PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

3 แสนเสียงคัดค้าน #พรบคอม มีความหมายอะไรไหม ในเมื่อ สนช. ไม่รับฟัง

HIGHLIGHTS:

  • 3 แสนกว่าเสียงที่คัดค้าน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ แทบไร้ความหมายในแง่ของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แต่สะท้อนว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนถูกปิดกั้น การทำหน้าที่ของสื่อกระแสหลัก และสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีความบกพร่อง
  • ความพยายามปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ถือเป็นเทรนด์ที่ผู้นำอำนาจนิยมทั่วโลกกำลังพยายามเดินตาม เพราะโลกออนไลน์เป็นพื้นที่เสรีภาพสุดท้ายที่คงเหลืออยู่
  • นับจากนี้ประชาชนยังต้องจับตามองการทำงานของรัฐบาลต่อไปจนกว่ากฎหมายฉบับนี้จะถูกบังคับใช้จริง
ในประวัติศาสตร์ไทยก็ไม่เคยมีกฎหมายฉบับไหนที่มีเสียงประชาชนคัดค้านมากขนาดนี้มาก่อน
    เป็นไปตามความคาดหมาย หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวาระที่ 3 ด้วยจำนวนผู้เข้าประชุม 172 เห็นด้วย 168 ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 5
​     ท่ามกลางเสียงคัดค้านเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้คนในโลกออนไลน์ที่รวมตัวกันลงชื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ change.org กว่า 360,000 ราย โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนหลังจากที่ประชาชนเริ่มตื่นตัว และแสดงความกังวลกันอย่างต่อเนื่องทั้งในทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก​     
​     แม้กฎหมายฉบับนี้จะผ่านการพิจารณา และกำลังจะถูกบังคับใช้ภายในไม่เกิน 120 วันนับจากนี้ แต่จากการตื่นตัวของภาคประชาชนก็ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า แล้ว 3 แสนกว่าเสียงที่เกิดขึ้นนั้นยังมีความหมายอยู่ไหม? และหลังจากนี้ประชาชนจะทำอะไรได้บ้างถ้าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้?
​     The Momentum ต่อสายตรงถึง ผศ. ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบในเรื่องนี้
 
“ผมสังเกตเห็นว่า สื่อกระแสหลักอย่างหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้
หรือรายงานข่าวเรื่องนี้น้อยมาก กลายเป็นว่าสื่อออนไลน์และคนใช้สื่อออนไลน์ตื่นตัวกันมากกว่า
แต่ไม่ปรากฏเป็นข่าว มันยิ่งสะท้อนว่าทำไมพื้นที่สื่อสารออนไลน์ถึงสำคัญ แล้วทำไมรัฐถึงอยากจะควบคุม

3 แสนเสียงสะท้อนความเป็นจริงในยุค คสช.

​     ในแง่ของผลลัพธ์ที่ออกมา แน่นอนว่า 3 แสนกว่าเสียงของภาคประชาชนไร้ความหมาย แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นการสะท้อนประเด็นปัญหาบางอย่างที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ภายใต้อำนาจรัฐบาล คสช.
​     “มันสะท้อนว่าเราอยู่ในยุคที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนถูกปิดกั้น แต่อย่าลืมว่า 3 แสนกว่าเสียงเป็นจำนวนที่มากมายมหาศาล คือในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ เวลาประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือจะถอดถอนนักการเมือง ใช้เสียงแค่ไม่กี่หมื่นด้วยซ้ำ ฉะนั้น 3 แสนกว่าเป็นปริมาณที่มากมหาศาล แล้วในประวัติศาสตร์ไทยก็ไม่เคยมีกฎหมายฉบับไหนที่มีเสียงประชาชนคัดค้านมากขนาดนี้มาก่อน
​     “ฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่คนตื่นตัวกันมาก แล้วถ้าไปดูรายชื่อ หรือกระแสคัดค้านก็จะเห็นว่ามีที่มาจากหลายกลุ่ม หลายฝ่าย แล้วก็ข้ามสีด้วย แม้แต่คุณกรณ์ จาติกวณิช หรือนักธุรกิจต่างๆ ก็ออกมาแสดงความกังวล เพราะมันก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน หรือเศรษฐกิจดิจิทัล คือทุกคนเห็น พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็ต้องกลัว มันก็น่าเสียดาย คือหนึ่งปริมาณเยอะขนาดนี้ สอง คือมันข้ามกลุ่ม ข้ามสี มีหลายกลุ่มที่ออกมาแสดงความกังวล แต่มันก็ยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้”
​     ไม่เพียงแค่สะท้อนความตื่นตัวของภาคประชาชนเท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นยังเป็นการสะท้อนการทำหน้าที่ของสื่อกระแสหลัก และความไร้ประสิทธิภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย
​     “ผมสังเกตเห็นว่า สื่อกระแสหลักอย่างหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ หรือรายงานข่าวเรื่องนี้น้อยมาก กลายเป็นว่าสื่อออนไลน์และคนใช้สื่อออนไลน์ตื่นตัวกันมากกว่า แต่ไม่ปรากฏเป็นข่าว มันยิ่งสะท้อนว่าทำไมพื้นที่สื่อสารออนไลน์ถึงสำคัญ แล้วทำไมรัฐถึงอยากจะควบคุม เพราะพูดง่ายๆ คือ สื่อกระแสหลักถูกควบคุมได้ง่าย แล้วก็มักจะเซ็นเซอร์ตัวเอง ก็คือไม่ค่อยกล้ารายงานอะไรที่เป็นเรื่องของการตรวจสอบรัฐบาล แล้วเสียงของประชาชนถึง 3 แสนกว่าเสียงมันกลับไม่ถูกสะท้อนผ่านสื่อกระแสหลักว่ามีความตื่นตัวขนาดนี้
​     “ยิ่งถ้าดูจากการโหวตออกเสียงวันนี้ก็ชัดเจนว่า 3 แสนกว่าเสียงไม่มีผลอะไรเลย ขนาดคนคัดค้านขนาดนี้ก็ยังผ่านไปได้ด้วยเสียงข้างมากอย่างเป็นเอกฉันท์ เกือบ 100% คือมีคนงดออกเสียง แต่ไม่มีใครไม่เห็นด้วยแม้แต่คนเดียว ซึ่งมันน่าตกใจมาก เพราะในเมื่อกฎหมายมันมีปัญหา มีช่องโหว่เยอะแยะที่มีคนชี้ให้เห็น แต่ไม่มีใครที่อยู่ในนั้นแม้แต่คนเดียวที่จะสนใจ ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ หรือนักวิชาการต่างๆ ที่อย่างน้อยน่าจะท้วงติงหรือไม่เห็นด้วย
​     “คือตามปกติกฎหมายมันไม่ได้ผ่านด้วยเสียงเอกฉันท์ขนาดนี้หรอก มันก็สะท้อนว่าพอเราไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร นี่ก็คือผลที่เกิดขึ้น แบบที่เราชอบพูดกันว่าเผด็จการรัฐสภา นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเลยล่ะ คือผู้มีอำนาจอยากได้แบบนี้ ทำกฎหมายเข้าไปในสภา สภาก็ให้ผ่านได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องฟังเสียงของประชาชนเลย”
 
เทรนด์ของรัฐบาลทั่วโลกคือเน้นการควบคุมข้อมูลข่าวสารมากขึ้น
อย่างที่เราเห็นในกรณีของรัสเซีย หรือจีนที่กำลังใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มข้น
เพราะรัฐบาลรู้ว่าเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการรักษาอำนาจไว้ได้
คือการควบคุมความคิดประชาชน
ปิดกั้นเสรีภาพในโลกออนไลน์ เทรนด์ใหม่ของรัฐบาลทั่วโลก
​     ไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่ประชาชนต้องต่อสู้กับภาครัฐเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในโลกออนไลน์ แต่ทิศทางการควบคุมโลกออนไลน์กำลังเป็นเทรนด์ที่ผู้นำอำนาจนิยมทั่วโลกกำลังมุ่งไปสู่
​     “เทรนด์ของรัฐบาลทั่วโลกคือเน้นการควบคุมข้อมูลข่าวสารมากขึ้น อย่างที่เราเห็นในกรณีของรัสเซีย หรือจีนที่กำลังใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มข้น เพราะรัฐบาลรู้ว่าเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการรักษาอำนาจไว้ได้ คือการควบคุมความคิดประชาชน หรือ though control ซึ่งจะควบคุมได้ ก็ต้องควบคุมข่าวสารไม่ให้มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาล เพื่อจะได้รักษาอำนาจไว้ได้อย่างยาวนาน
​     “ในแง่ภูมิทัศน์สื่อปัจจุบัน พื้นที่ออนไลน์ถือเป็นพื้นที่ที่มีอิสระที่สุดแล้ว คือควบคุมได้ยาก ปิดกั้นได้ยาก ต่างจากทีวีและหนังสือพิมพ์ที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เลยไม่มีใครกล้าคัดค้านรัฐบาล เพราะกลัวโดนปิด เลยต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่พื้นที่ออนไลน์เป็นพื้นที่ของประชาชน หรือสื่อกลุ่มใหม่ๆ มันเลยเป็นพื้นที่ที่ให้ข้อมูลข่าวสารทางเลือกมากกว่ากับประชาชน ฉะนั้นรัฐทั้งหลายเลยอยากจะมาควบคุมพื้นที่ตรงนี้
​     “มันเลยกลายเป็นสมรภูมิสำคัญในการต่อสู้ระหว่างรัฐที่ต้องการปิดกั้นกับประชาชนที่ต้องการสิทธิเสรีภาพ เพราะถ้าถูกควบคุมหรือปิดกั้นตรงนี้ได้อีก ก็ไม่เหลืออะไรแล้ว รัฐบาลก็จะสามารถควบคุมข่าวสารได้อย่างเบ็ดเสร็จ”


“ไม่มีเรื่องซิงเกิลเกตเวย์” คำแถลงของภาครัฐที่ต้องตั้งคำถาม
​     หลังจากที่กฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาในวาระที่ 3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว พล.ต.อ. ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ในฐานะประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สนช. ได้แถลงต่อที่ประชุมสภาว่า
​     “ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณท่านประธานและสมาชิกทุกท่าน รวมทั้งผู้ที่ได้อภิปรายให้ความเห็นในการใช้ประกอบการพิจารณากฎหมายฉบับนี้เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเห็นที่มาจากหลากหลายทางประมาณ 2 แสน 3 แสนชื่อ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเตือนว่าในการพิจารณากฎหมายนั้นต้องพิจารณาในลักษณะของความรอบคอบ และก่อให้เกิดความสมดุลพอดีระหว่างการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมืองหรือฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐกับเรื่องสิทธิของบุคคล และสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย
​     “ทางสภาได้พิจารณาจนจบครบทุกมาตรา แล้วก็ผ่านไปในวาระที่ 3 เรียบร้อย ก็เป็นเครื่องยืนยันนะครับว่า สิ่งที่มีข้อกังวลหนึ่งบอกว่ามันจะมีเรื่องซิงเกิลเกตเวย์หรือไม่ อันนี้ก็มีคำตอบที่ชัดเจนนะครับในการพิจารณามาโดยตลอดหลายๆ ชั่วโมง มีการพักการประชุมบ้าง ตรงนี้ก็ต้องเรียนว่าไม่มีเรื่องนั้นเลย ความกังวลทั้งหลายที่ท่านได้กังวลมาทั้งหมดก็คงจะกระจ่างและชัดเจนว่ารัฐบาลโดยการนำของท่าน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ท่านได้คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ แล้วคณะรัฐมนตรีก็เห็นความสำคัญ แล้วนำมาซึ่งกฎหมายที่เข้ามาสู่การพิจารณาของสภา ก็ยืนยันว่าเป็นกฎหมายที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญที่จะต้องนำไปสู่การใช้ต่อไป แต่ไม่ไปละเมิดสิทธิของพี่น้องประชาชนหรือสิทธิส่วนบุคคลอย่างแน่นอน”
 
อย่าเพิ่งหมดหวัง ต้องจับตาดูและคอยส่งเสียงออกมา
เพราะนั่นเป็นวิธีเดียวที่เราจะควบคุมไม่ให้รัฐใช้อำนาจนี้ตามกฎหมายได้ตามอำเภอใจ

3 แสนเสียงต้องจับตามองจนกว่ากฎหมายจะบังคับใช้จริง

​     แม้จะยืนยันอย่างชัดเจนว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่มีเจตนาจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนอย่างแน่นอน แต่หลังจากนี้ ประชาชนคงต้องจับตามองกันต่อไปว่าเมื่อถึงเวลาบังคับใช้กฎหมายจริง จะเกิดผลลัพธ์อะไรบ้างในสังคม ซึ่ง ผศ. ดร. ประจักษ์ มองว่า
​     “ผมคิดว่า 3 แสนกว่าเสียงนี้ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองต่อไปในฐานะพลเมือง คือแม้ว่าตอนนี้กฎหมายผ่านไปแล้ว แต่สิ่งที่ประชาชนทำได้คือการจับตาดูเมื่อมันถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ดูในส่วนของการบังคับใช้ว่ามันนำไปสู่ปัญหาอะไรบ้าง พูดง่ายๆ ว่าตอนนี้สังคมเกิด active citizen ขึ้นแล้วในเรื่องนี้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เขาเติบโตมาพร้อมกับวัฒนธรรมเรื่องสิทธิเสรีภาพของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ก็ต้องเป็น active citizen ต่อไป อย่าเพิ่งหมดหวัง ต้องจับตาดูและคอยส่งเสียงออกมา เพราะนั่นเป็นวิธีเดียวที่เราจะควบคุมไม่ให้รัฐใช้อำนาจนี้ตามกฎหมายได้ตามอำเภอใจ”
​     เช่นเดียวกับเครือข่ายพลเมืองเน็ตที่ทำงานเคลื่อนไหวต่อต้าน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ที่ประกาศผ่านเพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/thainetizen ว่า
​     “หลังจากนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะออกประกาศกระทรวงดิจิทัลอีก 5 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของมาตรา 11, 15, 17/1, 20 และ 20/1 ต่อไป กลไกการใช้อำนาจของรัฐและเอกชน (ที่ได้รับมอบอำนาจ) จะปรากฏอยู่ในประกาศกระทรวงต่างๆ ข้างต้น...
​     “ขอให้ทุกคนจับตาดูต่อในสนามต่อไป ทั้ง ‘สนามเล็ก’ ของกฎหมายลูก #พรบคอม และ ‘สนามใหญ่’ ของร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เราหวังว่าจะเป็นกลไกคุ้มครองสิทธิของเราได้ สู้ต่อไปนะ เรามีเพื่อนใหม่อีกตั้ง 3 แสนกว่าคน”
​     ด้าน ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ที่ร่วมคัดค้าน พ.ร.บ. ฉบับนี้ ให้ความเห็นกับเว็บไซต์วอยซ์ทีวีว่า ขอให้ สนช. เอา พ.ร.บ. ดังกล่าวขึ้นเว็บไซต์โดยเร็ว เพื่อจะได้อ่านโดยละเอียดอีกครั้ง และจะคอยติดตามโดยละเอียดต่อไปถึงการบังคับใช้กฎหมาย และเก็บคำอธิบายและคำอภิปรายต่างๆ ในสภาวันนี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงต่อไป ส่วนกระบวนการเสนอชื่อแก้กฎหมายฉบับนี้ยังทำไม่ได้ เพราะขณะนี้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังไม่มีผลบังคับใช้
​     ส่วนทางด้าน ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในองค์กรที่ร่วมคัดค้าน พ.ร.บ. ฉบับนี้ระบุว่า
​     “ทางเรารู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมากที่ผลการพิจารณาออกมาเป็นเช่นนี้ พ.ร.บ. ควรออกมาเพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชน แต่ในหลายจุดของร่างแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้กลับเปิดช่องให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย ซึ่งไม่ใช่แค่แอมเนสตี้ที่แสดงความเป็นห่วงและเสนอให้มีการปรับแก้มาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนที่ลงชื่ออีกกว่า 360,000 คน ตลอดจนประชาคมโลกเองก็จับตามอง สนช. อย่างใกล้ชิดเช่นกัน หลังจากนี้เราก็คงต้องติดตามกันต่อไปในเรื่องของการบังคับใช้และการแก้ไขในอนาคต”

​     สุดท้ายเสียง 3 แสนกว่าเสียงคงไม่ไร้ความหมาย ถ้าประชาชนยังคงรวมตัวกันเหนียวแน่นเพื่อสอดส่องการทำงานของรัฐบาลต่อจากนี้ไป แม้จะมี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่คอยทำหน้าที่สอดส่องประชาชนอย่างใกล้ชิดก็ตาม

ว่าด้วยข่าวลือปรับ"บิ๊กป้อม"ออก


Sermsuk Kasitipradit
ลือกันมาตลอด อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด ว่าเที่ยวนี้หลุดแน่......ตรวจสอบแล้วน่าจะเม๊าท์กันเรื่อยเปื่อย..
พลเอกประวิตร "ยืนยันไม่เคยลาออกจากตำแหน่งหรือทะเลาะกับนายกรัฐมนตรี เชื่อเป็นการปล่อยข่าวทำลายรัฐบาล เผยหากทำงานไม่ไหวจะบอกกับนายกรัฐมนตรีและสื่อมวลชนเอง
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธกระแสข่าวลือลาออกจากตำแหน่ง เพราะถูกปรับอกจากคณะรัฐมนตรี โดยยืนยันไม่เคยทะเลาะกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และการเข้ามาทำงาน ก็อาสาเข้ามาเอง แล้วจะลาออกได้อย่างไร
ทั้งนี้ มองว่าข่าวที่ออกเป็นการปล่อยข่าวเพื่อให้รัฐบาลเสียหายทั้งที่ผ่านมา ตนเองทำทุกเรื่องตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีและงานก็คืบหน้าทุกเรื่อง แต่หากตนเองทำงานไม่ไหวก็จะบอกนายกรัฐมนตรีเอง
พร้อมกันนี้พลเอกประวิตร ขู่ฟ้องสำนักข่าวที่ปล่อยข่าวลือดังกล่าว เพียงเพื่อขายข่าว ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ที่สำคัญทำงานมา 50 ปี เจอมาทุกรูปแบบ จึงไม่เครียดและตกใจกับข่าวที่เกิดขึ้น
พลเอกประวิตร ยังกล่าวอีกว่า ไม่เคยบอกว่าจะอยู่ไม่ครบตามโรดแมป เพราะหากยังสุขภาพแข็งแรง อ่านหนังสือออก ก็ทำงานได้ และพร้อมช่วยงานรัฐบาลต่อ ไม่มีการน้อยใจ ไม่เชื่อว่าจะมีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวกับข่าวลือ พร้อมระบุมีหลายคนในคณะรัฐมนตรีตกเป็นเป้าในการถูกโจมตี แต่ตนเองน่าจะโดนหนักที่สุด เพราะทำงานมากหรือมีอำนาจมากเกินไป แต่เชื่อว่า ประชาชนจะไม่เชื่อข่าวนี้
นอกจากนี้ พลเอกประวิตร ยังยืนยันด้วยว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ไม่ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี และส่วนตัวก็รู้สึกชินกับข่าวลือ เพราะในอดีตก็เคยถูกลือว่าป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล ส่วนเรื่องปรับคณะรัฐมนตรีนั้น รู้หรือไม่รู้ก็พูดไม่ได้ ให้ไปถามจากนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม เห็นว่า ต้องมีการปฏิรูปสื่อมวลชน เพราะเขียนข่าวแบบไม่รับผิดชอบ และไม่สร้างสรรค์ โดยจะให้ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. เป็นผู้ดำเนินการ....นิวทีวี

สนช. มติเอกฉันท์ 168 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.คอมพ์

 สนช. มติเอกฉันท์ 168 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.คอมพ์

สนช.ผ่าน พ.ร.บ.คอมพ์ ฉลุย 168 เสียง ย้ำม.14(1)ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท พร้อมตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเพิ่มเป็น 9 คน ชี้การสอนฆ่าตัวตาย-ปล้น-ทำอาวุธ ขัดความสงบและศีลธรรมอันดี

เมื่อเวลา 10.20 น. วันที่ 16 ธันวาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วย
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระที่ 2 และ 3

ทั้งนี้ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปราย โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ ในมาตรา 11 วรรคสอง สมาชิกส่วนใหญ่ขอความชัดเจนของคำว่า “ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ” ว่ามีความ
หมายว่าอะไร และอะไรที่ทำให้เกิดความรำคาญ นอกจากนี้นายวัลลภ ตั้งคุณานุรักษ์ สมาชิกสนช. ได้สอบถามถึงเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวว่า เป็นอย่างไร อีเมล์ขยะควรจะต้องขออนุญาตประชาชนก่อนส่งหรือไม่ ไม่ใช่ว่ากฎหมายนี้อนุญาตให้ส่งอีเมล์ขยะมาก่อน แล้วค่อยเปิดช่องให้ผู้รับสามารถยกเลิกได้โดยง่าย

ขณะที่ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ในฐานะประธานวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้รับปฏิเสธอีเมล์ขยะตั้งแต่ต้น เพราะคิดว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์สซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส่งให้ผู้รับ เช่นเดียวกับนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ กล่าวว่า ในประกาศกระทรวงที่กำลังจะออกจะระบุว่าเรื่องใดที่ทำได้และไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ

ส่วนมาตรา 12 สมาชิกส่วนใหญ่ อาทิ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ นายดนัย มีชูเวท นายสมชาย แสวงการ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ และนายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ ขอความชัดเจนของคำว่า การกระทำต่อข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ “การบริการสาธารณะ” ว่ามีความหมายอย่างไร รวมทั้งท้วงติงมาตรา 12 วรรคสี่ การทำให้ผู้อื่นตายแต่ไม่ได้เจตนา เป็นการบัญญัติซ้ำกับประมวลกฎหมายอาญาที่มีอยู่หรือไม่ ซึ่งพล.ต.อ.ชัชวาล ชี้แจงว่า การทำให้ผู้อื่นตายแต่ไม่ได้เจตนา ไม่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ขณะเดียวกับกฎหมายอาญาบัญญัติในเรื่อง การทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้ทำร้ายร่างกายโดยตรง แต่เป็นการทำร้ายต่อระบบจนทำให้คนอื่นตาย ดังนั้น การบัญญัติว่า ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแต่มิได้มีเจตนา จึงไม่ซ้ำซ้อนกับประมวลกฎหมายอาญา

ด้านนางสุรางคณา วายุภาพ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ ชี้แจงถึงการเพิ่มคำว่า “การบริการสาธารณะ” ว่า ที่เพิ่มคำนี้ เพราะคำว่าโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะนั้นไม่ครอบคลุม
ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น สำนักทะเบียนของกรมการปกครอง บางคนมองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน แต่บางคนบอกไม่เข้าข่าย ฉะนั้นเส้นแบ่งของ 2 คำนี้บางครั้งไม่ชัดเจน จึงทำให้กมธ.เติมคำว่าการบริการสาธารณะเข้าไป เพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่กระทบกับเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลทั่วไป

สำหรับมาตรา 14 (1) ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการหลอกลวงหรือทุจริต ปลอม บิดเบือนทั้งหมดหรือบางส่วนข้อมูลคอมพิวเตอร์ นางสุรางคณา กล่าวว่า เจตนารมณ์เดิมของมาตรานี้ตั้งใจเอาผิดกับเรื่องฉ้อโกง ปลอมแปลง แต่การบัญญัติตามพ.ร.บ.คอมพ์ฯ พ.ศ.2550 นั้นทำให้เกิดความเข้าใจผิดและนำไปใช้กับความผิดฐานหมิ่นประมาท ครั้งนี้กมธ.จึงแก้ไขให้ตรงกับเจตนารมณ์ ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวเสริมว่า มาตราดังกล่าวถือว่ามีความชัดเจน ไม่เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท

ส่วนในมาตรา 20/1 ให้รัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน โดยมาจากภาคเอกชน 2 คน และหากเห็นว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการแพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์นั้น

โดยนายวัลลภ อภิปรายว่า การตั้งคณะกรรมการเพียง 5 คน หากมาประชุมเพียงแค่ 3 คนก็สามารถลงมติได้แล้ว ถามว่าจะให้ 3 คน ตัดสินชีวิตใครคนใดคนหนึ่งใช่หรือไม่ ดังนั้นขอความกรุณา กมธ.ช่วยปรับจำนวนเป็น 7 หรือ 9 คน และเชื่อว่าหากมีที่มาชัดเจนจะช่วยลดแรงต้านของสังคมได้ นอกจากนี้สมาชิกสนช.ยังสอบถามถึงคำจำกัดความ คำนิยมของคำว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” หมายถึงอะไร

พล.ต.อ.ชัชวาลย์ จึงชี้อแจงว่า มาตรา 20/1 บัญญัติว่าข้อมูลอันขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีเป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจไปกระทบสิทธิส่วนบุคคล ส่วนความหมายของคำว่า “ขัด
ต่อความสงบเรียบร้อยฯ” และอะไรที่ขัดต่อความสงบฯนั้น ไม่เคยมีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งที่ประชุมกมธ.ได้หารือกันแล้ว พบว่าศาลจะมีแนวทางพิจารณาอยู่แล้วว่าเรื่องใดขัดต่อความสงบบ้าง ซึ่งมาตราดังกล่าวศาลจะพิพากษาให้ระงับหรือลบข้อมูลเท่านั้น ไม่มีความผิดใดๆ แต่ถ้าไม่ทำตามที่ศาลสั่งถึงจะมีความผิด

“สำหรับตัวอย่างความผิดตามมาตราดังกล่าว เช่น สอนวิธีการฆ่าตัวตาย วิธีการปล้น หรือวิธีทำอาวุธ ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อเผยแพร่แล้วถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เป็นต้น”
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าว

ผู้สือข่าวรายงานว่า เมื่อที่ประชุมพิจารณาถึงมาตราดังกล่าว นายพรเพชร ได้สั่งพักการประชุม 30 นาที เพื่อขอให้กมธ.และผู้ที่ติดใจปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวในเรื่องที่มาและจำนวนของคณะกรรมการกลั่นกรอง จนกระทั่งเปิดประชุมอีกครั้ง พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ชี้แจงว่า หลังจากที่หารือแล้ว เห็นว่าการที่มีคณะกรรมการกลั่นกรอง จำนวน 5 คน แม้คำตัดสินจะไม่มีผลต่อการกระทำผิดหรือถูก แต่นำไปสู่การยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งระงับหรือลบข้อมูลดังกล่าวออกไป ซึ่งกมธ.เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนจำนวนคณะกรรมการกลั่นกรองจาก 5 เป็น 9 คน และคำตัดสินต้องมีคะแนนเกินครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการกลั่นกรอง หรือ 5 คน นอกจากนี้คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ ที่มาจากภาคเอกชน จำนวน 3 คน ให้มาจากด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสื่อสารมวลชน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สุดท้ายที่ประชุมได้ลงมติเป็นรายมาตราในวาระ 2 และลงมติในวาระ 3 เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ ด้วยคะแนน 168 ต่อ 0 งดออกเสียง 5 เสียง ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
------------
ผอ.ไซเบอร์ ทบ. ยัน พ.ร.บ.คอมพ์ช่วยปกป้อง ปชช. จัดการคนผิด พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ผอ.ไซเบอร์ ทบ. เชื่อ สนช. พ.ร.บ.คอมพ์ผ่านวาระ 3 โดยได้ปรับแก้ตามข้อเสนอฯ และมั่นใจไม่กระทบ ปชช.ทั่วไป

วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ กองทัพบก (ศซบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่…พ.ศ. ….เข้าสู่การพิจารณาวาระ 3 ว่า ทางเจ้าหน้าที่มีความเข้าใจถึงความกังวลต่อร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดในร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่น้อยมาก และขาดการประชาสัมพันธ์ชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชนจากหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในข้อกฎหมายต่างๆ รวมถึงประโยชน์ของประเทศชาติที่จะได้รับจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ตลอดจนประโยชน์ด้านการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม และดูแลปกป้องประชาชนส่วนรวมจนถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ปกติทั่วไป ยกเว้นผู้ที่จงใจฝ่าฝืนในการกระทำความผิดและละเมิดกฎหมายเท่านั้น

พล.ต.ฤทธีกล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าสมาชิก สนช. และกรรมาธิการ (กมธ.) จะรับข้อเสนอและข้อคิดเห็นต่างๆ มาพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนผ่านใน วาระ 3 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล การจำกัดเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลและการแสดงออกที่ไม่ละเมิดกฎหมาย การกำหนดมาตรการปฏิบัติด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การตีความข้อกฎหมายต่างๆ การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมตามข้อทักท้วง เพราะทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน

“ประเด็นแนวคิด มุมมองของฝ่ายความมั่นคง คงจะพิจารณาถึงความจำเป็นในการควบคุมเส้นทางการจราจรทางอินเตอร์เน็ตแบบช่องทางเดียว เพื่อป้องกันและสกัดกั้นข้อมูลและการกระทำที่เป็นภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งหลายประเทศกำลังถูกโจมตีอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น และความมั่นคงของประเทศ” พล.ต.ฤทธีกล่าว

พล.ต.ฤทธีกล่าวต่อว่า ในทางปฏิบัติ ซิงเกิลเกตเวย์ของไทยคงเป็นเพียงแนวทางการศึกษาตามที่ทางนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงไปนานแล้ว โดยให้ไปศึกษาดูทั้งในด้านกฎหมายและด้านเทคนิคที่จะรวมเส้นทางอินเตอร์เน็ตจากหลายช่องทางปัจจุบันมาเป็นแบบช่องทางเดียวว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงผลกระทบทั้งด้านการลงทุน ด้านการบริการ ด้านการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และด้านความเชื่อมั่นต่างๆ เมื่อศึกษาแล้ว ก็ต้องนำมาพิจารณาและผ่านขั้นตอนทางกฎหมายแบบ พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาดังกล่าว คงไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะมีหลายขั้นตอน และมีผลกระทบกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดิจิทัลของประเทศ

เมื่อถามว่า มีประเด็นข้อกฎหมายที่มีการทักท้วงและคัดค้านกันอยู่ในหลายประเด็น เช่น เรื่องของการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว มองว่าอย่างไร ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.กล่าวว่า ต้องขอชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชน ในประเด็นที่ 1.เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจะปิดเว็บไซต์หรือมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลได้ทันที แต่ทำโดยคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลฯ ซึ่งมีภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการ 2 ใน 5 คน เพื่อพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ จากนั้นจึงไปขอความเห็นชอบต่อรัฐมนตรี และพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องไปยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ซึ่งศาลก็มีแนวทางในการใช้ดุลพินิจ

พล.ต.ฤทธีกล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 2.ข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ประชาชนโดยทั่วไปในวงกว้าง ไม่ใช่กระทบแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งหากปล่อยให้ข้อมูลดังกล่าวแพร่หลายแล้วจะเกิดความเสียหาย และประเด็นที่ 3 กรณีตาม ม.14 (2) เป็นการขยายถ้อยคำว่าจากกฎหมายเดิมที่บัญญัติเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ แต่ตามในร่างที่แก้ไขเพิ่มรายละเอียดว่า ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศมีเรื่องใดบ้าง เพื่อให้ชัดเจนขึ้น และไม่นำมาใช้กับเรื่องหมิ่นประมาท เมื่อนำข้อมูลอันเป็นเท็จแล้วจะเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ การบริการสาธารณะของประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย
----------
ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.เตือน ปชช. โพสต์-แชร์ ข้อความบิดเบือน พรบ.คอมฯ เข้าข่ายผิด พรบ.คอมฯปี 50 เชื่อ ฝีมือกลุ่มป่วนเดิม ปลุกผี ซิงเกิลเกตเวย์ หาแนวร่วมป่วนเว็บไซต์ราชการ

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ กองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนบางส่วนโพสต์หรือแชร์ข้อความที่เป็นเท็จในโซเชียลมีเดีย กรณี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

พ.ศ.2559 ของบางกลุ่มบางบุคคล ว่า จากพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความคึกคะนอง ซึ่งอาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดทางกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 50

เดิม เนื่องจากมีการตรวจพบข้อมูลในโซเชียลมีเดีย มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงทั้งในด้านข้อกฎหมายต่างๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และ

การนำเอาเรื่องซิงเกิลเกตเวย์ Single Gateway มาผูกโยงกับ ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2559 เพื่อให้เกิดกระแสการคัดค้าน ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่มีปรากฎข้อความเกี่ยวข้องกับเรื่อง Single
Gateway แม้แต่น้อย

พล.ต.ฤทธี กล่าวต่อว่า ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลยืนยันมาตลอดว่าไม่มีแนวคิดที่จะดำเนินการ Single Gateway แต่อย่างใด พร้อมทั้งเชื่อว่าเป็นการปลุกกระแสดังกล่าวเป็นพฤติกรรมของคนกลุ่มเดิมที่คัดค้าน และพยายามปลุกผี Single Gateway มาหลอกหลอนประชาชนให้หลงเชื่อและตื่นตระหนก เพื่อดึงเข้ามาเป็นแนวร่วมในขบวนการก่อกวน ป่วนเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการเพื่อเป็นการตอบโต้มติ สนช. ในการผ่านร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งการกระทำของกลุ่มดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย สร้างความเสียหาย และไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคมเลย จึงขอให้หยุดพฤติกรรมการป่วนเว็บไซต์หน่วยราชการของกลุ่มดังกล่าว

“ผมใคร่ขอแนะนำประชาชนที่บริโภคข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลมีเดียอย่างมีสติ พึงตระหนักในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แบบฟังหูไว้หู ควรตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงเสียก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นหรือแชร์ข้อมูลใดๆ อ่านดูเฉยๆ ปลอดภัยที่สุด จะได้ไม่หลวมตัวตกเป็นเครื่องมือของคนบางกลุ่ม หากต้องการแสดงความคิดเห็น ควรพิจารณาข้อความที่จะโพสต์ลงไปว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือไปละเมิดกฎหมาย อย่ากระทำไปด้วยอารมณ์ ความคึกคะนอง หรือตามกระแส ” ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.กล่าว

--------
F5เว็บล่มคุก5ปีปรับ1แสนบาท

รองโฆษก ตร.เตือน ปชช.ต้าน “Single Gateway” กด F5 ทำเว็บล่ม มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน
               16 ธ.ค. 59  จากกรณีเพจ @OpSingleGateway “ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway ” ได้มีการนัดหมายผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร่วมกันแสดงออกในการต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ในการทำปฏิบัติการ “ F5 for All Thai People ” จนทำให้เว็บไซต์ของรัฐสภา www.parliament.go.th ล่ม ไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ นอกจากนี้เพจดังกล่าวได้นัดปฏิบัติการอีกครั้งในวันที่ 16 ธ.ค. เวลา 14.00 น. ซึ่งเป็นวันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ วาระ 2 - 3 นั้น

  ล่าสุด เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.)  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. กล่าวว่า มีบุคคลบางกลุ่มพยายามดำเนินการก่อกวน โดยนัดกันไปป่วนเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ จนไม่สามารถเข้าชมได้ เพื่อแสดงการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ในช่วงเมื่อวานนี้ตามที่ปรากฏตามข่าวนั้น สำหรับผู้ที่เข้าไปกระทำความผิด ที่หลงเชื่อเข้าไปกระทำความผิดนั้นจะมีความผิดตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดนระงับชะลอขัดขวางหรือถูกรบกวนจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ มีความผิดจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกส่วนคือผู้ยุยงส่งเสริมปลุกปั่นเพื่อให้กลุ่มคนกระทำความผิดจะสุ่มเสี่ยงต่อความผิดมาตรา 116 (3) ฐานยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี

               “ทั้งนี้ อยากฝากเตือนประชาชนว่า ไม่ควรหลงเชื่อกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเสียหายต่อเว็บไซต์ต่างๆ หากประชาชนต้องการแสดงความไม่เห็นด้วยในกรณีดังกล่าว

มีช่องทางมากมายที่สามารถแสดงความเห็นอยู่แล้ว เช่น ช่องทางการแสดงออกตามกระทู้ต่างๆ หรือการยื่นหนังสือทักท้วง และการลงชื่อร่วมกันเพื่อนำไปยื่นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ฝ่าย

นิติบัญญัติสามารถออกกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ แต่การเข้าไปดำเนินการกดคีย์บอร์ด F5 เพื่อให้เว็บไซต์ต่างๆ ล่มนั้น เป็นการกระทำที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน โดยเจ้า

หน้าที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจสอบหาผู้กระทำผิด รวมถึงสืบสวนสอบสวนหาเจ้าของเพจที่ยุยงปลุกปั่นดังกล่าวว่าอยู่ในประเทศหรือนอกประเทศก่อนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป”
------------------
สนช.เห็นชอบ ร่าง พรบ.คอมฯ ให้เป็นกฎหมาย ไร้เสียงไม่เห็นชอบในสภา

เมื่อเวลา 15.50น. ของวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติเห็นชอบ ประกาศให้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมาย ด้วยองค์ประชุม 172 ผลการลงมติ 168 เสียงเห็นด้วย ใน

ขณะที่เสียงไม่เห็นด้วยั 0 เสียง แม้ว่าจะมีประชาชนยื่นหนังสือคัดค้านพร้อมรายชื่อ 3 แสนกว่ารายเมื่อ 15 ธันวาคม 2559 ก็ตาม

โดย พรบ.คอมพิวเตอร์ จะมีผลบังคับใช้ใน 120 วันหลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา

จากการรายงานของเพจ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ที่นำรายชื่อผู้ร่วมคัดค้าน พรบ.คอม ผ่านทาง Change.org กว่า 3 แสนราย ได้โพสต์ facebook รายงานว่า “ หลังจากนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ

สังคม จะออกประกาศกระทรวงดิจิทัลอีก 5 ฉบับซึ่งเป็นกฎหมายลูกของมาตรา 11, 15, 17/1, 20 และ 20/1 ต่อไป “

ในขณะที่ Hashtag twitter พรบ.คอม มีคนจำนวนมากแสดงความเห็นในประเด็นที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติเห็นชอบ อย่างกว้างขวาง และทางด้านเพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway :

Thailand Internet Firewall #opsinglegateway ก็จะมีประกาศแถลงการณ์เตรียมเคลื่อนไหวในเวลา 19.00
---------------

‘บิ๊กป้อม’ สีหน้าไม่สู้ดี-หลบสัมภาษณ์ ปมลาออกจากตำแหน่ง


ประวิตร

“บิ๊กป้อม” หลบสัมภาษณ์ ปมลาออกจากตำแหน่ง ยันไม่เป็นความจริง
วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่กระทรวงกลาโหม ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภายหลังมีกระแสข่าวลาออก โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตรเป็นประธานพิธีถวายภัตตาหารเช้าและพระพิธีธรรมสวดอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายในพระบรมมหาราชวัง หลังจากนั้นเดินทางไปพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในเวลา 08.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล และกลับเข้ามาในกระทรวงกลาโหมเพื่อรอรับการเข้าเยี่ยมคำนับของนาง Donica Pottie (โดนิกา พอตตี) เอกอัครราชทูตแคนาดา เข้าพบในเวลา 10.00 น. จากนั้นต้อนรับนาย Zheng Xiaosong (เจิ้ง เสี่ยวซง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิเทศสัมพันธ์ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดย พล.อ.ต.รังสรรค์ เยาวรัตน์ ผู้ช่วยโฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า พล.อ.ประวิตรได้เรียกตนเข้าไปพบและสอบถามว่าสื่อมวลชนจะขอสัมภาษณ์เรื่องอะไร โดยตนได้ตอบไปว่าประเด็นข่าวลือการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยท่านได้ฝากมาบอกสื่อว่า วันนี้ไม่ให้สัมภาษณ์ พร้อมทั้งระบุถึงกระแสข่าวดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง และเป็นการปล่อยข่าวของสื่อบางสำนัก และไม่ได้รู้สึกกังวลต่อประเด็นดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตรมีสีหน้าไม่ค่อยดีเท่าที่ควรในระหว่างเดินทางเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงกลาโหม

ชูวิทย์ ดีใจ หลังออกจากเรือนจำ ลูกภรรยาเข้าสวมกอด ยืนยัน ไม่กลับมาเล่นการเมือง

ชูวิทย์ ดีใจ หลังออกจากเรือนจำ ลูกภรรยาเข้าสวมกอด ยืนยัน ไม่กลับมาเล่นการเมือง เตรียมบินรับปริญญาลูกสาวที่อเมริกา
ภายหลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานอภัยโทษ โดยเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งจะมีผู้ต้องโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ และได้รับการปล่อยตัวทันทีประมาณ 30,000 คน ทั่วประเทศ
หนึ่งในนั้นคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ และผู้ต้องขังคดีรื้อบาร์เบียร์ที่ต้องโทษจำคุกคนละ 2 ปี จากกรณีมีกลุ่มชายฉกรรจ์หลายร้อยคน พร้อมรถแบกโฮบุกทำลายร้านบาร์เบียร์ บริเวณสุขุมวิทสแควร์ ซ.สุขุมวิท 10 แขวงและเขตคลองเตย กทม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2546 ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัววันนี้
15590200_1190846307636924_7881303344784151133_n
ทันทีที่ประตูเรือนจำเปิดลูกสาวนายชูวิทย์ ได้เข้าสวมกอด นายชูวิทย์ ก่อนนายชูวิทย์จะออกมาให้สัมภาษณ์ ว่า รู้สึกดีใจ และสำนึกในพระมหาการุณาธิคุณต่อ ในหลวงรัชกาล 10 อย่างมาก สิ่งแรกที่อยากทำคือการกลับไปว่ายน้ำให้สบายตัว ส่วนในวันพรุ่งนี้จะเดินทางไปหาลูกสาวที่สหรัฐอเมริกา เวลา 17.00 น. เพื่อร่วมงานรับปริญญา 5 วัน
ตลอดเวลาที่อยู่ในคุกตนรู้สึกสำนึกผิด และพร้อมใจยอมรับต่อสิ่งที่ตนทำผิด จึงอุทิศตัวเป็นผู้ช่วยในทัณฑสถานโรงพยาบสลราชทัณฑ์ ซึ่งตั้งแต่ทำงานมาได้เห็นอะไรมากมาย เก็บศพไปแล้ว 80 ศพ จึงอยากจะทำบุญให้พวกเขา
พร้อมกันนี้ยอมรับว่า ยังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไรต่อหลังจากได้รับการปล่อยตัว แต่จะไม่ขอกลับไปเล่นการเมืองอย่างแน่นอน เพราะไม่อยากติดคุกอีกแล้ว ไม่มีความสุขใดจะเท่ากับการกลับมามีอิสระภาพอีกครั้ง
จากนั้นนายชูวิทย์ได้ทำท่าดีใจ พร้อมถ้าสูดอากาศให้สื่อมวลชน ได้ถ่ายภาพเพื่อแสดงถึงการได้รับเสรีภาพอีกครั้ง ก่อนเดินขึ้นรถเพื่อกลับบ้านซึ่งภรรยาได้โผเข้ากอดและหอมแก้มนายชูวิทย์ก่อนขึ้นรถด้วย
สำหรับนายชูวิทย์ เหลือโทษจำคุก 6 เดือน จึงเข้าเกณฑ์พระราชทานอภัยโทษ และถูกจัดเป็นนักโทษชั้นดี เนื่องจากช่วยงานที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และถูกปล่อยตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์
ส่วนผู้ต้องโทษรายอื่น อย่าง นายเฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือผู้พันตึ๋งไม่เข้าข่ายได้รับการอภัยโทษ เพราะถูกลดชั้นปรับเป็นนักโทษชั้นเลว
เช่นเดียวกับผู้ต้องขังในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เช่น นายขวัญชัย ไพรพนา ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับการลดวันต้องโทษหรือปล่อยตัว ตามพ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษในครั้งนี้เนื่องจากยังเป็นผู้ต้องขังชั้นกลางเช่นกัน
//
พ้นคุกปุ๊บ...แผลงฤทธิ์ทันที!!!  "ชูวิทย์" เฟซบุ๊คไลฟ์ หลังได้อิสรภาพ บอกคันปากอยากคุยกับ "สรยุทธ์"  เผยโดนขังวันละ15 ชั่วโมง ไม่เคยใช้สิทธิพิเศษอะไร

วันนี้ (16 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ถูกปล่อยตัวพ้นโทษจากเรือนจำแล้ว เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ตนโดนขังวันละ 15 ชั่วโมง และไม่เคยใช้สิทธิพิเศษอะไร เพราะไม่อยากให้เอาเป็นตัวอย่าง อยากให้คนมองเป็นประสบการณ์

"คุณไม่รับผิดชอบต่อกฎหมาย แล้วคุณจะรับผิดชอบต่อสังคมยังไง ขออภัยที่ออกมาช้า เดี๋ยวรอทีเด็ด วันข้างหน้าเป็นอย่างไรไม่รู้ วันข้างหน้าอาจคันปาก อยากจะไปออกทีวีคุยกับสรยุทธ์ ถ้าไม่อยู่ไม่เป็นไร คนอื่นก็ได้" นายชูวิทย์ ระบุ