PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จากใจ ผบทบ....


พล.อ.ประยุทธ์ ผบ.ทบ. ออกแถลงการณ์ขอม็อบอย่าดึงทหารเลือกข้าง จี้หยุดดึงสถาบันเป็นเงื่อนไขความขัดแย้ง ยันกองทัพเป็นทหารของในหลวง –ประชาชน วอนคนไทยรักกันถวายพ่อหลวง 5ธันวา

ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก พร้อมด้วยพ.อ.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกกองทัพบกร่วมกันแถลงข่าว โดยพ.อ.วินธัย ได้อ่านคำแถลงการณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ภายหลังจากที่กลุ่มผู้ชุมนุมเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) บุกเข้ามาชุมนุมภายในบก.ทบ.
"กองทัพบกขอแจ้งต่อสาธารณชนให้ทราบว่ากองทัพบกยังคงเป็นกองทัพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และประชาชนอยู่เสมอ โดยติดตามสถานการณ์และเตรียมการดูแลช่วยเหลือประชาชน หากมีการบาดเจ็บหรือสูญเสียจากสถานการณ์การชุมนุมที่อาจจะมีแนวโน้มกำลังก้าวไปสู่ความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ กองทัพบกขอให้การชุมนุมของทุกฝ่ายเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยภายใต้กรอบกฎหมาย รวมทั้งอย่าได้พยายามแบ่งฝ่าย หรือดึงกองทัพต้องตกเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะกองทัพบกถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นทั้งรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันแสวงหาทางออกอย่างสันติให้ได้โดยเร็

สำหรับภารกิจงานป้องกันและเทิดทูนสถาบัน กองทัพบกพยายามอย่างเต็มที่ โดยใช้หลักนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ในการดำเนินการ จึงอยากให้ทุกฝ่ายไม่ควรนำสถาบันมาเป็นเงื่อนไขในความขัดแย้งทางการเมือง เพราะประชาชนทุกคนคือคนไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยกันทั้งสิ้น หากทุกฝ่ายเร่งปลุกระดมมวลชนให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงหรือไม่พอใจกันในวงกว้างต่อไปจะไม่สามารถควบคุมหยุดความรุนแรงได้ โดยเฉพาะช่วงนี้ใกล้ถึงช่วงเดือนแห่งความสุขของคนไทย วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม อาจทำให้พระองค์ทรงไม่สบายพระทัยได้ ที่คนไทยด้วยกันขาดความสามัคคีต้องมาต่อสู้กันเอง ทหารทุกคนจะอยู่ในบทบาทที่เหมาะสมและไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ ทุกคนมีความห่วงใยในสถานการณ์อย่างแท้จริง ทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และพลเรือนยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับของทางราชการ อย่าได้มองและมีทัศนคติในเชิงลบต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำงานตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นขอให้ประชาชนผู้ชุมนุมได้เข้าใจ รวมทั้งขอให้มีความระมัดระวังในการใช้วาจาที่สุภาพเหมาะสมต่อเจ้าหน้าที่ในแต่ละโอกาสด้วย
“กองทัพบกคงยึดถือและปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ เมื่อพ.ค. ปี 2535อยู่ตลอดเวลา ขอให้ประชาชนทุกคนได้ทำความเข้าใจ ลดความเกลียดชังซึ่งกันและกันทุกพวก ทุกฝ่าย ทุกสี ขอให้สนับสนุนให้ผู้นำของตนร่วมกันหาทางออกให้ได้โดยเร็ว รวมทั้งประชาชนจะต้องไม่ทำร้ายกันเอง สุดท้ายแล้วจะไม่มีใครชนะหรือแพ้ แต่ที่พ่ายแพ้คือประเทศชาติ”


ผี กับ เทวดา

โดย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำธุรกิจร่ำรวยมหาศาล เมื่อเขากระโดดสู่ถนนการเมือง ได้รับคะแนนเสียงถล่มทลาย คนไทยให้โอกาสกับเขามากที่สุด จนจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต่อมาถูกตามเช็คบิลในคดีทุจริตหลายคดี เขากลับเมืองไทยไม่ได้ แต่ยังอยู่เบื้องหลังรัฐบาลของ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ผู้คนบูชาเขา รักเขา เกลียดเขา และกลัวเขา ปัจจุบันไม่มีใครทราบว่าเขาอยู่ที่ไหน อยู่นานแค่ไหน และจะไปที่ไหนต่อ เขาจึงเป็นเสมือน "ผี"

คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ในวงการเมืองมานานกว่า 30 ปี เป็น ส.ส. มาทุกสมัย ผ่านตำแหน่งสำคัญมากมาย เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยเป็นแม้กระทั่งรองนายกรัฐมนตรี ขณะนี้ เขาลาออกจากการเป็น ส.ส. รวมทั้งตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

เขามุ่งหน้าสู่ "การเมืองภาคประชาชน" ที่ที่เขาสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ ไม่มีใครสามารถห้ามเขาได้ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีระเบียบข้อบังคับ ไม่มีกลุ่มก๊วน ไม่มีพรรคการเมือง

ด้วยอายุอาณามเกือบ 65 ปี เขาไม่เคยใฝ่ฝันถึงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ความจริงเขามาถึงจุดสูงสุดทางการเมืองแล้ว

คุณสุเทพย้ำแล้วย้ำเล่าว่า "จะไม่กลับมามีตำแหน่งทางการเมืองอีก ไม่ว่าตำแหน่งใดๆ" อีกทั้งเขายังยืนยันว่า จะไม่มีการเจรจาต่อรองกับรัฐบาล

ที่สำคัญ แม้ว่าคุณยิ่งลักษณ์ลาออก หรือประกาศยุบสภา ก็ไม่เพียงพอ

เขาต้องการ "ปฏิรูปการเมือง" เลิกใส่ใจการเมืองในระบบรัฐสภาหรือพรรคการเมือง อย่างเช่นพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยสังกัดมาเป็นระยะเวลายาวนาน

คุณสุเทพเป็นอิสระจากพันธะทางการเมือง และข้อผูกมัดทั้งหลาย ไม่มีการโหวต ไม่มีความจำเป็นต้องทำตามกฎข้อบังคับที่แม้แต่จะพูดก็ต้องยกมือ อีกต่อไป

ขณะนี้ คุณสุเทพเป็นที่ยกย่อง เทิดทูน บูชา ชื่นชม ของ "มวลมหาประชาชน" ทุกๆคนเปรียบเขาดั่ง "วีรบุรุษ"

คุณสุเทพใช้เวลามาเกือบทั้งชีวิตกับการเมือง เพื่อต้องการเห็นความยุติธรรม ปราบปรามคอรัปชั่น แต่ไม่มีใครเชื่อถือ "อุดมการณ์" ของเขา แต่คุณสุเทพใช้เวลาเพียง 20 วันที่การเมืองข้างถนน นอนกับม็อบ กินข้าวกล่อง พูดกลางเวที เดินกลางแดดเป็นสิบกิโล ด้วยวลี "ล้มระบอบทักษิณ"

เขากลายเป็น "ฮีโร่" ไม่มีใครจะทำได้อย่างคุณสุเทพอีกแล้ว แม้แต่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล หรือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หรือใครต่อใครในอดีต ที่จะทำให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมด้วยใจ อัพอินสตาแกรม เป่านกหวีด โบกธงชาติ ถือเป็น "วันประวัติศาสตร์" ที่มีผู้คนออกมามากมายที่สุด ตั้งแต่ที่ถนนราชดำเนินสร้างขึ้นมา

นี่เป็นความฝันอันสูงสุดของอาชีพนักการเมือง ที่จะมีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ขณะที่มีลมหายใจอยู่ เป็นวันที่ "รุ่งเรือง" หรือที่เรียกว่า "Glory Day” คุณสุเทพใช้เวลาเพียง 20 วัน สร้างประวัติศาสตร์นี้ให้กับตัวเอง กลับกัน หากคุณสุเทพยังอยู่ในวงการเมืองจนวันตาย ก็ไม่มีวันที่จะสร้างประวัติศาสตร์แบบนี้ได้

คุณทักษิณคือผู้ที่สร้างเกียรติยศให้กับคุณสุเทพ เพราะเป็นผู้ผลักไสให้คุณสุเทพต้องออกไปต่อสู้นอกระบบรัฐสภา

ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่คุณสุเทพได้เปลี่ยนจาก "นักการเมืองธรรมดา" มาเป็น "เทวดา"

วีรบุรุษที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย


เมื่อคนที่สั่งฆ่า ตั้งสภาประชาชน

อ.เกษียร จัดหนัก สุเทพ

เมื่อคนที่สั่งฆ่า ตั้งสภาประชาชน
วิญญาณกลางถนน ก็โหยหวนด้วยป่วนใจ
ขัดขืนอารยะ ยืมวาทะกระพี้ไป
อนารยะไทย ที่ฆ่าหมู่กลับดูดาย
ยึดไทยเป็นของกู ใช่ของสูพวกวัวควาย
ประชาธิปตาย เสียงข้างน้อยคอยบงการ
เมืองไทยใช่ของเรา เป็นของเขานานเท่านาน
ครอบครัวชั่วลูกหลาน เป็นขี้ข้านามว่าไทย


คนบันเทิงกับม็อบ ต้านทักษิณ

วันนี้ คนบันเทิงกับการชุมนุมทางการเมือง ได้กลายมาเป็นปรากฏการณ์และเป็นหัวข้อที่ผู้คนในสังคมไทยกำลังพูดถึง

ไม่เพียงมวลมหาประชาชนเรือนมหาศาลที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ แต่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์ของการชุมนุมทางการเมือง ที่มีผู้คนจากทุกภาคส่วนทุกสาขาวิชาชีพได้มารวมตัวกันมากมายเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าบรรดาดารานักร้องนักแสดงจากแวดวงบันเทิงที่ขานรับมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกันอย่างมากหน้าหลายตา

การก้าวออกมาของ "บุคคลสาธารณะ" จากฟากบันเทิง ซึ่งมีทั้งดารารุ่นอาวุโส จนถึงดารารุ่นใหม่ที่กำลังมีผลงานประดับวงการ ได้กลายมาเป็น "ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์" ไปโดยปริยาย เพราะไม่ใช่เรื่องปกตินัก ที่คนบันเทิง, ซึ่งโดยปกติทั่วไป , ไม่เคยข้องเกี่ยวกับเรื่องการเมือง หรือพาตัวเองมาอยู่ในพื้นที่ของความขัดแย้ง จะออกมาแสดงจุดยืนของตนเช่นนี้

ด้วยเหตุนี้ เวทีบนถนนราชดำเนิน จึงมิได้มีเพียง "ขาประจำ" ที่เคยร่วมเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2549 อย่างบรรดาศิลปินเพลงเพื่อชีวิตหลายวง , นักร้องเพลงร็อกอย่าง ร็อค ร็อคเคสตรา , พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง หรือนักแสดงเจนเวทีอย่าง ตั้ว ศรัญญู วงศ์กระจ่าง เท่านั้น แต่ในวันนี้ มีทั้งคนที่ขึ้นเวทีอภิปราย อย่าง แตงโม ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ , โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์, มัดหมี่ พิมดาว พานิชสมัย หรือจะเป็นดารานักแสดงที่ร่วมชุมนุม ตั้งแต่ ตุ๊ก ดวงตา ตุงคะมณี เรื่อยไปจนถึง มอส ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ , อี๊ด วงฟลาย ฯ

ไหนจะมีดารานักแสดงอีกนับไม่ถ้วนที่แสดงจุดยืนผ่านทางโซเชียลมีเดีย อย่าง เฟซบุ๊ค และ อินสตาแกรม ไม่ว่าจะเป็น คิมเบอร์ลี เทียมศิริ , ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา , แหม่ม คัทลียา , แอน ทองประสม ฯลฯ

คนบันเทิงในการชุมนุมทางการเมืองจึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่ามองข้าม และน่าจะมีความหมายมากกว่าแค่เพียง "สีสัน" เท่านั้น

-------------------------------------

รศ. ไชยันต์ ไชยพร อาจาร์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แสดงความเห็นว่า โดยพื้นฐานบรรดานักแสดง นักร้อง ศิลปินในวงการบันเทิง ไม่ได้แตกต่างจากประชาชนทั่วไป ซึ่งย่อมจะมีทั้งคนที่มีทัศนะความคิดเห็นทางการเมือง และในเวลาเดียวกัน ก็ย่อมมีคนที่ไม่มีความตื่นตัวทางการเมืองรวมอยู่ด้วย

แต่ในสถานการณ์สังคมการเมืองปัจจุบันที่ทุกคนต่างให้ความสนใจ ย่อมมีผู้คนในแวดวงบันเทิงออกมาติดตามความเคลื่อนไหว ติดตาม ตื่นตัว จนถึงขั้นออกมาแสดงจุดยืน หรือเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งในแง่นี้ ย่อมหมายความว่า พวกเขาต้องสละเวลาจากงานที่ทำ เพื่อมาเข้าร่วม และในอีกด้านหนึ่ง ยังมีความสุ่มเสี่ยงต่อเรตติ้ง หรือคะแนนนิยม เมื่อสังคมไทยอยู่ในช่วงเวลาของการแบ่งสีแบ่งกลุ่มอย่างชัดเจนเช่นนี้

“คงต้องยอมรับว่า ดารานักแสดงก็เหมือนคนไทยโดยทั่วไป เกิดความรู้สึกร่วมกันในประเด็นที่ว่า เขาทนไม่ไหวจริงๆ ต่อปัญหาของประเทศ และต้องการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโดยสถานะของเขา โดยปกติอาจไม่ต้องการออกมาแสดงตนแบบนี้ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว ระหว่างอนาคตการเมือง กับอนาคตของเขา เขาก็ต้องตัดสินใจเลือก”

มุมมองของ ไชยันต์ ตรงกับความคิดของ คฑาหัสต์ บุษปะเกศ นักเขียนบทละครโทรทัศน์ ที่เป็นตัวแทนของคนแวดวงบันเทิงว่า ปัจจุบัน สถานการณ์ของประเทศดำเนินมาอย่างยาวนาน จนถึงขีดสุดแล้ว

"ผมคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศที่ต้องมีส่วนร่วม อย่างที่เห็นกันว่า ตอนนี้ คนทุกภาคส่วน ทุกวงการ ทุกวิชาชีพ ทั้งหมอ ครูบาอาจารย์ นิสิตนักศึกษา ต่างได้ออกมาปฏิเสธการใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม ไม่ว่าจะเป็นหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ฯ คนบันเทิงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง เราไม่คิดว่าเราจะสร้างแรงสะเทือนมากมายอะไร แต่เราไม่ใช่ไทยเฉยอีกต่อไป เราได้แต่หวังว่าการลุกฮือขึ้นมาของคนทั้งสังคมขนาดนี้ น่าจะทำให้ผู้บริหารประเทศ น่าจะได้หันกลับมาทบทวนบ้างว่าเกิดอะไรขึ้น หากไม่หลงกับคำป้อยอกับคนรอบข้างจนเกินไป"

นักเขียนบทละคร เจ้าของผลงาน "เหนือเมฆ" ที่เคยถูก "เซ็นเซอร์" ไม่ให้ออกอากาศทางช่อง 3 มาก่อนหน้านี้ ยังเพิ่มเติมด้วยว่า ที่ผ่านมาภายใต้ระบบการเมืองอำนาจนิยม การเมืองเสียงข้างมากผูกขาดความชอบธรรมนั้น มีเรื่องที่ผู้คนไม่สามารถยอมรับได้มากมาย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทุกเมื่อเชื่อวัน แม้กระทั่งคนวงการบันเทิงก็ไม่เว้น พลอยได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน

-------------------------------------

ด้าน พรเทพ เฮง นักวิจารณ์บันเทิง วิเคราะห์โดยมองจากแง่มุมพัฒนาการของสื่อว่า โดยอดีตที่ผ่านมา แม้คนบันเทิงบางส่วนอาจจะสนใจความเป็นไปของบ้านเมือง แต่ด้วยโครงสร้างทางอำนาจ และกลไกต่างๆ ที่สื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ ทำให้ธุรกิจบันเทิง ทั้งหนัง เพลง ทีวี หรือแม้กระทั่งแวดวงหนังสือ ต่างพยายาม “เซนเซอร์ตัวเอง” มาโดยตลอด เดิมที ไม่มีใครอยากออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมือง เพราะกลัวจะเกิดปัญหา จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยของโซเชียลมีเดียนในวันนี้ ทำให้คนบันเทิงมีพื้นที่แสดงออกของตัวเองอย่างชัดเจน

“ต้องขอบคุณเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียว ที่ทำให้การเมืองไทยในวันนี้พัฒนาไปอีกขั้น โดยเฉพาะคนจากฟากบันเทิงซึ่งเคยจำกัดการแสดงออก ได้มีพื้นที่ของตัวเอง ผ่านเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ในการสื่อถึงจุดยืน มุมมอง หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ในยุคการเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปสื่อ โดย กสทช. พอดี”

“เดิมทีนั้น ดารามีเฉพาะพื้นที่ข่าวบันเทิง หากจะทำอะไรออกไปจากสายงาน หรือไปแสดงจุดยืนในเรื่องอื่นๆ ก็เสี่ยงที่จะถูกนำเสนออย่างผิดเพี้ยนจากสื่อกระแสหลักได้ เรียกว่ามีความเสี่ยงอยู่มาก แต่เมื่อทุกวันนี้ พวกเขามีพื้นที่ของตัวเอง พวกเขาจะโพสต์ข้อความ ความเห็นความคิดต่อเรื่องต่างๆ ได้อย่างชัดเจน และตรงประเด็น โดยไม่ต้องห่วงว่าจะถูกเข้าใจผิด”

“ในเวลาเดียวกัน สื่อกระแสหลักก็อาศัยพื้นที่ของโซเชียลมีเดียเหล่านี้ มารายงานให้สาธารณะได้รับรู้อีกขั้นหนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้น หากมีกระแสความเข้าใจผิดใดเกิดขึ้น ดารายังใช้พื้นที่ของตัวเองแก้ต่างได้อีกด้วย ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

ในมุมมองของนักวิจารณ์บันเทิงคนนี้ นอกจากนวัตกรรมของสื่อแล้ว ภาวะความรู้สึกอัดอั้นต่อการเมืองในประเทศ การหมกเม็ดแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะตนของคนในพรรครัฐบาล ที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อมาถึงการผ่านร่างพรบ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง อย่างไม่นึกถึงความถูกต้องชอบธรรม คือจุดระเบิดของเรื่องนี้ ทั้งที่เดิมทีนั้น หลายคนก็ไม่ได้ให้ราคาแก่พรรคฝ่ายค้าน อย่างประชาธิปัตย์แต่อย่างใด

“อย่าลืมว่า ดาราเป็นบุคคลสาธารณะ พวกเขามีต้นทุนสูงทางสังคม การออกมาแสดงความคิดเห็นต่อบ้านเมือง เป็นเรื่องน่าชื่นชม ตราบใดก็ตามที่พวกเขาไม่กระทำผิดกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อการแสดงออกของตัวเอง” พรเทพ กล่าว

-------------------------------------

ปรากฏการณ์ที่คนในวงการบันทิงออกมาแสดงตนนั้น ไชยันต์ เรียกว่าเป็น “สำนึกพลเมือง” เช่นเดียวกันกับคนจากสาขาวิชาชีพอื่น ซึ่งด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนของความก้าวหน้าของการเมืองไทยที่มีพัฒนาการไปอีกขั้น เพราะหากบุคคลทุกกลุ่มทุกวิชาชีพ และทุกภาคส่วนของสังคม ออกมาแสดงความตื่นตัวทางการเมืองเช่นนี้ ย่อมเป็นนิมิตหมายที่ดีแก่การเมืองของประเทศในระยะยาว

“เราได้เห็นสังคมดารา ดาวดวงที่กำลังเจิดจรัสก้าวออกมาแสดงสปิริต ผมคือว่าเป็นการแสดงออกถึงสำนึกพลเมือง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในความจริงนั้น มนุษย์เราต่างมีหลายบทบาทหน้าที่ด้วยกัน เช่น ในฐานะมนุษย์ เรามีสำนึกในความเป็นมนุษย์ ในฐานะพลเมืองของประเทศ เรามีสำนึกของความเป็นพลเมือง หรือการที่เรามีอาชีพแตกต่างกันไป แต่ละคนก็ยังมีสำนึกในวิชาชีพอยู่ด้วย ซึ่งการมี 'สำนึกพลเมือง' หมายความว่า คนเหล่านี้ต้องมีจิตใจเสียสละ อย่างการสละเวลาอันมีค่าของพวกเขาออกเคลื่อนไหว ออกมาสำแดงพลัง ซึ่งในด้านหนึ่ง ยังต้องเสี่ยงกับเรื่องของคะแนนนิยม เสี่ยงต่อการไม่มีงานทำ หรืออย่างน้อยก็เสียเวลา แทนที่จะไปทำมาหากิน”

อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักวิชาการ ไชยันต์ ย้ำว่าการแสดงออกของคนในวงการบันเทิง หากออกมาจากจิตใจด้านใน จากพลังบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะไปสนับสนุนฝ่ายไหนก็ตาม เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในการคิดเห็นแตกต่าง ยกเว้นเพียงคนในวงการบันเทิงบางคนที่ออกมาเคลื่อนไหวบนเวทีม็อบ เพื่อมุ่งผลประโยชน์ของตนเอง หรือเพราะอามิสสินจ้าง นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง

ขณะที่ คฑาหัสต์ บุษปะเกศ มองว่า จุดเริ่มต้นของการออกมาของดารานักแสดงนักร้องนั้น ลึกๆ แล้วเป็นเรื่องปัจเจกหรือเรื่องของแต่คน เพราะในวงการนี้ไม่มีใครสามารถชี้นำใครได้ แต่เมื่อทุกคนก้าวออกมา ย่อมจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ รู้สึกและปรารถนาจะมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ภาพรวมในที่สุด จึงกลายเป็นกระแสที่จุดติดขึ้นในทันที

"ต้องการจะบอกว่า พลังนี้เป็นพลังบริสุทธิ์ เลิกคิดเรื่องการจ้างวานได้เลย คนบันเทิง ใครจะไปจ้างได้ เพราะราคาค่าตัวในแต่ละงานก็มากโขอยู่แล้ว ถ้าเขาไม่มีใจมา เขาคงไม่มากัน" นักเขียนบทละครคนเดิม กล่าวเพิ่มเติม

ด้วยความเป็นดารานักแสดง หรือคนในวงการบันเทิง ซึ่งเป็นเสมือน “คนของประชาชน” หรือเป็นบุคคลที่มีคนรักใคร่ในผลงาน ทั้ง พรเทพ และ ไชยันต์ ต่างยอมรับว่า การออกมาเคลื่อนไหว แสดงจุดยืนทางการเมืองเช่นนี้ ก่อให้เกิดน้ำหนักแก่ความคิดอ่านของผู้คนในสังคมอย่างแน่นอน

พรเทพ อธิบายว่า “ในสถานการณ์ที่อ่อนไหวแบบนี้ ย่อมเป็นเรื่องปกติ ที่ต้องมีทั้งคนรักและคนเกลียด ซึ่งอย่างน้อยๆ ดาราก็ต้องประเมินด้วยตัวเองว่า ต้องการแลกหรือไม่ จึงไม่น่าแปลกใจหากเราจะเห็นดารารุ่นเก่า ดาราอาวุโส อายุ 40-50 ออกมาเปิดหน้ามากกว่าดารารุ่นใหม่ เพราะคนพวกนี้มีวุฒิภาวะ มีสถานะทางสังคมมั่นคงขึ้น และไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องหน้าที่งาน”

ขณะที่ ไชยันต์ เห็นว่า “ถ้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็ยิ่งตอกย้ำความรักใคร่ชอบพอ แต่สำหรับบางคนที่อาจจะชื่นชอบศิลปินดารา แต่เมื่อเขาออกมาในฝ่ายตรงข้าม อาจจะทำให้เกิดอาการชะงักขึ้น

ได้ว่า ทำไมดาราที่เราชอบ ถึงออกมาเคลื่อนไหวแบบนี้ เขาคิดอย่างไรถึงทำอย่างนั้น ซึ่งสมัยก่อน ในสังคมไทย บุคคลที่มีบทบาทนำในชุมชนต่างๆ อย่าง พระ หรือ ครู ก็มีฐานะคล้ายๆ กัน คือมีน้ำหนักในการชี้นำทิศทางของสังคม” ไชยันต์ กล่าว

ทางออกของเรื่องความรักใคร่ชอบพอในผลงานของศิลปิน กับความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ตรงกันข้ามนั้น ไชยันต์ เสนอแนะง่ายๆ ว่า เรื่องแบบนี้ต้องแยกแยะผลงานออกจากตัวตนของศิลปินคนนั้นๆ ว่าไม่เกี่ยวข้องกัน พร้อมๆ กับยกประสบการณ์ของตนเองมาเล่าให้ฟังว่า

“ผมชื่นชอบบทเพลงของ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง นะ โดยเฉพาะเพลง 'ทัดทาน' ทุกวันนี้ ก็ยังชื่นชอบเพลงนี้อยู่ แต่ผมไม่ชอบพฤติกรรมและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของอริสมันต์ เรื่องแบบนี้คงต้องแยกแยะว่า มันไม่เกี่ยวกัน” นักวิชาการด้านการปกครอง สรุปในที่สุด.

“อักขราทร” เผยการเมืองเลยจุดที่สองฝ่ายพูดคุยกันแล้ว แนะให้รู้ถูก-ผิดก่อน ปฏิรูปจะมาเอง

อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด บรรยายนักศึกษา เผยนักวิชาการตีความกฎหมายโดยไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์และความเป็นไป ชี้เมื่อก่อนบริหาร-นิติบัญญัติคานอำนาจกัน แต่ปัจจุบันหมดไป จำเป็นต้องมีองค์กรตรวจสอบด้วยกฎหมาย เผยศาลไม่ใช่องค์กรการเมือง ให้เลือกตั้งเข้ามาไม่เป็นอิสระ เผยสถานการณ์บ้านเมืองเลยจุดที่คุยกันแล้ว ทำอย่างไรให้ประชาชนรู้ว่าอะไรผิด-ถูกก่อน การปฏิรูปจะมาเอง

วันนี้ (29 พ.ย.) นายอักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวตอนหนึ่งในระหว่างบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง "แนวคิดและหลักพื้นฐานของกฎหมายมหาชน" ให้กับนักศึกษาหลักสูตร "นักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง" (บยป.) รุ่นที่ 5 ของสำนักงานศาลปกครองว่า เป็นห่วงบ้านเมืองมาก เวลานี้คนมองไม่ออกว่าความถูก ความผิด ความดี ความชั่ว มันคืออะไร และตลอดระยะเวลา 45 ปีที่ทำงานเกี่ยวข้องด้านกฎหมายมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าดูเหมือนบ้านเราจะมีปัญหาในเรื่องกฎหมาย และนักกฎหมายมาก 2-3 ปีมานี้นักวิชาการกฎหมายเมืองไทยเป็นกันง่ายมาก บางคนให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน เพียงข้ามคืนก็กลายเป็นผู้ที่รอบรู้เชี่ยวชาญกฎหมายไปในสายตาของสังคม

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000148239

นักการเมือง กับ นักต่อสู้ทางการเมือง

FBสนธิญาน ชื่นฤทัยในธรรม

@สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศกลางเวทีว่า..สนธิญาณ เป็นเพื่อนรัก ทำให้รู้สึกลำบากใจในการท่ีจะพูดถึง..สุเทพ ในทางท่ีเป็นคุณ เพราะจะเป็นการอวยกันไปกันมา

@แต่กรณี..กรณ์ กับ สุเทพ นี้ไม่พูดไม่ได้ เพราะนอกจากสนิทสนมทั้ง ๒ คนแล้ว เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องทางยุทธศาสตร์...ในการต่อสู้ครั้งนี้

@ผมทำข่าวมา ๓๐ ปีเพิ่งคุยกับ สุเทพ ครั้งแรกในชีวิตเมื่อปลายเดือนเมษา ๕๓ คงแปลกใจว่าในเส้นทางไม่เคยเจอกันเลยหรือ เจอกันแต่ผมไม่เคยเข้าไปเสวนาเพราะไม่มีประเด็นจะพูดกันและไม่ชอบอยู่ใกล้นักการเมือง ตัวเองก็เป็นเพียงนักข่าวตัวเล็กๆ แต่เพราะทนไม่ได้ กับการเคลื่อนไหวด้วยความรุนแรงของแกนนำคนเสื้อแดงท่ีต้องการยกระดับการต่อสู้ให้เป็นสงครามกลางเมืองเพื่อดึงพระเจ้าอยู่หัวให้มาคลี่ลายสถานการณ์เพื่อเอาทักษิณกลับไทย ผมจึงขอติดต่อไปพบสุเทพ เพราะผมเคยเรียนรู้และฝึกฝนเรื่องการลุกขึนสู้ในเมืองมา คิดว่าถ้าได้คุยกับสุเทพซึ่งมีหน้าท่ีรับผิดชอบประสบการณ์จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ

@กรณ์ คุยกันเพราะนักข่าวน้องรักคนหนึ่งนัดให้คุยกันเมื่อปี๕๒ คุยกันแล้วก็ประทับใจตลอดมาเพราะว่าเป็นคนมีวิสัยทัศน์ดีและมีความคิดทางยุทธศาสต์ จึงพูดคุยติดต่อกันตลอดมา

@กับสุเทพหลังจากพบกันในครั้งนั้น ก็เสนอจะช่วยหาค่าโฆษณาให้กับทีนิวาส์ จำนวนท่ีทำให้อยู่รอดได้ แต่ผมปฏิเสธเพราะสองบริษัทท่ีเสนอมาผมไม่ชอบใจในวิธีดำเนินธุระกิจ สุเทพแปลกใจไอ้นี่บ้าหรือเปล่า อีกด้านผมเองหลังจากได้คุยกันคิดว่า...คนๆนี้เป็นลูกผู้ชายหัวใจคบได้

@หลังจากเป็นฝ่ายค้าน ผมก็ยิ่งสนิทสนมทั้ง ๒ คน สุเทพไม่รับตำแหน่งใดในพรรค เพราะคิดสู้กับระบอบทักษิณ ไม่ได้คิดเล่นการเมืองแล้ว เหมือนท่ีเคยเป็น กรณ์เองก็ทำหน้าท่ีฝ่ายค้านท่ีมีคุณภาพ

@ผมพูดเรื่อง..ปฏิวัติประชาชน...กับสุเทพ บ่อยครั้ง ถูกถามกลับมาเสมอ คุณคิดว่าประชาชน พร้อมแล้วหรือ ผมตอบว่า ๘๐ ปีท่ีผ่ายมา หลังจากชิงอำนาจจากพระมหากษัตริย์มาแล้ว ประชาชนได้สัมผัสกับคำว่า อำนาจของตัวเองน้อยมาก จากอำนาจเผด็จการ ทหาร สู่ เผด็จทุนนิยมประชาธิปไตยคือมายาจอมปลอมท่ี ทหาร ทุน นักการเมือง ใช้มอมเมาด้วย..การสร้างให้เชื่อว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง

@ระบอบเผด็จการทหารเข้าใจง่าย แต่ระบอบเผด็จการทุนนิยมซับซ้อนต้องรอเวลา ทักษิณคือตัวแทนของเผด็จการทุนนิยม ท่ีช่วยเร่งเวลาเพราะ กระทำการทุกอย่างด้วยคิดว่าอำนาจตัวเองเบ็ดเสร็จ อำนาจรัฐ มวลชน สื่อ และเงิน แต่ทักษิณไม่ได้คิดถึงเรื่อง..ปัญญาและหัวใจ..คน ว่ามีอำนาจกว่าสิ่งใดทั้งปวง

@เมื่อ สุเทพ บอกว่าพร้อม คนท่ีรอวันนี้มา ๓๖ ปีเช่นผมจึงไม่รีรอท่ีจะบอกว่า..เดินไปด้วยกัน ไม่ว่าผลสรุปจะเป็นเช่นไรจะเผชิญหน้ารับ บอกทุกคนในครอบครัวให้พร้ิมรับสถานการณ์ ไม่เคยประกาศตัวเป็นแกนนำทำงานไปเงียบๆ แต่เราร่วมกันมาตั้งแต่วันแรก ท่ีสำคัญผมยืนยันเป็นหุ้นส่วนท่ีไม่ต้องการผลตอบแทน ไม่ได้ลงแต่แรงกาย แต่ลงเงินไปหลายล้านบาท เพราะทุกึรั้งท่ีเห็น 

สุเทพ โทรไปยืมเงินคนโน้นคนนี้ ทีละ ๒-๓ ล้านบาท สัญญาว่าขายท่ีได้ นำ้ตาจะไหลทุกที ไม่ใช่เท่าแต่ผมแกนรำคนอื่นก็เช่นกันลงทั้งเงินลงทั้งแรง

@ผมลาออกจากทีนิวส์ ไม่อยากให้น้องๆ ท่ีร่วมสร้างองค์กันมาต้องเดือดร้อน ทิ้งอาชีพท่ีรัก เอาธุระกิจท่ีมีเข้าเสี่ยง...ด้วยเหตุผลเดียว...เชื่อหัวใจของ...สุเทพ ท่ีเราจะเดินไปให้สุดฝัน 

@ถึงวันนี้ผมคิดว่าผมตัดสินใจไม่ผิด...ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไร แต่วันท่ี ๒๔ ที่คนไทยตื่นรู้ ทะลายกรงแห่งความกลัวออกมามันคุ้มค่าเกินบรรยาย ประชาชนตื่นีู้ด้วยปัญญา บ้านเมืองไทยในวันข้างหน้าจะไม่ดหมือนเดิม
@สุเทพได้ปลุกพลังแห่งการตื่นรู้ของคนไทยขึ้นอย่างไม่มีใครทำได้มาก่อน ไม่แน่ว่าในอนาคตจะมีอีกหรือไม่ แต่ทุกอย่างได้มาด้วยความเสี่ยงส่วนตัวทั้งสิ้น วันนี้ถูกออกหมายจับ ต้องนอนต้องกินในทุกสภาพ...ผมคิดว่านี่คือความเสียสละ

@คนยืนข้างเวทีมีสิทธิ ท่ีจะวิจารณ์ตามหลักการท่ีตัวเองเชื่อในท่ีสาธารณะ ดังเช่นกรณ์ แต่ต้องระวังว่าบางครั้งมันจะเข้าทาง เป็นเครื่องมือศัตรูของประชาชน สุเทพจึงต้องตอบโต้กลับในท่ีสาธารณะเช่นกันเพราะศัตรู ประชาชนเอาเป็นประเด็นไปขยายผลปั่นกระแสบั่นทอนการต่อสู้ ผมเชื่อในหัวใจของประชาชนว่าจะเข้าใจในเหตุผลของคนทั้งสอง 

@ผมไม่เคยเขียนเรื่องขอตัวเองว่าทำอะไร ท่ีไหนอย่างไร ไม่ชอบเป็นคนสำคัญ ไม่ชอบให้ใครมาชื่นชมว่าเป็นคนดี เพราะไม่ไดีดีสักเท่าไร 

แต่ครั้งนี้..เพราะคำว่า..เพื่อนรักของสุเทพ.. มีความหมาย ไม่ใช่ต่อผมแต่เป็นเรื่องของประเทศชาติ จึงต้อวเขียนเปิดใจ ชวนทุกคนท่ีเห็นด้วยเปิดหน้ามา..สู้ร่วมกันครับ