PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

คนพิการ เฮ ศาลปกครองให้BTSติดลิฟท์ทุกสถานี


วันนี้ (21 มกราคม 2558) ศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.987/2552 คดีหมายเลขแดงที่ อ.650/2557 ระหว่างนายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ กรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (คดีไม่จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส)
โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครอง
ชั้นต้น เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรุงเทพมหานคร) โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
(ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร)
1. จัดทำลิฟท์ที่สถานีขนส่งทั้ง 23 สถานี โดยมีรายละเอียดตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ข้อ 6 และข้อ 7 วรรคสอง และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 หมวด 1 อาคาร ข้อ 4 (6) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ)
2. จัดทำอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกที่สถานีขนส่งทั้ง 23 สถานี ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ฯ
3. จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกบนรถไฟฟ้า คือ ให้จัดที่ว่างสำหรับเก้าอี้เข็นคนพิการให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร และให้มีราวจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร บริเวณทางขึ้นลง และติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ทั้งในและนอกตัวรถคันที่จัดไว้สำหรับคนพิการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ฯ
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา กับให้ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ((ผู้อำนวยการสำนักการโยธา) รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่แนบมาพร้อมนี้
http://goo.gl/hUOGWI

กปปส.ชึ้นศาล

12.30น.คำแถลงการณ์ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. ที่สำนักงานอัยการ ถ.รัชดาภิเษก กรณีเข้ารายงานตัวกับอัยการข้อหากบฎ ระบุว่าแกนนำ กปปส. ทุกคนเคารพกระบวนการยุติธรรม และพร้อมจะต่อสู้คดีทุกคดี โดยไม่หลบหนีไปไหนที่ผ่านมา ได้ร่วมต่อสู้ด้วยความบริสุทธิ์ใจร่วมกับมวลมหาประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
มวลมหาประชาชนได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อต่อต้านการออกกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีผลเป็นการลบล้างความผิดให้กับนักการเมือง ผู้กระทำการทุจริต เปิดโปงความเลวร้ายของระบอบที่หวังครอบงำระบบการเมืองของประเทศไทย ด้วยวิธีการนอกเหนือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ภายใต้ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
ตลอด 204 วันของการชุมนุม ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชน เป็นการชุมนุมอย่างสงบสันติ เปิดเผยและปราศจากอาวุธ เป็นการชุมนุมที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ได้รับการรับรองจากมติศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ที่ระบุว่า การชุมนุมของมวลมหาประชาชน “เป็นการใช้เสรีภาพโดยสงบ เนื่องจากไม่ไว้วางใจการบริหารของรัฐบาล” นอกจากนั้น ศาลแพ่งก็มีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ห้ามรัฐบาลใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในการสลายการชุมนุม เพราะ “เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ”
ความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยการกระทำของผู้ชุมนุมแต่เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ขัดผลประโยชน์
เราขอตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งข้อกล่าวหากบฏกับแกนนำและมวลมหาประชาชน มีพฤติการณ์พิเศษ ริเริ่มโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษในช่วงที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดี มีการตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรงทั้งๆ ที่ศาลได้วินิจฉัยรับรองความบริสุทธิ์ของการชุมนุมแล้วเห็นได้ว่าเป็นการตั้งกล่าวหาอย่างอคติโดยกลุ่มคนผู้เสียผลประโยชน์ตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมวลมหาประชาชน
อย่างไรก็ตาม แกนนำและมวลมหาประชาชนทุกคนเชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยสามารถแยกแยะผิดถูก และในที่สุด จะให้ความเป็นธรรมกับแกนนำและมวลมหาประชาชนที่เสียสละเพื่อรักษาประโยชน์ของชาติบ้านเมือง


.หมีขาวส่งกองทัพ ทยอยลงนามนัดวันดีเดย์กับชาติมุสลิมแล้ว

วันที่ 21 ม.ค.58 สยอง..หมีขาวส่งกองทัพ ทยอยลงนามนัดวันดีเดย์กับชาติมุสลิมแล้ว
ประธานาธิบดีปูติน สังกองทัพ ทยอยไปลงนามบางอย่าง (บอกไม่ได้) กับกองทัพชาติมุสลิมพันธมิตรขาใหญ่อิหร่านแล้ว คิวต่อไปก็อินเดีย และอื่นๆ ฯลฯ ตามสูตร คนอย่างปูติน KGB เก่า ไม่พูด ไม่แถลง ไม่โวยวาย ถึงเวลากดปุ่มลูกเดียว ตอนนี้เมืองโดเน็ทซ์ค ยูเครน ถูกกลุ่มนักรบนิยมรัสเซีย ประเคนอาวุธหนักจรวด ปืนใหญ่ ฯลฯ ใส่ทหารยูเครนซะเละไปหมด
นี่ขนาดยังไม่ส่งทหารรัสเซียตัวเป็นๆ เข้าไปเล่นในสนามนะ แค่หนุนอาวุธให้เด็กๆ เก็บบอลข้างสนาม ยังนับแต้มประตูแทบไม่ทัน ถ้าตัวจริงลงสนาม ทหารยูเครน คงกลายเป็นแกงโฮ๊ะแน่
ใครที่ไม่ได้ศึกษาสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อ 100 ปีที่แล้ว กับครั้งที่ 2 เมื่อ 70 ปีที่แล้ว ก่อนการขยายพื้นที่รบ ชาติที่เป็นพันธมิตรกัน จะต้องเดินสายลงนามข้อตกลงทางทหารกันก่อน เพื่อเป็นหลักประกันว่า เมื่อลูกพี่ใหญ่ลงมือ แค่โทรกริ๊ก "ไอ้เสือเอาวา" บรรดาขาโจ๋ที่ลงนามกันไว้ ก็จะวิ่งใส่ตะลุมบอนด้วย จะได้ไม่ผิดคิวกัน
การทยอยการลงนามทางทหารกับบรรดาชาติมุสลิม ที่มีอาวุธนิวเคลียร์ ซ่อนอยู่ในครัวหลังบ้านแบบนี้ มันสร้างความหนาวเหน็บ ถึงขั้วใส้ติ่ง กับบรรดาขาใหญ่ยุโรป ฝ่าย NATO ยิ่งนัก เพราะเมื่อไรมุสลิมลงมือทำสงครามของจริง นั่นหมายถือต้องเละเท่านั้น ไม่รู้แพ้รู้ชนะไม่เลิก
ส่วนทหารไทยเรา ก็ตั้งมั่นเตรียมพร้อมในที่ตั้ง จับตาสถานการณ์โลกระอุอยู่ตลอดเวลา และก็คืนความสุขประชาชน เด็กๆ , ส่งเสริมการท่องเที่ยว , สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง , สำรวจพลังงานเตรียมไว้หากต่างชาติเขารบยืดเยื้อ ฯลฯ
ถ้าฝ่ายใดรบกันเหนื่อยและ หิวก็แวะมาไทยนะ..ติ๊ง ต่อง...เรามีบริการปรุงสุก และแพ็คอาหาร สำหรับเอากลับบ้าน ไปกินกลางทะเลทราย ในรถถัง รถหุ้มเกราะ และฐานยิงขีปนาวุธข้ามทวีป , คิดภาพดูซิ ทหารต่างชาติตั้งวง กินแกงไตปลา นำ้บูดู ลูกสะตอ น้ำพริกอ่อง ผักลวกจิ้ม ไก่ย่าง ส้มตำ แล้วเอาข้าวเหนียวจิ้มปลาร้าไป..
พออิ่มได้ที่ ก็ไปขนจรวด 40 ลำกล้อง และยิงขีปนาวุธใส่กัน ฟิ้ว ฟิ้ว..ท่ามกลางแสงไฟบนท้องฟ้ายุโรป เสียงตูมตามสนั่นปานฟ้าถล่ม รถหวอวิ่งขวักไขว่...ฟินจัง...ฮา (^_^


ความเห็น ถอดถอนยิ่งลักษณ์

data21Jan15ถอดถอน

การเมืองสัปดาห์นี้ที่น่าจะร้อนแรง เป็นวันศุกร์ที่ 23 มกราคม เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นัดประชุมใหญ่ลงมติ ถอดถอน 3 อดีตผู้นำทางการเมืองออกจากตำแหน่ง ประกอบด้วย  อดีตนายกรัฐมนตรี"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" กรณีปมทุจริตโครงการรับจำนำข้าว อดีตประธานรัฐสภา “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์” และอดีตประธานวุฒิสภา “นิคม  ไวยรัชพานิช”  ซึ่งแต่เดิมมีกระแสข่าวว่าทีแรกอาจจะรอดพ้นทั้งหมด เพราะเสียง"สนช."ถอดถอนอาจไม่ถึง 132 เสียง หรือ 3 ใน 5 ของ 220 เสียง  แต่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า สนช.บางกลุ่ม เริ่มกลับลำ  พร้อมมีกระแสข่าวว่าอาจจะมีบางคนเท่านั้นที่รอด  ติดตามแหล่งข่าวกล่าวว่า
////////////////////////
18/1/58
3 เหตุผลที่สนช.จะถอดถอน"ยิ่งลักษณ์-สมศักดิ์-นิคม"

นายประสาร มฤคพิทักษ์ สปช.ปฏิรูปการเมือง ได้ส่งไลน์ถึงผู้สื่อข่าวในวันนี้ โดยนายประสารเเสดงความเห็นเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสนช.ในการถอดถอนผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองว่า มีความเห็นว่าวันที่ 23 ม.ค.นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะถูกถอดถอนด้วยคะแนนเสียงเกิน 132 เสียง ส่วนนายนิคม ไวยรัชพานิช และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตผู้นำรัฐสภา ก็มีสิทธิ์จะถูกถอดถอนด้วย เนื่องจาก
1.ความถูกต้องชอบธรรมอยู่กับฝ่ายยื่นถอดถอน ขณะที่การแถไถบิดเบือนอยู่กับฝ่ายผู้ถูกกล่าวโทษ 2.อาจารย์วิชา มหาคุณ กรรมการปปช. ทำหน้าที่ได้ดี ชี้แจงประเด็นกระจ่าง ตอบคำถามอย่างมีน้ำหนักมีความอดทนและมีวุฒิภาวะ เทียบกับอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว อาจารย์วิชาได้ทั้งใจและได้ทั้งมือของสนช.เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนหน้านี้
3.น.ส.ยิ่งลักษณ์ หนีการตรวจสอบของสภา เมื่อวันศุกร์ที่ 16ม.ค. ทีมงานก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะคำถามส่วนใหญ่ถามตรงต่อนายกฯ บางคำถามเกี่ยวพันกับจิตสำนึกรับผิดชอบที่คนอื่นตอบแทนไม่ได้

เพราะ สนช.ต้องการฟังคนที่ถูกกล่าวโทษ ไม่ต้องการฟังลูกขุนพลอยพยัก ส่วนนายนิคมนั้นทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดีที่น่ารังเกียจ ขณะที่นายสมศักดิ์ก็ยืนกรานในความผิดพลาดของตนเองอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้นเชื่อว่าการลงมติวันนั้น จะเป็นวิจารณญาณประวัติศาสตร์ของ สนช. คาดว่า สนช.จะมีวินิจฉัยไปในทางแยกการปรองดองออกจากการลงมติ เพราะการลงมติเป็นการรักษาบรรทัดฐานทางคุณธรรมของสังคมไทย เป็นเส้นแบ่งสำคัญระหว่างความฉ้อฉลกับสุจริตธรรมว่าอะไรจะเหนือกว่ากันซึ่งจะชี้ชะตากรรมอนาคตได้ด้วยว่าการปฏิรูปกระบวนการทางการเมือง ยังมีความหวังได้หรือไม่ ขอประเมินว่า คะแนนถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเกิน 132 เสียงแน่ ส่วนอีกสองคนนั้นก็มีสิทธิ์ลุ้นถึง 132 เสียงได้เช่นกัน

วันที่โพสข่าว : 18 มค. 2558 เวลา 18:29 น.
////////////////////////
14/1/58 Tnews

สืบเนื่องจากหากลงมติไม่ถอดถอนก็อาจจะนำไปสู่ผลกระทบที่มีต่อความเชื่อมั่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.ที่ได้ประกาศมาโดยตลอดว่าโครงการรับจำข้าวได้

สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับประเทศและจะต้องมีผู้รับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
ซึ่งผู้สื่อข่าวสำนักข่าวสำนักข่าวทีนิวส์ได้ไปสัมภาษณ์ประชาชนต่อการลงมติถอดถอนดังกล่าว

ว่าด้วยเรื่องของการทุจริตที่ผ่านมาก็ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจน ซึ่งตอกย้ำกับกรณีที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เดินทางไปแจ้งความกับกองปราบปรามเพื่อให้ดำเนินคดีกับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ติดตาม

จากรายงาน

และแม้ว่าในวันที่ลงมติถอดถอนผลจะออกมาเป็นอย่างไรสถานการณ์ล่าสุด มีรายงานข่าว จากแหล่งข่าวของสนช.โดยระบุขนาดว่า สนช.ได้ส่งสัญญาณมาถึง สนช.สายทหารและสายตำรวจว่าจะ

ต้องลงมติถอดถอนในครั้งนี้กันเลยทีเดียว

แหล่งข่าวจากสมาชิก สนช.เปิดเผยถึงการถอดถอนนายนิคม, นายสมศักดิ์ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า มีการส่งสัญญาณจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มายังสมาชิก สนช.สายทหารและตำรวจแล้วว่า

ให้ดำเนินการถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะเห็นว่าหากปล่อยให้หลุดคดีออกไปจะกระทบภาพรวมการทำงานของ คสช., สนช. และรัฐบาลที่ตกเป็นจำเลยสังคม และส่งผลให้ การปฏิรูปและการ

บริหารประเทศเสียหาย ทั้งระบบ โดยเห็นว่าช่องทางกฎหมายสามารถเอาผิดได้แม้รัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ยังมีกฎหมาย ป.ป.ช. และ พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการ แผ่นดิน

พ.ศ.2534 บังคับใช้อยู่ ซึ่งขณะนี้ คสช.เริ่มวางแนวทางและสร้างกระแสสังคมนำไปสู่การถอดถอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น มอบหมายให้ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ไปแจ้ง

ความกองบังคับการกองปราบปรามเอาผิดคู่สัญญาในโครงการรับจำนำข้าวไว้แล้ว

โดยขณะนี้มีฝ่ายที่ต้องการถอดถอนประกอบด้วยกลุ่ม 40 สว. นักวิชาการและข้าราชการพลเรือน ซึ่งก็มีคะแนนเสียงสูสีกับฝ่ายที่ไม่ต้องการแตกหักกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่

ประกอบด้วย ข้าราชการทหารและตำรวจ และที่เกษียณแล้ว เชื่อว่าเมื่อมีการส่งสัญญาณจาก คสช. จะทำให้เสียงถอดถอนถึง 3 ใน 5 หรือ 132 เสียงแน่นอน แต่สุดท้ายต้องดูสัญญาณ อีกครั้งในวันที่

มีการถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าจะมีใครแตกแถวหรือไม่ เพราะมีสนช.หลายคนที่มีความสัมพันธ์กับพ.ต.ท.ทักษิณ เช่น กรณี พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะ สนช. ที่

เสนอให้ประชุมลับเมื่อครั้งแถลงเปิดคดีถอดถอนนายนิคมและนายสมศักดิ์ ที่มีเสียงสนับสนุนถึง 70 เสียง

ในส่วนถอดถอนนายนิคมและนายสมศักดิ์นั้น ถึงแม้จะต้องการถอดถอน เพราะ เห็นว่าเป็นการแก้กฎหมายเพื่อตัวเองและพวกพ้อง แต่ที่สุดเสียงถอดถอนคงไม่ถึง 132 เสียง สาเหตุเพราะไม่มีรัฐ

ธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นฐานความผิด

ขณะที่แหล่งข่าวจากสนช. กลุ่ม 40 สว.เผยว่า หลัง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์และรองหัวหน้า คสช.มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แต่งเครื่องแบบข้าราชการเต็มยศไปแจ้งความที่

กองปราบฯ เพื่อดำเนินคดีคู่สัญญาโครงการรับจำนำข้าว แสดงถึงการส่งสัญญาณชัดให้ถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ และยังสอดคล้องกับการชี้มูลของป.ป.ช. ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ส่อจงใจปล่อยให้เกิดความ

เสียหายในโครงการจำนำข้าว ซึ่งสนช.จำนวนมากรับทราบสัญญาณ ดังกล่าวตรงกัน เพราะหากดำเนินการไม่สำเร็จ ผลร้ายจะตกที่คสช.ลงมาถึงองค์กรอื่นๆตามลำดับ แต่สิ่งที่เป็นกังวลขณะนี้มี

ประเด็นเดียวคือ กลุ่มสนช.ที่ใกล้ชิดพ.ต.ท.ทักษิณอาจใช้วิธีงดออกเสียงแทน ถ้ามีจำนวนมากก็จะทำให้เสียงถอดถอนไม่ถึง 132 เสียง

นอกจากนี้ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการซักถามสำนวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกระแสข่าวว่า

มีคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฃ ในการพิจารณาสำนวนคดีถอดถอน ขอยืนยันว่า สมาชิกได้ยึดถือหลักการและกฎหมาย โดยดำเนินการตามข้อมูลด้วยเหตุและผลตามสำนวน ซึ่งเป็น

เรื่องที่สมาชิกแต่ละคนจะใช้ดุลยพินิจพิจารณา ไม่มีคำสั่งแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นไปตามหลักปฏิบัติ และกฎหมายจะต้องใช้บังคับได้อย่างแท้จริง กระแสข่าวที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นความคิดในอดีต

แต่รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ กำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่      

ขณะที่ขั้นตอนในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ณ.ขณะนี้ก็เป็นการเตรียมความพร้อมของกรรมาธิการซักถามและการเตรียมข้อมูลของฝ่ายผู้ถูกร้องซึ่งวันนี้มีการประชุมคณะกรรมาธิการซักถาม

สำนวนคดีถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ ประธานคณะกรรมาธิการซักถามสำนวนคดีถอดถอน นายนิคมไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ก็ได้เปิดเผยว่า ล่า

สุด นายนิคม ได้แสดงความจำนงที่จะมาตอบข้อซักถามตัวเอง ส่วนนายสมาศักดิ์นั้น ยังไม่ได้รับการแจงมายังคณะกรรมาธิการซักถาม ซึ่งหากจะมาตอบข้อซักถามดัวยตัวเองได้หรือไม่นั้น คงต้อง

ขึ้นอยู่กับที่ประชุม

ขณะเดียวกันประเด็นการถอดถอน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย  ระบุว่าไม่ทราบว่ามีอำนาจในการถอดถอนหรือไม่ แต่ในขณะนี้ สนช. รับเรื่องเข้าสู่การพิจารณาแล้ว แสดง

ให้เห็นว่า มีอำนาจในการถอดถอน

ขณะเดียวกันในวันที่ 15 มกราคม  คณะกรรมาธิการซักถามจะประชุม คดีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ซึ่งก่อนหน้านี้ นายสมชาย แสวงการ โฆษกคณะกรรมาธิการซักถาม  สำนวนถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีละเว้นปฏิบัติหน้าที่ไม่ยับยั้งความเสียหายโครงการจำนำข้าว

กล่าวว่า ในส่วนของคำถามที่เกี่ยวกับการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีสมาชิก สนช.แปรญัตติ ตั้งคำถาม 13 ราย เป็นคำถามถึง ป.ป.ช. 23 คำถาม และถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ 60 คำถาม โดยจะมีการจัด

กลุ่มคำถามเรียงเหตุการณ์และตัดคำถามนอกประเด็นออก ส่วนคำถามที่ซ้ำก็จะนำมารวมกัน นอกจากนี้จะเชิญ สนช.ที่ตั้งคำถามมารับทราบเพื่อทำความเข้าใจด้วย ซึ่งในวันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558

จะมีการซักถามอย่างเปิดเผย แต่ในระหว่างนี้คำถามทั้งหมดจะเป็นความลับ

ประยุทธ์เดือดโต้นักข่าว ปม พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ยัวะหลุดปาก “แล้วจะเป็นนายกทำไมวะ”

ประยุทธ์เดือดโต้นักข่าว ปม พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ยัวะหลุดปาก “แล้วจะเป็นนายกทำไมวะ”

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 20:10:14 น.

เมื่อเวลา 16.10 น. วันที่ 20 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมร่วม ครม.- คสช. โดยผู้สื่อข่าว  ได้สอบถามถึงการจัดซื้อเรือท้องแบนของกองทัพบกเป็นเงิน 39 ล้านบาท นั้นมีกรณีที่บริษัทที่ชนะการประกวดราคาและบริษัทที่เสนอราคาทั้ง 2 บริษัทนั้นมีความเชื่อมโยงกัน และมีผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “ไปแจ้งความมา” ผู้สื่อข่าว  จึงระบุว่า ผู้สื่อข่าวไม่มีหน้าที่ในการฟ้องร้องดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์จึงตอบว่า “ได้สิ ทุกคนแจ้งได้ ไปหามา”

 http://www.matichon.co.th/online/2015/01/14217588451421759520l.jpg

 จากนั้นผู้สื่อข่าว ได้สอบถามว่าครม.มี ความจำเป็นอะไรถึงเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการระบุถึงอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบ




พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “เป็นการเข้าไปหาคณะกรรมาธิการ เพราะเราเป็นผู้เริ่มต้นแล้วคณะกรรมาธิการเข้ามาเสนอต่อครม. ทุกคนต้องรู้จักกติกาบ้าง รู้ว่าทำงานกันอย่างไร สิ่งที่ผมกลัวคือทุกคนมองกันอย่างเดียวว่าจะถูกจำกัดสิทธิ วันนี้จำกัดสิทธิอะไรบ้างหรือยัง”

เมื่อถามว่า แต่ว่ามีการให้อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่ในการข้อถึงข้อมูลทุกรูปแบบ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “แล้วกฎหมายออกมาหรือยังล่ะ” เมื่อถามว่า ทำไมถึงผ่านที่ประชุมครม.ได้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “ไม่ต้องทำไม ให้ผ่านแล้วจะทำไมหรือ แล้วจะเป็นทำไมวะ นายกฯ เนี่ยจะเป็นทำไม”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ตอบคำถามด้วยอารมณ์โกรธฉุนเฉียว ก่อนที่จะเดินเข้าไปยังตึกไทยคู่ฟ้า ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ต่อไป

(ย้อนไปดู)เกม"สนช."บีบ"ยิ่งลักษณ์"แจงเดี่ยวจำนำข้าว-สกัด"องครักษ์"ห้ามยุ่ง!

เบื้องหลังเกม"สนช."บีบ"ยิ่งลักษณ์"แจงเดี่ยวจำนำข้าว-สกัด"องครักษ์"ห้ามยุ่ง!

เขียนวันที่
วันศุกร์ ที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 17:03 น.
เขียนโดย
isranews
เบื้องหลัง! เกมซักถาม สนช. VS ผู้แทน “ยิ่งลักษณ์” คดีถอดถอนโครงการจำนำข้าว สภาระอุ หลังทนายงัดข้อบังคับประชุมไม่ต้องมาเองได้ ก่อนถูกแก้เผ็ด สนช. หารือลับ! ไม่ถามผู้แทน ขีดเส้นซัก “ปู” อย่างเดียว
PIC-yingluck-16-1-58 1
ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อซักถามคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในกรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว โดยกรรมาธิการ (กมธ.) ซักถามฯนั้น 
ไม่ปรากฏตัวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้นำทีมเข้ามาตอบคำถามแต่อย่างใด !
แต่กลับมอบหมายให้ “อดีตบิ๊กรัฐมนตรี” ที่มีเอี่ยวในโครงการรับจำนำข้าวเข้ามาชี้แจงแทน ไม่ว่าจะเป็นนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรมว.พาณิชย์ เป็นต้น
ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจแก่ สนช. โดยเฉพาะสาย “40 ส.ว.” เป็นอย่างมาก จนเกิดข้อโต้แย้งต่าง ๆ นานา ในช่วงเริ่มต้นการประชุม
จนต้องขอให้ที่ประชุมพิจารณา “ลับ” เพื่อหารือว่าจะใช้วิธีการใดในการซักถาม
ผ่านไปกว่า 1 ชั่วโมง ที่ประชุมหารือแล้วเสร็จ จึงดำเนินกระบวนการซักถามต่อ โดย กมธ.ซักถามฯ ระบุว่า มีคำถามทั้งหมด 83 คำถาม
แบ่งเป็นฝ่ายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 23 คำถาม เป็นคำถามหลัก 12 คำถาม ส่วนฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ 60 คำถาม เป็นคำถามหลัก 35 คำถาม
โดย กมธ.ซักถามฯ ได้ตะลุยถามฝ่ายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก่อน โดยมีนายวิชา มหาคุณ เป็นผู้ชี้แจงทุกประเด็น ใช้ระยะเวลากว่า 2 ชั่วโมงจึงเสร็จสิ้น
หลังจากนั้นจึงเริ่มซักถามฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยขีดเส้นไว้อย่างชัดเจน
“ประสงค์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ตอบคำถามด้วยตนเอง โดยไม่ประสงค์ให้ผู้อื่นตอบแทน” ! 
หลังจบคำถามแรก นายนิวัฒน์ธำรง ขออนุญาตใช้สิทธิ์ในการตอบข้อซักถาม เนื่องจากเห็นว่าเป็นคำถามในเชิงปฏิบัติ แม้อดีตนายกรัฐมนตรีจะให้ข้อมูลในเชิงนโยบายครบทุกประเด็นแล้วก็ตาม แต่ทางเทคนิคให้ผู้แทนคดีตอบคำถามน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ สนช. มากกว่า
อย่างไรก็ดี นายสมชาย แสวงการ กล่าวว่า การซักถามเป็นกรรมสิทธิ์ของ กมธ.ซักถามฯ ทั้ง 13 คน ดังนั้นการให้อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับทราบคำถามก่อน และใช้สิทธิ์ในการตอบในวันแถลงปิดคดี คิดว่าเป็นธรรมแล้ว ฉะนั้นจะขอซักถามโดยไม่ประสงค์ให้ผู้อื่นตอบแทน
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน สนช. สอบถามนายนิวัฒน์ธำรง ว่า จะยืนยันตอบคำถามหรือไม่ และถ้า สนช. ประสานติดต่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เข้ามาตอบเองทำได้หรือไม่
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ตนพร้อมตอบคำถาม แต่การประสานงานไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้นไม่ทราบว่าท่านทำอะไรอยู่ และทำได้มากเพียงใด
หลังจากนั้น นายสุรชัย สั่งให้พักการประชุม 10 นาที เพื่อหารือการประชุมอีกครั้ง โดยหลังเสร็จสิ้นพักประชุม ได้ข้อสรุปว่า ควรให้ กมธ.ซักถามฯ ทำแบบเดิมต่อไป
หลังจากนั้นเมื่อจบคำถามที่ 11 นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความผู้แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลุกขึ้นขอชี้แจงต่อ สนช. ระบุว่า สืบเนื่องจากที่ประธานหารือแล้ว เข้าที่ประชุมแล้ว ประธานได้แจ้งว่า ได้หารือผู้แทนผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ยินยอมหรือเห็นด้วย 
“จริง ๆ แล้ว เราในฐานะผู้แทนไม่อาจเห็นชอบด้วย เพราะเป็นมติของสภา จึงขอยืนยันที่จะขอชี้แจง เพียงแต่ว่าเรานั้นจะชี้แจงหรือตอบข้อซักถาม ตามที่ประธานบอกว่าสภาดำเนินการได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราเห็นชอบหรือยินยอม” 
ทำให้นายสุรชัย จำเป็นต้องตอบโต้ โดยการร่ายยาวถึง “เบื้องหลัง” ในการพูดคุยครั้งนี้ เพราะทำให้ตัวเองเสียหาย
“ผมกับประธาน (พรเพชร) พยายามที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาอย่างเต็มที่ ช่วงพักการประชุมหารือนอกรอบ ได้แจ้งให้ฝ่ายผู้แทน โดยสภายินดีเลื่อนประชุมถึง 18.00 น. เพียงแต่ให้ผู้แทนติดต่อเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาสภาด้วยตนเอง”
“แล้วคำถามใดที่ ยิ่งลักษณ์ ฟังคำถามแล้วคิดว่าเป็นรายละเอียดของการปฏิบัติ ไม่อาจตอบชี้แจงต่อสภาได้ด้วยตนเอง ขออนุญาตที่จะมอบให้ผู้แทนตอบเป็นรายคำถาม เรายินดีอำนวยความสะดวกให้” 
“แต่คำตอบที่ได้จากผู้แทนคือบอกไม่สามารถติดต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ โดยบอกว่าไม่ทราบอยู่ที่ใด และขอให้สภาดำเนินไปตามเดิม นี่คือรายละเอียด แต่ที่แจ้งไม่ต้องการให้ปรากฏรายละเอียดหารือ ถ้าท่านโต้แย้ง ผมก็ต้องเล่าให้ที่ประชุมฟัง” 
ก่อนจะทิ้งท้ายว่า “ท่านผู้แทนเลือกเองว่าต้องการเอาแบบเดิม เพราะไม่อาจติดต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ ผมจึงต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาไปตามมติเดิม”
หลังจากนั้น กมธ.ซักถามฯ ได้ตั้งข้อซักถามแก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนจบครบ 35 คำถาม พร้อมกับท่าทีและสีหน้าแสดงความไม่ค่อยพอใจของฝ่ายผู้แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยใช้ระยะเวลากว่า 2 ชั่วโมง
และนี่คือเกมชิงไหวชิงพริบกันระหว่าง สนช. และฝ่ายผู้แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่เห็นกันจะ ๆ แบบถึงพริกถึงขิงคาสภา ส่วนใครจะแพ้หรือชนะ ขอให้สาธารณชนเป็นผู้ตัดสิน
ท้ายสุดในวันแถลงปิดคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะ “กล้า” มาด้วยตัวเองเหมือนตอนแถลงเปิดคดีหรือไม่ 
ต้องลุ้นต่อไปด้วยใจระทึก !

ความเห็น คดีถอดยิ่งลักษณ์ แถลงปิดคดี

"ปู"จะไปแถลงปิดคดีถอดถอนเอง 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
19 มกราคม 2558 02:06 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
			ปูจะไปแถลงปิดคดีถอดถอนเอง

เกาะกระแส
       
       00 นับว่าเล่ห์เหลี่ยมเหลือร้าย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นวันที่กรรมาธิการ สนช. นัดให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปตอบข้อซักถามในคดีถอดถอน จากเรื่องจำนำข้าว แต่เจ้าตัวก็หลบเลี่ยงไม่ยอมไป ส่งอดีตรัฐมนตรี ลิ่วล้อไปแทน เพื่อไปล้วงเอา "ข้อสอบ" 35 ข้อ ที่สมาชิกสนช.ขอสงวนไว้ให้ยิ่งลักษณ์ เป็นคนตอบเองออกมา แล้วบรรดาลิ่วล้อก็เอาคำถามมาตอบแทน เผยแพร่ทางยูทูป ตอบตรงคำถามบ้าง ไม่ตรงคำถามบ้าง ตามที่อยากจะตอบ ข้อไหนดิ้นไม่หลุด แถไม่ได้ก็ไม่ตอบ แถมยังมีบางข้อเป็นการถามเอง ตอบเอง เพื่อสร้างภาพบวก ตบตาประชาชนเสียอีก
       
       00 แต่วันที่ 22 ม.ค. นี้ จะเป็นวันแถลงปิดคดี ก่อนที่จะนัดลงมติในวันที่ 23 ม.ค. ก็จะรู้ว่าอยู่ หรือไป วันนั้น "นางโพย" จะไปแถลงปิดคดีเอง หลังจากที่รู้ข้อสอบแล้ว ซึ่งสุดท้ายก็หนีไม่พ้นการไป "อ่านโพย" ที่ทีมงานได้เขียนไว้ให้แล้วเหมือนตอนแถลงเปิดคดี เพราะการแถลงปิดคดี ก็เป็นการชี้แจงฝ่ายเดียว ไม่มีการซักถาม แต่ขอให้จับตาดูว่า นอกจากคำแก้ตัวแล้ว จะมีการตั้งเงื่อนไขอะไรไว้เป็นปมการเมืองหรือไม่ หากถูกถอดถอน
       
       00 มีหลายกระแสที่เห็นว่า 23 ม.ค. ยิ่งลักษณ์ จะถูกถอดถอนด้วยเสียงที่เกิน 132 เสียงแน่ "ประสาร มฤคพิทักษ์" สมาชิก สปช. สายปฏิรูปการเมือง อดีตกลุ่ม 40 ส.ว. คนหนึ่งล่ะที่มั่นใจ เพราะ ยิ่งลักษณ์ ที่ ป.ป.ช. ชี้ว่ามีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ก็มีประจักษ์พยานความเสียหายมหาศาลทางการเงินยืนยันได้ ผนวกกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ควรทำของคนเป็นนายกฯ จึงยากจะหลีกเลี่ยง ยิ่งมามีพฤติกรรมหนีการตรวจสอบของสภา ไม่ใช้สติปัญญาของตัวเองในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เพราะบางคำถามเป็นเรื่องจิตสำนึก ความรับผิดชอบ ที่คนอื่นตอบแทนไม่ได้ จึงเชื่อว่า สนช. จะใช้วิจารณญาณในการลงมติ โดยแยกเรื่องการปรองดองออกจากเรื่องทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อเป็นการรักษาบรรทัดฐานทางคุณธรรมของสังคมไทย
       
       00 อีกคนที่เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ ไม่รอดแน่ คนนี้เป็นคนของพรรคเพื่อไทยเสียด้วย เขาคือ วรชัย เหมะ อดีตส.ส.สมุทรปราการ แต่มีเหตุผลไปอีกทาง อ้างว่าเป็นเรื่องการเมือง ที่ขณะนี้กระแสความคิดขวาจัด สุดโต่ง รุนแรงมาก แผ่กระจายครอบงำไปทั้ง สนช. รัฐบาล รวมถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี และมีความพยายามจะให้ พล.อ.ประยุทธ์ สืบทอดอำนาจต่อไป จึงต้องหาทางขจัดฝ่ายตรงข้าม ซึ่งยิ่งลักษณ์ นั้นเปรียบเสมือนสัญญลักษณ์ ตัวแทนที่ต้องถูกกำจัด จึงออกมาให้ข่าวฟันธงว่า รอดยาก
       
       00การยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตาม คำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างฯ แจ้งมาว่า ในสัปดาห์นี้ จะมีการพิจารณาในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม และศาล ตามมาด้วยเรื่องขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเรียกชื่อใหม่ว่า "องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" ก็คงจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องจำนวนบุคคล ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการเข้าสู่ตำแหน่งของบุคคล ซึ่งองค์กรที่จะมีความเปลี่ยนแปลงแน่ๆ ก็คงหนีไม่พ้น ศาลรัฐธรรมนูญ กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง 

แถลงปิดคดีถอดถอน นิคม-สมศักดิ์

แถลงปิดคดี นิคม สมศักดิ์

21/1/58

ไร้เงา 'สมศักดิ์' แถลงปิดคดี 'วิชา' ยันส่อขัด รธน.ไม่เป็นกลาง ด้าน 'นิคม' ชี้ทำหน้าที่โดยสุจริต ซัดกลุ่ม 40 ส.ว.ตั้งคำถามชี้นำ สนช.นัดโหวต 'ถอดถอน' 23 ม.ค. 
 
                            21 ม.ค. 58  เมื่อเวลา 10.20 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม โดยมีวาระเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) พ.ศ. 2542 โดยเป็นการรับฟังคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้กล่าวหา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ผู้ถูกกล่าวหา ตามข้อบังคับที่ 156 วรรคสอง
 
                            จากนั้นเข้าสู่การแถลงปิดสำนวนด้วยวาจา โดยนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. แถลงว่า ป.ป.ช.อาศัยอำนาจ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 2542 โดยสมบูรณ์ แม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 จะสิ้นสุดลงก็ตาม แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ยกเว้นองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ดังนั้น ป.ป.ช.จึงสมารถทำหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริง และส่งเรื่องถอดถอนมายัง สนช. ที่ทำหน้าที่แทนวุฒิสภา เพื่อดำเนินการต่อไป ส่วนที่มีการกล่าวหาว่า ป.ป.ช.ละเลยต่อเอกสิทธิ์ของสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติมาตรา 130 หรือไม่นั้น การอ้างเอกสิทธิ์ดังกล่าวต้องมิใช่เพื่อทำลายหลักการอื่นตามรัฐธรรมนูญ และจะต้องใช้เอกสิทธิ์อยู่ภายใต้มาตรา 6 ที่บัญญัติว่ารัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่รองประธานรัฐสภาของผู้ถูกกล่าวหา ที่ต้องกระทำตามมาตรา 113 ในเรื่องของการปฏิญาณตนก่อนการเข้ารับหน้าที่ในรัฐสภาด้วย
 
                            นายวิชา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกการกระทำของนายนิคม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเมือง การปกครองอย่างรุนแรง เพราะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของนายนิคม และออกมาต่อต้านจำนวนมาก การที่นายนิคม เป็นประธานวุฒิสภา และรองประธานรัฐสภาจะต้องวางตัวเป็นกลางในการทำหน้าที่ ปราศจากอคติ แต่จากข้อเท็จจริงจากการไต่สวนของ ป.ป.ช.พบว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว. วาระ 2 ในหลายมาตรา ที่นายนิคม ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมกลับจงใจใช้เสียงข้างมากในที่ประชุม เพื่อปิดการอภิปรายตามที่มีสมาชิกรัฐสภาร้องขอ ทั้งที่ยังเหลือสมาชิกอีกหลายคนที่รอการอภิปรายอยู่ ถือเป็นการทำผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพราะขณะนั้นยังมีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และคณะกรรมาธิการฯ รออภิปรายอีกจำนวนมาก
 
                            "การทำหน้าที่ของนายนิคม ที่สั่งปิดอภิปรายจึงเป็นการตัดสิทธิของผู้ขอแปรญัตติ ถือว่าใช้อำนาจในทางมิชอบ เอื้อประโยชน์ฝ่ายข้างมาก โดยไม่เป็นธรรม และเป็นการทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางที่หน่วยงานอื่นต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งนี้การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ดังนั้นผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมต้องมีความรอบคอบ หากเห็นว่า ญัตติที่เสนอไม่ถูกต้อง ย่อมมีวิธีการดำเนินการอย่างอื่นได้หลายวิธี เช่น การพักประชุม การขอให้ถอนญัตติ ข้ออ้างที่นายนิคมกล่าวอ้าง จึงรับฟังไม่ได้ การกระทำของนายนิคมจึงส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อันเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง"
 
                            จากนั้นนายนิคม กล่าวแถลงปิดคดีว่า กรณีการสั่งปิดอภิปรายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 ในมาตราต่างๆ นั้น เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ใช้เวลาถึง 61 ชั่วโมง โดย 54 ชั่วโมงเป็นการประท้วงวุ่นวายเพื่อให้เสียเวลา ใช้เวลาอภิปรายจริงๆ แค่ 7 ชั่วโมง ทำให้ต้องควบคุมการประชุมอย่างเคร่งครัด ซึ่งตนก็ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแค่มาตรา 5 / 6 / 7 / 11 และ 11/1 เท่านั้น และการที่บอกว่าให้พักการประชุมเพื่อแก้ปัญหานั้นก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะที่ประชุมไม่เคยเคารพมติวิป 3 ฝ่าย ส่วนที่กล่าวหา ว่า ตนสั่งปิดอภิปรายนั้น ต้องดูเจตนาของผู้แปรญัตติในแต่ละมาตราว่า เจตนาต้องการสร้างความวุ่นวาย เช่น การแปรญัตติให้ตัดชื่อร่างกฎหมายทิ้ง การไม่ให้กำหนดวันประกาศใช้ และคำแปรญัตติหลายข้อขัดต่อหลักการและเหตุผล ซึ่งที่ประชุมก็มีมติไม่ให้อภิปราย แต่ตนก็เปิดโอกาสให้อภิปรายได้ ขณะเดียวกันยังมีการเสนอชื่อผู้ขออภิปรายเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
 
                            นายนิคม กล่าวว่า ยืนยันว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต เพื่อควบคุมและดำเนินการประชุมให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุม ปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ส่วนการตั้งคำถามของสมาชิกนั้น โดยทั่วไปต้องนำคำถามให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาก่อนว่า อยู่นอกประเด็น ชี้นำหรือไม่ รวมถึงแจ้งให้คู่กรณีทราบคำถามล่วงหน้า แต่กลับยกเว้นข้อบังคับและมีการขยายเวลาในการส่งคำถาม ซึ่งมีอย่างน้อย 5 คำถาม ที่เป็นการชี้นำว่า ตนมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการลงสมัคร ส.ว. ถือเป็นการสร้างจินตนาการล่วงหน้าทั้งที่ยังไม่ทราบว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จหรือไม่ และตนจะลงสมัคร ส.ว.หรือไม่  ซึ่งตนทราบว่า สนช.ที่ตั้งถามดังกล่าวมา เป็นบางคนที่อยู่ในกลุ่มอดีต 40 ส.ว. ซึ่งตนเคยร้องขอไม่ให้อดีต 16 ส.ว.ที่ขณะนี้เป็น สนช.อยู่เข้าร่วมการพิจารณาถอดถอนในคราวนี้ไปแล้ว เพราะเป็นคู่ขัดแย้ง แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต เพราะเกรงว่าจะมีคำถามที่นอกประเด็น และก็เป็นจริงตามคาด เพราะมี 3 คนที่ตั้งคำถามเช่นนี้ ขอยืนยันว่า ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ ข้อกล่าวหาของตนถือว่า อ่อนที่สุดในคดีถอดถอนทั้ง 3 คดี และตนได้ส่งบันทึกการประชุมทั้งเทปและเอกสารเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงให้ ป.ป.ช. แต่ ป.ป.ช.กลับไม่เชื่อ ไปเชื่อแต่ผู้กล่าวหา ดังนั้นตนจำเป็นต้องมาชี้แจง สนช.เองเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีขององค์กร ของฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อไม่ให้องค์กรอื่นก้าวล่วง ซึ่งมติจะออกมาเป็นอย่างไรก็ได้ ตนพร้อมน้อมรับ เพราะ สนช.มีอำนาจ แต่ตนต้องมาบอกความจริงให้ท่านรับทราบและขอความเป็นธรรม
 
                            นายนิคม กล่าวว่า ส่วนการกล่าวหาตนในตำแหน่งรองประธานรัฐสภาว่า ใช้อำนาจตามอำเภอใจและไม่สามารถใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 130 วรรค 2 ที่ ให้เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาไม่ให้ถูกฟ้องร้อง แม้ตนเป็นรองประธานรัฐสภา แต่ก็มีฐานะสมาชิกรัฐสภาก็ต้องได้รับการคุ้มครองเช่นกัน ในขณะที่ตำแหน่งประธาน หรือรองประธานรัฐสภา รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้การคุ้มครอง แต่ ป.ป.ช.ฟ้องถอดถอนตนในตำแหน่งรองประธานรัฐสภา
 
                            นายนิคม กล่าวว่า หลังจากรัฐธรรมนูญปี 50 สิ้นสุดลง ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจในการไต่สวนคดีของตน เห็นได้จากศาลรัฐธรรมนูญได้จำหน่ายคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ปี 50 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาถึง 6 คดี รวมทั้งการที่ ป.ป.ช.อ้างคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ประจำสำนักรัฐมนตรี เพื่อนำมาเทียบเคียงในการพิจารณาคดีของตนนั้น ยืนยันว่า ไม่สามารถนำคดีดังกล่าวมาเทียบเคียงกันได้ เพราะมีองค์ประกอบแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวผู้ถูกกล่าวหา ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งเป็นความผิดที่สำเร็จแล้ว อีกทั้งอยากฝากให้ สนช.พิจารณาข้อสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า จะยังมีอำนาจหน้าที่อยู่หรือไม่ เพราะ ป.ป.ช.มาจากการแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.และเมื่อรัฐธธรรมนูญฉบับปี 2550 บังคับใช้ ซึ่งมาตรา 309 ได้รับรองประกาศของการกระทำใดๆ ของ คปค. แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิก ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ต้องถูกยกเลิกไปด้วย เพราะขณะนี้ไม่เหลือกฎหมายใดที่จะร้องรับประกาศ คปค.แต่อย่างใด 
 
                            "ผมจะไม่ยุ่งการเมืองอีกแล้ว เพราะ 1 - 2 ปีที่ผ่านมา เป็นการทุกข์ยากที่สุดในชีวิต ไม่เคยถูกใครด่า กลายเป็นคนเลว และไม่เคยได้ชี้แจง ซึ่งคนจะเลวหรือดี อยู่ที่กระทำ"
 
                            ทั้งนี้หลังจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแถลงปิดคดีด้วยวาจาเสร็จแล้ว นายพรเพชร แจ้งที่ประชุมว่า ภายหลังการแถลงปิดคดีแล้ว ตามข้อบังคับการประชุมต้องมีการลงมติถอดถอน หรือไม่ถอดถอน ภายใน  3 วัน ซึ่งตนได้หารือกับคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปสนช.) จึงขอนัดประชุมเพื่อลงมติในวันที่ 23 ม.ค.
 
 
 
ไร้เงา 'สมศักดิ์' แถลงปิดคดีถอดถอน
 
 
                            นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยที่ประชุมได้ดำเนินกระบวนการถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) พ.ศ. 2542 โดยเป็นการรับฟังคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้กล่าวหา และนายสมศักดิ์ ผู้ถูกกล่าวหา ตามข้อบังคับที่ 156 วรรคสองกล่าวว่า การแถลงปิดสำนวนคดีถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ส่งหนังสือขอแถลงปิดสำนวนด้วยวาจา และไม่ได้เดินทางมาแถลงปิดสำนวน จึงถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ขอแถลงปิดสำนวน ดังนั้นการแถลงปิดสำนวนคดีดังกล่าว จึงเป็นการแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาเพียงฝ่ายเดียวของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
 
                            จากนั้น นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้แจงการทำหน้าที่ในการส่งคดีเพื่อร้องขอถอดถอนนายสมศักดิ์ ว่า ยืนยันอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการพิจารณา ตามคำร้องที่ขอถอดถอน ซึ่งระบุชัดเจนว่านอกเหนือจากกรณีของการมีพฤติการณ์ส่อขัดต่อตำแหน่งหน้าที่ ส่อว่าการทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ยังขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการกระบวนการไต่สวนตามหลักการไต่สวน
 
                            นายวิชา กล่าวว่า ในฐานะที่นายสมศักดิ์ เป็นประธานรัฐสภา ซึ่งตามกฎหมาย ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประธานรัฐสภาต้องตรวจสอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากพบว่ามีข้อไม่ถูกต้องให้ประธานฯ ดำเนินการแก้ไข แต่กลับไม่มีการแก้ไขแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องอย่างร้ายแรงของนายสมศักดิ์ ที่ละเว้นไม่ตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความรอบคอบ แต่กลับมีคำสั่งลงนามอนุญาตให้บรรจุวาระการประชุมเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ในวันที่ 1 เม.ย. 56 เพื่อนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งไม่ใช่ฉบับที่มีการนำเสนอแต่แรก อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการแก้ไขข้อความให้มีหลักการแตกต่างจากร่างเดิม มีผลทำให้อดีต ส.ว.ที่จะสิ้นสุดสมาชิกภาพลง สามารถลงสมัคร ส.ว.ได้อีก โดยไม่ต้องรอให้พ้นเวลา 2 ปี
 
                            นายวิชา กล่าวว่า การแก้ไขดังกล่าวถือเป็นการแก้ไขในหลักการสำคัญ แต่กลับทำเหมือนแก้ไขข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย ไม่แยแส โดยไม่เปิดให้ผู้เข้าชื่อเสนอญัตติในร่างเดิมได้รับทราบว่ามีการแก้ไขหลักการใหม่ แม้นายสมศักดิ์ จะอ้างว่า ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแล้วยืนยันว่าทำได้ แต่ข้ออ้างดังกล่าวรับฟังไมได้ เพราะหน้าที่ของประธานรัฐสภา หากเห็นว่ามีข้อบกพร่องในร่างแก้ไขต้องให้ผู้เสนอญัตติแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อน ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของเจ้าหน้าที่ของสำนักการประชุมรัฐสภา ที่ให้การว่านายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ที่เป็นผู้เสนอร่างแก้ไขฉบับใหม่ ได้ประสานให้ผู้ช่วยนำร่างแก้ไขฉบับใหม่มาเปลี่ยนทั้งฉบับ โดยใช้ลายมือชื่อของผู้เสนอญัตติในร่างฉบับเดิม มิได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อใหม่ ถือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอย่างชัดเจน 
 
                            นายวิชา กล่าวว่า ส่วนการกำหนดวันแปรญัตติที่นายสมศักดิ์ ยืนยันว่าถูกต้องนั้น เห็นว่าการตีความของนายสมศักดิ์ เป็นการตีความแบบย้อนหลังตามอำเภอใจ ขัดต่อหลักนิติธรรม และการตีความโดยหลักกฎหมายสากลต้องตีความให้มีผลบังคับใช้ได้ มิใช่เป็นการตีความให้สิ้นผลใช้บังคับ และต้องมิให้เกิดผลประหลาด การที่นายสมศักดิ์ ตีความให้แปรญัตติย้อนหลังถือเป็นการตีความประหลาด 
 
                            "ถึงปลายทางของการไต่สวนกระบวนการที่ ป.ป.ช.ได้กระทำตามภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งตนถือว่าเป็นภารกิจที่มีเกียรติสูงสุด เรามีความภูมิใจอย่างยิ่งที่จะได้สร้างมิติใหม่ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางหลักคุณธรรม และจริยธรรมทางการเมือง ที่ผ่านมาเราไม่สามารถวางแนวทางปฏิรูปประเทศได้ เพราะระบบไต่สวนคุณธรรม จริยธรรม ยังไม่สามารถดำเนินได้อย่างราบรื่น ซึ่งกระบวนการถอดถอนที่เป็นที่ยอมรับถือได้ว่าเป็นหลักที่ใช้ในการปฏิรูปประเทศได้"
 
                            จากนั้น นายสุรชัย ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าหลังจากผู้ถูกกล่าวหาคือนายสมศักดิ์ ไม่ขอส่งสำนวนแถลงปิดคดีด้วยวาจา จึงถือว่าการแถลงปิดคดีเสร็จสิ้นลงแล้ว จึงขอนัดสมาชิกลงมติถอดถอนนายสมศักดิ์ ในวันที่ 23 ม.ค.นี้