คุยทุกเรื่องกับสนธิ (บันทึก) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2013 เวลา 9:28 น.

เคยมีหนังสือของนาย Jack Trout ที่เขียนมาหลายปีแล้วชื่อ 'Repositioning'หรือการปรับตำแหน่งต่อมุมมองใหม่ โดย Jack Trout และSteve Rivkin ได้ร่วมกันเขียนหนังสือดังกล่าวโดยผู้เขียนหนังสือทั้งสองคนนี้ มองว่าในปัจจุบัน ใจของมนุษย์เรานั้น มีความลึกลับและซ้ำซ้อนมากที่เราไม่อาจหยั่งรู้ถึงได้นั้น และในความเป็นจริงของโลกสื่อสารที่มนุษย์เรากำลคือใจของมนุษย์เรานั้น กำลัง 'รับอะไรต่ออะไรไม่ไหวอีกแล้ว' หรือภาษาที่เขาใช้คือในปัจจุบันมนุษย์เราถูกการติดต่อสื่อสารจากช่องทางต่างๆที่ทำให้มนุษย์ถูกท่วมด้วยข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างเหลือคณานับหรือที่ JackTrout และ Steve Rivkin ใช้คำว่า 'Overcommunication'

Overcommunication  หมายถึงการเปลี่ยนเกมของการสื่อสารจากที่เคยเป็นในอดีตที่สร้างอิทธิพลเหนือจิตใจของผู้คนอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยปรากฏการณ์ดังกล่าว เริ่มมีให้มนุษย์ได้เริ่มรู้สึก นับจากปี 1970s และจากนั้นมา โลกได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสื่อของการสื่อสารที่ Jack Trout และSteve  Rivkin เสนอจากหนังสือที่เขาได้เขียนไว้โดยมีความว่า

ข้อมูลข่าวสารถูกผลิตขึ้นมาจากช่วง 30 ปีที่ผ่านมามีมากกว่าข้อมูลข่าวสารที่ถูกผลิตในช่วง5,000 ปีที่ผ่านมารวมกัน
สื่อทางด้านการพิมพ์ต่างๆถูกผลิตเพิ่มเป็นสองเท่าในทุกๆ4 หรือ5 ปี
ข่าวสารที่ถูกตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์ the New York  Times ในวันเดียวให้ข้อมูลมากกว่าคนในยุคศตวรรษที่สิบเจ็ด ที่คนในประเทศอังกฤษบริโภคข้อมูลอันนั้นที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตแทบชั่วชีวิตในการรับรู้ข่าวสารที่ New York Times ทำได้เพียงในวันเดียว
มีหนังสือถูกพิมพ์ประมาณ 4,000 เล่มในทุกๆวันทั่วโลก
คนทำงานในออฟฟิตหรือพวกปลอกคอขาว (White Collar) ใช้กระดาษคิดเป็นน้ำหนักได้กว่า70 กิโลกรัมในหนึ่งปีมากเป็นสองเท่ากว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ในทุกๆวันจำนวนหน้าเวบไซด์ถูกผลิตขึ้นบนเครือข่ายอินเตอร์เนทประมาณหนึ่งล้านหน้าอีเลคโทรนิกส์! ในปัจจุบันเวบไซด์ที่อยู่บนออนไลน์แล้วนั้นมีจำนวนมากกว่าหลายร้อยล้านเวบไซด์

และจากการสำรวจของนิตยสาร the Scientific American รวมถึงการส่งภาพผ่านทางดาวเทียมที่สามารถแพร่ภาพไปได้ในทุกๆมุมโลก

 เด็กในประเทศสหราชอาณาจักร พออายุได้ถึง18 ปีนั้นก็ได้นั่งดูรายการโฆษณาที่มาจากโทรทัศน์มากกว่า 140,000 ของรายการโฆษณาเข้าไปแล้ว

ในปัจจุบันช่องโทรทัศน์ทั่วทั้งโลกมีมากกว่า1,000 ช่องการโฆษณาก็มีการเผยแพร่แบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยเฉพาะการเผยแพร่ภาพของนักการเมืองที่ต้องถือว่าเป็นการเผยแพร่ภาพที่เกิดขึ้นแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างต่อเนื่องว่าหลักการและอุดมการณ์ของพวกเขานั้นมั่นคงมีหลักการไม่เคยเปลี่ยนแปลงไม่หลอกประชาชน

 โดยที่การเผยแพร่ภาพทางด้านการ 'ตลาด'  ก็จะมีการโฆษณามีการเผยแพรภาพแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นกันว่า'สินค้าของพวกเขามีความแตกต่างและเหนือล้ำกว่าสินค้าของคู่แข่ง'

ในปี 1950s มีรถยนตร์ยี่ห้อ GM, Ford, Chrysler, และAmerican Motors
ในปัจจุบัน เรามี Land Rover, Lexus, Hyundai,Infitini, Isuzu, Jaguar, Jeep, Kia, Land Rover, Maserati, ฯลฯ

ในปี 1970s มีโมเดลรถยนต์เสนอให้กับลูกค้าประมาณ140 โมเดล 
ในปัจจุบันเรามีโมเดลรถยนต์ที่เสนอให้แก่เรามากกว่า 300 โมเดล

ในอดีตเรารู้จัก Goodyear, Firestone, GeneralTire, แต่ในปัจจุบันเรามี Uniroyal, Yokohama, Dick Cepek, Dunlop, ฯลฯ

 แม้อย่างตลาดของจีนเองที่สมัยก่อนจะเสนอขายสินค้าจำพวกอาหารแบบเดียวกันแต่ในปัจจุบันจีนมีสินค้าจำพวกอาหารให้เลือกกว่า 135 แบรนด์ด้วยกัน

ในอดีตสหรัฐอเมริกามีเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ใหญ่ๆสามสถานีคือสถานีโทรทัศน์ABC, CBS, และNBC ที่มีคนดูทั่วประเทศกว่า90% แต่ในปัจจุบันอเมริกามีCNN, Fox  News, Golf Channel

และประเทศไทยของเราเองนอกจากโทรทัศน์ทาง FreeTV แล้ว เรามี Cable TV ที่เสนอแพร่ภาพออกมาเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน

เราอยู่ในโลกของ Overcommunication อย่างแท้จริงที่สุด


JackTrout ให้ความสำคัญของคำว่า 'ใจ' (mind) เป็นอย่างมาก และเขาได้มองว่า :
 ใจของมนุษย์เรานั้นเกลียดคำว่า'สับสนเป็นที่สุด
มนุษย์เรานั้นพึ่งพาการดำรงอยู่อย่างเรียกได้ว่าทุ่มชีวิตของการดำรงอยู่ โดยอาศัยการเรียนรู้มากกว่าสรรพสัตว์ต่างๆที่เคยดำรงอยู่บนโลกหรือกำลังดำรงอยู่

เราทราบกันอยู่ดีว่า การเรียนรู้นั้นมีจุดประสงค์ในการรับรู้ข้อมูลที่เราไม่เคยรู้มาก่อนหรือเป็นการรับรู้ต่อข้อมูลสิ่งใหม่และความทรงจำของเราคือการรับรู้และเก็บข้อมูลไว้ความทรงจำของมนุษย์เรานั้นไม่ได้มีอยู่เพียงการจำเบอร์โทรศัพท์ ความทรงจำคือระบบทางพลวัตรของกระบวนการทางความคิด(Thought Process)  เราใช้ความทรงจำในการมองเห็นในการเข้าใจภาษาที่เราใช้ เราใช้มันรอบตัวอยู่ในทุกๆวันในกิจการทุกอย่าง



นาย Trout ให้ความสำคัญต่อคำว่าความทรงจำ (memory)เป็นอย่างมาก และเขาก็ต้องการให้ผู้อ่านรู้ว่าความทรงจำเป็นสิ่งที่สำคัญมากแต่ในที่สุดนาย Troutก็ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจไว้ว่าถ้าความทรงจำเป็นสิ่งที่สำคัญมากอะไรคือเคล็ดลับในการที่เราสามารถจดจำอะไรต่ออะไรได้อีกในเมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหาในเรื่อง Overcommunication

ตอนที่ไอสไตน์ถูกถามว่าอะไรคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการขบคิด หรือกระบวนการในการสร้างความคิด  ต่อทฤษฏีว่าด้วยความสัมพัทธ์ (relativity theory) ไอสไตน์ตอบว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการขบคิดต่อทฤษฏีดังกล่าวคือ'พยายามให้รู้ได้ว่าอะไรคือปัญหา' การคิดถึงปัญหาให้ได้ก่อนว่ามันคืออะไรเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาได้พบหลักทฤษฏีว่าด้วยความสัมพัทธ์

คือความสามารถในการสร้างความกระบวนการทางความคิด ให้ออกมาให้ได้ เพื่อเราจะได้ 'หยั่งรู้' ถึงปัญหาได้ในที่สุดวิธีการที่ดีที่สุดในการหยั่งรู้ถึงปัญหาคือการเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ของสิ่งที่เราต้องการจะรู้ หมายถึงเราต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของสิ่งที่เราต้องการจะแสวงหา(what is the particular nature of the things we are seeking-Marcus Aurelius ปราชญ์โรมันกล่าวไว้เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว) ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของการถูก'overcommunicate'อย่างเช่นในโลกปัจจุบัน



กล่าวโดยสรุปคือ ในโลกของ overcommunication นั้นเราจำต้องอาศัยกระบวนการทางความคิดให้มาก และเราจะสร้างกระบวนการทางความคิดได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจถึงธรรมชาติของสิ่งที่กำลังแสวงหาอุปมาคือถ้าเราทำกุญแจตกอยู่ในที่มืด แล้วเราเดินไปสักครู่ไปพบคนเอาไฟฉายให้กับเราเราก็ต้องเอาไฟฉายกลับไปส่องที่ที่เราทำกุญแจหายถ้าเรายืนอยู่กับที่ไม่ยอมเดินกลับไปที่มืดเราก็จะไม่สามารถพบกุญแจที่เราทำหายไปได้ แม้ว่าเราจะมีไฟฉายอยู่ในมือก็ตามเราจะอ้างว่า 'ก็ผมมีไฟฉายแล้วทำไมผมถึงไม่เจอกุญแจที่ผมทำหายไป'

การแก้ปัญหาในเรื่องของ Overcommunication ก็น่าจะแก้ไปที่ว่าอะไรคือธรรมชาติของสิ่งที่เรากำลังแสวงหาอยู่