PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว12ม.ค.58

ประชุม กมธ.ยกร่างวันแรก

"เทียนฉาย" นัดประชุม สปช. พิจารณากรรมาธิการมีส่วนร่วมรับฟังความเห็นประชาชน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ นัดสมาชิกประชุมในเวลา 09.30 น. เพื่อพิจาณารายงานที่คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พิจารณาเสร็จแล้ว คือ รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จากนั้น พิจารณาเรื่องที่เสนอใหม่ ในการเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง ระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรมในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ประสงค์จะขอปรึกษาหารือ ให้แจ้งความจำนงต่อเจ้าหน้าที่ในห้องประชุมได้ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 09.00 น. ซึ่งเจ้าหน้าที่จะจัดเรียงลำดับ ตามเวลาการยื่น โดยสมาชิกมีเวลาการปรึกษาหารือ ท่านละไม่เกิน 2 นาที

ขณะที่บรรยากาศการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด
---------------
สมาชิก สปช. ทยอยประชุม ขณะ บวรศักดิ์ นัดพิจารณาเขียนรัฐธรรมนูญรายมาตรา เปิดสื่อร่วมฟังด้วย

บรรยากาศก่อนการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ล่าสุด สมาชิก สปช. เริ่มทยอยเข้าเตรียมตัวประชุมที่จะเริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น. แล้ว ขณะเดียวกัน เช้านี้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดประชุม เพื่อพิจารณาเขียนเป็นรายมาตรา ภายหลังจาก คณะอนุกรรมาธิการบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ชุดที่มี นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ดำเนินการพิจารณาร่างเบื้องต้น โดยยึดกรอบตามมติ ของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และความคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมถึงความเห็นตัวแทนพรรคการเมืองและกลุ่มเห็นต่างทางการเมืองต่างๆ ส่งรายละเอียดข้อเสนอแนะมา

ทั้งนี้ ในการประชุมใหญ่เพื่อพิจารณารายละเอียดในรายมาตราวันนี้ จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าร่วมฟังการประชุมด้วย
------------------
สนช. รอสรุป ข้อสงสัย-ซักถาม ประเด็นถอดถอน ตามกรอบเวลา ยังไม่พบปัญหาอุปสรรค แนะ ปชช.ติดตามฟังคำชี้แจงใกล้ชิด 

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการกิจการ สนช. (วิป สนช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถสรุปจำนวนข้อซักถามหรือข้อสงสัย ในประเด็นการพิจารณาถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา, นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. รวมถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมตรี ในประเด็นโครงการรับจำนำข้าว เพราะต้องรอการสรุปอย่างเป็นทางการ ตามที่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาการส่งอีกครั้ง

ทั้งนี้ น.พ.เจตน์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า เบื้องต้นจะมีการพิจารณาตามกรอบ ที่ประธาน สนช. ได้นัดหมาย ประชุมพิจารณาข้อซักถาม ในวันที่ 15 และ 16 ม.ค.นี้ ตามลำดับ ซึ่งยังไม่พบอุปสรรค หรือข้อติดขัดแต่อย่างใด พร้อมกับแนะนำให้ประชาชน ที่ติดตามทั้ง 2 คดี ติดตามต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ทำความเข้าใจในข้อชี้แจงต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนด้วย
--------------------
สปช. เริ่มประชุมแล้ว พิจารณาคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

บรรยากาศการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้เริ่มต้นการประชุมแล้ว โดยมีวาระเพื่อพิจารณารายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ลงพื้นที่จัดเวทีเสวนา โดยมีแผนงานการสัญจรเพื่อบันทึกรายการ สปช. เสียงประชาชน โครงการสื่อสารสาธารณะ ผ่านรายการจุดเปลี่ยนประเทศไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการสื่อสารของ สปช. ผ่านรายการดังกล่าว รวมถึงการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องกระบวนการผลิตและออกอากาศรายการ เพื่อหวังว่าจะเป็นการให้ข้อมูลและกระตุ้นความตื่นตัวเชิงประเด็นแก่สังคมนำไปสู่การมีส่วนร่วมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังจัดโครงการร่วมกันหาทางออกประเทศไทย ในอีก 20 ปี ข้างหน้าในรูปแบบกระบวนการประชาเสวนา
------------------------
กมธ.เตรียมเริ่ม เดินสายรับฟังความคิดเห็น ปชช. ตจว. สุดสัปดาห์นี้ ประเดิม สุพรรณบุรี ก่อนไป อีสาน 3 จังหวัด 

นางถวิลวดี บุรีกุล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวถึง กระบวนการการรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ว่าจะเริ่มเวทีแรกที่ จ.สุพรรณบุรี จัดตั้งแต่วันที่ 17-18 ม.ค.มีประชาชนเข้าร่วม ประมาณ 200 คน จากการสุ่มคัดเลือกชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มเฉพาะ อาทิ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มเด็กเยาวชน ซึ่งจะมีการเชิญจากจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วม จากนั้นจะจัดที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 เวที โดยเริ่มที่ จังหวัดร้อยเอ็ด อุดรธานี และ สุรินทร์

ทั้งนี้ สามารถเสนอความเห็นความคาดหวังที่ต่อประเทศชาติผ่านกติกาการรับฟังที่จะไม่ให้เกิดการโต้แย้งกัน สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะฝ่ายประมวลความเห็นจะนำความเห็นแยกเป็นกลุ่มสามารถที่สอดคล้องกับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องการสร้างความปรองดอง การปราบปรามการทุจริตเป็นต้น ก่อนจะเสนอให้กรรมาธิการยกร่างพิจารณาเป็นระยะๆ ซึ่งที่ผ่านมา ความเห็นจากฝ่ายต่างๆ มีการสรุปส่งให้กรรมาธิการยกร่างฯ ทุกสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม นอกจาก 10 เวทีแล้ว ยังมีเวทีสาธารณะที่ภาคประชาสังคมจัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในกลุ่มอื่นๆ และผู้เห็นต่างเข้าร่วมด้วย
--------------------
สมาชิก สปช. อภิปรายแนวทางการเปิดรับฟังความคิดเห็น , ทิศทางปฏิรูปประเทศ พร้อมหารือ แก้ปัญหาความเดือนร้อนประชาชน

สำหรับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ล่าสุด อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานความคืบหน้า การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาเสร็จแล้ว พร้อมเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง ถึงการเปิดรับฟังความคิดเห็น

ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ในฐานะประธานในที่ประชุม ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือถึงความเดือดร้อนของประชาชน รวมถึง ทิศทางการปฏิรูปประเทศ ทั้งเรื่องของการปราบปรามการทุจริต และการจัดกิจกรรมของสมาชิก สปช. สัญจรไปยังจังหวัดต่าง ๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มาประกอบการปฏิรูปประเทศให้ตรงกับสังคมไทยมากที่สุด
-------------------
กมธ.ยกร่าง รธน. พิจารณาเนื้อหารายมาตราแล้ว แบ่งเป็น 4 ภาค ล่าสุด ผ่านมาตรา 5 แล้ว

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด สมาชิก ได้มีการพิจารณาเป็นรายมาตรา โดยแบ่งออกเป็น 4 ภาค ดังนี้  ภาค 1 พระมหากษัตริย์และประชาชน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  และภาค 4 การปฏิรูปและสร้างความปรองดอง ซึ่งขณะนี้ ได้มีการอภิปรายในหมวดที่ 1 บททั่วไป โดยเฉพาะมาตรา 3 มีการถกเถียงเรื่องอำนาจอธิปไตยที่มีการเสนอให้ระบุว่า องค์กรอิสระ เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยได้ ขณะที่ในส่วนมาตรา 5 มีการถกเถียงเรื่องการคุ้มครองถึงรัฐธรรมนูญ ที่มีต่อประชาชนชาวไทย โดยเสนอว่า ไม่จำเป็นต้องระบุความเป็นเพศและเหล่ากำเนิดของประชาชน เพราะทุกคนถือเป็นคนไทยทั้งสิ้น และล่าสุด เข้าสู่การพิจารณาในมาตราที่ 6 แล้ว
---------------------
ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดสมาชิกประชุม เพื่อพิจารณาเขียนเป็นรายมาตราะถือเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมรับฟังด้วย

 โดยวันนี้นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดสมาชิกประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ภายหลังที่คณะอนุกรรมาธิการได้พิจารณายกร่างเป็นรายมาตราแล้วเสร็จและถือเป็นวันแรกที่เปิดให้สื่อมวลชนเข้ารับฟัง แต่ก็มีกฎเกณฑ์ให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อาทิ ห้ามนำเสียงช่วงที่มีการถกเถียงหรือการอภิปรายออกอากาศ รวมถึงห้ามระบุชื่อสมาชิกที่มีการถกเถียงในมาตรานั้นๆ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้สมาชิกกรรมาธิฯ ได้อภิปรายเป็นรายมาตรา แบ่งออกเป็น 4 ภาค ดังนี้ ภาค1 พระมหากษัตริย์และประชาชน ภาค2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ภาค3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และภาค4 การปฏิรูปและสร้างความปรองดอง ซึ่งขณะนี้ ได้มีการอภิปรายในหมวดที่ 1 บททั่วไป โดยเฉพาะมาตรา 3 มีการถกเถียงเรื่องอำนาจอธิปไตยที่มีการเสนอให้ระบุว่า องค์อิสระเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยได้ ขณะที่ในส่วนมาตรา 5 มีการถกเถียงเรื่องการคุ้มครองถึงรัฐธรรมนูญมี่มีต่อประชาชนชาวไทย โดยในการเสนอว่าไม่จำเป็นต้องระบุความเป็นเพศและเหล่ากำเนิดของประชาชน เพราะทุกคนถือเป็นคนไทยทั้งสิ้น

ขณะเดียวกัน ด้านนางถวิลวดี บุรีกุล ประธานคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันที่ 17- 18 มกราคมนี้ อนุกรรมาธิการจะลงพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และในวันที่ 24 - 25 มกราคม จะลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้ประชาชนร่วมกันแสดงความคิดเห็นออกแบบประเทศไทย อาทิ รูปแบบการปรองดอง โดยจะได้ข้อสรุปมาเสนอ กมธ.ยกร่างฯ และเชื่อว่าหากทุกฝ่ายร่วมเสนอความเห็นจะไม่เกิดความขัดแย้ง เพราะทุกฝ่ายอยู่ภายใต้กติกาเดียวกัน
---------------
กมธ.ยกร่าง รธน.พิจารณาเนื้อหารายมาตรา ถึง ม.7 ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ก่อนพักการประชุม 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญล่าสุด สมาชิกกรรมาธิการฯ อยู่ระหว่างการอภิปรายมาตรา 7 ซึ่งได้ถกเถียงกันเรื่อง ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยสมาชิกส่วนใหญ่เสนอให้ตัดมาตรา 7 วรรค 2 ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยในกรณีที่เกิดปัญหามาแล้วรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดกติกาไว้ เนื่องจาก อาจทำให้เกิดการตีความคลาดเคลื่อน

นอกจากนี้ สมาชิกบางส่วนได้เสนอให้ย้ายมาตรา 7 วรรค 2 ไปไว้ในหมวดของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 1 ถึงมาตรา 6 ได้มีการอภิปรายไปเรียบร้อยแล้ว และไม่มีสมาชิกกรรมาธิการฯ ติดใจอะไร ให้ถือว่าเป็นการลงมติเห็นชอบไปเลย
--------------------
"ประชา เตรัตน์" ชงให้  กระทรวงมหาดไทย จัดเลือกตั้ง ต่อที่ประชุม สปช. ส่วน กกต.ทำหน้าที่ตรวจสอบ

บรรยากาศการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ล่าสุด อยู่ในระหว่างการอภิปราย สปช. เรื่อง ระบบเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรมในประเทศไทยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร นายประชา เตรัตน์ กล่าวว่า เห็นควรให้ยกเลิก คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้จัดการเลือก เนื่องจากเห็นว่า ควรแยกฝ่ายที่ควรควบคุมการออกจากผู้ดำเนินการเลือกตั้ง เพื่อสะดวกในการจับผิดและลงโทษ โดยเสนอให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินการเลือกตั้ง และมี กกต. เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งหากพบว่า มีเจ้าหน้าที่คนใดส่อว่าจะทุจริตการเลือกตั้ง สามารถสั่งย้ายออกจากพื้นที่ได้ทันที และหาก กกต. สั่งการยกเลิกเลือกการเลือกตั้งในพื้นที่ใด เจ้าหน้าที่ในเขตดังกล่าวจะต้องถูกลงโทษทางวินัยและอาจหมายรวมถึงโทษทางคดีอาญาด้วย เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ ยังเห็นว่า ควรมีการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง และชี้ให้ประชาชนเห็นว่าไม่มีนักการเมืองคนใดที่ซื้อเสียงแล้วไม่ถอนทุนคืน

อย่างไรก็ตาม นายประชา ยังกล่าวว่า ไม่อยากให้มองว่า การให้ กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้จัดการเลือกตั้งเป็นการยื่นดาบให้กับโจร เพราะถือเป็นการดูถูกกันอย่างร้ายแรง
-------------------
สปช. อภิปราย ระดมความเห็นเพื่อทำให้ระบบการเลือกตั้งบริสุทธิ์ เป็นธรรมต่อเนื่อง "ธีระศักดิ์" ชี้ ปัญหาเกิดจากธุรกิจการเมือง

บรรยากาศการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ล่าสุดอยู่ระหว่างการเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก สปช. เรื่อง ระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรมในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร โดย นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ สมาชิก สปช. ได้ระบุถึงมูลเหตุของการทุจริตเลือกตั้ง ที่โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่ศูนย์กลาง เป็นเหตุให้มีการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง ก่อให้เกิดธุรกิจการเมืองในประเทศไทย รวมถึงการจัดการเลือกตั้งมีปัญหา เกิดการทุจริต

ดังนั้น การปฏิรูปครั้งนี้ ต้องเปลี่ยนทิศทางการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ยึดหลักการกระจายอำนาจ สภานิติบัญญัติ ต้องมีบทบาทอย่างแท้จริงและกลไกการเลือกตั้ง ที่ให้อำนาจหน้าที่ชัดเจนในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ปลอดจากการเมืองครอบงำ
-------------
"สมชัย" ขอโทษแจง โพสต์ "ยื่นดาบให้โจร" ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ยันไม่ได้หมายถึง ขรก.มหาดไทย ไม่ยึดติดกับการจัด ลต.

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการการเลือกตั้ง กล่าวถึงกระแสข่าวหลังโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ จัดการเลือกตั้ง เป็นการยื่นดาบให้โจร นั้น โดยระบุว่า ก่อนหน้านี้อาจเกิดความไม่เข้าใจในการสื่อสาร โดยยืนยันว่า สิ่งที่กล่าวไปนั้น ไม่ได้กล่าวถึงข้าราชการกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการประจำ แต่หมายถึงนักการเมืองที่เข้ามาทุจริตและมุ่งใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือ ซึ่งหลังจากการพูดคุยในวันนี้ ตนและข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เห็นพ้องว่า เป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญในการกำหนดและมอบหมายหน่วยงานที่มีความเหมาะสมในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนตัวยืนยันไม่ยึดติดกับการจัดการเลือกตั้ง แต่ขอให้ไตร่ตรองให้รอบด้านและคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ด้าน สหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอขอบทุกฝ่ายที่ได้ชี้แจงให้ ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง โดยจะนำไปชี้แจงให้ข้าราชการรับทราบ พร้อมกันนี้ ได้เสนอให้จัดตั้งกลไกกรรมการหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมให้ กกต. นำไปพิจารณาอีกด้วย
//////////////
กอดถอน
"สุวพันธุ์" ยัน วิป รบ. ไม่ได้หารือประเด็นถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" เชื่อหากมีคำชี้แจงได้ ไม่ส่งผลกระทบการทำงานรัฐบาลแน่นอน

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป รัฐบาล) กรณีมีข้อสังเกตที่ สนช. เตรียมข้อซักถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาถอดถอนในคดีรับจำนำข้าว วันที่ 15-16 มกราคมนี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ ว่า ในวิปรัฐบาลไม่ได้พูดคุยกันถึงเรื่องดังกล่าว คิดว่าทุกเรื่องมีทางออกของตัวเอง หากดำเนินการด้วยความถูกต้องชอบธรรมและเป็นไปตามข้อกฎหมายและมีคำอธิบายให้กับสังคมได้การทำงานก็เดินต่อไปได้ ยังเชื่อมั่นว่าทุกอย่างจะเดินไปได้

ส่วนความกังวลว่าผลการถอดถอนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ออกมาจะทำให้เกิดความไม่พอใจของคนบางกลุ่มและส่งผลให้งานของรัฐบาล และ สนช. สดุดลงนั้น นายสุวพันธุ์ เชื่อว่าหากทุกอย่างมีคำชี้แจงที่อธิบายได้ ทุกอย่างจะยังเดินต่อไปได้ และรัฐบาลเองก็มีหน้าที่ขับเคลื่อนให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนที่หลายคนมองว่าคดีรับจำนำข้าวเป็นเรื่องทางการเมืองมากกว่าการเอาผิดทางกฎหมาย นายสุวพันธุ์ กล่าวย้ำว่า ยังยึดตามคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ให้ดำเนินการตามข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง
---------------------
"พรเพชร" ยันไร้ใบสั่งจาก คสช. ปมถอดถอน ย้ำยึดตามกฎหมาย แนะคู่กรณีมาชี้แจงข้อซักถามด้วยตนเอง 

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวยืนยันว่า สนช. ไม่ได้รับคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. รวมถึงผู้มีอำนาจให้ดำเนินการกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะ สนช. จะใช้ดุลยพินิจพิจารณาที่ยึดหลักของกฎหมายส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง สนช. และ คสช. เพียงทำงานร่วมกันตามโรดแมปเท่านั้น จึงไม่อยากให้มีการเสนอข่าวที่สร้างความกดดันกับการทำงานของ สนช.

ทั้งนี้ สำหรับขั้นตอนการซักถามที่ประชุมในสัปดาห์นี้นั้น นายพรเพชร ระบุว่า คู่กรณีที่มาในวันแถลงเปิดคดีควรมาชี้แจงข้อซักถามด้วยตนเอง แต่หากไม่มาถือเป็นดุลยพินิจของคู่กรณี เนื่องจากกฎหมายไม่สามารถบังคับได้ส่วนการกำหนดวันแถลงลงมติตามที่เป็นข่าวคือวันที่ 23 มกราคม นี้ เป็นเพียงการคาดการณ์เบื้องต้นเท่านั้น
---------------------
"สุวพันธุ์" เผย "วิษณุ" นัด สนช.-สปช. หารือตามคำสั่งนายกฯ แล้ว 15 ม.ค. นี้ ยันไม่มีอะไรพิเศษ แค่ปรึกษาหารือทำความเข้าใจร่วมกัน

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ตนและ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ประสานงานกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปชาติ (สปช.) ว่า ในวันที่ 15 มกราคม เวลา 16.30 น. ที่อาคารรัฐสภา จะมีการพูดคุยหารือกันซึ่งไม่ได้มีการเร่งรัดอะไรเป็นพิเศษ แต่นายกรัฐมนตรีปรารภว่า ข้อเสนอต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ สปช. ในหลาย ๆ เรื่องนั้น อยากเห็นรายละเอียดว่าจะดำเนินการ

อย่างไร อาทิ เรื่องการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารงานส่วนท้องถิ่น เป็นอย่างไรบ้าง เพราะเกี่ยวพันกับรัฐบาล สิ่งที่ สปช. มีข้อเสนอมา รัฐบาลมีความพร้อมหรือไม่ที่จะหยิบมาพิจารณา จึงต้องพูดคุยให้เกิดความเข้าใจตรงกันของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งไม่ได้เป็นการให้รัฐบาลไปตั้งเป้าหมายให้ สนช. และ สปช. แต่อย่างใด
--------------
กมธ.ปฏิรูปการเมือง ชี้ความขัดแย้งมี 3 สาเหตุ เกิดจากความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ด้าน "เอกชัย" แนะ ปรองดอง ไม่ควรเร่งรีบ

บรรยากาศที่รัฐสภาล่าสุด มีการประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง โดยมี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการสร้างความปรองของชาติ ร่วมกับหน่วยงานของ สปช. สนช. และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดอง จำนวน 9 หน่วยงาน

นายนิพล นาราพิทักษ์กุล รองประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการเมือง สนช. กล่าวว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศขณะนี้เกิดจาก 3 สาเหตุ คือ ความแตกต่างทางอุดมการณ์ระหว่างประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความขัดแย้งทางสีเสื้อ และความเลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งตนมองว่า การแก้ไขปัญหาและสร้างความปรองดองในระดับประเทศนั้นควรเน้นการพูดคุยกันเช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัดในภาคใต้

ด้าน พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. กล่าวว่า การสร้างความปรองดองไม่ควรเร่งรีบ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญแล้ว เพราะเชื่อมั่นว่าคนที่มาจากการเลือตั้งเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง และในส่วนของกระบวนการรับฟังความเห็นของภาคประชาชนควรระวังไม่ให้เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าเดียวกัน
-------------------------
บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ พิจารณาเป็นรายมาตรา โดยหมวดบททั่วไปมีทั้งสิ้น 7 มาตรา และใช้เวลาพิจารณาเรื่องมาตรา7 วรรค 2 กรณีให้อำนาจศาลรัฐ

ธรรมนูญที่จะเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด ซึ่งกรรมาธิการหลายราย มีความเห็นให้ไปกำหนดไว้ในหมวดของศาล ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าที่ผ่านมามีปัญหาความไม่ชัดเจนในมาตรานี้เพื่อไม่เกิดปัญหากรณีพระราชอำนาจ จึงกำหนดให้ มาตรา 7 บัญญัติว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้การกระทำหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกระทำหรือการวินิจฉัยกรณีใดตามวรรคหนึ่ง สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด หรือ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตนก็ได้ แต่สำหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดให้กระทำได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีและเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

ขณะที่หมวดพระมหากษัตริย์ กำหนดไว้ทั้งสิ้น 18 มาตรา เนื่อหาเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี2550 ไม่มีการแก้ไข แต่มีการถกเถียงและสงวนให้มีการแก้ไข ในเรื่องคุณสมบัติขององคมนตรีที่ ตามมาตรา7 ของหมวดพระมหากษัตริย์ กำหนดให้ครอบคลุมถึงการห้ามไม่ให้องคมนตรีดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสหกิจด้วย

 ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวยืนยันว่า สนช. ไม่ได้รับคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. รวมถึงผู้มีอำนาจ ให้ดำเนินการกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะม สนช. จะใช้ดุลพินิจพิจารณาที่ยึดหลักข้อกฎหมาย ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง สนช.และ คสช. เพียงทำงานร่วมกันตามโรดแมปเท่านั้น จึงไม่อยากให้มีการเสนอข่าวที่สร้างความกดดันการทำงานของ สนช.

โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่าง ระบุว่าจะมีการพิจารณารายมาตราไปจนถึงวันที่ 16 มกราคม
------------------------
"เอนก" เผย รธน.ใหม่ เสนอตั้ง กมธ.ปรองดอง เชื่อสำเร็จใน 4 ปี ย้ำไม่นิรโทษความผิดคอร์รัปชั่น-มาตรา 112

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง กล่าวในการประชุมเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการสร้างความปรองของชาติว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถาวร คณะกรรมาธิการได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการมาทำหน้าที่ในการสร้างความปรองดอง ภายในระยะไม่เกิน 4 ปี รวมถึงบัญญัติให้ประธานและรองประธานรัฐสภาจะต้องลาออกจากพรรคเมื่อได้รับตำแหน่ง เพื่อลดความเป็นฝ่ายในสภา ส่วนการนิรโทษกรรมจะละเว้นผู้ที่กระทำความผิดที่รุนแรง อาทิ ความผิดเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น มาตรา 112 และ 113

ด้าน นายทวีศักดิ์ สูทกวานิทิน ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านระบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง สนช. กล่าวว่า บรรยากาศการปฏิรูปประเทศในขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างความปรองดอง โดยเสนอให้ปรับปรุงกฎหมายและกระบวนยุติธรรมให้ยืดหยุ่นกว่าปัจจุบัน เพื่อให้ตุลาการศาลสามารถใช้ดุลยพินิจได้มากกว่าที่เป็นอยู่
-------------------------
"คำนูณ" เผย กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาในหมวด 1 พระมหากษัตริย์ทั้ง 18 มาตราแล้ว เริ่มพิจารณาในหมวด 2 ประชาชน

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ขณะนี้ได้พิจารณาในหมวดทั่วไปทั้ง 7 มาตราแล้ว โดยมาตรา 1 ถึงมาตรา 6 ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม มีเพียงมาตรา 7 ที่มีการแก้ไขบางตอน ที่ว่าด้วย เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุดจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ ทั้งนี้ เนื้อความส่วนใหญ่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540

นอกจากนี้ นายคำนูณ ยังได้ปฏิเสธเรื่องการเปิดทางให้นายกรัฐมนตรีมาตรา 7

ทั้งนี้ คาดว่าในวันศุกร์นี้จะต้องพิจารณาให้ได้ 89 มาตรา

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาหมวด 1 พระมหากษัตริย์ทั้ง 18 มาตราเรียบร้อยแล้ว และเริ่มพิจารณาในหมวด 2 ประชาชน
--------------------------

ปลัด ก.พาณิชย์ แจ้งความร้องทุกข์ ตร.ป. กรณีข้าวไม่เป็นตามสัญญาในโครงการจำนำข้าว กับคู่สัญญา

นางสาวชุติมา ณยประภัสร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. เข้าพบตำรวจกองปราบปราม เพื่อแจ้งความร้องทุกข์หลังจากที่ นบข. มีมติให้องค์การคลังสินค้า หรือ อคส. และองค์การตลาดเพื่อการเกษตร หรือ อ.ต.ก. ดำเนินคดีกับคู่สัญญา กรณีที่ตรวจสอบพบคุณภาพข้าวไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ในโครงการรับจำนำข้าว

นางสาวชุติมา เปิดเผยว่า อคส. สรุปข้าวที่ไม่ได้คุณภาพเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผิดชนิดข้าว 5 ราย จำนวน 5 จังหวัด 10 โกดังกลาง กลุ่มข้าวเสีย 13 ราย จำนวน 22 จังหวัด 94 โกดังกลาง และกลุ่มข้าวไม่ตรงตามมาตรฐาน จำนวน 59 ราย 51 จังหวัด 652 โกดังกลาง รวมทั้งสิ้น 3.6 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท ส่วนรายละเอียดว่า มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้เป็นกลุ่มใดบ้าง เป็นหน้าที่ของตำรวจต้องไปรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งพบว่า มีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้อง ต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อน และส่งเรื่องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. สอบสวนอีกครั้ง

ขณะที่ พันตำรวจเอก ณษ เศวตเลข รองผู้บังคับการกองปราบปราม เปิดเผยว่า พนักงานสอบสวนกองปราบปราม จะต้องแยกกลุ่มคู่สัญญาว่า มีผู้มีส่วนเกี่ยวเป็นกลุ่มใดบ้าง และมีรายละเอียดในการทำสัญญาอย่างไร จากนั้นจะส่งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาตั้งคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศ

---------------

เจ้าหน้าที่ รวบตัว "เชาวรินทร์" อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย คดีแฮกข้อมูลการโอนเงิน จำนวน 11 ล้านบาทได้แล้ว ขณะจะเดินทางไปญี่ปุ่น

นายพิทักษ์ ศรีนวกุล ตัวแทน บริษัท บีพีซี ของประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นบริษัทค้าปูนซีเมนซ์ ผู้เสียหายจากกรณีที่ ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ลัทธศักดิ์ศิริ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และอดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ข้อหาฉ้อโกงและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ได้มีการแฮกข้อมูลการโอนเงินของบริษัท เข้าบัญชีของ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีชื่อเป็นกรรมการ เป็นจำนวนเงิน 11 ล้านบาท เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา เดินทางมาติดตามความคืบหน้าของคดีดังกล่าวที่ สน.ดุสิต

โดย นายพิทักษ์ เปิดเผยว่า เหตุเกิดจากที่บริษัทเป็นคู่ค้ากับบริษัททีพีไอมานานมาก และมีการสั่งซื้อปูนซีเมนต์ผ่านทางอีเมล์ของบริษัทเป็นประจำ แต่ในวันที่เกิดเหตุมีการตรวจสอบพบว่าข้อมูลในอีเมล์ของบริษัทถูกแฮกเปลี่ยนข้อมูลให้มีการโอนเงินเข้าไปในบัญชีของสมาคมที่ ร.ต.ท.เชาวรินธร์ เป็นกรรมการอยู่ และจากการทวงถาม ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ให้การว่ามีเงินจำนวนดังกล่าวโอนเข้ามาจริง แต่คิดว่าเป็นเงินที่มีผู้บริจาคให้กับทางสมาคมจึงได้ทำการกดออกไปใช้จ่ายแล้ว ซึ่งทางบริษัทก็ได้นำหลักฐานต่าง ๆ มายืนยันจน ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ยินยอมที่จะคืนเงินให้ พร้อมจะมีการไกล่เกลี่ยกัน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็มีการออกหมายเรียกถึง 2 ครั้ง แต่ผู้ต้องหาก็ยังให้การบ่ายเบี่ยงที่จะเข้ามาให้ปากคำ อ้างว่าติดหาเสียงบ้าง ติดธุระบ้างจนเป็นเหตุให้ทางเจ้าหน้าที่ต้องขออนุมัติศาลออกหมายจับไปเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา จนเจ้าหน้าที่มาจับได้ขณะที่ผู้ต้องหากำลังจะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในวันนี้

ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังควบคุมตัวมาที่ สน.ดุสิต เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

----------------------
คุม "ร.ต.ท.เชาวรินธร์" ฝากขังศาลอาญาวันนี้ หลังคุมตัวได้ก่อนออกนอกประเทศ ในคดีฉ้อโกง ด้านผู้ต้องหาเตรียมยื่นประกัน

เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดุสิต คุมตัว ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ลัทธศักดิ์ศิริ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และอดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ข้อหาฉ้อโกงและนำเข้าสู่
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ขณะจะเดินทางออกนอกประเทศ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มาสอบปากคำเพิ่มเติมที่ สน.ดุสิต ก่อนนำตัวไปฝากขังที่ศาล
อาญา ถ.รัชดาภิเษก ในวันนี้

โดยกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งมีบริษัท บีพีซี ของประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นบริษัทค้าปูนซีเมนซ์ เป็นผู้เสียหายหลังมีการตรวจสอบพบว่าข้อมูลในอีเมล์ของบริษัทถูกแฮกเปลี่ยนข้อมูลให้มีการโอนเงินเข้าไปในบัญชีของสมาคมที่ ร.ต.ท.เชาวรินธร์ เป็นกรรมการอยู่ และจากการทวงถาม ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ให้การว่ามีเงินจำนวนดังกล่าวโอนเข้ามาจริง พร้อมจะมีการไกล่เกลี่ยกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงออกหมายเรียกถึง 2 ครั้งเพื่อเข้ามาให้ปากคำและเจรจา แต่ผู้ต้องหาก็ยังให้การบ่ายเบียงที่จะเข้าให้ปากคำ อ้างว่าติดธุระจนเป็นเหตุให้ทางเจ้าหน้าที่ต้องขออนุมัติศาลออกหมายจับไปเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา และมาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคุมตัวได้ในวันนี้

เบื้องต้น ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา บอกเพียงว่าเข้าใจว่าเป็นเงินบริจาคของสมาคมจึงนำออกมาใช้จ่าย ถ้าเป็นเงินของผู้เสียหายจริงก็ให้นำเอกสารมายืนยัน ก็พร้อมจะคืนให้ เจ้าหน้าที่จึงคุมตัวไปฝากขังที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งทางผู้ต้องหาก็เตรียมยื่นประกันตัวในชั้นศาล ด้านอัยการ และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีการคัดค้านการประกันตัวแต่อย่างใด โดยอัยการ กล่าวว่า
อยู่ที่ดุลยพินิจของศาลเท่านั้น
------------------
ศาลให้ประกัน เชาวรินธ0ร์ อดีต ส.ส.เพื่อไทย โกงเงิน บ.BPC 10 ล้านบาท หลังยื่นหลักทรัพย์ 1 ล้านบาทขอปล่อยตัว-สั่งห้ามออกนอกประเทศ

พ.ต.ท.อัครชัย แช่มช้อย พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ได้ควบคุมตัว ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ลัทธศักย์ศิริ อายุ 68 ปี อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคเพื่อไทย ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีฉ้อโกง มายื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลครั้งแรกเป็นเวลา 12 วัน ระหว่างวันที่ 12 ม.ค. - 23 ม.ค. 58 เนื่องจากการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ มีพยานต้องสอบเพิ่มอีก 5 ปาก และรอผลการตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหาจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร

จากกรณี เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 57 ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ผู้ต้องหากับพวก ได้ร่วมกันยักยอกเงินกว่า 10 ล้านบาท จากบริษัท บี.พี.ซี. เทรดดิ้ง จำกัด (ประเทศกัมพูชา) ที่ได้สั่งซื้อสินค้าจำพวกปูนซีเมนต์จากบริษัท ทีพีไอโพลิน พลับบลิค จำกัด (ประเทศไทย) ผ่านทางอีเมล์ในชื่อ thongn@ksc.th.com โดยบริษัท ทีพีไอโพลีน ได้ออกหลักฐานใบสำคัญเก็บเงินค่าสินค้า เป็นเงินจำนวน 352,781 ยูเอสดอลลาห์ (11,428,308.40 บาท) โดยให้บริษัท บี.พี.ซี. โอนเงินชำระค่าสินค้าเข้าบัญชีชื่อบริษัท ทีพีไอโพลีนฯ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) แต่คนร้ายกลับเปลี่ยนแปลงแก้ไขใบสำคัญเก็บเงินค่าสินค้าของบริษัท ทีพีไอโพลีน โดยให้บริษัท บี.พี.ซี. โอนเงินค่าสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้าเข้าบัญชีของบริษัท ที.ซี.บี.เอ.แอนด์โพลีนพลับบลิค กว่า 10 ล้านบาท จากนั้นผู้ต้องหาได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยทุจริต

การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต่อมา รตท.เชาวรินธร์ ยื่นหลักทรัพย์ กว่า 1 ล้านบาท เพื่อขอประกันตัวศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันตัวได้ โดยตีราคาประกัน 1 ล้านบาท พร้อมสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
---------------------------
ตร.สน.ดุสิต คุมตัว ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ฉ้อโกงเงิน 10 ล้าน ฝากขังผลัดแรกแล้ว

พ.ต.ท.อัครชัย แช่มช้อย พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ได้ควบคุมตัว ร.ต.ท.เชาวรินธร์ ลัทธศักย์ศิริ อายุ 68 ปี อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคเพื่อไทย ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีฉ้อโกง ภายหลังจากผู้ต้องหาปลอมแปลงบัญชี และให้บริษัท บี.พี.ซี. โอนเงินค่าสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้าเข้าบัญชีของบริษัท ที.ซี.บี.เอ. แอนด์โพลีนพลับบลิค จำกัด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขารัฐสภา ชื่อบัญชีไทยแอนด์ไชยนีส บุดดิส คัลเจอร์ แอสโซซิเอชั่น จากนั้นผู้ต้องหาได้ถอนเงินกว่า 11 ล้านบาทไปโดยทุจริต

ทั้งนี้ ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลครั้งแรกเป็นเวลา 12 วัน ระหว่างวันที่ 12 ม.ค. - 23 ม.ค. 58 เนื่องจากการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ มีพยานต้องสอบเพิ่มอีก 5 ปาก และรอผลการตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหาจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร

โดยศาลพิจารณาคำร้องพร้อมสอบถามผู้ต้องหาแล้วไม่คัดค้านจึงอนุญาตให้ฝากขังได้
///////////////
นายกฯประชุมเอกชน

พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมนำทีมเศรษฐกิจ คสช. ประชุมร่วมภาคเอกชน แลกเปลี่ยนความเห็น รับฟังปัญหา หาทางขับเคลื่อนประเทศ

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ เวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วย คณะทีมเศรษฐกิจของ คสช. ประกอบด้วย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม  ในฐานะ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.  พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา คสช.  จะประชุมร่วมกับตัวแทนภาคเอกชน ประมาณ 25 ราย อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สมาคมธนาคารไทย  สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่บ้านเกษะโกมล

ขณะเดียวกัน โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่าการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมในกรอบของ คสช. โดยคาดว่าเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะและปัญหาในประเด็นด้านเศรษฐกิจและธุรกิจต่าง ๆ ของภาคเอกชน เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
----------------
ชาวสวนยาง ยื่นหนังสือถึง คสช. พิจารณา การแก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า ของ สนช. เสนอให้ตัด ไม้ยางพารา ออกจากบัญชี

นายสุนทร รักษ์รงค์ ตัวแทนสมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือถึงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยกล่าวถึงการพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ยังมีข้อผิดพลาดและไม่ส่งเสริมแรงจูงใจในการปลูกป่าของสังคม ขณะเดียวกัน พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้บรรจุไม้ยางพาราในบัญชีท้ายโดยพลการ และไม่เคยขอความเห็นจากเกษตรกรชาวสวนยาง ทางสมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางฯ เห็นว่า การที่ไม้ยางพาราอยู่นอกบัญชีต้นไม้ท้าย พ.ร.บ.แบบเดิม ที่ไม่ต้องขออนุญาตการตัดโค่น และเคลื่อนย้ายไม้ยางพารา จากกรมป่าไม้ ถูกต้องแล้ว หากไม้ยางพาราถูกบรรจุในบัญชีท้ายนี้ จะเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์จากเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นการขูดรีดและซ้ำเติมความเดือดร้อนจากภาวะยางพาราตกต่ำ ทั้งนี้ สมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางฯ จึงมีมติให้หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 พิจารณายกเลิก พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 โดยจะทำให้การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวใน สนช. ยุติลงทันที หากการพิจารณา พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ยังดำเนินการต่อไป จะมีชาวสวนยางทั่วประเทศมารวมตัวที่ศาลากลางทุกจังหวัด โดยตนและแกนนำจะเดินทางมาให้กำลังใจ สนช.
-----------------
"สุนทร" รับ ชาวสวนยาง ยังไม่พอใจการแก้ปัญหาราคายางพารา เรียกร้อง นายกฯ คุยกับชาวสวนโดยตรง

นายสุนทร รักษ์รงค์ ตัวแทนสมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยาง ยังไม่พอใจในราคายาง และมาตรการแทรกแซงของรัฐบาล ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ราคารับซื้อน้ำยางในแต่ละพื้นที่ ยังบิดเบือนกับราคาในตลาดกลาง

ทั้งนี้ นายสุนทร ยังเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี พูดคุยและทำความเข้าใจกับเกษตรชาวสวนยางโดยตรง เพราะขณะนี้ได้รวบรวมเกษตรกรทั่วประเทศ ตามที่ นายกรัฐมนตรี ระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากรวบรวมได้จะมาพูดคุยด้วยตนเอง

นอกจากนี้ วันที่ 22 มกราคม จะมีการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบ โดยมี นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อหารือแนวทางปฏิบัติและวางแผนรองรับฤดูกรีดยางพาราครั้งถัดไป
-----------------
พล.อ.อนุพงษ์ ปัด ขรก.มหาดไทย ขัดแย้งกับ กกต. ยันไร้ปัญหา "สมชัย" งดแสดงความเห็นเรื่อง รธน.

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีข้าราชการบางส่วนแสดงไม่พอใจในกรณีที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ออกมากล่าวว่า การให้กระทรวงมหาดไทย จัดการเลือกตั้งเท่ากับเป็นการยื่นดาบให้โจร ว่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังไม่พบว่ามีข้าราชการมหาดไทยคนใดออกมาแสดงความไม่พอใจ ขณะเดียวกันคิดว่า ข้าราชการส่วนใหญ่เป็นคนดีทั้งนั้น

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวยังเชื่อมั่นในทฤษฎีที่ว่า มีคนดียังมีอยู่ พร้อมยืนยันว่าความตั้งใจและขวัญกำลังใจในการทำงานยังคงเป็นเช่นเดิม อย่างไรก็ตาม พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวถึงการพิจารณา
รัฐธรรมนูญรายมาตราเป็นวันแรกว่า ไม่มีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
-----------------------
นายกฯ เดินทางถึงบ้านเกษะโกมล ประชุมร่วมทีม เศรษฐกิจ คสช. ภาคเอกชนแล้ว รปภ.เข้ม งดสื่อ 

ความเคลื่อนไหวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ล่าสุด ในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เดินทางมาที่บ้านเกษะโกมล บริเวณถนนอำนวยสงคราม แล้ว เพื่อนำคณะทำงานด้านเศรษฐกิจประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชน จำนวนประมาณ 25 ราย เพื่อรับฟังปัญหาและคำแนะนำของภาคเอกชน ในเรื่องเศรษฐกิจและภาคธุรกิจต่างๆ ในกรอบการทำงานของ คสช. ซึ่งบรรยากาศโดยทั่วไป มีคณะทำงานฝ่ายเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคเอกชนต่างๆ และผู้เกี่ยวข้อง ทยอยเดินทางเข้ามาที่บ้านเกษะโกมลิ เพื่อเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ อย่างพร้อมเพรียง

ทั้งนี้ สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ กระจายกำลังอยู่ทั้งในและนอกพื้นที่โดยรอบบ้านเกษะโกมล เพื่อรักษาความปลอดภัยและอำนวย
ความสะดวกด้านการจราจร อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปติดตามทำข่าวในพื้นที่แต่อย่างใด โดยได้มีการจัดสถานที่ให้สื่อมวลชนเฝ้าสังเกตการณ์บริเวณฝั่งตรง
ข้ามบ้านเกษะโกมลเท่านั้น
-----------------
วิป รบ. เห็นชอบชงร่าง พ.ร.บ. 5 ฉบับ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย ตำรวจ ทหาร รัฐสภา ครู ชี้ร้อยละ 4 พร้อมปรับเพดาน ร้อยละ10 เข้าสู่ที่ประชุม สนช.

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป รัฐบาล) ครั้งที่ 2/2558 ว่า มติวิปรัฐบาลเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ 5 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย ตำรวจ ทหาร รัฐสภา ครูร้อยละ 4 และปรับเพดานให้สูงขึ้นร้อยละ 10 ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีการอนุมัติไปแล้ว ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอเพื่อส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาตามขั้นตอน เพื่อออกเป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ในการขึ้นเงินเดือน ก.พ. ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการพิจารณาการปรับระบบเงินเดือนของข้าราชการทั้งระบบให้ยุติธรรม เป็นธรรมมากขึ้นในอนาคต

นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ในการขึ้นเงินเดือนรัฐบาลได้คำนวณการแบกรับภาระงบประมาณที่สำนักงบประมาณได้ชี้แจงกับคณะรัฐมนตรีไว้แล้ว อีกทั้งข้าราชการไม่ได้เงินเดือนสูง และครั้งนี้ปรับขึ้นร้อยละ 4 ไม่ได้ช่วยได้เต็มที่ แต่ยังพอบรรเทา และช่วยให้ข้าราชการดำรงชีพได้ดีขึ้นมาหน่อย การจับจ่ายใช้สอยอาจจะทำได้มากขึ้น เพราะจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ส่วนการพิจารณากฎหมายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลที่ถูกมองว่ายังล่าช้านั้น นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ก็มีการดำเนินการไปเยอะแล้ว และในสัปดาห์นี้จะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ... ที่จะเข้า สนช. และมีอีก 3-4 ฉบับที่ทยอยพิจารณาในวาระ 2-3 ของ สนช. อีกทั้ง ครม. ได้จัดลำดับความสำคัญของกฎหมายเอาไว้แล้ว จะช่วยทำให้ดำเนินได้ดีขึ้น แต่ถ้าเร่งรัดมากความรอบคอบก็จะไม่มี ดังนั้นต้องทำกฎหมายให้สมดุลทั้งความรวดเร็วและรอบคอบ
---------------------------------
"พล.อ.ประวิตร" เตรียมเดินทางเยือนเวียดนามระหว่างวันที่ 13-15 ม.ค. กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านต่าง ๆ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างเป็นทางการ ระหว่าง 13-15 มกราคม 58 ตามคำเชิญของกระทรวงกลาโหมเวียดนาม โดยมีกำหนดการเข้าเยี่ยมคำนับ นายเหวียน เติ๊น สุง (Nguyen Yan Dung) นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ฝุ่ง กวาง แทง (Gen. Phung Quang Thanh) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ทั้งนี้ การเดินทางเยือนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สานต่อการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ผ่านมา โดยจะหารือและพัฒนาความร่วมมือทางทหารร่วมกัน ในการขยายผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางทหารระหว่าง 2 ประเทศ ปี 55 ที่ทำร่วมกันไว้ อันประกอบด้วย นโยบายการป้องกันประเทศ การข่าวด้านการป้องกันประเทศ การฝึกร่วมและการศึกษา   การปฏิบัติการรักษาสันติภาพและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางทหารและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งการปฏิบัติการรักษาสันติภาพและอื่น ๆ

นอกจากนี้ จะได้หารือถึงความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมในอนุภูมิภาคกับการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนไทยตามนโยบายของรัฐบาลและการรักษาความมั่นคงร่วมกัน เพื่อ
พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวชายแดน ควบคู่กับการพัฒนาความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน
-----------------
ประธานสภาผู้ส่งออกฯ ชม นายกฯ ประชุมเอกชน คุยเศรษฐกิจวันนี้ พร้อมรายงานสถานการณ์ส่งออก ดันเป้าหมายโต 4%

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก เปิดเผยกับ รายการ ไอ.เอ็น.เอ็น.โฟกัสเศรษฐกิจ ว่า เป็นที่น่ายินดีที่ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เชิญภาคเอกชน มาหารือในประเด็นเศรษฐกิจ ช่วงเวลา 14.00 น. วันนี้ (12 ม.ค.) ที่บ้านเกษะโกมล ซึ่งในส่วนของสภาผู้ส่งออกฯ จะเสนอข้อมูลการส่งออกปี 58 ให้แก่ นายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะสถานการณ์ในตลาดโลกที่มีความผันผวนและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกไทย รวมถึงแนวทางการผลักดันการส่งออก ให้ขยายตัวได้ร้อยละ 4 ตามที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ นอกจากนี้ จะมีการนำแผนระยะยาวเพื่อให้ประเทศไทย เป็นผู้นำการค้าใน AEC และในตลาดโลกอย่างยั่งยืน

ประธานสภาผู้ส่งออกฯ กล่าวอีกว่า ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการดูแลสถานการณ์ทางการเมืองได้ดี แต่สิ่งที่ภาคเอกชนมีความเป็นห่วง ก็คือ ความต่อเนื่องของนโยบาย เพราะหากรัฐบาลชุดนี้สิ้นสุดลง และมีรัฐบาลใหม่ขึ้นมา แผนต่างๆ จะมีความต่อเนื่องหรือไม่ รวมถึงการเลือกตั้งที่จะต้องไม่มีความวุ่นวาย
------------------
ประธานหอการค้า ไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลขึ้น VAT เวลานี้ เหตุเศรษฐกิจยังไม่ดี พร้อมปรับราคาสินค้าลงตามราคาน้ำมัน

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชน มีการติดตามราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างใกล้ชิด ซึ่งเอกชนจะดำเนินการปรับลดราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากต้นทุนปรับลดลง ภาคเอกชนก็จะปรับลดราคาสินค้าลงตามความเหมาะสมด้วย แต่ยอมรับภาพรวมเศรษฐกิจประเทศขณะนี้ยังอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว และมีโอกาสซึมตัวไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น การที่รัฐบาลจะพิจารณาให้ขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากเดิมที่อยู่ร้อยละ 7 เพิ่มเป็นร้อยละ 8-10 มองว่าจะกระทบต่อประชาชน และส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยชะลอตัว และเห็นว่าไม่ควรที่จะปรับขึ้นในตอนนี้
------------------------
รมว.คมนาคม ยันไม่มีการสั่งโลว์คอสต์ควบคุมราคาตั๋วโดยสาร ชี้การทำงานต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและผลประโยชน์ของประชาชน

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารของสานการบินโลว์คอสต์ ว่า ทางกระทรวงได้มีการหารือกันถึงสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ก่อนที่จะมีการพิจารณาปัญหาของรถร่วมบริการบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ที่ได้มีการเรียกร้อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาตั๋วโดยสาร ทั้งนี้ ธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ค่อนข้างเป็นที่นิยมในประเทศไทย แต่มีหลายบริษัทฯ ที่ได้ประชาสัมพันธ์ตั๋วเดินทางในราคาค่อนข้างต่ำ แต่ก็เป็นสิทธิ์ของบริษัทฯ เพราะถือว่าเป็นการตลาดของแต่ละองค์กร เพียงแต่เป็นห่วงในเรื่องของผลประกอบการของบริษัทฯ เท่านั้น หากมีการลดราคาต่ำจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่ได้มีการสั่งการให้สายการบินต้นทุนต่ำควบคุมราคา กระทรวงคมนาคมมีคณะกรรมการกรมการบินพลเรือนเป็นผู้กำหนดกรอบเพดานขั้นสูงไว้ แต่ไม่ได้กำหนดเพดานขั้นต่ำเพื่อให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันได้ เพราะถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งการทำงานจะนึกถึงความเป็นธรรมและผลประโยชน์ของการให้บริการประชาชนเป็นหลักมากกว่า นอกจากนี้ หลักการในการกำหนดราคาต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายรวมถึงการบริการต้องจริงใจกับลูกค้า
-------------------------------------
บีโอไอยกระดับเอสเอ็มอี เพิ่มมาตรการให้สิทธิ์ลดภาษีเงินได้-เครื่องจักร เพิ่มสนับสนุนนวัตกรรม

นางหิรัญญา สุจินัย รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานบอร์ดบีโอไอ ได้ลงนามอนุมัติมาตรการ
เพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีของไทยก้าวสู่ระดับสากล โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่
2-8 ปี จากปกติที่บางกิจการไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 2 ปี หรือบางกิจการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 2 ปี รวมเป็น 5 ปี นอกจากนี้ หากลงทุนเพิ่มในด้านต่าง ๆ เช่น การวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม การสนับสนุนกองทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร หรือสถาบันการศึกษา รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาจากแหล่งในประเทศ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1-3 ปี

โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการจะต้องเป็นกิจการที่มีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน มีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน และหากเอสเอ็มอีไทยจะตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ 20 จังหวัดรายได้น้อย จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี โดยกิจการเอสเอ็มอีไทยที่ได้รับส่งเสริมตามมาตรการนี้ ยังสามารถใช้เครื่องจักรที่ใช้แล้วในประเทศได้ในมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยจะต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 60
------------------
ปตท. ขายน้ำมันให้ บขส. ถูกกว่าหน้าปั๊ม ช่วยเหลือผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ แจงไม่ขัดข้องทบทวนมติ ครม. ให้รัฐวิสาหกิจซื้อน้ำมันกับ ปตท. เท่านั้น

นายสรัญ รังคสิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงตามที่มีกระแสข่าวระบุว่า ปตท. จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด (
บขส.) แพงกว่าราคาที่จำหน่าย ณ สถานีบริการน้ำมัน 1 บาทต่อลิตรนั้น ไม่เป็นความจริง โดยข้อเท็จจริง ปตท. จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ บขส. ในราคาพิเศษ ถูกกว่าราคาที่จำหน่าย ณ สถานีบริการ
น้ำมัน 1 บาทต่อลิตร เพื่อสนับสนุนภารกิจหลักของ บขส. ในการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทาง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหลักของ ปตท. ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

โดยปัจจุบัน ปตท. จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น จำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์ ปตท. ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นการลดราคาตามสัญญาซื้อ
ขายฯ 50 สตางค์ต่อลิตร และปรับลดเพิ่มให้อีก 50 สตางค์ต่อลิตร ตามสถานการณ์ และยังให้ระยะเวลาการชำระเงินอีกด้วย รวมทั้งได้ติดตั้งอุปกรณ์ ถังน้ำมัน ตู้จ่าย และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่สถานีขนส่งในกรุงเทพฯ 4 แห่ง ได้แก่ กำแพงเพชร 2 (หมอชิต) เอกมัย สายใต้ รังสิต รวมถึงจุดจ่ายน้ำมันในต่างจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถขนส่ง ตลอดจนให้บริการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องทั้งระบบ

ทั้งนี้ ในส่วนประเด็นที่มีการเสนอให้พิจารณาทบทวนมติ ครม. ปี 2542 ที่กำหนดให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่มีความต้องการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป จะต้องซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจาก ปตท. นั้น ปตท. ไม่มีข้อขัดข้องประการใด หากมีการทบทวนมติ ครม. ดังกล่าว
////////////////
คดียักยอกพันล้านลาดพระบัง/ตำรวจ

รอง ผบก.ป. เผย คืบคดียักยอกเงิน สจล. ยันมี "บิ๊ก สจล." ร่วมมากกว่าหนึ่งคน เป็นตัวการใหญ่ แค่ ผอ. หลังทำคนเดียวไม่ได้แน่ เร่งล่า กิตติศักดิ์

พ.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รอง ผบก.ป. เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ความคืบหน้ากรณีคดียักยอกเงินสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. กว่า 1,600 ล้านบาท ล่าสุดทางตำรวจกองปราบ ได้ขยายผลผู้ร่วมกระทำความผิดเพิ่มเติม โดยพุ่งเป้าไปที่คนภายในของสถาบันเอง เพราะตำรวจเชื่อว่า ลำพังระดับแค่ ผอ.ส่วนการคลัง หรือคนอื่นๆ ที่ถูกจับกุมไป ไม่น่าจะมีความสามารถทำได้ขนาดนี้ น่าจะมีระดับที่มีอำนาจหน้าที่ใหญ่กว่านี้ เกี่ยวโยงด้วย และเป็นตัวการใหญ่ที่สั่งการในขบวนการนี้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ปรากฏ และตำรวจเชื่อว่าน่าจะมีคนใน สจล. มากกว่าหนึ่งคนเกี่ยวพันกับคดีนี้ ซึ่งขณะนี้สามารถแกะรอยเส้นทางของเงินที่ถูกยักยอกไป และมีเบาะแสพอสมควรว่า เงินไปตกอยู่ที่ใครบ้าง

ส่วนการตามจับกุมตัวผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีอยู่นั้น ที่ยังหลบหนีในประเทศไทย มี 2 คนด้วยกัน ซึ่งกำลังส่งตำรวจไปประกบ คาดว่าจะได้ตัวเร็ว ๆ นี้ ส่วน นายกิตตศักดิ์ มัทธุจัด ตัวการสำคัญอีกคนที่หลบหนีในต่างประเทศ ได้ประสานตำรวจสากลในการจับกุมตัวอย่างต่อเนื่อง
-------------------
รอง ผบก.ป. เผย คดี โกง สจล. ออกหมายเรียก อีก 10 คน เข้าให้ข้อมูลพิ่ม เร่งล่าผู้ต้องหาที่หลบหนีอยู่ทุกราย

พันตำรวจเอกณษ เศวตเลข รองผู้บังคับการกองปราบปราม เปิดเผยความคืบหน้าคดียักยอกเงิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มูลค่า 1,600 ล้านบาท ว่า ขณะนี้ พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูลกว่า 10 คน หลังพบว่า มีเงินจากบัญชี นายทรงกลด ศรีประสงค์ อดีตผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาศรีนครินทร์ ผู้ต้องหารายสำคัญที่ถูกจับกุมไปก่อนหน้านี้ โอนเข้าบัญชี โดยหนึ่งในจำนวนนี้มี อาจารย์ของสถาบันฯ ดังกล่าว มีเงินโอนเข้าบัญชีสูงถึง 5 - 10 ล้านบาท  ซึ่งทั้งหมดพนักงานสอบสวนได้ส่งหมายเรียกไปในวันนี้เพื่อเข้าให้ข้อมูล โดยเบื้องต้นทั้งหมดยังไม่ใช่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ เพียงแต่ตำรวจพบความเชื่อมโยงในการโอนเงินเท่านั้น

ส่วนการ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหารายสำคัญ ที่หลบหนีออกนอกประเทศ ซึ่ง นายภาดา บัวขาว หรือ "โอ๊ต พราด้า" ผู้ต้องหาที่ในคดีที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ ได้ให้การไว้ว่า ตามกำหนด นายกิตติศักดิ์ จะเดินทางกลับประเทศไทย วันนี้ จึงมอบหมายให้ตำรวจกองปราบปราม ประสานกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ควบคุมตัวทันที หากเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย

ขณะที่ นายธวัชชัย ยิ้มเจริญ และ นายสมพงษ์ สหพรอุดมการ ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับ ยังไม่ติดต่อเข้ามอบตัว แต่ตำรวจมีเบาะแสว่า ทั้ง 2 คน ยังหลบหนีอยู่ในประเทศไทย จึงขอให้เข้ามอบตัวกับตำรวจโดยเร็ว พร้อมยืนยันว่า คดีนี้ยังไม่พบหลักฐานเชื่อมโยงว่า มีกลุ่มผู้มีอิทธิพลใดอยู่เบื้องหลัง แม้ว่า นายภาดา จะเคยให้การอ้างว่า มีโทรศัพท์ข่มขู่และถูกตั้งค่าหัวสูงถึง 30 ล้านบาท ก็ตาม
/////////////////////////
พนักงานสินเชื่อ บ.มัทธุจัด พบ พงส.ป. หลังได้รับเงินโอน 1 ล้านบาท ยันเป็นการโอนเพื่อค่าใช้จ่ายของธุรกิจ

นายสุกฤษ เขียวนันใจ พนักงานฝ่ายสินเชื่อ บริษัท มัทธุจัด จำกัด เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม หลังปรากฏรายชื่อว่ารับโอนเงิน 1 ล้านบาท ต่อจาก นายพูลศักดิ์ บุญสวัสดิ์ หนึ่งในผู้ที่ตำรวจเชิญมาให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ ในคดียักยอกทรัพย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

โดย นายสุกฤษ ระบุว่า ที่ผ่านมาร่วมกับ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาที่ยังหลบหนี เปิดบริษัท มัทธุจัด จำกัด และส่วนตัวทำหน้าที่ดูแลลูกค้าด้านสินเชื่อ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งของบริษัทและสถานบันเทิงสตรีทผับ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการโอนเงินแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มากและไม่มีความผิดปกติใด ๆ

ส่วนตนเองก็ไม่มีความสนิทสนมกับ นายกิตติศักดิ์ เป็นเพียงเจ้านายกับลูกจ้างเท่านั้น โดยตลอดระยะเวลาที่ทำงาน นายกิตติศักดิ์ ก็ไม่เคยมีพฤติการณ์น่าสงสัย และตั้งแต่เกิดคดีความก็ไม่สามารถติดต่อ นายกิตติศักดิ์ ได้ ส่วนบริษัทก็ยังเปิดทำการตามปกติ พร้อมกันนี้ยังยอมรับว่าเคยพบเห็น นายภาดา บัวขาว หรือ โอ๊ต พราด้า แต่ไม่ได้สนิทสนมเป็นการส่วนตัว

เบื้องต้นพนักงานสอบสวน ได้สอบปากคำ นายสุกฤษ พร้อมรวบรวมพยานหลักฐานไว้ประกอบสำนวนคดีต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีพนักงานบริษัท มัทธุจัด คนอื่น ๆ เข้าให้ปากคำกับตำรวจ รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ ดังกล่าวนำหลักฐานมามอบให้พนักงานสอบสวนเพิ่มเติมด้วย
///////////
ตร.โยกย้าย

โฆษก สตช. เผย รู้แล้ว กรณี อดีต ส.ส.ปชป. ร้อง มีการซื้อตำแหน่ง ยัน บัญชีแต่งตั้งโยกย้ายมีผล 15 ม.ค.นี้

พลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ทราบข่าว กรณีที่ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า มีการซื้อขายตำแหน่ง ระดับรองผู้บังคับการ ถึง ผู้กำกับการ ตั้งแต่ 8 แสนบาท ถึง 30 ล้านบาท แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด โดยยืนยันว่า ในส่วนของ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ไม่มีการซื้อขายตำแหน่งอย่างแน่นอน ส่วนการแจกจ่ายใบปลิว ที่ไม่เห็น
ด้วยการกับการแต่งตั้ง รองผู้กำกับการปราบปราม สภ.บางปะหัน มาขึ้นเป็น ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนี้ทราบเรื่องแล้วจึงสั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยต้องพิจารณาว่า ผู้ที่แจกใบปลิว หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการแต่งตั้ง เป็นกลุ่มผู้เสียประโยชน์ หรือไม่พอใจเป็นการส่วนตัว  แต่หากมีพยานหลักฐานช้ดเจน จะดำเนินการโดยไม่ละเว้น และเชื่อว่าไม่สามารถปกปิดสังคมได้ เพราะปัจจุบันกระบวนการตรวจสอบ ทั้งทางสื่อมวลชนและสังคม ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่า บัญชีแต่งตั้งโยกย้าย รองผู้บังคับการ ถึง สารวัตร ขณะนี้เสร็จเรียบร้อย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมแจกจ่ายตามกำหนด เพื่อให้มีผล วันที่ 15 มกราคม นี้
------------------
โฆษก สตช. กำชับ ผบก.น.5 คลี่คลายเหตุ ตำรวจถูกกล่าวหา อุ้มนักธุรกิจเกาหลี เรียกค่าไถ่แล้ว รับ มีเอี่ยวจริง 7 นาย 

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผย ได้รับรายงานพร้อมกำชับสั่งการให้ผู้บังคับบัญชาสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี ชาวเกาหลี ร้องเรียนว่า มีนายตำรวจสังกัด กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ต้องหาชาวเกาหลี โดยระบุว่า เบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่า มีนายตำรวจชุดสืบสวนเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ จำนวน 7 นาย เป็นตำรวจยศ สารวัตร 2 นาย รองสารวัตร 1 นาย และชั้นประทวน อีก 4 นาย เข้าไปเกี่ยวข้องจริง โดยพฤติการณ์คือ การเรียกรับสินบนแลกกับการไม่ดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งได้กำชับให้ผู้บังคับบัญชา ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จริง หากผิดจริงก็ต้องถูกดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด
------------------
คืบกรณีรีดรับเงินชาวเกาหลี นายตำรวจที่ถูกร้องเรียนเข้าให้ปากคำกับ ผบก.น.5 แล้ว ชี้จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

พล.ต.ต.ชวลิต ประสพศิลป ผบก.น.5 เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน บก.น.5 จำนวน 7 นาย มี พ.ต.ท.คณพัฒน์ พาหุมันโต สว.สส.บก.น.5 เป็นหัวหน้าชุด ได้ทำการจับกุมชาวเกาหลีใต้ที่เปิดให้เล่นพนันฟุตบอลออนไลน์ จำนวน 3 คน ก่อนคุมตัวไปที่เซฟเฮ้าส์เพื่อสอบสวน ขยายผลหาผู้ร่วมกระทำผิด จากนั้นชาวเกาหลีทั้ง 3 คนได้เดินทางไปแจ้งความที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) เพื่อเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ชุดจับกุม ว่ามีการรีดเงินว่า 2 แสนบาท ก่อนทั้งหมดจะแยกย้ายหลบหนี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา ว่าขณะนี้ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว

โดยชุดจับกุมรายงานว่า มีหลักฐานการออกหมายจับชัดเจน โดยจะมีการนำเอกสารหลักฐานอื่น ๆ พร้อมหลักฐานจากกล้องวงจรปิดมาชี้แจงต่อผู้บังคับบัญชาต่อไป โดย บช.น. จะดูเรื่องการสอบสวนทางวินัย ส่วน บก.ป. จะดูในส่วนของคดี อย่างไรก็ตาม จะต้องนำข้อมูลทั้งสองฝ่ายมาพิจารณาและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

โดย พล.ต.ต.ชวลิต ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้สั่งให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง โดยมี พ.ต.อ.จักษ์ จิตตธรรม รอง ผบก.น.5 เป็นประธานการสืบสวน โดยในวันนี้ (12 ม.ค.) พ.ต.อ.บรรจง อมฤทธิ์ ผกก.สส.บก.น.5 ได้นำตัวผู้ใต้บังคับบัญชาทั้ง 7 นาย มาพบ พล.ต.ต.ชายเทพ เสสะเวช รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.ชวลิต ประสพศิลป ผบก.น.5 เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว

////////////////
น้ำมันลดราคา

ไทยออยล์ มอง ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ยังลงต่อ เวสต์เท็กซัส 47-52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เบรนท์ 50-55 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล 

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ประจำวันที่ 12 - 16 ม.ค. 58 โดยคาดว่า ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้จะลดลงต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์ เคลื่อนไหวในกรอบ 50-55 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากผู้ผลิตทั้งในกลุ่มโอเปก และนอกกลุ่มโอเปก ยังไม่มีทีท่าที่จะลดกำลังการผลิตลง โดย ซาอุดิอาระเบีย ยืนยันว่า ยังสามารถรับมือกับราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำได้

นอกจากนี้ ต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของยูโรโซน ที่ยังคงซบเซา รวมถึงวิกฤติเศรษฐกิจของรัสเซีย หลังเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ รวมทั้งต้องเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากกลุ่มประเทศตะวันตก ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ความไม่สงบในลิเบีย ที่ส่งผลให้ท่าเรือส่งออกน้ำมันดิบ ปิดดำเนินการ ซึ่งส่งผล
กระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบจากลิเบีย
-------------------------------
ปตท. บางจาก ประกาศปรับลดราคาขายปลีกน้ำมัน หลัง กบง. มีมติปรับเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมัน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประกาศปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก็สโซฮอล์ 95 ลง 1 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 และ E20 ลง 60 สตางค์ต่อลิตร ดีเซลปรับลด 30 สตางค์ต่อลิตร เว้น E85 คงเดิม มีผลพรุ่งนี้ 13 มกราคม ตั้งแต่เวลา 05.00 น.

ทั้งนี้ จะส่งผลให้ราคาน้ำมันในสถานีบริการของ ปตท. และบางจาก ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วันพรุ่งนี้ เป็นดังนี้ เบนซิน 95 อยู่ที่ลิตรละ 34.96 บาท แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ลิตรละ 27.90 บาท แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ลิตรละ 26.58 บาท E20 อยู่ที่ลิตรละ 25.18 บาท E85 อยู่ที่ลิตรละ 22.08 บาท และดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ลิตรละ 26.09 บาท หลัง กบง. มีมติปรับเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมัน
------------------------------
กบง. เรียกเก็บดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่ม 30 สต./ลิตร ลดโซฮอล์ 95 ลง 40 สต./ลิตร ส่งผลราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการปรับตัวลดลง

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง. ว่า ที่ประชุม กบง. มีมติปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 40 สตางค์ต่อลิตร และเก็บเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 30 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกภายในประเทศปรับลดลงตามทิศทางตลาดโลก โดยราคาตามที่ได้หารือกับกลุ่มผู้ค้าที่จะมีผลพรุ่งนี้ (13 มกราคม) ได้แก่ น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ 95 ปรับลดลง 1 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 และ E20 ปรับลดลง 60 สตางค์ต่อลิตร น้ำมันดีเซลปรับลดลง 30 สตางค์ต่อลิตร และ E85 คงเดิม ซึ่งการปรับการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันครั้งนี้ จะส่งผลให้กองทุนมีรายรับเพิ่มขึ้นประมาณ 413 ล้านบาทต่อเดือน โดยสถานะกองทุนล่าสุดอยู่ที่ 19,625 ล้านบาท นอกจากนี้ ในอนาคตจะมีการปรับสัดส่วนเงินส่งเข้ากองทุนของเชื้อเพลิงแต่ละประเภทให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น ก่อนพิจารณาโอนเงินจากกองทุนไปเป็นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าเป็นเมื่อใด
-------------------------
ปลัดพลังงานชี้เอกชนเข้าใจปรับโครงสร้างพลังงาน พร้อมเร่ง ปตท. สร้างปั้ม NGV ตามข้อตกลงสมาคมขนส่งโดยเร็ว

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวชี้แจงว่า ตามกระแสข่าวที่เอกชนได้ขอให้รัฐชะลอการปรับโครงสร้างราคาพลังงานนั้น ในวันนี้ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ชี้แจงว่า ไม่ได้เรียกร้องให้ชะลอการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน แต่อย่างใด และเข้าใจกลไกตลาด โดยในส่วนของแอลพีจีได้ปรับจนสะท้อนต้นทุนการผลิตแล้ว แต่ในส่วนของก๊าซเอ็นจีวียังจำเป็นต้องขยับราคาและจากการให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปทบทวนต้นทุนหลังราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงเป็นเรื่องที่ดี โดยราคาต้นทุนเอ็นจีวีลดลงเหลือไม่ถึง 15 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 16 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะทยอยขยับราคาจากปัจจุบันขายอยู่ที่ 12.50 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมกันนี้ได้เน้นย้ำให้ ปตท. เร่งสร้างปั๊มเอ็นจีวีทั้ง 4 จุดตามข้อตกลงกับสมาคมขนส่งโดยเร็ว
-------------------------
ปลัดพลังงานวอน ปชช. ใช้พลังงานอย่างประหยัด แม้ราคาขายปลีกน้ำมันจะลดลง พร้อมแจงหารือยกเลิกน้ำมันภายในมีนาคม

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แม้ราคาขายปลีกน้ำมันจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศไทยยังคงมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบร้อยละ 85 ของการจัดหาน้ำมันดิบทั้งหมดของประเทศ กระทรวงพลังงานจึงขอความร่วมมือประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัด และแม้ราคาน้ำมันจะลดลง แต่จากความนิยมใน E20 ที่เพิ่มขึ้นยังคงทำให้ยอดใช้เอทานอลขยับสูงขึ้น โดยเดือนพฤศจิกายน 2557 เทียบเดือนพฤศจิกายน 2556 มียอดใช้เพิ่มเป็น 3.51 ล้านลิตรต่อวัน จากเดิม 2.75 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนเบนซิน 95 ลดลงจาก 1.6 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 1.2 ล้านลิตรต่อวัน โดยกระทรวงได้ตั้งเป้าหมายการใช้เอทานอลได้จำนวน 9 ล้านลิตรภายในปี 2564

นอกจากนี้ นายอารีพงศ์ กล่าวถึงกระแสข่าวที่จะมีการยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 หรือแก๊สโซฮอล์ 91 เพื่อให้การบริหารจัดการภายในโรงกลั่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ว่า ได้เตรียมนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนอกรอบ เพื่อหารือว่าควรยกเลิกการจำหน่ายเชื้อเพลิงชนิดใด ซึ่งขณะนี้ได้ทำการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ก่อนจะสรุปภายในเดือนมีนาคมนี้ แต่เบื้องต้นคาดว่าจะพิจารณาจากความต้องการใช้เป็นหลัก
--------------------
ปตท. ขายน้ำมันให้ บขส. ถูกกว่าหน้าปั๊ม ช่วยเหลือผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ แจงไม่ขัดข้องทบทวนมติครม.ให้รัฐวิสาหกิจซื้อน้ำมันกับปตท.เท่านั้น

นายสรัญ  รังคสิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจง ตามที่มีกระแสข่าวระบุว่า ปตท. จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด
(บขส.) แพงกว่าราคาที่จำหน่าย ณ สถานีบริการน้ำมัน 1 บาทต่อลิตรนั้น ไม่เป็นความจริง โดยข้อเท็จจริง ปตท. จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ บขส. ในราคาพิเศษ ถูกกว่าราคาที่จำหน่าย ณ สถานีบริการน้ำมัน 1 บาทต่อลิตร เพื่อสนับสนุนภารกิจหลักของ บขส. ในการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทาง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหลักของ ปตท. ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

โดยปัจจุบัน ปตท. จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น จำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์ ปตท. ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล  1 บาทต่อลิตร  ซึ่งเป็นการลดราคาตามสัญญาซื้อ
ขายฯ 50 สตางค์ต่อลิตร และปรับลดเพิ่มให้อีก 50 สตางค์ต่อลิตร ตามสถานการณ์ และยังให้ระยะเวลาการชำระเงินอีกด้วย รวมทั้ง ได้ติดตั้งอุปกรณ์ ถังน้ำมัน ตู้จ่าย และระบบอัตโนมัติต่างๆ ที่สถานีขนส่งในกรุงเทพฯ 4 แห่ง ได้แก่ กำแพงเพชร 2 (หมอชิต) เอกมัย สายใต้ รังสิต รวมถึงจุดจ่ายน้ำมันในต่างจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถขนส่ง ตลอดจน ให้บริการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องทั้งระบบ

ทั้งนี้ ในส่วนประเด็นที่มีการเสนอให้พิจารณาทบทวนมติ ครม. ปี 2542 ที่กำหนดให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่มีความต้องการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป จะต้องซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจาก ปตท. นั้น  ปตท. ไม่มีข้อขัดข้องประการใด หากมีการทบทวนมติ ครม. ดังกล่าว

สปช.กังวลเหตุไล่นร.ออกกลางรายการดัง กระทบความรู้สึกปชช. ยัน“เทียนฉาย”เปิดกว้างเสมอ

อลงกรณ์”เผย สปช.กังวลเหตุไล่นร.ออกกลางรายการดัง กระทบความรู้สึกปชช. ยัน“เทียนฉาย”เปิดกว้างเสมอ***
เมื่อวันที่ 11 มกราคม นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) กล่าวถึงกรณีที่น.ส.ณัฐนันท์ วรินทรเวช หรือ ไนซ์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ถูกเจ้าหน้าที่เชิญออกจากรายการเจาะประเด็น ภายหลังจากตั้งคำถามประเด็นการปฏิรูปการทุจริตคอร์รัปชั่น ต่อนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ว่า
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สมาชิกสปช.หลายคนกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อความรู้สึกของสาธารณชน โดยที่ประธาน สปช.และทีมงานสปช. ไม่ทราบเรื่อง ซึ่งได้ทราบในภายหลังก็รู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่อาจจะกังวลเรื่องความมั่นคงมากกว่า อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนี้ ก็ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายพึงระมัดระวังในเรื่องดังกล่าว ว่าการปฏิรูปจะต้องเปิดกว้าง
นายอลงกรณ์ กล่าวยืนยันหลักการของสปช.ด้วยว่า ต้องการรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ในส่วนของนิสิต นักศึกษา ก็ได้มีการจัดเสวนาสานพลังนักศึกษาต่อการปฏิรูปประเทศ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ในเดือนกุมภาพันธุ์จะเป็นการจัดเสวนาพลังอาชีวะ โดยที่ประธาน สปช.ไม่มีนโยบายกีดกันการมีส่วนร่วมจากทุกๆส่วน แต่เน้นที่จะเปิดกว้างในการรับฟังความเห็น โดยที่สปช.ยอมรับความคิดที่แตกต่าง และเน้นการตอบทุกคำถาม
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องดีที่นักศึกษาใส่ใจประชาธิปไตย และไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ทั้งนักศึกษา และประชาชน หากถามมาสปช.ก็จะตอบทุกคำถาม เพราะความคิดเห็นที่หลากหลายถือว่าเป็นเรื่องปกติของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหวังว่าครั้งต่อไปทุกฝ่ายจะให้ความร่วมมือกับสปช.” นายอลงกรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ประธาน สปช.ก็พร้อมที่จะตอบทุกคำถามจากทุกภาคส่วนใช่หรือไม่ นายอลงกรณ์ กล่าวว่า นโยบายเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นก็มาจากประธาน สปช. ดังนั้นแน่นอนว่าประธาน สปช.ย่อมพร้อมที่จะตอบทุกคำถามที่เกี่ยวกับการปฏิรูป


รวบ"เชาวลินท์"คาสนามบิน

ด่วน!รวบ'สากกะเบือ'คาสนามบิน ฐานยักยอก11ล้าน'บ.กัมพูชา'
12 ม.ค. 58 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าควบคุมตัว ร.ต.ท.เชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ อดีต สส.ราชบุรี พรรคเพื่อไทย ที่สนามบิน ฐานยักยอกเงิน 11 ล้านบาท ที่บริษัทกัมพูชาจ่ายค่าปูนให้ บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
รายงานระบุเพิ่มเติมว่าหลัง ร.ต.ท.เชาวรินทร์ ถูกควบคุมตัว เบื้่องต้นเจ้าตัวให้การปฏิเสธ และขู่จะฟ้องร้องดำเนินคดีกลับ
ด้านตัวแทนบริษัท บีพีซี ของกัมพูชา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ทำการซื้อขายปูนกับทีพีไอโพลีน โดยทำธุรกรรมผ่านอีเมล์ ซึ่งก็ไม่เคยปัญหาใดๆ จนกระทั่งมีแฮกเกอร์ปลอมอีเมล์ของบริษัท และเข้ามาแก้เลขบัญชีโอนเงินปลายทาง เป็นของสมาคมวัฒนธรรมวิถีพุทธไทย-จีน ซึ่งมี ร.ต.ท.เชาวรินทร์ เป็นนายกสมาคม
ต่อมาเมื่อ บริษัท บีพีซี ตรวจพบว่าเงินที่โอนไปเข้าสมาคมวัฒนธรรมวิถีพุทธไทย-จีน และมีการถอนเงินออกจากบัญชี จึงแจ้งไปยัง ร.ต.ท.เชาวรินทร์ แต่ทางด้าน ร.ต.ท.เชาวรินทร์ บอกกับ บีพีซี ให้ไปหาหลักฐานมายืนยันว่าเป็นโอนเงินมาจริงหรือไม่ แต่หลังจาก บีพีซี นำเอกสารหลักฐานมายืนยัน กลับถูกบ่ายเบี่ยงไม่ยอมคืนเงิน ก่อนที่ ร.ต.ท.เชาวรินทร์ จะสารภาพทีหลังว่าได้ใช้เงินส่วนดังกล่าวไปแล้ว
ทั้งนี้ บริษัท บีพีซี ได้เข้าแจ้งความกับ สน.ดุสิต และได้มีการออกหมายเรียกถึง 2 ครั้ง แต่ ร.ต.ท.เชาวรินทร์ กลับไม่ยอมมารายงานตัว จนถูกศาลอาญา ถ.รัชดา ออกหมายจับ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา กระทั่งถูกควบคุมตัวได้ในที่สุด
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบต่อไป


สื่อมะกันวิจารณ์โอบาม่าไม่ร่วมเดินขบวนสมานฉันท์ที่ปารีส

สื่ออเมริกันวิจารณ์โอบามาไม่ร่วมเดินขบวนที่ปารีส
Cr:เดลินิวส์
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 ม.ค. ว่าทำเนียบขาวยังคงปฏิเสธแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการ ต่อกรณีที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ ไม่เข้าร่วมการเดินขบวนเรียกร้องความสมานฉันท์และต่อต้านการก่อการร้าย ร่วมกับผู้นำโลกและคณะผู้แทนจากองค์กรนานาชาติรวม 44 ประเทศ ที่กรุงปารีส เมื่อวันอาทิตย์
แม้รัฐบาลวอชิงตันจะเผยก่อนหน้านี้ว่า นายเอริค โฮลเดอร์ รมว.กระทรวงยุติธรรมจะเดินทางเข้าร่วม แต่ในนาทีสุดท้ายโฮลเดอร์กลับเดินทางเยือนฝรั่งศสเพียงเพื่อเข้าร่วมการหารือด้านความมั่นคงกับรัฐมนตรียุติธรรามและมหาดไทยของยุโรป ที่เกิดขึ้นก่อนการเดินขบวนเท่านั้น และสุดท้ายผู้ที่เข้าร่วมการเดินขบวนในนามของรัฐบาลสหรัฐ คือนางเจน ฮาร์ทลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงปารีส
ฟารีด ซาคาเรีย ผู้สื่อข่าวต่างประเทศอาวุโสของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น กล่าวว่า การที่รัฐบาลสหรัฐไม่ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวโอบามาเอง รองประธานาธิบดีโจ ไบเดน หรือนายจอห์น แคร์รี รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งเดินทางเยือนอินเดียในวันเดียวกัน ถือเป็น "ความผิดพลาด" ขณะที่สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์วิจารณ์การที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐร่วมเดินชบวนในแถวหน้าว่า เป็นเรื่องที่น่าอับอายอย่างยิ่ง ด้านนายนิวท์ กิงริช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากพรรครีพับลิกัน กล่าวว่าเป็นการสะท้อนให้ชาวโลกเห็นถึงความขลาดกลัวของรัฐบาลวอชิงตัน
อย่างไรก็ตาม สื่อฝรั่งเศสหลายแห่งมองต่างมุมด้วยการวิเคราะห์ว่า หากผู้นำสหรัฐเดินทางมาร่วมด้วยตัวเองอาจยิ่งเป็นการสร้างความลำบากและวุ่นวายให้กับมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นไปอีก จึงไม่คิดว่าโอบามาจะเดินทางมาร่วมอยู่แล้ว สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญและสนใจ จึงเป็นการที่โอบามาและแคร์รีร่วมประณามเหตุการณ์วินาศกรรมที่เกิดขึ้นมากกว่า และการรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านความมั่นคงในวันที่ 18 ก.พ.นี้