PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

นักวิชาการ ชี้ สหรัฐฯ พบ"ปู" ต่างชาติอาจมองไทยอีกมุม พบ มาร์ค ไม่มีอะไรน่าสน!

 วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:58:07 น

นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ได้แสดงความเห็นถึงท่าทีสหรัฐอเมริกาที่มีต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนการที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย ผ่านการเดินทางเยือนไทยพบปะฝ่ายต่างๆ ของนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ว่า
http://www.matichon.co.th/online/2015/01/14224138001422413824l.jpg

คํากล่าวของนายแดเนียล รัสเซล สะท้อนให้เห็นว่ายังมองปัญหาของประเทศไทยเป็นปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ทั้งหมด ไทยเป็นประเทศในภูมิภาคนี้ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงทางการเมืองที่จะสร้างปัญหาให้กับภูมิภาค และการมาเข้าพบบุคคลสำคัญในแง่การเมือง การมาพบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกฯและ รมว.การต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องการทูตปกติ ไม่ได้มีความหมายอะไร ส่วนการมาพบกับคู่กรณีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เเละ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเรื่องน่าสนใจ

คิดว่าการพบนายอภิสิทธิ์ เป็นการพบเพื่อให้การพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ถูกโจมตีว่ามีฝักมีฝ่ายมากกว่า เพราะนายอภิสิทธิ์ ในความคิดผมเป็นผู้นำที่หลุดจากความสำคัญทางการเมืองในปัจจุบันไปเเล้ว

ส่วนการบรรยายและการแสดงความคิดเห็นต่างๆของนหลุดความสำคัญทางการเมืองไปแล้วายแดเนียล ที่จุฬาฯ เรื่องอยากให้เกิดประชาธิปไตยและอยากให้มีการเลือกตั้ง เป็นธรรมเนียมในการพูดปกติไม่มีความสำคัญเป็นพิเศษ แต่เรื่องยกเลิกกฎอัยการศึก หรือการออกแบบกระบวนการประชาธิปไตยที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องที่เป็นพิเศษกว่าเรื่องอื่น เป็นสาระหลักสำคัญครั้งนี้ เพราะการจะให้เท่าเทียมกันจะไม่เกิดขึ้นถ้ามีการปิดกั้นเสรีภาพ มีการใช้กฎอัยการศึก มีการห้ามเเสดงออกทางการเมือง

ผมมองว่าการออกมาของสหรัฐอเมริกา ฝ่ายรัฐบาลยังไม่มีท่าทีหรือแสดงออกอะไร รัฐบาลชุดนี้อยู่ในภาวะของความคิดว่าสามารถปิดประเทศ ทำให้ประเทศไม่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงระดับโลกในการสร้างประชาธิปไตย มองการปิดประเทศเป็นเรื่องเป็นไปได้ แต่สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอ็นจีโอหรือนักธุรกิจระหว่างประเทศ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลว่าสิ่งที่เราทำในเวลานี้ กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นสิ่งที่ต่างประเทศไม่ได้มองแบบที่รัฐบาลอยากให้คนในสังคมไทยมอง

สิ่งที่ตัวแทนของสหรัฐพูดสอดคล้องกับสื่อต่างประเทศกรณีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องของกระบวนการทางกฎหมาย รัฐบาลไทยอาจจะต้องฟังว่าเขามองว่าการกลั่นแกล้งทางการเมืองอย่างไร เพราะเขาจะมองว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีอำนาจพิเศษที่จะแทรกเเซง การดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมได้

ไม่มีความคิดเห็น: