PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

หวั่น โพสต์แล้ว คนคล้อยตาม ปลุกปั่น ต่อต้าน!!



หวั่น โพสต์แล้ว คนคล้อยตาม ปลุกปั่น ต่อต้าน!!
โฆษกคสช. แจง 9คนโพสต์ โซเชียลฯหวังผลจิตวิทยา ทำบุคคล-องค์กร-รัฐ ขาดความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ อาจทำคนคล้อยตาม นำไปสู่การปลุกปั่น ต่อต้าน ขับไล่ ระบุผิดพรบ.คอมฯ-ม.116 ยังไม่ยืนยัน โยงนปช.หรือไม่ แจงAmnesty องค์กรสิทธิ์ ยันว่าควบคุมตัว ไม่ได้ทำเกินกว่าเหตุ และยึดประโยชน์คนส่วนใหญ่ ส่งฟ้องศาลทหาร8 คน เผย อีก1 คน อยู่ ต่างประเทศ ยันเน้นบังคับใช้กม. ตามขั้นตอน
จากกรณีที่ คสช,ควบคุมบุคคล 8 คน ที่มีการโพสต์ ข้อความและภาพ ในโซเชี่ยล มีเดีย ทำให้ นายกฯ และรัฐบาล เสียหาย เสื่อมเสีย และทำให้เกิดความเข้าใจผิด. ทั้งที่กทม.และเชียงใหม่ นั้น
พันเอกวินธัย สุวารี โฆษก คสช.ชี้แจงว่า บุคคล 8 คน นี้ ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาและเตรียมส่งฟ้องศาลทหารแล้ว เนื่องจากมีพฤติกรรมต้องสงสัยเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมีความผิดตามมาตรการ 116 เกี่ยวกับการยุยงปลุกปั่น และยังมีอีก 1 คน อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่ามีเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

พันเอก วินธัย ระบุว่า บุคคลกลุ่มนี้ ได้โพสต์โซเชียลมีเดีย มีลักษณะที่หวังผล
ทางจิตวิทยาและเพื่อให้บุคคล องค์กร หรือรัฐบาล ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่ได้รับความไว้วางใจ และขัดต่อการบริหารราชการ การรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งอาจนำไปสู่การต่อต้าน ขับไล่ หน่วยงานรัฐ ได้

โฆษก คสช. ยืนยันว่า การดำเนินงานของทหารโดยส่วนใหญ่ จะเป็นการขอความร่วมมือ แต่คดีนี้มีความฺผิดชัดเจน ตามหลักฐานการใช้งานโซเชียลมึเดีย
แต่อย่างไรก็ตาม พัยเอกวินธัย กล่าวว่า ยังไม่ได้ชี้ชัดว่า มีการเชื่อมโยงทางคดีกับกลุ่มนปช. หรือไม่ เพียงแต่บางคนมีพฤติกรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงส่วนบุคคลระหว่างแกนนำนปช.เท่านั้น

ยืนยันว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่พบการดำเนินการของทหารที่เกินกว่าเหตุ ไม่มีกสร"อุ้มหาย" แบบที่มีความพยายามจะปลุกปั่น และ อาจจะมีบางคนที่ใช้ความรู้สึกตัดสินการทำหน้าที่ของจนท.ทหาร

โฆษก คสช. ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการทุกอย่าง เพื่อปกป้องคนส่วนใหญ่ และการบังคับใช้กฎหมายก็เป็นไปตามขั้นตอน บริสุทธิ์ยุติธรรมและเปิดเผย

ทั้งนี้ พลเอกธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. และ เลขาฯ คสช. สั่งการให้ มรการบังคับใช้กม. อย่างเข้มข้น แต่ให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อ รักษากฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกคน

ส่วนกรณีองค์กรแอมเนสตี้ และองค์กรอื่นๆ ที่ออกมาวิจารณ์คสช.ในการเข้าควบคุมตัวบุคคลนั้น พันเอกวินธัย กล่าวว่า อาจจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน และไม่ได้อยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการออกมาวิจารณ์ดังกล่าวเข้าข่ายดูหมิ่นเจ้าหน้าที่ ทำให้สังคมเคลือบแคลงเจ้าหน้าที่ได้ จึงขอให้ตรวจสอบข้อมูลก่อน และ อาจทำให้องค์กรนี้ถูกสังคมตั้งคำถาม เสียเอง เริ่องการออกมาแสดงความเห็น

พันเอกวินธัย กล่าวว่า การจับกุม บุคคลต่างๆทั้ง8 คนนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่รักษากฎหมายบ้านเมือง ดำเนินการไปตามหลักฐานไม่อยากให้ใช้คำว่า เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการตามอำเภอใจ
ซึ่งเป็นเหมือนการดูหมิ่นดูแคลนการทำหน้าที่และจะเหมือนจงใจทำลายความน่าเชื่อถือในตัวเจ้าหน้าที่รัฐ

ทั้งนึ้ การจะให้ข้อมูลอะไรควรมีข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วนมิฉะนั้นสังคมจะสับสนและเคลือบแคลงต่อการ
ทำหน้าที่ต่อองค์กรในภาคประชาสังคมเอง
เชื่อว่ากฎหมายเป็นกลไกหลักในการปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับคนในสังคมซึ่งการไม่ทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในแบบที่ควรจะเป็น. อาจส่งผลให้บางบุคคลในสังคมมีการละเมิดสิทธิซึ่งกันและกันได้
"จึงขอความร่วมมือองค์กรทางสังคมต่างๆได้มีความเป็นธรรมต่อการแสดงออกเชิงความรู้สึกต่อเจ้าหน้าที่ด้วย" โฆษก คสช. ระบุ

‘คสช.’แฉ 9 มือโพสต์ทำเป็นขบวนการ-มีคนอยู่เบื้องหลัง เมินแอมเนสตี้จี้ปล่อยตัว


เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากลุ่มผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โพสต์ข้อความลงโซเชียลมีเดียว่า ขณะนี้ได้แจ้งข้อกล่าวหา 9 คน ในจำนวนนี้อยู่ต่างประเทศจำนวน 1 คน โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา มีการควบคุมตัว 10 คน แต่ได้ปล่อยตัวไปแล้ว 2 คนเพราะไม่มีความเชื่อมโยง โดย 1 คนถูกควบคุมมาจากจ.ขอนแก่น สำหรับข้อกล่าวหาทั้ง 9 รายคือมีการกระทำความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และผิดกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีการยุยง ปลุกปั่น ทั้งนี้ไม่ใช่การกระทำในลักษณะของบุคคลแต่เป็นขบวนการ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการโพสต์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีหลักฐานปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว ประกอบกับคำให้การ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตั้งข้อกล่าวหาและดำเนินคดีได้ โดยพนักงานสอบสวนจะขออนุมัติศาลทหารในการฝากขังต่อไป
พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ส่วนพฤติกรรมจะมีความสัมพันธ์จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่นั้น หากมองการเชื่อมโยงทางคดียังไม่ชัดเจน การที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ระบุว่า เป็นผู้บริหารเพจของเขานั้น เป็นเพียงความเชื่อมโยงส่วนบุคคล แต่ไม่ใช่การเชื่อมโยงทางคดี ทั้งนี้ตนมองว่าการกระทำของขบวนการนี้มีบุคคลอยู่เบื้องหลัง แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ในการสืบสวนและขยายผลต่อไป และขอยืนยันว่า เมื่อเจ้าหน้าที่พบผู้กระทำผิด หรือผู้ต้องสงสัยนั้น ได้ปฏิบัติด้วยแนวทางสุภาพและเปิดเผย ไม่ได้เป็นไปตามที่มีการกล่าวหาว่าดำเนินการในรูปแบบกระทำต่อคนที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมายังไม่พบเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ ยกเว้นคนที่ใช้ความรู้สึกตัดสิน
“สำหรับกรณีที่องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือ แอมเนสตี้ เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนั้นถือว่าเป็นองค์กรที่อยู่ในต่างประเทศ ไม่ได้เข้ามาสัมผัสข้อเท็จจริงเพียงพอ ทั้งยังได้ข้อมูลมาไม่ครบถ้วน แต่คสช.ไม่รู้สึกกังวล เพราะเป็นเพียงบางองค์กรเท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ที่แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มการเมือง พรรคการเมือง องค์กรสิทธิมนุษยชนที่มองการกระทำเจ้าหน้าที่ในแง่ลบ เจ้าหน้าที่พร้อมสร้างความเข้าใจ แต่ยืนยันว่าเรายึดตามกรอบกฎหมาย ดำเนินการตามหลักฐาน ไม่ใช่ความรู้สึก” พ.อ.วินธัย กล่าว

กฎหมายผิดซอง

“ผมเพียงแต่เตือนว่ากฎหมายมีแล้ว คนต้องทำตามกฎหมาย ถ้ามีกฎหมายแล้วไม่ทำตาม จะเขียนไว้ทำไม ผมไม่จำเป็นต้องสั่ง เพราะเป็นหน้าที่ คสช.และรัฐบาลที่ต้องทำให้ทุกหน่วยงานเคารพกฎหมายของตัวเอง แล้วก็รับผิดชอบกันไป”  

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 27 เม.ย.59
ที่มา : ประยุทธ์ สั่ง ตร.-ไอซีทีจัดการกรณีโพสต์โจมตีรัฐบาล http://prachatai.org/journal/2016/04/65487
------

"บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติรวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง"

มาตรา ๔๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
ที่มา : เปิด48มาตรา'รัฐธรรมนูญชั่วคราว2557' http://www.bangkokbiznews.com/mobile/xhtml/news/detail/00/594624/ หรือ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF

วัฒนาโพสต์fbไทยผู้ป่วยรายใหม่

"ผู้ป่วยรายใหม่ของโลก"

โฆษก คสช. แถลงยืนยันว่าทหารได้ควบคุมตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 10 คน ส่งตัวไป มทบ. 11 เพื่อปรับทัศนคติโดยจะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ไม่เกิน 7 วัน แต่คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ 13/2559 ที่ให้นายทหารตั้งแต่ยศร้อยตรีขึ้นไปสามารถควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน เพื่อ "สอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยคำอันจะเป็นประโยชน์ต่อการกระทำอันเป็นความผิด" นั้น ไม่รวมความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ดังนั้น การที่ทหารควบคุมตัวบุคคล 10 คนไม่ว่าเพื่อการใดก็ตามถือเป็นการกักขังบุคคลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งนอกจากจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังขัดกับข้อ 9 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติว่า "บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได้" (No one shall be subjected to arbitrary arrest, detention or exile.)

ประชาคมโลกกำลังกังวลกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ดังปรากฏตามหนังสือของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หนังสือจากสถานทูตสหรัฐอเมริกา และรายงานการประชุมของรัฐสภาอาเซียน ทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมาไทยมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เราเคยเป็นเจ้าภาพเจรจาสันติภาพให้เขมรสามฝ่ายในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชายฯ แต่ปัจจุบัน ส.ส. จากกัมพูชาถึงกลับอภิปรายถึงสถานการณ์ในไทยว่า "ประชาชนไม่ควรถูกโยนเข้าคุกเพียงเพราะแสดงความคิดเห็น ที่ผ่านมาเราได้เห็นคนวิจารณ์รัฐธรรมนูญถูกกักขังตามอำเภอใจและปรับทัศนคติ" ไม่นับรวมสมาชิกจากอาเซียนรายอื่นๆ ที่มีความเห็นทำนองเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเป็นเป็นปัญหาของโลกในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ รัฐสมาชิกจะต้องยอมรับข้อตกลงที่ระบุไว้ในกฏบัตรสหประชาชาติและนำเอาพันธะในองค์กรไปปฏิบัติ ประเทศไทยได้รับรอง "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" (The Universal Declaration of Human Rights) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 จึงเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่บัญญัติว่า "พันธะกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้" ดังนั้น เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งถือเป็นเรื่องของมนุษยชาติ จึงทำให้นานาชาติสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องได้โดยไม่ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ที่น่าสังเกตคือข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ และรัฐสภาอาเซียนได้พูดถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ว่าเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อสร้างความหวาดกลัวและปิดกั้นการโต้เถียง เท่ากับสหประชาชาติและรัฐสภาอาเซียนเห็นตรงกันว่ากฎหมายประชามติมีบทบัญญัติที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน จึงวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายของเราได้โดยไม่ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน

http://aseanmp.org/2016/04/25/regional-mps-concerned-thailands-draft-constitution-planned-referendum/

 http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=19859&LangID=E

วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
28 เมษายน 2559