PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

ตั้งบ.นำเที่ยวปี60! ธุรกิจ ‘ศรศาสตร์’ พี่ชายต่างแม่ ‘ธรรมนัส’ ในคำพิพากษาศาลออสเตรเลีย

"....นายศรศาสตร์ ระบุอีกว่า มารู้ตอนหลังว่า สาเหตุของการบุกค้นและจับกุม ทั้ง ๆ ที่ ไม่มีของกลางในห้อง เป็นเพราะมีนักค้ายาเสพติด 2 รายชาวออสเตรเลีย ให้การซัดทอดกับตำรวจ เหมือนกับพยายามยัดข้อหาให้คนไทย ซึ่งเป็นคนต่างแดน จะได้ไม่สามารถตอบโต้หรือชี้แจงอะไรได้ หลังจากถูกจับกุม ไม่พบของกลาง จึงไม่ได้มีการฟ้องคดี...."
PIC sornsard 11 9 62 11
สืบเนื่องจาก Sydney Morning Herald สื่อชื่อดังจากประเทศออสเตรเลีย และเว็บไซต์บีบีซีไทย (BBC Thai) รวมถึงสื่อไทยหลายสำนักเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคดีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2536 โดยอ้างว่าเป็นช่วงที่ ร.อ.ธรรมนัส ใช้ชื่อว่า นายมนัส โบพรหม อายุ 37 ปี ถูกศาลที่ประเทศออสเตรเลีย ตัดสินจำคุก 6 ปี แต่นายมนัสรับสารภาพ คงโทษจำคุก 4 ปี และถูกปล่อยตัวออกมาในปี 2540 กรณีถูกกล่าวหาว่า มีส่วนรู้เห็นในการลักลอบนำเข้ายาเสพติดเข้าประเทศออสเตรเลีย
โดยในช่วงที่สำนักงานตำรวจกลางออสเตรเลียตั้งข้อหากับนายมนัส นั้น ได้ตั้งข้อหานายแซม คาลาบรีส นายมาริโอ คอนสแตนติโน และนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ อายุ 39 ปี ที่ถูกระบุว่าเป็นพี่ชายต่างมารดาของ ร.อ.ธรรมนัส ด้วย ทั้งนี้นายศรศาสตร์ ถูกศาลพิพากษาจำคุก 6 ปี แต่หลังจากรับโทษจำคุกครบ 4 ปี ได้รับการปล่อยตัว โดยศาลมีคำสั่งเนรเทศกลับไปยังประเทศไทยเช่นเดียวกับ ร.อ.ธรรมนัส (อ้างอิงข้อมูลส่วนนี้จาก บีบีซีไทย)
เบื้องต้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ออกมาชี้แจงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยยืนยันว่า ไม่เคยรับสารภาพตามที่สื่อเขียนถึง มีขบวนการจ้องดิสเครดิตตนเอง และขอเวลาทำงานรับใช้ประชาชน ไม่อยากพูดถึงเรื่องในอดีต (อ่านประกอบ : คำต่อคำ 'ธรรมนัส' แจงปมสื่อออสเตรเลียเสนอข่าวติดคุก 4 ปี มีโครงข่ายอยู่เบื้องหลัง?)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ปัจจุบันนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ ปรากฏชื่อเป็นกรรมการในธุรกิจนำเที่ยว ชื่อว่า บริษัท ลีโอ พาเลซ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2540 ทุนปัจจุบัน 1 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 16 ซอยรามคำแหง 170 แยก 1 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. แจ้งประกอบธุรกิจ เป็นตัวแทนบริษัทท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
มีนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ และนายวีระศักดิ์ ศิริคูณ เป็นกรรมการ รายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดแจ้งเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2560 มีนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ ถือ 980,000 หุ้น (98%) นายยุทธศักดิ์ เทียมทัศน์ 10,000 หุ้น (1%) และนายวีระศักดิ์ ศิริคูณ 10,000 หุ้น (1%) 
นับตั้งแต่ตั้งบริษัทในปี 2560 ไม่ได้มีการแจ้งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแต่อย่างใด
อนึ่ง เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2562 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ และเนชั่นทีวี เผยแพร่อ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ ระบุว่าเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดประจำสถานทูตสหรัฐอเมริกา ถึงกรณีกล่าวหา ร.อ.ธรรมนัส ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการถูกจับกุม ระบุตอนหนึ่งว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2536 เดินทางไปเที่ยวออสเตรเลีย ด้วยความคิดถึงเพื่อนสนิท จึงชวน ร.อ.ธรรมนัส (ขณะนั้นใช้ชื่ออื่น และไม่ได้มียศร้อยเอก) ให้เดินทางไปเที่ยวออสเตรเลียด้วยกัน เพราะเขาไม่เคยมา เมื่อเดินทางไปถึงก็ไปรับที่สนามบินในซิดนีย์ เพื่อกลับมายังโรงแรมแห่งหนึ่ง (บันไดบีช) ซึ่งตั้งอยู่ในย่านคนดังของออสเตรเลีย แต่เมื่อไปถึงไม่เกิน 5 นาที มีคนเคาะประตูห้อง และเมื่อเปิดออกเป็นชายฉกรรจ์ 10 กว่าคนกรูเข้ามา ร.อ.ธรรมนัส คิดว่าเป็นคนร้ายเข้ามาปล้น โดยไม่ทราบว่าชายกลุ่มนี้คือตำรวจ เกิดการต่อสู้กันพักใหญ่ ทำให้ ร.อ.ธรรมนัส แขนหัก ก่อนจะควบคุมตัวไปยังสถานีตำรวจแห่งหนึ่งในซิดนีย์ พร้อมกับตั้งข้อหาว่า มียาเสพติดไว้ครอบครอง
นายศรศาสตร์ ระบุอีกว่า มารู้ตอนหลังว่า สาเหตุของการบุกค้นและจับกุม ทั้ง ๆ ที่ ไม่มีของกลางในห้อง เป็นเพราะมีนักค้ายาเสพติด 2 รายชาวออสเตรเลีย ให้การซัดทอดกับตำรวจ เหมือนกับพยายามยัดข้อหาให้คนไทย ซึ่งเป็นคนต่างแดน จะได้ไม่สามารถตอบโต้หรือชี้แจงอะไรได้ หลังจากถูกจับกุม ไม่พบของกลาง จึงไม่ได้มีการฟ้องคดี แต่ระหว่างที่ตำรวจยังสืบสวนสอบสวนอยู่ ต้องอยู่ที่นั่นเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ยืนยันว่าไม่ได้มีการติดคุก ตามที่มีการนำเสนอข่าวก่อนหน้านี้
นายศรศาสตร์ ระบุอีกว่า แต่ระหว่างที่ตำรวจยังสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม ต้องอยู่ที่นั่นเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ยืนยันว่าไม่ได้ติดคุก ซ้ำทางการออสเตรเลียให้ไปช่วยดูแลเยาวชน คล้ายสถานพินิจและคุ้มครองเด็กฯในไทย โดย ร.อ.ธรรมนัส ได้งานเป็นผู้จัดการบริษัทส่งกระดาษทิชชู่แห่งหนึ่ง เก็บเงินใช้กินอยู่สู้คดี ทำมาเรื่อย ๆ จนครบ 4 ปี สุดท้ายทางการออสเตรเลียหาหลักฐานอะไรไม่ได้ ตนและ ร.อ.ธรรมนัส จึงตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบินกลับไทย ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการกลับเพราะถูกทางการไทยขอตัวกลับมารับโทษตามที่ปรากฎเป็นข่าว แต่ยอมรับว่าสำหรับตน หลังจากโดนเรื่องนี้แล้วก็ต้องออกจากราชการ (อ้างอิงข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

‘ธรรมนัส พรหมเผ่า’ต้องคำพิพากษาคดียาเสพติดใน ตปท.หลุดจากตำแหน่งหรือไม่?

"...พอให้เจ้าตัวแจง ก็กลับมีทีท่าบอกสื่อให้ลืมเรื่องราวในอดีต ผมเข้าใจดี คำตอบแบบนี้ออกมาจากผู้มีส่วนเสียในคำถาม ตอบอย่างอื่นมีแต่จะเข้าตัว แต่เรื่องนี้จะเป็นปิงปองกระเด้งกลับไปหาทุกคนในรัฐบาล ที่เมื่อร่วมวงสังฆกรรมแล้ว หากขืนคิดว่าปล่อยให้คนลืม ๆ ไปเอง ก็คงจะเหนื่อยแน่นอนครับปัญหาทางการเมือง ไม่ได้ง่ายกว่าปัญหาทางกฎหมายเลยครับ..."
100919 thammanat 
กรณี รมต.ธรรมนัส พรหมเผ่า
ความเห็นผม คือ ไม่มีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะต้องห้าม จึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย (legal issue)
แต่มีปัญหาเรื่องความไม่เหมาะสมหรือเหมาะสม ซึ่งเป็นปัญหาการเมือง (political issue)
เหตุผล คือ คำว่าถูกศาลพิพากษาหรือกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด หมายถึง คำพิพากษาศาลไทยและการทำผิดกฎหมายไทย
ที่ตีความเช่นนี้ เพราะเป็นไปตามหลักอธิปไตยของรัฐ ที่จะไม่รับรู้หรือยอมรับผลทางกฎหมายของอำนาจรัฐอื่นโดยอัตโนมัติ เว้นแต่จะเปิดช่องเอง เช่น เขียนโดยตรงถึงคำว่า คำพิพากษาของศาลในต่างประเทศ อาทิ ป.อ. มาตรา 10
แต่ปัญหาเรื่องไม่เหมาะสมหรือเหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องทางการเมือง แม้จะเป็นประเด็นที่ถกเถียงได้ไม่รู้จบก็จริง
และแม้ไม่ทำให้ รมต.ธรรมมนัส หลุดจากตำแหน่งถ้ามีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม
แต่ก็จะเป็นประเด็นที่รัฐบาลอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ร่ำไป ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของตัวรัฐบาลเอง
คนฟากหนึ่ง อาจจะบอกว่า เรื่องนี้ เมื่อไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย และทุกคนควรได้รับการพิสูจน์ฝีมือจากปัจจุบัน ขอให้ลืมข้อกล่าวหาในอดีต ดังนั้น รมต.ธรรมนัส จึงไม่จำเป็นต้องลาออก
แต่อีกฟากหนึ่ง ก็อาจจะบอกว่า ครม. ควรรักษาเกียรติภูมิของประเทศและตัวรัฐบาลเอง เช่น พิสูจน์ความจริง ว่า ถ้าคดีเกิดขึ้นในไทย รมต.ธรรมนัส จะผิดตาม พรบ.ยาเสพติด หรือไม่
....เวลาผ่านมา เข้าวันที่สอง นับแต่สื่อออสเตรเลียออกข้อมูลที่ไม่ตรงกับปากของ รมต.ธรรมนัส
เราได้แต่เห็นนายกฯ ปัดไม่ตอบสื่อ
เราได้แต่เห็น รมว.มหาดไทย และรองนายกฝ่ายกฎหมาย ตอบโยนให้เจ้าตัวเขาแจงเอง
พอให้เจ้าตัวแจง ก็กลับมีทีท่าบอกสื่อให้ลืมเรื่องราวในอดีต
...ผมเข้าใจดี คำตอบแบบนี้ออกมาจากผู้มีส่วนเสียในคำถาม ตอบอย่างอื่นมีแต่จะเข้าตัว
แต่เรื่องนี้จะเป็นปิงปองกระเด้งกลับไปหาทุกคนในรัฐบาล
ที่เมื่อร่วมวงสังฆกรรมแล้ว หากขืนคิดว่าปล่อยให้คนลืม ๆ ไปเอง ก็คงจะเหนื่อยแน่นอนครับ
ปัญหาทางการเมือง ไม่ได้ง่ายกว่าปัญหาทางกฎหมายเลยครับ
รศ.อานนท์ มาเม้า
คณะนิติศาสตร์ มธ.

ประกาศเพิกถอนทะเบียนตำรับยาพาราเซตามอล 25 รายการ

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเพิกถอนทะเบียนตำรับยาพาราเซตามอล 25 รายการที่พบเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากลักษณะการแพ้ยา และอาการผลข้างเคียง เช่น พิษต่อตับ ระบุมีผลภายใน 90 วันนับจากวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา
วานนี้ (10 ก.ย.2562) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศ คําสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 780/2562 เรื่องเพิกถอนทะเบียนตำรับยา  โดยระบุว่าด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏพบปัญหาจากการใช้ยาพาราเซตามอลมากขึ้น โดยพบทั้งอาการไม่พึงประสงค์ในลักษณะการแพ้ยา และอาการผลข้างเคียง เช่น การเกิดพิษต่อตับ จากการใช้ยา ไม่เหมาะสม การได้รับยาซ้ำซ้อน การใช้ยาเกินขนาดโดยไม่ตั้งใจ หรือการใช้ยาร่วมกับการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงให้เกิดอัน ตรายต่อผู้บริโภค เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ของผู้ใช้ยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการยาในการประชุม ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2559 ได้มีคําสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 329/2560 ลงวันที่ 20 ก.พ.2560 ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา หรือผู้รับอนุญาตนําหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทาน แก้ไขฉลาก และเอกสาร กํากับยาให้เป็นไปตามคําสั่งดังกล่าว
และต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 386-10/2561 เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2561 ได้มีคําสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 204/2562 ลงวันที่ 12 ก.พ.2562 ให้ผู้รับอนุญาตที่ยังไม่ได้ยื่น แก้ไขทะเบียนตํารับยาเร่งดําเนินการตามคําสั่งกระทรวงที่ 329/2560 ลงวันที่ 20 ก.พ.2560 แต่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตไม่ดําเนินการแก้ไขทะเบียนตํารับยาดังกล่าวให้เป็นไปตามคําสั่งข้างต้นจํานวน 25 ตํารับ จึงอาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยาได้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนํา ของคณะกรรม การยาในการประชุมครั้งที่ 389-3/2562 เมื่อวันที่ 23 พ.ค.2562
จึงมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทาน จํานวน 25 ตํารับ ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้ อนึ่ง หากผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่เห็นด้วยกับคําสั่งนี้ อาจใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ โดยให้ ทําคําฟ้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


คำต่อคำ 'วิศณุ vs.ธรรมนัส' เปิดฉากดวลเดือดกลางสภาฯ กระทู้ร้อนคดียาเสพติดออสเตรเลีย

พล.ต.ท.วิศณุ:  "ผมถามท่านนายกฯ ไปเลยว่าท่านนายกฯ ได้มีการตรวจสอบเชิงลึกในเรื่องดังกล่าวอย่างไร เหตุใดจึงไม่พบข้อเท็จจริงตามที่หนังสือพิมพ์ออสเตรเลียทั้ง 2 ฉบับรายงาน หรือตรวจสอบพบแล้วมีการปกปิดกัน แล้วเมื่อข้อเท็จจริงมีการปรากฎออกมาแบบนี้ ทางนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบตอ่เรื่องนี้อย่างไร"  VS.  ร.อ.ธรรมนัส : "ผมไม่ทราบว่าท่านไม่เคยศึกษากฎหมายของประเทศออสเตรเลียเลยหรือไม่   ผมเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ณ นครซิดนีย์ ผมมีเวลาอยู่นครซิดนีย์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง คดีนี้มันไม่มีคำพิพากษามันเป็นการ Plea Bargaining (แปลตรงตัวว่าการต่อรองคำรับสารภาพ) เด็กตัวเล็กๆจากพะเยาอายุ 24-25 ปี เดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ภาษาอังกฤษก็ยังไม่แข็ง ผมจะไปมีปัญญาอะไรเป็นมาเฟียไปบงการคนนั้นคนนี้ค้ายาเสพติด" 
Thammanattt500
สืบเนื่องจาก Sydney Morning Herald สื่อชื่อดังจากประเทศออสเตรเลีย และเว็บไซต์บีบีซีไทย (BBC Thai) รวมถึงสื่อไทยหลายสำนักเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคดีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2536 โดยอ้างว่าเป็นช่วงที่ ร.อ.ธรรมนัส ใช้ชื่อว่า นายมนัส โบพรหม อายุ 37 ปี ถูกศาลที่ประเทศออสเตรเลีย ตัดสินจำคุก 6 ปี แต่นายมนัสรับสารภาพ คงโทษจำคุก 4 ปี และถูกปล่อยตัวออกมาในปี 2540 กรณีถูกกล่าวหาว่า มีส่วนรู้เห็นในการลักลอบนำเข้ายาเสพติดเข้าประเทศออสเตรเลีย
เบื้องต้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ออกมาชี้แจงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยยืนยันว่า ไม่เคยรับสารภาพตามที่สื่อเขียนถึง มีขบวนการจ้องดิสเครดิตตนเอง และขอเวลาทำงานรับใช้ประชาชน ไม่อยากพูดถึงเรื่องในอดีต (อ่านประกอบ : คำต่อคำ 'ธรรมนัส' แจงปมสื่อออสเตรเลียเสนอข่าวติดคุก 4 ปี มีโครงข่ายอยู่เบื้องหลัง?)
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2562 ที่รัฐสภา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.วิศณุ ม่วงแพรสี ส.ส. ของพรรคตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา ไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ถึงความเหมาะสม ในการแต่งตั้ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งที่ ร.อ.ธรรมนัส มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ และมีความชัดเจนว่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคดีค้ายาเสพติด
ขณะที่ทางด้านของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มอบหมายให้ ร.อ.ธรรมนัสเป็นผู้ที่มาตอบกระทู้ถามนี้ด้วยตนเอง 
สำนักข่าวอิศรา ได้สรุปรายละเอียดการถามตอบกรณีนี้ กลางรัฐสภาฯ มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับดังนี้    
พล.ต.ท.วิศณุ: "ผมถามหาความรับผิดชอบและการตรวจสอบกรณีที่หนังสือพิมพ์ Sydney Morning Herald และหนังสือพิมพ์ The Edge ของออสเตรเลียได้ลงข่าวของ รมช.เกษตรและสหกรณ์"
"ประเด็นแรกผมขอย้อนอดีตไปก่อนตั้งแต่ช่วงปี 2541-2542 ซึ่งผมได้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการกองปราบปราม ผมเคยพบ ร.อ.ธรรมนัสแล้วเมื่อปี 2541 โดยทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีร่วมกันฆ่า นายพูลสวัสดิ์ จิราภรณ์ ผมได้ทำสำนวนสอบสวนร่วมกันกับ พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ และ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา ซื่งตอนนี้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในที่สุดฝ่ายสอบสวนก็มีการสั่งฟ้อง ซึ่งตอนนั้น ร.อ.ธรรมนัสก็เป็นจำเลยในสำนวนดังกล่าว โดยตอนนั้นผมก็ได้ให้คนไปตรวจสอบเพราะทราบว่าคดีนี้มีการตัดสินจำคุกด้วย แต่เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นการตรวจสอบค่อนข้างลำบาก ก็เลยไม่รู้ว่ามีใครในคดีนี้ถูกจำคุกบ้าง"
"ประเด็นต่อมาก็คือว่า มีนักสืบโซเชียลออกมาตรวจสอบเรื่องคุณสมบัติของท่านตอนที่ได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับทั้งยาเสพติดที่นำเข้าประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวน 3.2 กิโลกรัม ท่านก็ให้สัมภาษณ์สื่อว่าท่านไปอยู่ในที่ๆคนร้ายหรือผู้กระทำความผิดได้ขนยาเสพติดเข้าไป แล้วท่านก็บอกว่าท่านถูกจำคุกแค่ 8 เดือน หลังจาก 8 เดือนแล้วท่านก็ให้ชีวิตปกติที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย และสุดท้ายก็มีการส่งตัว หรือหมายถึงการกวาดล้างผู้ที่ไม่พึงประสงค์กลับมาอยู่ในประเทศตัวเอง ประเทศต้นทาง"
"มาวันนี้หนังสือพิมพ์ Sydney Morning Herald ได้ออกรายงานใช้คำว่ารายงานพิเศษเรื่องจากผู้ร้ายสู่รัฐมนตรี โดยนายไมเคิล รัฟเฟิลส์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์Sydney Morning Herald และทางหนังสือพิมพ์ The Edge ก็ได้ไปเจาะลึกจนปรากฏคำรับสารภาพและคำให้การของตำรวจ ปรากฏถึงการดักฟังทางโทรศัพท์ มีรายละเอียดมากมายยืนยันว่าท่านเกี่ยวข้องแน่นอน"
"นอกจากนี้ในเอกสารยังมีการระบุชื่อว่ามนัส และระบุคำว่ามาเฟียใหญ่ของไทย ผมคิดว่าประเด็นนี้จะมีคนเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ทางด้านของ ร.อ.ธรรมนัสก็คงต้องไปดำเนินการทางกฎหมายอีกทีหนึ่ง"
"คำถามของผมก็คือว่า แค่พัวพันเรื่องยาเสพติด บุคคลนั้นก็ต้องขึ้นบัญชีดำว่าไม่ให้เข้าประเทศแล้ว ดังนั้น ก็ขอถามไปยังนายกรัฐมนตรีเลยว่า ในช่วงที่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีและมีผู้ทักท้วงถึงความไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก ผมถามท่านนายกฯ ไปเลยว่าท่านนายกฯ ได้มีการตรวจสอบเชิงลึกในเรื่องดังกล่าวอย่างไร เหตุใดจึงไม่พบข้อเท็จจริงตามที่หนังสือพิมพ์ออสเตรเลียทั้ง 2 ฉบับรายงาน หรือตรวจสอบพบแล้วมีการปกปิดกัน แล้วเมื่อข้อเท็จจริงมีการปรากฎออกมาแบบนี้ ทางนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบตอ่เรื่องนี้อย่างไร"  
Wissanuuuut
ร.อ.ธรรมนัส: "วันนี้ผมได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้มาตอบกระทู้ถามในประเด็นที่เป็นเรื่องส่วนตัวของกระผม โดยตั้งคำถามว่านายกรัฐมนตรีจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้นประมาณ 30 ปีที่แล้วของกระผม"
"แต่ก่อนอื่นผมต้องขอย้อนไปถึงประเด็นในปี 2540-2541 ก่อน ในกรณีที่ผมถูกกล่าวหาว่าร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตก่อน เพราะแสดงว่ากรณีนี้ พล.ต.ท.วิศณุนั้นไม่เคยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง"
"ตามข้อเท็จจริงในเอกสารของศาลอาญาในปี 2546 นั้นได้ระบุเอาไว้แล้วว่าบัดนี้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยคดีดำที่ 10089/2541 คดีหมายเลขแดงที่ 3404/2546 ของศาลอาญา ศาลอาญาพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ต.ค.2546 และไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ต่อศาล ดังนั้นต้องขอเรียนว่าผมไม่เคยถูกต้องพิพากษาคดีใดๆ ศาลสั่งให้ผมชนะคดีโดยไม่มีการลงโทษใดๆทั้งสิ้น พนักงานอัยการก็ไม่มีการอุทธรณ์ใดๆตามมา"
"กลับมาต่อในประเด็นที่ พล.ต.ท.วิศณุได้พูดถึงทั้งคำให้การรับสารภาพของผม การดักฟังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ คำให้การของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผมต้องขอเรียนว่าในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของนายไมเคิลซึ่งได้อีเมล์มาหาผม ผมไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด  แต่นัยยะที่นายไมเคิลเมล์มาหาผมนั้นเขาต้องการให้ผมคุยกับเขา"
"ผมก็ตอบไปว่าผมจะคุยกับคุณเรื่องอะไร 1.คุณไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ  2.คุณกลับไปดูประวัติของคุณว่าคุณนำเสนอข่าวอะไรบ้าง 3.คุณอ้างว่าคุณเอาคำพิพากษาของศาลนครซิดนีย์ซึ่งเป็นศาลท้องถิ่น คุณอ้างว่าคุณมีคำให้การของผม คุณอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเครื่องดักฟังผม ผมอยากจะเรียนว่าผมเคยแถลงข่าวไปกับสื่อมวลชนไปแล้วจนทราบว่าอะไรเป็นอะไร"
"ผมอยากจะชี้แจงว่าโทษการนำเข้า จำหน่าย ส่งออกเฮโรอีนปริมาณเล็กน้อย โทษต่ำสุดก็คือจำคุก 10 ปี หากเป็นโทษตามจำนวนเฮโรอีนที่นายไมเคิลได้นำมาเสนอข่าวนั้นขั้นต่ำก็คือจำคุกตลอดชีวิต"
"ผมไม่ทราบว่าท่านไม่เคยศึกษากฎหมายของประเทศออสเตรเลียเลยหรือไม่   ผมเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ณ นครซิดนีย์ ผมมีเวลาอยู่นครซิดนีย์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง คดีนี้มันไม่มีคำพิพากษามันเป็นการ Plea Bargaining (แปลตรงตัวว่าการต่อรองคำรับสารภาพ) เด็กตัวเล็กๆจากพะเยาอายุ 24-25 ปี เดินทางไปประเทศออสเตรเลีย ภาษาอังกฤษก็ยังไม่แข็ง ผมจะไปมีปัญญาอะไรเป็นมาเฟียไปบงการคนนั้นคนนี้ค้ายาเสพติด"
"มีประเด็นที่เขียนระบุว่าพันโทคนนั้น ผู้หญิงคนนั้นมาเกี่ยวข้อง คุณเอาอะไรมาพูด คนไทยสองคนถูกจับกุม คนหนึ่งไปร้องตัดสินดูก่อน เขาเรียกว่า Plea Bargaining เพราะไม่มีเงินที่จะสู้คดี ต้องใช้ ทนายอาสาของประเทศออสเตรเลีย ผมไม่เคยรับสารภาพว่าขนยา ค้ายา หรือนำเข้ายาเสพติด หากเป็นข้อเท็จจริง ไปเอามาเลยว่าผมรับสารภาพตรงไหน"
"ผมชี้แจงมาหลายครั้งแล้ว และยังมาถามอีกว่าผมติดคุก8 เดือนหรืออะไร เขาเรียกว่าการ Plea Bargaining หรือการลองตัดสิน"
"ผมไม่ได้เข้าสู่กระบวนการไต่สวน สอบสวนพยานอะไรเลย ผมถูกกักขังหรือ Locked Up อยู่ 8 เดือน หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการ Plea Bargaining โดยผมถูกส่งตัวไปอยู่ฟาร์มดูแลผู้ต้องขังเยาวชนที่มีปัญหาประมาณ 6เดือน ผมก็กลับมาอยู่นครซิดนีย์ โดยต้องออกไปทำงานเช้า ตกเย็นก็กลับมานอนในที่ที่เจ้าหน้าที่เขาจัดให้นอน ผมใช้ชีวิตอยู่แบบนี้ประมาณ 4 ปี"
"ผมบอกและแถลงชัดเจนว่าขั้นตอนการเจรจาต่อรอง อัยการของนครซิดนีย์ ผู้พิพากษาท้องถิ่นเวลานั้นบอกว่าผมต้องมีหน้าที่เป็นพยานให้กับผู้ถูกกล่าวหาอีกคนที่เป็นชาวต่างชาติ เมื่อมันครบ 4 ปี ผมก็ไม่คิดจะกลับมา ที่ประเทศไทย ณ เวลานั้น เพราะต้องการใช้ชีวิตกับครอบครัวที่ประเทศออสเตรเลีย แต่เมื่อรัฐบาลเขามีนโยบายให้เรากลับ เราก็กลับโดยไม่มีโทษติดตัวเลย ผมชี้แจงมากี่ครั้งก็จะพูดแบบนี้"
"การ Plea Bargaining ศาลออสเตรเลียนั้นให้ผมอยู่จนจบวาระการเป็นพยาน นั่นคือ 4 ปีจนคดีจบ"
"แล้วผมจะกราบเรียนเพิ่มเติมว่า คดีนี้ท้ายสุดผู้ต้องหาที่เป็นคนต่างชาติ ศาลตัดสินยกฟ้อง ผมคงไม่ต้องกลับมาพูดเรื่องนี้อีก"
"ประเด็นสำคัญก็คือเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมาตอนที่ผมสมัครลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. ถ้าหากไม่มีการรัฐประหารที่ตามมาต่อนั้น ผมก็ได้เป็น ส.ส.แล้ว ก็ไม่เห็นมีใครจะมาโจมตีผมในประเด็นนี้เลย"
"ผมขอตอบแทนนายกรัฐมนตรีเลยว่าผมนั้นผ่านพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาล้างมลทินมากี่ครั้งแล้ว ท่านเป็นตำรวจท่านน่าจะรู้ว่าพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาล้างมลทินนั้นมีสาระสำคัญอะไรบ้าง ท่านอยากให้ผมย้อนกลับไปเป็นอดีตหรือ หรือจะอยากให้ผมอยู่กับวันนี้และอนาคต ตอนนี้ประชาชนกำลังลำบาก ทำไมเราไม่เห็นใจเขาบ้าง"
"ผมอยู่กับปัจจุบัน และจะไม่ยอมอยู่กับเรื่องเก่าๆที่เปรียบเสมือนกับฝันร้ายของผม"
"หลังจากวันนี้ฝันร้ายเหล่านี้จะต้องหายไปจากชีวิตผม และหลังจากนี้หากท่านผู้ใดสงสัยในประเด็นเรื่องเหล่านี้ ท่านก็ไปถามผมส่วนตัวได้ และต่อไปนี้ผมจะเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่ากับท่านใดที่ได้พาดพิงถึงเรื่องผม"
Thammanat2
พล.ต.ท.วิศณุ: "จริงๆผมฟังท่านรัฐมนตรีตอบชี้แจงแทนท่านนายกรัฐมนตรีก็ถือว่าท่านตอบได้ดี"
"แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอีก 2 ประการก็คือต้องพิสูจน์กันว่าระหว่างสื่อมวลชนออสเตรเลียที่ได้ออกรายงานเจาะลึกมา กับทางท่านรัฐมนตรีที่ได้ตอบคำถามเมื่อสักครู่นั้น ของใครจริง ของใครเท็จ ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและฝ่ายที่ต้องตรวจสอบกันต่อไป"
"ส่วนประเด็นที่ 2นั้น ที่ท่านบอกว่าเรื่องนี้มีคำพิพากษาเป็นเรื่อง Plea Bargaining นั้น ผมคิดว่าคำพิพากษาเต็มๆน่าจะออกมาเร็วๆนี้ โดยคงจะตีพิมพ์ทั้งในสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ ซึ่งต้องพิสูจน์กันต่อไป ผมบอกว่าเรื่องยาเสพติดนั้นเป็นปัญหาที่ร้ายแรง คำถามก็คือว่าหากท่าน รมช.ถูกจำคุกคดียาเสพติด จะเป็น Plea Bargaining หรืออะไรก็แล้วแต่ ตรงนี้จะเป็นความผิดร้ายแรงที่จะปรับ รมช.ออกจากคณะรัฐมนตรีหรือไม่ หรือเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น"
สำนักข่าวอิศรา รายงานต่อว่า หลังจาก พล.ต.ท.วิศณุ ชี้แจงข้อสงสัยในช่วงท้ายจบลง  นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานรัฐสภาคนที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมนั้นได้วินิจฉัยว่า ร.อ.ธรรมนัสได้ตอบคำถามชี้แจงข้อซักถมจนครบถ้วนแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องตอบคำถามใดๆอีก
จากนั้น ได้ให้ที่ประชุมรัฐสภาเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมถัดไป
วาระการถาม-ตอบกระทู้สดกรณีนี้ จึงสิ้นสุดลงไปตามระเบียบ!

เลือกตั้ง 62 : กางนโยบายเศรษฐกิจ 6 พรรคการเมือง

สมรภูมิเลือกตั้ง 62 เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แต่ละพรรคการเมืองต่างเร่งสร้างความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกคะแนนนิยมกันอย่างคึกคัก แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจคือจุดขายที่สำคัญ เพราะประชาชนคนไทยอยากรู้ว่าพรรคต่างๆ จะมาแก้ไขปัญหาปากท้องของพวกเขาอย่างไร
กางนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคดู ล้วนสวยหรู ‘ชวนฝัน’ ถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ทำได้จริงมากน้อยแค่ไหนหรือไม่นั้นคงต้องรอติดตามกันต่อไป แต่อย่างน้อยๆ ณ ตอนนี้ นโยบายเศรษฐกิจเหล่านี้ก็เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึง ‘วิสัยทัศน์’ ของพรรคการเมืองได้เป็นอย่างดี
ทีมข่าว MThai รวบรวมมานำเสนอ

พรรคประชาธิปัตย์

‘ประกันรายได้รายได้คนไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’

นโยบายเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ มี 6 ข้อ โดยเป็นการต่อยอดจาก 10 นโยบายการศึกษา ซึ่งจะเน้นการยกระดับชีวิตคนไทยและเน้นตอบโจทย์ประชาชน ทั้งเรื่องปัญหาเศรษฐกิจช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
1.โครงการโฉนดสีฟ้า จัดทำเป็นโฉนดชุมชนจัดการตัวเอง  ออก พ.ร.บ.โฉนดชุมชน เพื่อให้สิทธิในการจัดการชุมชนอย่างแท้จริง และยกระดับ สปก.ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนของรัฐ โดยการกู้ผ่านธนาคาร และตกทอดถึงลูกหลานได้ พร้อมเดินหน้าธนาคารที่ดิน เพิ่มที่ดินทำกินให้คนไทย เร่งออกโฉนดทันใจ สะสางโฉนดที่ดินที่ค้างท่อมานานที่มีเอกสิทธิ์ สค.1 และ นส.3 เพื่อออกสิทธิตามกฎหมายให้แล้วเสร็จ
2.จัดตั้งกองทุนน้ำชุมชน ให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี มีเงินทำแหล่งน้ำทุกหมู่บ้าน โดยรับการจัดสรรงบจากผู้เชี่ยวชาญ แนะนำชาวบ้านจัดการแหล่งน้ำด้วยตัวเอง  ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ของรัฐ หากเป็นที่ของประชาชน แต่เหมาะสมที่จะทำสระน้ำ ก็สามารถเข้ามาร่วมโครงการ ซึ่งจะต้องปลดล็อกกฎระเบียบของราชการ และใช้ยางพาราในการทำสระน้ำ
3.ประกันรายได้เกษตรกร ให้ครอบคลุมพืชทุกชนิด สร้างความมั่นคงรายได้ให้เกษตรกรไทยทุกคนได้มีหลักประกันรายได้ขั้นต่ำการทำอาชีพเกษตรกรรม ข้าวไม่ต่ำกว่า เกวียนละ 10,000บาท  ยางพารา ไม่ต่ำกว่า 60 บาท ต่อกิโลกรัม ปาล์ม 10 บาท ต่อกิโลกรัม รวมถึง ทำประกันภัยพืชผลคุ้มครองต้นทุนการผลิต
4.ประกันรายได้แรงงาน ไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท ต่อปี แต่ถ้ามีรายได้ต่อเดือน เมื่อคำนวณแล้วไม่ถึงที่กำหนด รัฐบาลก็จะจ่ายเงินส่วนต่างให้   
5.เบี้ยผู้สูงอายุ 1,000 บาท ต่อเดือน และจะไปปรับปรุงโครงการเกี่ยวกับการออมเพื่อการชราภาพ  
6.เบี้ยสวัสดิการผู้ยากไร้ 800 บาท ต่อเดือน โอนตรงสมุดบัญชีผู้มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาท ต่อปี ซึ่งทุกคนจะต้องเข้าระบบรายงานสถานะทางการเงินของตัวเองทุกปี

พรรคอนาคตใหม่

‘ทลายเศรษฐกิจผูกขาด’

พรรคอนาคตใหม่เสนอ 4 นโยบายที่จะทำลายทุนผูกขาดในประเทศไทย โดยกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยพันธมิตรกลุ่มทุนผูกขาด ข้าราชการชั้นสูง นายทหาร และพรรคการเมืองบางพรรค

1. หยุดการผูกขาดที่เกิดจากสัมปทานต่างๆ ของรัฐ
การประมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี วิทยุ ดิวตี้ฟรี สัญญาสัมปทาน บริการสาธารณะ จะต้องโปร่งใส เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการรายใหม่ให้เข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด ยกตัวอย่างสัมปทานดิวตี้ฟรีในสนามบิน ซึ่งกำลังจะหมดสัญญาลงในเดือนกันยายน 2563 สิ่งที่จะทำคือ เบรกสัญญาที่ให้บริษัทบริษัทเดียว เป็นหลายๆ บล็อก แล้วเปิดโอกาสให้บริษัทขนาดกลาง บริษัทขนาดเล็กเข้ามามีส่วนร่วมในการประมูลด้วย
2. แก้กฎหมายที่เอื้อให้เกิดการผูกขาด
กลุ่มทุนบางกลุ่มไม่ได้ผูกขาดด้วยสัญญาสัมปทาน แต่ผูกขาดความมั่งคั่งด้วยการดำรงอยู่ของกฎหมายบางฉบับที่เอื้อให้เกิดการผูกขาด ที่กีดกันการแข่งขันทางการค้า 
ยกตัวอย่างในอุตสาหกรรมเหล้าและเบียร์ กฎหมายระบุไว้ว่า จะผลิตเบียร์ขายในที่สาธารณะได้ กำลังการผลิตขั้นต่ำอยู่ที่ 10 ล้านลิตร / ปี ซึ่งปิดโอกาสผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือเหล้าขาว กฎหมายพวกนี้มีเจตจำนงที่แน่วแน่ แต่แก้ได้ทันที ไม่มีอะไรยาก
3. การเข้าถึงแหล่งทุนต้องถูกปลดปล่อย
คนจำนวนมากในสังคมไทยเข้าไม่ถึงแหล่งทุนที่ดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการผูกขาดในการเข้าถึงแหล่งทุนมากที่สุดในโลก ผ่านการชี้วัดด้วยจำนวนธนาคาร ประเทศไทยเรามีจำนวน 10  กว่าธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในระบบ ทุกธนาคารมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด อนาคตใหม่จะเปิดใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารเพิ่มขึ้นโดยมีเงื่อนไขว่า ธนาคารใหม่นี้จะต้องมีสำนักงานใหญ่อยู่ต่างจังหวัด
การเอาธนาคารไปต่างจังหวัดจะสอดรับกับการกระจายอำนาจ ท้องถิ่นจะมีทุนของตัวเองในการพัฒนาท้องถิ่น ท้องถิ่นจะเกิดการจ้างงานธนาคาร ซึ่งเป็นงานที่มีคุณภาพ และเปิดโอกาสให้นักธุรกิจท้องถิ่นเข้าถึงแหล่งทุนได้
4. บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าให้จริงจัง
ประเทศไทยมีกฎหมายที่เขียนขึ้นมาเพื่อป้องกันการฮั้วราคา เพื่อป้องกันการใช้มาตรการทางการตลาดต่างๆ กีดกันคู่แข่งรายใหม่ แต่ไม่เคยถูกบังคับใช้จริงจังสักครั้งเดียว ตั้งแต่เขียนกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา คำตอบของง่ายๆ ก็คือ กลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่เป็นทุนผูกขาดมีอำนาจเหนือข้าราชการและการเมือง การบังคับใช้กฎหมายนี้จึงไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งพรรคพร้อมจะบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้
นอกจากนี้พรรคอนาคตใหม่ยังมีนโยบาย ‘ไทยเท่าเทียม สวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจร’
  • เพิ่มสิทธิลาคลอดเป็น 180 วัน
  • เพิ่มเงินเลี้ยงดูบุตร 0-6 ปี เป็น 1,200 บาท
  • เมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็กๆจะต้องได้เรียนฟรีและมีคุณภาพ โดยมีเงินอุดหนุนเยาวชนอายุ 18-22 ปี จำนวน 2,000 บาท
  • เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ จะต้องมีหลักประกันในอนาคต ภายใน 5 ปี
  • โดยจะขยายและปรับปรุงระบบประกันสังคม เพื่อให้คนที่เกษียณอายุ หลังจากทำงานมาอย่างหนัก มีเงินบำนาญที่สามารถดำรงชีพให้สอดคล้องกับหลักความเป็นจริง
  • เพิ่มเงินยังชีพคนชราเป็น 3 เท่า คือ 1,800 บาท/เดือน
รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจรทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณ 650,000 ล้านบาท โดยเงินจะนำมาจาก 1.จากของเดิมที่มีอยู่ 2. ลดงบกลาโหม 30% 3. กองทุนสวัสดิการแห่งรัฐ 4. ลดสิทธิประโยชน์ BOI 5. ลดสิทธิการลดหย่อนภาษีบางส่วน 6. ลดงบประจำและงบกลาง 7. ขึ้นภาษีที่ดิน 8. เอาหวยขึ้นมาไว้บนดิน

พรรคพลังประชารัฐ

‘นโยบายสร้างชาติ เพิ่มพลังเศรษฐกิจ’

พลังประชารัฐมีแนวทาง ‘นโยบาย 7-7-7’ ต่อยอดนโยบายรัฐบาล ‘ประยุทธ์’ ประกอบด้วย 3 พันธกิจ ได้แก่ 7 สวัสดิการประชารัฐ, 7 สังคมประชารัฐ และ 7 เศรษฐกิจประชารัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมเข็มแข็ง ปรับโครงเศรษฐกิจ สร้างโอกาสที่เท่าเทียมและสร้างความสามารถให้แข่งขันกับโลก
7 สวัสดิการประชารัฐ
1.บัตรประชารัฐ ต่อยอดมาจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สร้างหลักประกันทางสังคมให้กับผู้มีรายได้น้อย 2.สวัสดิการรายกลุ่ม ตามความต้องการหรือความจำเป็นพื้นฐานที่แตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มผู้พิการ กลุ่มสตรี กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มอาชีพรับจ้าง 3.สวัสดิการคนเมือง เพราะคนเมืองผู้มีรายได้น้อยต้องเผชิญกับการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเล่าเรียนบุตร 4.หมดหนี้มีเงินออม ช่วยทุเลาภาระหนี้ให้กับ 6 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ข้าราชการ SMEs ครู และนักศึกษา 5.โครงการบ้านล้านหลัง ให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเอง 6.บ้านสุขใจวัยเกษียณ เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย 7.สิทธิที่ดินทำกินให้เกษตรกร
7 สังคมประชารัฐ
1.การศึกษา 4.0 พัฒนาคน เตรียมความพร้อมให้ทุกคนมีโอกาส ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงคนทำงาน 2.กระจายศูนย์กลางความเจริญสู่ภูมิภาค เช่น EEC และต่อยอดไปยังภูมิภาคอื่นๆ โดยให้แต่ละภูมิภาคเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ CLMV 3.สร้างเมืองน่าอยู่ ใกล้บ้าน มีงานทำ 4.ชุมชนประชารัฐ ร่วมพัฒนาบ้านเกิด โดยจะมี ‘กองทุนพัฒนาชุมชนประชารัฐ’ มีแหล่งน้ำชุมชน โครงการป่าไม้มีค่า และสร้างวิสาหกิจชุมชน 5.เมืองอัจฉริยะสีเขียวโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคน 6.สังคมประชารัฐสีขาว ปลอดภัย ปลอดโรค ปลอดยา 7.Bangkok 5.0 ผุด 9 ย่านนวัตกรรม พัฒนาย่านการค้า คืนคลองสวยน้ำใสให้คนกรุง สร้างเครือข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ ผ่านเทคโนโลยี 5G
7 เศรษฐกิจประชารัฐ
1.ยกระดับความสามารถผู้ผลิต 5 ล้าน Smart SMEs 1 ล้าน, Smart Farmers 1 ล้าน, Startups 1 ล้าน, Makers และ 1 ล้านค้าปลีกชุมชน 2.ก้าวสู่เกษตรประชารัฐ 4.0 ปรับโครงสร้างภาคเกษตร ด้วยนโยบาย ‘3 เพิ่ม 3 ลด’ นั่นคือ เพิ่มรายได้ เพิ่มนวัตกรรม เพิ่มทางเลือก และ ลดภาระหนี้ ลดความเสี่ยง ลดต้นทุน 3.กระจายรายได้ กระจายโอกาส ด้วยการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ 4.ชูเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจแบ่งปัน 5.สร้างเศรษฐกิจชีวภาพ อุตสาหกรรมหมุนเวียน นวัตกรรมสีเขียว 6.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งอนาคต เน้นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล โดยเฉพาะ 5G 7.ลดอุปสรรค เพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจ เน้นการปฎิรูประบบราชการ ทำให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

พรรคภูมิใจไทย

‘ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน’

พรรคภูมิใจไทยมาพร้อมสโลกแกน “ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน: แก้กฎหมาย ทลายทุกข้อจำกัด ที่ขัดขวางการสร้างรายได้ของประชาชน ” และชูนโยบายในเชิงเศรษฐกิจแยกย่อยออกไปหลายอย่างที่ถือว่าหวือหวาพอสมควร อาทิ
กัญชาเสรี: แก้พรบ.ยาเสพติด พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สร้างความร่ำรวยให้คนไทย
กัญชาเป็นพืชสมนไพร เป็นการแพทย์ทางเลือก โดยพรรคภูมิใจไทย นำเสนอรูปแบบการปลูกกัญชา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยให้ผู้ที่จะปลูกกัญชา ต้องมีการลงทะเบียน และอนุญาตให้ปลูกได้ โดยต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมต่อต้น เชื่อว่ากัญชา จะสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร เนื่องจากในต่างประเทศมีการซื้อขายกันสูงถึงกิโลกรัมละ 70,000 โดยที่มีการคาดการณ์ มูลค่าการตลาดของพืชกัญชา ในอนาคต สูงถึง 4.6 ล้านล้านบาท
บุรีรัมย์โมเดล
นำความคิดสร้างสรรค์ หาจุดเด่นในการพัฒนาเมือง อย่างเช่นจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำให้เป็นเมืองกีฬาและการท่องเที่ยวที่โด่งดัง เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับประชาชน และเป็นการแก้ไขปัญหาปากท้องพี่น้องประชาชน ซึ่งพรรคมีบุคลากร ที่เคยทำงานจนทุกคนเห็นแล้วว่าเกิดความประสบความสำเร็จมาแล้ว และจะนำแนวคิดการพัฒนาเมืองแบบนี้ไปเผยแพร่ในจังหวัด อื่นๆ ทั่วประเทศ
ทวงคืนกำไรให้ชาวนา
เสนอกฎหมายตั้งกองทุนข้าว ระบบกำไรแบ่งปัน เพิ่มรายได้ให้ชาวนา ยุติความไม่เป็นธรรม ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยนำตัวอย่างจาก อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล มาเป็นต้นแบบ ตั้ง “กองทุนข้าว”ขึ้นมา ทำหน้าที่บริหาร กำหนดโควตาการส่งออก จัดทำประกันภัยความเสี่ยง และบริหารแบ่งปันกำไร โดยกรรมการ3ฝ่าย คือ ชาวนา โรงสี พ่อค้า และฝ่ายราชการ ตกลงราคารับซื้อเบื้องต้น ก่อนฤดูกาลเพาะปลูก จากนั้นจะมีการคำนวณต้นทุน และ กำไร ของการผลิตทั้งระบบ แล้วนำผลกำไรมาแบ่งปันอย่างเป็นธรรมซึ่งการผลิตข้าวในระบบมี ชาวนา โรงสี ผู้ค้าข้าว ทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นชาวนาจะได้รายได้เพิ่มขึ้นจากระบบ “กำไรแบ่งปัน”เพิ่มขึ้นมา  ทวงคืนกำไรให้ชาวนา หมดยุค “ชาวนาจน พ่อค้าข้าวรวย” ด้วยกำไรแบ่งปัน โดยที่พรรคภูมิใจไทย จะนำระบบนี้ไปใช้กับพืชชนิดอื่นๆ ด้วย ยาง มันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มทะลาย
ทวงคืนกำไรให้ชาวสวนปาล์ม
เปลี่ยนสวนปาล์มเป็นบ่อน้ำมัน สร้างโรงไฟฟ้าน้ำมันปาล์ม ปาล์มทะลาย ก.ก.ละ 5 บาท โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำพืชที่สามารถผลิตเป็นพลังงานน้ำมันนำมาใช้ในประเทศ เพื่อเพิ่มตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับพืชเศรษฐกิจเหล่านั้น ลดปัญหาการเงินตราไหลออกไปยังต่างประเทศ ลดปัญหามลภาวะ อาทิ ปาล์มน้ำมัน สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดปัญหาการเงินตราไหลออกไปยังต่างประเทศ ลดปัญหามลภาวะ สร้างงาน สร้างอาชีพ ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
พัฒนาเขตเศรษฐกิจ จังหวัดชายแดนใต้
เปลี่ยนเสียงระเบิด เป็นเสียงเครื่องจักร เปลี่ยนงบลับ เป็นงบลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ โดยนำพรบ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้หลักคิดว่า เมื่อแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้วจะช่วยบรรเทาปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ลงไป
ทำงานที่ออฟฟิศ สัปดาห์ละ 4 วัน
ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชน จัดให้ข้าราชการหรือพนักงานบริษัทเอกชนในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำงานที่บ้านสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีมาตรการจูงใจทางด้านภาษี สำหรับภาคเอกชน ในการลดปริมาณการจราจรบนท้องถนนของกทม.และปริมณฑล อย่างน้อย ๆ สัปดาห์ละ 1 วัน สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป

พรรคชาติพัฒนา

‘รวมพลังชาติพัฒนา ไทยไร้ปัญหา’

นโยบายด้านเศรษฐกิจของพรรคชาติพัฒนาแบ่งเป็นสองส่วน เศรษฐกิจภาพรวมทั้งประเทศและเศรษฐกิจรากหญ้า โดยชูนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้า ดังนี้
จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อเกษตรกร
เพื่อช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นสวัสดิการในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่พืชผลมีราคาต่ำ โดยการช่วยเหลือจะคำนึงถึงประมาณการผลผลิตและราคาพืชผลตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนแก่เกษตรกรก่อนเริ่มฤดูการผลิตโดยมีกองทุนเริ่มต้นในการดำเนินงาน 20,000 ล้านบาท
เกษตรกรทันสมัย (Smart Farmer)
พัฒนาเกษตรกรไทยให้เป็นเกษตรกรที่ทันสมัย สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต สามารถเข้าถึงความรู้และข้อมูลการเกษตร รวมถึงการใช้นวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนสินค้าเกษตรให้กลายเป็นสินค้านวัตกรรมได้
จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อการพัฒนาสมาร์ท เอสเอ็มอี (Smart SMEs)
จัดตั้งกองทุนกู้ยืมในวงเงินงบประมาณ 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อเป็นทุนพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เก่งและเชี่ยวชาญ
สร้างตลาดทุนขนาดย่อม (Low Cap) สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs)
เพื่อรองรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก และสร้างความสร้างความแข็งแรงมั่นคงให้กับผู้ประกอบกิจการเพื่อยกระดับสู่การเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ต่อไป ด้วยการสร้างกลไกและพัฒนา ตลาดทุนขนาดย่อม เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กสามารถยกระดับตัวเอง เข้าสู่แหล่งเงินทุน และสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจได้ รวมทั้งปรับลดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติการยื่นคำขอนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสร้างความโปร่งใส ด้วยการใช้เทคโนโลยี เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสกัดกั้นและตรวจสอบการกระทำความผิด
ปรับปรุงกลไกตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า
ยกระดับสินค้าที่มีความผันผวนในด้านราคา เช่น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้มีประสิทธิภาพ ลดการแทรกแซงและสร้างเสถียรภาพของราคาสินค้า ประกันความเสี่ยงด้านราคาในกระบวนการซื้อขาย และพัฒนากลไกด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ไทยเป็นตลาดซื้อขายผลิตผลการเกษตรล่วงหน้าของอาเซียน
สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
จัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประจำตำบล (One Tambon – One Tourist  Attraction Fund หรือ OOF) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้แก่ทุกตำบล ตำบลละ 2 ล้านบาท เพื่อปลุกเศรษฐกิจรากหญ้าให้ฟื้นคืนภายใต้นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ เผยแพร่วัฒนธรรมและประเพณีไปทั่วโลก

พรรคเพื่อไทย

‘แก้วิกฤตเศรษฐกิจไทย เพื่อรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก’

พรรคเพื่อไทยเสนอ 10 มาตรการ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เร่งสร้างรายได้ พร้อมรับมือวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่กำลังจะมาถึง
1. ปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมรับมือวิกฤติ ปรับโครงสร้างหนี้ให้กับประชาชนคนเล็กคนน้อย และธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก เพื่อให้คนไทยลุกขึ้นยืนได้ ตั้งตัวได้ พร้อมรับมือวิกฤติ
2. เติมเงินทุน ด้วยสถาบันพัฒนารายได้ ขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนด้วยสถาบันพัฒนารายได้ทุกจังหวัด วันนี้ คนรวยกู้เงินพันล้านไม่ยาก แต่คนจนจะกู้หนึ่งแสนกลับไม่มีที่ไป พรรคเพื่อไทยจะทำให้ประชาชน และธุรกิจของคนตัวเล็กไม่ว่าจะเป็น SME โอท็อป หรือร้านแผงลอย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อเข้าถึงโอกาสในการทำมาหากินได้อีกครั้ง
3. เพิ่มที่ขาย นำสินค้าไทยบุกตลาดโลก สินค้าไทยต้องมีที่ขาย คนไทยต้องมีที่ขาย เราจะนำสินค้าไทยไปบุกตลาดโลก ให้ทั้งโลกเป็นตลาดของสินค้าไทยให้สำเร็จ สร้างลูกค้าใหม่ ด้วยมืออาชีพด้านเศรษฐกิจและด้านการต่างประเทศ
4. กิโยตินกฎหมาย ขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการทำมาหากินของประชาชน ขจัดอุปสรรคที่ขวางกั้นโอกาสในการทำมาหากินของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย กฎระเบียบ กระบวนการขอใบอนุญาตต่างๆ ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน และล้าหลัง พรรคเพื่อไทยจะนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนราชการ เพิ่มความโปร่งใส ให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจได้โดยง่าย ลดต้นทุนแฝง ค้าขายคล่องตัว
5. ลดภาษีอย่างชาญฉลาด เพิ่มรายได้รัฐบาลโดยไม่ขูดรีดประชาชน วันนี้ รัฐบาลต้องหารายได้เป็น ไม่ใช่ขึ้นภาษีอย่างเดียว เราจะลดภาษีอย่างชาญฉลาดโดยไม่ทำให้รายได้ของประเทศหายไป เราจะขยายฐานภาษีโดยไม่เบียดเบียนคนตัวเล็กที่กำลังยากลำบาก เพื่อทำให้คนตัวเล็กแข็งแรงให้ได้
6. กองทุนปรับเปลี่ยนหน้าดิน ปรับโครงสร้างรายได้เกษตรกร พักชำระหนี้เพื่อให้เกษตรกรตั้งตัวได้ ประเทศไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารปลอดภัยป้อนคนทั้งโลก ต่อไปเกษตรกรไทยจะขายสินค้าอาหารปลอดภัยราคาสูง ด้วยเงินทุนจากกองทุนปรับเปลี่ยนหน้าดิน พอกันที กับชีวิตเกษตรกรที่ไม่เคยกำหนดราคาสินค้าได้เอง
7. เพิ่มนักท่องเที่ยวให้ถึง 50 ล้านคนต่อปี ฟื้นฟูความเชื่อมั่น เพิ่มความปลอดภัย ดึงนักท่องกำลังซื้อสูง สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ ยกระดับฟู้ดสตรีทเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ยกเลิกวีซ่าระหว่างไทย-จีน เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติให้ถึง 3 ล้านล้านบาทต่อปี แล้วกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ทุกจังหวัด
8. ศูนย์สร้างเถ้าแก่ใหม่ กองทุนคนเปลี่ยนงาน ศูนย์สร้างเถ้าแก่ใหม่ ให้คนรุ่นใหม่ และพนักงานบริษัท สามารถมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ลดงบกลาโหม 10% ยกเลิกเกณฑ์ทหาร เพื่อนำเงิน 2 หมื่นล้านบาท และเด็กรุ่นใหม่ของชาติมาสร้างธุรกิจ พร้อมตั้งกองทุนคนเปลี่ยนงาน พัฒนาทักษะใหม่ สร้างงาน สร้างธุรกิจให้พนักงานบริษัทที่ถูกเลิกจ้างจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
9. สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับธุรกิจของคนไทย จากปัจจุบันที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษีเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC พรรคเพื่อไทยต้องการให้ธุรกิจของคนไทย ธุรกิจของคนตัวเล็กทั่วประเทศได้มีโอกาสได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีเช่นเดียวกันด้วยบัตรทอง StartUp
10. สามสิบบาทยุคใหม่ สร้างสุขภาพดีถ้วนหน้า ยาดี รักษาดี ไม่ต้องรอคิว คนไทยต้องแข็งแรงก่อนแก่ ต้องได้ตรวจสุขภาพก่อนป่วย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคนไทยทุกคน

โชว์ 12 นโยบายด่วน‘รบ.บิ๊กตู่’ หนุนแก้ รธน.-ยกเครื่องระบบยุติธรรม-สางปัญหาทุจริต

(21ก.ค.62)

โชว์ 12 นโยบายเร่งด่วน ‘รบ.ประยุทธ์’ ก่อนแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ชัดหนุนให้มีการศึกษา-รับฟังความเห็นประชาชนเพื่อแก้ไข รธน. เน้นแก้ปัญหาการดำรงชีพ-ปรับปรุงระบบสวัสดิการ ออกมาตรการป้องกันความผันผวนเศรษฐกิจโลก ช่วยเหลือเกษตรกร นำเทคโนโลยีสมัยใหม่แก้ปัญหาทุจริต-เร่งรัดดำเนินคดี ยกเครื่องกระบวนการยุติธรรม

หมายเหตุสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2562 กองส่งเสริมและประสานงานคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งเอกสาคำแถลงนโยบายรัฐบาลจำนวน 80 หน้าที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แถลงต่อรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 25-26 ก.ค. 2562 ถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา โดยมีนโยบายหลักของรัฐบาล 12 ด้าน และนโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
@นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง
1. การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
โดยลดข้อจำกัดในการประกอบอาชีพของคนไทย การจัดการระบบการขนส่งสาธารณะผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ทบทวนรูปแบบและมาตรฐานหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อยังคงเอกลักษณ์ของเมืองหลวงแห่งร้านอาหารริมถนน ทำให้บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แก้ไขปัญหาหนี้สินและลดภาระหนี้สินของประชาชนในกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาหนี้สินนอกระบบ การฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนโดยครอบคลุมไปถึงการฉ้อโกงหลอกลวงผ่านระบบออนไลน์ปรับปรุงระบบภาษีและการให้สินเชื่อที่เอื้อให้ประชาชนสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ตามความพร้อม ปรับปรุงระบบที่ดินทำกินให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้จัดทำแนวทางการกำหนดสิทธิและการจัดการสิทธิในที่ดินของเกษตรกรที่เหมาะสม ลดอุปสรรคในธุรกิจประมงพาณิชย์และประมงชายฝั่ง รวมทั้งช่วยเหลือดูแลประมงพื้นบ้านโดยยังต้องสอดคล้องกับมาตรฐานด้านการประมงขององค์กรระหว่างประเทศ
2. การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยปรับปรุงระบบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและเบี้ยยังชีพของประชาชน อาทิผู้สูงอายุและคนพิการที่มีรายได้น้อย ผู้ยากไร้ผู้ด้อยโอกาส และพิจารณาขยายความครอบคลุมไปยังกลุ่มมารดาตั้งครรภ์เด็กแรกเกิด และเด็กวัยเรียนที่ครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจ และเร่งรัดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ ลดภาระการเดินทางไปสถานพยาบาลของประชาชน และลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ระบบการแพทย์ทางไกลและภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ
3. มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
โดยเร่งกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว จัดเตรียมมาตรการรองรับการกีดกันทางการค้าและมาตรการสนับสนุนเพื่อเพิ่มช่องทางการส่งออกให้ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า ปรับปรุงทิศทางการส่งออกไปยังตลาดอื่นโดยเร็ว ขยายความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจกับประเทศที่มีศักยภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งในส่วนของเมืองหลัก เมืองรอง และการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อกระจายรายได้ในรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน เพื่อสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศในช่วงที่มีข้อจำกัดด้านการส่งออก และส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
4. การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม
โดยจัดพื้นที่การเกษตรให้สอดคล้องกับระบบบริหารจัดการน้ําและคุณภาพของดินตาม Agri-Map กำหนดเป้าหมายรายได้เกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพในสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์ม อ้อย และข้าวโพด ด้วยการชดเชย การประกันรายได้ส่งเสริมระบบประกันภัยสินค้าเกษตร หรือเครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางวินัยการเงินการคลังของภาครัฐในระยะยาว ส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา และศึกษารูปแบบระบบแบ่งปันผลกำไรสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกร แก้ไขปัญหาข้าวครบวงจร
ส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรในอุตสาหกรรมพลังงาน สร้างนวัตกรรมและเครื่องมือทางการเกษตรในราคาที่เข้าถึงได้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ควบคุมมาตรฐานการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมีในการเกษตรเพื่อนำไปสู่การลด ละ เลิกการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมีโดยจัดหาสิ่งทดแทนที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ต่อยอดภูมิปัญญาและความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป
รวมทั้งเร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้กัญชา กัญชง และพืชสมุนไพรในทางการแพทย์อุตสาหกรรมทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ของประชาชน โดยกำหนดกลไกการดำเนินงานที่รัดกุม เพื่อมิให้เกิดผลกระทบทางสังคมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด
5. การยกระดับศักยภาพของแรงงาน
โดยยกระดับรายได้ค่าแรงแรกเข้าและกลไกการปรับอัตราค่าจ้างที่สอดคล้องกับสมรรถนะแรงงานควบคู่กับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานผ่านกลไกคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ควบคู่ไปกับการกำกับดูแลราคาสินค้าไม่ให้กระทบกับค่าครองชีพของประชาชน และสามารถจูงใจให้แรงงานพัฒนาตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนทักษะ และเปลี่ยนสายอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมาย และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
6. การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
โดยต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายและวางรากฐานการพัฒนาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ดึงดูดการลงทุนของภาคเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองอัจฉริยะ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รวมทั้งวางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในระบบ 5G ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และชุมชน ในการเข้าถึงตลาดในประเทศและตลาดโลกผ่านแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ในการให้บริการสาธารณสุขและการศึกษาทางไกล การสร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะทั้งในส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการยุคใหม่ พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต
7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21
โดยสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ในระบบดิจิทัล ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้มุ่งสู่ระบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ โปรแกรมเมอร์และภาษาต่างประเทศ ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพในทุกตําบล
ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ของสถาบันการศึกษาสู่สาธารณะ เชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจสร้างนักวิจัยใหม่และนวัตกรเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์และโครงข่ายสังคมออนไลน์ของคนไทยเพื่อป้องกันและลดผลกระทบในเชิงสังคม ความปลอดภัย อาชญากรรมทางไซเบอร์และสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง การสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีในสังคม รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต
8. การแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการประจำ
โดยเร่งรัดการดำเนินมาตรการทางการเมืองควบคู่ไปกับมาตรการทางกฎหมายเมื่อพบผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเฝ้าระวังการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างจริงจังและเข้มงวด และเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเมื่อพบผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ภาครัฐปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบโดยเร็วที่สุดพร้อมทั้งให้ภาคสังคม ภาคเอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริตประพฤติมิชอบ
9. การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
โดยเร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศทุกภูมิภาค ปราบปรามแหล่งผลิตและเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด ทั้งบริเวณชายแดนและพื้นที่ภายในฟื้นฟูดูแลรักษาผู้เสพผ่านกระบวนการทางสาธารณสุข สร้างโอกาส สร้างอาชีพ รายได้ และการยอมรับของสังคมสำหรับผู้ที่ผ่านการฟื้นฟูและเร่งสร้างความสงบสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดำเนินการ ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เร่งรัดการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ รวมทั้งจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ โดยให้เป็นการแก้ไขปัญหาภายในของประเทศด้วยกฎหมายไทยและหลักการสากล
10. การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน
โดยมุ่งสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่โปร่งใสตรวจสอบได้พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ ปรับปรุงระบบการอนุมัติและอนุญาตของทางราชการที่สำคัญให้เป็นระบบดิจิทัลทั้งบุคคลและนิติบุคคลเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากเกินความจำเป็นลดข้อจำกัดด้านกฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการทำธุรกิจและการดำรงชีวิตของประชาชนแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ผ่านการทดลองใช้มาตรการด้านกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และขับเคลื่อนการให้บริการในทิศทางที่ตรงกับความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจ
11. การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัยตั้งแต่การป้องกันก่อนเกิดภัย
การให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดภัย และการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยจัดระบบติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุดและทันท่วงทีรวมทั้งพัฒนาการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
12. การสนับสนุนให้มีการศึกษา การรับฟังความเห็นของประชาชน และการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
@นโยบายด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรม
1.แก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ
โดยจัดให้มีมาตรการและระบบเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันและลดการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างจริงจังและเข้มงวดรวมทั้งเป็นเครื่องมือในการติดตามการแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเป็นระบบพร้อมทั้งเร่งสร้างจิตสำนึกของคนในสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้อง ชอบธรรมและสนับสนุนทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริตประพฤติมิชอบ
2.ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
โดยส่งเสริมให้มีรูปแบบการลงโทษอื่นที่ไม่ใช่โทษอาญาตามหลักสากล มุ่งเน้นยกระดับการพัฒนาระบบ แก้ไข บำบัด ฟื้นฟูผู้กระทำผิด ส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน พัฒนาประสิทธิภาพระบบการสืบสวนสอบสวนด้านการปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ กำหนดมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงำใด ๆ พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้ดำเนินงานสอดประสานกันอย่างเป็นองคาพยพ เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อขัดแย้งและกรณีพิพาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการทำงานเชิงรุก
รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้สามารถอำนวยความยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรมเสมอภาค โปร่งใส รวดเร็ว ทั่วถึง และปราศจากการเลือกปฏิบัติสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมได้และสร้างสังคมที่พัฒนาอย่างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมาย พัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติและเป็นธรรม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จำเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวกและรวดเร็ว