PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข่าว13/2/60


สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท แก่ ปชช. ที่มารอบถวายสักการะ ขอให้ทุกคนรักษาความดีประจำใจให้คงอยู่ตลอดไป

บรรยากาศที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ในช่วงบ่าย ภายหลังสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานวโรกาสให้พุทธศาสนิกชนได้เข้ากราบสักการะ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จออกมาประทานพระโอวาทแก่ประชาชนที่มารอกราบสักการะบริเวณหน้าพระอุโบสถ ว่า ขออำนวยพรให้พุทธศาสนิกชนทุกคน ที่มาพร้อมกันในวันนี้ เพื่ออำนวยพรหรือแสดงมุทิตาแด่พระองค์ในโอกาสได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงขอขอบใจแก่ญาติโยมทุกคน และขอให้ทุกคนรักษาความดีประจำใจให้คงอยู่ตลอดไป ซึ่งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีสุภาษิตบทนำ ระบุว่า ความพร้อมเพรียงแห่งชน ผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่นำความมุธิสาริกา นำเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรได้สำเร็จ ดังนั้น ในฐานะคนไทยขอให้รักษาคำสอนนี้ไว้ จากนั้น สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จกลับตำหนัก โดยมีประชาชนรอรับเสด็จตลอดเส้นทาง
/////////
ปรองดอง

ซูเปอร์โพล ปชช.อยากมอบดอกไม้ให้นายกฯมากสุด หนุนเดินหน้าปรองดองวันวาเลนไทน์ ชี้ความรักคือพลังสำคัญที่จะทำให้สำเร็จ ต้องทำให้ได้ก่อนเลือกตั้ง

ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง "วาเลนไทน์ การเมือง ประชาชนอยากมอบ ดอกไม้ให้ใคร" จากกรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ

จำนวน 1,158 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 6-12 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.6 อยากมอบ ดอกไม้แห่งความรักให้ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รองลงมา ร้อยละ 12.0 นายทักษิณ

ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, ร้อยละ 7.1 น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ ร้อยละ 6.9 นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ และนายชวนหลีกภัย 2 อดีตนายกฯจากพรรคประชาธิปัตย์

ทั้งนี้ ร้อยละ 67.0 เห็นด้วย ที่รัฐบาล และ คสช.จะจัดพื้นที่สร้างความปรองดองของคนในชาติในวันวาเลนไทน์ มีเพียงร้อยละ 33.0 ไม่เห็นด้วย, ขณะเดียวกัน ประชาชน ร้อยละ 77.1สนับสนุนให้

สร้างความปรองดองให้สำเร็จก่อนเลือกตั้ง แต่ ร้อยละ 22.9 ระบุควรเลือกตั้งก่อนทำปรองดอง, โดยร้อยละ 82.7 เห็นด้วยกับ การรับฟังความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ ความปรองดองในระดับพื้นที่
แต่ละจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ประชาชน ร้อยละ 48.1 ยังระบุ พลังความรัก ความสามัคคี ของคนส่วนใหญ่ในชาติ คือสิ่งที่จะทำให้การปรองดองประสบ

ความสำเร็จ, รองลงมาร้อยละ 22.8 ระบุ การลดความเหลื่อมล้ำ ความอยู่ดีกินดี,ร้อยละ 17.1 การไม่เลือกปฏิบัติ ความยุติธรรม ความเป็นธรรมทางสังคม และร้อยละ 2.3 นักการเมือง
-------
"อภิสิทธิ์" นำอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ เข้ากราบถวายสักการะสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช เป็นกลุ่มแรก

บรรยากาศที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ได้เปิดให้ประชาชนเข้าเฝ้ากราบถวายสักการะ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในรอบแรกแล้ว ตั้งแต่เวลา 09.00 น. โดยฆารวาสกลุ่มแรกที่เข้าถวายสักการะ คือ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ นายสาธิตย์ ปิตุเตชะ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ตามด้วยองค์กร ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทยอยเข้ากราบถวายสักการะอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ต่างนำดอกไม้มารอถวายและที่สำคัญทางวัดได้กำชับญาติโยมให้งดการถวายปัจจัยทุกชนิด ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างเรียบร้อยงดงาม

อย่างไรก็ตาม ทางวัดได้จัดเตรียมสถานที่และนำเก้าอี้มาจัดวางไว้รอบพระอุโบสถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะมาในวันนี้
---------
โฆษก กห. เผย อนุฯ ปรองดอง เชิญ 3 พรรค พูดคุยในวันแรก หวังทุกภาคส่วนเสนอข้อคิดเห็นที่สร้างสรรค์ สร้างสามัคคีปรองดอง เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติในอนาคต

พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้กำหนดเริ่มเชิญพรรคการเมือง เข้าร่วมพูดคุยหารือกัน ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 60 เป็นต้นไป ณ ศาลาว่าการกลาโหม โดยในเวลา 09.00 - 12.00 น. เป็นพรรคความหวังใหม่, พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย และพรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย, เข้าร่วมพูดคุยพร้อมกัน โดยคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ซึ่งมี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ร่วมให้การต้อนรับและพูดคุย จากนั้น ในวันที่ 15 ก.พ. เวลา 13.30 – 16.30 น. เป็นพรรคชาติพัฒนา

ทั้งนี้ คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ยืนยันจะทยอยเชิญทุกพรรคการเมือง และภาคส่วนต่าง ๆ ในลำดับต่อไป และหากมีการตอบรับยืนยัน จะได้มีการประสานนัดหมายกำหนดวันเวลาที่เหมาะสมต่อไป พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองและทุกภาคส่วน ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมพูดคุย จะร่วมกันใช้โอกาสนี้ ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ต่อการเดินหน้ากระบวนการสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในอนาคต
-------------
"สุรพงษ์" ชี้ ความเป็นประชาธิปไตย คือ สิ่งแรกต้องดำเนินการ อัด รบ. ล้มเหลวด้านเศรษฐกิจ ขอให้หันมาช่วยกัน

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ทุกคนฝากความหวังไว้กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่จะทำให้ประเทศปรองดองและเดินไปข้างหน้าแล้วลืมอดีตที่ผ่านมากันให้ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่คนไทยอยากเห็น คือ กฎหมายที่เป็นกฎหมายบังคับใช้กับคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกข้าง เชื่อว่าความเป็นประชาธิปไตย จะสิ่งแรกที่ต้องดำเนินการ ไม่ใช่เพราะอยากจะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว แต่อยากเห็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชนให้ได้ดีกว่านี้ เพราะตลอดเวลา 2 ปีกว่าที่รัฐบาล คสช. บริหารประเทศมานั้น รัฐบาลต้องยอมรับว่าบริหารได้ล้มเหลวทางเศรษฐกิจ โครงการประชารัฐก็ลอกเรียนแบบจากอดีตมาแทบทั้งสิ้น แต่ต้องขอชมเชยที่ยังสามารถทำให้สังคมเข้าใจว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศยังดีอยู่ ดังนั้น ขอให้หันมาช่วยกัน ไม่ควรโยนความรับผิดชอบไปให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาแก้ปัญหาอยู่ร่ำไป
---------------
"องอาจ" เผย ปชป. จัดคนร่วมปรองดอง 17 ก.พ. แล้ว ย้ำ อำนาจเบ็ดเสร็จไม่ช่วยทำให้เกิดการปรองดอง

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองเชิญพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองต่าง ๆ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการฯ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. เป็นต้นไปนั้น ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับหนังสือเชิญให้ไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องความสามัคคีปรองดองในวันศุกร์ที่ 17 ก.พ. นี้ ซึ่งขณะนี้ ทาง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ โดยเชื่อว่าความคิดเห็นของพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการฯ ในการนำไปบูรณาการข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง

ทั้งนี้ อยากเห็นก้าวแรกของการเปิดเวทีเพื่อความสามัคคีปรองดองครั้งนี้ เป็นเวทีที่ทุกฝ่ายเปิดใจแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความจริงใจต่อประเทศชาติบ้านเมืองโดยรวม เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าร่วมกันและในส่วนของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง แม้จะแต่งตั้งโดย คสช. ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือ ก็ต้องระลึกอยู่เสมอว่า อำนาจที่เบ็ดเสร็จจะไม่ช่วยทำให้เกิดการปรองดองที่เบ็ดเสร็จได้
-----------
"องอาจ" แนะสร้างปรองดอง โอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การสร้างความสามัคคีปรองดอง ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะช่วยทำให้การปรองดองมีความเป็นไปได้มากขึ้น และเพื่อให้การทำงานด้านปรองดองเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการคณะกรรมการ ป.ย.ป. ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. เปิดใจกว้างรับฟังข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแสวงหาทางออกเพื่อนำไปสู่การปรองดอง
2. ไม่มีการแสดงออกใด ๆ ที่บ่งบอกว่ามีธงไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่าประสงค์จะใช้วิธีการปรองดองแบบไหน อย่างไร ต้องแสดงออกถึง
ความเป็นกลางในการรับฟังข้อมูลความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างชัดเจน
3. เปิดเวทีให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมตัดสินใจในกระบวนการของการปรองดอง
4. แสดงออกถึงความตั้งใจในการทำงานให้เกิดผลอย่างแท้จริง เพื่อให้ทุกภาคส่วนเต็มใจ และมั่นใจที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
-------------
ชพน. ยัน พร้อมสนับสนุนสร้างความปรองดอง 15 ก.พ. นี้ หัวหน้าพรรค นำทีมเข้าเสนอความคิดเห็นต่ออนุกรรมการฯ

นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา กล่าวว่า พรรคฯ จะเข้าร่วมให้ความเห็นกับอนุกรรมการเพื่อสร้างความปรองดอง กับคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความปรองดอง ในวันที่ 15 ก.พ. นี้ ว่า ทางพรรคได้ส่งตัวแทนของพรรค ตามที่รัฐกำหนด นำโดย นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรค,นายประเสริฐ บุญชัยสุข เลขาธิการพรรค

ทั้งนี้ พรรคชาติพัฒนา ยืนยัน จะให้การสนับสนุนงานปรองดองและต้องการให้ทุกพรรคการเมือง ทุกกลุ่มการเมืองร่วมแสดงความเห็นในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลนำไปเป็นแนวทางประกอบการพิจารณา และนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

///////////

กรธ.

กรธ. พิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย ป.ป.ช. คืบหน้าแล้ว ร้อยละ 50 เร่งวางระบบไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ ป.ป.ท. หวังช่วยป้องกันการทุจริตให้ได้มากที่สุด

ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กรธ. กำลังพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันปราบปรามและการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยคืบหน้าไปแล้วประมาณร้อยละ 50 หรือประมาณ 100 กว่ามาตราแล้ว ส่วนเรื่อง ป.ป.ช.จังหวัด นั้น ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก แต่จะต้องมีการ
พิจารณากันอีกครั้ง เพราะว่าไม่ได้มีการกำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. นั้น กรธ. มุ่งหวังให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด เพื่อให้ป้องกันการทุจริตให้ได้มากที่สุด โดยจะพยายามจัดให้มีระบบการทำงานร่วมกันของการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ของ ป.ป.ช. ไม่ซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ป.ป.ท.) ด้วย

ทั้งนี้ ในส่วนของ ร่าง พ.ร.ป.กรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ (กสม.) นั้น อนุกรรมาธิการยังต้องการรับฟังความคิดเห็น โดยจะเป็นรับฟังความคิดเห็นเป็นการภายใน โดยจะเชิญหน่วยงานหรือองค์กรที่ยังไม่ได้เข้าร่วมให้ความคิดเห็นในรอบที่ผ่านมา และที่จะจัดเวทีรับฟังความเห็นในเรื่องผู้ตรวจการแผ่นดิน ดวย ในวันที่ 15 ก.พ. นี้ ที่อาคารรัฐสภา
/////////
ทุจริต
กกต. ขานรับยุทธศาสตร์ชาติปราบปรามทุจริต - ประกาศเจตจำนงบริหารงานสุจริต

พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า สำนักงาน กกต. ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและต่อต้านการทุจริตตามยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2560 - 2564 จึงได้ประกาศเจตจำนงในการบริหารงานองค์กรด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ทั้งต่อ
เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานและสาธารณชน เพื่อแสดงความตั้งใจหรือคำมั่นที่จะพัฒนาหน่วยงานให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม โปร่งใส ตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

ทั้งนี้ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวว่า กกต. ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาองค์กร 6 ด้าน คือ
1. ด้านความโปร่งใส มุ่งเน้นการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้องเป็นไปตาม
กฎหมาย
2. ด้านความพร้อมรับผิด ผู้บริหารและพนักงานมีความมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มใจ
3. ด้านความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติตน ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ว่าด้วยประมวลจริยธรรม
4. ด้านวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานไม่ทนต่อการทุจริต
5. ด้านคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน มีระบบการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน ยึดหลักความถูกต้อง
เป็นธรรม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ
6. ด้านการสื่อสารภายในหน่วยงาน ถ่ายทอดนโยบาย ทั้ง 5 ด้าน ห้ผู้บริหารและพนักงานเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญถึงการ
ปฏิบัติงานตามหลักคุณธรรมและความโปร่งใส ด้วยความเคร่งครัดต่อไป

ไอลอว์ แฉ พล.อ.ปรีชา-ผบ.ทร.-ผบ.ทอ. ขาดประชุมสนช. บ่อยจนอาจสิ้นสมาชิกภาพ

ไอลอว์ แฉ พล.อ.ปรีชา-ผบ.ทร.-ผบ.ทอ. ขาดประชุมสนช. บ่อยจนอาจสิ้นสมาชิกภาพ

13 ก.พ. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พบว่า ตามข้อบังคับกำหนดให้สมาชิกต้องมาลงมติอย่างน้อย 1 ใน 3 ของทุกรอบ 90 วัน แต่พบสมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ขาดประชุมเป็นประจำ จนอาจจะเป็นเหตุให้สิ้นสภาพการเป็นสมาชิกสนช. เว้นแต่ ได้ยื่นใบลาต่อประธานสภา แต่เมื่อขอข้อมูลการยื่นใบลากลับพบว่า "ข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับ"
ไอลอว์ ระบุด้วยว่า ได้เลือกรอบระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559 และค้นหาจำนวนการแสดงตนเพื่อลงมติของสมาชิกสนช. จำนวน 8 คน ว่า มารายงานตัวเพื่อลงมติเกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติทั้งหมดหรือไม่ พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ อันได้แก่ พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ อดีตเสนาธิการทหารเรือ, สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, ดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการกฤษฎีกา, สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรม, พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ร.อ. ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ
 
รอบวันที่ 1 ม.ค. 2559 - 31 มี.ค. 2559  มีการลงมติทั้งหมด 250 ครั้ง จำนวนหนึ่งในสามของการลงมติทั้งหมด คือ 84 ครั้ง พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ มาลงมติ 55 ครั้ง, สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ มาลงมติ 81 ครั้ง, ดิสทัต โหตระกิตย์ มาลงมติ 4 ครั้ง,  สุพันธุ์ มงคลสุธี มาลงมติ 57 ครั้ง, พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา มาลงมติ 5 ครั้ง 
 
รอบวันที่ 1 เม.ย. 2559 - 29 มิ.ย. 2559 มีการลงมติทั้งหมด 203 ครั้ง จำนวนหนึ่งในสามของการลงมติทั้งหมด คือ 68 ครั้ง พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ ไม่มาลงมติเลย, พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา มาลงมติ 1 ครั้ง, พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง มาลงมติ 63 ครั้ง และพล.ร.อ.ณะ อารีนิจ มาลงมติ 1 ครั้ง
 
 
ไอลอว์ ระบุอีกว่าจากการสำรวจทำให้พบจุดร่วมของสมาชิกส่วนใหญ่ที่ขาดประชุมบ่อยๆ ว่า มักจะเป็นสมาชิก สนช. ซึ่งทำงานควบตำแหน่งหรือยังมีตำแหน่งเป็นข้าราชการประจำอยู่ด้วย แต่ทว่า สมาชิกเหล่านี้ ยังคงได้รับเงินเดือนจากต้นสังกัดทั้งสองทาง นั้นคือ เงินเดือนข้าราชการและเงินเดือนจากการเป็นสมาชิกสนช. (ประมาณ 113,560 บาท ต่อเดือน โดยไม่รวมเบี้ยประชุมกรรมาธิการ และอื่นๆ) 
 
ไอลอว์ได้ลองโทรศัพท์ติดต่อไปยังสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอดูบันทึกการลาประชุมของ สมาชิก สนช. แต่ละท่าน โดยเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องดังกล่าว แจ้งว่าไม่สามารถเปิดเผยข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ขอเป็นความลับของทางราชการ พร้อมยืนยันว่า สนช. ทุกท่านยื่นไปลาให้ทางสภาทุกครั้ง 
 
สำหรับ บทลงโทษเกี่ยวกับการขาดประชุมของสมาชิกสนช. นั้น ไอลอว์ ระบุว่า ตามรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 มาตรา 9 (5) กำหนดว่า ถ้าสมาชิก “ไม่มาแสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม” ให้สมาชิกภาพการเป็นสนช. สิ้นสุดลง
 
และยังมี กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม สนช. พ.ศ.2557 ข้อ 82. ว่า "สมาชิกที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภาเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนครั้งที่มีการแสดงตนเพื่อลงมติทั้งหมดในรอบระยะเวลาเก้าสิบวัน ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง กรณีที่สมาชิกไม่แสดงตนเพื่อลงมติตามวรรคหนึ่งเนื่องจากได้ลาการประชุม ... มิให้ถือว่าสมาชิกผู้นั้นไม่แสดงตนเพื่อลงมติ...”
 
หรือ หมายความว่า “ในรอบระยะเวลา 90 วัน” ถ้าสมาชิก สนช.คนใด “ไม่มาลงมติเกินกว่าหนึ่งในสาม” ของจำนวนการลงมติทั้งหมดในรอบระยะเวลานั้น จะต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพความเป็นสนช. อย่างไรก็ตาม ถ้าสมาชิกมาลงมติไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด แต่ได้ลาประชุมไว้แล้ว ก็จะไม่ส่งผลให้สิ้นสุดสมาชิกภาพ

ท่าทีปรองดอง


โฆษก กห. เผย อนุฯ ปรองดอง เชิญ 3 พรรค พูดคุยในวันแรก หวังทุกภาคส่วนเสนอข้อคิดเห็นที่สร้างสรรค์ สร้างสามัคคีปรองดอง เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติในอนาคต

พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้กำหนดเริ่มเชิญพรรคการเมือง เข้าร่วมพูดคุยหารือกัน ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 60 เป็นต้นไป ณ ศาลาว่าการกลาโหม โดยในเวลา 09.00 - 12.00 น. เป็นพรรคความหวังใหม่, พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย และพรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย, เข้าร่วมพูดคุยพร้อมกัน โดยคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ซึ่งมี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ร่วมให้การต้อนรับและพูดคุย จากนั้น ในวันที่ 15 ก.พ. เวลา 13.30 – 16.30 น. เป็นพรรคชาติพัฒนา  

ทั้งนี้ คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ยืนยันจะทยอยเชิญทุกพรรคการเมือง และภาคส่วนต่าง ๆ ในลำดับต่อไป และหากมีการตอบรับยืนยัน จะได้มีการประสานนัดหมายกำหนดวันเวลาที่เหมาะสมต่อไป พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองและทุกภาคส่วน ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมพูดคุย จะร่วมกันใช้โอกาสนี้ ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ต่อการเดินหน้ากระบวนการสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในอนาคต

ปชป.จัดคนร่วมพูดคุยปรองดอง17ก.พ.แล้ว 

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองเชิญพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองต่าง ๆ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการฯ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. เป็นต้นไปนั้น ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับหนังสือเชิญให้ไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องความสามัคคีปรองดองในวันศุกร์ที่ 17 ก.พ. นี้ ซึ่งขณะนี้ ทาง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ โดยเชื่อว่าความคิดเห็นของพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการฯ ในการนำไปบูรณาการข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง
ทั้งนี้ อยากเห็นก้าวแรกของการเปิดเวทีเพื่อความสามัคคีปรองดองครั้งนี้ เป็นเวทีที่ทุกฝ่ายเปิดใจแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความจริงใจต่อประเทศชาติบ้านเมืองโดยรวม เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าร่วมกันและในส่วนของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง แม้จะแต่งตั้งโดย คสช. ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือ ก็ต้องระลึกอยู่เสมอว่า อำนาจที่เบ็ดเสร็จจะไม่ช่วยทำให้เกิดการปรองดองที่เบ็ดเสร็จได้

นอกจากนี้ นายองอาจ ยังกล่าวว่า การสร้างความสามัคคีปรองดอง ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะช่วยทำให้การปรองดองมีความเป็นไปได้มากขึ้น และเพื่อให้การทำงานด้านปรองดองเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการคณะกรรมการ ป.ย.ป. ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. เปิดใจกว้างรับฟังข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแสวงหาทางออกเพื่อนำไปสู่การปรองดอง
2. ไม่มีการแสดงออกใด ๆ ที่บ่งบอกว่ามีธงไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่าประสงค์จะใช้วิธีการปรองดองแบบไหน อย่างไร ต้องแสดงออกถึงความเป็นกลางในการรับฟังข้อมูลความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างชัดเจน
3. เปิดเวทีให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมตัดสินใจในกระบวนการของการปรองดอง
4. แสดงออกถึงความตั้งใจในการทำงานให้เกิดผลอย่างแท้จริง เพื่อให้ทุกภาคส่วนเต็มใจ และมั่นใจที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่


___
องอาจ" เผย ปชป. จัดคนร่วมปรองดอง 17 ก.พ. แล้ว ย้ำ อำนาจเบ็ดเสร็จไม่ช่วยทำให้เกิดการปรองดอง แนะให้โอกาสทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองเชิญพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองต่าง ๆ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการฯ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. เป็นต้นไปนั้น ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับหนังสือเชิญให้ไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องความสามัคคีปรองดองในวันศุกร์ที่ 17 ก.พ. นี้ ซึ่งขณะนี้ ทาง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ โดยเชื่อว่าความคิดเห็นของพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการฯ ในการนำไปบูรณาการข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง
ทั้งนี้ อยากเห็นก้าวแรกของการเปิดเวทีเพื่อความสามัคคีปรองดองครั้งนี้ เป็นเวทีที่ทุกฝ่ายเปิดใจแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความจริงใจต่อประเทศชาติบ้านเมืองโดยรวม เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าร่วมกันและในส่วนของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง แม้จะแต่งตั้งโดย คสช. ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือ ก็ต้องระลึกอยู่เสมอว่า อำนาจที่เบ็ดเสร็จจะไม่ช่วยทำให้เกิดการปรองดองที่เบ็ดเสร็จได้
นายองอาจ ยังกล่าวว่า การสร้างความสามัคคีปรองดอง ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะช่วยทำให้การปรองดองมีความเป็นไปได้มากขึ้น และเพื่อให้การทำงานด้านปรองดองเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการคณะกรรมการ ป.ย.ป. ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. เปิดใจกว้างรับฟังข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแสวงหาทางออกเพื่อนำไปสู่การปรองดอง
2. ไม่มีการแสดงออกใด ๆ ที่บ่งบอกว่ามีธงไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่าประสงค์จะใช้วิธีการปรองดองแบบไหน อย่างไร ต้องแสดงออกถึงความเป็นกลางในการรับฟังข้อมูลความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างชัดเจน
3. เปิดเวทีให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมตัดสินใจในกระบวนการของการปรองดอง
4. แสดงออกถึงความตั้งใจในการทำงานให้เกิดผลอย่างแท้จริง เพื่อให้ทุกภาคส่วนเต็มใจ และมั่นใจที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

___
ชพน. ยัน พร้อมสนับสนุนสร้างความปรองดอง 15 ก.พ. นี้ หัวหน้าพรรค นำทีมเข้าเสนอความคิดเห็นต่ออนุกรรมการฯ

นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา กล่าวว่า พรรคฯ จะเข้าร่วมให้ความเห็นกับอนุกรรมการเพื่อสร้างความปรองดอง กับคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความปรองดอง ในวันที่ 15 ก.พ. นี้ ว่า ทางพรรคได้ส่งตัวแทนของพรรค ตามที่รัฐกำหนด นำโดย นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรค,นายประเสริฐ บุญชัยสุข เลขาธิการพรรค 
ทั้งนี้ พรรคชาติพัฒนา ยืนยัน จะให้การสนับสนุนงานปรองดองและต้องการให้ทุกพรรคการเมือง ทุกกลุ่มการเมืองร่วมแสดงความเห็นในประเด็นต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลนำไปเป็นแนวทางประกอบการพิจารณา และนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

เตรีมปรองดองนัดแรก14/2/60

เปิด"โต๊ะกลมกลาโหม รับ3พรรคการเมืองแรก  "พรรคความหวังใหม่"- "พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย"- "พรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย "แสดงความเห็น 14 กพ. วาเลนไทนส์ "บิ๊กช้าง"ปลัดกห.นำทีมรับฟัง ต่อด้วย"พรรคชาติพัฒนา"15ก.พ.นี้/ โฆษกกห. ขอให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ต่อการเดินหน้ากระบวนการสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

พลตรีคงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกลาโหม กล่าวว่า "คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง" ได้เชิญพรรคการเมือง เข้าร่วมพูดคุยหารือกัน ตั้งแต่ วันที่ 14 ก.พ.เป็นต้นไป ที่ศาลาว่าการกลาโหม โดยตั้งแต่เวลา 09.00 -12.00 
โดยเริ่มจาก พรรคความหวังใหม่ พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย และพรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย เข้าร่วมพูดคุยพร้อมกัน 

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ซึ่งมีพล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกลาโหม เป็นประธาน จะร่วมให้การต้อนรับและพูดคุย  

ต่อจากนั้น ในวันที่ 15กพ.60 เวลา 13.30–16.30 จะเป็น"พรรคชาติพัฒนา"

ทั้งนี้"คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง" จะให้เกียรติทยอยเรียนเชิญทุกพรรคการเมืองและภาคส่วนต่างๆในลำดับต่อไป และหากกรุณาตอบรับยืนยัน จะได้ประสานนัดหมายกำหนดวันเวลาที่เหมาะสมต่อไป 

โดยเชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองและทุกภาคส่วน ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมพูดคุย จะร่วมกันใช้โอกาสนี้ ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ ต่อการเดินหน้ากระบวนการสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในอนาคต