งแต่เดิมดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ คุณประสงค์ หงส์สนัน มีภรรยาชื่อคุณถนอน หงส์สนัน

บังเอิญผมใช้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นสื่อสร้างคนแทบจะทุกด้าน คุณถนอนกับเพื่อนอีกสองคนจึงพากันมาเรียนวิชากล้วยไม้จากผม

และในช่วงนั้นผมเองก็เพิ่งเริ่มต้นงานกล้วยไม้ใหม่ๆ

ผมต้องไม้เรียวอยู่ในมือเพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงทั้งสองด้าน

ด้านหนึ่งคือด้านราชการ เพราะด้านราชการก็จ้องที่จะทำร้ายผม ส่วนด้านประชาชนนั้นเขาศรัทธาผมจึงไม่ต้องใช้ไม้เรียวแต่ใช้ไม้อีกอันหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า “ศรัทธาบารมี”

ผมเป็นเด็กดื้อมากๆ ทั้งๆที่ไม่เคยเรียนเรื่องกล้วยไม้มาก่อน นอกจากนั้นขืนทำเรื่องกล้วยไม้ ราชการก็จ้องที่จะเล่นงานผมด้วย

ผมมีนิสัยคล้ายท่านพุทธทาสภิกขุ เพราะตัวผมเองนอกจากเป็นเด็กดื้อแล้วก็ชอบทำในสิ่งที่สังคมเขาจ้องจะกล่าวร้ายอยู่ตลอด

ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่เคยเรียนกล้วยไม้มาก่อน แต่แอบทำอยู่หลังบ้านแล้วมีการฝึกอบรมประชาชนเริ่มต้นจากรุ่นเล็กๆไปก่อน

ที่ว่ารุ่นเล็กนั้นหาใช่หมายความว่าเป็นรุ่นที่มีอายุน้อย แต่หมายความถึงมีจำนวนน้อย เริ่มต้นจาก 35 คนเท่านั้น

บังเอิญความเรื่องนี้รู้ถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นมือขวาของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ ท่านนั้นก็คือพลเอกสุรจิต จารุเศรณี

พลเอกสุรจิตเป็นคนที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย ท่านปลูกบ้านไม้หลังเล็กๆ 2 ชั้นใต้ถุนโปร่งอยู่ตรงบริเวณท้องนาใกล้ๆกับจตุจักรเดี๋ยวนี้ซึ่งแต่ก่อนเป็นท้องนา ผมชอบไปคุยกับท่านเพราะท่านชอบกล้วยไม้

ด้วย เราก็เลยทอดสะพานเข้าไปหากันจนกระทั่งสนิทกัน

พอถึงปี พ.ศ.2498 ระหว่างที่สถานีวิทยุกระจายเสียงของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดเปิดออกอากาศอยู่ที่ชั้น 4 ของอาคารราชดำเนิน 4 แยกคอกวัว

คุณสุรจิตจึงเสนอให้ผมไปใช้ห้องส่งกระจายเสียงที่นั่นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสั่งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทซึ่งประจำการอยู่ตรงนั้นให้ความสะดวกทุกอย่าง

ผมเปิดอบรมกล้วยไม้ภาคค่ำ เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น. ถึง 19.00 น. โดยเปิดวันเว้นวัน เพราะต้องการให้คนที่มารับการอบรมได้ใช้เวลาไปปรึกษาหารือสร้างงานใหม่ๆ

ผมนึกถึงวัฒนธรรมยุโรปซึ่งฝรั่งหลัง 4 โมงเย็นไปแล้วใครจะปกวนเขาไม่ได้เพราะเขาถือว่าเป็นเวลาส่วนตัว

แต่ของไทยตั้งอยู่บนวัฒนธรรมตะวันออก เรามีเวลาว่างที่จะมาเปลี่ยนให้เป็นเวลาผลิตงานใหม่ๆได้โดยไม่ต้องถือว่าพัก เพราะการทำงานอย่างมีความสุขนั้นคือการพักผ่อนอยู่แล้ว

ที่ผมว่าตัวเองมีนิสัยเหมือนท่านอาจารย์พุทธทาสก็คือ ไม่ว่าจะทำอะไร แม้แต่การพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้ ผมจะสอดกระดาษชิ้นเล็กๆเข้าไปไว้ในนั้น อีกทั้งกระดาษแผ่นนี้จะมีการสอนให้คน

รู้จักวิธีทำงานที่มีคุณธรรม จริยธรรม

บังเอิญกระดาษแผ่นนั้นมันไปตกอยู่ที่ไหนผมก็ไม่ทราบ

อยู่มาวันหนึ่งคุณสุรจิต อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ได้ให้คนมาเชิญผมไปพบที่กรมประชาสัมพันธ์และพบว่ามีคุณประสงค์ หงส์นัน นั่งอยู่ด้วย

ทีแรกผมก็ไม่ทราบว่าเรื่องอะไร ไปพบแล้วจึงเห็นกระดาษแผ่นนั้นมันอยู่ในมือคุณสุรจิต

คุณสุรจิตพูดกับผมว่าท่านอาจารย์ครับ มาออกโทรทัศน์ด้วยกันกับเราเถิดครับ เพราะผมได้อ่านข้อความในกระดาษแผ่นนั้นแล้วผมรู้สึกศรัทธา

นี่แหละเป็นเรื่องที่ทำให้ผมเริ่มต้นไปออกโทรทัศน์สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมในปี พ.ศ.2498 ซึ่งเป็นปีแรกที่สถานีโทรทัศน์แห่งนี้เปิดทำการ

คุณสุรจิตท่านขอให้ผมไปออกโทรทัศน์ทุกสัปดาห์และกำหนดไว้ด้วยว่าทุกวันพุธหลังข่าวเป็นเวลาครั้งละครึ่งชั่วโมง

ช่วงนั้นใจผมได้รับผลกระทบพอสมควร ผมกลับไปนอนบ้านแล้วคิดว่า “เราจะไปพูดอะไร คงต้องเตรียมการไปพูดให้มันยาวเข้าไว้ ประเดี๋ยวมันจะหมดกลางคัน”

ผมเคยได้ยินอาจารย์หลวงสุวรรณ วาจกกสิกิจ ท่านพูดว่า “ตอนเราเป็นนักเรียนเราถูกขอร้องให้ไปพูดหน้าชั้น เราไปเตรียมการสอนอยู่นานมากเพราะเขากำหนดให้ไปพูด 1 ชั่วโมง ประเดี๋ยวสิ่งที่เรา

เตรียมไว้มันจะหมดก่อนเวลา

ทีแรกผมก็ลำบากใจเพราะเราเคยแต่พูดหน้าชั้นเรียน ส่วนการพูดกับกล้องนั้นมันไม่ใช่ของง่าย

พอเริ่มต้นทำงานเข้าสักหน่อย ความคิดมันก็เริ่มเปลี่ยน เพราะเรามีจิตนาการทำไมไม่ใช้

ช่วงหลังๆผมพูดกับกล้องแต่ผมเกิดจินตนาการมองเห็นคนฟังผ่านกล้องโทรทัศน์มากมาย ในที่สุดเราก็ปรับใจได้ ปรากฏว่าคนฟังติดใจมากมายครับ

นี่แหละเพราะคนฟังและคนชมโทรทัศน์ติดใจผมมากมาย ผมก็เลยกลายเป็นเป้าเคลื่อนที่

คุณประยูร จรรณยาวงษ์ แกเป็นคนพูดตรงไปตรงมา บางทีก็พูดเร็วไปหน่อย เพราะยังไม่ทันศึกษาให้ชัดเจนแกก็พูด

อยู่มาวันหนึ่ง คุณหมอประหยัด ลักษณะพุกก เพื่อนผมซึ่งเป็นหมออาวุโสอยู่ในภาควิชาอายุรศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณหมอประหยัดได้มาเยี่ยมผมที่บ้านแล้วบอกว่า “คุณระพีครับ คุณประยูรเขาว่าคุณระพี บอกว่าดีแต่พูด แต่ทำไม่เป็นหรอก”

ผมไม่ว่าอะไรได้แต่ยิ้มรับ คุณเชื่อไหมว่าถัดจากเวลานั้นมานานประมาณ 3-4 ปี คุณประยูรเดินทางมาหาผมที่เกษตรแทบทุกวัน โดยเฉพาะเวลาเย็นๆมักมานั่งบนสนามหญ้าล้อมวงคุยกันเป็นประจำ

ยิ่งกว่านั้นเวลาไปงานต่างๆ ถ้ามีคุณประยูรไปด้วยแล้วเขาเชิญให้คุณประยูรพูด คุณประยูรแกไม่ยอมพูด ข้อร้องยังไงแกก็ไม่ยอม แกบอกว่าต้องให้อาจารย์ระพีพูดถึงจะได้

พอถึงเวลานี้ผมอยากจะถามว่าผมทำยังไงคุณประยูรถึงได้เคารพผม ทั้งๆที่แต่ก่อนก็พูดว่าผมว่าดีแต่พูด

มีอีกคนหนึ่งในไทยรัฐคือคุณปรีชา ทิพยเนตร ซึ่งเธอใช้นามปากกาว่า “ไวตาทิพย”

แต่ก่อนนี้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐมีคอลัมณ์ไวตาทิพยอยู่หลังปก ใครๆก็ชอบอ่านเพราะคุณไวตาทิพย์แกเป็นคนพูดตรงๆ

ยิ่งเห็นสังคมมันไม่เข้าท่าแกจะพูดโดยไม่เกรงใจใครทั้งนั้น

คุณไวตาทิพยเคยอยู่หนังสือพิมพ์สยามรัฐและเคยเป็นลูกศิษย์หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์มาก่อน

ผมเคยจดหมายวิจารณ์สังคมไปหาคุณไวตาทิพยครั้งเดียว ปรากฏว่าต่อจากนั้นไปไม่ว่าจะเขียนเรื่องอะไรส่งไปให้เธอก็นำลงพิมพ์ทั้งหมดไม่เคยขาด

จนในที่สุดทั้งผมและคุณไวตาทิพยเกิดดังขึ้นมาทั้งคู่

หลายคนคิดว่าผมกับคุณไวตาทิพยรู้จักกันสนิทสนม แต่แท้จริงแล้วเราไม่เคยเห็นหน้ากันแม้แต่ครั้งเดียว หน้าตาเราก็ไม่เคยเห็นกัน ผมเขียนจดหมายส่งไปคุณไวตาทิพยนำลงให้ทั้งหมดโดยไม่

เปลี่ยนแปลงแม้แต่คำเดียว แถมลงเชียร์ให้ด้วย

จนกระทั่งประชาชนเขาคิกว่าเราสองคนสนิทกันมาก โดยเฉพาะเรื่องการเมืองด้วยแล้ว ถ้าผมวิจารณ์ตรงๆและทุกคนมองเห็นเหตุผล คุณไวตาทิพยก็ยิ่งสนใจมากที่สุด

อยู่มาวันหนึ่งคุณประยูร จรรณยาวงศ์ เขียนจดหมายมาหาผมแล้วสรุปว่าอาจารย์ครับ เตือนอ้ายปั๋นมันหน่อย มันดื่มเหล้ามากเหลือเกิน ผมเป็นห่วง

ผมรับจดหมายจากคุณประยูรแล้วในใจก็นึกว่า “ผมจะทำยังไงดี หน้าตาคุณไวตาทิพยผมก็ไม่เคยเห็น” จากจดหมายคุณประยูรทำให้ผมรู้ว่าคุณไวตาทิพยเป็นคนเหนือ เพราะคำว่า “อ้ายนั้น” แปลว่าพี่

และ “ปั๋น” เป็นสำเนียงเหนือ ถ้าภาคกลางก็บอกว่า “ปั้น หรือ ปั่น หรือ ปัน” ได้ทั้งนั้น

นี่แหละผมเริ่มคิดว่าหน้าตาเราก็ไม่เคยเห็นกัน พูดคุยทางโทรศัพท์ก็ยังไม่เคยสักครั้งเดียว คุณประยูรจะให้ผมเตือนคุณไวตาทิพยผมจะใช้วิธีอะไร ในใจนั้นผมรู้ตลอดเวลาและเป็นห่วงคุณไวตาทิพย์

ว่าถ้าแกดื่มจัดสุขภาพจะเสียหาย

ผมจึงใช้วิธีเขียนจดหมายไปหาตามปรกติและวิจารณ์เรื่องการเมืองซึ่งค่อนข้างรุนแรงตามกระแสสังคม แต่ผมใช้ศิลปะในการเขียนโดยแทรกเอาเรื่องสุขภาพของคนทำงานหนักเข้าไปไว้ด้วย

จดหมายฉบับนั้นได้ผลครับ แต่ผลที่ได้รับจะเป็นยังไงฟังผมต่อไป

อยู่มาวันหนึ่งคืนวันนั้นเป็นเวลาประมาณ 5 ทุ่มเห็นจะได้ มีคนโทรศัพท์มาจากเชียงใหม่ พอผมรับโทรศัพท์ก็ได้ยินคำพูดที่ว่า “อาจารย์ครับ จดหมายของท่านอาจารย์แจ็คพอทแล้วครับ

ผมย้อมถามกลับไปว่าแจ็คพอทอะไร เธอก็บอกว่าแจ็คพอทเพราะคุณไวตาทิพยแกเสียชีวิตแล้วครับ และจะมีการรดน้ำศพที่วัดเสมียนนารีในวันพรุ่งนี้

วันนั้นผมออกไปทำงานต่างจังหวัด แต่รีบกลับกรุงเทพฯเพื่อไปให้ทันรดน้ำศพคุณไวตาทิพย

ไม่มีใครสังเกตหรอกครับตอนที่ผมลงไปนั่งคุกเข่าอยู่ข้างศพ สายตาก็จับจ้องอยู่ที่ใบหน้าของเธอ เพราะเกิดมาก็ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน เขียนเรื่องถึงกันก็ไม่เคยเห็นหน้า ผมใช้มือซ้ายจับมือของ

เธอไว้หลังจากนั้นจึงค่อยๆรินน้ำอบลงในมือ

ผมนั่งพิจารณาอยู่ตรงนั้นนานพอสมควร ผมจึงลุกขึ้นจากตรงนั้น พอถึงปากประตูก็พบพยาบาลคนหนึ่งยืนดักอยู่ตรงนั้น

เธอพูดกับผมว่า “ท่านอาจารย์คะ คุณปรีชา เขาสั่งไว้ก่อนเข้าห้องผ่าตัดว่า คุณช่วยเรียนท่านอาจารย์ระพีด้วยว่าผมขอฝากกราบขอบพระคุณอย่างยิ่ง”

นี่แหละครับคือเรื่องราวระหว่างไทยรัฐกับผม

ผมกับไทยรัฐมีคนที่ผูกพันกันอยู่หลายคน สื่อทุกคนดีทั้งนั้น และผมก็ถือว่าท่านเหล่านี้คือลูกหลานของผมด้วย ผมยังมีเรื่องคุณไวตาทิพยต่ออีก เพราะอยู่มาวันหนึ่งภรรยาคุณไวตาทิพยกับลูกชายอีก

คนหนึ่งได้มาพบผมเพื่อฝากเนื้อฝากตัว ผมรู้ว่าภรรยาคุณไวตาทิพยทำงานออกร้านขายหมี่กรอบชื่อดังอยู่ที่วัดมหันต์

ช่วงนั้นหมี่กรอบวัดมหันต์เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง

สังเกตได้จากแม้แต่กระทงที่ใส่หมี่กรอบก็เป็นกระทงใบตองแห้ง

พ่อผมก็ชอบรับประทานหมี่กรอบวัดมหันต์ด้วย

อยู่มาวันหนึ่งผมเดินทางไปทำงานในภาคใต้ ขณะที่ขึ้นเครื่องบินจากสงขลากลับกรุงเทพฯ ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงทราบว่าลูกชายของคุณไวตาทิพยถูกจี้อยู่ที่กลางถนนในขณะที่ช่วงนั้น

โจรกำลังชุกชุมมาก

ด้วยความห่วงใยผมจึงติดต่อไปหาภรรยาคุณไวตาทิพแล้วถามเรื่องราวต่างๆจนเป็นที่ทราบชัดแล้วจึงติดต่อประสานกันว่าทำอย่างไรหลานชายคนนี้จึงจะอยู่อย่างปลอดภัยในขณะที่เขาต้องเดินกลับ

จากการเรียนเวลาค่ำคืน

คุณติ๊กครับ ผมจำได้ทุกคน ว่างๆมาคุยกันบ้างก็จะดีครับ

ผมเคยพูดกับทุกคนว่า “กาลเวลาไม่มีตัวตน” เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติดมันมากนัก ผมต้อนรับทุกคนแม้เวลาค่ำคืน

ขอบคุณมากครับ

บ้านระพี สาคริก พหลโยธิน 41 จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ระพี สาคริก
7 ตุลาคม 2556 — ที่ บ้านระพี สาคริก

คำอภิปราย ของ"คำนูน สิทธิสมาน"ในการอภิปราย งบประมาณ ๒๕๕๖ (๗ต.ค.๕๖)

คำอภิปราย ของ"คำนูน สิทธิสมาน"ในการอภิปราย งบประมาณ ๒๕๕๖ (๗ต.ค.๕๖)

..........

กราบเรียน ท่านประธานวุฒิสภา และท่านสมาชิกวุฒิสภา

กระผม นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ขอรายงานผลการศึกษาร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการได้รับมอบหมายจากคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจวุฒิสภาให้พิจารณาศึกษา ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาฯ ข้อ ๑๓๖ นั้น

จากการพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้ว่าคณะกรรมาธิการจะ “เห็นด้วยในหลักการ” กับการดำเนินตามโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ แต่จากการพิจารณาศึกษาในรายละเอียด คณะกรรมาธิการมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

๑. รัฐบาลควรต้องมีการศึกษาการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งจากประสบการณ์ของต่างประเทศว่าควรเป็นการลงทุนโดยภาครัฐหรือภาคเอกชน พร้อมทั้งศึกษาความคุ้มค่าทางการเงิน เศรษฐกิจ สังคม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งนี้ เพื่อให้การลงทุนดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน

๒. การใช้จ่ายเงินในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการใช้จ่าย “เงินของแผ่นดิน” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๖๙ วรรคแรก อย่างแน่นอนที่สุด

แม้ว่าทางฝ่ายรัฐบาลจะได้ชี้แจงมาโดยตลอดว่าเมื่อร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระ ทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... มาตรา ๖ กำหนดให้นำเงินที่ได้จากการกู้ไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้
โดยไม่ต้องนำ ส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เงินที่ได้รับมาจากการกู้เงินดังกล่าวไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน จึงไม่มีสถานะเป็น “เงินแผ่นดิน” ดังนั้น การใช้จ่ายเงินดังกล่าว จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙

ทั้งนี้ เป็นไปตามนัยบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๘๘๘/๒๕๕๒ เรื่อง การใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ สรุปว่า การที่มาตรา ๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้บัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินในนามรัฐบาลไทยเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินมาตรการฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง จึงทำให้เงินกู้ที่ได้รับมาจากการกู้ตามพระราชกำหนดนี้เฉพาะส่วนที่คณะรัฐมนตรีไม่ได้มีมติให้สมทบเงินคงคลังไม่เป็นเงินแผ่นดิน

ดังนั้นการใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ จึงไม่ใช่การจ่ายเงินแผ่นดินตามนัยมาตรา ๑๖๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม

แต่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๒) ก็ได้มีการระบุข้อความไว้ในตอนท้ายของบัน ทึกฉบับนี้ว่า เนื่องจากข้อหารือนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย ดังนั้น การให้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๒) ในกรณีนี้ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น แต่การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดย่อมเป็นอำ นาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะได้เคยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๑๑/๒๕๕๒ เรื่องพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่งและวรรคสอง หรือไม่ และที่ ๕/๒๕๕๕ เรื่อง พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่งและวรรคสองหรือไม่ สรุปว่า การตราพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวของ ๒ รัฐบาลต่างพรรคเป็นไปตามรัฐธรรมนูญก็ตาม

แต่ก็เป็นการวินิจฉัยแต่เฉพาะในประเด็นตามมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กล่าวคือ การตราพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจและป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น

แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า การที่พระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว บัญญัติให้มีการกู้เงินและนำเงินที่ได้รับมาจากการกู้เงินไปใช้จ่ายนั้น ถือเป็น “การจ่ายเงินแผ่นดิน” และเป็นการใช้จ่าย “เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐใดที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน” ที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙ และมาตรา ๑๗๐ หรือไม่

ดังนั้น เมื่อปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นที่ยุติแล้ว คณะกรรมาธิการฯจึงยังคงมีความเห็นว่า

คำว่า “เงินแผ่นดิน” นั้น หมายถึง เงินที่ประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของโดยส่วนรวม และเงินของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งย่อมมีสถานะเป็นเงินแผ่นดินในทันทีที่ได้รับมา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้มีการนำเงินนั้นส่งเป็นเงินคงคลังแล้วหรือไม่ก็ตาม

อันแสดงให้เห็นว่าคำว่า “เงินแผ่นดิน” ย่อมมีความหมายกว้างกว่าคำว่า “เงินคงคลัง”

ดังนั้น เงินรายได้ที่ได้รับมาจากการกู้เงินตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ย่อมมีสถานะเป็นเงินแผ่นดิน และตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙ และมาตรา ๑๗๐

และแม้จะยังไม่เคยมีการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ และ/หรือตุลาการรัฐธรรมนูญมาก่อนก็ตาม แต่จากการศึกษาของคณะกรรมาธิการ พบว่ามีร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญชัดแจ้ง

ประเด็นเกี่ยวกับการขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติถึงหลักการสำคัญในการ “จ่ายเงินแผ่นดิน” ไว้ว่า จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย ๔ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย (๒) กฎหมายว่าด้วยวิธี การงบประมาณ (๓) กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือ (๔) กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

เมื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว คณะกรรมาธิการมีความเห็น ดังนี้

(๑) ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีเนื้อหาสาระสำคัญแต่เพียงการกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเท่านั้น หากแต่มีการกำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินแผ่นดินที่ได้รับมาจากการกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้ ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์และแผนงาน และภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งการนำเงินที่ได้รับมาจากการกู้เงินดังกล่าวไปให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์และแผนงานดังกล่าว ทั้งนี้โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง (ร่างมาตรา ๕ ร่างมาตรา ๖ ร่างมาตรา ๑๒ ร่างมาตรา ๑๕ และร่างมาตรา ๑๗) ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดให้มีการกู้และนำเงินที่ได้รับมาจากการกู้เงินไปใช้จ่ายควบคู่กันไปอย่างมีนัยสำ คัญและไม่สามารถแบ่งแยกจากกันได้

ดังนั้น เมื่อร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นเพียงร่างพระราชบัญญัติทั่วไป มิได้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เป็นกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง การที่กำหนดให้มีการจ่ายเงินแผ่นดินที่ได้รับมาจากการกู้เงินดังกล่าว จึงย่อมเป็นการขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง

(๒) สำหรับข้อยกเว้นของการจ่ายเงินแผ่นดิน โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ๔ ลักษณะดังกล่าว ตามบทบัญญัติมาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติไว้ว่า เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจะจ่ายเงินแผ่นดินไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัตินั้น หมายถึง การจ่ายเงินคงคลังว่าด้วยเงินแผ่นดิน ในกรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็วตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๗ ในกรณีที่กำหนดไว้ ๕ กรณี และแม้ว่ากรณีหนึ่งในนั้นคือ

“มีกฎหมายใด ๆ ที่กระทำให้ต้องจ่ายเงินเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ และมีความจำ เป็นต้องจ่ายโดยเร็ว”

แต่ก็มิใช่กรณีตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เพราะการจ่ายเงินจำนวนสองล้านล้านบาทเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามร่างพระ ราชบัญญัตินี้นั้น มิได้เป็นกรณีจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็วในคราวเดียวหรือภายในระยะเวลาจำกัด หากแต่มีลักษณะเป็นการทยอยจ่ายเงินภายในกำหนดเวลาไม่เกินวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ (ตามร่างมาตรา ๕) ดังนั้น กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ได้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าว

(๓) คณะกรรมาธิการฯมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า เมื่อรัฐบาลไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ่าย เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาทในคราวเดียวหรือภายในเวลาจำกัดอันสั้นดังกล่าวแล้ว รัฐบาลจึงสามารถบริหารจัดการงบประมาณเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนา คมขนส่งของประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ในบัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดได้ตามวิธีการงบประมาณปกติที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้

วิธีที่หนึ่ง การตั้งงบประมาณรายจ่ายข้ามปี

ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ มาตรา ๔ บทนิยามความหมายของคำว่า“งบประมาณรายจ่ายข้ามปี” ประกอบกับมาตรา ๑๑ บัญญัติไว้ว่า งบประมาณรายจ่ายข้ามปีหมายความว่า งบประมาณรายจ่ายที่ใช้ได้เกินปีงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย และมีได้ในกรณีที่คาดว่าจะใช้งบประมาณรายจ่ายให้เสร็จทันภายในปีงบประมาณไม่ได้ รวมทั้งการตั้งงบประมาณรายจ่ายข้ามปีนี้ ต้องกำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงอาจตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ในบัญชีท้ายร่างพระราชบัญ ญัตินี้ไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด โดยการตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี เพื่อให้มีผลผูกพันไว้เบิกจ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป จนกว่าจะเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ดังกล่าวทั้ง หมด

วิธีที่สอง การตั้งงบประมาณรายจ่ายผูกพันข้ามปีและเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด

ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ มาตรา ๒๓ วรรคหนึ่งและวรรคสาม บัญญัติไว้เป็นหลักการสำคัญว่า ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระ ราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น และเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณราย จ่ายเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงบประมาณรวบรวมรายการงบประ มาณรายจ่าย ซึ่งจะต้องก่อหนี้ผูกพัน และวงเงินที่คาดว่าจะต้องก่อหนี้ผูกพันงบประ มาณรายจ่ายประจำปีต่อ ๆ ไป พร้อมทั้งจำนวนเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด เสนอให้คณะ รัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติดัง กล่าวใช้บังคับ

ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงอาจตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ในบัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปีงบประมาณหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประ มาณใด โดยการตั้งงบประมาณรายจ่ายผูกพันข้ามปีดังกล่าว เพื่อให้มีผลผูกพันไว้เบิก จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป จนกว่าจะเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ดังกล่าวทั้งหมด

อนึ่ง ในการตั้งงบประมาณรายจ่ายข้ามปีหรืองบประมาณรายจ่ายผูกพันข้ามปี และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาดเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศดังกล่าว หากมีผลทำให้ต้องขาดดุลงบประมาณรายจ่ายหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่ม เติมประจำปีงบประมาณแล้ว กระทรวงการคลังย่อมมีอำนาจกู้เงินตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ ประกอบกับพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะฯ แต่จะเป็นการกู้เงินในระบบงบประมาณตามปกติภายใต้วงเงินดังนี้

(๑) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ มาตรา ๙ ทวิ ประกอบกับพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะฯ มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง (๑) และมาตรา ๒๑ บัญญัติให้กู้เป็นเงินบาทไม่เกินวงเงิน ดังนี้

(๑.๑) ร้อยละ ๒๐ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ

(๑.๒) ร้อยละ ๘๐ ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น

(๒) การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธาร ณะฯ มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง (๒) และมาตรา ๒๒ บัญญัติให้กู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า วงเงินตามเพดานเงินกู้ดังกล่าวทั้งหมด ย่อมมีเพียง พอต่อความจำเป็นในการกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานต่าง ๆ ในบัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเป็นการทยอยจ่ายในแต่ละปีงบประมาณได้อยู่แล้ว

ประเด็นเกี่ยวกับการขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๑๗๐

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๐ บัญญัติไว้ว่า การใช้จ่าย “เงินรายได้” ของหน่วยงานของรัฐใด “ที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน” ต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังตามหมวด ๘ ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ได้แก่ มาตรา ๑๖๖ มาตรา ๑๖๗ มาตรา ๑๖๘ และมาตรา ๑๖๙ ประการสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันยังมิได้มีการตรากฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลังตามมาตรา๑๖๗ วรรคสาม ซึ่งจะมีการบัญญัติถึงหลักเกณฑ์เกี่ยว กับการจัดหารายได้ การกำหนดแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินหรือภาระทางการเงินของรัฐ และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องใช้เป็นกรอบในการจัดหารายได้ กำกับการใช้จ่ายเงินตามหลักการรักษาเสถียรภาพ พัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม ดังนั้น การจ่ายเงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐใดที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่น ดิน ซึ่งยังคงมีสถานะเป็น “เงินแผ่นดิน” อย่างหนึ่งดังกล่าวแล้วจึงต้องยึดถือและปฏิบัติตามมาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่งอย่างเคร่งครัด

เมื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศฯ แล้ว ตามร่างมาตรา ๖ กำหนดให้นำเงินที่ได้จากการกู้ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้ โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ดังนั้น เงินรายได้ที่ได้จากการกู้ดังกล่าวจึงมีสถานะเป็น “เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐใดที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย มาตรา ๑๗๐ และเป็น “เงินแผ่นดิน” อย่างหนึ่ง

การที่ร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินกู้ดังกล่าวอันเป็นการขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นการใช้จ่ายเงินดังกล่าวที่ไม่อยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๘ ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ อันเป็นการขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๑๗๐

ในประเด็นนี้ หากรัฐบาลยังคงไม่ดำเนินการแก้ไข คณะกรรมาธิการจะได้ร่วมกันยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยต่อไป

นอกจากนั้นร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... มาตรา ๕ กำหนดให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสองล้านล้านบาท จึงเป็นการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเกินกว่าวงเงินที่กฎหมายกำหนด เนื่องจาก

๑) ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๒ วรรคแรก ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

๒) ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๕ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินตราต่างประเทศมาให้หน่วยงานภาครัฐกู้ต่อเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ของส่วนราชการตามมาตรา ๒๒ วรรคแรก ต้องไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และหากกู้มาเป็นเงินบาท ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

การใช้จ่ายตามร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... จึงเป็นการแปลง “เงินแผ่นดิน” ที่ต้องนำส่งคลังเป็นเงินในงบประมาณ เพื่อให้เป็นเงินนอกงบประมาณโดยไม่ต้องนำส่งคลัง โดยมีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อหลีกเลี่ยงเพดานการกู้เงินชดเชยการขาดดุลในระบบงบประมาณแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๙ ทวิ และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๒๑ ซึ่งบัญญัติทำนองเดียวกันว่า ให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินบาทเพื่อชดเชยการขาดดุลในปีงบประมาณหนึ่งๆ ไม่เกินวงเงิน ดังต่อไปนี้

๑) ร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ

๒) ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น

และยังเป็นการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภาตลอดระยะเวลาการใช้เงินกู้ ๗ ปีงบประมาณ เพราะไม่ต้องนำเข้ามาขออนุมัติรัฐสภาทุกปีงบประมาณ แต่ขออนุมัติครั้งเดียวในครั้งเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ ในปีต่อ ๆ ไปเพียงแต่รายงานรัฐสภา “เพื่อทราบ” เท่านั้น ไม่ใช่ “เพื่อพิจารณาอนุมัติ” เหมือนร่างกระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีตามปรกติ

คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการโอนอำนาจการตรวจสอบการใช้ “เงินแผ่นดิน” ของฝ่ายนิติบัญญัติ อันเป็นสารัตถะสำคัญของระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จากฝ่ายนิติบัญญัติไปให้ฝ่ายบริหารถึง ๗ ปีงบประมาณเป็นอย่างต่ำ

ถือเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอย่างรุนแรง

๓. บัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัติที่มีเพียง ๒ หน้า แม้จะมีการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานการใช้จ่ายเงินรองรับไว้แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงภาพกว้าง ๆ ของการลงทุน เป็นเพียงหัวข้อ ประกอบกับการระบุรายละเอียดโครงการภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงการคลังได้จัดทำขึ้นนั้น ก็ไม่ได้มีสภาพบังคับทางกฎหมาย ดังนั้น รัฐบาลจึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

นอกจากนี้ โครงการลงทุนที่นำเสนอใน “เอกสารประกอบการพิจารณา” ยังขาดการศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ ความคุ้มค่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขอนามัยอย่างรอบคอบ ดังนั้น จึงมีความสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการลงทุนอย่างไม่คุ้มค่าและไม่เหมาะสม จนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะการเงินการคลังของประเทศเป็นอย่างมาก

ในการนี้ คณะกรรมาธิการมีความเป็นห่วงการใช้จ่ายเงินแผ่นดินว่าจะไม่เป็นไปตามกรอบการรักษาวินัยการเงินการคลังและไม่สอดคล้องกับศักยภาพในการหารายได้ของรัฐ อีกทั้งภาวะความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ จะทำให้ระดับภาระหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าเพดานระดับภาระหนี้สารธารณะหรือเกินกว่าร้อยละ ๖๐ ของ GDP อันอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะต่อจากนี้ไป

ดังนั้น คณะกรรมาธิการจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

๑. รัฐบาลควรนำเอาการใช้จ่ายเงินตามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไปกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบกลั่นกรองจากรัฐสภา ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๖๖ และมาตรา ๑๖๙ วรรคแรก ดังที่ได้กล่าวแล้ว

ทั้งนี้ เนื่องจากหากนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา จะพบว่า รัฐบาลกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีต่ำกว่าเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้ค่อนข้างมาก - ดังตารางในรายงานหน้า ๒๔ – กล่าวคือ หากไม่รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ และปีงบประมาณ ๒๕๕๔ แล้ว รัฐบาลจะมีเงินเหลือสำหรับการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นรวมกันตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๐ – ๒๕๕๖ เป็นจำนวนสูงถึง ๒,๖๑๕,๐๕๘.๘ ล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อการใช้จ่ายในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในแต่ละปีงบประมาณโดยไม่ต้องออกกฎหมายในลักษณะเช่นนี้

หากรัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าต่อไป คณะกรรมาธิการจะร่วมกันเสนอคำแปรญัตติให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และการใช้เงินพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายแม่บทการเงินการคลังของประเทศต่อไป

๒. ในการบริหารจัดการโครงการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศที่มีมูลค่าสูงถึง ๒ ล้านล้านบาท และใช้เวลาดำเนินการนานถึงอย่างน้อย ๗ ปีงบประมาณ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และอยู่ภายใต้กรอบการรักษาวินัยการเงินการคลัง คณะกรรมาธิการจึงพิจารณาเห็นว่าควรมีการกำหนดรายละเอียดเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้าง การอนุมัติเงิน การเบิกจ่าย การเก็บรักษาเงิน และวิธีการใช้จ่ายเงินแผ่นดินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (Government Fiscal Management Information System : GFMIS) ภายใต้การกำกับดูแลโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง แทนการกำหนดให้ปฏิบัติไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีอยู่หรือระเบียบที่รัฐมนตรีจะกำหนดขึ้นเอง

ทั้งนี้รายละเอียดผลการพิจารณาศึกษาปรากฏตามรายงานของคณะกรรมาธิการ ที่เสนอต่อที่ประชุมแล้ว

อนึ่ง หลังจากจัดพิมพ์รายงานเสร็จ ได้ปรากฏข้อเท็จจริงใหม่จากการแถลงของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อหน้าสมาคมธนาคารไทยเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ก่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในชั้นวาระที่ ๒ และ ๓ ของสภาผู้แทนราษฎร วันที่ ๑๙ – ๒๐ กันยายน ๒๕๕๖ ว่าในการกู้เงิน ๒ ล้านล้านบาทตามร่างพระราชบัญญัตินี้ จะเป็นการกู้จากต่างประเทศในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ ๔๐

คณะกรรมาธิการเห็นว่านี่เป็นประเด็นสำคัญ เพราะก่อนหน้านี้ ทั้งในการแถลงต่อสาธารณะ และแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาวาระ ๑ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖ รัฐบาลยืนยันว่าตลอดว่าจะกู้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่

“...สภาพคล่องในประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก การกู้เงินนั้นเราจะมุ่งเน้นกู้เงินจากในประเทศเป็นหลัก การจะกู้จากต่างประเทศจะทำในอัตราที่น้อยมากจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่มีความสนใจจากต่างประเทศมากมายที่จะมาลงทุนในตราสารเพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของเราในครั้งนี้ แต่ว่ารัฐบาลต้องเห็นในประโยชน์ว่าการที่สภาพคล่องมีมายมายนั้น ดอกเบี้ย ๓ ล้านล้านบาทนั่นควรจะตกอยู่กับคนไทยเกือบทั้งหมด และถ้าหากว่าทั้งหมดได้จะเป็นเรื่องที่ดี...”

นี่คือคำกล่าวต่อหน้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายกิตติรัตน์ ณ ระนองเมื่อ ๗ เดือนก่อน

การกู้ในประเทศร้อยละ ๖๐ แม้ว่าจะยังเป็นส่วนใหญ่อยู่ เพราะมากกว่าร้อยละ ๕๐ แต่ก็ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่รัฐบาลบอกว่าจะกู้จากต่างประเทศถึงร้อยละ ๔๐ ซึ่งคิดเป็นเงินถึง ๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาท

เท่ากับ ๒ เท่าของเมื่อครั้งกู้ไอเอ็มเอฟ ๒๕๔๐

การกู้เป็นเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา จะก่อให้เกิดความเสี่ยง 2 ประการ

๑. เสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าเงินบาทตกลงเวลาชำระหนี้ ก็ต้องเพิ่มขึ้น แม้จะซื้อประกันความเสี่ยงได้ แต่ไม่น่าปิดได้ทั้งหมด เพราะเป็นการกู้ระยะยาว และทำให้ต้องมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ณ วันที่จ่ายคืนหนี้ แม้ว่าจะไม่เรียกว่าค่าใช้จ่าย และไม่มีการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่ก็จะทำให้การจ่ายคืนหนี้ที่ต้องตั้งเอาจาก “เงินแผ่นดิน” มียอดสูงขึ้นกว่าการกู้เป็นเงินบาท

๒. เสี่ยงเรื่องความผันผวนของเศรษฐกิจโลก หากในช่วงยาวของการชำระหนี้ เกิดวิกฤตเงินไหลออก ดอลลาร์ร่อยหรอเหมือนปี ๒๕๔๐ จะเอาที่ไหนไปชำระหนี้ มิต้องกู้ไอเอ็มเอฟเป็นกู้ซ้อนกู้อีกหรือ