PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว28ม.ค.58

นายกฯ

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ คาดติดตามงานแก้ปัญหา ตั้งคณะทำงานพูดคุยสันติสุข 3 จ.ชายแดนใต้

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เดินทางมาที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ภายใน

ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นประธานการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก นายอนุสิษฐ์ คุณากร เลขาธิการ สมช. รวมถึงหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง

อย่างไรก็ตาม สำหรับวาระการประชุมครั้งนี้ คาดว่าเป็นการหารือเพื่อติดตามสถาการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงติดตามความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะทำงานพูดคุยสันติสุขในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี พล.อ.อักษรา เกิดผล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยของฝ่ายรัฐบาล
-------------
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เผย ผู้แทน IMF ชม รบ.ทำถูกต้องเรื่องภาษีแล้ว ลดความเหลื่อมล้ำ พอใจแผน แนะเร่งลงทุน   

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้าพบ ว่า IMF มีความพอใจในแผนการลงทุนของไทยในปีนี้ และแนะนำให้ไทยเร่งลงทุน ซึ่งไทยมีแผนการใช้จ่ายได้ดีกว่าที่ปีผ่านมา ขณะเดียวกัน IMF ทราบว่า ไทยมีการปรับโครงสร้างภาษี โดยระบุว่า ไทยได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมัน

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า นอกจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ยังมีการปรับโครงสร้างในส่วนอื่นๆ ที่เป็นมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการปรับภาษีขึ้นนั้น เพื่อให้รัฐมีรายได้ที่เพียงพอกับรายจ่าย

นอกจากนี้ สถานการณ์การส่งออกของไทยนั้น ยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว แต่ที่การส่งออกยังไม่ดีขึ้นนั้น เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีความอ่อนแอมากกว่าประเทศไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รวมไปถึงจีน ที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่ง กระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียมหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่ม เช่น ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา
-----------------------
กต. แถลงยืนยัน สหรัฐ ยังไม่ปรับลดความสัมพันธ์กับไทย แจง ถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" ตามกฎหมายไม่ใช่เรื่องการเมือง คงอัยการศึกเพื่อความเรียบร้อย

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงภายหลังการรือระหว่างนายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐประจำประเทศไทย รักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย โดยยืนยันว่าสหรัฐไม่ได้ปรับลดความสัมพันธ์กับไทยลง พร้อมได้ชี้แจงถึงการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี ว่า ไม่ใช่เรื่องของการเมืองแต่เป็กระบวนการตามกฏหมายที่ดำเนินการมาก่อนที่จะเกิดการรัฐประการ

ขณะที่กฏอัยการศึกนั้นชี้แจงว่าภาพรวมคนไทย ไม่รู้สึกว่ามีผลกระทบ ขณะเดียวกันได้ตั้งคำถามว่าหากยกเลิกกฏอัยศึกแล้ว เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นในประเทศใครจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนกรณีที่นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่ากระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ไปปาฐถาและมีการพูดถึงเรื่องการเมืองของประเทศไทยนั้น มองว่าอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาและอาจถูกใช้เป็นประโยชน์ทางการเมืองได้ อย่างไรก็ตามไทยไม่ได้เมินเฉยต่อท่าทีของสหรัฐ แต่ไทยกำลังพยายามก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีรากฐานมั่นคง
-------------------------
นายกฯ เสียใจ US ไม่เข้าใจกระบวนการ ย้ำถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" เป็นกระบวนการ กม. ระบุ ไปนอกต้องขออนุญาต เตรียมเรียก "สุรพงษ์" รายงานตัว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวว่า รู้สึกเสียใจ ที่ทางสหรัฐฯ ไม่เข้าใจการทำงานของเรา ซึ่ง ไทยและสหรัฐฯ เป็นมิตรประเทศกันมานาน ทั้งนี้ ได้ให้กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงทำความเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ของไทย ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยังเป็นไปอย่างปกติ โดยเฉพาะการค้าการลงทุน และเชื่อว่า ทางสหรัฐฯ สามารถแยกเรื่องการเมืองได้ พร้อมย้ำว่า คดีถอดถอนอดีตนักการเมืองเป็นไปตามกระบวนการปกติ และไม่ได้เป็นการไล่ล่าใคร ทั้งนี้ ได้สั่งให้คดีสำคัญต่างๆ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ระบุว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปต่างประเทศ ก็ให้ทำหนังสือขออนุญาตตามปกติ แต่หากติดคดีอาญา ก็ต้องขึ้นอยู่กับศาลที่จะพิจารณา หากศาลไม่อนุญาต ก็ไม่สามารถออกนอกประเทศได้ ทั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังไม่มีการขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ แต่อย่างใด

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ทาง คสช. จะมีการเรียกตัว นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่ออกมาวิจารณ์ข่มขู่รัฐบาลให้มารายงานตัวเพื่อมาพูดคุย ซึ่งหากยังคงออกมาเคลื่อนไหวอีก อาจจะมีมาตรการต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การห้ามเดินทางไปต่างประเทศ
-----------------------
สมช.เสนอกรอบแก้ไข-พูดคุยสันติสุข 3 จ.ชายแดนใต้ เชื่อผู้เห็นต่างรู้ข้อมูลดีแล้ว ขอความร่วมมือสื่อ

นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวภายหลังการประชุม สมช. ว่า การประชุมวันนี้ เป็นการวางกรอบแนวทางให้กับหน่วยงานของรัฐในการเข้าไปแก้ไขปัญหาและพูดคุยเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีขั้นตอนและกระบวนการที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน การทำงานครั้งนี้ ได้ทำแผนขับเคลื่อนที่มีความชัดเจน มีการรับรู้ทั้งมาเลเซีย และไทย ซึ่งเชื่อว่า ผู้ที่เห็นต่างในจังหวัดชายแดนใต้ คงได้รับรู้รับทราบข้อมูลแล้ว ซึ่งทางออกที่ดีที่สุด คือ การพูดคุยกัน

ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้ทำเพียงแค่การพูดคุย ได้ทำเรื่องการพัฒนา การเข้าถึงประชาชน ร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และส่วนกลาง ก็ร่วมลงไปทำงาน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยต่างๆ ที่ลงไปใกล้ชิดในพื้นที่อีก อาทิ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ก.พ. และ กพน. เป็นต้น

ส่วนการพูดคุยกับทางมาเลเซีย นั้น นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ต้องถามทางคณะพูดคุย เชื่อว่าคงวางแผนเตรียมความพร้อมไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ อยากให้สื่อมวลชนนำเสนอในเรื่องการพูดคุยสันติสุขด้วยว่า ต่อจากนี้ไป การเข้าหาความสงบสุขเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคาดหวังว่าทุกกลุ่มจะลงมาช่วยแก้ปัญหา เพื่อประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้
------------------
พล.อ.ประวิตร ย้ำถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" เป็นเรื่องกระบวนการกฎหมาย ห่วงแตกแยก เรียก "สุรพงษ์" ปรับทัศนคติ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวก่อนจะเป็นประธานการประชุมสภากลาโหม ถึงกรณีที่ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เตรียมเรียก นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้ารายงานตัว ว่า ต้องดูที่เจตนาการกระทำของ นายสุรพงษ์ ว่าต้องการให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมหรือไม่ ถ้าหากเป็นเจตนาที่จะสร้างความแตกแยกก็สมควรที่จะต้องมีการเรียกมาปรับทัศนคติ ส่วนกรณีที่ทางผู้ช่วยรัฐมนตรีสหรัฐอเมริการมองการถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีว่าเป็นเรื่องทางการเมืองมากกว่านั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวย้ำว่า เรื่องการถอดถอนนั้นเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงกรณีที่ทางสหรัฐอเมริกาต้องการให้ไทยยกเลิกกฎอัยการศึกว่า เป็นเรื่องของประเทศไทย ซึ่งตนเองไม่รู้สึกกดดันหรือกังวลแต่อย่างใด เนื่องจากคนไทยทุกคนเข้าใจและต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย
--------------------
พล.อ.ประวิตร ปธ.ประชุม สภากลาโหม ผบ.เหล่าทัพ เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง เน้นแก้ 3 จ.ใต้

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมสภากลาโหมประจำเดือนมกราคม โดยมี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภากลาโหม เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยในวันนี้ มีวาระที่สำคัญคือ การรายงานสรุปสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการพิจารณากฎหมายระเบียบรองรับการยกระดับจังหวัดทหารบก เป็นมณฑลทหารบก
----------------------
นายกฯ เดินหน้าสร้างสันติสุขใต้ - กำลังเร่งแก้ปัญหายาง หวังชาวสวนยาง อยู่ในความสงบ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ขั้นตอนการพูดคุยกับผู้เห็นต่างจะมี 3 ขั้นตอน คือ 1. การสร้างความไว้วางใจ โดยทางมาเลเซีย เป็นผู้อำนวยความสะดวกโดยประสานกลุ่มผู้เห็นต่าง 2.การลงสัตยาบัน เช่น ข้อตกลงยุติความรุนแรง และแสวงหาทางออก และ 3.ดำเนินการตามโรดแมป เช่น ยุติความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ การพัฒนาลดความเหลื่อมล้ำและอำนวยความยุติธรรม ซึ่งในการพูดคุยระดับขับเคลื่อนจะนำข้อเสนอต่างๆ มาสรุปให้ระดับนโยบายตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดวันพูดคุย เนื่องจากจะต้องรอทางมาเลเซีย ประสานกลุ่มผู้เห็นต่าง ทั้งนี้ ขออย่านำเรื่องดังกล่าวมากดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยยืนยันจะเร่งแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยุติโดยเร็วที่สุด และไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องภายในประเทศ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่เกษตรกรชาวสวนยาง จะมีการรวมตัวที่จังหวัดตรัง ในวันที่ 30 ม.ค.นี้ว่า ได้สั่งการให้ทาง คสช. ไปติดตามแล้ว ซึ่งไม่กังวลว่าจะมีการมาชุมนุม และเชื่อว่าจะมีความเข้าใจ เนื่องจากที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ เช่น การส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ จึงขอให้อยู่ในความสงบ เพราะต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม อยากให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมกลุ่มกัน เพื่อให้มีเอกภาพในการเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ
///////////////
กมธ.ยกร่าง

"คำนูณ" FB แจงเหตุผล คงวาระ ป.ป.ช. 9 ปี ต่างจากองค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐอื่น ชี้ เป็น องค์กรกึ่งตุลาการ

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สปช.) และโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Kamnoon Sidhisamarn" ในเช้าวันนี้ว่า ไฮไลท์ของการพิจารณาในช่วงค่ำของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา กมธ.มีฉันทมติให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังคงมีวาระ 9 ปี และอยู่ได้วาระเดียวตามบรรทัดฐานที่วางไว้ตั้งแต่ปี 2540 ไม่ลดลงมาเหลือ 6 ปี เท่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐองค์กรอื่นที่ถูกปรับลดลงมา เพราะ ป.ป.ช. ไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแบบองค์กรอื่น แต่เป็น "องค์กรกึ่งตุลาการ" ที่ทำหน้าที่เสมือนการไต่สวนมูลฟ้องในชั้นศาล มีอำนาจโดยเปรียบเทียบแล้วเหนือกว่าอัยการ ดังนั้น การทำคดีในลักษณะ "องค์กรกึ่งตุลาการ" จึงต้องใช้เวลาต่อเนื่อง วาระควรจะยาวกว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จึงมีฉันทมติบัญญัติไว้ที่ 9 ปีตามเดิม
------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา กำหนด สัดส่วน เพศ วาระดำรงตำแหน่ง และการสรรหา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราในภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งเรื่องสัดส่วน เพศ และวาระการดำรงตำแหน่ง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาให้เพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติม

โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการหารือเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งประธานขององค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หลังจากที่มีการกำหนดในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ดำรงตำแหน่งประธานวาระละ 3 ปี ว่าจะให้องค์กรอื่นๆ ใช้หลักการเดียวกันหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันให้แขวนเรื่องนี้ไว้ก่อน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้ตั้งอนุกรรมาธิการเพิ่มขึ้น 1 คณะ ไม่เกิน 9 คน เพื่อดูแลเรื่องกฎหมายลูกทั้งหมด โดยจะเชิญผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายโดยตรง เพื่อให้การยกร่างรัฐธรรมนูญรวดเร็วขึ้น
-----------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา เสนอให้ รวม ผู้ตรวจการแผ่นดิน-กรรมการสิทธิ์ เข้าด้วยกัน 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรมนูญ ล่าสุด ในช่วงบ่าย ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราในภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในส่วนการทำหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหมด โดยสมาชิกส่วนใหญ่ได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน ควบรวมทั้งสององค์กรนี้ให้อยู่ที่เดียวกัน เนื่องจากมีการทำงานที่คล้ายกัน และเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งลดงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน

ขณะที่ สมาชิกบางส่วนเสนอให้ไปศึกษาข้อมูลและโครงสร้างของทั้ง 2 องค์กร ให้เห็นถึงข้อดี-ข้อเสียก่อนที่จะควบรวม ว่าจะมีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิมอย่างไร ทั้งนี้ สมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง
------------------
โฆษก กมธ.วิสามัญ วิป สปช. เเถลงปฏิรูป 36 วาระ ยกร่างประกอบรัฐธรรมนูญภายใน 31 ก.ค.

นายวันชัย สอนสิริ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) แถลงว่า ในการประชุมคณะกรรมการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ทำหน้าที่ประธาน

โดยที่ประชุมมีมติกำหนดวาระในการปฏิรูปเป็น 36 วาระ วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 วาระ โดยวางกรอบการดำเนินการดังนี้ คณะกรรมาธิการฯ ต้องกำหนดกรอบและหลักการในการปฏิรูปเสนอต่อที่ประชุม สปช. ในวันที่ 27 ก.พ. กำหนดหลักการและวิธีการปฏิรูปทั้งหมดภายในวันที่ 10 เม.ย. เพื่อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และดำเนินการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเสนอภายในวันที่ 31 ก.ค.

ส่วนการประชุม สปช. ในวันจันทร์ที่ 2 ก.พ. นี้ มีการกำหนดวาระเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค หลังจากนั้นจะเปิดอภิปรายทั่วไปในประเด็นจะทำอย่างไรให้กลไกของรัฐให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวกรวดเร็ว ส่วนในอังคารที่ 3 ก.พ. เป็นการเปิดอภิปรายในประเด็นจะทำอย่างไรให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นธรรม
--------------------
นายคำนูณ เผย รธน.ใหม่ อาจควบรวมกรรมการสิทธิ์ฯ เเละ สตง. เข้าด้วยกัน โดย สตง. เเละ ผู้ว่าฯ สตง. เป็นกลางเเละอิสระ 

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีการแก้ไข โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นอิสระและเป็นกลาง

ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินต้องประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่น 6 คน รวมทั้งหมด 7 คน ส่วนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการทำงานที่คล้ายกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และลดงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ที่ประชุมจึงมีมติให้ควบรวมทั้ง 2 องค์กรเข้ารวมกัน พร้อมตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวม จำนวน 5 คน คือ นายปกรณ์ ปรียากร, นายเจษฎ์ โทณะวณิก, นางถวิลวดี บุรีกุล, นางสาวสุภัทรา นาคะผิว และ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
-----------
คำนูณ เผย องค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐใน รธน.ใหม่ ต่างจากเดิม 5 ประการ - เตรียมถกการคลังงบประมาณต่อ

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า องค์กรการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ มีความแตกต่างไปจากเดิม 5 ประการ คือ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญต้องยื่นบัญชีรายการแสดงทรัพสินย์และหนี้สินต่อสาธารณชนให้ทราบโดยเร็ว/ มีระบบการสรรหาแบบใหม่โดยประกอบด้วยองค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ จำนวน 12 คน อาทิ กกต. ป.ป.ช. และ คตง./ มติในการสรรหาต้องมีเสียง 2 ใน 3/ ผู้ที่เคยทำหน้าที่องค์กรการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญมีหน้าที่การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสรรหา และต้องได้รับการประเมินผลจากองค์กรประเมินผลทุกปี

อย่างก็ไรตาม ในวันพรุ่งนี้ (29 ม.ค.) จะมีการพิจารณาในภาค 2 หมวด 5 เรื่องการคลังงบประมาณ ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาเสร็จในวันเดียวอย่างแน่นอน
-------------------
วิษณุ บอกรัฐธรรมนูญยึดตามโรดแมป หากนิรโทษกรรมต้องรอเวลาเหมาะสม ขณะปัดยัดเยียดความผิด ยิ่งลักษณ์ หรือไล่ล่าใคร

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ภายหลังปาฐกถาพิเศษที่สโมสรทหารบก วิภาวดี ว่า รัฐธรรมนูญใหม่เป็นไปตามโรดแมปของ คสช. ซึ่งขณะนี้การร่างรัฐธรรมนูญคืบหน้าเร็วกว่าที่คิด แต่ในเดือนเมษายนการร่างฉบับเต็มที่จะส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องแล้วเสร็จ และการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ คาดว่า ช่วงกุมภาพันธ์ ปี 2559 หากมีการทำประชามติ ต้องยืดเวลาออกไปอีก ส่วนการนิรโทษกรรมจะทำได้ก็ต่อเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตอบไม่ได้ว่าเมื่อใด นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงกรณีมติถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งกรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ขอย้ำว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ได้เป็นการไล่ล่า หรือยัดเยียดความผิดแต่อย่างใด จึงควรทำความเข้าใจกันใหม่ อีกทั้งหวังว่าจะไม่มีกลุ่มมวลชนออกมาเคลื่อนไหว
------------
พล.ท.กัมปนาท เผย ทราบนายกฯ สั่ง สุรพงษ์ เข้าปรับทัศนคติ หากไม่ให้ความร่วมมือ เตรียมตรวจสอบธุรกรรมการเงิน

พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย(ผบ.กกล.รส.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษา
ความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้ คสช. เชิญ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจนั้น ขณะนี้ตนเอง
ได้รับทราบคำสั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ แล้ว สำหรับรายละเอียดจะเชิญมาพูดคุยวันใดนั้น ตนเองไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยจะมีทีมเจ้าหน้าที่ทหารของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นผู้พูดคุย
ส่วนจะถึงขั้นต้องนำเข้าค่ายทหารเพื่อปรับทัศนคติหลายวันหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือ ถ้าให้ความร่วมมือก็ให้กลับบ้านได้ หากไม่ให้ความร่วมมือก็จะมีขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบ
ธุรกรรมทางการเงิน
////////////////
สนช./ถอดถอน

รัฐบาล เร่งรัด สนช.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอางฉบับใหม่ หลังมีผู้ร้องเรียน มีเครื่องสำอางปลอมระบาดจำนวนมาก

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีวาระพิจารณาการออกร่างพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฉบับใหม่ โดยยกเลิกเนื้อหาในพระราชบัญญัติฉบับเก่าของปี 2535 ทั้งหมด เนื่องจากมีช่องโหว่ของกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาเครื่องสำอางปลอม และละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายล่าสุด จะมีหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องขึ้นทะเบียน และมีรายละเอียดการนำเข้า การผลิต และการจัดจำหน่ายที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้เร่งรัดกฎหมายฉบับนี้มายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนจำนวนมาก และทำให้เกิดปัญหาต่อชื่อเสียงของประเทศไทย
------------------
สนช. รอความชัดเจน 38 อดีต ส.ว. แถลงเปิดคดี ทีละคน หรือ ส่งตัวแทนแถลง 3 กลุ่ม ยังไม่สามารถระบุวันลงมติได้

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง กล่าวถึงความคืบหน้า การดำเนินกระบวนการถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 คน กรณีร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว. ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับ 38 อดีต ส.ว. ว่า ต้องการจะแถลงเปิดสำนวนคดีทีละคน หรือ จะส่งตัวแทนทำหน้าที่แถลงเปิดคดีในส่วนของข้อหาตนเอง ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มที่ลงมติ รวมทั้งกลุ่มที่ร่วมลงชื่อและลงมติ โดยกระบวนการพิจารณาคดี อาจจะล่าช้ากว่าคดีที่ผ่านมา เพราะหากผู้ถูกกล่าวหาประสงค์ จะแถลงเปิดคดีครบทุกคน ก็ต้องรอจนคนสุดท้ายแถลงเสร็จสิ้น จึงจะกำหนดวันลงมติได้

ปฏิกริยาสหรัฐแทรกแซงไทย

สหรัฐท่าที
Tuesday, 27 January, 2015 - 00:00

อเมริกาจุ้นรัฐไทย! ห่วงอดีตนายกฯจากเลือกตั้งถูกถอด/‘ปึ้ง’ชี้กระทบการลงทุน

  ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาพร้อมอุปทูต เชิญผู้นำทางการเมืองไทยเข้าพบปะ "ยิ่งลักษณ์" และบรรดาลิ่วล้อได้ทีฟ้อง มีขบวนการเล่นงานอดีตนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง เชื่อชะตากรรมไม่ต่างกับทักษิณ หาจัดฉากร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่ "บิ๊กตู่"  บอกเป็นเรื่องของ "ปู" แจ้นฟ้องมะกัน ยันต่างชาติเข้าใจไทย "แดเนียล รัสเซล"บี้ รมว.ต่างประเทศเลิกกฎอัยการศึก อ้างไม่เลือกข้างอยู่ฝ่ายใด

    ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ และ รมว.การต่างประเทศ, นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกฯ เดินทางเข้าพบนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, นายแพทริก เมอร์ฟีย์ อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ตามคำเชิญในการพบปะผู้นำทางการเมืองทุกกลุ่ม และตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล

    นายสุรพงษ์เปิดเผยว่า ผู้แทนสหรัฐอเมริกาได้พูดคุยสอบถามถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย โดยเฉพาะกรณีล่าสุดที่ สนช.ลงมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งความจริงอเมริกาได้ติดตามข่าวคราวอยู่ตลอด ทราบดีอยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย เพียงแต่อยากฟังจากปาก จึงเล่าให้ฟังว่ามันมีที่มาที่ไปและมีขบวนการอย่างไร ยังหาตัวคนผิดไม่ได้แต่ลงโทษคนกำกับนโยบายไปแล้ว และคาดหมายว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์คงมีชะตากรรมไม่ต่างจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  อดีตนายกฯ ผู้เป็นพี่ชาย ซ้ำเรื่องราวที่เกิดขึ้นก็เหมือนลอกแบบกันมา ต่อไปก็จะมีเหตุการณ์ทำนองว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องรับผิดชอบชดใช้อันนั้นอันนี้ตามมา

      นายสุรพงษ์กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาได้แสดงความเป็นห่วงสิ่งที่เกิดขึ้น อดีตนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งต้องโดนถอดถอนโดยคนที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ได้มาตามครรลองประชาธิปไตย เรื่องนี้จะส่งผลกระทบแน่นอน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นและการลงทุน ต่างชาติไม่กล้าคบค้าสมาคมด้วย เพราะถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นอาจไม่ได้รับความเป็นธรรม

    เขาระบุว่า สหรัฐอเมริกามีหลักยึดที่มั่นคงคือ หลักประชาธิปไตย, การเคารพสิทธิมนุษยชน, หลักความเท่าเทียม และหลักกฎหมาย ทั้งบอกว่าความสัมพันธ์กับประเทศไทยจะดีขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นมาตรฐานสากลโลก หรืออินเตอร์เนชันแนลสแตนดาร์ด  นอกจากนี้ นายแดเนียลยังสอบถามว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงบอกไปว่าคงต้องรอให้เขาได้ในสิ่งที่ต้องการถึงมีการเลือกตั้ง แต่ถ้าประชาชนไม่ยอมรับก็เหนื่อยหน่อย เรื่องรัฐธรรมนูญที่ร่างกันอยู่ เราก็ให้ความเห็นไปว่า เขาเขียนกันไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ที่ทำกันอยู่ไปรับฟังความเห็น เดินทางไปที่นั่นที่นี่ล้วนเป็นการจัดฉาก เล่นลิเกเท่านั้น

    วันเดียวกันนี้ ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายแดเนียลได้เข้าเยี่ยมคารวะและพูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้ มีนายเกียรติ สิทธีอมร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายอิสรา สุนทรวัฒน์ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เข้าร่วมด้วย
    
      ภายหลังการหารือ นายเกียรติเปิดเผยว่า พูดคุยกันเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองทั่วไป และดูว่าโรดแมปของรัฐบาลจะมีแนวทางเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราก็มีข้อเสนอที่เป็นทางการอยู่แล้ว ซึ่งเห็นว่าควรมีการทำประชามติเพื่อเป็นการยอมรับรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติก็ควรมีทางเลือกที่ชัดเจนว่ารับหรือไม่รับ ถ้ารับแล้วได้อะไร นอกจากนั้นยังได้พูดคุยถึงต้นตอของปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งมี 2 เรื่องหลัก คือ การใช้อำนาจโดยมิชอบ ถึงแม้พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล แต่ก็มีการละเมิดในการใช้อำนาจ ซึ่งหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่คงจะมีรายละเอียดที่ปรับปรุงเรื่องเหล่านี้ และเรื่องคอร์รัปชัน ซึ่งนายแดเนียล ก็ยังแสดงท่าทีเป็นมิตรกัประเทศไทย แต่เราก็บอกไปว่า ท่าทีของแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป เขาควรกำหนดท่าทีโดยมองไปข้างหน้ามากกว่า

    ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนไทยว่า เขามาในเรื่องทั่วๆ ไป ไม่ได้เกี่ยวกับคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาเพื่อติดตามสถานการณ์ต่างๆ ก็ว่าไป เราจะชี้แจงว่าเราพัฒนาไปถึงไหนแล้วในเรื่องปัญหาต่างๆ

    "นายแดเนียล รัสเซล ไม่ได้มาพบผม เพราะก็รู้อยู่ว่าผมมายังไง การเมืองคือการเมือง เศรษฐกิจแต่ละประเทศก็ค้าขายกับเรา เรื่องการฝึกทหารก็ยังฝึกกับเรา เขายังแยกแยะกันออกเลย การค้าคือการค้า เรายังเอาหลายๆ เรื่องมารวมกันอยู่เลย หลายๆ ประเทศก็ยังค้าขายกับเราปกติ ประเทศที่ไม่เห็นชอบก็ยังค้าขายอยู่"

    ถามต่อว่า มีข่าวว่าไปพบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ด้วย  นายกฯ กล่าวว่า ก็เรื่องของเขาสิ เขามีสิทธิ์พบไหมล่ะ เขารู้ว่าเขาควรจะทำยังไง ก็แล้วแต่เขา เราไม่ได้ห้ามปราม

    ขณะที่นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงภายหลังนายแดเนียล  ที่ดูแลภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเข้าพบ พล.อ.ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ว่า การเยือนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการเยือนระดับสูงครั้งแรกของสหรัฐอเมริกาหลังปีใหม่

     นายเสขกล่าวว่า ทั้ง 2 ฝ่ายยืนยันความร่วมมือและความสัมพันธ์ ในฐานะที่ไทยเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของอเมริกา มายาวนานกว่า 180 ปี  และได้ยืนยันความเป็นมิตรและหุ้นส่วนทวิภาคี นอกจากนี้ ยังได้หารือแนวทางรับมือความท้าทายในอนาคต ทั้งเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ, ก่อการร้าย, ยาเสพติด, ค้ามนุษย์ และการแพร่ระบาดของโรค เช่น อีโบลา ซึ่งประเด็นเหล่านี้ประชาคมโลกต่างให้ความสำคัญ

    "รองนายกรัฐมนตรีได้แจ้งสถานการณ์ในประเทศไทย และความมุ่งมั่นของรัฐบาล ในการดำเนินการตามโรดแมป  ขณะที่สหรัฐอเมริกายืนยันให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการปฏิรูป และย้ำท่าทีเดิมคือ การขอให้ประเทศไทยยกเลิกกฎอัยการศึก อย่างไรก็ตาม ในการพบปะกันครั้งนี้ได้มีการหารืออย่างสร้างสรรค์ และไม่มีประเด็นเรื่องการถอดถอน  น.ส.ยิ่งลักษณ์" นายเสขกล่าว

       นายเสขกล่าวว่า รองนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงความคืบหน้าถึงการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างจริงจัง และมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง  ไม่ต้องการให้แรงงานต่างด้าวเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์  และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะที่ดีในการดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป ส่วนการจัดทำรายงานสถานการณ์การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ (TIP Report) จะสามารถส่งไปยังสหรัฐอเมริกาได้ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ ซึ่งเป็นไปตามกำหนดการที่อเมริกาวางไว้

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังเข้าพบ พล.อ.ธนะศักดิ์แล้ว นายแดเนียลได้ไปบรรยายพิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ "บทบาทของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในปี 2015"
ตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันการเมืองไทยถือเป็นตัวแปรสำคัญ ในการกำหนดท่าทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีโอกาสพบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์, นายอภิสิทธิ์ และ พล.อ.ธนะศักดิ์
โดยได้มีการพูดคุยให้ทุกฝ่ายเน้นความสำคัญของการปรองดอง และการวางรากฐานประชาธิปไตยในอนาคต

      นายแดเนียลกล่าวว่า แม้จะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และสหรัฐอเมริกาให้ความเคารพประเทศไทย และยืนยันว่าไม่เลือกข้างอยู่ฝ่ายใด แต่รัฐบาลตนมีความกังวลในเรื่องเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และการรวมตัวทางการเมืองที่ถูกกีดกันในไทย จึงได้แสดงความเห็นเรื่องการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น รวมถึงได้พูดกับ พล.อ.ธนะศักดิ์ถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกกฎอัยการศึกด้วย

       นายแดเนียลกล่าวต่อว่า ความยุติธรรมมีความสำคัญในการสร้างความปรองดอง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาไม่นาน มีผู้นำของไทยที่มาจากการเลือกตั้ง ได้ถูกถอดถอนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากกลุ่มผู้ทำรัฐประหาร และยังถูกฟ้องในคดีอาญาด้วย ซึ่งประชาคมโลกย่อมมีความรู้สึกว่า การปรองดองย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ เราจึงต้องการหลักประกันว่า การสร้างความปรองดองจะยังเดินหน้าไปได้ และระบบตุลาการของไทยจะมีความยุติธรรมแท้จริง

       เมื่อถูกถามว่า มั่นใจได้อย่างไรว่าประชาธิปไตยเป็นระบบที่เหมาะสมกับทุกประเทศ นายแดเนียลกล่าวว่า ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชนไม่ต้องการให้รัฐบาลรับฟังเสียงของตน และทำตามความต้องการของเสียงส่วนใหญ่ จึงถือว่าการสร้างประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สำคัญที่เราต้องการเห็น และหวังว่าการเปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้.

//////////
Monday, 2 June, 2014 - 00:00

ทำไม 'ยุโรป-สหรัฐ' ขย้ำไทย?

    เห็นมั้ย....ประเทศไทยวันนี้ เป็นตามคำว่า "สิ่งที่ตาเห็น ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป" เปี๊ยบเลย!
    นปช.ก็ดี เสื้อแดงแปลงร่างก็ดี นักวิชาการประชาธิปไตยมาตรฐานทักษิณก็ดี กลุ่มต่อต้านรัฐประหารก็ดี กลุ่มสิทธิมนุษยชนใบสั่งก็ดี
    สิ่งที่ตาเห็นคือว่า เป็นกลุ่มคนเอาประชาธิปไตย กลุ่มคนเอาเลือกตั้ง กลุ่มคนเรียกร้องมาตรฐานเดียวกันในสังคม
    แต่สิ่งที่เป็นจริงคือ พวกนี้เป็นกลไกใต้ระบอบทักษิณ เพื่อเปลี่ยนระบอบ-ล้มสถาบัน-ทักษิณสถาปนาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน!
    เมื่อมองตามหลักการนี้ ก็ต้องถามว่า "แล้วเบื้องหลังทักษิณ นอกจากที่ตาเห็นล่ะ...สิ่งที่เป็นจริงมันคืออะไร"?
    นี่ไง...สิ่งที่เป็นจริงที่อยู่เบื้องหลังทักษิณ!

    -๒๓ พ.ค.๕๗ "นายจอห์น แคร์รี" รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐแถลง
    "ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจของกองทัพไทยในการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ และเข้ามาควบคุมรัฐบาลภายหลังภาวะโกลาหลทางการเมืองที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่มีเหตุผลอัน
ชอบธรรมใดๆ ให้แก่การก่อรัฐประหารโดยกองทัพ..."

    -๒๙ พ.ค.๕๗ "นางแคทรีน แอชตัน" ผู้แทนระดับสูงสหภาพยุโรป (อียู) แถลง 
    ".........เราเรียกร้องให้ผู้นำทหาร ปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมืองในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาทั้งหมด และยกเลิกการจำกัดเสรีภาพสื่อ เราขอร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างสูง
สุด และเคารพปฏิบัติตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน การจัดทำแผนที่น่าเชื่อถืออย่างเร็วที่สุดในการคืนสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะช่วยให้การสนับสนุนของสหภาพยุโรปต่อประเทศไทยดำเนินต่อไปได้”

    -๓๐ พ.ค.๕๗ น.ส.เจน ซากี โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลง 
    "...........การแถลงแผนยุทธศาสตร์มุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เมื่อค่ำวันที่ ๓๐ พ.ค.ที่ผ่านมานั้น ยังขาดรายละเอียดบางอย่างไป สหรัฐยืนยันว่าหนทางที่ดีที่สุดในการก้าวไปข้างหน้าคือ การกำหนดเวลาให้มีการเลือกตั้งเร็วกว่าที่ระบุ และควรช่วยอำนวยการให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการเลือกตั้ง"
    -นายชัค เฮเกล รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ 
    "..........ให้คืนอำนาจให้ประชาชนคนไทย ด้วยการกำหนดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในทันที และจนกว่าจะทำตามที่สหรัฐเรียกร้อง สหรัฐขอระงับการสนับสนุนทางการทหาร และการซ้อมรบร่วมกับไทย รวมทั้งทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพของทั้ง ๒ ประเทศ"
    -นายเดวิด จอห์นสตัน รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย    
          ".........ออสเตรเลียขอลดความร่วมมือกับกองทัพไทยและลดระดับความสัมพันธ์กับผู้นำทางทหารของไทย......ยังจัดกลไกป้องกันไม่ให้ผู้นำรัฐประหารเดินทางไปยังออสเตรเลียด้วย  ขอให้กองทัพไทยจัดทำแผนการคืนประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมให้เร็วที่สุด...."

    ก็เห็นชัดและรู้ซึ้งกันแล้วใช่มั้ยว่า......
    "ใต้หน้ากากมหามิตร" คือ จักรวรรดินิยมอำนาจตะวันตก ที่คบไทยเป็นมิตรหวังปอกลอก จ้องเอาแต่ประโยชน์ เมื่อไม่ได้ดังใจก็ใช้อำนาจและอิทธิพลที่เหนือกว่า...ขย้ำ!
    ต้องรู้กำพืดนะว่า สหรัฐคือ "เด็กเพาะในหลอดแก้ว" ของยุโรป ไม่แค่ยุคนี้ นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑-๒  สหรัฐ-ยุโรป เป็นองค์กรควบคุมกลไกโลกมาตลอด
    ส่วนแคนาดา ออสเตรเลีย นั่นแค่เด็ก "ท้องนอกมดลูก" ของอังกฤษ เหมือนๆ สหรัฐที่ว่ายิ่งใหญ่
    แต่...ทุกการเคลื่อนไหว อยู่ใต้อาณัติ "แม่"!
    สหรัฐ-ยุโรป ทำไมดัดจริต "ยกประชาธิปไตย" ขึ้นมาบังหน้า เอาเป็น-เอาตายกับไทย ที่ต้องใช้กองทัพเข้าแก้ไขปัญหาเรื้อรังภายใน
    ทั้งที่สหรัฐ-ยุโรปเอง สุมหัวกันสนับสนุนโจรก่อการร้ายบ้าง กบฏแยกดินแดนบ้าง ทั้งเงิน ทั้งอาวุธ ทั้งกำลัง ให้โค่นล้มรัฐบาลในหลายๆ ประเทศ เช่น ลิเบีย ซีเรีย อียิปต์ และอีกหลายๆ ประเทศแถบอเมริกากลาง แถบตะวันออกกลาง
    ที่ลงมือ-ลงตีนทำเอง ก็อย่างเช่นเข้าไปยึดอิรัก จากประเทศที่มั่งคั่ง สวยงาม ประชาชนเป็นสุขตามวิถีวัฒนธรรมเขา กระทั่งจิ้งจอกสหรัฐ-ยุโรป เข้าไปสร้างฉากประชาธิปไตย
    แต่ "สิ่งที่เป็น" อันเป็นเบื้องหลัง....
    แม่ง...มันรวมหัวกันเข้าไปปล้น เข้าไปสูบเอาเอาทรัพยากรน้ำมันเขา นั่นคือเป้าหมายแท้จริงในการบุกอิรัก ชนิดที่ UN ต้องเอาหัวแม่ตีนยัดปากตัวเอง กลัวเผลอด่าสหรัฐว่า....
    "มึงนั่นแหละ...ไอ้เผด็จการโลก!"
    อิรักล่มสลาย มองไม่เห็นทางฟื้นคืนกลับ ตราบ ณ วินาทีนี้ นี่คือตัวอย่างตำตาว่ายุโรป-สหรัฐ ยึดมั่นประชาธิปไตย หรือไอ้เผด็จการลวงโลก แต่สวมหน้ากากประชาธิปไตย คอยเข้าไปปล้นตามประเทศที่ไม่ยอมทำตามที่มันร้องขอ?
    ทักษิณเป็นรัฐบาลครองประเทศไทย ไม่ว่าทักษิณจะโกงเลือกตั้ง จะฆ่าตัดตอน จะคุกคามสื่อ จะทุจริต-คอร์รัปชัน  จะบริหารเผด็จการในคราบประชาธิปไตย
    ถุย....อเมริกา!
    เคยซักครั้งมั้ย ที่โฆษกทำเนียบขาวหรือรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐจะออกมาแถลงด้วยคำนำประโยคว่า....
    "ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังกับการกระทำของรัฐบาลทักษิณที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ" เหมือนอย่างที่ทำกับคณะ คสช.วันนี้?
    กระทั่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชัดว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยหุ่นกระบอก โกง-กินก็ปานนั้น บริหารย่ำยีรัฐธรรมนูญก็ปานนั้น คุกคาม-เข่นฆ่าประชาชนที่ไม่เป็นพวกก็ปานนั้น ซ่องสุมกำลังและอาวุธมีปฏิบัติการเพื่อล้มระบอบ ล้มสถาบัน หวังยึดครองประเทศ ถึงขั้นประกาศจะเปลี่ยนประเทศเป็นแดงทั้งแผ่นดิน
    สหรัฐก็รู้ ขืนบอกไม่รู้ ระวัง...จะถูกถีบ!
    เพราะเมื่อ ๒๗ กุมภา ๕๗ นี่เอง ส่งเลขานุการเอก ฝ่ายการเมือง ของสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ให้ยกคณะทูตสหรัฐไปเยี่ยมชมหมู่บ้านเสื้อแดง และสถานีวิทยุเสียงประชาชน ที่ชุมชน
พรสวรรค์ ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี
    ต้อนรับเอิกเกริก ภายใต้ป้ายต้อนรับผืนใหญ่
    Red Shirt Village welcome
    Embassy of the United State Bangkok
    เนี่ย...แทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่นขนาดนี้ มันยังมีอะไรแก้ตัวได้ว่า สหรัฐไม่ได้สมคบทักษิณ "เหนือแผ่นดินไทย"?
    ทำไม ยุโรป-สหรัฐ จึงมองไม่เห็น การเป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตยแท้จริงของรัฐบาลระบอบทักษิณ?
    คำตอบชัดมาก!
    เพราะรัฐบาลทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ยอมยกผลประโยชน์ชาติให้สหรัฐ-ยุโรป "ง่ายดี" นั่นเอง!
    ที่ปิด แต่รู้กันทั่วไทย คือ ทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซ ในอ่าวไทย
    ที่ปิด แต่รู้กันทั่วโลก คือ ฐานทัพอู่ตะเภา!
    ไม่ใช่แค่สหรัฐอยากได้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยิ่ง "อยากได้" ด้วยเหตุผลแห่งประโยชน์วงศ์วานว่านเครือเธอเอง ถึงขั้นแบหลา จ้างล็อบบี้ยิสต์ไปล็อบบี้สภาคองเกรส กองทัพเรือ กลาโหมสหรัฐ ให้เข้า

มาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเร็วๆ
    นี่ไม่ใช่การกล่าวหา ไปดูได้จาก "เว็บไซต์กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ" ที่เผยแพร่ปลายปีที่แล้ว
    ยังไม่จบแค่นี้ ประเด็นหลักมันเกี่ยวไปถึงการกลับเข้ามา "ฟื้นฟูอำนาจ" อีกครั้งหนึ่ง ของกองทัพสหรัฐในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อคานกับจีน
    ทุกวันนี้ ในภูมิภาคนี้ มีฐานทัพสหรัฐเหลืออยู่แห่งเดียวที่สิงคโปร์ ซึ่งไม่พอเพียงที่จะใช้ต้านจีน ก็จะเห็นว่าในระยะ ๒-๓ ปีมานี้ สหรัฐได้รื้อฟื้น "ฐานบินคลาก" ที่เกาะลูซอน ฐานทัพเรือที่ "อ่าวซู

บิก" ในประเทศฟิลิปปินส์ขึ้นมาใหม่
    นอกจาก ๒ แห่งนี้ ยังเจรจากับเวียดนามฟื้นฟูท่าเรือที่ "อ่าวกามแร็งห์" ขึ้นมาด้วย
    แต่ที่ฟิลิปปินส์-เวียดนาม จะใช้ให้เกิดประสิทธิภาพถึงขั้น "จีนสะดุ้ง" ได้ ก็ต้องได้ "ฐานทัพอู่ตะเภา" เชื่อม เพราะอู่ตะเภาอยู่ในจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อเยี่ยมสุด
    ที่อู่ตะเภา เครื่องบินรบบินจากอู่ตะเภาไปมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านตะวันตก และไปมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้านตะวันออกได้ โดยไม่ต้องผ่านน่านฟ้าประเทศอื่น
    แต่ที่ฟิลิปปินส์และเวียดนาม ถ้าจะไปมหาสมุทรอินเดีย ต้องผ่านน่านฟ้าอีกหลายประเทศ!
    ก็นี่ไง...คุยกับรัฐบาลระบอบทักษิณ มันง่าย เพราะชาติมีไว้ขาย แต่คุยกับ คสช.มันไม่ง่าย เพราะชาติต้องรักษาไว้เหนือผลประโยชน์
    ยุโรป-สหรัฐ จึงเล่นบท "หมาป่ากับลูกแกะ" ไงล่ะ.
//////////////////////////
นโยบายการต่างประเทศของคสช.ปัจจุบันและที่กำลังเป็น
08 July14

การทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคสช. ในครั้งนี้นับว่ามีความผิดแผกแตกต่างจากครั้งก่อนๆเป็นอย่างมาก เพราะในการทำรัฐประหารในช่วง 20 ปีหลังมานี้ หรือในช่วงปี2534 และ 2549 จะพบว่าคณะทหารที่ทำรัฐประหารจะพยายามส่งสารและท่าทีของกคณะทหารว่าจะรีบคืนการเลือกตั้งกลับมาโดยเร็วที่สุด

แต่ในครั้งนี้กลับมีการแสดงออกอย่างเพิกเฉย เป็นอย่างมากในการตอบของหัวหน้าคสช.ในการคืนการเลือกตั้งกลับมา รวมทั้งการสร้างกระแสการต่อต้านตะวันตกออกมาของคนหลายกลุ่มที่มองว่าการที่สื่อต่างชาติโดยเฉพาะสื่อตะวันตกมุ่งโจมตีการทำรัฐประหารในครั้งนี้ เป็นเพราะเสียผลประโยชน์ที่ตะวันตกควรจะได้จากระบบทุนนิยมเสรีโดยมีระบอบประชาธิปไตยเป็นแกนกลาง

ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐประหารไทยในอดีตจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการสื่อสารไปยังรัฐบาลประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเพราะอิทธิพลของสหรัฐในภูมิภาคนี้นั้นไม่อาจละเลยได้
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน

แต่ครั้งนี้กลับแตกต่างออกไป นโยบายต่างประเทศที่ออกมากลับชี้ชัดว่าให้น้ำหนักมากขึ้นกับประเทศเผด็จการไม่ว่าจะเป็น จีน หรือ พม่า หรือแม้แต่ประเทศในอาเซียนเองก็มีการเยือนเพียงแค่นายทหารเท่านั้น ไม่มีการเยือนในระดับผู้นำแต่อย่างใด ท่าทีที่แสดงออกบ่งบอกว่าไทยลดการให้ความสำคัญกับประเทศตะวันตกลงอย่างมีนัยสำคัญ

อันที่จริงแล้วการที่ประเทศตะวันตกออกมาเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลของคสช.เวลานี้เป็นไปตามหลักการสากลว่าด้วยประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่ย้อนแย้งกับการประกาศรายชื่อให้มารายงานตัว การกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ในสถานที่ลับไม่เปิดเผย ในเวลาหลายๆวันโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา หรือ ให้พบญาติหรือทนาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ขัดหลักสิทธิมนุษยชนสากลเป็นอย่างมาก

และหลักการนี้ได้ถูกทำลายไปในทันทีเมื่อมีการประชุมว่าด้วยแรงงานทาสในที่ประชุมแรงงานระหว่างประเทศของไอแอลโอ (ILO) ที่สวิสเซอร์แลนด์ที่ตัวแทนรัฐบาลคสช.ยกมือโหวตคัดค้านการสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการใช้แรงงานทาส ที่กลายเป็นประเด็นปัญหาและเผือกร้อนต่อเนื่องที่แรงงานต่างด้าวไทยโดยเฉพาะชาวเขมรอพยพกลับบ้านอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมากกว่า 250,000คน

ท่าทีในด้านนโยบายต่างประเทศของคสช.นั้นยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยท่าทีการเมินเฉยเป็นอย่างมากของการกดดันจากทั้งสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ที่มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรในเชิงการทูตทั้งการยกเลิกการประชุมร่วมกันระหว่างตัวแทนระดับสูงของทั้งสองฝั่ง การระงับการเซ็นสัญญาการค้าหรือFTA ไทย-อียูออกไป แต่ท่าทีของทางคสช.กลับมองว่าไม่มีผลกระทบกับไทยมากนัก ทั้งที่ไทยส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรปมูลค่าสูงถึง 7 แสนล้านบาทต่อปี ขณะที่เครือข่ายของผู้สนับสนุนรัฐประหารยังออกมาสนับสนุนการไม่ใช้สินค้าและบริการของยุโรป โดยมองว่าที่ผ่านมาชาติตะวันตกเอารัดเอาเปรียบและกอบโกยผลประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวจากประเทศไทย

ในช่วงที่ผ่านมามาตรการที่ชาติตะวันตกได้แสดงออกมานั่นเป็นไปอย่างแข็งกร้าวอย่างมากตั้งแต่ปาฐกถาของนายชัค เฮเกล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่เวทีแชงกรีล่า ไดอะล็อก
ประเทศสิงคโปร์จนมาถึงการระงับความร่วมมือทางทหารทั้งการงดฝึกร่วมและการช่วยเหลือทางการเงิน และล่าสุดคือการที่สถานทูตสหรัฐไม่ได้เชิญ คสช.แม้แต่คนเดียวเพื่อมางานฉลองวันชาติ
สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นการแสดงออกทางการทูตในการปฏิเสธการรัฐประหารอย่างสิ้นเชิงของสหรัฐอเมริกา และเป็นการตบหน้าอย่างมากที่เชิญฝั่งพรรคเพื่อไทยรวมทั้ง

อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลอีกหลายท่านรวมทั้งแกนนำนปช.อีกด้วย ขณะที่การตอบกลับของทางโฆษกคสช.กลับแสดงออกในเชิงหงุดหงิดและตำหนิว่ากล่าวในทำนองไม่ไว้หน้าคสช.เพราะกล่าวหาว่าเป็นแหล่งส่องสุมของนักการเมืองเสื้อแดงและให้ระมัดระวังว่าจะเป็นที่พบปะของนักการเมืองเพื่อไทย

นโยบายต่างประเทศของคสช.ตั้งแต่รัฐประหารมานั้นมีความชัดเจนมากคือการยึดอำนาจและสิทธิเสรีภาพจากประชาชน โดยไม่ฟังเสียงของนานาชาติ เราจึงไม่เห็นการแก้ต่างใดๆออกมาในเรื่องการกีดกั้นสิทธิเสรีภาพของคสช.ต่อนานาชาติ และยังแสดงออกในเชิงตำหนิอย่างรุนแรงว่าต่างชาติจะแทรกแซงการเมืองไทย นับว่าเป็นการแสดงออกของอำนาจแบบเผด็จการอย่างมากที่ไม่ให้ผู้ใด
แสดงการวิพากษ์วิจารณ์แม้แต่น้อยแม้กระทั่งมหามิตรอย่างสหรัฐอเมริกา

ถ้าคสช.ยังไม่มีการดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะการยอมรับประชาธิปไตยรีบคืนอำนาจให้กลับประชาชน รวมทั้งการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแล้ว แรงกดดันจากนานาชาติจะยังคงมีต่อไปและคาดว่าจะหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบที่จะตามมาแน่นอนคือเรื่องเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกว่าจะฟื้นคืนกลับมาต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก

ขณะที่โลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่คสช.กลับกำลังมองว่าโลกหยุดนิ่งอยู่กับที่ โลกของคสช.มีแค่การเมืองไทย นักการเมืองไทย เสื้อแดง เท่านั้น ภาวะความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วที่กำลังเกิดขึ้นถ้าคสช.ยังแข็งขืนกับสังคมโลกต่อไปอาจมีปัญหาเป็นอย่างมากในการรับมือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตและคสช.เองนั่นแหละจะอยู่ไม่ได้ในที่สุด
/////////////////////////
Pat Hemasuk
28/1/58
46 นาที ·

นานๆจะเข้าไปเช็กข่าวจากสำนักข่าวไทยเสียที วันนี้ได้อ่านข่าวน่าชื่นใจมาก ผมคิดว่าทีมของกระทรวงต่างประเทศชุดนี้แน่นปึ๊ก ทำงานเป็น และทำงานเร็ว โดยมีเนื้อข่าวส่วนหนึ่งว่า
กระทรวงต่างประเทศ เรียกอุปทูตสหรัฐฯ เข้าพบ ไม่พอใจ “แดเนียล รัสเซล” ผู้ช่วย รมต.สหรัฐฯ แสดงความเห็นทางการเมือง สร้างแผลในใจ ปนความผิดหวังของคนไทย ย้ำถอดถอน “ยิ่งลักษณ์”

ทำตามกฎหมาย ยันไทยจำเป็นต้องคงกฎอัยการศึก เพื่อเดินหน้าปฎิรูปประเทศตามโรดแมป ขณะที่สหรัฐฯ เข้าใจ แต่ย้ำหลักการเรื่องประชาธิปไตย เผยนายกฯ เตรียมไปประชุมยูเอ็น ที่สหรัฐฯ เดือน
ก.ย.

ผมอยากสรุปเรื่องย้อนหลังไปสามวันให้เห็นภาพตัวเต็มกันครับ

*** การตอบโต้เรื่องนี้แอ็กชั่นโดย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศ ผลงานเข้าตาแบบนี้ต้องตบมือให้ นายดอน และทีมงานที่สวนได้เร็วและแม่นยำ
*** ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน ลุงตู่ได้ออกมาพูดแล้วหนึ่รอบว่าขอให้สหรัฐเข้าใจสถานการณ์ในไทย และทุกอย่างทำตามขั้นตอนไม่มีการกลั่นแกล้งตระกูลใดตระกูลหนึ่งตามที่ นายแดเนียล รัสเซล ได้รับข่าวสารมา ลุงตู่คงเอียนคำพูดฟอร์แม็ทของอเมริกาเรื่อง กฎอัยการศึก เลือกตั้งใหม่ บลา บลา บลา เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง
*** ก่อนหน้านั้นก็มีข่าวออกมาว่าในขณะที่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รมต.ต่างประเทศคุยกับ นายแดเนียล รัสเซล สดๆอยู่นั้นก็ตอบโต้เข้าไปแบบสวนหมัดได้ถามกลับไปว่าถ้าจะจำเป็นต้อง
ลดการใช้กฎอัยการศึกแล้วเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ หรือแม้แต่ในประเทศสหรัฐเองแล้วจะทำอย่างไร ซึ่งนายแดเนียลก็ตอบไม่ได้ โดยบอกว่าเดี๋ยวไปหาคำตอบมาก่อน เรื่องนี้ลุงตู่เล่าด้วย
ตัวเองให้นักข่าวฟัง ข่าวลงข่าวในกรุงเทพธุรกิจเมื่อวานนี้

*** เรื่อง นายแดเนียล รัสเซล เข้าพบ ยิ่งลักษณ์นั้นก็กลายเป็นเรื่องโอละพ่อไม่ตรงความจริงอีกเหมือนกัน เพราะในเฟสบุคของสถานทูตสหรัฐไม่มีคิวนัดที่จะคุยกับยิ่งลักษณ์ แต่มีคิวอื่นๆกับที่เข้าพบอภิสิทธิ์และ รมต.ต่างประเทศ รวมถึงที่ปาฐกถาที่จุฬา ตามที่เป็นข่าวไปแล้ว และการเข้าพบของยิ่งลักษณ์เป็นการพบที่บ้านพักทูตไม่ใช่เข้าพบที่สำนักงานของสถานทูตตามวิสัยปกติ ซึ่งหนังสือพิมพ์แนวหน้าได้ขุดคุ้ยเรื่องนี้พบว่า ยิ่งลักษณ์เป็นฝ่ายขอเข้าพบเองและหอบเอาลิ่วล้อเข้าไปแบ็กอัพเพียบ แต่นายแดเนียลได้ให้เวลาพูดคุยเป็นคิวโดดนอกกำหนดการเพียงสามสิบนาทีเท่านั้น

ข่าวของแนวหน้าข่าวนี้ปิดข้อสงสัยเรื่องตอแหลลงตับของคนบางคนไปได้อย่างสะใจคนอ่าน
ผมสรุปให้ฟังแบบนี้รับ มีแหล่งข่าวยืนยันทุกย่อหน้า เวลาไปอ่านหน้าเฟสบุคของพวกเต้าข่าวหรือเรื่องบาทเดียวคุยไปสิบบาท จะได้รู้ทันว่าเรื่องจริงมีแค่ไหน และอีกเรื่องคือภาพยิ่งลักษณ์นั่งไหว้

นายนายแดเนียลมันคือภาพตัดต่อครับ อย่าไปไลค์อย่าไปแชร์ แม้จะรู้ว่าเกลียดหน้านังปู แต่ถ้าไปสนับสนุนภาพแบบนี้เราก็เลวไม่ต่างกับควายอีกฝั่งหรอกครับ
//////////////////////////
ย้อนรอยดูปฏิกริยา

ไล่เรียงปฏิกิริยาจากประชาคมโลกนับแต่รัฐประหาร หลังจากผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเป็นผู้แทนรัฐบาลรายล่าสุดที่ออกโรงแสดงความวิตกกังวลต่อการเมืองไทยเมื่อวันจันทร์(26/1/58)

ตั้งแต่เกิดการยึดอำนาจในประเทศไทยเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557  นานาชาติแสดงท่าทีประณาม ลงโทษ พร้อมกับเรียกร้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของระบอบทหารหลายต่อหลายครั้ง

กรณีการแสดงปาฐกถาของผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ นายแดเนียล รัสเซล ต่อวงประชุมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันจันทร์(26ม.ค.58) แนะนำให้ไทยยกเลิกกฎอัยการศึก เคารพสิทธิ
เสรีภาพ ปฏิรูปประเทศโดยเปิดกว้างรับฟังคนทุกภาคส่วน (สถานทูตสหรัฐ, 26 มกราคม 2558) นับเป็นเสียงสะท้อนล่าสุดจากนานาชาติที่มีต่อการเมืองไทย

ประเทศไทยกำลังมีสถานะอย่างไรในเวทีโลก พลิกแฟ้มข่าวย้อนหลังไปราว 8 เดือน อาจช่วยให้หาคำตอบได้

ประณามรัฐประหาร

ทันทีที่กองทัพไทยเข้าควบคุมอำนาจการปกครอง รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ จอห์น แคร์รี กล่าวว่า การรัฐประหารไม่มีเหตุผลโดยชอบ การทำเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ วอชิงตันจะทบทวนความช่วยเหลือทางทหารและการติดต่อต่างๆตามกฎหมายสหรัฐ

เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ออกแถลงการณ์ประณาม ขณะญี่ปุ่นบอกว่า “เป็นเรื่องน่าเสียใจ”

เลขาธิการสหประชาชาติ บันคีมุน กล่าวว่า เขามีความวิตกกังวลอย่างยิ่ง ขอเรียกร้องให้ไทยกลับคืนสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยพลเรือนตามรัฐธรรมนูญโดยเร็ว (Reuters, 22 May 2014)

โฆษกของผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรป แสดงท่าทีของอียูต่อการยึดอำนาจของทหารในประเทศไทย ระบุว่า “เราติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยด้วยความกังวลเป็นอย่างยิ่ง ทหารจะต้องให้
การยอมรับและเคารพอำนาจฝ่ายพลเรือนภายใต้รัฐธรรมนูญ ว่า เป็นหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลด้านประชาธิปไตย ทั้งยังต้องยึดถือมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล รวมทั้งเสรีภาพสื่อ ที่สำคัญที่สุดคือ ประเทศไทยจะต้องกลับเข้าสู่กระบวนการทางด้านประชาธิปไตยที่มีความชอบธรรมโดยเร็ว เราจึงขอเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดการเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและน่าเชื่อถือโดยเร็วที่สุดที่จะสามารถทำได้” (สหภาพยุโรป, 22 พฤษภาคม 2557)

เมื่อคณะรัฐประหารในชื่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ควบคุมตัวอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังกักตัวนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเมื่อวันที่ 22 พ.ค สหรัฐได้แสดงปฏิกิริยาในวันเดียวกัน

รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ มารี ฮาร์ฟ แถลงว่า สหรัฐมีความกังวลยิ่งขึ้นที่กองทัพไทยได้ควบคุมตัวบุคคล สั่งให้นักวิชาการและผู้สื่อข่าวเข้ารายงานตัว และจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน สหรัฐขอเรียกร้องอีกครั้งให้กองทัพไทยปล่อยตัวบุคคลต่างๆที่ถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมือง ยุติข้อจำกัดต่อสื่อมวลชน และนำประเทศไทยกลับสู่การบริหารโดยพลเรือน และคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้ง (สถานทูตสหรัฐ, 24 พฤษภาคม 2557)

ด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐประกาศยกเลิกการฝึกร่วม CARAT ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการฝึก, ยกเลิกโครงการแลกเปลี่ยนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส, ยกเลิกโครงการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืนแก่ตำรวจไทยซึ่งมีกำหนดเริ่มอบรมในวันที่ 26 พ.ค., ยกเลิกการเดินทางดูงาน ณ ประเทศสหรัฐ ของคณะนายตำรวจระดับสูงในเดือนมิ.ย. (สถานทูตสหรัฐ, 24 พฤษภาคม 2557)

วอนปล่อยนักเคลื่อนไหว

เมื่อการณ์ปรากฏว่า คณะรัฐประหารมีการควบคุมตัวนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น กรณีทหารยกกำลังบุกสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงเทพ รวบตัวอดีตรัฐมนตรีศึกษา นายจาตุรนต์ ฉายแสง ขณะกำลังแถลงข่าว (AFP, 27 May 2014) ยุโรปได้แสดงท่าทีอีกครั้ง

ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรป เรียกร้องให้ประเทศไทยหวนคืนสู่กระบวนการประชาธิปไตยที่มีความชอบธรรมโดยเร็ว ผ่านการเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและน่าเชื่อถือ

“เราเรียกร้องให้ผู้นำทหารปล่อยผู้ถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมืองในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาทั้งหมด และยกเลิกการจำกัดเสรีภาพสื่อ เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างสูงสุด และเคารพปฏิบัติตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน การจัดทำโรดแม็ปที่น่าเชื่อถือในการคืนสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งอย่างเร็วที่สุดเท่านั้น ที่จะช่วยให้การสนับสนุนของสหภาพยุโรปต่อประเทศไทยสามารถดำเนินต่อไปได้” (สหภาพยุโรป, 28 พฤษภาคม 2557)

มาตรการลงโทษ

ทั้งสหรัฐและสหภาพยุโรป ต่างออกมาตรการลงโทษประเทศไทย ต่อกรณีเกิดการรัฐประหาร

คณะรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป ประกาศระงับการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน และว่าสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกจะไม่ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง (สหภาพยุโรป, 23 มิถุนายน 2557)

รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ สก็อต มาร์เชียล ให้การต่อคณะอนุกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐได้ระงับความช่วยเหลือด้านความมั่นคงแก่ประเทศไทย มูลค่า 4.7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของความช่วยเหลือรายปีมูลค่า 10.5 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งระงับโครงการฝึกด้านอาวุธปืนและการดูงานของตำรวจไทย เป็นการตอบโต้ต่อการรัฐประหาร (กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ, 24 มิถุนายน 2557)

ขอให้เคารพสิทธิมนุษยชน

หลังจากรัฐบาลทหารพยายามปรามการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน ส่งพลเรือนขึ้นศาลทหาร และ ‘ขอความร่วมมือ’ ต่อการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน สหประชาชาติเป็นอีกเสียงหนึ่งที่ส่งสัญญาณมายังประเทศไทย

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความวิตกอย่างยิ่งต่อกรณีรัฐบาลทหารของไทยจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของผู้ต่อต้านการรัฐประหาร จำกัดการเสนอข่าวและการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชน และส่งผู้ละเมิดกฎอัยการศึกขึ้นศาลทหาร พร้อมกับเรียกร้องให้ไทยยึดมั่นในพันธกรณีระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน (OHCHR, 3 September 2014)

ปฏิกิริยาจากนานาชาติต่อระบอบทหารในไทย ยังคงมีอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีที่ผ่านมา เมื่อมีข่าวปรากฎไปทั่วโลกว่า ทางการไทยควบคุมตัวนักเคลื่อนไหวที่ต่อต้านรัฐประหารด้วยการชูสามนิ้ว

มาทิลดา บ็อกเนอร์ ผู้แทนของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวกับเอเอฟพี วิจารณ์รัฐบาลทหารของไทยว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนใน
กรณีควบคุมตัวนักเคลื่อนไหวที่ชูสามนิ้วแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารที่หน้าโรงภาพยนตร์ซึ่งมีกำหนดจะฉายเรื่อง The Hunger Games (AFP, 21 November 2014)

แนะเลือกตั้งโดยเร็ว

ประเทศไทยเผชิญปฏิกิริยาจากภายนอกส่งท้ายปีที่ผ่านมา เมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลทหารแย้มว่า การเลือกตั้งอาจไม่มีขึ้นในปี 2558 อย่างที่ไทยเคยบอก

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557 รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม เปิดเผยกับอุปทูตสหรัฐ ดับเบิลยู. แพทริก เมอร์ฟี ว่า ไทยจะจัดการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เป็นอย่างเร็วที่สุด

โฆษกผู้หนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ พูดถึงเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องที่ “ไม่ฉลาด และไม่มีความชอบธรรม”  และว่า คนไทยควรได้เลือกตั้งรัฐบาลอย่างเป็นประชาธิปไตย “โดยเร็วที่สุดเท่าที่
เป็นไปได้”  (Reuters, 23 December 2014)

คองเกรสกับท่าทีต่อประเทศไทย


16/1/58

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์

ในโลกประชาธิปไตยตะวันตกที่ผ่านยุคประวัติศาสตร์ของเผด็จการและการรัฐประหารมาสู่รัฐประชาธิปไตยนั้น ประชาชนได้บทเรียนทางการเมืองยึดอำนาจ อย่างน้อยนักลงทุนทั้งในตลาดรอง
และตลาดจริงเกิดความอ่อนไหวในการลงทุน อาจมีการยับยั้งหรือถอนการลงทุนในประเทศที่เกิดการรัฐประหารนั้น ส่วนหนึ่งเพราะความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือปัญหาการเมืองที่
เชื่อมโยงถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งท่าทีของอเมริกันคองเกรสในยุคปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนว่ายืนอยู่ฟากประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

     ในรายงานที่เสนอต่อคองเกรสของหน่วยงานวิเคราะห์สถานการณ์ในเอเชียแปซิฟิกเมื่อปลายปีที่แล้ว (2557) ส่วนหนึ่งระบุเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยว่า การรัฐประหารได้ส่งผลต่อภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจของไทยในแง่ผลของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยที่สัมพันธ์กับประเทศคู่ค้า ส่งผลให้มีการประเมินปริมาณการลงทุนในเมืองไทยของนักลงทุน(ผู้มาจาก)ต่างประเทศใหม่ โดยเฉพาะในส่วนของฝ่ายทางการอเมริกันเอง ต้องการให้ไทยแสดงออกอย่างชัดเจนในเรื่องการเลือกตั้งว่าจัดการเลือกได้เมื่อไหร่และอย่างไร

     เรื่องดังกล่าวนี้สามารถเชื่อมโยงถึงการพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่อเมริกันและเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายการเมืองของไทยในเวลาต่อมาไม่นาน

     ทั้งนี้หากมองย้อนไปถึงผลกระทบของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จะเห็นว่า ผลพวงของการรัฐประหารได้ทำให้เศรษฐกิจไทยชะงักและถอยหลังไปหลายปี ที่สำคัญคือการสูญเสียโอกาสในการวางรากฐานการปรับปรุงประสิทธิภาพเศรษฐกิจไทย ให้เข้มแข็งในช่วงที่เศรษฐกิจของโลกขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงดังกล่าวกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ I.M.F. ประเมินว่าในปี 2548 2549 และ 2550 เศรษฐกิจโลกขยายตัวที่ 4.9 5.1 และ 4.9 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่งผลให้ไทยต้องเผชิญความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากกว่าเดิม การทำรัฐประหารในปี 2549 ได้เพิ่มต้นทุนความเสี่ยงของไทยในสายตาต่างประเทศให้สูงขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้เมืองไทยว่างเว้นจากการรัฐประหารมานานกว่า 15 ปี

     ในแง่ภาพรวมของประเทศอาเซียน ทีมงานของคองเกรสมองว่า บริบทด้านเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียนกำลังเปลี่ยนไป จากแต่เดิมที่เศรษฐกิจของหลายประเทศอาเซียนถูกควบคุมโดยชนชั้นนำเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่วิถีใหม่ของประชาชาติอาเซียนได้เปลี่ยนไปเป็นการเพิ่มพลังอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนชั้นล่าง (รากหญ้า) มากขึ้นกว่าเดิม แต่บางประเทศ เช่น เวียดนามจะใช้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ก็ตาม แต่ระบบการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจนั้นถูกประยุกต์ให้เข้ากับวิถีเศรษฐกิจสมัยที่อิงระบบทุนและการตลาดแบบอาศัยกลไกทุน

     รายงานดังกล่าวเสนอด้วยว่า สงครามเย็นระหว่างค่ายทุนนิยมกับสังคมนิยมยุติไปแล้ว หรือแม้แต่สงครามระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์กันแบบเดิมมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย หลายประเทศได้จัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัด ไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมของแต่ละประเทศมากขึ้น ภัยคุกคามประชาชาติอาเซียนในเวลานี้ คือ การศึกษา การไร้ที่ทำกิน การทำลายสภาพแวดล้อม และการที่คนสมัยใหม่ต้องมีคุณภาพชีวิตที่เลวลง ซึ่งในสถานการณ์ที่สังคมต้องเผชิญปัญหาเหล่านี้ หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องได้ระดมทั้งสมอง กำลังคน และทรัพยากรไปแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งล้วนเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วน ดังนั้น การสร้างกองทัพให้ใหญ่ขึ้นในสังคมสมัยใหม่จึงก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น เนื่องจากไปเบียดเบียนงบประมาณด้านอื่นที่สมควรจะใช้พัฒนาเศรษฐกิจ ในยามที่บรรดาประเทศอาเซียนเองก็มีการแข่งขันและผ่องถ่ายการลงทุนซึ่งกันและกันตลอดเวลาทั้งในส่วนของนักลงทุนในภูมิภาคและนักลงทุนนอกภูมิภาค อาเซียนจำเป็นจะต้องพัฒนาการจัดองค์กรทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมให้มีประสิทธิภาพเป็นประชาธิปไตย และกระจายความเป็นธรรมมากขึ้น แนวทางการใช้กำลังอำนาจมาต่อรองแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์เฉพาะตนแบบเดิมๆ กำลังเปลี่ยนไป

     บทวิเคราะห์ในรายงานยังพาดพิงถึงสถานการณ์ในเมืองไทยว่า ประชาชนชั้นกลางและคนในชนบท กำลังทำให้ดุลอำนาจระหว่างรัฐกับสังคมของไทยเปลี่ยนไป จากระบบราชการหรือระบบของรัฐที่ครอบงำสังคม จะไปสู่กระแสประชาธิปไตยที่ราชการกับประชาสังคมมีความสมดุลกันมากขึ้น เช่นเดียวกับการนำกระบวนการสันติวิธีใช้อย่างค่อนข้างไม่อิงกับมาตรฐานสากล เสมือนการบัญญัติความหมายของสันติวิธีซึ่งเชื่อมโยงกับหลักสิทธิมนุษยชนเสียใหม่ โดยไม่เชื่อมโยงกับหลักการสากล

     หลักการสิทธิมนุษยชน สากล ที่หมายถึงสิทธิ เสรีภาพและอิสรภาพในชีวิตและร่างกาย ตลอดจนความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ และสิทธิมนุษย
ชนที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามกฎหมายทีเกี่ยวข้องและปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ กฎบัตรสหประชาชาติหรือตามแนวปฏิบัติของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงข้อ
ตกลงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ไทยร่วมเป็นภาคี และมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม

     หากให้ขยายความมุมนี้ ผมคิดว่า เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรัฐประหาร มักมีการเสนอทางออกเชิงสันติวิธีอยู่เสมอ เนื่องจากทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าสันติวิธี คือทางออกของปัญหา เช่น การหันหน้ามาเจรจากัน เป็นต้น แต่ปัญหาคือ ความเข้าใจต่อกระบวนการด้านสันติวิธีเพื่อสันติว่า ได้มองในแง่ของ สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมและความยุติธรรมหรือไม่ เพราะหากปราศจากความเท่าเทียมและยุติธรรมแล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของสังคมเพื่อให้เกิดสันติได้ ทั้งการมองสันติภาพด้วยทัศนะคับแคบดังกล่าว สันติวิธีก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในฐานะเป็นข้ออ้างของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่ขัดแย้งอยู่เสมอ ไม่ทำก่อให้เกิดสันติตามที่ต้องการอย่างแท้จริง สังคมก็ยังคงมีความขัดแย้งอยู่ต่อไป

     นอกเหนือไปจากอุปสรรคขัดขวางการสร้างสังคมสันติ คือ ลักษณะของอำนาจนิยมทางการเมืองที่เกิดจากบุคลิกอำนาจนิยม (authoritarian personality) ของคนไทย ที่หมายถึงการมีบุคลิกที่มักสยบยอม อ่อนน้อม เชื่อฟัง ต่อบุคคลที่มีอำนาจมากกว่า หรือเมื่อไม่พอใจผู้มีอำนาจก็ข่มความรู้สึกไว้ ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้ผู้มีอำนาจน้อยกว่า มีความรู้หรืออาวุโสน้อยกว่ามาแสดงความขัดแย้ง หากมีเหตุการณ์ทำนองตรงกันข้ามเกิดขึ้นก็จะนำไปสู่การใช้อำนาจบังคับหรือข่มขู่ จนเมื่อสังคมเกิดความขัดแย้งทางการเมืองจนถึงขั้นรุนแรง สมุฏฐานของปัญหาจึงไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาแก้ไข เมื่อไม่มีการพูดถึงสมุฏฐานของความขัดแย้งอันเป็นแนวทางสันติวิธี ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของไทยก็คงยังไม่ได้รับการแก้ไข

     อย่างไรก็ตาม ผลพวงของการสื่อสารสมัยใหม่ทำให้วัฒนธรรมอำนาจนิยมแบบไทยๆ ดังกล่าวเปลี่ยนไป เมื่อมีการแสดงออกด้านความคิดเห็นทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง แม้การเมืองไทยจะตกอยู่ใน ระบบปิด ก็ตาม

     การรับรู้ข่าวสารของประชาชนที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง เกิดจากผลพวงของพัฒนาการของเครื่องมือสื่อสารมวลชนที่ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและเปิดเผยมากขึ้น การปิดกั้นข่าวสารโดยรัฐหรือองค์กรของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น กระบวนสันติวิธีเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยที่ทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความหลากหลาย คือ การอาศัยกลไกประชาธิปไตยหรือกลไกการเลือกตั้งซึ่งเป็นกลไกพื้นฐานที่ใช้กันในสากลประเทศ

     แน่นอนว่า เป็นหน้าที่สมาชิกคองเกรสที่จะต้องตัดสินใจในการกำหนดท่าทีต่อผลการศึกษาและวิเคราะห์ในรายงานชิ้นนี้ว่าในที่สุดแล้วควรสหรัฐอเมริกาควรมีท่าทีต่อชาติอาเซียน โดยเฉพาะ "ประเทศไทย" ต่อจากนี้อย่างไร.

ที่มา : สยามรัฐ

บัวแก้ว แจง มะกัน พูดที่จุฬาฯ แทรกแซงการเมืองไทย ย้ำ อัยการศึก ไม่ทำเดือดร้อน


http://www.matichon.co.th/online/2015/01/14224166611422416671l.jpg


(28/1/58)เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมามีการพบหารือระหว่างนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับ นายแพทริค เมอร์ฟี่ อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่กระทรวงการต่างประเทศ

โดยนายดอน แถลงผลการหารือโดยกล่าวว่า การเชิญมาคุยเพื่อพูดคุยกรณีการเดินทางมาเยือนของ นายเดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อรับทราบร่วมกันว่าการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับ สหรัฐฯเป็นไปด้วย ดี ทั้งนี้มีบางเรื่องที่ทางการไทยผิดหวังซึ่งเป็นเสียงสะท้อนของคนไทยที่รู้สึกเกิดบาดแผลจากการมาเยือนดังกล่าวโดยเฉพาะเรื่องการที่นายรัสเซลไปพูดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะช่วงท้ายที่พูด เป็นการพูดเรื่องการเมือง แทนที่จะใช้โอกาสนั้นพูดเรื่องดีๆโดยเฉพาะเรื่องที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ เพราะการพูดดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์จนตกเป็นข่าวที่ไม่ดีงามต่อภาพลักษณ์ประเทศ จึงเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างมาก ถือเป็นการแทรกเเซงการเมืองไทย
ทั้งนี้ตนชี้แจงอีกว่าการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่เป็นกระบวนการทางกฏหมาย ถือว่าสหรัฐฯไม่มีความเข้าใจการเมืองไทย โดยมีการพูดคุยเรื่องกฏอัยการศึกนั้น กรณีที่สหรัฐอยากให้ไทยเลิก แต่ในความเป็นจริง คนไทยไม่รับรู้เลยว่ามีกฏอัยการศึก คนไทยส่วนใหญ่รับได้ และไม่มีความกังวล ส่วนคนที่วิตก ก็มีเพียงส่วนน้อย ทั้งนี้หากมีการยกเลิกก็ต้องถามว่าสหรัฐฯจะรับผิดชอบได้หรือไม่ แค่ไหน ยืนยันว่าไทยไม่ได้เมินเฉยข้อเสนอของสหรัฐฯ แต่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีศักดิ์ศรีและมีความชัดเจน และสหรัฐฯก็ยังคงดำเนินความสัมพันธ์กับไทยเช่นเดิม เพราะสถานการณ์ในไทย ก็ไม่ได้ทำให้ สังคม เศรษฐกิจของสหรัฐได้รับผลกระทบหรือเดือดร้อนเลย แต่กลับได้รับความร่วมมือที่ดีกว่าเดิมด้วย เพียงแต่สหรัฐฯอาจจะรู้สึกไม่เห็นด้วยเเค่เชิงหลักการ เท่านั้น

นอกจากนี้นายดอนยังตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ยืนยันว่าการยึดอำนาจในไทยไม่ใช่การรัฐประหารแบบในหลักการ แต่เป็นการปฏิวัติเพื่อเสถียรภาพ หลังการยึดอำนาจทุกประเทศเข้าใจ ทั้งนี้ไทยจำเป็นเข้าสู่การทำให้ประเทศมีความมั่นคง เพื่อทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อ

นอกจากนี้ ยืนยันว่าไทยยังคงให้ความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ต่อไป ทั้งยังฝากกรณีที่นายกรัฐมนตรีไทยจะไปเยือนสหรัฐฯบนเวทีสหประชาชาติ ว่าน่าจะมีกิจกรรมที่นายกรัฐมนตรีไทยจะสามารถทำอะไรได้บ้าง

โลกมองไทยหลังรัฐประหารใหม่ๆ

19 กรกฎาคม 2014
หนึ่งในยุทธศาสตร์หลัก ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องกอบกู้ฟื้นฟู หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คือการบริหารความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งด้านการทูต ความมั่นคง และด้านการค้า-การลงทุน ท่ามกลาง “โผรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ” ที่มี 2 ชื่อคู่คี่-แข่งขัน คือ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กับ ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย
โดยตอนหนึ่งของรายการคืนความสุขให้คนในชาติเมื่อวันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้กล่าวว่า”บัดนี้ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่คนไทยและมิตรประเทศทุกประเทศจะช่วยกันมองไปสู่อนาคตและหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างที่เคยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ามา ในอดีตในการเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย มิตรประเทศเหล่านั้นคงไม่ปฏิเสธว่า ไทยมีสถานะเป็นหุ้นส่วนสำคัญของมหาอำนาจต่างๆในโลก เป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอีกหลายประเทศในชาติตะวันตก กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของสำนักงานสหประชาชาติประจำเอเซียแปซิฟิค ที่ตั้งของสำนักงานภูมิภาคขององค์กรระหว่างประเทศ และมี จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นสมาชิก นอกจากนั้นยังเป็นหุ้นส่วนความร่วมมืออีกมากมาย ทั้งในระดับภูมิภาค และนานาชาติ ในหลายมิติ ใน 3 เสาหลัก คือ ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ตลอดจนความร่วมมือช่วยเหลือป้องกันและเยียวยาภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม ร่วมปฏิบัติการสันติภาพโลกมาอย่างยาวนาน และต่อเนื่อง
ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับแรก ๆ ของอาเซียน ไทยมีส่วนสร้างให้เกิดฐานการผลิตและการบริการ การลงทุนร่วมหลายต่อหลายแห่ง ไทยมีบทบาทหลักในการก่อตั้งอาเซียน และการประชุมความร่วมมือแห่งเอเชียหรือที่เรียกว่า ACD ซึ่งมีประเทศในเอเชียกว่า 30 ประเทศเป็นสมาชิก และไทยมีบทบาทเป็นสมาชิกที่แข็งขันของ APEC และ ASEM ของเอเชีย ยุโรป และในการประชุมเชิงบวกของ EAS (สุดยอดเอเชียตะวันออก) ที่ทั้งสหรัฐฯและออสเตรเลียเป็นสมาชิก เราได้เข้าสู่การเจรจาตามที่สหรัฐฯ ได้เชื้อเชิญในเวที TPP (หุ้นส่วนความร่วมมือแห่งแปซิฟิค) เป็นสมาชิกแข็งขันของ RCEP (ร่วมมือเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน) และกำลังจะเป็นเวที AEC ในภูมิภาค 10 ชาติอาเซียนในอนาคต
ดังนั้น เราควรต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง ในอนาคต การที่ คสช. เข้ามาจัดระเบียบต่าง ๆ เหล่านั้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เพราะฉะนั้นไม่น่าทำให้ความจริงแห่งพื้นฐานทางเศรษฐกิจต้องเปลี่ยนแปลงไป หรือมีผลกระทบต่อโอกาสของประเทศไทยที่มีต่ออาเซียนและประชาคมโลก ในการที่จะก้าวต่อไปเพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตอย่างยั่งยืน เราไม่อยากให้มิตรประเทศจำกัดบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของทหารหรือ คสช. ในเวลานี้ โดยขอให้ไทยยังคงมีส่วนร่วมในเวทีนานาชาติต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อมิตรประเทศมากกว่าเดิม”
ทั้งนี้ความพยายามในการเคลื่อนประเทศเข้าสู่มหาอำนาจโลก ได้ดำเนินการผ่าน นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และทีมที่ปรึกษาคณะ คสช. อย่างเป็นระบบ ทั้งการไปปรากฏตัวในวงประชุมระดับสูงของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (ECOSOC) ที่สำนักงานสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในช่วงต้นเดือนกรฏกาคม และการกำหนดบุคคลระดับสูงในทีมที่ปรึกษา คสช. เดินทางไปกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ พร้อมๆ กับการเดินทางไปเจรจาการค้า และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นในช่วงถัดไป
ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ หลังรัฐประหาร เป็นไปทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ มีทั้งฝ่ายคณะผู้บริหาร คสช. ต้องการไปเจรจากับประเทศต่างๆ และฝ่ายประเทศต่างๆที่ต้องการ “เข้าถึง” คณะนายทหารจากกองทัพ
นางคริสตี เอ. เคนนี่ย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้าพบพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง เพื่อหารือถึงข้อกังวลของสหรัฐฯ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ที่มาภาพ : U.S. Embassy Bangkok's Photos
นางคริสตี เอ. เคนนี่ย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้าพบพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง เพื่อหารือถึงข้อกังวลของสหรัฐฯ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ กับไทย
ที่มาภาพ : U.S. Embassy Bangkok’s Photos
ความสัมพันธ์ ที่มีทั้งบวกและลบ ที่ปรากฏชัดจากท่าทีของ นางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าพบบุคคลสำคัญในคณะผู้บริหารประเทศ ที่มาจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดย คสช. เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 2 เดือน หลังการรัฐประหาร และทั้ง 3 ครั้งเป็นการเข้าพบบุคคลสำคัญระดับ “หัวหน้าสูงสุด” ของฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายเศรษฐกิจ และฝ่ายพลเรือน
ครั้งแรกที่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ปรากฏตัวร่วมกับคณะ คสช. คือการเข้าพบ พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ผู้รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง เมื่อคราวครบรอบ 1 เดือน หลังรัฐประหาร (23 มิ.ย.) จากนั้น เข้าพบ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ (10 ก.ค.) และล่าสุดเข้าพบ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (17 ก.ค.)
ขณะที่มหาอำนาจอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น มีสภาอุตสาหกรรมและนักธุรกิจรายใหญ่ทางการเงิน การธนาคาร เข้าพบหารือกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปแล้ว ก่อนที่จะมีการส่งผู้นำในทีมที่ปรึกษา คสช. ไปเยือนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์กับมหาอำนาจในโลกตะวันออก
องค์กรเหนือรัฐและรัฐบาลต่างประเทศมีปฏิกิริยาเอนเอียงไปในทางลบต่อการทำรัฐประหารของ คสช. ทั้งยังแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยด้วย การโจมตีจากต่างชาตินั้นมุ่งไปในประเด็นการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและการลิดรอนสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน อาทิเช่น ความเห็นจากสหภาพยุโรป (EU) สหประชาชาติ (UN) รัฐบาลออสเตรเลีย กัมพูชา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี มาเลเซีย รัสเซีย สิงคโปร์ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ทาง คสช. เองยังมีการติดต่อเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลต่างชาติด้วย
หลังจากการบริหารของคสช. ไม่นาน กระทรวงการต่างประเทศของไทย เผยรายชื่อประเทศที่มีการประกาศเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไทย 62 ประเทศ มี 19 ประเทศประกาศให้ ‘หลีกเลี่ยงการเดินทางมายังประเทศไทยหากไม่จำเป็น’ ในระดับ ‘สีแดง’ (avoid non-essential travel) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สเปน อิตาลี ฟินแลนด์ รัสเซีย กรีซ ฮังการี มอลตา อิหร่าน ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม โครเอเชีย และไซปรัส
อีก 43 ประเทศนั้น ได้แจ้งเตือน ‘ให้ใช้ความระมัดระวังในการเดินทางในประเทศไทยโดยให้เฝ้าติดตามสถานการณ์ และหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมนุม’ ในระดับ ‘สีเหลือง’ (warning/exercise caution/monitor situation/avoid certain sites) ได้แก่ แคนาดา เม็กซิโก บราซิล ชิลี อังกฤษ ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ลิทัวเนีย นอร์เวย์ โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย สโลวัก ลักเซมเบิร์ก ตุรกี อินเดีย คูเวต กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เคนยา ไนจีเรีย อิสราเอล คาซัคสถาน มัลดีฟส์ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า อินโดนีเซีย บรูไน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ปฏิกิริยาต่างประเทศที่มีต่อไทยในระดับองค์กรเหนือรัฐ
บัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ไทยกลับคืนสู่การปกครองตามรัฐธรรมนูญ โดยพลเรือน เป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว เช่นเดียวกันกับ เนวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวประณามรัฐประหาร และกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแทนที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การกำหนดกฎอัยการศึก การระงับรัฐธรรมนูญและมาตรการฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังอยากให้ฟื้นฟูหลักนิติธรรมในประเทศไทยโดยเร็วด้วย
ขณะที่สหภาพยุโรป (EU) ออกแถลงการณ์ที่มีเนื้อหาว่า มีการเฝ้าติดตามการพัฒนาในประเทศไทยด้วยความวิตกอย่างยิ่ง กองทัพต้องยอมรับและเคารพอำนาจของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ อันเป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยับยั้งชั่งใจ และทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของประเทศ
นอกจากนี้ สหภาพยุโรปประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับประเทศไทย ทำให้ข้อตกลงทางการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจต้องชะลอออกไปก่อนจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งหมายรวมถึงการชะลอการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือไทย-ประชาคมยุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (พีซีเอ) และการเดินทางเยือนอียูและไทยอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะต้องระงับไว้ชั่วคราว (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
ท่าทีต่างประเทศต่อรัฐประหารไทย
ปฏิกิริยาต่างประเทศที่มีต่อไทยในระดับรัฐบาล
ในด้านปฏิกิริยาระดับรัฐบาลนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลีย จูลี บิชอป กล่าวถึงสถานการณ์ในไทยว่า ‘กังวลอย่างยิ่ง’ ต่อรัฐประหาร ทั้งยังขอให้นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียใช้ความระมัดระวังและให้ความสนใจต่อความปลอดภัยของตนอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังลดความสัมพันธ์กับไทย ห้ามผู้นำรัฐประหารเข้าประเทศ และเลื่อนกิจกรรมทางทหารกับกองทัพไทย
ทางการออสเตรเลียได้สั่งเลื่อนกิจกรรม 3 อย่างที่มีแผนดำเนินการร่วมกันกับไทย คือ หนึ่ง การฝึกอบรมปฏิบัติการทางทหารตามหลักสูตรกฎหมายให้กับเจ้าหน้าที่ทหารไทย สอง การฝึกปฏิบัติการลาดตระเวนเพื่อกอบกู้วัตถุระเบิดที่ทำขึ้นเอง สาม การฝึกปฏิบัติการลาดตระเวนเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย โดยทางการออสเตรเลียยังจะพิจารณากิจการด้านการกลาโหมและกิจกรรมอื่นๆ ที่มีแผนดำเนินการร่วมกันกับไทย
นอกจากนี้ รัฐบาลออสเตรเลียยังมีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้นำการรัฐประหารเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย และยังคงเดินหน้าเรียกร้องให้กองทัพไทยวางแนวทางเพื่อนำประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงขอให้ยกเลิกการจับกุมผู้คนตามอำเภอใจ ให้มีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมือง และให้เคารพในสิทธิมนุษยชนและหลักการเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้วย
ขณะที่โฆษกคณะรัฐมนตรี ปาย สิฟาน (Phay Siphan)ของกัมพูชา กล่าวว่า อยากเห็นการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ที่ยังเคารพเจตจำนงและผลประโยชน์ของชาวไทย รัฐบาลกัมพูชาจะเคารพผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสองประเทศเสมอ
แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาหลังจากการประกาศจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติของ คสช. ตามมาตรการความสงบตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 59 เรื่องการรักษาความสงบและการกำกับดูแลการบริหารแรงงานข้ามชาติ ประกาศเมื่อ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา แรงงานกัมพูชาทยอยกลับประเทศ ผ่านด่านพรมแดนคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวมแล้วกว่า 84,234 คน โดยมีตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้ว คอยอำนวยความสะดวกจัดรถรับ-ส่ง
เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ กัมพูชา เดลี่ ในประเทศกัมพูชารายงานเมื่อ 18 มิ.ย.ว่า นายซาร์ เค็ง รมว.มหาดไทยกัมพูชา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กองทัพไทยต้องรับผิดชอบต่อกรณีแรงงานชาวกัมพูชาอย่างน้อย 150,000 คนหลั่งไหลออกจากประเทศไทยกลับบ้านเกิด รวมถึงต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ที่มีชาวกัมพูชาเสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย และบาดเจ็บ 19 คน จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ขณะพยายามหลบหนีกลับประเทศ
ประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ก็มีการออกแถลงการณ์สั้นๆ จากกระทรวงการต่างประเทศ แสดงความกังวลต่อสถานการณ์และหวังให้ความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่ประเทศไทย นอกจากนี้โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสิงคโปร์แถลงด้วยความหวังว่าทุกฝ่ายจะอดกลั้น และร่วมมือกันเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นบวก ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยืดเยื้อจะฉุดให้ไทยและชาติอาเซียนโดยรวมก้าวถอยหลัง และหวังว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่ปกติโดยเร็ว
ตามด้วยกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซีย แนะนำให้พลเมืองมาเลเซียหลีกเลี่ยงการเดินทางมาประเทศไทยในขณะนี้และเลื่อนการเยือนประเทศไทยที่ไม่จำเป็น ทั้งแนะนำให้พลเมืองมาเลเซียในประเทศไทยปฏิบัติตามการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืนเพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคลและเหตุผลด้านความมั่นคง ขณะเดียวกัน อดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด ออกความเห็นว่า รัฐประหารในประเทศไทยจะไม่กระทบต่อประเทศมาเลเซียในด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจ
ความเห็นจากอีกซีกโลก ฝรั่งเศสออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการรัฐประหาร ผ่านนาย ฟร็องซัว ออล็องด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสรบะบุว่า ฝรั่งเศสเรียกร้องให้นำเอารัฐธรรมนูญกลับคืนมาเพื่อจัดการเลือกตั้ง และให้เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนด้วย
เช่นเดียวกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งและฟื้นฟูการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญโดยเร็ว รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ก็เรียกร้องให้หวนคืนสู่กระบวนการการเมืองและการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญด้วย
ขณะที่ วิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ แสดงความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการรัฐประหาร อังกฤษขอเร่งให้ประเทศไทยคืนสู่การจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งอันเป็นประชาธิปไตย รับใช้ผลประโยชน์ของประชาชน และเป็นไปตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
พร้อมแสดงความหวังว่าฝ่ายผู้มีอำนาจจะกำหนดตารางเวลาที่รวดเร็วและชัดเจนสำหรับการเลือกตั้งเพื่อช่วยฟื้นฟูกรอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ควรมีการหันไปสู่ความรุนแรง การหารืออย่างเปิดกว้างถึงประเด็นทั้งหลายเท่านั้นที่จะทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปและมีเสถียรภาพมากขึ้นได้ พร้อมทั้งกล่าวว่ากำลังจับตาดูสถานการณ์อย่างระมัดระวังที่สุด
มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ปฏิบัติการตอบโต้ทันที ด้วยการ ทบทวนความช่วยเหลือแบบกองทัพต่อกองทัพ และการเกี่ยวพันกับประเทศไทย โดยอาจจะรวมถึงการซ้อมรบร่วมที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศไทย ซึ่งกองทัพสหรัฐฯ ส่งนาวิกโยธินและทหารเรือเข้าร่วมประมาณ 700 นาย และสหรัฐฯ ยัง ระงับเงินช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศไทยมูลค่า 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินช่วยเหลือรวม 10.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และยกเลิกข้อผูกพันทางทหาร รวมทั้งการเยือนและการฝึกทหารนอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางและชะลอการเยือนของข้าราชการที่ไม่จำเป็น
ถึงแม้สหรัฐฯ จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพไทยมายาวนาน แต่กฎหมายสหรัฐฯ และหลักการความเป็นประชาธิปไตยทำให้ทางการสหรัฐฯ จำเป็นต้องพิจารณาปรับความสัมพันธ์กับกองทัพไทย
ด้านนายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เผยว่า ผิดหวังต่อการตัดสินใจของทหารไทยที่ล้มรัฐธรรมนูญและเข้าควบคุมการปกครองภายหลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ยาวนาน ไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรมสำหรับรัฐประหารในครั้งนี้ ทั้งยังกังวลถึงการระงับการแสดงออกของสื่อ และได้ร้องขอให้มีการฟื้นฟูรัฐบาลพลเรือนและกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยในทันที ตลอดจนเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐาน อาทิ เสรีภาพของสื่อ พร้อมทั้งเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว
นานาประเทศเยือนไทยหลังเกิดรัฐประหาร – คสช. รุกชี้แจงโรดแมป ‘ปรองดอง-ปฏิรูป-เลือกตั้ง’
หลังจากการทำรัฐประหาร นอกจากจะมีปฏิกิริยาทางลบจากนานาชาติแล้ว อีกทางหนึ่งก็มีการเดินทางของตัวแทนรัฐบาลต่างๆ เพื่อเข้ามาหารือกับ คสช.
ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นรัฐบาลต่างประเทศชาติแรกที่เดินทางมานับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ซึ่งการเดินทางเยือนครั้งนี้อาจเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมิตรภาพที่ดีระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียที่มีต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมทั้งอาจมีความเข้าใจในสถานการณ์ของไทยเป็นอย่างดียิ่ง พร้อมที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและความร่วมมือที่ยั่งยืนของทั้งสองประเทศ
ตามด้วยกลุ่มนักธุรกิจจากจีน ที่เข้าพบ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรม และนักธุรกิจรายใหญ่ของจีน ได้แก่ นักธุรกิจภาคการเงิน การธนาคาร ธนาคาร ICBC ธนาคารใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และภาคอุตสาหกรรม ภาค ICT ไฟฟ้า บริษัทผลิตรถยนต์ เกษตรกรรม โรงงานผลิตปุ๋ย และอุปกรณ์พื้นฐานในการเกษตร นอกจากนั้น มีผู้ประกอบการทำเหมืองแร่ นักลงทุนโครงการบริหารจัดการน้ำ
สำหรับการเข้าพบในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือด้านการลงทุน สร้างความมั่นใจในการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งหัวหน้า คสช. ได้อธิบายถึงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้อำนาจบริหารประเทศเพื่อแก้ไขข้อจำกัดทั้งด้านข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้ระบบบริหารราชการแผ่นดินสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้โดยไม่มีอุปสรรค รวมถึงนโยบายการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ โดยหัวหน้า คสช. ได้ให้ความมั่นใจว่า จากนี้ไป การค้า การลงทุน จะมีความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม ตรวจสอบได้ ปราศจากการทุจริต คอร์รัปชัน โดยมุ่งประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก สิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นแบบในการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน
ทั้งนี้ นักธุรกิจจีนที่ต้องการมาลงทุนในประเทศไทย ขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งแก่แรงงานไทย โดยเฉพาะการตั้งบริษัทลูกที่บริหารโดยคนไทย จะเป็นการสนับสนุนบริษัทแม่ของจีน และสามารถเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในประเทศโดยเฉพาะด้านการเกษตรที่มีราคาตกต่ำ นอกจากนี้ ให้นักธุรกิจจีนที่ต้องการจัดตั้งโรงงานขึ้นใหม่ในไทยนั้น คำนึงถึงการใช้พลังงานทดแทน รักษาสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพและพัฒนาบุคลากร ขอความร่วมมือกับนักธุรกิจชาวจีนในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่ถูกต้องแก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวชาวจีน เพื่อให้มีความมั่นใจต่อการลงทุนและท่องเที่ยวในประเทศไทย
นอกจากนี้ เว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศรายงานว่า ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้ขอบคุณจีนที่แสดงความเข้าใจสถานการณ์การเมืองของไทย และชี้แจงพัฒนาการทางการเมืองของไทย การเดินหน้าการปฏิรูปประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามโรดแมป 3 ขั้นตอน และสร้างความเชื่อมั่นถึงการดำเนินการของ คสช. ในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว รัฐมนตรีช่วยฯ ของจีนสนับสนุนแนวทางที่ไทยดำเนินอยู่ และเห็นว่าการเมืองไทยเป็นเรื่องที่คนไทยต้องหาทางแก้ไขกันเองเพื่อนำประเทศกลับสู่เสถียรภาพ ซึ่งความมั่นคงและเสถียรภาพของไทยมีความสำคัญต่ออาเซียนและภูมิภาคโดยรวม
จีนแสดงความพร้อมที่จะหารือและลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความเป็นมิตรภาพและเป็นเพื่อนบ้านที่ดี และผลักดันให้เริ่มการเจรจายกระดับความร่วมมือเขตการค้าเสรีอาเซียนจีน เพื่อพัฒนาไปสู่ระดับใหม่ ส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank- AIIB) เพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งเงินทุนให้กับประเทศในเอเชียเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค จีนประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล เสริมสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระดับบุคคล
ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่า ความสัมพันธ์และการเป็นหุ้นส่วนไทย – จีน ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อสองประเทศเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อภูมิภาคโดยรวม เนื่องในโอกาสครอบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน 40 ปี ในปี 2558 ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสองประเทศ เพื่อหารือถึงความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างสองประเทศ ตั้งแต่ระดับราชวงศ์ ผู้นำ และการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางรัฐบาลจีนได้เชิญ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เยือนจีน โดยจะมีการหารือเรื่องกำหนดการในโอกาสต่อไป
คสช. พบปะหารือกับเอกอัครราชทูตและกงสุลจำนวน 23 ประเทศ
เมื่อ 11 มิ.ย. 2557 คสช. ได้พบปะหารือกับเอกอัครราชทูตและกงสุลจำนวน 23 ท่าน จาก 28 ประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นจากกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป ซึ่งมีข้อกังวลเกี่ยวกับประเทศไทย คสช. ได้ชี้แจงและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันให้มากขึ้น ทั้งนี้ประเทศต่างๆ เห็นพ้องว่าไทยเป็นมิตรประเทศที่สำคัญ มีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน และมีความร่วมมือครอบคลุมทุกมิติ ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ การลงทุน
คสช. ได้ย้ำเกี่ยวกับความสำคัญในการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนในปีหน้า (2015) โดยจะได้มีการตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
และเมื่อ 9 มิ.ย. 2557 คสช. แถลงว่า นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม East Asia Summit ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ โดยได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจาที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา พร้อมย้ำกับประเทศต่างๆ ถึงความจำเป็นของไทย และขอให้สนับสนุนประเทศไทย
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐ ได้ยืนยันความสำคัญของไทยในฐานะพันธมิตรเก่าแก่ และหวังให้ไทยกลับสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว ในขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยืนยันไทยเป็นมิตรประเทศที่สำคัญ และมีความเชื่อมั่นมากขึ้นภายหลังที่ไทยได้มีการประกาศโรดแมป นอกจากนี้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับหัวหน้าคณะผู้แทนของอินเดีย ซึ่งได้แสดงความเข้าใจในสถานการณ์การเมืองของไทย และเห็นว่าเป็นเรื่องที่คนไทยต้องหาทางออกด้วยตนเอง และความสัมพันธ์ไทย-อินเดียยังคงดำเนินไปตามปกติ โดยยังได้เชิญผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปเยือนอินเดียด้วย
ต่อมา 19 มิ.ย. 2557 ผู้แทนหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย จาก 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน และออสเตรเลีย เข้าพบ พล.อ. ประยุทธ์ มีเนื้อหาสำคัญว่าไทยได้เร่งสร้างความพร้อมประเทศในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปลายปี 2558 การขับเคลื่อนและการสนับสนุนการลงทุนที่มีการหยุดชะงักไป รวมทั้งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และมีการอนุมัติโครงการไปแล้วกว่า 18 โครงการเป็นเงินกว่าแสนล้านบาท การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ทั้งที่ถูกกฎหมาย ผิดกฎหมาย และได้รับการผ่อนผัน เพื่อความสร้างความมั่นคง ปลอดภัย แก่ประชาชน การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า การลงทุน การเร่งเจรจาความตกลงการค้าต่างๆที่คั่งค้าง เช่น FTA RCEP การเร่งขยายความร่วมมือในกรอบต่างๆ เช่น อาเซียน EU ให้ยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกัน
ทูตคริสตี้-หอการค้าอเมริกา กุศโลบาย 2 ทาง
เมื่อ 23 มิ.ย.2557 นางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าพบ พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดย พล.อ. ธนะศักดิ์ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ของไทยและแผนโรดแมปของ คสช. ซึ่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ แสดงความเข้าใจสถานการณ์การเมืองของไทย และยินดีที่ไทยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
สำหรับการประกาศผลรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2557 นั้น พล.อ. ธนะศักดิ์กล่าวแสดงความผิดหวังและไม่เห็นด้วยที่สหรัฐฯ ลดอันดับไทยไปอยู่ในกลุ่ม Tier 3 พร้อมกับได้ยืนยันว่าไทยยังคงมุ่งมั่นดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ยืนยันที่จะร่วมมือและสนับสนุนไทยในการดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการหารือด้านความร่วมมือทางทหาร โดยทั้ง 2 ฝ่ายยินดีที่จะยังให้มีการฝึกร่วม/ผสมที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคต่อไป
ในวันเดียวกัน พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของ คสช. ได้พบกับนายดาร์เรน บัคลีย์ ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (Mr. Darren N Buckley President, the American Chamber of Commerce Thailand) พร้อมด้วย นายปวิน รอดลอยทุกข์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารซิตี้แบงก์ เพื่อหารือเรื่องความสัมพันธ์และการพัฒนาด้านการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ประธานหอการค้าอเมริกันได้เสนอที่จะให้การสนับสนุนประเทศไทยและคณะรักษาความสงบแห่งชาติในเรื่องที่เกี่ยวกับด้านการค้าและเศรษฐกิจ อีกทั้งจะเป็นผู้ประสานงานกับบริษัทที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทย-อเมริกัน ในการสนับสนุนประเทศไทยและการทำความเข้าใจกับบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศไทยในการที่จะเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และยินดีที่จะสนับสนุนข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้แก่ฝ่ายเศรษฐกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติอย่างเต็มที่
ประธานหอการค้าเกาหลีใต้-ไทย เข้าหารือความร่วมมือธุรกิจ
เมื่อ 26 มิ.ย. 2557 พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ให้การต้อนรับ นายจอน แจ-มัน (H.E. Mr.Joen Jae-man) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย และคณะเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและสาธารณรัฐเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 10 ของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับที่มีความสำคัญมาก จากสถานการณ์ทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาทำให้เกิดผลกระทบกับการติดต่อทางด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศทั้งในด้านการลงทุนและการท่องเที่ยว
ในการสนทนาหารือกันครั้งนี้ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีใต้ได้นำข้อเสนอในการที่จะส่งเสริมให้นักลงทุนชาวเกาหลีเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น รวมทั้งการชักชวนให้นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้กลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มากเหมือนเดิมหลังจากที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ลดลงไปเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง และได้ยืนยันว่าสาธารณรัฐเกาหลีใต้จะเป็นมิตรที่ดีกับประเทศไทยตลอดไป
หลังจากนั้น 2 ก.ค. 2557 ประธานหอการค้าเกาหลี-ไทย นำคณะผู้แทนภาคธุรกิจเกาหลี เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อรับฟังแนวทางการแก้ปัญหาและขับเคลื่อนประเทศ พร้อมทั้งหารือเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือไทย-เกาหลี ในการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุน โดยหวังว่าความสัมพันธ์และความร่วมมือต่างๆ จะได้รับการสนับสนุนผลักดันให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป โดยไทยและเกาหลีต่างสนับสนุนกันในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นมิตรที่ใกล้ชิดในด้านความมั่นคงด้วย
หัวหน้า คสช. ยืนยันว่า ไทยมุ่งมั่นพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือ และพร้อมที่จะส่งเสริมการค้าและการลงทุนกับเกาหลีต่อไป รวมถึงการผลักดันความร่วมมือที่ยังคั่งค้าง เช่น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (Comprehensive Economic Partnership Agreement-CEPA) ระหว่างไทยกับเกาหลีให้มีผลเป็นรูปธรรมต่อไปโดยขณะนี้ คสช. กำลังดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการค้าการลงทุนระหว่างกัน สำหรับโครงการการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และสาธารณูปโภคพื้นฐาน ขณะนี้ คสช. กำลังทบทวนและปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาว รวมทั้งเปิดโอกาสให้เกาหลีได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อไปด้วย
ผู้นำทหารสูงสุดเมียนมาร์ เข้าพบผู้นำสูงสุด คสช.
พล.อ. อาวุโส มีน ออง ไลง์ (Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมาร์ เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกองบัญชาการกองทัพไทย ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2557
พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทยและเมียนมาร์ที่มีความร่วมมือกันอย่างดีทั้งในกรอบทวิภาคีและภูมิภาค อาทิ การประชุมคณะผู้นำระดับสูงกองทัพไทย-เมียนมาร์ (HLC) การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) และการประชุมคณะกรรมการประสานงานชายแดนส่วนท้องถิ่น (TBC) ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีการแลกเปลี่ยนฝึกอบรมในด้านต่างๆ อาทิ การเกษตรตามทษฎีใหม่แก่เกษตรกรเมียนมาร์และกำลังพล พร้อมชื่นชมในการเป็นประธานอาเซียนของเมียนมาร์ ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 8 ได้มีการขยายความร่วมมือทางการแพทย์ทหาร ซึ่งกองทัพไทยพร้อมให้การสนับสนุน และยินดีต้อนรับคณะทหารเมียนมาร์ที่จะเข้าร่วมการฝึกร่วมอาเซียนในด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR) ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้ด้วย
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทยและเมียนมาร์ได้มีความร่วมมือในทุกระดับ โดยเฉพาะการจัดระเบียบตามแนวบริเวณชายแดนและการป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ การปราบปรามการค้ายาเสพติด การค้าอาวุธสงคราม รวมถึงความร่วมมือตามแนวทางการบริหารจัดการชายแดนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ผบ.สส. ประเทศเมียนมาร์ ได้กล่าวขอบคุณที่ประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนในการเป็นประธานอาเซียนของเมียนมาร์ พร้อมจะผลักดันให้เกิดความร่วมมือในทุกระดับ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกองทัพไทยและเมียนมาร์ ซึ่งทำให้ปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขและลดลง นอกจากนี้ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับไทย ในการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศร่วมกัน
ทั้งหมดนี้ คือความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างคณะผู้บริหารสูงสุด ของคณะรักษาความสงบแห่งขาติ กับผู้นำสูงสุดของประเทศมหาอำนาจ และนานาประเทศ ทั้งในฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายการค้า การลงทุน
คือ ภาระของว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ว่าในโผ จะมีเป็นชื่อของ ดร.สมคิด จาตุศริพิทักษ์ หรือ ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย