PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

น้องไปป์ ยังอยู่เมืองไทยกับพ่อ

เล่าถึงน้องไปป์ บ้าง
น้องไปป์ ยังอยู่เมืองไทยกับพ่อนะครับ
ยังเดินทางไปเรียนหนังสือ
ที่โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ตามปกติครับ
นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้ฝากคนใกล้ชิด 
ให้ดูแลน้องไปป์ด้วย
ส่วนที่มีข่าวว่าน้องไปป์จะเดินทางไปศึกษา
ที่ประเทศอังกฤษนั้น
ขณะนี้ยังไม่ได้มีการติดต่อเรื่องนี้
แต่หากจะไปก็ต้องทำเรื่องเหมือนกับบุคคลทั่วไป
ที่จะเดินทางไปเรียนต่างประเทศ
ซึ่งตอนนี้น้องไปป์ ติดการเรียน รด.
และยังอาจจะเรียนต่อเนื่อง
หรือเรียนสัปดาห์ละ 1 วัน
แต่หลักสูตรคือจะต้องเรียนให้ครบ 80 ชั่วโมง
ต่อ 1 ชั้นเรียน
ตอนนี้น้องไปป์ ศึกษาอยู่ เกรด 10 ครับ
น้องไปป์ เก่งภาษาอังกฤษ
ได้รับรางวัลดีเด่นด้านภาษา
หลักสูตรการเรียนการสอนในเมืองไทย
ของ โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ที่นี่
เป็นหลักสูตรเดียวกันกับที่อังกฤษทุกอย่าง
เด็กโดดเด่นด้านใดเป็นพิเศษ
โรงเรียนจะส่งเสริมเพื่อให้เด็กเป็นเลิศ
จะได้นำความรู้มาพัฒนาประเทศ
อีกไม่นานน้องไปป์ คงได้ไปหา และอยู่กับแม่ปู ครับ
โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์
ค่าเทอม 650,000 ต่อปี
เเต่ละปีจะต้องไปค่าย
จะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1 หมื่นบาทครับ

ยิ่งลักษณ์ นัดพบ 14 คนสนิท ก่อนหายตัวจากโรงแรมเอส ซี ปาร์ค

ยิ่งลักษณ์ นัดพบ 14 คนสนิท ก่อนหายตัวจากโรงแรมเอส ซี ปาร์ค

VIEW
1.71k

ธีระชัย ภูวนาทธรานุบาล:โครงการจำนำข้าว

แปลคำถามและคำตอบของผมใน นสพ. บางกอกโพสต์ เกี่ยวกับโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่เน้นมุมมองทางวิชาการมากกว่าการเมือง (ผมเดินทางต่างประเทศ จึงไม่สามารถตรวจสอบว่า นสพ. ได้ตีพิมพ์ครบทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน)

1. โครงการจำนำข้าวเป็นโครงการที่สร้างความเสียหายหนักใช่หรือไม่?
โครงการจำนำข้าวเป็นสิ่งที่ดำเนินการมาแล้วโดยหลายรัฐบาลในอดีตก่อนหน้า ผมเองมีความเห็นว่าเจตนาของโครงการนี้เพื่อที่จะช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของชาวนาเป็นสำคัญ

2. ปัจจัยหลักที่ทำให้โครงการนี้ประสบปัญหาใหญ่โต คืออะไร?
เกิดจากการตั้งราคารับจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดมาก โดยหวังว่าจะสามารถผลักดันราคาข้าวในตลาดโลกให้สูงขึ้น แต่การแข่งขันในตลาดโลกทำให้ราคาตลาดโลกขึ้นไปน้อยกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้ จึงได้เกิดคำวิจารณ์ประกอบการมองสถานการณ์ย้อนหลังว่ารัฐบาลควรจะได้ทำการประเมินผล และเมื่อเล็งเห็นได้ว่าแผนการผลักดันราคาตลาดโลกไม่สำเร็จตามที่หวังไว้ รัฐบาลก็ควรจะได้ทบทวน หรือยุติ หรือลดทอนโครงการให้เล็กลง โดยเฉพาะภายหลังจากที่องค์กรอิสระต่างๆ ได้ทักท้วงตักเตือน

3. โครงการนี้มีผลในทางลบต่อตลาดและการปลูกข้าวของไทยอย่างไร?
โครงการนี้ทำให้ข้าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐปริมาณมหาศาล อันเป็นปริมาณที่ใหญ่โตมากกว่าที่เคยมีในอดีต และขนาดของโครงการทำให้การบริหารความเสี่ยงทุจริตคอร์รัปชันในระดับปฏิบัติการต่างๆ ทำได้ยาก และมีผลกระตุ้นให้ชาวนาหันไปปลูกข้าวคุณภาพต่ำที่ใช้เวลาเพาะปลูกเร็วกว่าข้าวคุณภาพสูง รวมทั้งมีความเสี่ยงการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาปะปนด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และผมเองในฐานะประธานกรรมการในขณะนั้นได้พยายามคิดและเสนอแนะมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตหลายเรื่อง เช่น เสนอกำหนดให้ทุกโกดังต้องจัดทำสต๊อคการ์ดเพื่อบันทึกการเข้าออกเป็นรายวัน พร้อมกับจัดให้มีผู้สอบบัญชีภายนอกเข้าไปทำการสุ่มตรวจสอบสต๊อคการ์ดและปริมาณข้าวแบบไม่แจ้งล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่ง ธกส. ได้จัดพิมพ์ข้อเสนอเหล่านี้เป็นหนังสือปกเขียวเล่มย่อในช่วงปลายปี 2554 และได้ส่งให้ทั้งคุณยิ่งลักษณ์และคุณกิตติรัตน์

4. โครงการนี้ให้บทเรียนอะไรแก่การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในการที่จะเสนอโครงการประชานิยมที่เกินพอดีแก่ประชาชน?
เหตุการณ์ที่ผ่านมาให้บทเรียนประการหนึ่งว่า ควรจะมีกติกาที่บังคับห้ามมิให้รัฐบาลในอนาคตทำการรับจำนำสินค้าเกษตรในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด รวมทั้งควรมีกฎห้ามมิให้รัฐบาลในอนาคตเข้าไปซื้อหรือถือกรรมสิทธิ์ในสินค้าเกษตร เพราะมีความเสี่ยงทุจริตคอร์รัปชันในระดับปฏิบัติการสูง

5. ภายหลังโครงการนี้ ตลาดการค้าข้าวของไทยกลับไปสู่ภาวะปกติหรือไม่?
เมื่อไม่มีโครงการรับจำนำข้าว พฤติกรรมของเกษตรกรและตลาดข้าวของไทยก็กลับไปสู่ภาวะปกติโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี ปัญหาฐานะความเป็นอยู่ของชาวนาก็กลับไปแย่เหมือนเดิม ชาวนายังมีหนี้สินรุงรัง และสำหรับรายที่ยังมีที่ดินที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษเหลืออยู่ ก็มีความเสี่ยงอยู่เช่นเดิมว่าวันหนึ่งจะถูกยึดไปชดใช้หนี้

6. รัฐบาลยังจำเป็นต้องช่วยเหลือชาวนาและเกษตรกรอื่นๆ หรือไม่ และวิธีการที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร?
6.1 ควรมีการทบทวนยกเลิกโครงการช่วยเหลือที่เน้นไปที่ตัวสินค้าเกษตร อันมีลักษณะเป็นการช่วยเหลือปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการรับจำนำในราคาสูงเกินตลาด หรือการรับซื้อ หรือแม้แต่การชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรงตามปริมาณที่เพาะปลูก เพราะที่ผ่านมาได้มีโครงการทำนองนี้ผ่านมาหลายรัฐบาล แต่มิได้ปรากฏผลดีต่อเกษตรกรที่ยั่งยืนถาวร
6.2 รัฐบาลในอนาคตควรจะเปลี่ยนไปช่วยเหลือกระบวนการทำงานต้นน้ำและกลางน้ำแทน เพื่อช่วยลดต้นทุนและช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถดำรงวิถีชีวิตชุมชนเกษตรได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในศาสตร์ของพระราชา โดยมาตรการช่วยเหลืออาจจะมีดังต่อไปนี้
6.2.1 ปฏิรูปภาษีและการถือครองที่ดินครั้งใหญ่เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่กระจายที่ดินออกมา โดยมาตรการนี้จะต้องมิใช่เพียงเพื่อกระตุ้นต่อต้านการปล่อยที่ดินให้รกร้างว่างเปล่าเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปทางภาษีโดยคำนวนปริมาณเนื้อที่ของที่ดินของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะปล่อยว่างหรือจะมีการใช้งาน และไม่ว่าถือกรรมสิทธิ์ในนามของตนเอง หรือในนามของนิติบุคคล โดยคำนวนตามสัดส่วนการถือหุ้นหรือความเป็นเจ้าของ และต้องเก็บกาษีสำหรับการถือครองเนื้อที่ต่อบุคคลรายที่มีปริมาณที่สูงพิเศษ โดยเก็บเป็นอัตราก้าวหน้า ยิ่งพื้นที่มาก ยิ่งกำหนดอัตราให้สูงขึ้นเป็นขั้นบันใด
6.2.2 รัฐบาลควรตั้งกองทุนและมาตรการช่วยเหลือให้ชุมชนสามารถซื้อหาที่ดินมาครองในรูปแบบโฉนดชุมชนที่ต้องใช้เฉพาะเพื่อส่วนรวมของชุมชนและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ ซึ่งเปลี่ยนจากหลักการเดิมที่เน้นการออกเอกสารสิทธิให้แก่รายบุคคลเพื่อการเกษตร แต่ภายหลังจะนำไปเปลี่ยนมือไปทำอย่างอื่น
6.2.3 รัฐบาลควรช่วยให้ชุมชนเกษตรสามารถจัดหาทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้เสริมสร้างวิถีชีวิต ซึ่งลักษณะของทรัพย์สินและลำดับความเร่งด่วนในแต่ละเรื่องของแต่ละชุมชนย่อมแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเพื่อบริหารจัดการน้ำ การผันทิศทางน้ำ การกักเก็บน้ำ โรงเพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ โรงเพื่อนำสินค้าเกษตรเบื้องต้นในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ โรงเพื่อบรรจุห่อผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น เครื่องสีข้าวชุมชนขนาดจิ๋ว ไซโลแบบทันสมัยเพื่อเก็บข้าวในรูปข้าวเปลือกที่มีลมร้อนหมุนเวียนไล่ความชื้น โรงเพื่อบริหารจัดการแยกขยะ เป็นต้น ซึ่งความช่วยเหลือเหล่านี้จะต้องเป็นไปตามความต้องการเฉพาะของแต่ละชุมชน
6.2.4 รัฐบาลควรช่วยให้ชุมชนเกษตรสามารถเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการทรัพย์สินที่ได้รับจากการช่วยเหลือของรัฐบาลด้วยการพึ่งตนเอง โดยให้สถานศึกษาในท้องถิ่นหรือใกล้เคียงทั้งระดับมหาวิทยาลัยและอาชีวะเข้าไปร่วมในการจัดตั้งกระบวนการบริหารดังกล่าว รวมทั้งการจัดให้ทุกชุมชนมีศูนย์การเรียนรู้เพื่อเข้าใจและประเมินความเสี่ยงเองเกี่ยวกับสภาพอากาศ ความเสี่ยงด้านราคาพืชผล ความเสี่ยงของศัตรูพืช วิธีปรับปรุงการเพาะปลูก การเรียนรู้เครื่องมือเกษตรใหม่ๆ ฯลฯ
6.2.5 รัฐบาลควรช่วยให้ชุมชนเกษตรสามารถเรียนรู้และมีอำนาจที่จะบริหารจัดการวิธีการทำงานประจำวันของตนเอง โดยกำหนดแนะนำและตัดสินใจกันเองว่า การเพาะปลูกแต่ละฤดูกาลนั้น ควรจะเน้นพืชใดในพื้นที่เท่าใด รวมไปถึงการปกครองตรวจตรากันเองในเรื่องต่างๆ ของชุมชน เช่น สารวัตรคลอง การใช้น้ำต้นทุน การบริหารน้ำเสีย การบริหารขยะ เป็นต้น
6.2.6 อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์จากโครงการการช่วยเหลือชุมชนเกษตรรากหญ้าให้เข้มแข็งและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการลดต้นทุน ด้วยการมีเครื่องมือที่พร้อมเพรียง และด้วยการพึ่งตนเอง การบริหารจัดการกันเอง ที่เกิดขึ้นจากการปรึกษาหารือแต่ละชุมชนให้ตรงกับความต้องการและความเร่งด่วนเป็นการเฉพาะตามข้อเสนอแบบนี้ ย่อมจะใช้เวลานานจึงจะเกิดผล และกระบวนการทำงานก็ยากกว่า ต้องมีการประสานงานหลายด้าน รวมทั้งจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน โดยต้องมีการจัดงบประมาณของรัฐบาลสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงย่อมไม่ทันใจเหมือนกับมาตรการช่วยเหลือที่เน้นที่ตัวสินค้าเกษตรแบบปลายน้ำ แต่ผลดีที่เกิดขึ้นจะยั่งยืน และประโยชน์จะลงไปสู่ระดับรากหญ้าโดยตรงได้ดีกว่าโดยไม่ต้องผ่านมือของนักการเมือง จึงจะดีกว่ามาตรการอดีตที่ผลประโยชน์กว่าจะตกถึงมือชาวบ้านก็มักจะร่อยหรอเพราะถูกแทะเล็มไประหว่างทาง

แต่การที่โครงการทำนองนี้ใช้เวลาต่อเนื่องหลายปี ไม่ตื่นเต้นเร้าใจ ประกอบกับบางมาตรการจะกระทบต่อการถือครองที่ดินของคนรวยซึ่งอาจจะเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมือง หรืออาจจะกระทบต่อนักการเมืองโดยตรง ที่ผ่านมาจึงไม่เห็นมีพรรคการเมืองใดที่สนใจมาตรการแบบนี้ ดังนั้น แนวคิดทำนองนี้จึงอาจจะค้างอยู่แต่ในความฝันเท่านั้น

อวสาน “ยิ่งลักษณ์” พ่วง รมต.! ศาล รธน.ฟันสิ้นสุดความเป็น รมต.ย้าย “ถวิล” มิชอบ

อวสาน “ยิ่งลักษณ์” พ่วง รมต.! ศาล รธน.ฟันสิ้นสุดความเป็น รมต.ย้าย “ถวิล” มิชอบใช้อำนาจเอื้อ “เพรียวพันธ์”

โดย MGR Online   
7 พฤษภาคม 2557 13:08 น.
อวสาน “ยิ่งลักษณ์” พ่วง รมต.! ศาล รธน.ฟันสิ้นสุดความเป็น รมต.ย้าย “ถวิล” มิชอบใช้อำนาจเอื้อ “เพรียวพันธ์”
        ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัย “ยิ่งลักษณ์” ย้าย “ถวิล” ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ชี้มีอำนาจรับคำร้อง เหตุยุบสภา นายกฯ ครม.ยังมีอำนาจทำหน้าที่จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ ขณะที่ “ปู” ผิดชัดเอื้อประโยชน์ “เพรียวพันธ์”
       
       

       
       วันนี้่ (7 พ.ค.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเวลา 12.22 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัยในคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหากับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีว่าจะสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาตุลาการทั้ง 9 คนได้ประชุมภายในเพื่อลงมติก่อนที่จะแถลง ส่วนบรรยากาศที่ศาลได้มีการถ่ายทอดคำวินิจฉัยด้วย ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม., นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา และน.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ อดีต ส.ว.เพชรบุรี มาร่วมรับฟังคำพิพากษา
       
       โดยนายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้อ่านคำวินิจฉัย ระบุว่ามีอำนาจในการวินิจฉัย เมื่อยุบสภาการเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรียังไม่สิ้นสุดลงจนกว่าจะมี ครม.ใหม่ หรือจะสิ้นสุดลงเมื่อมีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนี้แตกต่างจากกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะกรณีดังกล่าวผู้ดำรงตำแหน่งไม่มีหน้าที่แล้ว
       
       ส่วนการย้ายนายถวิล เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 268 มาตรา 266 (2) (3) และจะทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรีหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า นายกฯ มีส่วนใช้อำนาจแทรกแซงการโยกย้ายนายถวิล มีการดำเนินการอย่างเร่งรีบรวบรัดผิดสังเกต และยังปรากฏหลักฐานข้อความอันมีพิรุธ จึงเป็นการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นการกระทำที่ต้องห้าม จึงถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
       
       ขณะที่ประเด็นที่ผู้ร้องร้องว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่ง ครม.ต้องพ้นด้วยหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ รัฐมนตรีที่ร่วมมีมติ ครม.ดังกล่าวจึงมีส่วนร่วมในการก้าวก่าย แทรกแซง เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงด้วย
       
       ทั้งนี้ ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 ที่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในชุดปัจจุบัน นอกจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว ประกอบด้วย

       
       

       
       1. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ขณะเป็นรองนายกรัฐมนตรี
       2. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ขณะเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
       3. พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
       4. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
       5. นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ขณะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
       
       6. นายสันติ พร้อมพัฒน์ ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
       7. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       8. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
       9. นายปลอดประสพ สุรัสวดี ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
       
       สำหรับ ครม.ชุดปัจจุบันจำนวน 24 คน ที่ไม่ต้องพ้นตำแหน่ง (ไม่ได้อยู่ร่วม ครม.ยิ่งลักษณ์ 1) 
       
       1. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์
       2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ
       3. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ
       4. นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักฯและรมช.เกษตรฯ
       5. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.กระทรวงคมนาคม
       
       6. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมว.กระทรวงทรัพยากรฯ
       7. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.กระทรวงพลังงาน
       8. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย
       9. นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม
       10. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯและ รมว.เกษตรฯ
       
       11. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง
       12. นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง
       13. นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์ รมว.ท่องเที่ยว
       14. นางปวีณา หงสกุล รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
       15. พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม
       
       16. นายพ้อง ชีวานันท์ รมช.คมนาคม
       17. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์
       18. นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์
       19. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย
       20. นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม
       
       21. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ
       22. นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข
       23. นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข
       24. นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม
       25. นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย

แฉเบื้องหลัง ปูชิ่งก่อนกองปราบบุกล็อกตัว30นาที

27 ส.ค.60 รายงานข่าวจากฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยถึงเบื้องหลังการเดินทางออกนอกประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนที่จะมีคำตัดสินคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวนั้น ฝ่ายความมั่นคงได้รับคำสั่งจากผู้ใหญ่ให้ติดตามความความเคลื่อนไหวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาโดยตลอด
จนกระทั่ง วันที่ 23 ส.ค.60 หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทำบุญที่บ้านพักในซอยโยธินพัฒนา3 เสร็จแล้ว และเดินทางไปทำบุญกราบไหว้สมเด็จโตที่วัดระฆังฯ ทางฝ่ายความมั่นคงได้ติดตามความเคลื่อนไหว และช่วงเย็นทราบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าไปพักผ่อนที่โรงแรมชื่อดังย่านทาวน์ อิน ทาวน์ ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ติดตามเฝ้าดูอยู่เช่นกัน
ขณะเดียวกัน ช่วงกลางดึกได้มีคำสั่งจากผู้ใหญ่ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม ประสานกับตำรวจท้องที่ เพื่อเตรียมแผนเข้าบล็อกตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่โรงแรมดังกล่าว หลังจากมีข่าวเข้ามาค่อนข้างชัดเจนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เตรียมเดินทางออกนอกประเทศ
หลังจากประชุมเสร็จ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม จึงเดินทางไปยังโรงแรมที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าพัก ในเวลาเกือบ 03.00 น. แต่เมื่อไปถึงทราบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินทางออกจากโรงแรมไปเมื่อเวลา 02.00 น.เศษ โดยคาดเคลื่อนกันราว 30 นาที หลังตรวจสอบไม่พบตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ เจ้าหน้าที่จึงเดินทางกลับ
แหล่งข่าว เผยว่า จากการตรวจสอบทราบว่า ทันทีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกจากโรงแรมก็ได้เดินทางโดยรถยนต์มุ่งหน้าสู่ จ.ตราด โดยมีรายงานว่าเมื่อไปถึง จ.ตราด แล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับความช่วยเหลือนำทางไปลงเรือเดินทางเข้าสู่เกาะกง เพื่อไปขึ้นเครื่องบินส่วนตัวที่ถูกจัดเตรียมรอไว้ล่วงหน้าอย่างลับๆ ก่อนบินเข้าประเทศกัมพูชาเพื่อขึ้นเครื่องบินพาณิชย์บินเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย นำเครื่องบินส่วนตัวมาจอดรอรับก่อนบินเข้านครรัฐดูไบ
“การตัดสินใจหนีออกนอกประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ครั้งนี้ ได้รับคำสั่งจากนายทักษิณ ที่เตรียมแผนการเอาไว้ทั้งหมด หลังมีการวิเคราะห์แนวโน้มทางคดีกันแล้ว และเป็นไปได้ว่าข่าวที่ตำรวจเตรียมจะเข้าไปบล็อกตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็อาจจะรั่วด้วย จึงได้ตัดสินใจหนีไปได้แบบหวุดหวิด ทั้งนี้นอกจากนายทักษิณจะวางแผนเส้นทางหลบหนีให้แล้ว ยังจัดเตรียมเอกสารและประสานงานกับองค์กรต่างประเทศเพื่อยื่นขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักรให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกด้วย” แหล่งข่าว กล่าว

ที่มา : แนวหน้า

68 ปีทักษิณ หนีคดี 6 หมายจับ ผลัก “ชินวัตร” เข้าแดนอันตราย

68 ปีทักษิณ หนีคดี 6 หมายจับ ผลัก “ชินวัตร” เข้าแดนอันตราย

กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมต่อต้านการยึดอำนาจ ที่ถนนอักษะImage copyrightAFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพกลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมต่อต้านการยึดอำนาจ ที่ถนนอักษะ พุทธมณฑล จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2557 ในขณะที่ กปปส.ชุมนุมอยู่อีกด้านหนึ่งของกรุงเทพฯ
26 ก.ค. 2560 ครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 68 ของนายทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นปีที่ 11 ที่เขาไม่มีโอกาสฉลองวันเกิดในมาตุภูมิ ท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองทีเข้าสู่ "แดนอันตราย" อีกครั้งเมื่อ น้องสาว และน้องเขย รอการตัดสินคดีในเดือน ส.ค. ซึ่งมีโทษสูงสุดคือ จำคุก 10 ปี
บีบีซีไทยพาย้อนดูความนิ่งที่ไม่เคยเงียบของนายทักษิณ นับจากรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทุกความเคลื่อนไหวของเขาถูกถ่ายทอดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนในตระกูลชินวัตร
2557 : ทักษิณ "จำศีล"-ให้โอกาส คสช.ทำงาน
2 เดือนหลังรัฐบาลของน้องสาวถูกโค่นอำนาจโดย คสช. นายทักษิณ ชินวัตร เลือกจัดงานวันเกิดปีที่ 65 อย่างเงียบๆ และไกลจากประเทศไทย โดยมีเพื่อนนักธุรกิจคนสนิทอย่างนายชาญชัย รวยรุ่งเรือง หรือเหยียน ปิน เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงที่โรงแรมแรมโฟร์ซีซัน ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีเพียงครอบครัว ญาติสนิท และคนใกล้ชิดไม่กี่คนร่วมงาน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับอนุญาตจาก คสช. ให้เดินทางทัวร์ 5 ประเทศ ระหว่างวันที่ 23 ก.ค.-10 ส.ค. 2557 โดยมี ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือน้องไปป์ บุตรชาย ร่วมทริป
จึงปรากฏภาพ "2 พี่น้อง-2 ผู้ถูกรัฐประหาร" กอดกันกลมที่สนามบิน
ขณะที่นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย โพสต์เฟซบุ๊กอวยพรวันเกิดพ่อ-หวังได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัวอีกครั้ง "หากได้พ่อกลับคืนมาเป็นครอบครัวที่อบอุ่นดังเดิม พวกเราทุกคน.. จะดึงพ่อให้ออกไปให้ไกลๆ ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกเลย"
ทว่า 3-4 วันหลังจากนั้น ภาพหนังสือที่หน้าปกเขียนว่า "2559 ทักษิณ กลับมา" ถูกแชร์กระหน่ำในสื่อสังคมออนไลน์ โดยระบุว่าเป็นของชำร่วยแจกในงานวันเกิดนายทักษิณ ร้อนถึงหน่วยงานด้านการข่าวต้องเช็คข่าวกันวุ่น ก่อนที่โอ๊ค-อุ๊งอิ๊งจะออกมาปฏิเสธว่าเป็นเพียงข่าวลือ

ทักษิณฉลองเบิร์ดเดย์จากแดนไกล

2549
จัดงานวันเกิดที่บ้านจันทร์ส่องหล้าครั้งสุดท้าย
  • 2557 ฝรั่งเศส
  • 2558 ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรส
  • 2559 อังกฤษ
  • 2560 อังกฤษ
AFP/Getty Images
21 ส.ค. 2557 นายทักษิณเคลื่อนตัวมาประชิดไทย เพื่อฉลองวันคล้ายวันเกิดให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาว ที่ฮ่องกง สมาชิกพรรคเพื่อไทยที่รู้ข่าวรีบรุดไปพบ "นายเก่า"
คำสำคัญที่อดีตนายกฯ สื่อสารกับลูกพรรคคือ "เมื่อขณะนี้มีรัฐบาลชุดใหม่แล้ว ก็ต้องให้โอกาสเขาทำงานไป หากเราไปขัดขวาง ก็จะกลายเป็นว่าไม่ให้ความร่วมมือกับประเทศ" (ไทยรัฐออนไลน์ 22 พ.ค. 2557)
พล.อ.ประยุทธ์และคณะImage copyrightAFP/GETTY IMAGES
ต่อมาเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรก 9 ก.ย. 2557 พร้อมประกาศกลางวงประชุม "เป็นรัฐบาลต้องติดดิน ดูแลประชาชน" นายพานทองแท้ก็ส่งการ์ตูนแอนิเมชัน "ตาดูดาว เท้าติดดิน" ฉายประวัตินายทักษิณ ออกมาข่มขวัญรัฐบาล
ถือเป็นปฏิบัติการทางจิตวิทยาเล็กๆ ในช่วงที่นายทักษิณเลือก "จำศีล"
2558 : ถูกยึดพาสปอร์ต-ถอดยศ-ได้หมายจับใบที่ 6
18 พ.ค. 2558 นายทักษิณออกจากมุมมืด เมื่อได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวปาฐกถาในการประชุมระดับผู้นำ The 6th Asian Leadership Conference ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 19-20 พ.ค. 2558 โดยมิลืมโพสต์ภาพผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวเพื่อรายงานตัวกับแฟนๆ
แต่สิ่งที่ทำให้การเมืองร้อนขึ้นมา คือการให้สัมภาษณ์สื่อที่เกาหลีใต้ ซึ่งต่อมาแฟนเพจ "หยุดดัดจริตประเทศไทย" นำคลิปความยาว 1.32 นาทีมาเผยแพร่ ใจความตอนหนึ่งระบุว่า "ก็เที่ยวนี้ก็.. ทหารก็จะฟังองคมนตรี เพราะตอนที่เขาไม่ต้องการให้เราอยู่ เขาก็ให้สุเทพออกมา และให้ทหารเข้ามาช่วย เลยทำให้เราไม่มีอำนาจอะไร ผมก็เลยคุยกับนายกฯ ปูว่าเหตุการณ์เหมือนที่พี่โดนมา"
บทสัมภาษณ์นี้นำวิบากกรรมมาสู่นายทักษิณเพิ่มเติม ทั้งถูกเพิกถอนหนังสือเดินทาง-ถูกถอดยศตำรวจ-ถูกกองทัพบกฟ้องหมิ่นประมาท จนนำไปสู่การออกหมายจับเป็น "คดีที่ 6"
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และกปปส.Image copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำมวลชน กปปส.เดินขบวนขับไล่รัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อปี 2556-2557 ก่อนที่ก่อนชุมนุมจะยุติลงด้วยการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557
นายทักษิณเลือกตอบโต้ผ่านอินสตราแกรม (22 พ.ค. 2558) ระบุว่าได้แผ่เมตตาให้กับผู้มีอำนาจได้พ้นจากความโลภ โกรธ หลง เพื่อจะได้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง พร้อมย้ำว่า "เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า 'ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง' คือทุกสิ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วต้องดับไป พาสปอร์ตก็เช่นกัน.."
3 ปี คสช. กับวิบากกรรมทักษิณที่ยังไม่จบ
28 พ.ค. 2558กระทรวงการต่างประเทศสั่งเพิกถอนพาสปอร์ต หมายเลข U957441 และ Z530117 เหตุให้สัมภาษณ์สื่อกระทบความมั่นคง-หมิ่นเกียรติภูมิประเทศ
18 ส.ค. 2558ศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้อง คดีหมิ่นประมาทกองทัพบกผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อถึงการเมืองในไทย ก่อนมีคำสั่งให้ออกหมายจับในอีก 2 เดือนต่อมา
5 ก.ย. 2558หัวหน้าคสช. งัดม. 44 ออกคำสั่งถอดยศตำรวจ
28 มี.ค. 2560กรมสรรพากรติดหมายแจ้งประเมินภาษีหน้าบ้านจันทร์ส่องหล้า เรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปเป็นเงินกว่า 1.76 หมื่นล้านบาท หากไม่จ่ายจะถูกยึดทรัพย์
13 ก.ค. 2560สนช. ผ่านร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สาระสำคัญคือการให้พิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้-คดีไม่มีอายุความ ซึ่งรองอสส. ชี้คดีของทักษิณที่ถูกศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบชั่วคราว เนื่องจากจำเลยหลบหนี น่าจะกลับมาตั้งต้นพิจารณาใหม่ได้
ที่มา: บีบีซีไทยรวบรวม
22 พ.ค. 2558 ครบขวบปีรัฐประหาร สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นเผยแพร่บทสัมภาษณ์ 2 ผู้นำต่างขั้วอำนาจ โดยนายทักษิณยอมรับว่า "กังวลอยู่บ้าง" กับเรื่องที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกดำเนินคดี เมื่อซีเอ็นเอ็นถามว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะออกมาชุมนุมบนถนนอีกหรือไม่ เขาบอกว่า "พยายามบอกให้พวกเขาอดทน และหากจะมีการออกมาก็ต้องเป็นไปด้วยความสงบ ไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงใดๆ แต่ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าออกมา"
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ขอใช้โอกาสนี้บอกโลกว่าเหตุใดต้องมาทำหน้าที่ตรงนี้ โดยยืนยัน "ไม่เคยต่อต้านประชาธิปไตย" และ "ไม่อยากอยู่ในอำนาจ แต่ผมเป็นคนเดียวที่สามารถจัดการปัญหาในไทยได้ภายใต้กฎหมายในขณะนี้"
ส่วนการฉลองวันเกิดปีที่ 66 ของนายทักษิณเกิดขึ้นที่บ้านพักในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยเปิดให้ลูกในไส้-ลูกพรรคร่วมอวยพร มีพิธีบายศรีเรียกขวัญให้นายทักษิณด้วย แทบทุกกิจกรรมถูกถ่ายทอดผ่าน "สำนักข่าวโอ๊ค-อิ๊ง" พร้อมเชิญชวนแฟนเพจติดแฮชแท็ก ‪#‎HBDTS‬‬‬
เขาขึ้นกล่าวบนเวทีตอนหนึ่งว่า "คนเป็นผู้นำ ถ้าไม่คิดถึงอนาคต แล้วคนที่เป็นผู้ตามก็ลำบาก" นอกจากนี้ยังตั้งวงวิเคราะห์เหตุบ้านการเมืองไทยให้อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทยฟัง พร้อมอาสาเป็นที่ปรึกษาให้รัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยกล่าวสั้นๆ ว่า "บอกมา ถ้าอยากให้ไปช่วย" (มติชนออนไลน์, 28 ก.ค. 2558)
ทว่านอกจากรัฐบาลไม่ตอบรับข้อเสนอนี้ อดีตเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 (ตท. 10) ของนายทักษิณ ที่ชื่อ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ยังโยนคำถามกลับ "ตามกฎหมายแล้วมาได้หรือ"
2559 : จาก "อย่าระแวงผม" ถึงชวนคนคว่ำร่างรธน. "ฉบับฝันร้าย"
อาจเพราะไม่ต้องการให้ "นายกฯ น้อง" ที่เขาบอกกับใครๆ ว่าเป็น "โคลนนิ่ง" ของเขาต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกัน พลันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเริ่มไต่สวนพยาน ในคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว สร้างความเสียหายแก่รัฐกว่า 5 แสนล้านบาท ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ตกเป็นจำเลย ก็มีความเคลื่อนไหวจากนายทักษิณ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นไต่สวนพยานฝ่ายจำเลยนัดสุดท้ายImage copyrightWASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คำบรรยายภาพน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นไต่สวนพยานฝ่ายจำเลยนัดสุดท้าย วันที่ 21 ก.ค. 2560 ท่ามกลางกำลังใจจากมวลชน โดยศาลนัดฟังคำพิพากษา วันที่ 25 ส.ค. 2560
ทว่าไม่ใช่การเร่งเกมรบ แต่คล้ายเป็นการส่งสัญญาณขอเจรจาสงบศึก?
ในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีต เจอร์นัล (เผยแพร่ 21 ก.พ. 2559) "นายกฯ คนที่ 23" จงใจพูดกับ "นายกฯ คนที่ 29" ว่า "โปรดอย่าได้ระแวงกันเลย ไม่ต้องกลัวหรอกว่าผมจะกลับไปมองหาหนทางแก้แค้น ผมไม่ได้มองหาเงื่อนไขใดๆ ที่จะช่วยตัวผมเอง แต่ถ้าหากคุณมีเจตนาดีจริงๆ ที่จะขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ถ้าหากต้องการคืนศักดิ์ศรีให้กับประชาชนไทย ก็มาพูดจากัน"
เขายังพูดถึงชะตากรรมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง "ผมไม่ได้ไม่พอใจผู้พิพากษา แต่ไม่พอใจระบบว่าทำไมต้องตั้งข้อหาเธอ หวังว่าเธอคงไม่ถูกพิพากษาว่าผิด แต่ไม่แน่ใจเท่าไรนัก"
เมื่อไม่มีสัญญาณตอบรับจากผู้มีอำนาจ นายทักษิณจึงกลับมาเล่นเกมบู๊ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอัลจาซีรา (28 ก.พ. 2559) โดยบอกว่า "ผมเลือกที่จะอยู่อย่างเงียบๆ เพื่อปล่อยให้รัฐบาลได้แก้ปัญหากันไป แต่ขณะที่เวลาผ่านมาปีครึ่งแล้ว การปรองดองกลับไม่ได้เกิดขึ้นจริง.." "ดูเหมือนว่าแนวทางแก้ปัญหาจะออกนอกลู่นอกทาง รัฐบาลไม่ได้มีความคิดที่จะปรองดอง.." "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่เลวร้ายที่สุด ถ้าเราเปรียบเทียบกับเกาหลีเหนือ.."
ดัชนีชี้วัดกระแสนิยมในตัว "อดีตผู้นำ-ผู้นำคนปัจจุบัน" ได้ดีที่สุด หนีไม่พ้นสนามประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 2559 นั่นทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนายทักษิณกลายเป็นของแสลงของผู้มีอำนาจ สะท้อนผ่านการตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา ม.116 อดีตนักการเมืองและชาวบ้านที่ร่วม "แจกขันน้ำสีแดง" พร้อมภาพถ่ายของนายทักษิณ-น.ส.ยิ่งลักษณ์ ช่วงเทศกาลสงกรานต์
นายทักษิณ ชินวัตร สไกป์มาอวยพรสมาชิกพรรคเพื่อไทยImage copyrightAFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพนายทักษิณ ชินวัตร สไกป์มาอวยพรสมาชิกพรรคเพื่อไทย วันที่ 7 เม.ย. 2559 เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ พร้อมเรียกร้องให้นักการเมืองรักประชาชน ไม่ว่ามาจากการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง
ต่อมาเมื่อนักกิจกรรมที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มพลเมืองโต้กลับ เรียกร้องให้ คสช. ปล่อยตัวนายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ออกจากค่ายทหาร หลังโพสต์เฟซบุ๊ก "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" พล.อ.ประยุทธ์ก็ออกมาร่ายยาวถึงขบวนการที่อยู่เบื้องหลัง (21 เม.ย. 2559)
"นักศึกษาก็นักศึกษาแล้วอยู่กับพวกไหน พวกไหน ใครเอารถไปส่ง ใคร วอยส์ทีวีไปส่งหรือเปล่า รถ นปช.ไปหรือเปล่า ใครล่ะ ยึดโยงกันยังไง นี่วิเคราะห์แบบนี้.." "ใครล่ะที่สนับสนุนกันมา ใครมีการวางแผนมา หนึ่งล็อบบี้ยีสต์ต่างประเทศ ใครทักษิณ"
เป็นผลให้นายทักษิณออกมาตอบโต้กลับ (22 เม.ย. 2559) ว่า "ไม่มีล็อบบี้ยิสต์ในโลกคนไหนที่จะมีความสามารถทำลายคุณได้ เท่ากับคุณทำลายตัวคุณเอง"
12 วันก่อนลงประชามติ งานวันเกิดปีที่ 67 ของเขาถูกจัดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ มีเฉพาะญาติใกล้ชิดไปร่วมงาน แต่ปีนี้ทั้งน้องสาว-น.ส. ยิ่งลักษณ์ และน้องเขย-นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไม่อาจไปร่วมงาน เพราะติดเงื่อนไขศาลฎีกาฯ เรื่องการออกนอกราชอาณาจักร
นายทักษิณ-น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรImage copyrightFACEBOOK YINGLUCK SHINAWATRA
คำบรรยายภาพเมื่อปี 2559 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์เฟซบุ๊กชวนสมาชิกแฟนเพจร่วมอวยพรวันเกิด "พี่ชายที่ดิฉันรักและเปรียบเสมือนคุณพ่อ" ขณะที่ คสช. ขอให้นายทักษิณหยุดเคลื่อนไหว
ทว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้สร้างดราม่ากระตุกต่อมหน้าตามวลชน กับการโพสต์คลิปวิดีโอทางเฟซบุ๊ก ความยาว 6.28 นาที โดยร้องเพลง "เพลงของเธอ" มอบเป็นของขวัญแด่พี่ชาย พร้อมข้อความตอนหนึ่งว่า "เรามีข้อจำกัดที่เหมือนกัน คือน้องไปได้ทุกที่ในประเทศไทย ยกเว้นต่างประเทศ พี่ชายก็เดินทางไปได้ทุกประเทศ ยกเว้นประเทศไทย อยากจะบอกว่าความรู้สึกนั้นมันทรมานมากค่ะ.."
แม้ไม่อยู่ไทย-ไม่มีสิทธิลงประชามติ แต่นายทักษิณก็ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ (5 ส.ค. 2559) รายงานว่านายทักษิณได้ส่งสารผ่านอีเมลไปที่รอยเตอร์ ระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือเป็น "ฝันร้ายที่ขัดแย้งและสับสน" โดย "กลุ่มผู้ร่างรัฐธรรมนูญยกร่างเพื่อให้กลุ่มที่กุมอำนาจในปัจจุบันสืบทอดอำนาจต่อไปได้ แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่าน และประกาศใช้บังคับ" หลังก่อนหน้านั้น เขาให้ลูกโอ๊คโพสต์เฟซบุ๊กระบุ 6 เหตุผลไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านประชามติด้วยคะแนนร้อยละ 61.35 ต่อ 38.65 ซึ่งแกนนำ กปปส. ผู้ประกาศสนับสนุนร่างฯ อย่างแข็งขัน ชี้ว่า "เหตุผลส่วนหนึ่งที่คนไปโหวตรับร่างฯ เพราะนายทักษิณประกาศไม่รับร่างฯ"
2560: "ชินวัตร" ครอบครัวตัวประกัน
เข้าสู่ปี 2560 มีนักการเมืองแวะเวียนไปสวัสดีปีใหม่อดีตนายกฯ ตามธรรมเนียม หนึ่งในนั้นคือนายวัฒนา เมืองสุข นอกจากปรับทุกข์-ผูกมิตร นายทักษิณยังยืนยันไม่เคยคิดร้ายกับประเทศไทย "หากคิดไม่ดีกับบ้านเมือง คนที่จะได้รับผลร้ายซึ่งเสมือนเป็นตัวประกันที่อยู่ในเมืองไทยก็คือ บุตร ภรรยา และญาติพี่น้องที่รัก"
แม้เข้าสู่ช่วงนับถอยหลังตัดสินคดีจำนำข้าวของน้องสาว และคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรฯ ปี 2551 ของน้องเขย แต่เขายังนิ่ง-เงียบ
คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร และลูกๆImage copyrightAFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (คนที่ 2 จากขวามือ) อดีตภริยาของนายทักษิณ ชินวัตร ขึ้นศาลเพื่อฟังคำตัดสินคดีเลี่ยงภาษีหุ้นชินคอร์ป 546 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2554 โดยมีลูกทั้ง 3 คนเคียงข้าง
กระทั่งกรมสรรพากรใช้ "อภินิหารทางกฎหมาย" เรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ป เป็นเงินกว่า 1.76 หมื่นล้านบาท หลังก่อนหน้านั้นในปี 2553 เคยถูกศาลพิพากษายึดทรัพย์ 4.63 หมื่นล้านบาทจากกรณีขายหุ้นชินคอร์ปมาแล้ว นายทักษิณจึงไม่อาจอยู่นิ่งอีกต่อไป
31 มี.ค. 2560 เขาโพสต์เฟซบุ๊กบรรยายความในใจที่ถูกใส่ร้าย-ลากเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องร้ายๆ ในบ้านเมือง ทั้งระเบิดราชประสงค์, ระเบิด 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน, สร้างภาพว่าเกี่ยวพันกับขบวนการล้มล้างการปกครอง โดยยืนยัน "มีความจงรักภักดี เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และเคยถวายงานเจ้านายทุกพระองค์ ด้วยหัวใจแห่งความจงรักภักดีมาตลอด"
"สิ่งที่เป็นอันตรายต่อระบอบการปกครองของไทย คือการปฏิวัติรัฐประหารมากกว่า.." "กระบวนการปรองดองที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ผมขอให้ทุกฝ่ายโปรดตัดผมออกจากสมการไปได้เลยครับ ผมไม่ต้องการให้ใครมาเสนออะไรเพื่อช่วยตัวผม และในทางกลับกัน ผู้มีอำนาจก็ไม่ควรใช้อภินิหารและกระทำทุกวิถีทางเพื่อขจัดผมเพียงคนเดียว โดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรม และต้องไม่เลี้ยงไข้ความ 'ขัดแย้ง' ให้ยืดเยื้อ เพื่อเป็นข้ออ้างที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป.."
"ผมหยุดแล้วครับ ท่านล่ะ เมื่อไหร่จะหยุดสักที" เขาตั้งคำถามทิ้งท้าย
ล่าสุดกรมบังคับคดีได้รับอายัด 12 บัญชีธนาคารของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ตามที่คณะกรรมการสืบทรัพย์ โดยกระทรวงการคลัง ร้องขอให้ดำเนินการยึดทรัพย์อดีตนายกฯ เพื่อชดใช้ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งทีมทนายได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้มีคำสั่งทุเลาการบังคับอายัดทรัพย์สินของ น.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว เธอทวิตยืนยันว่า "ยังเข้มแข็ง" และ "ไม่ได้ทำอะไรผิด"
ทักษิณหนี 11 ปี ทำ 5 คดีค้างศาล (ไม่รวมคดีที่ศาลตัดสินแล้ว)
คดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษกศาลยกฟ้องคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา และพิพากษาให้จำคุกทักษิณเป็นเวลา 2 ปี พร้อมออกหมายจับ 21 ต.ค. 2551 หลังหนีออกนอกประเทศ
คดีเอ็กซิมแบงก์ปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า 4 พันล้านบาทเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์โทรคมนาคมจากชินคอร์ปศาลออกหมายจับ 16 ก.ย. 2551 เพื่อติดตามตัวมาพิจารณาคดีนัดแรก
คดีทุจริตโครงการหวยบนดิน 3 ตัว 2 ตัวศาลออกหมายจับ 26 ก.ย. 2551 เพื่อติดตามตัวมาพิจารณาคดีนัดแรก
คดีธนาคารกรุงไทยอนุมัติสินเชื่อ 9 พันล้านบาทให้บริษัทในเครือกฤษดามหานครศาลออกหมายจับ 11 ต.ค. 2555 เพื่อติดตามตัวมาดำเนินคดี โดยให้จำหน่ายคดีเฉพาะส่วนของทักษิณไว้เป็นการชั่วคราว
คดีออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ชินคอร์ป ทำรัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาทศาลออกหมายจับ 15 ต.ค. 2551 เพื่อติดตามตัวมาพิจารณาคดีนัดแรก
คดีหมิ่นประมาทกองทัพบกศาลออกหมายจับ 12 ต.ค. 2558 พร้อมสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว
ที่มาบีบีซีไทยรวบรวม
ถึงวันนี้ เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยสาระสำคัญคือให้พิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ และคดีทุจริตไม่มีอายุความ การนับถอยหลังกลับบ้านของผู้นำพเนจร-ผู้ต้องหาที่มีหมายจับ 6 หมาย จึงคล้ายไม่มีวันสิ้นสุด
ขณะเดียวกัน 2 ผู้นำที่ตกเป็น "จำเลย" ก็มิอาจใช้แนวทาง "ใช้ชีวิตต่างแดน" ฆ่าเวลาคดีขาดอายุความได้
"ผมเคยอยากกลับ หากผมได้กลับบ้าน แน่นอนผมจะกลับ แต่หากไม่สามารถกลับได้ ผมโอเค เพราะผมอยู่ได้ทุกประเทศ"
นั่นคือคำพูดของนายทักษิณเมื่อปี 2559 โดยที่ยังไม่รู้ว่าเขาหมดหนทางกลับบ้าน