PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

สภาร่างรัฐธรรมนูญ


สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539)
รอการตรวจสอบ
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 (ส.ส.ร.) เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะนั้นมีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตย สกัดกั้นนักการเมืองที่ซื้อเสียง และหวังเข้ามาคอร์รัปชัน โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 6 พ.ศ. 2539

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ที่ประชุมรัฐสภาสรุปให้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน โดยมีที่มาจากตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนทางอ้อม ทั้งหมด 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการ เสนอรายชื่อโดยสถาบันการศึกษา จำนวน 23 คน

ส่วนสมาชิกที่เป็นของตัวแทนประชาชนมีที่มา 3 ขั้นตอนดังนี้

1.จากการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ

2.ให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเองให้เหลือจังหวัดละ 10 คน รวมเป็น 760 คน

3.จากนั้นจึงส่งรายชื่อทั้ง 760 คน ให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกขั้นสุดท้ายให้เหลือจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน

โดยสมาชิกที่กล่าวถึงทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและตัวแทนนักวิชาการก็คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.

ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 คือ นายอุทัย พิมพ์ใจชน


สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (ส.ส.ร.) เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ได้รับการสรรหามาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,982 คน ลงมติคัดเลือกกันเอง เหลือ 200 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำการคัดเลือกเหลือ 100 คน แล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพื่อนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้า ฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[1]

สัดส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ มาจากบุคคลในภาครัฐ 28 คน ภาคเอกชน 27 คน ภาคสังคม 23 คน และภาควิชาการ 22 คน หากจำแนกตามภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ 10 คน ภาคกลาง 68 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 คน และภาคใต้ 10 คน

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะคัดเลือกกันเองให้เหลือ จำนวน 25 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมเป็น 35 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

นายนรนิติ เศรษฐบุตร - ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

dวิธีการสรรหา สปช.

วิธีการสรรหา สปช.

การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
๑)  การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อเสนอชื่อบุคคลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
             มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่สรรหาบุคคลด้านต่างๆเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยคณะกรรมการสรรหาแบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
             ๑.  คณะกรรมการสรรหาซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง  มีดังนี้
                   (๑) คณะกรรมการสรรหาด้านการเมือง
                   (๒) คณะกรรมการสรรหาด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
                   (๓) คณะกรรมการสรรหาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
                   (๔) คณะกรรมการสรรหาด้านการปกครองท้องถิ่น
                   (๕) คณะกรรมการสรรหาด้านการศึกษา
                   (๖) คณะกรรมการสรรหาด้านเศรษฐกิจ
                   (๗) คณะกรรมการสรรหาด้านพลังงาน
                   (๘) คณะกรรมการสรรหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
                   (๙) คณะกรรมการสรรหาด้านสื่อสารมวลชน
                   (๑๐) คณะกรรมการสรรหาด้านสังคม
                   (๑๑) คณะกรรมการสรรหาด้านอื่น ๆ
                   มีหน้าที่ สรรหาบุคคลซึ่งสมควรได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติคณะละไม่เกินห้าสิบคน แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรายชื่อที่ได้รับมาตามมาตรา ๑๐ ในด้านนั้นๆ
             ๒.  คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗โดยมีองค์ประกอบด้งนี้
                   ๒.๑  คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด  ประกอบด้วย
                                (๑)  ผู้ว่าราชการจังหวัด
                                (๒)  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
                                (๓)  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                                (๔)  ผู้ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลในระดับจังหวัดของจังหวัดนั้นครั้งล่าสุด
                                (๕)  ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
                    ๒.๒  คณะกรรมการสรรหาประจำกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
                                (๑)  ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
                                (๒)  อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
                                (๓)  ปลัดกรุงเทพมหานคร
                                (๔)  ผู้ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลในระดับจังหวัดของกรุงเทพมหานครครั้งล่าสุด
                                (๕)  ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร
                  มีหน้าที่สรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสภาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น จังหวัดละห้าคน
               การสรรหาให้คำนึงถึงบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านต่างๆ จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาชีพ และภาคอื่นๆ ความเท่าเทียมกันทางเพศ และการให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส
               ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานครมีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
  
๒)  การพิจารณาคัดเลือกบุคคลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงแต่งตั้ง       
               คณะกรรมการสรรหาเสนอบัญชีรายชื่อบุคคลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะดำเนินการดังนี้
               (๑) พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
               (๒) พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านตามที่คณะกรรมการสรรหาที่ คสช.แต่งตั้ง เสนอ ตามจำนวนที่เห็นสมควรแต่เมื่อรวมกับจำนวนตาม (๑) แล้วต้องไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน
               ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินำรายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป และเมื่อทรงแต่งตั้งแล้วให้ประกาศรายชื่อในราชกิจจานุเบกษา

๓) ผังวิธีการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ


dวัดใจ สนช.ใช้อำนาจถอดถอน กันคนชั่วพ้นการเมือง

วัดใจ สนช.ใช้อำนาจถอดถอน กันคนชั่วพ้นการเมือง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
2 สิงหาคม 2557 06:28 น.


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา และจะยังมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐ
ธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งน่าจะกินเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป
     
       ด้วยความที่เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว จึงไม่มีบทบัญญัติหรือมาตรการบางอย่างที่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยเฉพาะอำนาจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งไม่ได้มีการระบุไว้ให้ชัดเจน จึงมีหลายฝ่ายแสดงความห่วงใยว่า ในช่วงเวลา 1 ปีกว่าๆ หลังจากนี้ นักการเมืองที่เคยกระทำความผิดเอาไว้ ก็จะยังคงลอยหน้าลอยตาในสังคมได้เหมือนเดิม
     
       นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ประเภทสรรหา แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 26 ก.ค. และผ่านบทความในเว็บไซต์ “เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์” ว่า ตามตารางเวลาที่ คสช.ประกาศออกมานานแล้ว สนช.จะต้องทำหน้าที่พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ทั้ง 3 วาระให้เสร็จสิ้นภายในช่วงเดือนกันยายน 2557 และ คสช.ได้เตรียมร่าง
พ.ร.บ.ต่าง ๆ ไว้ให้พิจารณาหลายสิบฉบับ แต่หนึ่งในภารกิจแรกของ สนช.2557 ที่ควรจะต้องดำเนินการ คือการดำเนินกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 4 คดีสำคัญ ที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดส่งมาถึงวุฒิสภาชุดที่ คสช.สั่งยุบไปเมื่อ 24 พฤษภาคม 2557
     
       4 คดีสำคัญที่สำนักเลขาธิการวุฒิสภา รอให้ประธาน สนช.คนใหม่สั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระ ประกอบด้วย
     
       1.คดีนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
     
        2.คดีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
     
       3.คดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและบทกฎหมายในเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว
     
       4.คดีสมาชิกวุฒิสภา 36 คนจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.
     
       บุคคลเหล่านี้ไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแล้ว แต่วุฒิสภาชุดที่แล้วก็ได้วางหลักสำคัญที่สุดไว้ว่าต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปให้จบ เพราะยังมีโทษห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีรออยู่ และได้ดำเนินกระบวนการไปแล้ว 2 – 3 คดีสำคัญ แม้จะถอดถอนไม่ได้ เพราะเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 แต่หลักการที่ได้วางไว้ถือว่าสำคัญมาก และไม่มีผู้ใดคัดค้านเป็นคดีความ
     
       ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 6 วรรคสองได้เขียนให้ สนช.ทำหน้าที่วุฒิสภาไว้ด้วย ดังนั้น ภารกิจของวุฒิสภาตามกฎหมายต่างๆ ก็ต้องเป็นภารกิจของ สนช.ด้วย
     
       แม้บทบัญญัติว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิกไปตามรัฐธรรนูญฉบับนั้นแล้ว และรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้เขียนรับรองไว้โดยตรง ก็ยังคงมีกฎหมาย ป.ป.ช.บทว่าด้วยการถอดถอนอยู่ แม้กฎหมาย ป.ป.ช.เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับที่เลิกไปแล้ว
     
       อย่างไรก็ตาม นายคำนูณเห็นว่า สนช.สามารถดำเนินการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ และเป็นเรื่องที่ต้องทำ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นเพราะถ้า สนช.ดำเนินการถอดถอนได้ ก็จะสามารถตัดทอนนักการเมืองที่ร่วมกระทำความผิดสำคัญออกจากระบบการเมืองไปได้มาก
     
       ความผิดดังกล่าวนี้ไม่ใช่ความผิดธรรมดา แต่เป็นความผิดรัฐธรรมนูญหลายบทหลายมาตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใชัอำนาจอธิปไตยโดยขาดหลักนิติธรรมอันถือเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถี
ทางที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้
     
       ส่วนความเห็นต่างที่ว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้เขียนรับรองภารกิจการถอดถอนเอาไว้อย่างชัดเจนนั้น นายคำนูณเห็นว่า ถ้า สนช.เสียงข้างมากเห็นพ้องต้องกันว่าต้องทำ ก็สามารถทำได้
ซึ่งหมายความถึงว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เห็นว่าต้องทำ เพราะ สนช.นั้นมีที่มาจากคนที่เข้าใจใน คสช.
     
       การตีความรัฐธรรมนูญชั่วคราวว่าจะเปิดโอกาสให้ดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปได้หรือไม่นั้น แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ขั้นตอนแรกให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยฯ ขั้นตอนต่อมาเนื่องจากเรื่องนี้อยู่ในวงงาน สนช.มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ สนช.เป็นผู้วินิจฉัยเอง
     
       อย่างไรก็ตาม เพียงแค่ขั้นตอนแรกก็น่าจะจบ เพราะนายคำนูณเคยร่วมอยู่ใน สนช.ชุดปี 2549 ยื่นถอดถอนนายจรัล ดิษฐาภิชัย ออกจากกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฐานมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นผลสำเร็จมาแล้ว ครั้งนั้นรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ก็ไม่ได้บัญญัติเรื่องการถอดถอน บัญญัติไว้เพียงแต่ให้ สนช.ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา เหมือนรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เท่านั้น กรณีนี้จึงน่าจะถือเป็น“ประเพณีการปกครองประเทศไทยฯ”ได้
     
       ขณะที่นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีต ส.ว.สรรหา ก็เห็นพ้องให้ สนช.ดำเนินการถอดถอนนักการเมืองที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด เนื่องจากภารกิจหลัก 1 ใน 4 ของวุฒิสภาที่ สนช.จะดำเนินการแทน คือการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
     
       นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ยังได้วางกรอบการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้ครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เปรียบเสมือนเป็นยาแรงเพื่อป้องกันไม่ให้นักการเมืองโกงกลับเข้าสู่อำนาจ โดยเฉพาะ มาตรา 35 (4) ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น เชื่อว่า สนช.จะทำหน้าที่ถอดถอนนักการเมืองได้ ส่วนจะได้เสียง 3 ใน 5 หรือไม่ ต้องไปดูก่อนว่า ใครเข้ามาเป็น สนช.
     
       ส่วนนายประพันธ์ คูณมี อดีต สนช.ปี 2549 กล่าวว่า แม้ คสช.ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ไปแล้ว แต่ในประกาศและคำสั่งของ คสช.ก็ให้คงไว้ซึ่งองค์กรอิสระต่างๆ ดังนั้นจึงไม่ส่งผลต่อกฎหมายลูกหรือพระราชบัญญติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ที่บัญญัติไว้ถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระเหล่านั้น นั่นเท่ากับว่ากระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไปได้ตามหลักการเดิมที่เคยมีกันมา โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่จำเป็นต้องเขียนรายละเอียดไว้
     
       และในเมื่อ ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่พิจารณาแล้วเสร็จมาให้วุฒิสภาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อ สนช.เข้ามาทำหน้าที่ก็ต้องหยิบยกเรื่องราวนั้นขึ้นมาพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับ ที่ได้กำหนดระยะเวลาในการพิจารณาและลงมติเอาไว้ด้วย
     
       หรือหากต้องการความชัดเจนในการทำหน้าที่เกี่ยวกับการถอดถอน ทาง สนช.ก็อาจจะเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อให้มีเนื้อหาที่ชัดเจนขึ้นได้
     
       ด้านนายสมชาย แสวงการ อดีต ส.ว.สรรหา กล่าวว่า หากไม่มีการถอดถอนก็น่าเสียดาย เพราะกว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก ไม่ควรมาสะดุดลงเพราะเหตุนี้ และอยากเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าควรจะแก้ไขกระบวนการเข้าสู่อำนาจ กำจัดบุคคลที่ถูกถอดถอนให้พ้นไปจากการเมืองอย่างสิ้นเชิง เพราะที่ผ่านมาแม้จะห้ามเล่นการเมือง 5 ปี แต่ก็ยังมีนักการเมืองบางคนไปนั่งหัวโต๊ะสั่งการที่กระทรวงทั้งที่ไม่มีตำแหน่งในพรรค คนอย่างนี้ต้องจัดการ
     
       กรณีการถอดถอนนักการเมืองมีความชัดเจนขึ้นมาบ้าง เมื่อนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ได้แถลงเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ว่า ป.ป.ช.จะดำเนินการไปตามระบบ นั่นคือ เมื่อเกิด สนช.มาแล้ว ป.ป.ช.จะส่งเรื่องที่พิจารณาแล้วไปให้ สนช. ส่วน สนช.จะเห็นอย่างไรต้องแล้วแต่ สนช. แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ระบุว่าหากเกิดข้อขัดแย้งเป็นเรื่องของการตีความโดย สนช.ต้องทำหน้าที่ ส่วนคดีอาญา ป.ป.ช.ยังคงดำเนินคดีไปตามปกติ
     
        ถึงเวลานี้ หลายฝ่ายกำลังคาดหวังว่า สนช.ชุดใหม่จะไม่ทำให้ผลการชี้มูลความผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายคดีที่ ป.ป.ช.ได้ทำไว้เสร็จแล้ว ต้องเสียของไปเปล่าๆ โดยจะต้องหยิบยกเรื่องการถอดถอนนักการเมืองขึ้นมาพิจารณาทันทีหลังจากการเข้าปฏิบัติหน้าที่
       
       รวมทั้ง ไม่อยากเสียเวลารอให้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และมี ส.ว.ชุดใหม่ออกมาก่อน ซึ่งต้องใช้เวลานานนับปี อันเป็นการเปิดโอกาสให้นักการเมืองที่ถูกชี้มูลความผิด ได้มีเวลาและช่องทางวิ่ง
เต้นให้การถอดถอนไม่สำเร็จได้