PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เปิดตำนาน "ลุงต่วย" เบื้องหลังความสำเร็จกว่า 45 ปี ของ "ต่วย'ตูน"


เปิดตำนาน "ลุงต่วย" เบื้องหลังความสำเร็จกว่า 45 ปี ของ "ต่วย'ตูน"
16:40น. 5/10/2558
เปิดเรื่องราวชีวิตของ นายวาทิน ปิ่นเฉลียว หรือ ต่วย หลังเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 ต.ค.58 ด้วยวัย 85 ปีจากอาการป่วยเรื้อรังที่รักษาตัวมานาน ซึ่งนายวาทิน เป็นผู้ก่อตั้ง "ต่วย'ตูน" พอกเก็ตแมกกาซีนชื่อดัง ผ่านสายตา เก่ง ประลองพล บรรณาธิการผู้ช่วย ต่วย'ตูน ถึงเบื้องหลังความเป็นมา ก่อนที่จะกลายมาเป็นหนังสือที่ครองใจคนไทยมานานกว่า 45 ปี

ประลองพล เพี้ยงบางยาง หรือ เก่ง ประลองพล บรรณาธิการผู้ช่วยของนิตยสารต่วย'ตูน ให้สัมภาษณ์กับ "ทีมข่าว PPTVHD" ว่า ปกติแล้ว "ลุงต่วย" เป็นคนชอบเขียนการ์ตูน ในช่วงที่ลุงต่วยเป็นนักศึกษาในคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนการ์ตูนแก๊กแนวขำขัน ส่งไปลงตามหนังสือต่างๆ ที่สำคัญคือหนังสือชาวกรุงของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อีกทั้งยังเขียนภาพประกอบเรื่องให้กับหนังสือในยุคนั้น

งานที่โดดเด่นจะเป็นงานเขียนการ์ตูนที่ใช้ปากกาเขียน ซึ่งประยุกต์จากการใช้เขียนแบบในวิชาสถาปัตยกรรม เพราะว่าในยุคนั้นนักเขียนส่วนมากยังใช้พู่กันในการวาดรูปอยู่ จึงทำให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านในยุคนั้น

บรรณาธิการผู้ช่วย ต่วย'ตูน กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่ผลงานการเขียนการ์ตูนของ "ลุงต่วย" เริ่มมีชื่อเสียงและมีผลตอบรับจากนักอ่านดีแล้ว "ลุงต่วย" และเพื่อนๆ จึงชวนกันทำการรวมการ์ตูน ที่เคยลงในนิตยสารต่างๆ โดยเฉพาะในนิตรสารชาวกรุง ลงพิมพ์ขายในชื่อ "รวมการ์ตูนของต่วย" เพื่อหาเงินใช้กันสนุกๆ และได้รับผลตอบรับที่ดี

ทว่าพอรวมกันไปได้หลายเล่ม การ์ตูนที่ "ลุงต่วย" ทั้งที่เคยวาดไว้ และวาดใหม่ เกิดมีจำนวนไม่พอที่จะรวมเล่มต่อๆไป นายประเสริฐ พิจารณ์โสภณ เพื่อนของลุงต่วย จึงให้คำแนะนำว่า ควรเอาเรื่องสั้นมาลงในหนังสือด้วย ถ้าหากการ์ตูนที่ "ลุงต่วย" วาดนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ "ลุงต่วย" จึงไปขอเรื่องสั้นจากนักเขียนที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น โดยจะเป็นเรื่องเก่าๆที่นักเขียนเคยตีพิมพ์ในหนังสือ เพื่อมารวมในหนังสือของ "ลุงต่วย" จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชื่ออีกครั้งเป็น "รวมการ์ตูนต่วยและเรื่องสั้นจากชาวกรุง"

อย่างไรก็ตาม มีเสียงท้วงติงมาว่าชื่อหนังสือที่ตั้งไว้นั้น มีความยาวมากเกินไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชื่ออีกครั้งเป็นชื่อที่รู้จักในปัจจุบัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2514 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ "ต่วย'ตูน"

ทั้งนี้ หนังสือ ต่วย'ตูนนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ต่วย'ตูน พอกเก็ตแมกาซีน ซึ่งเป็นหนังสือดั้งเดิมที่รู้จักกันดี โดยจะเน้นเรื่องสั้นและเรื่องเล่าทั่วไปจากผู้เขียน และ ต่วย'ตูน พิเศษ ที่จะเน้นไปในเรื่องสาระความรู้ สารคดี ประวัติศาสตร์

นอกเหนือจากผลงานทั้งสองอย่างแล้ว "ลุงต่วย" ยังมีผลงานอื่นอีกมากมาย แต่ว่า "ลุงต่วย" ใช้นามปากกาหลากหลาย จึงทำให้คนอ่านไม่ทราบ ซึ่งส่วนใหญ่ผลงานจะเป็นในด้านสารคดี โดยจะเป็นสารคดีในรูปแบบต่วยตูน เน้นการใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย อ่านสนุก สำหรับเนื้อหาของ ต่วย'ตูนนั้น มีความหลากหลายสูง โดยมีการรวมเรื่องไว้ทุกแนว แต่ว่าทุกเรื่องนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ "สาระ+หรรษา" ที่เป็นคำนิยามของต่วย'ตูน เรื่องราวแต่ละเรื่องที่ปรากฏบนหนังสือ จะให้ความรู้สึกเหมือนกับมีเพื่อนมาเล่าเรื่องสู่กันฟัง มีการใช้ภาษาง่ายๆ อีกทั้งยังมีการหยอกล้อกันผ่านทางตัวหนังสือ ระหว่างคนเขียนถึงผู้อ่าน หรือแม้แต่ผู้เขียนถึงบรรณาธิการ

บรรณาธิการผู้ช่วย ต่วย'ตูน กล่าวว่า หนังสือต่วย'ตูนนั้น ทำให้นักเรียนนักศึกษาหันมาสนใจในการอ่านมากขึ้น เพราะว่าหนังสือของ "ลุงต่วย" เป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ง่าย อ่านสนุก ทำให้สามารถต่อยอดไปยังเรื่องที่น่าสนใจได้ อีกทั้งการ์ตูนในพอกเก็ตแมกาซีน ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนเพื่อนนักอ่านของผู้สูงวัย ไม่เหมือนกับหนังสือปัจจุบันที่จะมุ่งเน้นไปในเรื่องกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงานมากกว่า

ในส่วนของเรื่องอนาคตและทิศทางภายหน้าของ ต่วย'ตูน นั้น บรรณาธิการผู้ช่วย ต่วย'ตูน กล่าวว่ายังคงดำเนินต่อไป เพราะลุงต่วยได้วางรากฐานของต่วย'ตูนไว้เป็นอย่างดีแล้ว อีกทั้งยังมีทีมงานที่จะคอยดำเนินการแทน "ลุงต่วย" อยู่ เพราะในช่วงระยะหลัง "ลุงต่วย" ได้ผันตัวจากการเป็นนักเขียน มาเป็นผู้บริหารงานอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไรที่จะสืบสาน ต่วย'ตูน ต่อไป

"การปลูกจิตสำนึก ให้คนไทยเกิดการรักการอ่าน"
"อยากให้คนไทยอ่านหนังสือมากๆ"
"อยากให้คนไทยมีความรู้"
"อยากให้หนังสือเป็นเหมือนเพื่อน"
คำพูดเหล่านี้คือสิ่งที่ "ลุงต่วย" มักจะพูดถึงเสมอๆ และเป็นสิ่งที่ "ลุงต่วย" คงอยากจะฝากไว้ถึงคนรุ่นต่อๆไป

“บิ๊กตู่” ยัน “โอบามา” มาจับมือก่อน สับสื่อแตะไม่ได้เลยหรือ ใครติดคุกบ้าง ซัดบางพวกยุเกษตรกร


นายกฯ ถามเรียกสื่อมวลชนมาคุยไม่ได้หรือ แตะไม่ได้เลย มีใครถูกติดคุกบ้างไหม ยันเชิญมาคุยให้เข้าใจ จะเขียนอย่างไรก็เรื่องของท่าน ชี้วันนี้สถานการณ์ไม่ปกติ เผยรับได้วิจารณ์สร้างสรรค์ เห็นใจบ้าง เป็นคนก็มีอารมณ์ไม่ใช่พระ ขอแค่เข้าใจ ไม่สนับสนุนก็ไม่เป็นไร แต่อย่าต้านมาก จวกคอลัมนิสต์บางคนหากินไร้ข้อมูล มอมเมาคนอ่าน รับเมื่อวานโมโหเหตุ นสพ.ค่ายหนึ่งเคยมาด่ารัฐบาลเก่าให้ฟังเมื่อปี 49 แต่วันนี้มาด่าตนแทน ซัดยุเกษตรกรหาว่าขี้เหนียวไม่ช่วย ยัน “โอบามา” เดินมาจับมือเอง จะไปขอทำไม ชี้คนไทยฉลาดแต่ถูกปิดตาด้วยความจน 
       
       วันนี้ (6 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม ครม.ถึงการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนว่า หลายเรื่องที่รัฐบาลทำล้วนแต่เป็นสิ่งใหม่ทั้งสิ้น แต่พวกเราไม่ค่อยรู้ รู้แต่เพียงว่านี่คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดจรรยาบรรณสื่อ
       
       “ผมถามว่า สื่อทั้งหมดมีใครถูกติดคุกบ้างไหม มีหรือยัง พูดให้ผมสิ มีที่ไหน มีการเชิญมาพบพูดคุย ทำไมเรียกคนมาคุยก็ไม่ได้หรือ สื่อนี่แตะไม่ได้เลยหรือ เชิญพบไม่ได้หรือ ถ้ามันเข้าใจผิดก็เชิญมาคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจ แล้วจากนั้นท่านจะไปเขียนอย่างไร ก็เป็นเรื่องของท่าน ผมก็ทำได้แค่นี้ อย่าให้เป็นเสรีชนประชาขนจนเกินไป จรรยาบรรณต้องมี ประเทศชาติมันเสียหาย วันนี้สถานการณ์มันไม่ปกติ เพราะปัญหามันเกิดขึ้นต่างๆ เป็นอะไรบ้างท่านก็รู้ ว่าก่อนวันที่ 22 พ.ค. 57 เกิดอะไรขึ้น แล้ววันนี้พวกท่านยังเขียนข่าวแบบเดิมกันอยู่อย่างนี้ มันไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่สร้างสรรค์ ผมก็รับทั้งหมดเพราะผมก็อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน แต่ก็ต้องเห็นใจผมบ้าง ว่าผมเป็นคน เป็นมนุษย์ มันก็มีอารมณ์บ้างเป็นบางเวลา ไม่ใช่พระนี่ เมื่อผมตั้งใจก็มีความคาดหวัง แต่มันก็บ่นอะไรไม่ได้อยู่แล้ว” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
       
       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ปัญหาของตนวันนี้คือเพียงขอความเข้าใจ สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนก็ไม่เป็นไร แต่อย่าต่อต้านมากนัก หนังสือพิมพ์หลายฉบับ หลายคอลัมนิสน์ผมไม่รู้เขาเขียนมาได้อย่างไร นอนตื่นขึ้นมาเขียนส่งสำนักพิมพ์แล้วก็นอนต่อหรือเปล่า วันรุ่งขึ้นก็ตื่นขึ้นมาใหม่แล้วเขียนใหม่ เขียนมาอย่างนี้จนแก่กันหมดแล้ว 60-70 ปีก็เขียนแบบเดิม หากินแบบนี้กันมาตลอด ไม่มีข้อมูล ไม่เคยฟังแล้วคนทั้งประเทศก็อ่าน แล้วก็ถูกมอมเมา คนดีๆ ก็มีอยู่เยอะแยะ อย่างคนรุ่นใหม่ๆ แต่คนเก่าๆ ทำไมไม่เข้าใจ ที่ตนโมโหเมื่อวานนี้ (5 ต.ค.) มีหนังสือพิมพ์เครือข่ายหนึ่งซึ่งทุกคนก็รู้ นั่งอยู่ในที่นี้ด้วย เมื่อสมัยปี 2549 มาพบตนในฐานะ ผบ.ทบ. ด่าว่ารัฐบาลเก่าทั้งสิ้น โดยเฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรี แต่วันนี้กลับมาด่าผมแทน ไปเชียร์ข้างโน้น มันด้วยอะไร ตอบหน่อยได้หรือไม่
       
       “ทั้งๆ ที่ผมยังไม่ทำอะไรผิดพลาดเลยสักอย่าง ไม่เคยทำผิดกฎหมาย ไม่เคยใช้กฎหมายในทางที่ผิด ใช้อำนาจในทางที่สร้างสรรค์ สร้างความสงบสุข แต่หลายคนก็ออกมาบอกว่าถูกผมละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ในเมื่อสถานการณ์วันนี้จะต้องแก้ไม่รู้กี่ร้อยปัญหา ถ้าปล่อยให้ทุกอย่างสับสนวุ่นวายไปหมด ทุกคนจะทำอะไรก็ได้ ผมก็เพียงแต่ห้าม เพียงแต่ขอร้อง เชิญมาพบปะพูดคุย แต่ท่านก็ยังที่จะเสนอข่าวออกไป ต่างชาติก็ไม่เข้าใจเรา ผมถามว่าแล้วประเทศชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป ผมทำคนเดียวก็ไม่ไหว ผมไปประชุมยูเอ็นร้อยครั้งก็ไม่ได้ เพราะทุกคนเสพข่าวจากหนังสือพิมพ์และโซเชียลมีเดีย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราถูกมองว่าประเทศไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งๆ ที่ความสงบสุขก็เกิดขึ้นหรือทุกคนต้องการแบบเดิม มีความวุ่นวายก็เอา จะทำอะไรก็ทำแล้วกัน ผมก็ทำอะไรไม่ได้ ไม่อยากทำอะไรให้แล้ว แต่วันนี้ยังทำงานให้อยู่ ประชาชน เกษตรกรเดือดร้อนก็คอยออกมายุแหย่ในระดับล่างว่ารัฐบาลไม่ดูแล ขี้เหนียวไม่ยอมจ่ายเงิน ไม่ยอมอุดหนุนชาวไร่ ชาวนา ไม่ยอมดูว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลทำอะไรไปบ้างแล้ว 8-9 มาตรการ ใช้เงินหมดไปแสนกว่าล้าน ทำไมไม่ดู จะเอามากกว่านี้อีกถึงเท่าไหร่ งบประมาณก็มีจำกัด” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
       
       เมื่อถามว่า นายกฯ จะมีการเตือนสื่อที่พูดถึงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “เตือนไปแล้ว เตือนหลายครั้งแล้ว เจอเขาเรียกมาคุยก็คุยแล้ว เขาก็คุยกับผมดี เจอกันหลายครั้งก็พูดว่าเข้าใจครับ ขอบคุณครับ ท่านนายกฯ ครับ ขอบคุณครับ”
       
       เมื่อถามว่าจะเรียกตัวแทนบีบีซีไทยมาพูดคุยด้วยหรือไม่ จากกรณีที่วิพากษ์วิจารณ์การที่นายกฯ จับมือกับนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “จะคุยกับเขาทำไม พวกท่านก็ไปคุยให้ผมสิ และที่เขาพูดนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือที่เขาพูดออกมา แล้วพวกคุณก็เชื่อเขาหรือ” เมื่อถามต่อว่า แต่เขาวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแอบถ่ายภาพดังกล่าวมาเผยแพร่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “วีรชนทำไม มาถามผมสิ ไม่ต้องไปถามวีรชน ก็ผมยืนของผมอยู่ แล้วเขาเดินมา แล้วเขาจับมือผม ผมก็จับมือกับเขา แล้วผมจะไปขอเขาทำไม ผมก็มีหน้ามีตาของผมเหมือนกัน ผมก็ไปในฐานะผู้นำประเทศนะ แล้วเขาจะไม่จับมือผมเพราะอะไร หรืออยากจะไม่ให้เขาจับมือ จะได้เขียนกันได้ใหญ่โต แล้วเห็นหรือไม่รูปที่ถ่ายร่วมกันกับเขา 4 คน มีหรือเปล่า บีบีซีชี้แจงหรือไม่ แล้วต่างประเทศเขาก็โพสต์ออกมาแล้วไม่ใช่หรือว่าทำไม่ถูกต้อง”
       
       นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สื่อเคยรู้หรือไม่ว่ารัฐบาลทำอะไรมาบ้างใช้งบประมาณไปทำอะไร ดีแต่ตีเรื่องนั้น เรื่องนี้มันก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งนั้น ควรจะมองในภาพรวมบ้างว่ารัฐบาลทำอะไรไปบ้าง งบประมาณใช้กันอย่างไร ถ้าสื่อไม่เรียนรู้ตรงนี้ก็จะเขียนข่าวแบบนี้ เขียนข่าวเป็นท่อนๆ ท้ายที่สุดตนทำอะไรมาบ้างก็ไม่เกิดอะไรขึ้นมาเลย ประชาชนไม่เคยได้รับรู้
       
       “ท่านต้องการให้ประชาชนโง่อยู่แบบนี้หรือ โง่คิดไม่เป็น วันนี้ผมทำให้เขาฉลาด ซึ่งความจริงเขาก็ฉลาดอยู่แล้ว แต่ถูกปิดตาด้วยความยากจน แล้วก็มีคนมาแสวงหาผลประโยชน์ คนไทยผมว่าไม่โง่ แต่ใครที่ไปหลอกลวงถือว่าไปดูถูก แต่ผมไม่เคยหลอกพวกเขา เพียงแต่ให้เวลากับผม ที่กำลังทำงานให้อยู่แล้วสามารถแสดงความคิดเห็นได้ว่าดีหรือไม่ดี มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปชี้แจง ซึ่งไม่มีรัฐบาลไหนทำแบบนี้การสั่งงานแบบทหารจะต้องสั่งแบบนี้ อีกเดี๋ยว คสช.ก็จะไปเดินด้วย เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงด้านต่างๆ ที่ผ่านมามีข้อมูลสถิติแต่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ มีเครื่องมือแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการบริหาร” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

แปลกใจกับเหตุผลที่ BBC ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อชี้แจงเหตุผลที่ไม่เปิดเผยชื่อ คนเขียนบทความ



แปลกใจกับเหตุผลที่ BBC ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อชี้แจงเหตุผลที่ไม่เปิดเผยชื่อ คนเขียนบทความวิจารณ์การเยือนUN ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในทางเสียหาย นำเสนอด้านเดียว มีอคติอย่างชัดเจน 
แปลกที่กล้าเขียนบทความวิจารณ์ในลักษณะนี้แต่กลับไม่ยอมเปิดเผยตัวตน แล้วบีบีซีไทย ยอมนำเสนอโดยอ้างว่ามีการตรวจสอบอย่างดีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นข้ออ้างที่เกิดขึ้นกับ BBC ที่ถูกมองว่ามีวาระซ่อนเร้นในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับเมืองไทย โดยเฉพาะภาคภาษาอังกฤษ ที่สัมภาษณ์นักวิชาการนักการเมืองสายล้มเจ้าตลอดช่วงที่ผ่านมา หรือนี่คือมาตรฐานของสนข.บีบีซี
ที่แปลกใจมากตรงที่ไปสัมภาษณ์นายกสมาคมผุ้สื่อข่าว เพื่ออ้างความชอบธรรมในการไม่ต้องเปิดเผยรายชื่อคนเขียน โดยอ้างเหตุในเรื่องความปลอดภัย น่าสมเพชที่BBC ต้องดิ้นรนหาตัวช่วยมาจากที่อื่น เพื่อมาปกป้องในส่ิงที่ได้กระทำไป บทความลักษณะเยี่ยงนี้ หากไม่ใช่สื่อเอียงข้าง จะมีสนข.ไหนกล้านำตีพิมพ์โดยไม่ระบุชื่อคนเขียน
การนำเสนอข่าวสารรอบด้านเป็นเรื่องปกติของคนทำสื่อ สังคมคนอ่านจะเป็นคนตัดสินความน่าเชื่อถือของข่าวชิ้นนั้นๆ แต่การนำเสนอด้านเดียวในบทความช้ินดังกล่าว ทำให้ต้องตั้งข้อสงสัยถึงวาระซ่อนเร้นที่มีตลอดช่วงที่ผ่านมา น่าสมเพชสุดๆ

บีบีซีไทยชี้แจงเหตุใดจึงไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความ



บีบีซีไทย - BBC Thai
14 ชม.
บีบีซีไทยชี้แจงเหตุใดจึงไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความ
ผู้อ่านที่ติดตามการรายงานของบีบีซีไทยในเรื่องการร่วมประชุมสหประชาชาติของคณะรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าทีมงานได้นำเสนอข่าวความเคลื่อนไหวให้ทันเหตุการณ์ และรอบด้านตามหลักการทำงานของสื่อ ไม่ว่าความเคลื่อนไหวของผู้นำ ข้อห่วงใยของผู้แทนอื่น ๆ ความเคลื่อนไหวของประชาชนที่มีทั้งหนุนและต้าน รวมไปถึงการประเมินผลงาน แม้ว่าจะมีผู้อ่านแสดงความไม่เห็นด้วยกับสิ่งต่าง ๆ ที่นำเสนอ ดังจะเห็นได้จากความเห็นที่ปรากฏท้ายข่าว เช่น การสรุปผลงานของนายกรัฐมนตรีในรายการพบปะประชาชนทางโทรทัศน์ หรือบทสัมภาษณ์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงที่กล่าวถึงความสำเร็จของประเทศไทย แต่เมื่อเป็นข้อมูลที่สังคมไทยควรจะรับรู้ ทีมงานก็ได้พยายามติดตามนำเสนอ เช่นเดียวกันกับเสียงสะท้อนจากอีกด้านหนึ่งที่ว่า การประชุมหนนี้อาจไม่นับเป็นความสำเร็จได้มากเท่าที่ทีมงานรัฐบาลกล่าวอ้าง ซึ่งก็ต้องถือด้วยว่าเป็นเรื่องที่สาธารณะพึงรับรู้ไม่ต่างไปจากข้อมูลในด้านบวกดังกล่าว
บทความภายใต้หัวข้อ “การประชุมยูเอ็นเริ่มในบ้าน” โดย Outside Contributor แม้ว่าผู้นำเสนอจะไม่ได้ใช้นามจริง แต่ทีมงานได้ตรวจสอบกับผู้เขียนอย่างถี่ถ้วน และพบว่าข้อมูลที่ได้มา ได้มาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และข้อมูลควรค่าแก่การที่จะนำเสนอให้สังคมไทยได้รับรู้ มีผู้ท้วงติงว่าความละเอียดอ่อนของข้อมูลยังไม่ถึงระดับต้องปกป้องชื่อของผู้เขียน เรื่องนี้ บีบีซีไทยขอน้อมรับไว้พิจารณา แต่เมื่อผู้เขียนบทความชิ้นนี้ยืนยันไม่ต้องการให้เปิดเผยชื่อเพราะหวั่นเกรงต่อการคุกคามอันสืบเนื่องจากบรรยากาศในปัจจุบันที่มีแรงกดดันต่อการแสดงความเห็น เมื่อรับปากไม่เปิดเผยชื่อ ทีมงานจึงมีพันธะในการรักษาคำมั่นนี้
ความวิตกของผู้เขียนในเรื่องนี้ดูเหมือนจะเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นเมื่อบีบีซีไทยโทรศัพท์ทางไกลเพื่อขอสัมภาษณ์ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกรัฐบาล อันเนื่องมาจากข้อเขียนดังกล่าวที่รองโฆษกรัฐบาลระบุว่าไม่มีมูลความจริง แต่รองโฆษกรัฐบาลได้ขอให้บีบีซีบอกชื่อผู้เขียนบทความ ไม่เช่นนั้นจะไม่ให้สัมภาษณ์
การใช้แหลงข่าวภายนอกเป็นสิ่งที่สื่อต่าง ๆ ปฏิบัติกันเป็นปกติ เนื่องจากภายใต้บางสถานการณ์ ข้อมูลหลายอย่างอาจจะไม่ได้รับการถ่ายทอดสู่สาธารณะเลยหากไม่ยอมให้มีการใช้ “แหล่งข่าว” นอกจากนั้นในความเป็นจริง บทความในนสพ.จำนวนไม่น้อยใช้นามแฝง ขณะที่สื่อมวลชนมีหลักปฏิบัติว่า หากมีอันตรายสามารถปกปิดชื่อของแหล่งข่าวได้ และสื่อต้องรักษาความลับอันนี้ซึ่งถือว่าเป็นจรรยาบรรณหนึ่งในอันดับต้น ๆ ของสื่อมวลชน
นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย บอกกับบีบีซีไทยว่า สื่อไทยเองก็มีมาตรฐานเรื่องนี้เช่นเดียวกัน เมื่อรับปากว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวแหล่งข่าวก็จะต้องยึดถือตามนั้น และที่ผ่านมายังไม่เคยเกิดกรณีเรียกร้องให้เปิดเผยตัวตนของแหล่งข่าวเช่นที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
“หากพูดในแง่จริยธรรมของสภาการหนังสือพิมพ์ เรากำหนดข้อนี้ไว้อย่างชัดเจนว่าเราเองก็ต้องปกปิดเหมือนกัน ลักษณะเดียวกัน บีบีซีเองมีสิทธิที่จะไม่เปิดเผยตัวตนของแหล่งข่าว และเป็นสิทธิอันชอบธรรม แต่ก็จะหลีกเลี่ยงข้อวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้”
นายวันชัยตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เขามองว่าการที่บีบีซีเผยแพร่เรื่องนี้เป็นประเด็นในเชิงการเมือง มากกว่าเป็นการเสนอข่าวเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ เขายอมรับว่าในขณะนี้เองสื่อในไทยก็กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการนำเสนอข่าวว่ามีเจตนาทางการเมืองหรือได้รับข้อมูลจากทางใดทางหนึ่งเช่นกัน
สำหรับบีบีซีไทย เจตนาในการทำงานของทีมงานคือเปิดพื้นที่ข่าวสารให้รอบด้าน ไม่ใช่เพื่อให้คุณให้โทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ‪#‎BBCThai‬

แรงเสียดทานเพจBBCไทย

หลัง"พล.อ.ประยุทธ"ส่งสัญญานว่าจะเล่นงานสื่ออีกราย โดยมีผู้สื่อข่าวถามนำว่าจะเรียกบีบีซี.ไทยมาคุยหรือไม่ ตั้งแต่ห้วงเย็นที่ผ่านมา จนถึงค่ำ เกิดแรงเสียดทานจากบรรดาเพจต่างๆ กดดันไปยัง เพจBBCไทย อย่างต่อเนื่อง


ส่ง request ไปที่ BBC สำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน เพื่อขอให้เปิดเผยชื่อ editor/head ของ บีบีซีไทย - BBC Thai ต่อสาธารณะตามมาตรฐานของ BBC
BBC ให้เราแสดงตนทุกอย่าง ทั้งชื่อ นามสกุล อีเมล์ ยังไม่พอ ยังต้องมี digital certificate อีกด้วย กว่าจะยอมรับ request เพื่อแจ้งต่อไปยังผู้บริหารระดับสูง
แค่ request ส่วนตัวก็ยังต้องให้แสดงตนชัดเจน แต่กลับเปิดเพจ บีบีซีไทย - BBC Thai บนเฟสบุ๊กลอย ๆ โดยไม่มีทีวี วิทยุ หรือเว็บไซต์รองรับ ไม่เหมือน BBC News หรือแม้แต่สถานีวิทยุ BBC ภาคภาษาไทยในอดีตที่แสดงชื่อผู้ดำเนินงานชัดเจนในทุกระดับ
แต่เพจ บีบีซีไทย - BBC Thai บนเฟสบุ๊ก รายงานข่าวสาธารณะเป็นตุเป็นตะเกี่ยวกับประเทศไทย กลับไม่แสดงชื่อผู้รับผิดชอบและผู้ดำเนินงานสักคน
นอกจากมีเครื่องหมาย verified ของเพจ บีบีซีไทย - BBC Thai โดยเฟสบุ๊ก ซึ่งเป็นบริษัทสื่อสารเอกชนอเมริกัน
ทุกวันนี้ BBC สื่ออังกฤษเก่าแก่ ไม่เหลือศักดิ์ศรี ลดตัวเพียงแค่อาศัยบริษัทเฟสบุ๊กให้ความน่าเชื่อถือกับตัวเองก็พอแล้ว ?

สุดท้ายก็ต้องยอม (ไอเอส) สิโรราบ!!! เมื่อเจอโหดสั…รัสเซียถล่มไม่หยุด

สุดท้ายก็ต้องยอม (ไอเอส) สิโรราบ!!! เมื่อเจอโหดสั…รัสเซียถล่มไม่หยุดจนร้องโฮก!!!


เมื่อไอเอสยอมจำนวนต่อการถล่มของรัสเซีย  เมื่อสู้รบในสงครามกับฝ่ายระบอบอนุรักษ์นิยมรัสเซียไม่ไหวจริงๆ เพราะโดนถล่มโจมตีทางอากาศด้วยเครื่องบินรบจนไม่สามารถทานทนต่อยุทธปกรณ์ของรัสเซียได้ เพราะหากฝืนสู้ต่ออาจจะเพลี่ยงพล้ำหนักกว่าเก่า และอาจไม่มีชีวิตเหลือรอด จนในที่สุดก็ยอมจำนวนแล้วโดยยอมให้ทหารซีเรียควบคุมได้โดยละม่อม
12115712_532519926915186_6180853821552716729_n
รายงานข่าวแจ้งว่า กองกำลังไอเอสได้สละฐานที่มั่นและทิ้งอาวุธไว้จำนวนมากให้กับกองทัพซีเรีย เรียกได้ว่างานนี้ซีเรียไม่ต้องซื้ออาวุธไปอีกหลายปี  เพราะอาวุธพวกนี้มาจากทั้ง 2 ค่าย คือ ตะวันตก และตะวันออก ใช้ทำร้ายคนซีเรียมานานกว่า 4 ปีแล้ว คนอิรักรออีกไม่นาน พอเด็ดหัวกองกำลังอเมริกาในซีเรียหมด
12038346_532519970248515_283155566754934564_n
อย่างไรก็ตามรัสเซียเตรียมส่งเครื่องบินรบไปถล่มกลุ่ม IS  ในอิรัก โดยได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลอิรัก ที่เตรียมกองกำลังผสมภาคพื้นดินไว้แล้ว
12047141_532519916915187_65349973949057952_n
งานนี้ต้องบอกว่าไอเอสจะหลบไปอยู่ที่ไหนละเนี่ย ก่อนหน้านี้เล่นบทโหดมีอเมริกันหนุนหลังให้ท้ายมาตลอด งานนี้รัสเซียเอาจริงถึงกับทิ้งอาวุธกันเลยทีเดียว….
12088320_532519936915185_1225397252048322122_n
ทั้งนี้ ข่าวว่า 24 ชม. รัสเซียส่งเที่ยวบินรบไปกว่า 20 เที่ยว ทำลายไปได้ 9 ฐานที่มั่น ตอนนี้ก็เลยแตกกระเจิงไม่เป็นท่า

แหล่งข่าวที่ไม่ระบุชื่อของบีบีซีไทย

วันอังคาร ที่ 06 ตุลาคม 2558 เวลา 16:24 น
ธาม เชื้อสถาปนศิริ
581006 bbc
บีบีซีไทย หรือ สื่อไหนๆ ปกปิดชื่อแหล่งข่าวได้หรือไม่ ?
คำตอบคือ ได้ ถ้า สื่อสัญญากับแหล่งข่าวว่าจะไม่เปิดเผยชื่อ แต่ สื่อต้องพิจารณาก่อนว่า เรื่องนั้นๆ สมควรเปิดเผย หรือปกปิดหรือไม่?
โดยปกติแล้ว การปกปิดหรือเปิดเผยชื่อแหล่งข่าว มี 2 อย่างที่พิจารณา คือ (1) ผลประโยชน์สาธารณะสูงสุดของประชาชน และ (2) ความปลอดภัยของผู้ให้เป็นแหล่งข่าว
คำถามเริ่มต้นก่อน คือว่า "เบื้องหลังที่มาภาพถ่ายพล.อ.ประยุทธ์ กับ โอบามา" นั้น เป็นเรื่องผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนหรือไม่ และ แหล่งข่าวกลัวอะไร ที่จะต้องเอาตัวเองมาเสี่ยงและปกปิดเช่นนี้
ตามธรรมเนียมปฏิบัติ
(1) กองบรรณาธิการ จะต้อง "พิจารณาก่อนว่า" เนื้อหาข่าว เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นเรื่อง การทหาร ความมั่นคง การเปิดโปงทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่ หรือเป็นเรื่องอันตรายเสี่ยงภัยแก่ผู้ให้ข่าวหรือไม่ หากเปิดเผยชื่อที่อยู่ของแหล่งข่าวต่อสาธารณะ
ในกรณีนี้ บีบีซีไทย อ้างว่า "ไม่เปิดเผยชื่อแหล่งข่าว เพราะบรรยากาศในเมืองไทย ไม่ยอมรับการให้ข้อมูลอีกด้านของรัฐบาล หรือ เกรงกลัวการคุกคามการแสดงความคิดเห็น"
ในกรณีนี้ ผม "ไม่เห็นด้วย" เพราะนี่ไม่ใช่ "ความคิดเห็น แต่เป็นข้อเท็จจริง" แต่ถ้าอ้างว่า "แหล่งข้อมูลนั้นเป็นความลับ"
ส่วนตัวผมคิดว่า "ไม่ใช่ความลับอะไรเลย" เพราะเรื่องการถ่ายภาพนั้น เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในทางการทูตอยู่แล้ว นายกรัฐมนตรีและผู้นำประเทศ ย่อมที่จะแสดงมารยาททางการทูตอยู่แล้ว ดังนั้น ในการพิจารณาว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องปกปิดความมั่นคงปลอดภัย ของแหล่งข่าว จึงดูไม่น่าเชื่อถือ
ส่วนในข้ออ้างที่ว่า เกรงกลัวบรรยากาศของการวิพากษ์วิจารณ์นั้น มีส่วนจริงอยู่ แต่การให้ข่าวของบีบีซี ต้องรับผิดชอบในฐานะของกองบรรณาธิการครับ
(2) จริยธรรมของการปกปิดแหล่งข่าว
จริยธรรมในการใช้แหล่งข่าวของไทยพีบีเอส คือ นักข่าวต้องรายงานเหตุการณ์จากที่เห็นด้วยตาตัวเองและหาข้อมูลด้วยตัวเอง ใช้แหล่งข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์และรู้เห็นเหตุการณ์จริง มีหลักฐานสนับสนุน โดยเลี่ยงข้อมูลในลักษณะบอกต่อๆกันมา และเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่งข่าว
- ข่าวที่เป็นข้อกล่าวหาร้ายแรง ต้องแจ้งแก่ผู้ชมว่าแหล่งข่าว หรือผู้ร่วมรายการเป็นใคร พูดในนามของสถาบันหรือองค์กรใด เพื่อให้ผู้ชมประเมินได้ด้วยตนเอง
- การเสนอข่าวของสำนักข่าวอื่น หรือการเสนอข้อมูลจากหน่วยงานสากล มารายงานหรือประกอบรายงานต้องเลือกเฉพาะสำนักข่าวที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ ภาคเอกชนที่ได้รับการยอมรับ และต้องอ้างอิงถึงนักข่าวหรือแหล่งข้อมูลนั้นๆ 
- ควรจดบันทึกข้อมูลจากแหล่งข่าวและจากการค้นคว้าทุกครั้งทุกขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้ตรวจสอบได้ในภายหลังหากเกิดข้อโต้เถียง และ
- หลีกเลี่ยงการอ้างถึงแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยนั้นจะเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าว หรือข่าวนั้นเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และหากตัดสินใจเผยแพร่ออกอากาศ ต้องปิดบังหน้าตาแหล่งข่าว ชื่อ ที่อยู่ เพื่อความปลอดภัยของแหล่งข่าวและครอบครัว ด้วยการปิดเสียงหรือพรางภาพ
ส่วนของบีบีซี คือ ความเที่ยงตรงในแหล่งข่าว
แนวทางปฏิบัติ
- ต้องรายงานเหตุการณ์จากที่เห็นกับตาตัวเอง และหาข้อมูลด้วยตนเอง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลจากบุคคลซึ่งรับข้อมูลมาอีกทอดหนึ่ง ควรพูดกับผู้เห็นเหตุการณ์จริง หรือแหล่งข่าวปฐมภูมิที่อยู่ในเหตุการณ์ และมีความเชื่อถือได้ด้วยอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ หรือ ความเชี่ยวชาญ (Authority) ที่มีหลักฐานสนับสนุน
- พยายามหลีกเลี่ยงการใช้แหล่งข่าวเดี่ยวต้องเปิดเผยชื่อจริงและตำแหน่งหน้าที่การงานจริง ของแหล่งข่าว เพื่อให้ผู้ชมผู้ฟังประเมินเองว่าจะเชื่อถือบุคคลเหล่านั้นเพียงใด และผู้พูดนั้นเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกลุ่มใด
- หากแหล่งข่าวไม่ยอมให้เปิดเผยชื่อและสถานะในข่าวที่มีการกล่าวหากันในเรื่องร้ายแรงการปกปิดและปกป้องแหล่งข่าว จะกระทำเมื่อ แหล่งข่าวมีข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะที่หากไม่เผยแพร่ประชาชนจะไม่รู้ข้อเท็จจริง และ/หรือเป็นแหล่งข่าวที่ ถูกต้อง โดยต้องมีการตรวจสอบหลักฐานข้อกล่าวอ้างต่างๆ จนเป็นที่พอใจ และต้องแจ้งแหล่งข่าวว่า จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อแหล่งข่าวกับ บรรณาธิการ และ ฝ่ายกฎหมาย ก่อนนำออกอากาศ และเมื่อตัดสินใจออกอากาศแล้ว ต้องปิดบังแหล่งข่าว รวมทั้งชื่อและที่อยู่ เพื่อความปลอดภัยของแหล่งข่าวและครอบครัว อาจด้วยวิธีการเปลี่ยนเสียงหรือปิดบังภาพเพื่อไม่ให้เห็นแหล่งข่าว แต่ผู้รับผิดชอบต้องพร้อมขึ้นศาลเพื่อสู้คดี หากมีการฟ้องร้อง ซึ่งถ้าแพ้คดี ก็ต้องพร้อมที่จะรับโทษตามกฎหมาย ดังนั้นถ้าไม่พร้อมจะสู้คดีก็ไม่ควรรับปากกับแหล่งข่าวว่าจะปิดบังชื่อและสถานะของเขา
ข้างต้น คือ ข้อความแปลจริยธรรมของบีบีซีที่เป็นภาษาไทย ซึ่งถูกนำไปใช้อ้างอิงในการเป็นจริยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำของบีบีซีและสื่อมวลชนอาชีพทั่วโลก
แต่นั่น อาจไม่ใช่กับบีบีซีประเทศไทย
โดยสรุป ในความเห็นส่วนตัวของผม คือ "ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะต้องปกปิดแหล่งข่าว" เพราะแหล่งข่าวเองก็ต้องกล้าถูกตรวจสอบต่อสาธารณะ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ให้ข่าวจึงควรออกมาเปิดเผยแสดงตัวตน (แค่เรื่องภาพถ่ายทางธรรมเนียมการทูต การให้ข่าวของ outside contributor ที่บีบีซีอ้างนั้น มีลักษณะ กล่าวหา โจมตี หมิ่นประมาท อยู่กลายๆ ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์สาธารณะ หรือ การทุจริตคอร์รัปชั่นโกงกินชาติ ที่อยู่บนหลักการพื้นฐานว่าควรต้องปกปิดแหล่งข่าว
การอ้างเหตุผลของบีบีซีไทย จึงฟังไม่ขึ้น เพราะ
(1) เหตุผลน้ำหนักของการอ้างอิงแหล่งข่าว ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะเรื่องราวมิเกี่ยวข้องกับการกระทบผลประโยชน์สาธารณะในลักษณะการทุจริต กังฉิน คดโกงของเจ้าหน้าที่รัฐ หรืออยู่ภายใต้ภาวะสงคราม (ผู้นำประเทศทุกคนไปประชุมในห้องประชุมที่ยูเอ็น) มันเป็นความมั่นคง ภัยก่อการร้ายตรงไหน
(2) แหล่งข่าวฝ่ายรัฐ เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะทุกอย่าง และเป็นแหล่งข่าวในเหตุการณ์ ย่อมน่าเชื่อถือกว่าแหล่งข่าวปกปิดที่ไม่ทราบชื่อ
(3) ประจักษ์พยาน ภาพถ่าย ข้อมูลที่สื่อสังคมและทางการรัฐ ปล่อยออกมาเรื่อยๆ นี้ ต่างก็สวนทางกับข้อเท็จ/ข้อจริง ที่บีบีซีไทย ออกมาอ้าง
ในการนี้ ความถูกต้อง น่าเชื่อถือ จึงเป็นสิ่งที่บีบีซีไทยไม่มี
และนอกจากนี้ ยังไม่มีความรับผิดชอบทางบรรณาธิการด้วย เพราะไม่รู้ว่ากองบรรณาธิการคือใคร ชื่อเสียงเรียงนามเป็นอย่างไร แตกต่างจากแหล่งข่าวและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆ คนที่อยู่ในเหตุการณ์ ต่างก็เปิดเผยชื่อ ข้อมูลตัวตนกันทุกๆ คน
บีบีซีไทย ต้องตั้งคำถามกับการปฏิบัตงานและหน้าที่ของตนเอง ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ว่า "ต้องแสดงอัตลักษณ์และตัวตนของผู้สื่อข่าวและกองบรรณาธิการ" ข่าวทุกๆ ชิ้นต้องมีแหล่งข่าว และข่าวทุกๆ เรื่อง ต้องมีนักข่าว ผู้สื่อข่าว กองบรรณาธิการรับผิดรับชอบ
ตอนนี้เป็นบีบีซีเสียเอง ที่กระทำตนเองลับๆ ล่อๆ มาใช้ภาพสื่อมวลชนระดับโลกมืออาชีพ แต่การกระทำของกองบรรณาธิการของบีบีซีนั้น กลับปกปิด ซ่อนเร้น เงื่อนงำและผลประโยชน์อย่างทับซ้อนไม่ชัดเจน
ควรหรือไม่สมควรที่จะเปิดบีบีซีไทยอีกต่อไป
เป็นคำถามที่บีบีซีต้องตอบ
แล้วอย่าลืมนะครับว่า บีบีซีเป็นผู้สอนชาวสื่อมวลชนของโลก เป็นต้นแบบทางจริยธรรมที่มั่นคงตรงไปตรงมา เชื่อและยึดถือในวารสารศาสตร์แบบวัตถุวิสัย แค่นักข่าวบีบีซีจะลงไปทำงานข่าว ยังต้องแจ้งประชาชนและแหล่งข่าวให้ทราบเลยว่า ตนเป็นนักข่าว ชื่อเสียง เรียงนามอะไร เพื่อความบริสุทธิ์ใจ
เรื่องนี้เป็นหนังยาวครับ!

bbc

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์:"การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อจังหวัด"

ระบบเลือกตั้งในโลกนี้มีหลายระบบอาทิ ระบบเสียงข้างมากธรรมดา( Simple Majority)ระบบเสียงข้างมากเด็ดขาด( Absolute Majority ) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม( Mixed Member Proportional )ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนคู่ขนาน( Paralleled Proportional )

ประเทศไทยใช้ระบบเสียงข้างมากธรรมดาในการเลือกตั้งมาโดยตลอด ถึงแม้รัฐธรรมนูญปี 2540 และปี2550 จะเปลี่ยนไปใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนคู่ขนาน แต่ในส่วนของการเลือกตั้งส.ส.เขตก็ยังคงใช้ระบบเสียงข้างมากธรรมดา

ระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนนั้นการเลือกตั้งถือเป็นกลไกสำคัญในการคัดกรองคนดีเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนในการปกครองประเทศ แต่การเลือกตั้งในประเทศไทยมิได้เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่การเลือกตั้งต้องสุจริตเที่ยงธรรมและโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามการเลือกตั้งของไทยกลับเต็มไปด้วยการใช้อามิสสินจ้างทำให้นายทุนเข้ามาครอบงำการเมืองได้โดยง่าย การเลือกตั้งจึงกลายเป็นช่องทางให้นายทุนและตัวแทนนายทุนเข้ามากอบโกยหาผลประโยชน์โดยอ้างว่า"มาจากการเลือกตั้ง" ทำให้การเมืองไทยล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด

ในขณะที่สิ่งแวดล้อมของสังคมไทยยังเอื้อต่อการใช้อามิสสินจ้าง โจทย์ใหญ่ก็คือทำอย่างไรจึงจะลดอิทธิพลของการใช้อามิสสินจ้างในการเลือกตั้งของไทยได้ในขณะที่สังคมไทยยังเต็มไปด้วยคนยากจนจำนวนมาก

ถ้าเราประยุกต์ระบบการเลือกตั้งให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยที่จะสามารถลดอิทธิพลของการใช้อามิสสินจ้างให้น้อยลงเพื่อให้มีโอกาสได้คนดีมาเป็นผู้ปกครองมากขึ้น และถ้าทำได้ก็จะทำให้การเมืองไทยพอจะมีอนาคตอยู่บ้าง

ผมพยายามศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอดและเห็นว่าถ้าประยุกต์ระบบบัญชีรายชื่อมาใช้โดยเรียกว่า"ระบบบัญชีรายชื่อจังหวัด"( Provincial Proportional System )อาจจะลดการใช้อามิสสินจ้างและทำให้ได้คนดีมาเป็นผู้แทนมากขึ้น

การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อจังหวัดดำเนินการดังนี้:
1.กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีจำนวนส.ส.ตามสัดส่วนประชากรเช่นส.ส. 1 คนต่อประชากร 150,000 คน ถ้าจังหวัดหนึ่งมีประชากร 1,500,000 คน ก็จะมีส.ส.ได้ 10 คน และถ้าการเลือกตั้งมีผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด 800,000 คน ผู้สมัครที่จะได้รับการเลือกตั้งต้องมีคะแนนเสียง 80,000เสียง ทั้งนี้ให้ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

2.การสมัครรับเลือกตั้ง ให้แต่ละพรรคการเมืองส่งผู้สมัครในจังหวัดนี้ได้พรรคละไม่เกิน 10 คน ถ้าพรรคสีแดงได้คะแนนเลือกตั้งทั้งจังหวัด 40% คิดเป็นคะแนนของพรรคทั้งหมด320,000 เสียง เมื่อหารด้วย 80,000 พรรคสีแดงจะได้ส.ส.จำนวน 4 คน คำนวณอย่างนี้จนกระทั่งได้ส.ส.ทั้งจังหวัดครบ 10 คน

3.ถ้าต้องการลดอำนาจของผู้บริหารพรรคในการคัดเลือกผู้สมัครในบัญชีรายชื่อก็สามารถกำหนดให้ใช้ระบบโอเพ่นลิสต์ได้โดยกำหนดให้ประชาชนผู้มาใช้สิทธิ์เมื่อเลือกพรรคใดแล้วให้เลือกด้วยว่าต้องการเลือกผู้สมัครคนใดในบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น โดยเลือกได้เพียงคนเดียว ในการนับผลเลือกตั้งของแต่ละพรรคให้เรียงคะแนนของผู้สมัครในพรรคนั้นตามลำดับมากไปหาน้อยน้อยจนครบ 10 คน ด้วยวิธีนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าผู้สมัครคนใดของพรรคจะได้รับเลือกตั้ง ไม่ใช่ผู้บริหารพรรคหรือนายทุนพรรคเป็นผู้กำหนด จะทำให้พรรคเป็นพรรคของประชาชน

4.ระบบนี้สามารถเปิดช่องให้ผู้สมัครสามารถสมัครอิสระได้ โดยจะไม่กระทบเสถียรภาพทางการเมืองแต่จะสอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย ผู้จะสมัครอิสระที่ได้คะแนนเสียง 80,000 เสียงก็จะได้รับการเลือกตั้ง แต่โอกาสที่ผู้สมัครอิสระจะได้รับการเลือกตั้งจะมีไม่มากนัก เพราะระบบนี้จะส่งเสริมความเข้มแข็งของพรรคการเมือง

5.การเลือกตั้งระบบนี้จะปิดโอกาสที่พรรคการเมืองพรรคเดียวจะได้ส.ส.ทั้งจังหวัด เพราะไม่มีจังหวัดใดที่ประชาชรจะมีความนิยมพรรคเดียวทั้งจังหวัด แม้แต่ในภาคใต้พรรคอื่นก็มีโอกาสที่จะเข้าไปแทรกได้แน่นอน

6.การเลือกตั้งระบบนี้จะไม่มีเสียงตกน้ำ เพราะแต่ละพรรคการเมืองจะได้จำนวนส.ส.ตามสัดส่วนที่แต่ละ
พรรคได้รับคะแนนเลือกตั้งจากประชาชน

7.การเลือกตั้งระบบนี้จะช่วยลดอิทธิพลของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้มาก เพราะถ้าซื้อต้องซื้อทั้งพรรค และโอกาสที่พรรคเดียวจะได้ส.ส.ทั้งจังหวัดแทบเป็นไปไม่ได้

8.สามารถใช้การเลือกตั้งระบบนี้เพียงระบบเดียวไม่ต้องแบ่งเป็นส.ส.เขตและส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ
9.สามารถนำคะแนนของแต่ละพรรคทั่วประเทศมารวมกันเป็นคะแนนนิยมของพรรคทั้งประเทศได้ด้วย

จุดเด่นของระบบเลือกตั้งแบบนี้คือ
1.ลดอิทธิพลการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในเขตเลือกตั้งให้น้อยลง เพราะใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าจะซื้อเสียงต้องใช้เงินจำนวนมากและไม่มีความปน่นอนว่าตนจะได้รับเลือกตั้งเพราะมีผู้สมัครในบัญชีรายชื่อของพรรคหลายคน
2.ลดอิทธิพลของผู้นำพรรคในการกำหนดตัวผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ เพราะประชาชนจะเป็นผู้กำหนดว่ารายชื่อใดจะได้รับการเลือกตั้งจากการใช้ระบบโอเพ่นลิสต์ จะทำให้พรรคการเมืองเป็นพรรคของประชาชนไม่ใช่พรรคของผู้นำพรรค
3.ถึงแม้จะเป็นระบบบัญชีรายชื่อทั้งจังหวัดแต่ประชาชนมีสิทธิ์เลือกผู้สมัครที่ถูกใจตนคือได้ทั้งพรรคและผู้สมัครที่ตนชอบ
4.เป็นการสนับสนุนระบบพรรคการเมืองให้มีความเข้มแข็งเป็นพรรคของประชาชนไม่ใช่พรรคของนายทุน
5.การซื้อเสียงถ้าพรรคจะซื้อต้องซื้อทั้งพรรค เป็นการยากที่พรรคจะซื้อเป็นรายบุคคลเพราะจะทำให้พรรคแตกแยก และเสี่ยงต่อการตรวจสอบของกกต.
6.จะทำให้การผูกขาดพื้นที่ทางการเมืองของพรรคการเมืองลดลง เพราะเป็นการยากที่พรรคใดพรรคเดียวจะได้รับเลือกทั้งจังหวัด
7.การเลือกตั้งระบบนี้จะทำให้ไม่มีเสียงตกน้ำ เพราะคะแนนเลือกตั้งของประชาชนทุกคะแนนจะมีผลต่อจำนวนส.ส.ของแต่ละพรรค ไม่เหมือนการเลือกตั้งส.ส.เขตที่คะแนนผู้ไดรับเลือกตั้งอันดับสองแม้จะน้อยกว่าอันดับหนึ่งเพียงเล็กน้อยแต่จะถูกตัดทิ้งในฐานะผู้แพ้ไปเลย
8.การเลือกตั้งระบบนี้สามารถกำหนดให้ไม่มีการเลือกตั้งซ่อมก็ได้ ถ้าหากส.ส.ของพรรคใดหมดสภาพไปก็สามารถเลื่อนผู้ได้อันดับถัดไปมาแทนได้ทันทีจะทำให้ประหยัดงบประมาณในการเลือกตั้งซ่อมได้มาก
9.การเลือกตั้งระบบนี้จะทำให้พรรคต้องเข้าถึงประชาชนให้มากจึงจะได้รับความนิยมสูง พรรคที่จะประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งคือพรรคที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนเท่านั้น
10.การเลือกตั้งระบบนี้จะสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาประเทศในอนาคต ยิ่งประชาชนมีความรู้และมีความอยู่ดีกินดีมากขึ้น จะยิ่งทำให้การเลือกตั้งระบบนี้เข้มแข็งมากขึ้นและส่งผลให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น
11.การเปิดโอกาสให้ผู้สมัครอิสระสามารถสมัครได้จะเป็นไปตามหลักสากลที่ไม่ตัดสิทธิปัจเจกบุคคลและไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองเพราะในทางปฏิบัติจะมีผู้สมัครอิสระเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะได้รับการเลือกตั้ง เพราะระบบนี้พรรคที่เข้มแข็งและเป็นที่นิยมของประชาชนจะได้เปรียบ ซึ่งเป็นไปตามหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
12.การเลือกตั้งระบบนี้ไม่สลับซับซ้อนประชาชนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย โดยมีส.ส.เพียงประเภทเดียวคือส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อจังหวัด และการใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประชาชนเพราะประชาชนเคยเลือกวุฒิสมาชิกทั้งจังหวัดมาหลายครั้งแล้ว
นี่เป็นแนวคิดหนึ่งในการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของไทย

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
6 ตุลาคม 2558

ใครร่างนั้นสำคัญไฉน?: เปรียบเทียบคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามชุดในรอบ 20 ปี


ภายหลังจากที่สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่จำนวน 21 คน ภายใน 30 วัน หรือภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2558
 
สังคมกำลังจับตามองกันว่า ใครจะเข้ามาเป็นผู้ร่างชุดใหม่? 
 
ประวัติศาสตร์การร่างรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา กับประสบการณ์คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ชุด น่าจะช่วยให้เห็นภาพได้บ้างว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่พึงปรารถนาควรมีที่มาอย่างไร? ควรประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่หลากหลายเพียงใด? หรือ เราจะยังคงวนเวียนอยู่กับนักร่างรัฐธรรมนูญหน้าเก่าๆ หรือไม่? 
  
 
เปิดที่มากรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญในแต่ละยุค
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2539 จำนวน 21 คน มาจากการลงมติเลือกกันภายในของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จำนวน 99 คน โดย สสร. จำนวน 99 คน มีที่มา 2 รูปแบบ คือ 
 
            1) ตัวแทนจาก 76 จังหวัด รวม 76 คน โดยหากจังหวัดใดมีจำนวนผู้สมัครเกิน 10 คน ให้ผู้สมัครทุกคนลงคะแนนเสียงเลือกกันเองให้เหลือ 10 คน เมื่อได้ผู้สมัครครบ 10 คน แล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งรายชื่อผู้สมัครทั้ง 10 คนให้แก่ประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาเลือกให้เหลือจังหวัดละ 1 คน
            2) ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ รวม 23 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน 8 คน ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 8 คน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญ 7 คน โดยให้สภาสถาบันอุดมศึกษาที่มีสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์แต่ละแห่งคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติประเภทต่างๆ ประเภทละไม่เกิน 5 คน ส่งให้รัฐสภาเลือกให้ได้ตามจำนวนที่กำหนด
 
ผลการเลือกของ สสร. 99 คน ทำให้ได้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วย สสร.จังหวัด 6 คน ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน 6 คน ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 6 คน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญ 3 คน
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2549 จำนวน 35 คน มีที่มาจาก 
            
            1) สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ปี พ.ศ. 2549 จำนวน 100 คน คัดเลือกกันเองเหลือ 25 คน
            2) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คณะรัฐประหารที่เข้ายึดอำนาจการปกครอง เสนอชื่อ 10 คน
 
โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ปี พ.ศ. 2549 จำนวน 100 คน คัดสรรมาจากการให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1982 คน ลงมติคัดเลือกกันเอง จนเหลือ 200 คน และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คัดเลือกอีกครั้งจนเหลือ 100 คน ประกอบด้วยบุคคลในภาครัฐ 28 คน ภาคเอกชน 27 คน ภาคสังคม 23 คน และภาควิชาการ 22 คน
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2557 มีจำนวน 36 คน มีที่มาจาก
 
            1) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอชื่อจำนวน 20 คน
            2) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอชื่อจำนวน 5 คน
            3) คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอชื่อจำนวน 5 คน
            4) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอชื่อจำนวน 5 คน และเลือกประธานกรรมาธิการ อีก 1 คน
 
โดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 250 คน มีที่มาจากคณะกรรมการสรรหาจังหวัดเสนอรายชื่อตัวแทนจังหวัดให้ คสช. คัดเลือกเหลือ 77 คน และคณะกรรมการสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 ด้าน เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ คสช. คัดเลือกเหลือ 173 คน
 
ส่วน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ จำนวน 21 คน ที่กำลังจะได้มานั้น จะเป็นการแต่งตั้งโดยตรงจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทั้งหมด
 
ผู้ร่างมาจากกลุ่มอาชีพใด มีผลต่อเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
 
เมื่อศึกษาประสบการณ์ในอดีตของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามชุดที่ผ่านมา พบว่า
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงปี พ.ศ. 2539 จำนวน 21 คน ประกอบด้วย อดีตนักการเมือง 8 คน, นักวิชาการ 8 คน, ทนายความ 3 คน, อดีตอัยการ 1 คน, และสื่อมวลชน 1 คน 
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงปี พ.ศ. 2549 จำนวน 35 คน ประกอบด้วย ข้าราชการระดับสูง 11 คน, นักวิชาการ 8 คน, อดีตผู้พิพากษา 5 คน, ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ 2 คน, อดีตอัยการ 2 คน, ภาคธุรกิจ 2 คน, ทนายความ 1 คน, อดีตนักการเมือง 1 คน, ข้าราชการทหาร 1 คน, สื่อมวลชน 1 คน, และตัวแทนภาคประชาสังคม 1 คน
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงปี พ.ศ. 2557 จำนวน 36 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ 11 คน, ข้าราชการระดับสูง 7 คน, อดีตนักการเมือง 4 คน, ข้าราชการทหาร 4 คน, อดีตผู้พิพากษา 2 คน, สื่อมวลชน 2 คน, ภาคธุรกิจ 2 คน, และตัวแทนภาคประชาสังคม 4 คน
 
ข้อสังเกต จะพบว่าในการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2539 กรรมาธิการยกร่างฯ ส่วนใหญ่เป็นอดีตนักการเมืองและนักวิชาการ ไม่ปรากฎว่ามีข้าราชการระดับสูงเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการ โดยไม่มีตัวแทนจากภาคธุรกิจและภาคสังคม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอดีตนักการเมืองในคณะกรรมาธิการยกร่างชุดดังกล่าว ล้วนเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในส่วนของนักวิชาการก็ล้วนเป็นนักวิชาการชั้นนำด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
 
ขณะที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2549 นั้น กรรมาธิการยกร่างฯ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการระดับสูง, นักวิชาการ, และอดีตผู้พิพากษา มีตัวแทนจากภาคธุรกิจและภาคสังคม แต่มีอดีตนักการเมืองเพียง 1 คน เท่านั้น คือนาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ ฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์มองว่า สัดส่วนคณะกรรมาธิการเช่นนี้เป็นผลให้ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับตุลาการภิวัฒน์ ดังที่ปรากฏว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ให้อำนาจฝ่ายตุลาการเป็นผู้เลือกองค์กรอิสระที่เข้ามาควบคุมฝ่ายการเมือง
 
ส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2557 พบว่า กรรมาธิการยกร่างฯ ส่วนใหญ่มากจากกลุ่มนักวิชาการและข้าราชการระดับสูง และกรรมาธิการที่เป็นข้าราชการทหารถึง 4 คน ผลลัพธ์คือได้ร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ คอยควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกที ซึ่งสุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ
 
ต้องจับตาดูต่อไปว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ที่ คสช. กำลังจะแต่งตั้งนั้น จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายและเป็นที่ยอมรับ (หรือไม่เป็นที่ยอมรับ) ดังในอดีตหรือไม่
 
 
หน้าเก่าเวียนรับเป็นเนติบริกร
 
จากการศึกษาคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามชุด พบว่า บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มากกว่า 1 ชุด มีดังนี้
 
ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2 ชุด) เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2539 และเป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงปี พ.ศ. 2557 โดย ศ.ดร.บวรศักดิ์เป็นนักกฎหมายมหาชนที่มีชื่อเสียง เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยและจัดอบรมของรัฐสภา และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสมัย นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร  
 
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (2 ชุด) เป็นรองเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2539 และเป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงปี พ.ศ. 2549 โดย ศ.ดร.สมคิด เป็นนักกฎหมายมหาชนชั้นนำ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์
 
ศ.ดร.สุจิต บุญบงการ (2 ชุด) เป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2539 และเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2557 โดย ศ.ดร.สุจิต เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2533 – 2541) และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (2543-2547) 
 
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ (2 ชุด) เป็นรองเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2549 เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2557 และกาญจนารันต์ ยังเป็นเป็นอดีตผู้ช่วย สสร. อานันท์ ปันยารชุน (2539) ด้วย โดยกาญจนารัตน์เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง 
 
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ (2 ชุด) เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2549 และเป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2557 โดย นพ.ชูชัย เป็นแพทย์ชนบทที่มีชื่อเสียง เคยดำรงตำแหน่งประธานชมรมแพทย์ชนบท เลขาธิการแพทยสภา และต่อมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
 
ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (2 ชุด) เป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2549 และเป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2557 โดย ศ.ดร.นครินทร์ เคยเป็นคณะบดีคณรัฐศาตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และเพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน
 
มานิจ สุขสมจิต (2 ชุด) เป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2549 และเป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2557 โดยนายมานิจเป็นบรรณาธิการอาวุโสหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย และประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
 
รศ.วุฒิสาร ตันไชย (2 ชุด) เป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2549 และเป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2557 โดย รศ.วุฒิสารเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
 
รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร (2 ชุด) เป็นโฆษกกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2549 และเป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน. ช่วงปี พ.ศ. 2557 โดย รศ.ดร.ปกรณ์เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
 
 
กระบวนการร่าง การแปรญัตติ การเห็นชอบ ในแต่ละยุคสมัยแตกต่างกัน
 
หากเปรียบเทียบกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในแต่ละยุคสมัย จะพบว่ากระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2539 เปิดโอกาสให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหญ่มีโอกาสขอแปรญัตติเพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างฯ อย่างเต็มที่ ขณะที่กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในปี 2549 และ 2557 ออกแบบมาให้การแปรญัตติเพื่อขอแก้ไขทำได้ยากกว่า ทำให้ร่างฉบับของคณะกรรมาธิการมีน้ำหนักมาก
 
สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ.2539 เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จำนวน 21 คน ซึ่งมีอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดกรอบในการจัดทำร่างฯ รับฟังความเห็นเบื้องต้นจากประชาชน ยกร่างฯ แรกแล้วเสร็จ และสภาร่างรัฐธรรมนูญมีมติรับหลักการของร่างฯ แรก จึงจัดตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มาทำหน้าที่ทบทวนแก้ไขร่างฯ ตามความคิดเห็นของประชาชน และคำแปรญัตติจาก สสร. โดย สสร. ที่ต้องการแปรญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ สามารถยื่นคำขอแปรญัตติได้เป็นรายมาตราเป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ เช่น ไม่ต้องมีผู้รับรองขั้นต่ำ ไม่มีข้อจำกัดว่า 1 คน ยื่นได้แค่ 1 ครั้ง และพิจารณาอย่างเปิดเผยในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเรียงเป็นรายมาตรา 
 
คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะเชิญผู้ขอแปรญัตติแก้ไขมาชี้แจง หากผู้ขอแปรญัตติพอใจก็ไม่ต้องอภิปรายในสภาร่างรัฐธรรมนูญ หากยังไม่พอใจก็ขออภิปรายในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ ผลที่เกิดขึ้น คือ มีสมาชิก สสร. ขอแปรญัตติทั้งสิ้น 55 มติ ซึ่งเป็นการขอแก้ไขร่างเดิมของคณะกรรมการยกร่างฯ ถึง 305 มาตรา
 
สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2549  ได้กำหนดให้สสร. สามารถแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องมีสมาชิกลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 (10 คน จาก 100 คน) ทั้งยังได้จำกัดสิทธิการแปรญัตติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไว้ โดยสสร. หนึ่งคนจะยื่นขอแปรญัตติหรือรับรองคำแปรญัตติ ได้ 1 มติ เท่านั้น จากนั้นคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะพิจารณาคำขอแปรญัตติ ว่าจะแก้ไขหรือไม่แก้ไข และยื่นร่างฯ สุดท้ายต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ 
 
สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2557 ได้กำหนดให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (25 คน จาก 250 คน) หนึ่งคนจะยื่นขอแปรญัตติหรือรับรองคำแปรญัตติ ได้ 1 มติ เท่านั้น จากนั้นให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมภายในหกสิบวัน โดยไม่มีกระบวนการอภิปรายรวมในสภา คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้ตามที่เห็นสมควร และยื่นร่างฯ สุดท้ายต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
 
จะเห็นได้ว่า กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2549 และ 2557 ได้ถูกออกแบบมาให้ยึดตามร่างฯ ของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เป็นหลัก สิทธิของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติชุดใหญ่ ที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ในการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญถูกจำกัดมาก ไม่สามารถมีส่วนร่วมได้มากเหมือนกระบวนการในช่วงปี พ.ศ. 2539
เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2557 ยกร่างขึ้น จึงต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ แต่เนื่องจากสภาปฏิรูปแห่งชาติได้สิ้นสภาพลงแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่าในการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้นใหม่นั้น ร่างรัฐธรรมนูญฯ จะอยู่ภายใต้อุ้งมือของคณะกรรมการยกร่างฯ จำนวน 21 คน อย่างเบ็ดเสร็จ
 
นอกเหนือจากนั้น ในการร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2539 ร่างรัฐธรรมนูญต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2549 ร่างรัฐธรรมนูญ ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาร่างรัฐธรรมนูญก่อน จากนั้นจึงนำไปทำประชามติ เช่นเดียวกับในการร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2558 ร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติก่อน จึงจะนำไปทำประชามติได้ อย่างไรก็ตาม ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดําเนินการออกเสียงประชามติได้เลย
 
 
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงปี พ.ศ. 2539
 
ชื่อตำแหน่งที่มาประสบการณ์
อานันท์  ปันยารชุนประธานผู้มีประสบการณ์ด้าน
การเมืองการบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญ
อดีตนายกรัฐมนตรี
เกษม  ศิริสัมพันธ์ รองประธานสาขากฎหมายมหาชนอดีต สส.
ศ. ดร. คณิต   ณ นคร รองประธานสาขากฎหมายมหาชนอัยการสูงสุด
ศ. ดร.บวรศักดิ์
อุวรรณโณ  
เลขานุการ
สาขากฎหมาย
มหาชน
อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาฯ
นายพงศ์เทพ
เทพกาญจนา
ผู้ช่วยเลขานุการสสร. สมุทรสาครทนายความ
รศ. ดร.สมคิด
เลิศไพฑูรย์
ผู้ช่วยเลขานุการ
สาขากฎหมาย
มหาชน
อาจารย์นิติศาสตร์ มธ.
คณิน  บุญสุวรรณโฆษกสสร.ชลบุรีอดีต สส.
โกเมศ  ขวัญเมืองผู้ช่วยโฆษก
สาขากฎหมาย
มหาชน
อาจารย์นิติศาสตร์ รามคำแหง
ศ. ดร. เขียน  ธีรวิทย์ 
สาขารัฐศาสตร์
และรัฐประศาสนศาสตร์
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ทองใบ  ทองเปาด์ 
สาขากฎหมาย
มหาชน
ทนายความ
พลตำรวจเอกประมาณ  อดิเรกสาร 
ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง
การบริหารราชการแผ่นดินหรือ
การร่างรัฐธรรมนูญ
อดีต สส. และอดีตรองนายกฯ
รศ.วิสุทธิ์  โพธิแท่น 
สาขารัฐศาสตร์
และรัฐประศาสนศาสตร์
อาจารย์รัฐศาสตร์ มธ.
พันเอกสมคิด
ศรีสังคม
 สสร. อุดรธานีอดีต สส.
สวัสดิ์  คำประกอบ 
ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง
การบริหารราชการแผ่นดิน หรือ
การร่างรัฐธรรมนูญ
อดีต สส.
ศ. ดร.สุจิต
บุญบงการ
 
สาขารัฐศาสตร์
และ รัฐประศาสนศาสตร์
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เสรี  สุวรรณภานนท์ สสร. กทม.ทนายความ
เอนก  สิทธิประศาสน์ 
สาขารัฐศาสตร์
และ รัฐประศาสนศาสตร์
อดีต รมช.มหาดไทย
ศ. ดร.กระมล  ทองธรรมชาติ
ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่างกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญ
สาขารัฐศาสตร์
และ รัฐประศาสนศาสตร์
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เดโช  สวนานนท์  ประธานคณะกรรมาธิการจดหมายเหตุ ตรวจรายงานการประชุมและกิจการสภาสสร. สุราษฎร์ธานีอดีต สส.
สมเกียรติ  อ่อนวิมลประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ สสร. สุพรรณบุรีสื่อมวลชน 
ศ. ดร.อมร  รักษาสัตย์ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์
สาขารัฐศาสตร์
และ รัฐประศาสนศาสตร์
อาจารย์รัฐศาสตร์ นิด้า

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2549
ชื่อตำแหน่งที่มาประสบการณ์
นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริประธานเสนอโดย คมช.
อดีตรมว.ต่างประเทศ
อดีตเลขาธิการนายกฯ เปรม
อัครวิทย์ สุมาวงศ์รองประธานเสนอโดย คมช.รองประธานศาลปกครองสูงสุด
ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุลรองประธาน สสร.อดีตผู้พิพากษา /
ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ศ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณรองประธาน สสร.อดีตผู้พิพากษา
ชูชัย ศุภวงศ์รองประธาน สสร.
อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท,
เลขาธิการแพทยสภา
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์เลขานุการสสร.คณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. 
อัชพร จารุจินดารองเลขานุการสสร.รองเลขาธิการ
คณะกรรมการกฤษฎีกา
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์รองเลขานุการเสนอโดย คมช.ที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง /
อดีตผู้ช่วย สสร. อานันท์ ปันยารชุน (2540)
คมสัน โพธิ์คงรองเลขานุการสสร. อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มสธ. 
ผศ. ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัยรองเลขานุการสสร.คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
รศ. ธงทอง จันทรางศุโฆษกเสนอโดย คมช.รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
พิสิฐ ลี้อาธรรมโฆษกสสร.อดีต รมช.คลัง
และมีประสบการณ์ภาคเอกชน 
ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์โฆษกสสร.เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 
รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากรโฆษกสสร.อาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า
ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม สสร.กรรมการ ปปช., อดีตอธิการบดี มธ.,
สสร. (2534, 2540) 
ศ.ไชยยศ เหมะรัชตะ  สสร.อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ (กม.เอกชน) 
เดชอุดม ไกรฤทธิ์ เสนอโดย คมช.ทนายความ
วิจิตร สุระกุล  เสนอโดย คมช.อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี 
ธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ สสร.อดีตอัยการ
รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ สสร.อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ.
นุรักษ์ มาประณีต สสร.อดีตผู้พิพากษา
ประพันธ์ นัยโกวิท สสร.อดีตอัยการ
พวงเพชร สารคุณ สสร.รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 
ไพโรจน์ พรหมสาส์น สสร.อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย 
มนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด เสนอโดย คมช.อดีตผู้พิพากษา
มานิจ สุขสมจิตร สสร.สื่อมวลชน 
วิจิตร วิชัยสาร เสนอโดย คมช.อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
วิทยา งานทวี สสร.นักธุรกิจ /
นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย 
รศ.วุฒิสาร ตันไชย สสร.รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
รศ.ศรีราชา เจริญพานิช สสร.อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มสธ. 
สดศรี สัตยธรรม  สสร.อดีตผู้พิพากษา 
สนั่น อินทรประเสริฐ สสร.อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา
สุพจน์ ไข่มุกต์  เสนอโดย คมช.อดีตเอกอัครราชทูต
อังคณา นีละไพจิตร สสร.นักเคลื่อนไหวภาคสังคม 
พลเอกอัฏฐพร เจริญพานิช เสนอโดย คมช.เจ้ากรมพระธรรมนูญ 
 
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญช่วงปี พ.ศ. 2557
 
ชื่อตำแหน่งที่มาประสบการณ์
ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณประธานเสนอโดย คสชลขานุการคณะกรรมการยกร่างปี 2540,
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์รองประธานเสนอโดย ครมอดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ
รมว.กระทรวงการต่างประเทศ 
มานิจ สุขสมจิตรรองประธานสัดส่วน สปช.สื่อมวลชน
ศ.ดร.สุจิต บุญบงการรองประธานเสนอโดย คสชอาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
และ อดีตตุลาการศาล รธน.
รศ. นรีวรรณ จินตกานนท์รองประธานสัดส่วน สปช.อดีตคณบดีคณะสถิติประยุกต์ นิด้า
ปรีชา วัชราภัยรองประธานสัดส่วน สนช.อดีตเลขาธิการ กพ.
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธาน สัดส่วน สปช. อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท, เลขาธิการแพทยสภา,
เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 
จรูญ อินทจาร  เสนอโดย คสช. อดีตผู้พิพากษา, อดีตประธานศาล รธน. (2556) 
ศ.(พิเศษ)ประสพสุข บุญเดช  เสนอโดย คสช. อดีตผู้พิพากษา, อดีตประธานวุฒิสภา (2551) 
ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ  เสนอโดย คสช. คณบดีคณะนิติศาสตร์ นิด้า
กฤต ไกรจิตติ  เสนอโดย คสช. อดีตเอกอัครราชทูต
ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เสนอโดย ครมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. 
เจษฎ์ โทณวณิก เสนอโดย ครมคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต
รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากรโฆษกเสนอโดย ครม. อาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า 
วิชัย ทิตตะภักดี  เสนอโดย ครม.อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
มีประสบการณ์ในภาคธุรกิจ
ดิสทัต โหตระกิตย์เลขานุการ สัดส่วน สนช.เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์เลขานุการ สัดส่วน สนช.รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง /
อดีตผู้ช่วย สสร. อานันท์ ปันยารชุน (2540) 
ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ สัดส่วน สนช.อธิการบดี ม.รามคำแหง,
อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ สัดส่วน สนช.อดีตผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 
ไพบูลย์ นิติตะวัน  สัดส่วน สปช. นักธุรกิจ, อดีตสมาชิกวุฒิสภา 
ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์  สัดส่วน สปช. อดีตอาจารย์รัฐศาสตร์ มธ. / อดีตนักการเมือง 
ถวิลวดี บุรีกุล  สัดส่วน สปช.ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า 
คำนูณ สิทธิสมานโฆษกสัดส่วน สปช.บรรณาธิการอาวุโสของเครือผู้จัดการ 
จรัส สุวรรณมาลา  สัดส่วน สปช. อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ 
รศ. วุฒิสาร ตันไชย โฆษก สัดส่วน สปช. เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
กอบศักดิ์ ภูตระกูล สัดส่วน สปช. ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพฯ 
มีชัย วีระไวทยะ สัดส่วน สปช. อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี,
ผู้ก่อตั้งสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน 
พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกสัดส่วน สปช. อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ สัดส่วน สปช.กรรมการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคม
และสิ่งแวดล้อม
สุภัทรา นาคะผิวโฆษกสัดส่วน สปช.อดีตประธานคณะกรรมการ
องค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ประเทศไทย 
สมสุข บุญญะบัญชา สัดส่วน สปช. อดีตผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
พลโทนาวิน ดำริกาญจน์โฆษกสัดส่วน สปช. ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 
จุมพล สุขมั่น  สัดส่วน สปช. อดีตผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัด
พิษณุโลก เชียงใหม่ ลำปางและเชียงราย
เชิดชัย เสรีวงศ์  สัดส่วน สปช. อดีตสมาชิกสภาจังหวัดภูเก็ต
พลโทนคร สุขประเสริฐ สัดส่วน สปช. ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
ประชา เตรัตน์  สัดส่วน สปช. อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด