PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

ยุบ คสช. ก็ผิด รัฐธรรมนูญ

ยุบ คสช. ก็ผิด รัฐธรรมนูญ
"บิ๊กป้อม"ยัน ยุบคสช.ไม่ได้ ถ้ายุบก็ผิด รัฐธรรมนูญ ยันต้องอยู่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 ในบทเฉพาะกาล ที่ให้ คสช. ยังคงอยู่ ปฏิยัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า ครม ใหม่ หลังเลือกตั้ง จะเข้ารับหน้าที่ ดังนั้น เราต้องทำหน้าที่ต่อไป ในการดูแลความสงบเรียบร้อย
หลัง "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" เรียกร้อง ให้ ยุบ คสช. และ เป็นแค่รัฐบาลรักษาการ

"บิ๊กป๊อก" ยังไม่รู้ "น้องตู่" จะเข้า"พรรคพลังประชารัฐ" มั้ย

"บิ๊กป๊อก" ยังไม่รู้ "น้องตู่" จะเข้า"พรรคพลังประชารัฐ" มั้ย ชี้ หากต้องการ จะรับใช้ประเทศชาติ และถ้ามีความสามารถ ก็เป็นได้ แต่ถือเป็นเรื่องส่วนตัว
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึง ข่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. จะเป็นที่ปรึกษาพรรคพลังประชารัฐ ว่า หากถาม มุมมองของผม ผมยังไม่ทราบ เพราะถือว่าเรื่องจะเล่นการเมืองหรือไม่ เป็นเรื่องส่วนตัวของ พล.อ.ประยุทธ์
"ผมเห็นว่า ไม่ว่าใคร หากต้องการจะไปรับใช้ประเทศชาติ และถ้ามีความสามารถ ก็เป็นได้ แต่ผมไม่ทราบว่า ท่านนายกฯ จะไปเป็น หรือไม่"

"วิษณุ" ชี้ "บิ๊กตู่" รับเป็น ที่ปรึกษาพรรคการเมือง และเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ กฎหมาย ไม่ได้ห้าม

กม.ไม่ได้ ห้าม!!
"วิษณุ" ชี้ "บิ๊กตู่" รับเป็น ที่ปรึกษาพรรคการเมือง และเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ กฎหมาย ไม่ได้ห้ามไว้ แต่ลงเลือกตั้งไม่ได้

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะสามารถรับตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคการเมือง นั้นได้หรือไม่ ว่า ในกฎหมายไม่มีอะไรห้ามไว้
ส่วนจะมีเหตุอย่างอื่นหรือไม่ อย่างไร ผมไม่ทราบ ไม่รู้เรื่อง และไม่เคยได้ยินด้วย
เมื่อถามว่านายกฯสามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นได้ ไม่เห็นมีปัญหาอะไร เพราะในกฎหมายไม่ได้เขียนห้ามไว้ เพียงแต่จะไปลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ หากจะลงต้องลาออกก่อน ตามเวลาที่กม.กำหนด

ไม่คิด จะเป็นนักการเมือง!!

ไม่คิด จะเป็นนักการเมือง!!
"บิ๊กป้อม" ยืนยันคำเดิม ไม่เคยคิด เล่นการเมือง หรือ เป็นนักการเมือง ยันไม่มี ใคร พรรคไหน มาทาบทาม เข้าพรรค ระบุ ผมเคยตอบเริ่องนึ้ มานานแล้ว นักข่าวยังมาถามผมอีก ผมยังยืนยันคำตอบเดิม

"บิ๊กป้อม" ไม่ตอบ ได้ชี้แจง ปปช. เรื่องนาฬิกาหรู ไปแล้ว หรือยัง

ยิ้ม แทนคำตอบ!!!
"บิ๊กป้อม" ไม่ตอบ ได้ชี้แจง ปปช. เรื่องนาฬิกาหรู ไปแล้ว หรือยัง หลัง ปปช. ทวงมาให้ตอบ ภายใน15 มีค. แต่เดินส่งยิ้ม ให้นักข่าว ก่อนชึ้นรถ กลับไป
ทั้งนี้ ปปช. กำหนดให้ ชี้แจง ภายใน 8 มีค.61 แต่ พลเอกประวิตร ขอเลื่อนอีก7 วัน

"นายกฯบิ๊กตู่" แทงกั๊ก เทียบเชิญ "พรรคพลังประชารัฐ"

กั๊ก กั๊ก กั๊ก !!!
"นายกฯบิ๊กตู่" แทงกั๊ก เทียบเชิญ "พรรคพลังประชารัฐ" เผย ผมจะรับหรือไม่ ก็ยังไม่รู้นะ ยังมีเวลา ตอนนี้ ขอเวลาทำงานก่อน ชี้ ใครจะตั้ง ก็ตั้งไป ยันยังไม่มีพรรคไหนมาทาบทาม แต่ยันไม่เกี่ยวข้องอะไีร กับพรรคพลังประชารัฐ....ปัด พูดคุยกับ พันเอกสุชาติ จันทรโชติกุล เพื่อน เตรียมทหาร12 แกนนำตั้งพรรคประชารัฐ ถาม ทำไม ผมตัองคุยด้วย เพื่อนผมมีตั้ง 200 กว่าคน ผมไม่ได้คุยทุกคน คุยกับ พี่อ้อ คนเดียวก็พอแล้ว
ก่อน หันไปพูดคุยกับ บิ๊กอ้อ พลเอก วิลาส อรุณศรี เลขาฯนายกฯ เพื่อน ตท.12
พลเอกประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีการจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐว่า "ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรสักอย่าง กับพรรคพลังประชารัฐ ก็รู้จากหนังสือพิมพ์ "
เมื่อถามว่า ถ้าจำเป็นต้องตัดสินใจ จะเลือกพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ และจะรับนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้เหมือนกัน และวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีใครเชิญผมไปนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาพรรคเลย มีแต่พูดกันไป
สาวนผมจะตัดสินใจอย่างไร ก็ไม่ทราบเช่นกัน ขอเวลาทำงานในส่วนของผมไปก่อน การเมืองยังมีเวลาว่ากันต่อไป

“บิ๊กตู่” ไฟเขียว “มีชัย” ยื่น “ศาลรธน.” ตีความ “กม.ลูกส.ส.-ส.ว.” ลั่น เอาให้ชัดตั้งแต่วันนี้ ป้องกันปัญหาในอนาคต

เว้นแต่ มีอะไรที่เราบังคับไม่ได้ !!
“บิ๊กตู่” ไฟเขียว “มีชัย” ยื่น “ศาลรธน.” ตีความ “กม.ลูกส.ส.-ส.ว.” ลั่น เอาให้ชัดตั้งแต่วันนี้ ป้องกันปัญหาในอนาคต เชื่อ ศาลฯ วินิจฉัยทันตามกรอบ ก.พ.62 ชี้ไม่ต้องห่วงหรอก ยังไงก็ได้เลือกตั้ง เว้นแต่มีอะไรที่เราบังคับไม่ได้
จากกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตีความร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.จะทำให้การเลือกตั้งที่เคยระบุว่าไม่เกินเดือนก.พ.62 เลื่อนออกไปอีกหรือไม่นั้น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์หลังประชุมครม. กล่าวว่า ก็แล้วแต่ การเลือกตั้งไม่เลื่อน ไม่มีล่าช้าจะช้าได้อย่างไร
"ผมบอกแล้วทุกอย่างต้องไม่ให้ล่าช้า ต้องเป็นไปตามกำหนด ก.พ.62 เว้นแต่มีอะไรที่เราบังคับไม่ได้ บังคับศาลได้หรือไม่
แต่ผมคิดว่าในเวลาที่มีอยู่ ศาลฯ น่าจะพิจารณาได้ทัน เขาคงไม่อยากให้มีปัญหา คือจริงๆ แล้ว มันก็ไม่อยากให้มีการไปฟ้องร้องอะไรต่างๆ แต่ผมว่าเขาเป็นห่วง สิ่งที่เขาชี้แจงมา ซึ่งผมฟังจากสื่อท่านพูดว่าเป็นห่วงว่า วันข้างหน้าจะถูกฟ้องและถ้าถูกฟ้องขึ้นมาพ.ร.ป. 2 ฉบับนี้จะเป็นปัญหาการเลือกตั้งอะไรต่างๆ ก็จะทำให้เป็นปัญหาหมด มันจะทำให้วุ่นวายสับสนอลมานไปหมด เอาเสียให้ชัดในตอนนี้
“แต่ผมก็บอกแล้วว่าขอให้ทำอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด ผมพูดไปอย่างนี้ ไม่ต้องห่วงหรอก ยังไงก็ได้เลือกตั้ง แต่ปัญหาของผมคือทำอย่างไร บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย ทำอย่างไร จะไม่มีคนไปส่งเสริมสนับสนุนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวผิดๆ ถูกๆ อ้างเหตุผลโน้นนี่ไปหมด
ในเมื่อบอกกุมภาฯก็คือกุมภาฯ แล้วจะมาเร่งเลือกตั้งอะไร จะมาไล่คสช.ได้อย่างไร ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน แล้วมาอ้างว่าอำนาจอยู่ที่ประชาชน ก็ใช่ อำนาจประชาชนต้องไปใช้ในตอนโน้น จะใช้ตอนนี้ไม่ได้ เพราะเราต้องการให้บ้านเมือสงบสุข ต้องขอกันด้วยเหตุด้วยผล ผมไม่ต้องการใช้กฎหมายเพื่อให้ผมมีอำนาจเยอะๆ
ผมเคยบอกแล้วไม่ต้องการอำนาจ แต่ต้องการใช้เพื่อบริหารราชการแผ่นดินในเวลานี้ ขอสื่อเถอะ อย่าไปตีความกันให้วุ่นวาย” นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า อย่าเอาคำพูดของผมไปจับผิดจับถูก ว่าพูดวันนี้ วันหน้า วันโน้น สื่อถามไปถามมา บางทีสื่อก็งงคำถาม ผมเองก็งงคำตอบในบางครั้ง วันหลัง ผมจะบันทึกคำถามสื่อบ้าง เพราะบางทีถามไปถามมาจน ผมงง ว่าวันนั้นตอบไปอย่างไร

ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรสักอย่าง กับพรรคพลังประชารัฐ

"ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรสักอย่าง กับพรรคพลังประชารัฐ "....ชี้ การเมืองยังมีเวลาว่ากันต่อไป แต่ยังไม่รู้เหมือนกัน เมื่อถึงเวลา
พลเอกประยุทธ์ กล่าว ทันทีว่า "ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรสักอย่าง กับพรรคพลังประชารัฐ ก็รู้จากหนังสือพิมพ์
เมื่อถามว่า ถ้าจำเป็นต้องตัดสินใจ จะเลือกพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ และจะรับนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่รู้เหมือนกัน และวันนี้ก็ยังไม่เห็นมีใครเชิญ ผมไปนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาพรรคเลย มีแต่พูดกันไป
ส่วนผมจะตัดสินใจอย่างไร ก็ไม่ทราบเช่นกัน ขอเวลาทำงานในส่วนของผมไปก่อน การเมืองยังมีเวลาว่ากันต่อไป
พลเอกประยุทธ์ "ปัด พูดคุยกับ พันเอกสุชาติ จันทรโชติกุล เพื่อนเตรียมทหาร12 แกนนำตั้งพรรคประชารัฐ ถาม ทำไม ผมตัองคุยด้วย เพื่อนผมมีตั้ง200 กว่าคน ผมไม่ได้คุยทุกคน คุยกับพี่อ้อ คนเดียวก็พอแล้ว
ก่อนหันไปพูดคุยกับ บิ๊กอ้อ พลเอก วิลาส อรุณศรี เลขาฯนายกฯ เพื่อน ตท.12

บิ๊กตู่ ปัดรู้เห็นตั้งพรรค ยันไร้ทาบทาม ลั่นไม่ยุบคสช.-ไม่ลาออก ขู่ ใช้กม.ฟันคนสร้างแตกแยก

บิ๊กตู่ ปัดรู้เห็นตั้งพรรค ยันไร้ทาบทาม ลั่นไม่ยุบคสช.-ไม่ลาออก ขู่ ใช้กม.ฟันคนสร้างแตกแยก


“บิ๊กตู่” ปัดรู้เห็นตั้งพรรคพลังประชารัฐ เผยยังไม่มีการทาบทาม ลั่นไม่ยุบ คสช.-ไม่ลาออกไล่ไปดูรธน.มาตรา 265 โยนดูอดีตนายกฯหาเสียงได้ ไม่แปลกใจพรรคใหม่รุมจีบชี้เป็นเรื่องการเมือง เขิล บอกไม่มีเสน่ห์ ขู่ ใช้ กม.เล่นนักการเมือง-พรรคการเมืองสร้างความขัดแย้ง

เมื่อเวลา 14.15 น. วันที่ 13 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีการจัดตังพรรคพลังประชารัฐว่า “ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรสักอย่างกับพรรคพลังประชารัฐ ก็ดูจากหนังสือพิมพ์ ” เมื่อถามว่า ถ้าจำเป็นต้องตัดสินใจ จะเลือกพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ และจะรับนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาด้วยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ยังไม่รู้เหมือนกัน และวันนี้ก็ยังไม้เห็นมีใครเชิญตนไปนั่งเก้าอี้ประธานที่ปรึกษาพรรคเลย มีแต่พูดกันไป และตนจะตัดสินใจอย่างก็ก็ไม่ทราบเช่นกัน ขอเวลาทำงานในส่วนของตนไปก่อน การเมืองยังมีเวลาว่ากันต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเรียกร้องให้ยุบ คสช. เพื่อให้เป็นรัฐบาลรักษาการในช่วงเตรียมการเลือกตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 265 เขียนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ว่า คสช.ต้องทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น “การที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเสนอให้ยุบ คสช. นั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ถ้าสงสัยอะไรให้ไปดูคำตอบก่อนหน้านี้”

เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคการเมืองใหม่ประกาศสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตอนนี้ก็สนับสนุนกันหมด เพราะเป็นเรื่องการเมืองที่เดินกันไป ซึ่งก็มี 2 พวก คือ พวกที่สนับสนุน กับพวกที่ไม่สนับสนุน ก็มี 2 ฝ่ายเสมอ คือฝ่ายหนึ่งต้องการปฏิรูป อีกฝ่ายไม่ต้องการปฏิรูป หรือฝ่ายหนึ่งต้องการให้ทุกอย่างกลับไปเหมือนเดิม ก็จะมีความวุ่นวายแบบเดิมๆ อีกฝ่ายไม่ต้องการให้เกิด สรุปก็ไม่ความพอดีสักอย่าง ก็เป็นตัวชี้ว่า อนาคตข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นมา ซึ่งมันก็ไม่แน่ อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องติดตามความเคลื่อนไหวของแต่ละพรรคการเมือง ในขณะนี้การออกมาพูดจาของพรรคการเมือง และนักการเมืองต่างๆ ก็ต้องดูว่า เขาพูดอะไรมีวัตถุประสงค์อะไร ส่วนหน้าที่ของ คสช.จะต้องดูความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นหลัก เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองพรรคใด ถ้าเป็นต้นเหตุหรือสาเหตุ ที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย ความขัดแย้ง ความรุนแรง หรือความไม่สงบเกิดขึ้นก็ต้องไปพิจารณาตามกฎหมายว่าควรจะดำรงอยู่ต่อไปหรือไม่อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือนักการเมืองก็ตาม

“วันนี้อย่าลืมว่า คสช.ยังมีอำนาจอยู่ตรงนี้ในการรักษาความสงบของบ้านเมือง ซึ่งทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วแต่ก็ยังอยากจะฝ่าฝืนกันอีก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าเสน่ห์ของตัวเองอยู่ตรงไหน ทำไมพรรคการเมืองใหม่จึงพร้อมทาบทามให้เป็นนายกฯคนนอก พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “มันเกี่ยวกับเสน่ห์ตรงไหน เสน่ห์เป็นเรื่องของการจีบสาว ตอนนี้ผมไม่ได้จีบสาว ผมไม่มีเสน่ห์หรอก พูดจาก็เป็นแบบนี้ เสน่ห์คงไม่มีเท่าไหร่”

เมื่อถามว่ารู้สึกกดดันหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ได้รู้สึกกดดันเลย เพราะตนไม่ได้คิดอะไรมาก บอกแล้วว่าทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนจะตัดสินใจ มีความต้องการจะให้ประเทศชาติเป็นอย่างไรต่อไป ต้องการปฏิรูปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ประชาชนจะตัดสินในการเลือกตั้ง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ส.ส.การลงพื้นที่เพื่อไปเลือกตั้ง ก็ต้องเสนอนโยบายออกมา ว่าแต่ละพรรคการเมือง เสนอนโยบายอะไรออกมาบ้าง โดยเฉพาะนโยบายทางการเมืองของแต่ละคน วันนี้พูดกันแต่เรื่องเลือกตั้ง กฎหมายเลือกตั้ง วนอยู่ตรงนี้เพียงเรื่องเดียว ในส่วนที่รัฐบาลเองก็พยายามพูดในเรื่องของการทำงาน เรื่องของอนาคต แต่ก็ถูกโจมตีในเรื่องทางการเมืองอย่างเดียว เป็นเช่นนี้ประเทศไทยก็ไปไหนไม่ได้ ทุกคนต้องมาช่วยกัน วิเคราะห์ว่าบ้านเมืองจะเดินไปอย่างไร เมื่อเข้าไปอยู่ในกระบวนการเลือกตั้ง เราควรจะวางตัวอย่างไร ต้องวางอนาคตให้ประชาชนเห็น

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ส่วนความเห็นที่เสนอให้ตนลาออกจากตำแหน่งหาจะตัดสินใจลงเล่นการเมืองนั้น ก็สงสัยว่าในสมัยก่อนเวลาที่นักการเมืองเป็นรัฐบาล เขาลาออกกันหรือไม่ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ มันเป็นคนละเรื่องกันทั้งหมด ขอร้องว่าอย่าไปทำให้เกิดการบิดเบือน อย่าทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันอีก เพราะไม่เช่นนั้นประชาชนก็จะรังเกียจ คสช.เกลียดตน “อยากให้ย้อนกลับไปดูในสมัยก่อน นายกรัฐมนตรีซึ่งก็เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ประกาศลงเลือกตั้งก็สามารถลงไปหาเสียงได้ ในขณะที่ยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วยซ้ำไป วันนี้ผมยังไม่ได้เป็นอะไรสักอย่าง แล้วผมก็ไม่ได้หาเสียงด้วย ยังทำงานอยู่อย่างหนัก เพื่อจะทำให้ประเทศชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง”

เมื่อถามว่า ได้คุยกับ พ.อ.สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส.พรรคความหวังใหม่หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ทำไมต้องคุย เมื่อถามอีกว่า พ.อ.สุชาติเป็นเพื่อนกับนายกฯ ไม่ใช่หรือ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เพื่อนผมมีตั้ง 200 คน ไม่ได้คุยทุกคน คุยกับพี่อ้อ (พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาฯ นายกฯ)

หน.ประชาธิปัตย์ ลั่น “เสรีนิยมประชาธิปไตย-สังคมสวัสดิการ” คือจุดยืนพรรค

หน.ประชาธิปัตย์ ลั่น “เสรีนิยมประชาธิปไตย-สังคมสวัสดิการ” คือจุดยืนพรรค


“อภิสิทธิ์” ชู “เสรีนิยมประชาธิปไตย-สังคมสวัสดิการ” จุดยืนปชป. ชี้ ใครเป็นหน.พรรคก็ต้องทำตาม


เมื่อวันที่ 12 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จุดยืนของพรรคปชป. คือ เสรีนิยมประชาธิปไตย และสังคมสวัสดิการ นี่คือคำตอบของพรรคฯ เราไม่เอาระบบราชการและระบบประชานิยม เพราะฉะนั้นแล้ว หัวหน้าพรรคปชป. ไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องยึดที่จุดยืนนี้ และในการเลือกตั้งครั้งหน้าคะแนนที่ประชาชนลงให้จะเป็นตัวชี้ว่า พรรคฯจะทำอย่างไรต่อไป แต่ขอยืนยันว่า ถ้าพรรคการเมืองใดมีแนวทางคือระบอบทักษิณ พรรคปชป.ไม่ร่วมมือด้วยอย่างแน่นอน

รอฟัง’ของใหม่’ โดย นฤตย์ เสกธีระ

รอฟัง’ของใหม่’ โดย นฤตย์ เสกธีระ



อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จำแนกความขัดแย้งทางการเมืองของไทยออกเป็น 2 ขั้ว
ฝ่ายหนึ่งคืออนุรักษ์ อีกฝ่ายหนึ่งคือก้าวหน้า

ฝ่ายก้าวหน้าที่นิยมประชาธิปไตย ซึ่งอาจารย์เสกสรรค์บอกว่า “ประชาธิปไตย” นี้ในหลาย ๆ ประเทศเขาถือว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องก้าวหน้า

แถมบางทีอาจจะฟังแล้วรู้สึกล้าสมัยไปเสียด้วยซ้ำ

แต่นั่นคือประเทศอื่น

สำหรับประเทศไทย “ประชาธิปไตย” ยังคงอยู่ในนิยมฝ่ายก้าวหน้าได้

เพราะไทยยังก้าวไปไม่ถึงเสียที

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์เสกสรรค์ได้ขึ้นปาฐกถาในงานคล้ายวันเกิด ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ่านและฟังแล้วมีเรื่องน่าสนใจหลายประการ

แต่ประการที่รู้สึกสนใจที่สุดคือ การบ้านที่ฝากให้ทุกฝ่ายได้คิด 
โดยเฉพาะฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย

อาจารย์เสกสรรค์บอกว่า ปัญหาใหญ่ของประชาธิปไตยมิได้อยู่ที่การถูกยึดพื้นที่หรือถูกล้มกระดานอยู่เป็นระยะๆ โดยฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
หากแต่ปัญหายังอยู่ที่ความไม่สามารถป้องกันตัวของระบอบและผู้คนที่สมาทานแนวคิดชุดนี้ด้วย
สรุปออกมาเป็นรูปธรรมได้ว่า ฝ่ายประชาธิปไตยควรทำ 3 เรื่อง แต่ยังทำไม่ได้
หนึ่ง คือการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

สอง คือการปฏิรูประบบราชการให้ยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น

และสาม คือการขยายงานรัฐสภาด้วยการเกี่ยวร้อยภาคประชาชนเข้ามาไว้ในกระบวนการนิติบัญญัติอย่างสม่ำเสมอ

อาจารย์เสกสรรค์มองว่า ที่ผ่านมาบรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองไม่เพียงลืมผลักดันให้มีการขยายโครงสร้างประชาธิปไตยเท่านั้น

แต่ยังใช้ความสัมพันธ์แบบจารีตที่ไม่เป็นสมัยใหม่ มาสร้างฐานเสียง

สร้างฐานเสียงทั้งในและนอกพรรค

ทำให้ระบบพรรคการเมืองกลายเป็นอวตารใหม่ของระบบอุปถัมภ์


แค่ปาฐกถาพิเศษท่อนนี้ หากมีโอกาสได้นำไปขบคิดเป็นการบ้าน

การเมืองไทยก็มีโอกาสเติบโตขึ้น

ทั้งการหาหนทางเชื่อมโยงอำนาจรัฐกับประชาชนให้มากกว่าที่ผ่านมา

ทั้งการปรับเปลี่ยนสร้างฐานเสียง โดยไม่ใช้ “วิธีที่ไม่เป็นสมัยใหม่”

ไม่ทำให้พรรคการเมืองเป็นเพียงอวตารใหม่ของระบบอุปถัมภ์

ในช่วงเวลานี้ กกต.เริ่มจดจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ และกำลังจะประชุมพรรคการเมืองเดิม

หากว่ากันด้วยแนวทางการหาเสียง พรรคการเมืองเดิมมีไม้เด็ดที่ “ประชานิยม”

พรรคฝ่ายทหารกำลังชูแนวทาง “ประชารัฐ”

แล้วพรรคการเมืองที่เหลือจะเสนอแนวทางอะไร

ปาฐกถาของอาจารย์เสกสรรค์เป็นอีกทางเลือกที่สามารถนำไปปรับใช้

ใช้ “ของใหม่” ที่ประเทศไทยยังไม่เคยมี ไม่ต้องประชานิยม ไม่ต้องประชารัฐ

แต่ตอบโจทย์กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ตอบคำถามเรื่องการปฏิรูปการปฏิบัติงานของข้าราชการ

และการเปิดทางให้ประชาชนมีสิทธิมีส่วนกับกฎกติกาที่รัฐเป็นผู้ออก

“ของใหม่” เช่นนี้ หากอาจจะยังมองไม่เห็น เหมือนครั้งหนึ่งที่ยังไม่มีพรรคไทยรักไทย จึงมองไม่เห็นเรื่อง “ประชานิยม” ที่สัมผัสได้

แต่ถ้าใครคิดออก ย่อมมี “ของใหม่” ออกมานำเสนอให้ประชาชนเลือก

เลือกอย่างมีความหวัง

หวังว่าวัฏจักรอันน่าเบื่อที่หมุนเวียนอยู่ในขณะนี้จะหมดไป

หวังว่าวงจรอุบาทว์ที่หนักถ่วงความเจริญของประเทศจะหมดไป

…………………..
นฤตย์ เสกธีระ maxlui2810@gmail.com

‘ประยุทธ์’ ไม่ขัด ‘มีชัย’ยื่นศาลฯตีความกม.ลูก เชื่อ ศาลฯ วินิจฉัยทันตามกรอบ ก.พ.62

‘ประยุทธ์’ ไม่ขัด ‘มีชัย’ยื่นศาลฯตีความกม.ลูก เชื่อ ศาลฯ วินิจฉัยทันตามกรอบ ก.พ.62


“บิ๊กตู่” ไม่ขัด “มีชัย” จ่อ ยื่น “ศาลรธน.” ตีความ “กม.ลูกส.ส.-ส.ว.” ลั่นยังไงก็ได้เลือกตั้ง ระบุต้องเอาให้ชัดตั้งแต่วันนี้ ไม่ให้วันหน้ามีปัญหา เชื่อ ศาลฯ วินิจฉัยทันตามกรอบ ก.พ.62
เมื่อเวลา 14.10 น. วันที่ 13 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตีความร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.จะทำให้การเลือกตั้งที่เคยระบุว่าไม่เกินเดือนก.พ.62 เลื่อนออกไปอีกหรือไม่ ว่า ก็แล้วแต่ การเลือกตั้งไม่เลื่อน ไม่มีล่าช้าจะช้าได้อย่างไร ตนบอกแล้วทุกอย่างต้องไม่ให้ล่าช้า ต้องเป็นไปตามกำหนด กุมภาพันธ์ปี62 เว้นแต่มีอะไรที่เราบังคับไม่ได้ บังคับศาลได้หรือไม่ แต่ตนคิดว่าในเวลาที่มีอยู่ ศาลฯ น่าจะพิจารณาได้ทันเขาคงไม่อยากให้มีปัญหา คือจริงๆ แล้ว มันก็ไม่อยากให้มีการไปฟ้องร้องอะไรต่างๆ แต่ตนว่าเขาเป็นห่วง สิ่งที่เขาชี้แจงมา ซึ่งตนฟังจากสื่อท่านพูดว่าเป็นห่วงว่า วันข้างหน้าจะถูกฟ้องและถ้าถูกฟ้องขึ้นมาพ.ร.ป.2ฉบับนี้จะเป็นปัญหา การเลือกตั้งอะไรต่างๆ ก็จะทำให้เป็นปัญหาหมด มันจะทำให้วุ่นวายสับสนอลมานไปหมด เอาเสียให้ชัดในตอนนี้

“แต่ผมก็บอกแล้วว่าขอให้ทำอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด ผมพูดไปอย่างนี้ ไม่ต้องห่วงหรอก ยังไงก็ได้เลือกตั้ง แต่ปัญหาของผมคือทำอย่างไร บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย ทำอย่างไรจะไม่มีคนไปส่งเสริมสนับสนุนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวผิดๆ ถูกๆ อ้างเหตุผลนู้นนี่ไปหมด ในเมื่อบอกกุมภาฯก็คือกุมภาฯ แล้วจะมาเร่งเลือกตั้งอะไร จะมาไล่คสช.ได้อย่างไร ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน แล้วมาอ้างว่าอำนาจอยู่ที่ประชาชน ก็ใช่ อำนาจประชาชนต้องไปใช้ในตอนโน้น จะใช้ตอนนี้ไม่ได้ เพราะเราต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข ต้องขอกันด้วยเหตุด้วยผล ผมไม่ต้องการใช้กฎหมายเพื่อให้ผมมีอำนาจเยอะๆ ผมเคยบอกแล้วไม่ต้องการอำนาจ แต่ต้องการใช้เพื่อบริหารราชการแผ่นดินในเวลานี้ ขอสื่อเถอะ อย่าไปตีความกันให้วุ่นวาย” นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า อย่าเอาคำพูดของตนไปจับผิดจับถูก ว่าพูดวันนี้ วันหน้า วันนู้น สื่อถามไปถามมา บางทีสื่อก็งงคำถาม ตนเองก็งงคำตอบในบางครั้ง วันหลังตนจะบันทึกคำถามสื่อบ้าง เพราะบางทีถามไปถามมาจนตนงง ว่าวันนั้นตอบไปอย่างไร

‘ประยุทธ์’ ไม่ขัด ‘มีชัย’ยื่นศาลฯตีความกม.ลูก เชื่อ ศาลฯ วินิจฉัยทันตามกรอบ ก.พ.62

‘ประยุทธ์’ ไม่ขัด ‘มีชัย’ยื่นศาลฯตีความกม.ลูก เชื่อ ศาลฯ วินิจฉัยทันตามกรอบ ก.พ.62


“บิ๊กตู่” ไม่ขัด “มีชัย” จ่อ ยื่น “ศาลรธน.” ตีความ “กม.ลูกส.ส.-ส.ว.” ลั่นยังไงก็ได้เลือกตั้ง ระบุต้องเอาให้ชัดตั้งแต่วันนี้ ไม่ให้วันหน้ามีปัญหา เชื่อ ศาลฯ วินิจฉัยทันตามกรอบ ก.พ.62
เมื่อเวลา 14.10 น. วันที่ 13 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตีความร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.จะทำให้การเลือกตั้งที่เคยระบุว่าไม่เกินเดือนก.พ.62 เลื่อนออกไปอีกหรือไม่ ว่า ก็แล้วแต่ การเลือกตั้งไม่เลื่อน ไม่มีล่าช้าจะช้าได้อย่างไร ตนบอกแล้วทุกอย่างต้องไม่ให้ล่าช้า ต้องเป็นไปตามกำหนด กุมภาพันธ์ปี62 เว้นแต่มีอะไรที่เราบังคับไม่ได้ บังคับศาลได้หรือไม่ แต่ตนคิดว่าในเวลาที่มีอยู่ ศาลฯ น่าจะพิจารณาได้ทันเขาคงไม่อยากให้มีปัญหา คือจริงๆ แล้ว มันก็ไม่อยากให้มีการไปฟ้องร้องอะไรต่างๆ แต่ตนว่าเขาเป็นห่วง สิ่งที่เขาชี้แจงมา ซึ่งตนฟังจากสื่อท่านพูดว่าเป็นห่วงว่า วันข้างหน้าจะถูกฟ้องและถ้าถูกฟ้องขึ้นมาพ.ร.ป.2ฉบับนี้จะเป็นปัญหา การเลือกตั้งอะไรต่างๆ ก็จะทำให้เป็นปัญหาหมด มันจะทำให้วุ่นวายสับสนอลมานไปหมด เอาเสียให้ชัดในตอนนี้

“แต่ผมก็บอกแล้วว่าขอให้ทำอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนด ผมพูดไปอย่างนี้ ไม่ต้องห่วงหรอก ยังไงก็ได้เลือกตั้ง แต่ปัญหาของผมคือทำอย่างไร บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย ทำอย่างไรจะไม่มีคนไปส่งเสริมสนับสนุนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวผิดๆ ถูกๆ อ้างเหตุผลนู้นนี่ไปหมด ในเมื่อบอกกุมภาฯก็คือกุมภาฯ แล้วจะมาเร่งเลือกตั้งอะไร จะมาไล่คสช.ได้อย่างไร ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน แล้วมาอ้างว่าอำนาจอยู่ที่ประชาชน ก็ใช่ อำนาจประชาชนต้องไปใช้ในตอนโน้น จะใช้ตอนนี้ไม่ได้ เพราะเราต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข ต้องขอกันด้วยเหตุด้วยผล ผมไม่ต้องการใช้กฎหมายเพื่อให้ผมมีอำนาจเยอะๆ ผมเคยบอกแล้วไม่ต้องการอำนาจ แต่ต้องการใช้เพื่อบริหารราชการแผ่นดินในเวลานี้ ขอสื่อเถอะ อย่าไปตีความกันให้วุ่นวาย” นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า อย่าเอาคำพูดของตนไปจับผิดจับถูก ว่าพูดวันนี้ วันหน้า วันนู้น สื่อถามไปถามมา บางทีสื่อก็งงคำถาม ตนเองก็งงคำตอบในบางครั้ง วันหลังตนจะบันทึกคำถามสื่อบ้าง เพราะบางทีถามไปถามมาจนตนงง ว่าวันนั้นตอบไปอย่างไร

อุดมการณ์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และอารมณ์ กับการเมืองในระยะเปลี่ยนผ่าน : โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

อุดมการณ์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และอารมณ์ กับการเมืองในระยะเปลี่ยนผ่าน : โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์


ความรู้สึกแปลกๆ เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา และอาจจะเป็นผมคนเดียวที่คิดเช่นนั้น

หมายถึง ความรู้สึกที่ว่า ท่ามกลางการนับถอยหลังเข้าสู่การเลือกตั้ง ซึ่งแม้ว่าจะไม่ชัดเจนมาก หรือมีความเป็นไปได้เสมอที่จะมีการเลื่อนเลือกตั้ง แต่ทำไมกิจกรรมการเมืองในสัปดาห์ที่ผ่านมาดูจะไม่คึกคักเท่าที่ควร

ทั้งที่พรรคการเมืองใหม่ๆ ก็ได้จดแจ้งตั้งพรรคแล้ว และพรรคเก่าก็เริ่มเช็กชื่อกันแล้ว (แม้ว่าจะยังไม่ได้มีกิจกรรมที่เป็นทางการ)

เว้นแต่กระแสความตื่นตัวของคนรุ่นใหม่บางกลุ่มกับพรรคที่เสนอตัวเป็นทางเลือกของคนรุ่นใหม่ กับกระแสลุ้นว่าตกลง กปปส.จะจัดตั้งพรรคสำเร็จไหม

ผมกลับคิดว่ากระแสการเมืองจะเริ่มจริงๆ ก็เมื่อพรรคการเมืองเก่าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กนั้นได้รับสัญญาณให้เริ่มกิจกรรมการเมืองได้นั่นแหละครับ แม้ว่าการเริ่มกิจกรรมดังกล่าวในช่วงแรกนั้นอาจจะเป็นเพียงแค่การยืนยันจำนวนสมาชิกที่ตนมีอยู่ และยังไม่ถึงขั้นของการเลือกรายชื่อของบุคคลที่จะถูกส่งไปชิงตำแหน่งทางการเมืองในระดับนายกรัฐมนตรี หรือการรณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรค

หากพิจารณาถึงห้วงขณะทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งเป็นรอยต่อของการเข้าสู่การเมืองหลังการรัฐประหาร และการเมืองหลังความขัดแย้ง เราอาจจะพอคาดเดาสถานการณ์การเมืองบางอย่างได้ไม่มากก็น้อย

อนึ่ง คำว่า “หลัง” ในความหมายนี้ เป็นคำที่ใช้ในความหมายทั้งเงื่อนแวลาและปมปัญหา กล่าวคือ ในแง่ของเวลาการเมืองที่จะเกิดขึ้นเป็นการเมืองที่จะพ้นไปจากยุคการรัฐประหารในแง่ของความเป็นทางการของรัฐประหาร และเนื่องจากคณะรัฐประหารอ้างเอาความขัดแย้งของสังคมเป็นเงื่อนไขสำคัญในการยึดอำนาจ การถอยออกจากอำนาจไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมดนั้นอาจจะเป็นเรื่องของการที่อ้างอิงได้ในระดับหนึ่งว่าเรากำลังไปสู่การเมืองหลังความขัดแย้ง

แต่ในแง่ของคำว่า “หลัง” ที่มีความหมายถึงปมปัญหานั้น คำว่าหลัง อาจจะไม่แปลว่า “พ้น” จากปัญหาเหล่านั้น แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของปัญหา หรือเรากำลังไปเจอปัญหาในรูปแบบใหม่ๆ ก็อาจเป็นได้

ผมเห็นว่าการเมืองหลังรัฐประหารรอบนี้และการเมืองหลังความขัดแย้งในรอบนี้ จะไม่ได้ทำให้เรากลับสู่การเมืองในแบบเดิม คือการเมืองเรื่องนโยบาย

ส่วนหนึ่งเพราะในการร่างกติกาใหม่ของสังคมนั้น มีความพยายามที่จะไม่ทำให้การเมืองของไทยกลายเป็นการเมืองเชิงนโยบาย ทั้งการมีการห้ามไม่ให้เกิดการสัญญาจากพรรคการเมืองสู่ประชาชนในเรื่องนโยบาย หรือการกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติเอาไว้แล้วเป็นเวลาถึงยี่สิบปี

ขณะที่ผมเชื่อว่ากระแสของสังคมนั้นยังคาดหวังการเมืองเชิงนโยบายอยู่อย่างมาก ผู้เลือกตั้งจำนวนมากยังคาดหวังว่าพรรคแต่ละพรรคจะเสนอนโยบาย และโครงการต่างๆ ในการพลิกฟื้นทั้งเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้ได้ และผมก็เชื่อว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่จะเสนอทั้งนโยบายและโครงการทางเศรษฐกิจออกมาในบางรูปลักษณะ แม้ว่าจะมีความพยายามในการห้ามในสิ่งเหล่านั้นอยู่จากกรอบกฎหมายก็ตาม

ในอีกด้านหนึ่ง ผมก็เชื่อดังที่เคยนำเสนอไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่าการเลือกตั้งในรอบนี้จะมีเรื่องของการเลือกตั้งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการเลือกตั้งที่ไม่ได้เกิดจากตัวเลือกที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้เกิด แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้อาจจะเป็นเรื่องของการที่ผู้เลือกตั้งคาดคะเนแทนว่า หากพรรคของตัวเองจะไม่ชนะ เขาอาจจะเลือกในแบบที่ไม่ต้องการให้คู่แข่งเขาชนะมากกว่า

ถ้าเช่นนั้นมีความเป็นไปได้ไหมว่าการเมืองที่กำลังจะมาถึงจะเป็นเรื่องของอุดมการณ์? คำตอบก็คือ อาจมีความเป็นไปได้อยู่บ้าง แต่ผมคิดว่าท้ายสุดการเมืองไทยในรอบหน้าจะเป็นเรื่องของตัวบุคคลและอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง

กล่าวคือ หากการเมืองนั้นเป็นเรื่องอุดมการณ์ (อุดมการณ์ในความหมายพื้นฐาน คือชุดความคิดและคุณค่าที่เป็นหลักนำในการใช้ชีวิตทางการเมือง) เราคงจะต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังว่าเราจะเลือกประชาธิปไตยหรือเผด็จการ

แต่ในความเป็นจริง พรรคต่างๆ ในประเทศเราที่ผ่านมาก็ทั้งมีส่วนพัฒนาประชาธิปไตย และมีส่วนในการสร้างอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเรื่องของการซื้อเสียง (มีทุกพรรค) การทุจริตคอร์รัปชั่น (มีทุกพรรค) การละเลยต่อข้อโต้แย้งหรือคำถามและคำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมและของเสียงฝ่ายค้านในรัฐสภา และการโค่นล้มประชาธิปไตยผ่านการเมืองนอกรัฐธรรมนูญ (การชุมนุมโดยตัวของมันเองไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายในสังคมประชาธิปไตย แต่การเพิกเฉยต่อการรัฐประหาร จนเหมือนกับว่าชุมนุมเพื่อรอให้เกิดรัฐประหารนั้นเป็นสิ่งที่ควรถูกตำหนิ หากเป็นพรรคที่อ้างถึงประชาธิปไตยในฐานะคุณค่าหนึ่งของอุดมการณ์พรรค)

ด้วยเหตุฉะนี้ เราจึงพูดไม่ได้ง่ายนักว่าเราจะมีการเมืองเพื่อประชาธิปไตยในการเลือกตั้งที่จะมาถึง
ในอีกด้านหนึ่ง หากการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้จะมีเป้าหมายที่เรื่องของการต่อต้านเผด็จการ เราอาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจนมากนัก เพราะหากเผด็จการนั้นหมายถึงคนคนเดียวถือครองอำนาจก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะถูกต่อต้าน แต่ถ้าเผด็จการหมายถึงอำนาจนิยม ผมก็คิดว่าทุกพรรคก็มีลักษณะของการมุ่งยึดอำนาจและใช้อำนาจไปในสิ่งที่ตนต้องการมากกว่าการฟังเสียงที่แตกต่างและหลากหลายของสังคม

มิพักต้องกล่าวถึงว่า บางพรรคนั้นแม้อาจจะไม่พอใจผู้นำบางคนในวันนี้ แต่ก็ไม่ได้แสดงท่าทีต่อต้านรัฐประหารอะไร แถมยังได้ประโยชน์ทางการเมืองจากการล้มกระดานเพราะอย่างน้อยคู่แข่งทางการเมืองของตนก็ไม่ได้อำนาจ ส่วนพรรคที่เคยมีอำนาจก่อนถูกโค่นล้มนั้นก็ไม่ได้ออกมาต่อสู้กับการยึดอำนาจอย่างจริงจังเช่นกัน

ผมจึงคิดว่า ในท้ายที่สุด การเมืองในช่วงนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง จะเป็นเรื่องของตัวบุคคลและอารมณ์ความรู้สึกทางสังคมมากกว่าเรื่องนโยบาย และอุดมการณ์

กล่าวคือ การตั้งคำถามกับรัฐประหารในฐานะสถาบันทางการเมืองหนึ่งที่ไม่เป็นทางการของไทยจะไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก แต่อาจจะมีการวิจารณ์การทำรัฐประหารที่ผ่านมาว่าเสียของ หรือแก้ไม่ตรงจุด
สุดท้ายคงจะมีน้อยพรรคมากที่จะมุ่งเน้นไปที่การพยายามสกัดขัดขวางไม่ให้เกิดการทำรัฐประหารอีกในครั้งต่อไป โดยเฉพาะในระดับโครงสร้างทางการเมืองทั้งการพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการทำรัฐประหารในแง่ของการปฏิรูปกิจการของกองทัพไม่ให้ยุ่งกับการเมือง

รวมทั้งการเสนอเงื่อนไขและคำมั่นสัญญากับประชาชนว่าจะไม่ปล่อยให้มีเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การทำรัฐประหาร เช่น การคอร์รัปชั่น หรือ การไม่ฟังเสียงที่หลากหลายและไม่ใช่เสียงข้างมาก

มิพักต้องกล่าวถึงว่า จะมีพรรคน้อยพรรคเท่านั้นที่จะพูดถึงการล้มล้างผลพวงรัฐประหาร หรือหากมีบางพรรคที่พยายามกล่าวถึง ผมก็ไม่แน่ใจว่าประชาชนจะเลือกพรรคเหล่านั้นแค่ไหน เขาอาจจะเห็นด้วย แต่อาจจะตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ที่จะเลือกพรรคอื่นแทน

สุดท้ายเวลาสิ่งที่พอจะจับต้องได้ในการเมืองรอบที่จะถึงนี้กลายเป็นเรื่องของการตัดสินกันว่า จะเอาผู้นำคณะรัฐประหารคนนี้ (และอาจจะรวมถึงผู้มีอิทธิพลและเครือข่ายของเขา) ให้อยู่ต่อในอำนาจหรือไม่


หากเป็นเช่นนี้ เวลาสี่ปีที่ผ่านมานั้น สังคมไทยก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรมากนัก และยังไม่ได้เดินหน้าไปไหน เพราะสุดท้ายก็จะเป็นเรื่องการที่จะระดมมวลชนให้ไปรับรองหรือไม่รับรองคนคนหนึ่ง ทั้งตัวผู้นำรัฐประหาร หรือผู้นำของแต่ละพรรค

ทีนี้เรื่องมันก็ซับซ้อนขึ้น เพราะทั้งเพื่อไทย และประชาธิปัตย์นั้นประกาศไม่สนับสนุนผู้นำรัฐประหารคนนี้ทั้งคู่ แต่ก็ไม่มีท่าทีที่จะสามารถร่วมมือกันทำงานได้ หรือเสนอแนวทางที่พอจะอยู่ร่วมกันได้

เราก็กำลังจะกลับสู่จุดตั้งต้นของความขัดแย้งเมื่อหลายปีก่อนอีกใช่หรือไม่?

ทีนี้หากพิจารณาเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์กับการเมืองให้ซับซ้อนขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง เราอาจจะเห็นว่า การเมืองกับอารมณ์นั้นเกี่ยวข้องกันมากกว่าแค่เรื่องของการเลือกตั้ง เพราะในทุกวันนี้อารมณ์นั้นเข้ามามีบทบาทในความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ

และมากไปกว่าความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า อารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้การเมืองไม่พัฒนา เพราะการเมืองที่จะพัฒนาได้ต้องเป็นการเมืองที่ใช้เหตุผลสมัยใหม่ หรือเหตุผลที่แยกอารมณ์ความรู้สึกออกไป และอ้างความเป็นวิทยาศาสตร์

ลองยกตัวอย่างอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เราอาจจะมีอยู่สักสามอารมณ์ใหญ่ๆ ที่ต้องลองมาคิดกันดูว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมืองของเราแค่ไหน

1.ความโกรธ – ความโกรธนั้นมักเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันทำให้เป้าหมายบางอย่างของเราโดยเฉพาะเป้าหมายทางการเมืองนั้นๆ เกิดขึ้นไม่ได้ และสิ่งที่เรารับรู้ว่ามันเกิดขึ้นถูกให้คุณค่าว่ามันเกิดขึ้นอย่างไม่ยุติธรรม และเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น และเรารู้สึกว่าถูกหักหลังหรือไม่เป็นไปตามที่เราสัญญา ทั้งนี้ความโกรธอาจจะนำไปสู่การกระทำที่รุนแรง หรือ ความรู้สึกไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับผู้คนก็ได้

นอกจากนี้ความโกรธยังสัมพันธ์กับการโยนความผิดไปให้ผู้อื่น หรือการหาเหยื่อที่จะลงโทษและระบายอารมณ์ รวมทั้งอาจสนับสนุนนโยบายที่สุดโต่ง และมีความเสี่ยงสูง เพื่อให้บรรลุทางออกที่พวกเขาต้องการ แทนที่จะเลือกที่จะประนีประนอมและหันหน้าเข้าหากัน นักยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่จับจุดนี้ได้จะเข้าใจว่า เขาจะใช้ความโกรธในการปลุกเร้าคนฝ่ายตนให้ออกมาสนับสนุนการเมืองของฝั่งเขาเองเมื่อไหร่

2.ความกลัวและกระวนกระวายใจ – ความกลัวและกระวนกระวายใจนั้นมีผลทำให้ประชาชนหันไปมีพฤติกรรมทางการเมืองแบบหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เช่น ถอนตัวออกจากการเมืองหรือการเรียกร้องทางการเมือง ความกลัวและความกระวนกระวายใจนี้เกี่ยวเนื่องกับการมองโลกว่าเต็มไปด้วยอุปสรรคและภัยอันตรายต่างๆ ที่จะมากระทบตัวเรา ดังนั้นพวกคนเหล่านี้จะมอง (หรือถูกทำให้มอง) ว่าสิ่งที่มีรอบตัวเขาเต็มไปด้วยภัยอันตราย

ความกลัวและกระวนกระวายใจนี้อาจเกิดในสังคมเผด็จการผ่านการโฆษณาชวนเชื่อและการ “ชี้แจงทำความเข้าใจ” กับประชาชน แต่ในสังคมประชาธิปไตย สิ่งที่เห็นได้เด่นชัดก็คือความกลัวและความกระวนกระวายใจมักจะเกิดจากแคมเปญและโฆษณาหาเสียง ที่ให้ข่าวฝ่ายตัวเองว่ามีคะแนนนำ หรือโฆษณาที่มีเนื้อหาโจมตีพรรคและผู้สมัครคู่แข่ง

งานวิจัยทางจิตวิทยาการเมืองพบว่าความกลัวและกระวนกระวายใจส่งผลทางการเมืองได้ดีในระยะสั้นๆ เช่น การสมัครเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ส่งผลระยะยาว เช่น งานอาสาสมัคร และบริจาคเงิน

ความกระวนกระวายใจอาจส่งผลดีทางการเมือง เพราะผู้ที่กระวนกระวายใจทางการเมืองจะพยายามหาข้อมูลมาตอบสิ่งที่เขากระวนกระวายใจ คนเหล่านี้จะสนใจการเมืองเป็นพิเศษ แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลที่เขาค้นนั้นจะสะท้อนความเป็นจริง หรือในอีกด้านหนึ่ง ความกังวลและความกลัวนั้นจะต้องถูกปัดเป่าหรือคลายลงด้วยการยืนยันในแนวทางเดิมๆ ของฝ่ายตน เช่น พรรคที่เคยมีชื่อเสียงเรื่องการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมจะต้องออกมาหาเสียงในด้านเศรษฐกิจ ขณะที่พรรคที่เคยขายอุดมการณ์ก็จะต้องออกมายืนยันอุดมการณ์ของตน ในแง่นี้การเมืองแบบเดิมๆ ที่ต่างฝ่ายต่างเป็นเจ้าของประเด็น หรือมีจุดขายของตัวเองก็จะถูกเน้นย้ำต่อไป

3.ความหวังและความกระตือรือร้นสนใจ – ความหวังและความกระตือรือร้นนั้นเป็นสิ่งที่ต้องขายคู่กับคนที่จะนำเอาความหวังนั้นมา และหนทางที่ความหวังนั้นจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นความหวังนั้นก็เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญกับอนาคตมากกว่าความโกรธและความกลัว และความหวังกับความกลัวมักจะเป็นคู่แข่งกันในเรื่องของการมองการเมืองที่จะเกิดขึ้น

การเมืองที่ขายความหวังนั้นจะทำให้ผู้ที่สนับสนุนนั้นค้นข้อมูลมากขึ้นเช่นเดียวกับความกลัว แต่คนที่จะเลือกด้วยความหวังนั้นมักจะสนใจไปที่ภูมิหลังและประวัติของผู้สมัครที่อ้างว่าจะนำความเปลี่ยนแปลงมาให้ รวมทั้งจะนำไปสู่การติดตามทางการเมืองและเข้าร่วมหรือร่วมชมกิจกรรมของพรรคที่ตนสนับสนุน

นอกจากนี้ความหวังนั้นจะทำให้เรารู้สึกว่าอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยความแน่นอนและความเป็นไปได้

เมื่อเราพิจารณาการเมืองในระดับของอารมณ์นั้น เราจะพบว่ามันไม่ใช่เรื่องเดียวกับนโยบาย อุดมการณ์ หรือการเลือกตั้งแนวยุทธศาสตร์เสียทีเดียว แต่มันจะสำคัญเมื่อนักรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้นหยิบใช้มันอย่างมีชั้นเชิงและชำนาญ โดยเฉพาะในแคมเปญหาเสียง งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า โฆษณาทางการเมืองส่วนมากเป็นเรื่องของความกระตือรือร้นและความหวังทางการเมือง รองลงมาคือความภูมิใจในเกียรติภูมิของชาติและสังคม และตามมาติดๆ ด้วยโฆษณาทางการเมืองที่เน้นถึงเรื่องความโกรธและเกลียดชัง ตามมาด้วยความกลัว ส่วนอันดับที่รั้งท้ายนั้นคือเรื่องของความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

นี่คือความจริงทางการเมืองภายใต้ภาพอันสวยหรูของการเมืองเรื่องนโยบาย เรื่องอุดมการณ์ หรือเรื่องของเหตุผล

และหมายรวมถึงการที่โฆษณาในเรื่องนโยบาย อุดมการณ์ และเหตุผลนั้นก็แฝงไปด้วยการใช้อารมณ์เป็นตัวชี้นำพฤติกรรมและทัศนคติทางการเมืองทั้งสิ้น

ผมจึงอยากจะฟันธงว่าสีสันสำคัญของการเลือกตั้งในรอบนี้ ก็คือความสามารถของแต่ละฝ่ายที่จะอ่านอารมณ์หรือกระแสของสังคม หรือความต้องการของสังคมในแง่ของอารมณ์ความรู้สึก และนำมาใช้ให้ฝ่ายตัวเองได้ชัยชนะให้ได้มากที่สุดนั่นแหละครับ


หมายเหตุ: บางส่วนพัฒนาจาก K.Searles and T.Ridout. The Use and Consequences of Emotions in Politics. Emotionresearcher.com.