PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทำลายบ้านเมืองด้วยการไม่รักษากฎหมาย

โดย วสิษฐ เดชกุญชร

          เรื่องที่น่าวิตกที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับเมืองไทยทุกวันนี้ได้แก่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของผู้รักษา กฎหมาย โดยเฉพาะตำรวจ
          หน้าที่ของตำรวจคือสอดส่องดูแลป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายและหาก มีก็ต้องจับกุมเอาตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อฟ้องร้องให้ศาลลงโทษ
          ที่ว่าน่าวิตกที่สุดก็เพราะว่าในระยะนี้มีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้นติดๆ กันหลายครั้ง ที่แสดงว่า ตำรวจอาจจะกำลังไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม
          กรณีผู้สวมหน้ากากสีขาวชุมนุมในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนนี้ แล้วถูกคน สวมเสื้อแดงขัดขวางและกลุ้มรุมทำร้ายจนบางคนได้รับบาดเจ็บเป็นกรณีล่าสุด  หนึ่งสัปดาห์ก่อน หน้านั้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ มิถุนายนขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เปิดเวที ปราศรัย “ผ่าหาความจริง” คนเสื้อแดงได้ยกพวกไปก่อกวนขัดขวางและใช้ของแข็งยิงและขว้างปา ผู้ที่กำลังชุมนุมฟังการปราศรัย จนบางคนได้รับบาดเจ็บ
          ในกรณีเดียวกันคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคุณชวน หลีกภัยที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ถูกคนเสื้อแดงขัดขวาง จนกระทั่งต้องล้มเลิกการเดินทางไปร่วมปราศรัยที่จังหวัดลำพูน
          ขณะเกิดเหตุทั้งที่ลำพูนและที่เชียงใหม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นที่อนุมานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไปเพื่อรักษาความสงบ แต่ครั้นเมื่อความไม่สงบเกิดขึ้นตำรวจก็ปฏิบัติหน้าที่อย่าง หละหลวมหรือเหลาะแหละ ที่สำคัญก็คือตำรวจมิได้เข้าป้องกันมิให้มีการทำร้ายร่างกายกัน
          สาเหตุที่ตำรวจไม่กล้าทำหน้าที่อย่างเต็มภาคภูมิก็คงเป็นเพราะว่าคนเสื้อแดงที่ไปขัดขวาง การปราศรัยของพรรคประชาธิปไตยที่ลำพูนและขัดขวางการชุมนุมของคนสวมหน้ากากขาวที่ เชียงใหม่นั้นเป็นผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และสนับสนุน (พ.ต.ท.)ทักษิณ ชินวัตรพี่ชายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์
          รัฐบาลคือผู้บังคับบัญชาของตำรวจ  สำนักงานตำรวจแห่งชาติขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
          ตำรวจลืมไปว่าหน้าที่ในการรักษากฎหมายของตำรวจนั้นไม่มียกเว้นผู้ใด  หากทำผิดกฎ หมายถึงจะเป็นนายเป็นผู้บังคับบัญชาของตนตำรวจก็จะต้องรักษากฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ด้วยการจับกุม
          ความบกพร่องของตำรวจจะเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือลังเลใจก็ตามสมัยนี้สาธารณชนเห็น และมีการบันทึกไว้ทุกขั้นตอน โดยกล้องถ่ายภาพวงจรปิด หรือโดยกล้องที่ติดอยู่กับโทรศัพท์มือถือ
          อย่างเช่นเหตุการณ์ที่ลำพูนและเชียงใหม่นั้นได้รับการบันทึกและถ่ายทอดออนไลน์ และ เผยแพร่ไปทั่วโลกในทันที
          การไม่ปฏิบัติหน้าที่เป็นความผิดทางอาญาและมีอายุความ  ในขณะนี้ผู้เสียหายอาจจะ หวาดกลัวและไม่กล้าแจ้งความกล่าวโทษตำรวจฐานไม่ปฏิติหน้าที่แต่ต่อไปเมื่อพรรคเพื่อไทย และ รัฐบาลชุดนี้หมดอำนาจ ก็ยังอาจมีผู้รื้อฟื้นกล่าวโทษตำรวจอาจตกเป็นจำเลย และถูกลงโทษตาม กฎหมายได้
          ที่สำคัญไม่น้อยกว่าโทษทางอาญานั้นคือโทษทางสังคมเพราะการละเลยจงใจไม่ปฏิบัติหน้า ที่ของตำรวจ ย่อมทำให้ประชาชนเสื่อมคลายความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อตำรวจ  และเมื่อหวังพึ่งตำ รวจไม่ได้ในที่สุดบางคนบางพวกก็อาจตัดสินใจช่วยตัวเอง ด้วยการตอบโต้ผู้ที่ขัดขวางรังแกหรือ ทำร้ายเขาตามวิธีที่เขาเห็นสมควร
          การจลาจลและสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นเมื่อไม่มีผู้รักษากฎหมายครับ
          สิ่งที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติควรปฏิบัติโดยเร็วที่สุดจึงได้แก่การกำชับและสั่งการให้ ตำรวจรักษา กฎหมายอย่างเคร่งครัด เป็นธรรม และโดยไม่ต้องกลัวว่าผู้ละเมิดกฎหมายจะเป็นใครสังกัดพรรคใด
          ถ้าหากเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เพิกเฉย หรือลังเลใจไม่กล้าสั่งการ ปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ต้องตัดสินใจเองเหตุการณ์อย่างที่เกิดขึ้นที่ลำพูนและที่เชียงใหม่ก็จะเกิดขึ้นอีก และอาจลุกลามไป จนกลายเป็นการใช้กำลังปะทะต่อสู้กัน  ถึงตอนนั้นตำรวจก็จะจำเป็นต้องใช้วิธีปราบจลาจลความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บ้านเมืองอาจร้ายแรงกว้างขวางเกินคาด
          สงสารบ้านเมืองเป็นห่วงบ้านเมือง ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการรักษากฎหมายและบังคับ ใช้กฎหมายอย่างฉับพลันและเคร่งครัด.

เปิดร่าง "โรดแมปสันติภาพ" ฉบับประชาสังคมชายแดนใต้

เปิดร่าง "โรดแมปสันติภาพ" ฉบับประชาสังคมชายแดนใต้

DeepSouthWatch's picture
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW)
 
            การพูดคุยและเจรจาสันติภาพเป็นกระบวนการที่อ่อนไหวและเปราะบาง เพราะคือขั้นตอนของการค่อยๆ เปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์ของตัวแสดงในความขัดแย้งจากที่เคยใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือต่อรองมาสู่วิธีการสนทนา ความท้าทายในระหว่างทางนั้นเป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฟากฝ่ายจำต้องประสบเป็นธรรมดา สิ่งที่จะเป็นหลักประกันประการหนึ่งของกระบวนการสันติภาพดังกล่าวคือการมีทิศทางที่ชัดเจนและเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้งและกระบวนการที่แสดงหาทางออกในแบบนี้ บทเรียนจากความขัดแย้งในที่อื่นๆ สอนเราว่าแผนที่เดินทางเพื่อสันติภาพ หรือ Peace Roadmap เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนให้การพูดคุยและเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้จะมีความหมายต่อผู้คนและมีความมั่นคงเพียงพอสำหรับทางออกซึ่งพอจะเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย
 
            โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในห้วงเวลาของการริเริ่มพูดคุยสันติภาพที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้ทิศทางและความพร้อม การมีทิศทางซึ่งเห็นชอบร่วมกันของคู่สนทนาหรือมีการผลักดันจากฝ่ายต่างๆ จึงเป็นเครื่องมือที่จะรั้งให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไปได้ ที่ผ่านมามีความพยายามจะเสนอแผนที่เดินทางอยู่บ้าง แต่การแสดงบทบาทของเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่เมื่อเร็วๆ นี้ก็ชี้ให้เห็นความพยายามผลักดันให้การพูดคุยที่กำลังดำเนินอยู่นั้นยึดโยงกับความกังวลและความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญด้วย สิ่งนี้จะสร้างความชอบธรรมให้กับกระบวนการและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างหลักประกันว่าสันติภาพที่ (อาจ) จะก่อเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมีฐานรองรับจากประชาชนมากพอ

 
            ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สภาประชาสังคมชายแดนใต้และเครือข่ายองค์กรในภาคสังคมจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันจัดกระบวนการยกร่างแผนที่เดินทางสันติภาพ หรือ “โรดแมปสันติภาพ” ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเชิญนักวิชาการด้านสันติภาพคนสำคัญมาให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความจำเป็นของการมี “โรดแมปสันติภาพ” ในกระบวนการพูดคุยและเจรจาสันติภาพ (คลิกอ่าน “ทำความเข้าใจ แผนที่เดินทางสู่สันติภาพและบทบาทของฝ่ายที่สาม”) และจัดให้มีการระดมความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องหลายครั้งเมื่อตอนต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กระทั่งได้มาซึ่งร่างแผนที่เดินทางที่พร้อมจะเสนอต่อคู่สนทนา ทั้งฝ่ายทางการไทยและฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น
 
            แม้ว่าใจกลางของการจัดทำโรดแมปสันติภาพจะเน้นหนักไปที่ “กระบวนการ” ที่มีประชาชนหลายกลุ่มองค์กรและหลากหลายชาติพันธุ์ศาสนาเข้าร่วม แต่ “เนื้อหา” ของร่างโรดแมปดังกล่าวก็มีความหมายสำคัญที่คู่สนทนาและผู้คนในสังคมควรร่วมพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
 
            ดังที่นำมาแสดงให้เห็นในที่นี้
 
 
(ร่าง)
แผนที่เดินทางสันติภาพโดยภาคประชาสังคมชายแดนใต้/ปาตานี
ผลจากการระดมความเห็นเครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้
ในวันที่ 4 , 8 และ 10 มิถุนายน 2556
 
1. ภาคประชาสังคมมีการระดมความคิดเห็นจากบุคคลที่หลากหลายกลุ่มและอาชีพ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งมั่นที่จะเห็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรังในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี ภาคประชาสังคมและประชาชนในและนอกพื้นที่ตื่นตัว ตระหนัก และสร้างความหวัง รวมทั้งปรารถนาให้รัฐไทยกับขบวนการ BRN รวมทั้งกลุ่มอุดมการณ์ ผู้เห็นต่างจากรัฐกลุ่มอื่นๆ มีการพูดคุย/เจรจาสันติภาพเพื่อหาทางออกที่ดีงาม ถูกต้อง และบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในและนอกพื้นที่ชายแดนใต้ และประเทศชาติ
 
2. ภาคประชาสังคมเห็นว่า กระบวนการสันติภาพนี้ควรวางอยู่บนหลักการการแก้ปัญหาในแนวทางสันติวิธี ข้อ:
 
(1) ทุกกระบวนการของการสร้างสันติภาพ ต้องเชื่อมโยงและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และสังคมสาธารณะ
 
(2) ทุกฝ่ายควรยอมรับสถานะของคู่เจรจาอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค
 
(3) เปิดพื้นที่ปลอดภัยที่ทุกคนสามารถเสนอความคิดเห็นโดยไม่ต้องกังวลต่อความปลอดภัยและการดำเนินทางกฎหมายจากทั้งรัฐและ BRNในการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ
 
(4) ภาคประชาสังคมจะเป็นฝ่ายประสานเชื่อมทุกฝ่าย ร่วมกันกำหนดพื้นที่/สร้างตัวชี้วัดในการ “ลดความรุนแรง” และสนับสนุนการสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน เพื่อให้บรรลุข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับและชอบธรรม
 
(5) สังคมต้องเรียนรู้ เข้าใจ อดทน อดกลั้น และยอมรับความจริงเพื่อหนุนเสริมให้กระบวนการพูดคุยและเจรจาบรรลุข้อตกลงของทุกฝ่าย
 
3. พันธะสัญญา เพื่อให้การพูดคุยเดินหน้าจนบรรลุข้อตกลงร่วมกันโดยนำความสันติสุขแก่ประชาชน ภาคประชาสังคมจะผนึกกำลังร่วมกันกับทุกฝ่าย แม้ว่าเวทีการพูดคุยจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
 
ข้อเสนอต่อขบวนการ BRN:
 
(1) ต้องสื่อสารและเปิดพื้นที่ทำความเข้าใจให้รัฐและประชาชนในเรื่องความไม่เป็นธรรมที่กลุ่มเสนอให้เป็นรูปธรรม
 
(2) ร่วมกันเสนอแนวคิดการจัดให้มีช่องทางสื่อสารของบีอาร์เอ็นในการติดต่อประสานงานเพื่อการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการ
 
(3) ให้แสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์รุนแรงทั้งที่ตัวเองได้กระทำและปฏิเสธสิ่งที่ไม่ได้กระทำ
 
(4) ควรมีแผนที่สันติภาพ (โรดแมปเพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองร่วมกันหาทางออกจากความขัดแย้ง
 
(5) ละเว้นการทำร้ายผู้บริสุทธิ์
 
ข้อเสนอต่อรัฐไทย:
 
(1) ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อเสนอของ BRN อย่างรอบคอบและสรุปผลเสนอต่อคณะพูดคุย
 
(2) สร้างบรรยากาศสันติภาพให้เป็นรูปธรรมทุกระดับในพื้นที่
 
(3) ให้แสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์รุนแรงทั้งที่ตัวเองได้กระทำและปฏิเสธสิ่งที่ไม่ได้กระทำ
 
(4) กำหนดองค์กรให้ชัดในการทำหน้าที่รับฟังความเห็นจากภาคประชาชน และภาคประชาสังคม
 
(5) หากระบวนการที่ชอบธรรมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาสันติภาพให้ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
(6) รัฐต้องมีหน่วยที่สามารถสื่อสารความก้าวหน้าการพูดคุย/เจรจาสันติภาพ
 
(7) ทบทวนกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ
 
ข้อเสนอต่อประชาชน
 
(1) ควรเรียนรู้ ติดตาม และตรวจสอบกระบวนการสันติภาพให้เท่าทัน ครอบคลุมทุกด้าน
 
(2) ต้องกระตือรือร้นในการเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการสร้างสันติภาพด้วยตัวของประชาชนเอง
 
(3) สร้างและเปิดพื้นที่การพูดคุยและเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมด้วยเครื่องมือที่สร้างสรรค์(ทีม/กระบวนการเพื่อสันติภาพให้หลากหลายกลุ่มมากขึ้น
 
(4) ควรเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
 
ข้อเสนอต่อสื่อ
 
(1) สื่อต้องเรียนรู้ และมีองค์ความรู้ในกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาทักษะการรายงานข่าวสาร ให้ความรู้แก่สาธารณะในการหนุนเสริมกระบวนการพูดคุย/เจรจาให้บรรลุเป้าหมาย
 
(2) สื่อควรมีแนวปฏิบัติของการรายงานข่าวสารที่สอดรับกับบรรยากาศกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่
 
(3) สื่อควรสร้างพื้นที่ของเครือข่ายการพูดคุย โดยใช้แหล่งข่าวหลากหลายกลุ่มได้สนทนาสันติภาพในพื้นที่สื่อด้วยเช่นกัน
 
ข้อเสนอต่อรัฐบาลมาเลเซีย
 
(1) ต้องเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ใดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพ
 
(2) ยกระดับจาก "ผู้อำนวยการพูดคุยเป็น “คนกลางในการไกล่เกลี่ย” ร่วมกับประเทศอื่นๆ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย
 
4. บทบาทของภาคประชาสังคมกับการสนับสนุน/หนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ มีดังนี้
 
(1) เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมสันติภาพและการเรียนรู้ให้กับองค์กรภาคประชาสังคมทุกเครือข่ายเป็นวัตถุประสงค์สำคัญขององค์กร
 
(2) เสริมสร้างและพัฒนาทักษะกับการทำงานหลักของแต่ละองค์กรให้เชื่อมโยงกับกระบวนการสันติภาพ
 
(3) สร้างกระบวนการทำงาน การติดตามประเมินผล 'โครงการสันติภาพให้เข้มแข็งเป็นเครือข่ายให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
 
(4) องค์กร/ภาคประชาสังคม ต้องกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ในการทำงานแต่ละประเด็นให้เป็นกระบวนการเพื่อสร้างโครงข่ายอย่างเป็นระบบ
 
(5) องค์กร/ภาคประชาสังคม ต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่เครือข่าย ประชาชนในการสร้าง "สภาวะผู้นำในกิจกรรมสร้างสันติภาพ
 
(6) องค์กร/ภาคประชาสังคม ต้องเชื่อมโยงกับองค์กรเครือข่ายเพื่อสื่อสารภายในและสังคมสาธารณะในผลของการขับเคลื่อนเรื่องสันติภาพอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
 
(7) ให้องค์กร/ภาคประชาสังคมปฏิบัติการ แถลงการณ์ รณรงค์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น
 
(8) ให้องค์กรภาคประชาสังคมผลักดันข้อเสนอเป็นนโยบายสาธารณะและวาระแห่งชาติ
 
(9) ภาคประชาสังคมจะต้องผนึกกำลังและสร้างเครือข่ายในพื้นที่เพื่อขยายกระบวนการสันติภาพ
 
(10) องค์กร/ภาคประชาสังคม รวมทั้งสถาบันการศึกษา ควรสร้างกระบวนการทบทวนและปรับปรุงการทำงานให้หนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ
 
5. องค์กร/ภาคประชาสังคมเสนอกรอบเวลา ปี (นับจากกรกฎาคม 2556/2013 – พฤษภาคม2559/2016) เพื่อให้การพูดคุย/เจรจาสันติภาพเป็นไปทั้งในทางลึกและกว้าง ด้วยการมีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง โดยแบ่งระยะเวลาเป็นช่วงต่างๆ โดยมีการสร้างกระบวนการสื่อสารธารณะตลอดกระบวนการ ดังนี้
ระยะของกระบวนการพูดคุย ใช้ระยะเวลา เดือน – ปี
(กรกฎาคม 2556/2013 – มิถุนายน 2557/2014)
 
๐ ทั้งสองฝ่ายคู่เจรจาตกลงขั้นตอน กระบวนการ ประเด็นการเจรจาภายในสิ้นปี 2556
๐ สร้างความเข้าใจ รณรงค์สาธารณะ/อธิบายการยอมรับการเจรจา
๐ รัฐไทยตอบข้อคำถาม ข้อของขบวนการ BRN
๐ ขบวนการ BRNสร้างความมั่นใจกับรัฐไทย
๐ ใช้การพูดคุยที่ไม่เป็นทางการเสริมการพูดคุยที่เป็นทางการ
๐ ลดความกังวลแก่มวลชนทั้งสองฝ่าย
๐ ขบวนการ BRN ต้องขยายความ "ความไม่เป็นธรรมให้ทั้งรัฐและประชาชนเข้าใจ
๐ รัฐไทยและบีอาร์เอ็นต้องเปิดพื้นที่และสร้างบรรยากาศกระบวนสันติภาพให้เป็นรูปธรรม ทุกระดับในพื้นที่
๐ ขยายพื้นที่พูดคุยกระบวนการสันติภาพ โดยสร้างเวทีพูดคุยสันติภาพให้ครอบคลุมทุกฝ่าย
๐ เปิดเวทีให้ประชาชนนำเสนอความคิดเห็นและประเด็นต่อรัฐ
 
ระยะยกระดับสู่ "การเจรจา"
 
๐ กำหนดกลไกคณะทำงานในกระบวนการเจรจา อาทิ ใช้การพูดคุยที่ไม่เป็นทางการเสริมการพูดคุยที่เป็นทางการ
๐ มีกลไกที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการกับ Track 1
๐ ตั้งคณะที่ปรึกษาร่วมที่มาจากทั้งสองฝ่าย
๐ หารือกรอบข้อตกลงการเจรจา ประเด็น
๐ ฝ่ายคู่ขัดแย้ง แต่งตั้งตัวแทนการเจรจา
 
ขั้นเจรจา ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย ปี
(มิถุนายน 2557/2014 – พฤษภาคม 2559/2016)
 
๐ มีคณะทำงานย่อยแต่ละประเด็นที่มีการเจรจา เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงที่บรรลุได้ ได้แก่
            การลดความรุนแรง
            - 
ข้อตกลงการหยุดยิง การสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย
            - 
การสร้างความเป็นธรรม
            - 
การปฏิรูปฝ่ายความมั่นคง
            - 
การปฏิรูปการเมือง และสิทธิทางการเมือง
            - แก้ไขรัฐธรรมนูญ
            - 
การศึกษา ภาษา อัตลักษณ์ ฯลฯ
๐ ได้กรอบข้อตกลงสันติภาพที่ครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญ
 
หลังมีกรอบข้อตกลงการเจรจา ปี
 
๐ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการละเมิดกฎการเจรจา โดยมีตัวแทนของภาคประชาชนทุกภาคส่วน
๐ การปฏิบัติ ติดตามให้ข้อตกลงสันติภาพเป็นรูปธรรม
๐ เกิดพื้นที่ปลอดภัยจากฝ่ายคู่ขัดแย้งทุกพื้นที่
๐ ขยายความเข้าใจแก่สังคมสาธารณะ
 
บันทึกข้อถกเถียง
อนึ่ง มีการถกเถียงที่ยังไม่ลงตัวหลายประการ เช่น คำว่า "ประเทศชาติในที่นี้หมายถึงประเทศใด สันติภาพ ก็ต้องมีนิยาม เพราะแต่ละฝ่ายนิยาม "สันติภาพไม่เหมือนกัน เป็นต้น