PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

วัฒนาโพสต์fbไทยผู้ป่วยรายใหม่

"ผู้ป่วยรายใหม่ของโลก"

โฆษก คสช. แถลงยืนยันว่าทหารได้ควบคุมตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 10 คน ส่งตัวไป มทบ. 11 เพื่อปรับทัศนคติโดยจะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ไม่เกิน 7 วัน แต่คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ 13/2559 ที่ให้นายทหารตั้งแต่ยศร้อยตรีขึ้นไปสามารถควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน เพื่อ "สอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยคำอันจะเป็นประโยชน์ต่อการกระทำอันเป็นความผิด" นั้น ไม่รวมความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ดังนั้น การที่ทหารควบคุมตัวบุคคล 10 คนไม่ว่าเพื่อการใดก็ตามถือเป็นการกักขังบุคคลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งนอกจากจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังขัดกับข้อ 9 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติว่า "บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได้" (No one shall be subjected to arbitrary arrest, detention or exile.)

ประชาคมโลกกำลังกังวลกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ดังปรากฏตามหนังสือของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หนังสือจากสถานทูตสหรัฐอเมริกา และรายงานการประชุมของรัฐสภาอาเซียน ทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมาไทยมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เราเคยเป็นเจ้าภาพเจรจาสันติภาพให้เขมรสามฝ่ายในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชายฯ แต่ปัจจุบัน ส.ส. จากกัมพูชาถึงกลับอภิปรายถึงสถานการณ์ในไทยว่า "ประชาชนไม่ควรถูกโยนเข้าคุกเพียงเพราะแสดงความคิดเห็น ที่ผ่านมาเราได้เห็นคนวิจารณ์รัฐธรรมนูญถูกกักขังตามอำเภอใจและปรับทัศนคติ" ไม่นับรวมสมาชิกจากอาเซียนรายอื่นๆ ที่มีความเห็นทำนองเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเป็นเป็นปัญหาของโลกในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ รัฐสมาชิกจะต้องยอมรับข้อตกลงที่ระบุไว้ในกฏบัตรสหประชาชาติและนำเอาพันธะในองค์กรไปปฏิบัติ ประเทศไทยได้รับรอง "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" (The Universal Declaration of Human Rights) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 จึงเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่บัญญัติว่า "พันธะกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้" ดังนั้น เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งถือเป็นเรื่องของมนุษยชาติ จึงทำให้นานาชาติสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องได้โดยไม่ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ที่น่าสังเกตคือข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ และรัฐสภาอาเซียนได้พูดถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ว่าเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อสร้างความหวาดกลัวและปิดกั้นการโต้เถียง เท่ากับสหประชาชาติและรัฐสภาอาเซียนเห็นตรงกันว่ากฎหมายประชามติมีบทบัญญัติที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน จึงวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายของเราได้โดยไม่ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน

http://aseanmp.org/2016/04/25/regional-mps-concerned-thailands-draft-constitution-planned-referendum/

 http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=19859&LangID=E

วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
28 เมษายน 2559

ไม่มีความคิดเห็น: